ถึงรอบการอัพเกรด SSD ของอินเทลประจำปี สำหรับรุ่นใหญ่สุดในสาย 7xx ปีนี้อินเทลปรับเปลี่ยนชื่อสายเป็น DC S3700 ที่มีตั้งแต่รุ่น 100GB ไปจนถึง 400GB
ไดร์ฟรุ่นใหม่รองรับการเข้ารหัสแบบ AES มีหน่วยความจำสำรองบนไดร์ฟในกรณีที่มีหน่วยความจำบางส่วนเสียหายไปก็ยังสามารถทำงานได้ต่อ โดยหากเขียนแล้วลบทั้งลูกวันละสิบครั้ง อายุการใช้งานเฉลี่ยจะอยู่ที่ 5 ปี
ประสิทธิภาพในแง่ IOPS จะอยู่ที่ 35,000 IPS สำหรับการเขียนบล็อค 4KB และ 75,000 IOPS สำหรับการอ่านบล็อค 4KB ระยะเวลารอการเขียนโดยเฉลี่ย 65uS และมีโอกาสต่ำกว่า 500uS ที่ความน่าจะเป็น 0.999 การถ่ายข้อมูลได้ความเร็วในการอ่าน 500MB/s และเขียน 460MB/s การอ่านเร็วขึ้นกว่ารุ่นที่แล้ว 2 เท่าตัวขณะที่การเขียนเร็วขึ้น 15 เท่าตัว
ซัมซุงเปิดซอร์สโค้ดของระบบไฟล์ตัวใหม่ชื่อ Flash-Friendly File System (F2FS) หน้าที่ของมันก็ตามชื่อครับ เป็นระบบไฟล์ที่ออกแบบมาสำหรับหน่วยความจำแบบ NAND flash
ระบบไฟล์ตัวนี้พัฒนาต่อจาก Log-structured File System (LFS) โดยแก้ปัญหาหลายๆ อย่างของ LFS
ซัมซุงเพิ่งส่งโค้ดของ F2FS เข้าไปยังเคอร์เนลของลินุกซ์ ก็ต้องรอกันต่อไปว่าทีมเคอร์เนลจะรับหรือไม่ ถ้าได้เข้าเคอร์เนลจริงๆ ก็เป็นสัญญาณอันดีว่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ยี่ห้ออื่นๆ สามารถใช้ F2FS ได้ด้วย
IHS iSuppli ออกมาประเมินยอดขายส่งฮาร์ดดิสก์ตลอดทั้งปี 2012 อยู่ที่ 524 ล้านตัว โตขึ้น 4.3% จาก 502.5 ล้านตัวในปีที่แล้ว (นับเฉพาะฮาร์ดดิสก์พีซี-เดสก์ท็อป-โน้ตบุ๊ก ไม่นับเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจ)
ตัวเลข 524 ล้านถือว่าทำลายสถิติยอดขายฮาร์ดดิสก์ในอดีต แต่ IHS ก็ระบุว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี จนไปถึง 575.1 ล้านตัวในปี 2016
IHS ให้ข้อมูลว่ายอดขายฮาร์ดดิสก์ที่เติบโตเป็นผลมาจากตลาดผู้ใช้พีซีที่ต้องการเก็บข้อมูลมากขึ้น (เป็นผลมาจากการบูมของสื่อแบบดาวน์โหลดอีกทีหนึ่ง) และผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์เองก็แก้ปัญหาของขาดจากน้ำท่วมในประเทศไทยปี 2011 ได้แล้ว สุดท้ายยังมี Windows 8 ที่จะออกมากระตุ้นตลาดอัลตร้าบุ๊กช่วงท้ายปีด้วย
Hitachi เผยวิธีการเก็บข้อมูลดิจิทัลที่สามารถคงอยู่ได้เป็นพันปีโดยไม่มีการเสียหายของข้อมูลใด ๆ เลย ด้วยการบันทึกมันลงในแผ่นแก้วควอทซ์ (quartz glass) ในรูปแบบของไบนารี ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลภายในได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ทั่วไป
แผ่นแก้วควอทซ์ต้นแบบขนาดหนึ่งตารางนิ้วที่มีความหนาสองมิลลิเมตรจะเก็บข้อมูลแบบเลเยอร์ของกลุ่มจุดไบนารีได้สี่เลเยอร์ เท่ากับความจุที่ 40 MB โดยฝ่ายวิจัยของ Hitachi บอกว่ายังสามารถเพิ่มชั้นของเลเยอร์ลงไปได้อีก
บริษัท HGST (Hitachi Global Storage Technology) ที่รู้จักดีในฐานะอดีตบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อ Hitachi ซึ่งถูกซื้อโดย Western Digital ไปเมื่อปีก่อน ออกมาประกาศความสำเร็จในการพัฒนาฮาร์ดดิสก์บรรจุก๊าซฮีเลียมในเชิงพาณิชย์เป็นรายแรกของโลก
หลังจากซัมซุงเปิดตัว Samsung Galaxy Camera และ Galaxy Note II นั้น ล่าสุดทาง Dropbox ได้ประกาศความร่วมมือกับซัมซุงโดยจะให้พื้นที่ฟรีถึง 50GB สำหรับลูกค้าที่ซื้ออุปกรณ์สองตัวนี้
โดย Dropbox จะถูกรวมเข้าไปในระบบ และเมื่อเปิดใช้งานอุปกรณ์ครั้งแรก ผู้ใช้จะถูกถามว่าต้องการใช้บริการ Dropbox หรือไม่ และเมื่อเลือกใช้แล้ว ข้อมูลรูปภาพและวิดีโอก็จะถูกซิงค์อัตโนมัติ
นอกจากนั้นสำหรับ Galaxy Note II ตัว Dropbox จะถูกรวมเข้ากับแอพอัลบั้มด้วย นั่นหมายถึง เมื่อคุณเปิดแอพอัลบั้ม คุณจะสามารถดูภาพหรือวิดีโอทั้งหมดที่ถูกเก็บไว้ใน Dropbox ได้ทั้งหมดเลย
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว EMC ยักษ์ใหญ่โซลูชันทางด้านธุรกิจได้มาจัดงานสัมมนากึ่งเวิร์คช็อปในประเทศไทยในชื่องาน EMC Forum 2012 ภายใต้คอนเซปของงานว่า "TRANSFORM IT + BUSINESS + YOURSELF" ซึ่งภายในงานจะมีการเวิร์คช็อปในหัวข้อต่างๆ ที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ของ EMC ยกตัวอย่างที่หลายคนรู้จักได้แก่ VMware หรือ Greenplum เป็นต้น (ถ้าใครยังไม่คุ้นกับ EMC ลองอ่านบทสัมภาษณ์ผู้บริหารก่อนได้)
EMC Forum 2012 ปฏิรูปธุรกิจด้วยเทคโนโลยี
การให้บริการเก็บข้อมูลหรือการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ขององค์กร ในปัจจุบันนั้นมีตัวเลือกอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานได้หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมความต้องการ
เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลก็เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีการพัฒนาไม่หยุดหย่อน ซึ่งในแต่ละระบบมีขีดจำกัดหลายเรื่องต่างกัน เช่น ความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูล, ความยืดหยุ่นของระบบ, พลังงานที่ใช้, การใช้สอยพื้นที่หรือสถานที่ เป็นต้น ซึ่งต้องนำมาพิจารณาเป็นข้อดีและข้อเสีย เพื่อพิจารณาว่าสมควรใช้ระบบใด จากเดิมนิยมใช้ฮาร์ดดิสก์ก็มีบางส่วนหันมาใช้ SSD เพื่อความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลเร็วยิ่งขึ้น สู่ระบบ NAS หรือ SAN ที่มีความยืดหยุ่นสูงขึ้น และระบบอื่นๆ ที่มีมากมาย โดยความได้เปรียบของ SSD ที่เป็นที่รู้กันดีคือประสิทธิภาพจะสูงกว่าฮาร์ดดิสก์
หลังจากที่ได้ประกาศซื้อ LaCie ไปเมื่อประมาณกลางปีที่ผ่านมา วันนี้กระบวนการเข้าซื้อ LaCie ของ Seagate ได้เสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในขณะนี้ Seagate ถือหุ้นของบริษัท LaCie อยู่ 65% ซึ่งมากพอที่จะควบคุมบริษัทได้แล้ว และในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้นก็จะถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 95%
EMC ประกาศความร่วมมือกับเลอโนโวเพื่อเตรียมความร่วมมือสามประการ ได้แก่
Fusion-io ผู้สร้างการ์ด SSD ความเร็วสูง ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สร้างระบบย่อยที่เรียกว่า Extended Memory ที่ใช้ขยายหน่วยความจำให้คอมพิวเตอร์จนเหมือนมีหน่วยความจำใหญ่ถึง 2.64TB ด้วยการ์ด ioMemory
ก่อนหน้านี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทาง Fusion-io ได้ออกชุดพัฒนา ioMemory SDK มาก่อนแล้ว แต่ Extended Library จะเข้ามาช่วยให้แอพพลิเคชั่นเดิมสามารถใช้งานการ์ด ioMemory ได้โดยไม่ต้องแก้ไขแอพพลิเคชั่น
Blognone รายงานข่าวเรื่อง Big Data มาพอสมควร พอดีเมื่อวันก่อน Dell ประเทศไทยมีแถลงข่าวเรื่อง Storage + Big Data (ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน) ผมเลยไปฟังหน่อยเผื่อว่าจะได้ภาพรวมของตลาด Big Data ในประเทศไทยนะครับ
การนำเสนอของ Dell เริ่มจากโชว์คำพยากรณ์ของ Gartner ที่ประเมินว่าอัตราการเติบโตของข้อมูลในองค์กรจะเติบโตสูงมากในอนาคต ตัวเลขปีล่าสุดคือ 47 เท่าในปี 2011 (ข้อมูลที่สร้างในปี 2011 คิดเป็น 1.8 ล้านล้าน GB)
ในแง่การเก็บข้อมูลระดับคอนซูเมอร์ก็เรื่องนึง แต่ในระดับองค์กร ต่อไปความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้งานจะเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรได้ องค์กรไหนที่นำข้อมูล (ที่มีอยู่แล้ว) มาสกัดออกเป็นยุทธศาสตร์ได้ก็จะประสบความสำเร็จ
เราเคยเสนอข่าวว่าราคาฮาร์ดดิสก์จะปรับลงช้าๆ ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมในไทยที่ส่งผลให้กำลังการผลิตในโลกลดลงอย่างมาก คราวนี้ Fang Zhang นักวิเคราะห์จาก IHS iSuppli ได้ประเมินสถานการณ์ว่ากำลังการผลิตฮาร์ดดิสก์จะกลับมาเป็นปกติเหมือนช่วงก่อนน้ำท่วมได้ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ แต่ถึงตอนนั้นราคาฮาร์ดดิสก์โดยเฉลี่ยก็จะไม่ปรับลดลง เนื่องจากตลาดฮาร์ดดิสก์ตอนนี้ก็อยู่ในภาวะกึ่งผูกขาด ตั้งแต่เกิดการควบรวมของซีเกทกับซัมซุง และ Western Digital กับ Hitachi GST ทำให้ผู้ผลิตสองรายใหญ่นี้ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 85% จึงมีอำนาจพอที่จะควบคุมราคาฮาร์ดดิสก์ไม่ให้ปรับ
ในโลกอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอก หลายคนน่าจะได้เห็น LaCie ที่เป็นผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ภายนอกที่เด่นๆ คือเป็นผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์แบบ Thunderbolt มารองรับกับเครื่อง Macbook Pro เป็นเจ้าแรกๆ วันนี้ซีเกตก็ประกาศเข้าซื้อหุ้นจากซีอีโอและกลุ่มของเขารวมเป็นหุ้น 64.5% ทำให้ซีเกตมีอำนาจครอบครองบริษัทได้ทันที ส่วนผู้ถือหุ้นที่เหลือทางซีเกตจะตั้งรับซื้อหุ้นตามกระบวนการต่อไป
การซื้อครั้งนี้มีมูลค่า 186 ล้านดอลลาร์ โดยตัว LaCie เองมีเงินสดในบริษัท 65 ล้านดอลลาร์ หลังกระบวนการจบ Philippe Spruch ประธานและกรรมการผู้จัดการของ LaCie จะไปนั่งเป็นหัวหน้าฝ่ายสินค้าคอนซูมเมอร์ของซีเกต
ช่วงนี้กระแสบริการกลุ่มเมฆกำลังมาแรง ไม่ว่าจะเป็น Google Drive, SkyDrive, Dropbox หรือ Box ก็แย่งเป็นข่าวกันชนิดรายวัน
ล่าสุด LG ก็ลงมาลุยในตลาดนี้ด้วย ในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ทาง LG จะเปิดตัวพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มเมฆรุ่นเบต้าที่มีชื่อว่า LG Cloud โดยบริการนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดสื่อมีเดียต่างๆ ทั้งภาพและวีดีโอ รวมไปถึงสื่อแบบสามมิติ ขึ้นไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ LG และจะสามารถเรียกดูสื่อเหล่านี้ได้ผ่านทาง สมาร์ทโฟน เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี สมาร์ททีวี (ยี่ห้อ LG) และ set-top box
ส่วนสำคัญของระบบคือแอพพลิเคชัน LG Cloud โดยทาง LG ได้ให้ข้อมูลดังนี้
นับตั้งแต่การเปิดตัวของ Google Drive ก็มีเสียงฮือฮามากพอสมควร ไม่ว่าจะนำ Google Drive รวมกับ Chrome OS หรือแม้แต่จะมีแอพฯ เชื่อมโยงกับ Google Drive หลายคนเริ่มสงสัยว่ามันมีดีอะไร หรือสามารถทำอะไรได้บ้าง วันนี้ถือเป็นโอกาสดีที่ผมจะได้รีวิว Google Drive แบบเต็ม ๆ เสียที
ปล. นี่คือรีวิวแรกของผม อาจจะมีผิดพลาดบ้างก็ขออภัยครับ
เริ่มต้น
ช่วงนี้ตลาด cloud storage ร้อนแรงมาก เพราะมีทั้งการเปิดตัว Google Drive และ SkyDrive เวอร์ชันพีซี
เจ้าตลาดอย่าง Dropbox ก็ไม่ยอมง่ายๆ และทยอยอัพเดตฟีเจอร์ใหม่อย่างต่อเนื่องเช่นกันในระยะหลังๆ ล่าสุดออกของใหม่มาอีก 2 อย่าง
หลังการมาของ Google Drive คู่แข่งในตลาดอย่าง Box ก็เริ่มออกมาขยับบ้างแล้ว โดยมีการปรับปรุงแพลตฟอร์มครั้งใหญ่เพื่อให้ทัดเทียมกับคู่แข่ง และเอื้อต่อการพัฒนาแอพเพื่อใช้งานร่วมกับ Box
การปรับปรุงครั้งนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกคือการปรับปรุง API ชุดใหม่ให้ง่ายต่อการพัฒนามากขึ้น โดย Box ตั้งเป้าว่า API ชุดนี้จะง่ายพอที่นักพัฒนาจะเข้าใจตั้งแต่ครั้งแรก สามารถปรับให้เข้ากับแนวคิดได้ง่าย ปรับแต่งได้มาก และไม่มีฟีเจอร์แอบแฝง
ส่วนต่อมาคือ Box ตั้งใจให้นักพัฒนาสามารถใช้บริการของ Box ร่วมกับแอพของนักพัฒนาได้ในทันที (อารมณ์เหมื อนใช้แอพแทนโปรแกรม native แล้วมี Box แทนพื้นที่ตัวเครื่อง) Box เรียกระบบนี้ว่า Instant Mode
เดิมทีไมโครซอฟท์มี SkyDrive API อยู่บ้างแล้ว แต่ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ดังนั้นหลังจากออก SkyDrive เวอร์ชันพีซี ไมโครซอฟท์จึงออกมาเชิญชวนให้แอพต่างๆ มาเชื่อมต่อกับ SkyDrive API กันอีกรอบ
แผนการของกูเกิลเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หลังเปิดตัว Google Drive เป็นที่เรียบร้อย ทางคุณ Sundar Pichai ผู้บริหารของกูเกิลที่ดูแล Chrome ออกมาให้สัมภาษณ์แล้วว่ามันจะถูกรวมเข้ากับ Chrome OS รุ่นถัดไปแน่นอน
Sundar Pichai ให้สัมภาษณ์ว่า Google Drive จะช่วยให้ Chrome OS สมบูรณ์ขึ้น และมันจะทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี เพราะไดรฟ์ในเครื่องของเราจะมีข้อมูลเหมือนกับ Google Drive ทุกประการ และ Chrome OS จะเลือก Google Drive เป็นจุดเก็บข้อมูลหลักเวลาเราบันทึกไฟล์-เปิดไฟล์ภายในเครื่อง
และแล้วบริการ Google Drive ก็มาแล้วจริงๆ หลังจากข่าวลือและข่าวหลุดออกมาก่อนเป็นเวลานาน แต่ฟีเจอร์ของ Google Drive ไม่ใช่แค่การแชร์ไฟล์เหมือนบริการอื่นๆ แต่เป็นบริการมีที่มี 3 ฟีเจอร์หลัก
รอบสัปดาห์นี้มีข่าว SkyDrive กันเยอะมาก นอกเหนือไปจาก
เรายังมี SkyDrive อีกสองเวอร์ชันที่เปิดตัวพร้อมกัน นั่นคือ SkyDrive for Mac และ SkyDrive for iOS (ใช้ได้ทั้ง iPad/iPhone) รุ่นที่สอง
SkyDrive for Mac
Dropbox อัพเดตฟีเจอร์ใหม่ถ้วนหน้าทั้งบนเว็บไซต์ และแอพบนมือถือ/แท็บเล็ต/พีซี ด้วยการเพิ่มการแชร์ลิงค์สำหรับโฟลเดอร์ (ก่อนหน้านี้ได้เฉพาะไฟล์ใน public) ช่วยในการแชร์ไฟล์ หรือภาพเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้รับจะสามารถเข้าดูได้เพียงอย่างเดียว
Dropbox บอกว่าฟีเจอร์นี้สามารถใช้งานได้ทันที ไม่ต้องตั้งค่าเพิ่มเติม ตำแหน่งของปุ่มแชร์ลิงค์โฟลเดอร์จะอยู่จุดเดียวกับจุดแชร์ลิงค์สำหรับไฟล์/รูปภาพครับ
ที่มา - Dropbox
หลังจากมีข่าวทั้งลือและไม่ลือออกมามากมาย วันนี้ SkyDrive รุ่นใหม่ได้เผยโฉมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
*หมายเหตุ - เช่นเคยครับ ภาพในบทความนี้ทั้งหมดมีคำอธิบายเมื่อใช้เมาส์ชี้ และสามารถคลิกดูภาพใหญ่ได้ทุกภาพ - ลิงก์ในบทความนี้ทั้งหมดมีคำอธิบายเมื่อใช้เมาส์ชี้เช่นกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศปรับปรุง SkyDrive เวอร์ชันเว็บอีกหลายอย่าง ดังนี้
เว็บ SkyDrive น่าจะทยอยปรับความสามารถให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะตอนนี้เวอร์ชันเว็บยังใช้งานไม่สะดวกมากนัก และไมโครซอฟท์เองก็มีแผนจะให้ SkyDrive มีบทบาทอย่างมากใน Windows 8 ที่จะตามมาในปีนี้