เข้ามาเล่นในตลาดสตอเรจแฟลชอย่างจริงจังสำหรับ Oracle หลังจากเมื่อต้นปีเพิ่งเปิดตัว FS1 รุ่นไฮบริดไปก่อน ก็ถึงคิวเปิดตัวเวอร์ชันแฟลชล้วนมาบ้างเมื่อปลายเดือนสิงหาคม พร้อมกับเปิดตัวในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
สเปคตัวคอนโทรลเลอร์ของ FS1 รุ่นแฟลชล้วนจะเท่ากับรุ่นไฮบริดแทบทุกอย่าง ซีพียูเป็น Xeon E5-2620 หกคอร์ความถี่ 2GHz (รวมเป็น 24 คอร์) ใส่แรมได้สูงสุด 384GB รองรับ SSD ความจุสูงสุด 912TB แต่ถ้าใช้ SSD แบบเน้นประสิทธิภาพสูงจะอยู่ที่ 156TB
Linear Tape-Open (LTO) หน่วยงานวางมาตรฐานเทปสำรองข้อมูลประกาศออกมาตรฐาน LTO-7 ให้ผู้ผลิตเครื่องอ่านและผู้ผลิตเทปสามารถนำไปผลิตได้แล้ว
LTO-7 จะรองรับเทปขนาด 15TB เมื่อบีบอัด โดยตัวเทปจริงมีความจุ 6TB (เทียบกับ LTO-6 ที่รองรับ 6.25TB เมื่อบีบอัด ความจุจริง 2.5TB) โดยอัตราการส่งข้อมูลอยู่ที่ 750MB ต่อวินาที
ความจุที่เพิ่มขึ้นมาก มาจากเทคโนโลยีการควบคุมหัวอ่านเขียนที่แม่นยำขึ้น และสูตรของสารแม่เหล็กบนเนื้อเทปที่ทำให้มีสนามแม่เหล็กแรงขึ้น
ช่วงหลังๆ เริ่มมีหลายหน่วยงานสำรองข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์กันมากขึ้น แต่กับข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ก็ยังมีการใช้งานบนเทปกันอยู่ ทาง LTO เองก็ไปสนับสนุนกระบวนการความปลอดภัยข้อมูลเช่นฮาร์ดแวร์เข้ารหัสสำหรับการยืนยันว่าเทปไม่มีการเขียนทับ
IDC ออกรายงานตลาดสตอเรจแบบดิสก์ของโลก (Worldwide Total Disk Storage Systems) ประจำไตรมาส 2/2015 พบว่าเจ้าตลาดอย่าง EMC มีส่วนแบ่งตลาด (นับตามรายได้) ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน แต่ยังครองเบอร์หนึ่งด้วยส่วนแบ่ง 19.2%
บริษัทที่มีรายได้ลดลงหนักมากคืออันดับสี่ IBM ที่รายได้หายไป 28.9% มีส่วนแบ่งตลาดลดเหลือ 8.1% ส่วนผู้ผลิตกลุ่ม Top 5 รายเดียวที่รายได้เพิ่มคือ HP ครองอันดับสอง ส่วนแบ่งตลาด 16.2%
จุดที่น่าสนใจคือผู้ผลิตสตอเรจกลุ่ม original design manufacturers (ODM) ที่ขายดิสก์ให้ผู้ให้บริการคลาวด์ขนาดใหญ่ (เช่น Google/Amazon/Facebook) มีอัตราการเติบโตสูงถึง 25.8% จากปีก่อน มีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน 11.5% ส่วนใหญ่บริษัทในกลุ่มนี้อยู่ในประเทศไต้หวัน เช่น Quanta และ Wistron
Supermicro เปิดตัวสตอเรจเซิร์ฟเวอร์สำหรับงานระดับองค์กรและการให้บริการคลาวด์ที่ต้องการประสิทธิภาพสูง โดยใช้ SSD จาก HGST ที่มีให้เลือกสองรุ่น คือ Ultrastar SSD800MH.B และ Ultrastar SSD1600MM
ตัวคอนโทรลเลอร์เป็นเซิร์ฟเวอร์ 2U ใช้ซีพียู E5-2643 แรม 256GB มีพอร์ต SFP+ 10Gbps 2 พอร์ต ซอฟต์แวร์เป็น NexentaStor 4.0 รองรับ NFSv3, NFSv4, CIFS, SMB 2.1, และ iSCSI
ประสิทธิภาพ latency ต่ำกว่า 1ms, รองรับ 200,000 IOPS ที่บล็อค 32KB และทรูพุตรวม 6GB/s
เริ่มต้นที่ 19TB ไปจนถึง 115TB ราคาตั้งอยู่ที่ 2 ดอลลาร์ต่อ GB ไปจนถึง 3.5 ดอลลาร์ต่อ GB
US-CERT ออกประกาศแจ้งเตือนผู้ใช้ฮาร์ดดิสก์ที่สามารถใช้งานผ่าน Wi-Fi ของทาง Seagate และ LaCie สามรุ่น ได้แก่ Seagate Wireless Plus Mobile Storage, Seagate Wireless Mobile Storage, และ LaCie FUEL
ทั้งสามรุ่นมีช่องโหว่ร้ายแรงหลายอย่าง เช่น การอัพโหลดไฟล์โดยไม่ต้องล็อกอิน, การดาวน์โหลดไฟล์โดยไม่ต้องล็อกอิน, และที่ร้ายแรงที่สุดคือรหัสผ่าน telnet ระดับ root ที่ตั้งรหัส username/password ไว้เป็น root/root
ทาง Seagate ออกเฟิร์มแวร์แก้ไขช่องโหว่ทั้งหมดแล้วในรุ่น 3.4.1.105 ผู้ใช้ฮาร์ดดิสก์ที่ได้รับผลกระทบควรเร่งอัพเดตทันที
ที่มา - CERT
Seagate เป็นเจ้าแรกที่ผลิตฮาร์ดดิสก์ความจุ 8TB สำหรับผู้ใช้ทั่วไปออกขาย ผู้ผลิตอีกเจ้าคือ HGST ก็มีรุ่น Ultrastar He8 ที่บรรจุก๊าซฮีเลียมเข้าไปนั่นเอง ตอนนี้ Seagate กลับมาโฟกัสตลาดฮาร์ดดิสก์ความจุสูงอีกครั้ง แต่เป็นในส่วนของฮาร์ดดิสก์สำหรับองค์กร (Enterprise grade) โดยได้เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ใหม่ถึงสามรุ่นด้วยกัน
Western Digital (WD) เปิดตัวอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบติดตั้งภายนอก (external harddisk) My Book Pro เป็นรุ่นที่ความเร็วสูงที่สุดของทาง WD
ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ภายในเป็นแบบหมุนที่ 7,200 รอบต่อนาที สามารถคอนฟิก RAID ได้ทั้ง RAID 0, RAID 1, และ JBOD ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดที่ 435MB/s รองรับการเชื่อมต่อ Thunderbolt 2 และ USB 3.0
รับประกัน 3 ปี ราคาเริ่มต้น 24,900 บาทสำหรับรุ่น 6TB, 37,900 บาทสำหรับรุ่น 8TB, และ 42,900 บาทสำหรับรุ่น 12TB
เห็นราคาแล้วรู้สึกปกติ
หน่วยความจำ 3D XPoint หรือชื่อการค้าตอนนี้เป็น Optane มีทั้งแบบ SSD ปกติและแบบ DDR เรื่องที่น่าหลายคนสนใจคือราคาของ Optane จะสูงแค่ไหน วันนี้ทางอินเทลก็บอกช่วงราคามาเพิ่มเติมว่าจะไม่เกินครึ่งหนึ่งของแรม DDR
อินเทลเปิดตัวเทคโนโลยี 3D XPoint โดยระบุว่าเป็นเทคโนโลยีหน่วยความจำแบบใหม่ในรอบหลายสิบปีที่จะเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ไปอย่างมาก แต่จนตอนนี้นอกจากตัวเลขประสิทธิภาพแล้ว ข้อมูลอื่นๆ ก็ยังไม่ได้เปิดเผยออกมามากนัก วันนี้ที่งาน IDF2015 Bill Liszenske ผู้บริหารอินเทลที่ดูแลฝ่ายหน่วยความจำถาวร (non-volatile memory) ก็พูดคุยกับสื่อถึงประเด็นของเทคโนโลยีนี้ ผมรวบรวมคำถามที่น่าสนใจมาไว้ในบทความนี้
อินเทลประกาศหน่วยความจำ 3D XPoint เมื่อเดือนที่แล้ว วันนี้อินเทลประกาศชื่อแบรนด์สำหรับหน่วยความจำรุ่นใหม่นี้ใช้ชื่อ Optane จะเริ่มวางขายในปีหน้า
Optane จะมีขายทั้งแบบ SSD และแบบ DIMM ให้เสียบคู่กับแรม แต่ต้องใช้งานร่วมกับ Xeon รุ่นที่รองรับ
เมื่อต้นปีเราเพิ่งเห็น ข่าวอินเทลและไมครอนพูดถึงความเป็นไปได้ของ SSD ขนาด 2.5 นิ้ว ที่มีความจุสูงกว่า 10TB กันอยู่ แต่เมื่อวานนี้กลับเป็นค่ายซัมซุง ที่สามารถเปิดตัว SSD ความจุ 16TB ก่อนใคร
ไดรฟ์ SSD ของซัมซุงใช้ชื่อรุ่นว่า PM1633a มาพร้อมกับความจุใหญ่สะใจ 16TB ส่วนเทคโนโลยีเบื้องหลังที่ซัมซุงสามารถผลิต SSD ใหญ่ขนาดนี้ได้คือหน่วยความจำแบบ NAND flash ขนาด 32GB ที่ใหญ่กว่าเดิมเท่าตัว มันใช้เทคโนโลยีการวางหน่วยความจำเรียงกันแบบ 3D จำนวน 48 เลเยอร์ต่อชุด ช่วยให้จุข้อมูลได้มากขึ้น
จากข่าวว่า Symantec เตรียมแยกบริษัท ที่เปลี่ยนเป็นการขายกิจการสตอเรจ Veritas แทน วันนี้ข่าวเป็นทางการมาแล้ว โดย Symantec จะขายกิจการสตอเรจแบรนด์ Veritas ให้กลุ่มบริษัทลงทุนด้วยมูลค่า 8 พันล้านดอลลาร์
กลุ่มบริษัทที่มาซื้อ Veritas ประกอบด้วย The Carlyle Group บริษัทลงทุนรายใหญ่ของสหรัฐ, GIC บริษัทลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ (คนละรายกับเทมาเสกที่คนไทยคุ้นชื่อกันดี) และบริษัทอื่นๆ การขายกิจการจะเสร็จสิ้นในวันที่ 1 มกราคม 2016
Symantec ซื้อ Veritas ในปี 2005 เวลาผ่านไปสิบปี Veritas ก็จะกลายเป็นบริษัทอิสระอีกครั้ง
อินเทลและไมครอนประกาศความสำเร็จของงานวิจัยร่วม 3D XPoint (อ่านว่า ทรี-ดี ครอส-พอยต์) หน่วยความจำแบบแฟลช โดยระบุว่าเป็นหน่วยความจำประเภทใหม่ครั้งแรกในรอบ 25 ปี
3D XPoint ประสิทธิภาพสูงกว่า NAND ได้ถึงพันเท่าตัว ทนทานต่อการใช้งานถึงพันเท่าตัว และหน่วยความจำหนาแน่นกว่าสิบเท่าตัว ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง, พื้นที่ขนาดใหญ่, และต้องการเก็บข้อมูลระยะยาว
Cisco หยุดขายฮาร์ดแวร์สตอเรจตระกูล UCS Invicta Flash Storage Appliances หลังธุรกิจไปได้ไม่ดีอย่างที่หวัง
ผลิตภัณฑ์สตอเรจของ Cisco ได้มาจากการซื้อบริษัท WHIPTAIL เมื่อปี 2013 ด้วยมูลค่า 415 ล้านดอลลาร์ จากนั้นจึงนำผลิตภัณฑ์ของ WHIPTAIL มารวมอยู่ใต้แบรนด์เซิร์ฟเวอร์ UCS
เว็บไซต์ The Register รวบรวมข้อมูลเบื้องหลังของการซื้อ WHIPTAIL สรุปได้ว่าดีลนี้มีปัญหามากมาย ทั้งข้อจำกัดทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์ Cisco เดิม (ที่เป็นพันธมิตรกับ NetApp) และการที่ทีม WHIPTAIL ไม่สามารถทำงานเข้ากับทีมของ Cisco ได้ รวมถึงการเมืองภายในของ Cisco ที่ทำให้โครงการนี้ล้มเหลว และผลิตภัณฑ์ตระกูล Invicta ทำงานกับผลิตภัณฑ์ของ Cisco ไม่ดีเท่าที่ควร
กูเกิลเปิดโครงการ Switch and Save ดึงคนเข้าใช้งาน Cloud Storage Nearline หลังจากเปิดตัวไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
โครงการนี้จะเปิดให้ลูกค้าที่สัญญาว่าจะใช้งานพื้นที่ 1PB ภายในสามเดือน ได้รับพื้นที่ 100PB ไปใช้งานฟรี 6 เดือน
นอกจากนี้กูเกิลยังปรับปรุงบริการ Cloud Storage Nearline เพิ่มเติม คือ รองรับ on-demand I/O ให้สามารถรับส่งไฟล์ด้วยแบนด์วิดท์เกินกว่า 4MB/s ได้แล้ว และเปิดบริการ Cloud Storage Transfer Service ดึงข้อมูลจากบริการอื่นเข้ามาไว้ใน Cloud Storage Nearline
หลังจากเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในงาน EMC World 2015 พร้อมทั้งแนววิสัยทัศน์ใหม่ "Federation" ด้วยการแยกออกเป็นสามบริษัท ห้าแบรนด์เมื่อปีก่อน ตอนนี้ก็ถึงยุคเปลี่ยนผ่านจากบริษัทฮาร์ดแวร์ ไปเน้นการทำซอฟต์แวร์เพื่อเป็นโซลูชันครบวงจรแล้ว
โดยแนวทางการดำเนินธุรกิจใหม่ของ EMC จะมุ่งเน้นการทำโซลูชันที่ตอบโจทย์ผู้คน อุปกรณ์ และปริมาณข้อมูลที่มากขึ้นในปัจจุบัน หรือเรียกง่ายๆ ว่าแพลตฟอร์มยุคที่สาม (3rd platform) ซึ่งยกเอาทุกอย่างไปไว้บนกลุ่มเมฆ และรวมศูนย์การจัดการทุกอย่างไว้ที่เดียว
ซัมซุงเปิดตัว SSD รุ่น 850 PRO และ 850 EVO ขนาด 2TB เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เข้ากำลังสู่ยุค 4K
SSD รุ่น 850 PRO และ 850 EVO ขนาด 2TB มาพร้อมกับชิปแฟลช 3D V-NAND 128Gb 32 เลเยอร์, คอนโทรลเลอร์ประสิทธิภาพสูง MHX ที่รองรับความจุ 2TB และชิป DRAM LPDDR3 4Gb ขนาด 20 นาโนเมตร จำนวน 4 ตัว มาในบอดี้อะลูมิเนียมขนาด 2.5 นิ้ว หนา 7 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้า โดยรุ่น 850 PRO การันตีการเขียนที่ 300TBW หรือ 10 ปี และ 850 EVO ที่ 150TBW หรือ 5 ปี
ซัมซุงจะเปิดตัวไดรฟ์ตระกูล 850 ขนาด 2TB ที่มาพร้อมชิป 3D V-NAND ในรูปแบบ mSATA และ M.2 เพิ่มอีกในเร็วๆ นี้
Nutanix ถือเป็นสตาร์ตอัพสาย enterprise ที่กำลังมาแรงมาก บริษัทเริ่มก่อตั้งในปี 2009 และเริ่มวางขายสินค้าครั้งแรกในปี 2011 เวลาผ่านมาได้เพียงไม่กี่ปี บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถระดมทุนได้แล้วกว่า 300 ล้านดอลลาร์ (มูลค่าบริษัทเกิน 2 พันล้านดอลลาร์เข้าไปแล้ว หนึ่งในบริษัทที่มาลงทุนคือ SAP) และน่าจะขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปีนี้ (ท่ามกลางข่าวลือล่าสุดว่า Cisco สนใจเข้ามาสอยไปก่อน IPO)
สเปกแผ่น Blu-ray รุ่นถัดไปเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมันจะใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Ultra HD Blu-ray
รายละเอียดของสเปกเป็นไปตามข่าวก่อนหน้านี้ คือความละเอียดภาพ 4K (3840x2160), เฟรมเรต 60 fps, มีโหมดการแสดงผลแบบ HDR, รองรับมาตรฐานระบบเสียง object-based sound formats ในอนาคต (DTS:X และ Dolby Atmos) และมีฟีเจอร์แสดงความเป็นเจ้าของสิทธิเนื้อหา (digital bridge) ข้ามอุปกรณ์ ลักษณะเดียวกับ Ultraviolet ด้วย
แผ่น Ultra HD Blu-ray มีความจุ 2 ระดับคือ 66GB (แบบสองเลเยอร์) และ 100GB (แบบสามเลเยอร์) ครับ
อินเทลออก SSD รุ่นใหม่สำหรับตลาดคอนซูเมอร์คือ Intel SSD 750 Series จุดเด่นของมันคือเลิกใช้อินเทอร์เฟซแบบ SATA และเปลี่ยนมาใช้ PCI Express 3.0 x4 แทน โดยตัวไดรฟ์ยังมีขนาด 2.5" มาตรฐาน
SSD 750 Series มีความจุให้เลือก 2 ขนาดคือ 400GB และ 1.2TB อัตราการอ่าน-เขียนข้อมูลสูงสุด 2,400/1,200 MBps (sequential) และ 440,000/290,00 IOPS ส่วนราคาคือ 389 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 400GB และ 1,029 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 1.2TB
นอกจากนี้อินเทลยังออก SSD 535 Series ที่ราคาย่อมเยาลงมา ความจุมีให้เลือกตั้งแต่ 120-480GB มีไดรฟ์ให้เลือก 2 ขนาดคือ 2.5" และ M.2
อินเทลเพิ่งเปิดตัวชิป 3D NAND แบบ 32 ชั้น ไปวันก่อน ตอนนี้โตชิบาก็เปิดตัวข่มด้วยชิปซ้อนกัน 48 ชั้น โครงสร้างภายในเป็น BiCS เก็บข้อมูลได้สองบิตต่อเซลล์ ชิปแต่ละตัวมีความจุรวม 128 กิกะบิต
แม้ว่าจะซ้อนชั้นได้เยอะกว่า แต่ชิปของโตชิบาก็มีความจุต่อชิปน้อยกว่าอินเทลและไมครอนเท่าตัว ทางโตชิบาระบุว่าตอนนี้เริ่มส่งตัวอย่างให้คู่ค้าแล้ว ขณะที่ชิปของอินเทลเข้าสู่กระบวนการผลิตล็อตแรก และจะผลิตด้วยกำลังผลิตเต็มที่ในปลายปีนี้
การผลิตเต็มรูปแบบจะต้องรอโรงงาน Fab2 ในญี่ปุ่นสร้างเสร็จเสียก่อน กำหนดการตอนนี้น่าจะเริ่มผลิตได้ประมาณครึ่งแรกของปี 2016
ซัมซุงประกาศผลิต NAND Flash eMMC 5.0 ขนาด 128GB เป็นจำนวนมากแล้ว ถือเป็นสัญญาณว่าเราจะได้เห็นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตความจุ 128GB ออกสู่ตลาดมากขึ้น
ปัจจุบันสมาร์ทโฟนรุ่นท็อปๆ ใช้สตอเรจแบบ eMMC 5.1 หรือ Universal Flash Storage (UFS) 2.0 ความจุ 128GB แล้ว แต่มือถือระดับกลางยังไม่ค่อยมีความจุระดับ 128GB มากนัก ซึ่งสตอเรจของซัมซุงรุ่นนี้ออกมาเพื่อผลักดันให้เราเห็นมือถือ 128GB มากขึ้น
สเปกของสตอเรจตัวนี้คืออัตราอ่านข้อมูล (sequential read) 260 Mbps, อัตราอ่านข้อมูล (random read) 6,000 IOPS, อัตราการเขียนข้อมูล (random write) 5,000 IOPS ถือว่าเร็วกว่าอัตราการอ่าน-เขียนของหน่วยความจำภายนอก (external memory card) ทั่วไปประมาณ 4-10 เท่า
HGST หรือฮิตาชิเดิม เคยเปิดตัวฮาร์ดดิสก์ขนาด 10TB รุ่น SMR HelioSeal HDD ไปตั้งแต่เดือนกันยายน 2014 แต่ของยังไม่วางขายจริงเสียที
ล่าสุด HGST นำฮาร์ดดิสก์ 10TB ตัวนี้ออกมาโชว์ที่งานสัมมนา Open Compute และงาน Linux Foundation Valut เมื่อสัปดาห์ก่อนแล้ว โดยเว็บไซต์ ZDNet รายงานว่า HGST จะวางขายสินค้าจริงในไตรมาสที่สองของปีนี้
HGST ใช้เทคนิค SMR ร่วมกับ HelioSeal (อ่านคำอธิบายในข่าวเก่า) ช่วยให้ขยับความจุได้สูงถึง 10TB ส่วนฝั่งซอฟต์แวร์ ตอนนี้ลินุกซ์เวอร์ชัน 3.19 เป็นต้นไปก็เริ่มรองรับฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เทคโนโลยี Zoned-device ATA command set (ZAC) แล้ว
ทิศทางของโลกสตอเรจในช่วงหลังเริ่มมีอุปกรณ์จำพวก converged infrastructure หรือ CI เข้ามามากขึ้น อุปกรณ์แบบนี้คือการผนวกเอาหน่วยประมวลผล สตอเรจ เครือข่าย และระบบจัดการเข้ามาเป็นเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียวเพื่อให้ง่ายแก่การดูแล เริ่มมีลักษณะเป็นอุปกรณ์สำเร็จรูป (appliance) มากขึ้นกว่าเดิม ข้อดีของอุปกรณ์แบบ CI คือบริหารจัดการง่าย ติดตั้งง่ายเหมือนต่อเลโก้ พังก็เปลี่ยนทั้งตัวเลย ส่วนข้อเสียคือปรับแต่งได้น้อย ทำให้ไม่เหมาะกับงานบางประเภท
SanDisk เปิดตัวการ์ด microSD รุ่น SanDisk Ultra® microSDXC™ UHS-I card, Premium Edition ความจุสูงที่สุดในโลกที่ 200GB เพิ่มขึ้น 56% จากความจุสูงสุดในปีที่แล้วที่มีขนาดสูงสุด 128GB
ความเร็วในการโอนข้อมูลของการ์ดรุ่นนี้อยู่ที่ 90MB/s
การ์ดนี้ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับโทรศัพท์แอนดรอยด์เป็นหลัก โดยมาพร้อมกับแอพพลิเคชั่น Memory Zone ที่สำรวจพื้นที่ของโทรศัพท์ หากพื้นที่เริ่มใกล้เต็มตัวแอพพลิเคชั่นจะย้ายรูปภาพไปยัง microSD ให้เอง
เริ่มขายไตรมาสสองของปีนี้ ราคา 399.99 ดอลลาร์
ที่มา - SanDisk