Sun Microsystems
ผลสำรวจรายได้ของชาวไอทีจาก Cert Magazine ประจำปีนี้ แยกตามค่ายแล้ว ซิสโก้ยังคงเป็นแชมป์อีกสมัย ตามมาด้วย ออราเคิล, ซัน, ไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์ ตามลำดับ
สถิติที่น่าสนใจมีดังนี้
Bob Brewin รองประธานฝ่ายซอฟต์แวร์ของซันประกาศในงาน AjaxWorld ถึงการที่ไม่มีเทคโนโลยีจาวาบนไอโฟนว่ามันคือความผิดพลาด !!
มือถือบนโลกกว่าสองล้านล้านเครื่องอาจจะใช้จาวาได้ แต่ไม่ใช่กับไอโฟนแน่นอน และดูเหมือนจะไม่มีวี่แววว่าทางแอปเปิลจะมีนโยบายนำจาวามาลงในไอโฟนแต่อย่างใด
ซันให้เหตุผลว่า มีโปรแกรมอีกมากมายที่พร้อมจะทำงานบนระบบมือถือ และสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีบนไอโฟน อย่างเช่นเรื่องเกมส์บนมือถือส่วนใหญ่เป็นจาวาทั้งนั้น รวมทั้งตัว JavaFX ที่ซันโม้ว่าจะช่วยให้ระบบการแสดงผลบนไอโฟนนั้นดีเยี่ยมยิ่งขึ้นอีกด้วย แถมซันยังทิ้งท้ายด้วยคำกล่าวแรงๆ ที่ว่าแอปเปิ้ลคงไม่คิดจะเปิดระบบของตัวเองหรอก
ไม่มีคำตอบใดๆจากแอปเปิล และสตีฟ จ็อบส์เองก็ปฏิเสธนักข่าวที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้
หลังจากซื้อ JBoss ไปก่อนหน้านี้ทางเรดแฮทก็มีธุรกิจที่ผูกพันกับจาวาค่อนข้างมาก การเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของเรดแฮทต่อจาวาจึงเป็นการเข้าร่วมพัฒนา JDK กับทางซันอย่างเป็นรูปธรรม โดยที่ค่อนข้างแน่คือจะมีการรวมโครงการ IcedTea ของทางเรดแฮทเองเข้ากับทาง OpenJDK พร้อมกับขอรับสิทธิในการใช้งาน OpenJDK Community Test Compatibility Kit (TCK) เพื่อยืนยันว่า OpenJDK ที่มาจากทางเรดแฮทนั้นสามารถใช้งานได้เหมือนกับ JDK มาตรฐานจากทางซันเอง
จากข่าวเก่า คุณ James Gosling ได้ออกมาแก้ข่าวว่าเป็นมีความเข้าใจผิดในเนื้อหาว่าซันกำลังจะยกเลิก JavaME
แต่จริงๆ แล้วนั้นคุณ James แกหมายถึงว่าในปัจจุบันนี้และอนาคตอุปกรณ์มือถือจะมีพลังในการประมวลผลและหน่วยความจำมากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถทำงานเป็น Desktop ได้เลย ซึ่ง JavaME ก็จะทำการพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความสามารถของอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น จนจะใกล้เคียงกับ JavaSE ครับ
หลังจากที่ทำให้ตลาดการพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์มือถือแตกตื่นมาก่อน มาวันนี้ซันตั้งใจที่จะยุติ Java ME เสียแล้วล่ะครับ
เหตุผลของการยกเลิกนี้ ทางคุณ James Gosling บิดาของ Java เองได้ให้เหตุผลไว้ว่า "เพราะอุปกรณ์พวกมือถือต่างๆ ตอนนี้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก ทั้งความเร็วในการประมวลผล หน่วยความจำต่างๆ จึงทำให้ Java SE นั้นเริ่มเหมาะสมกับอุปกรณ์พวกนี้มากกว่า"
โดยส่วนตัวคิดว่าเหตุผลส่วนหนึ่งที่ซันเปลี่ยนไปดัน Java SE สำหรับตลาดอุปกรณ์มือถือคือ Consumer JRE ที่จะทำให้ขนาด JRE ของ Java เล็กลงมากๆ นั่นเอง
แอปเปิลได้ทยอยแจก ZFS Read/Write Developer Preview 1.1 ให้กับนักพัฒนาโปรแกรมที่ได้ลงทะเบียนไว้กับทางบริษัทในอาทิตย์นี้
ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ออกมายืนยันว่า Mac OS X Leopard (10.5) นี้จะไม่มีการนำ ZFS ไปใช้เป็นระบบจัดการไฟล์หลักแต่อย่างใด แม้ว่าทางซันออกมายืนยันว่าจะมีการนำ ZFS ไปใช้แน่นอน ทางแอปเปิลได้แค่บอกว่า Leopard นั้นทำได้แค่อ่าน ZFS ได้อย่างเดียว (Read-Only) และจะไม่สามารถทำการแก้ไข สร้าง หรือลบไฟล์บนระบบ ZFS ได้เลย แต่ ZFS Read/Write Developer Preview 1.1 นี้ทำให้ Leopard มีความสามารถที่จะนำระบบจัดการไฟล์ ZFS ไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง
ที่มาของเรื่องย้อนกลับไปอ่านข่าวเก่า: OpenSolaris ปรับกลยุทธให้ใช้ง่ายเท่าลินุกซ์ ซึ่งโค้ดเนมของโครงการนี้คือ Project Indiana
เวลาผ่านไปสองสามเดือนก็มีความคืบหน้าบ้างแล้ว
เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา บริษัทซันได้เซ็นสัญญาขายเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อม Windows Server แบบ OEM กับทางบริษัทไมโครซอฟท์ ทำให้ต่อไปเมื่อเราซื้อเซิร์ฟเวอร์ตระกูล 64 บิต (Sun Fire x64 Servers) ของซันก็จะสามารถเลือก OS ที่ลงมากับเครื่องได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Solaris, Linux และ Windows (คาดว่าจะออกจำหน่ายจริงในอีกประมาณ 90 วัน) ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ เป็นหนึ่งในความร่วมมือหลายๆ ด้านของทั้งสองบริษัทตั้งแต่ปี ค.ศ.2004 ที่เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิสเริ่มได้รับความนิยม
Project Darkstar เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ใช้สำหรับพัฒนาเกม MMO โดยเซิร์ฟเวอร์จะรันบนสภาพแวดล้อมของจาวา ส่วนไคลเอนต์สามารถเรียกใช้งานผ่าน SDK ซึ่งเป็น J2SE และ J2ME API
สถาปัตยกรรมของ Project Darkstar นั้นเป็นเซิร์ฟเวอร์แบบคลัสเตอร์ แต่ละโหนดจะรันโค้ดประมวลผลตรรกะของเกมชุดเดียวกัน คำสั่งการประมวลผลจะอยู่ในรูปแบบของทรานแซคชัน ทำให้สามารถเพิ่มหรือลดจำนวนเซิร์ฟเวอร์ได้ง่าย มีความมั่นคงของระบบโดยรวมสูง และมี load balancing อยู่ในตัว
ซันเลือกใช้สัญญาอนุญาต GPLv2 สำหรับซอร์สโค้ดเซิร์ฟเวอร์ และสัญญาอนุญาตที่แก้ไขจาก BSD (revised BSD) สำหรับซอร์สโค้ดไคลเอนต์ SDK
Jonathan Schwartz ประธานของซัน ไมโครซิสเต็มส์ประกาศในบล็อกของตัวเองว่า สัปดาห์หน้าซันจะเปลี่ยนสัญลักษณ์ย่อของบริษัทในตลาดหุ้น NASDAQ จากเดิมที่ใช้ว่า SUNW มาเป็น JAVA
เหตุผลก็เป็นเรื่องการตลาดล้วนๆ Schwartz ให้เหตุผลว่าแบรนด์ของ Java นั้นดีกว่าตัวบริษัทมาก เนื่องจากรู้จัก Java จากมือถือ, โปรแกรมอัพโหลดรูปภาพจาก social network ต่างๆ และเกมคอนโซล ซันจึงหวังจะขยายการรับรู้นี้ออกไปโดยผ่านสัญลักษณ์หุ้น ซึ่งจะแสดงต่อสายตานักเล่นหุ้นใน NASDAQ และนักลงทุนอีกมากมายทั่วโลก
ถ้าใครยังพอจำกันได้ เมื่อปี 2005 กูเกิลกับซันเคยจับมือกันเรื่องซอฟต์แวร์ ซึ่งเริ่มแรกด้วย JRE จะมีตัวเลือกในการติดตั้ง Google Toolbar (ข่าวเก่า)
ล่าสุดชุด Google Pack ได้เพิ่ม StarOffice 8 เข้ามาในชุด โดยกูเกิลให้เหตุผลที่เลือก StarOffice แทนที่จะเป็น OpenOffice.org ก็เพราะว่า StarOffice มีเครื่องมืออำนวยความสะดวก (พวกคลิปอาร์ท ฟอนต์ เทมเพลต) ให้มากกว่า และในขั้นต่อไป กูเกิลจะปรับแต่งให้ StarOffice รุ่นนี้มีปลั๊กอินพิเศษที่เชื่อมกับ Google Docs & SpreadSheet ได้ด้วย ในตอนนี้ยังทำได้แค่เชื่อมกับ Google Desktop เท่านั้น
JavaFX ที่ซันออกมาแข่งกับ Flash มีประสิทธิภาพค่อนข้างแย่ ช้ากว่า Flash 4 เท่าและช้ากว่า Silverlight 7 เท่า ซันจึงแก้ทางโดยออกคอมไพเลอร์ที่แปลง JavaFX ให้เป็นไบต์โค้ด ในชื่อโครงการ OpenJFX Compiler
ตอนนี้ OpenJFX Compiler ยังไม่เสร็จดี ยังสนับสนุนฟีเจอร์ต่างๆ ไม่ครบ แต่ประสิทธิภาพที่เพิ่มมาก็ดีใช้ได้ ใครสนใจก็ช่วยไปพัฒนาได้ที่ OpenJFX Compiler
ที่มา - Sun developing open source JavaFX Script compiler
ป.ล. เขียนข่าวเป็นครั้งแรก ช่วยติชมด้วยครับ
ช่วงหลังๆ Solaris หรือ OpenSolaris เป็นระบบปฏิบัติการที่มีฟีเจอร์ก้าวหน้าหลายอย่าง เช่น ZFS หรือ DTrace แต่ก็น่าเสียดายที่ยังมีความเป็นซัน (แปลว่าใช้ยากและไม่น่าดึงดูดใจ) อยู่มาก ทำให้คนใช้ OpenSolaris น้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับเป้าหมายของซัน
หลังจากจ้าง Ian Murdock ไปอยู่ด้วย (ข่าวเก่า) เราก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง โดยซันใช้ชื่อว่าโครงการ Indiana
Indiana มีเป้าหมายคือทำให้ OpenSolaris เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ง่าย และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับคนที่เคยใช้ลินุกซ์มาก่อน ตัวอย่าง
ซันออกปลั๊กอิน Sun ODF Plug-in for Microsoft Office สำหรับให้ Microsoft Office สามารถอ่าน/เขียนไฟล์ OpenDocument ได้ โดยสนับสนุนเวอร์ชัน 2000, XP และ 2003 ตอนนี้ยังใช้ได้กับ Word เท่านั้น
ตัวปลั๊กอินมีขนาด 30 MB ใครสนใจก็ดาวน์โหลดได้ที่นี่ แล้วมารายงานผลด้วยก็ดีครับ (ผมไม่มี MS Office)
ฝั่งไมโครซอฟท์-โนเวลล์ก็กำลังสปอนเซอร์โครงการทำปลั๊กอินคล้ายๆ กันอยู่ ชื่อว่า OpenXML/ODF Translator Add-On for Office ตอนนี้ยังใช้ได้เฉพาะ Word เช่นกัน
ที่มา - Heise Online
เมื่อปีที่แล้วซันเปิดตัวโครงการ Blackbox ขึ้นมาโดยเป็นการยัดเอาเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากเข้าไปไว้ในตู้คอนเทนเนอร์ตู้เดียวแน่นๆ ให้ขนย้ายกันง่ายๆ และติดตั้งได้เร็วกว่าปรกติ พร้อมพลังประมวลผลมหาศาล (ซันอ้างว่าติด 1 ใน 200 เครื่องที่เร็วที่สุดในโลก) หลังจากดูรูปกันให้น้ำลายไหลเล่นมานาน ทางซันก็เริ่มส่งมอบเครื่องทดลองให้กับ Stanford Linear Accelerator Center (SLAC) เป็นที่แรกแล้ว โดยจะนำไปติดตั้งไว้ที่ตึก 50 ของทาง SLAC ซึ่งเป็นตึกบริการคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะเต็มจนไม่สามารถติดตั้งคอมพิวเตอร์เพิ่มได้ งานนี้ Blackbox ของซันเลยลงตัว เพราะเอามาวางหลังตึกแล้วต่อสายไฟฟ้ากับการสื่อสารก็ใช้งานได้ทันที
จากสงครามคารมคราวก่อนระหว่าง Linus Torvalds กับ Jonathan Schwartz ประธานของซํน (ข่าวเก่า) ก็ได้มีผู้ร่วมผสมโรงที่ไม่ธรรมดามาตอบคอมเมนต์ในบล็อกของ Jonathan และคอมเมนต์อันนั้นก็ถูกอ้างไปทั่วอินเทอร์เน็ต เขาคนนั้นก็คือ Theo de Raadt แห่ง OpenBSD
Linus Torvalds เปิดศึกวิวาทะกับซัน โดยเขาเขียนลงในเมลลิ่งลิสต์ของเคอร์เนลเกี่ยวกับ GPLv3 และอ้างถึงซัน (ซึ่งมีท่าทีสนับสนุน GPLv3) ว่า
Jonathan Schwartz จาก Sun ออกมาประกาศที่งานของบริษัทที่กรุงวอชิงตันดีซีว่าแอปเปิลจะใช้ ZFS เป็นระบบจัดการไฟล์หลักของ Mac OS X 10.5 (Leopard)
"ที่จริงแล้ว... ในอาทิตย์นี้พวกคุณจะเห็นว่าแอปเปิลกำลังจะประกาศที่งาน Worldwide Developer Conference ว่า ZFS จะถูกไปใช้เป็นระบบจัดการไฟล์ใน Mac OS 10" - Jonathan Schwartz
ซันออกแพลตฟอร์ม JavaFX หวังชิงตลาด Rich Internet Applications ที่ปัจจุบันครอบครองโดย AJAX
JavaFX จะประกอบด้วยรันไทม์ซึ่งเป็นส่วนขยายของ JRE ซึ่งมีอยู่ในคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่แล้ว และภาษาสคริปต์ JavaFX Script ที่ออกมาชนกับ JavaScript ตรงๆ ข้อดีของ JavaFX ที่ซันระบุคือความปลอดภัย (เพราะใช้ sandbox ของ JRE) และความง่ายในการพัฒนา (เพราะเขียนเทียบกับรันไทม์ตัวเดียว ไม่ต้องเจาะเฉพาะเบราว์เซอร์แบบ AJAX)
ตลาดนี้มีคู่แข่งบิ๊กเบิ้มอีกสองรายคือ Adobe Flex และ Microsoft Silverlight อย่างไรก็ตาม การที่ AJAX ได้รับความนิยมก็เป็นเพราะมันไม่ต้องลงรันไทม์นี่ล่ะ
ที่มา - InternetNews
หลังจากปล่อยซอร์สจาวาตัวแรกที่เป็น GPL ออกมาแล้ว ตอนนี้ซันได้ประกาศปล่อยซอร์สของ JDK ออกมาแล้วครับภายใต้ GPL เวอร์ชัน 2
ซึ่งโค๊ดนั้นจะเปิดเผยทั้งหมดยกเว้นบางส่วนที่ซันไม่ได้เป็นเจ้าของหรือเขียนเองและผู้เขียนก็ไม่ตกลงใจกับ GPL เวอร์ชัน 2 นี้ครับ เช่นพวก Library เกี่ยวกับด้านกราฟฟิกหรือด้านเสียง เป็นต้น
นอกจากนี้ซันจะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาตัว OpenJDK และสร้างเป็นชุมชนขึ้นภายในปีหน้าครับ
งานนี้ออกมาชนกับ Harmony ของ Apache เต็มๆ
ที่มา - TheServerside.com
ปัจจุบันคนที่ต้องการใช้งานพวกเวิร์ดโพรเซสเซอร์หรือสเปรดชีตแบบไม่เสียเงินบนแมค ก็มักจะใช้ NeoOffice ในการใช้งาน แต่เนื่องจาก NeoOffice นั้นถึงแม้จะถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ OpenOffice เป็นพื้นฐาน แต่ก็มีการใช้ Java มาช่วย ซึ่งก็มีผลทำให้บางครั้งก็รู้สึกว่าการทำงานมันช้าเกินเหตุเพราะไม่ได้เป็น Native Code
มาถึงตอนนี้ Sun ได้ประกาศแล้วว่าจะร่วมมือช่วยกันพอร์ต OpenOffice ให้สามารถรันได้บนแมคแบบ Native (ไม่ใช่เวอร์ชัน X11 ของแมคที่มีอยู่แล้ว) ในระยะแรกซันจะส่งนักพัฒนาสองคนให้ทำงานเต็มเวลา และสัญญาว่าจะมีนักพัฒนาคนอื่นๆ มาช่วยในงานเฉพาะด้านเมื่อจำเป็น
ที่มา - GullFOSS
โปรโมชันใหม่สำหรับใครที่กำลังเตรียมสอบ Certify ของซัน ไมโครซิสเต็มส์ เมื่อสั่งซื้อ Voucher สอบภายในวันที่ 21 มีนาคม ถึง 23 มิถุนายน 2550 นี้ รับสิทธิสอบใหม่ฟรีถ้าสอบครั้งแรกไม่ผ่าน แต่มีข้อจำกัดเล็กน้อย
- ต้องแจ้งรหัส WW47CX2 ในการซื้อด้วย - วันที่สอบครั้งแรกและสอบซ่อมต้องไม่เกิน 1 ปี หลังจากวันซื้อ Voucher - หากต้องการสอบซ่อมต้องรออีก 15 วันหลังจากสอบครั้งแรก
จริงๆแล้วโปรโมชันนี้ทางซันเคยลองใช้มาเมื่อปีที่แล้วและประสบความสำเร็จเกินคาด (ผมเองก็คนนึง) ทั้งนี้เพราะหลายๆบริษัทมีนโยบายว่า จะออกค่าสอบให้กับพนักงานก็ต่อเมื่อสอบผ่านเท่านั้น โปรโมชันนี้จึงเหมาะสำหรับรับประกันความเสี่ยงนักแล
Sun SPOT (Small Programmable Object Technology) เป็นชุดเน็ตเวิร์กเซ็นเซอร์ทำงานไร้สายขนาดเล็กมากของซัน มีความสามารถที่น่าสนใจดังนี้
Ian Murdock ("ian" ใน "Debian" อีกครึ่งนึงก็ชื่อเมียเค้า) ประกาศในบล็อกตัวเองว่าจะย้ายจาก Linux Foundation ไปรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย operating system platform strategy ซึ่ง Ian ใบ้ว่าจะไปดูการพัฒนาของ Solaris ให้ทัดเทียมกับลินุกซ์ในแง่ usability มากยิ่งขึ้น
Jonathan Schwartz ประธานและซีอีโอของ Sun Microsystems ได้เขียนบล็อกเกี่ยวกับ OpenDocument โดยใช้วิธีเปรียบเทียบให้เข้าใจได้ง่าย ผมเห็นว่าบล็อกอันนี้มีประโยชน์และจะช่วยเผยแพร่ OpenDocument และแนวคิดด้านมาตรฐานเปิดในบ้านเรา เลยแปลมาให้อ่านกัน
ร่วมกันโปรโมท OpenDocument โดยส่งเรื่องนี้ไปให้คนรู้จักของคุณอ่าน หรือใส่ลิงก์กลับมายังบล็อกนี้ในเว็บของคุณ