Sun Microsystems
นาย Alfred Chuang ซึ่งเป็น Systems chief executive ของ BEA ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับคู่แข่งอย่าง JBoss และ Sun ดังนี้ครับ
เค้าวิจารณ์ JBoss ว่าจริงๆแล้ว JBoss นั้นไม่ใช่โอเพนซอร์สที่แท้จริงสักหน่อย เพราะว่าการแก้ไขโค้ดนั้นทำกันเพียงภายใน JBoss เองเท่านั้น กระบวนการพัฒนาไม่ได้เปิดเผยสู่ภายนอกด้วย เป็นการรวมศูนย์กลางเท่านั้น ซึ่งการพัฒนาแบบนี้ก็ใช้กันในโอเพนซอร์สอื่นที่ดังๆ เช่น Firefox, BSD ด้วย
หลังจากซันได้เปลี่ยนไลเซนส์ในการเผยแพร่ JRE และ JDK (เฉพาะรุ่น Java SE นะครับ) ให้สามารถแจกไปกับลินุกซ์ดิสโทรได้ ในชื่อใหม่ว่า Sun's Distro License for Java (DLJ) เพื่อปูทางไปสู่การโอเพนซอร์สจาวาในอนาคต
Brian Stevens CTO ของ Red Hat ให้ความเห็นว่าแค่นี้ยังไม่พอ โดยเฉพาะการนำจาวาไปใช้ในโครงการแล็ปท็อป 100 เหรียญที่ต้องเป็นโอเพนซอร์สทั้งหมด และออกมากระตุ้นในซันเริ่มการโอเพนซอร์สจาวาอย่างจริงจังมากขึ้น
DLJ ได้รับการสนับสนุนจาก Ubuntu, Debian และ Gentoo เป็นอย่างดี Mark Shuttleworth แห่ง Ubuntu บอกว่าเป็นสัญญาณที่ดี และคาดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างในเร็วๆ นี้
แขกรับเชิญบนเวทีในช่วง Keynote ของ Jonathan Schwartz ประธานและซีอีโอของซันที่งาน JavaOne เมื่อวันอังคารที่ซานฟรานซิสโกคือ Mark Shuttleworth แห่ง Ubuntu ที่หลายๆ คนแถวนี้ได้ลายเซ็นกันไปถ้วนหน้าแล้ว
Shuttleworth ไม่ได้มาโชว์ตัวเล่นๆ แน่นอน ข้อตกลงระหว่าง 2 ค่ายนี้คือ Ubuntu 6.06 "Dapper Drake" จะสนับสนุนสถาปัตยกรรม Sparc ของซันเป็นอย่างที่สี่ ถัดจาก x86, x86-64 และ PowerPC
Shuttleworth ถามคนดูในห้องว่า คุณอยากเห็น Ubuntu รันบนเซิร์ฟเวอร์ Niagara รึเปล่า คำตอบที่ได้รับคือเสียงปรบมือ
คุณ Danny Coward ได้สร้างปลั๊กอินสำหรับ NetBeans ชื่่อ net2java ขึ้นมาครับ โดยเจ้าตัวนี้ถือเป็นการเอาคืน Microsoft's Java Language Conversion Assistant เพราะมันแปลงโค้ดจาก .NET มาเป็น Java นั่นเอง!!!
ความสามารถหลักๆ ของเจ้าตัวนี้คือ แปลง VB.NET และ C# ทั้งเวอร์ชั่น 2003 และ 2005 มาเป็น Java ที่"อ่านรู้เรื่อง", แปลง API มาตราฐานของ .NET ให้เป็น Java API และยังสามารถ import โปรเจค .NET มาบน NetBeans ได้ตรงๆด้วย
ออกมาแล้วนะครับสำหรับ Java Studio Creator 2 Update 1 IDE ที่มีพื้นฐานจาก NetBeans สำหรับสร้างเว็บด้วย JSF ที่สนับสนุน Drag & Drop โดยเฉพาะ
ในเวอร์ชั่นนี้มีการปรับปรุงหลักๆ 2 จุดคือ มีดาตาเบสแบบเปิดเผยซอร์สโค้ดอย่าง Apache Derby มาแทน PointBase ตัวเก่าและ Sun Java Application Server ก็เป็น 8.2 แทน สำหรับแฟน Java และชอบ JSF น่าลองไปเล่นดูนะครับ
นาย Geertjan Wielenga ซึ่งเป็นพนักงานซันได้แสดงให้เห็นความสามารถใหม่ของ NetBeans 5.5 ที่สร้าง Entity Class และ JSF จากดาตาเบสได้โดยไม่ต้องโค๊ด!!!! โดยดูได้ที่บล๊อคของเค้า ซึ่งมี2 ตอนครับ
แม้ในทุกวันนี้ซันจะเป็นผู้แสดงตัวว่าสนับสนุนการโอเพนซอร์สอย่างเต็มตัว แต่เทคโนโลยีจาวานั้นก็ยังห่างไกลจากคำว่าโอเพนซอร์สอยู่มาก ปัญหาหลักๆ ในทุกวันนี้คือไม่มีลินุกซ์ตัวไหนยอมใส่ JRE เข้าเป็นส่วนหนึ่งของดิสโทร เพราะกลัวปัญหาด้านไลเซนส์ที่เรื้อรังมายาวนาน
เมื่อวานนี้เองทางซันก็จัดงานแถลงข่าวทางไกลขึ้น เพื่อแถลงว่าซันกำลังจะลดข้อจำกัดในไลเซนส์ของจาวาลง เพื่อให้ลินุกซ์ดิสโทรต่างๆ สามารถพ่วงเอา JRE เข้าไปในดิสโทรได้ทันที
สำหรับแฟนๆ Java บนเครื่อง Intel Mac คงได้ดีใจกันถ้วนหน้าเมื่อ Mailing List ของ แอปเปิล ได้ประกาศออกว่าได้ปล่อย Java SE 6.0 Release 1 Developer Preview 1 ออกมาให้ลองเล่นกันแล้ว โดยในตอนนี้ทำของ Intel Mac ออกมาก่อนครับ ส่วนผู้ใช้ Mac ตัวเก่าไม่ต้องน้อยใจครับสำหรับ PowerPC จะออกมาเร็วๆนี้เช่นกัน
แม้ว่าจะช้ากว่าทาง PC อยู่นานโขหน่อย แต่มาช้าก็ยังดีกว่าไม่มาครับ ดาวน์โหลดได้ที่ Connect.Apple.com ครับ
หลังจากที่ Jonathan Schwartz ขึ้นเป็น CEO ต่อจาก Scott McNealy ก็จัดให้มีการอภิปรายกันเป็นการภายในเรื่องการเปิดเผยซอร์สโค้ด Javaซึ่งเป็นประเด็นร้อนที่ ESR เคยส่งจดหมายเปิดผนึกถึง McNealy มาก่อน
ซึ่งผลการอภิปรายจะไปว่ากันในงาน JavaOne ปีนี้ครับ ป.ล. โดยส่วนตัวผมเฉยๆนะ :P
ที่มา - OSNews
มีข่าวจาก Mailing List ของเวบ OpenSolaris ว่า แอปเปิลสนใจที่จะจับเจ้า ZFS ซึ่งเป็น File System ของ Solaris มาลงใน Mac OS X ครับ
ซึ่งใน OSNews กระแสตอบรับค่อนข้างดีทีเดียว :)
ที่มา - OSNews
Scott McNealy ผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัท Sun Microsystems ได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว หลังจากที่อยู่ในตำแหน่งนี้มา 22 ปี โดยเขาจะยังมีตำแหน่ง chairman (ผมเข้าใจว่าตรงกับคำว่าประธานบอร์ด)
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไม่น่าแปลกใจนัก เพราะผู้ที่รับตำแหน่ง CEO แทนก็คือ Jonathan Schwartz ซึ่งเป็นผู้สืบทอดอำนาจของ McNealy และตอนนี้ก็เป็น President ของบริษัทอยู่ สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งครั้งนี้คือนโยบายของ Sun ที่ต้องการผู้บริหารหน้าใหม่นั่นเอง
Schwartz บอกว่าจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายอะไร จนกว่าจะเริ่มแผนงบประมาณปีหน้า ตลาดหุ้นตอบรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้โดยหุ้น Sun ขึ้นไป 8%
เอาเข้าไป ลง Intel Mac กันใหญ่ เมื่อคุณ Jürgen Keil และ Jan Setje-Eilers ได้ร่วมกันทำให้ Open Solaris Build 36 ลงบน Intel Mac ได้ซะงั้น
ปัญหาที่เจอตอนนี้ก็คือ fdisk ของโซลาริสดันทำงานไม่สมบูรณ์นักกับ Boot camp และความท้าทายจริงๆ คือให้ โซลาริส ทำงานได้ตรงๆไม่ต้องผ่าน Boot camp
ที่มา - OSNews
หลังจากเปิดตัวมาหลายปี Sun Grid ซึ่งเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่ให้ลูกค้าของซันเข้าใช้พลังการประมวลผล โดยคิดราคาตามปริมาณชั่วโมง x ซีพียู ที่ใช้จริง
ที่จริงแล้วศูนย์คอมพิวเตอร์นี้เปิดตัวมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยซันพยายามเสนอบริการนี้ให้กับหน่วยงานขนาดใหญ่ก่อน แต่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก การขายบริการนี้ให้กับลูกค้ารายย่อยจึงเป็นทางออกที่ซันต้องนำมาใช้ในตอนนี้
ตอนนี้ยังให้ใช้เฉพาะในสหรัฐ แต่ก็ยังคิดไม่ออกว่าเอามาทำอะไรดี แต่ชื่อโดเมนมันเท่ห์ดีจริง
ที่มา - Sun Grid
ซันแจกอีกแล้วครับผม คราวนี้เป็นชุด Sun Java Enterprise System ซึ่งประกอบด้วย
สก็อต แมคนีลลี ซีอีโอของซัน ส่งจดหมายเปิดผนึก ไปยังเอชพี เรียกร้องให้รวม HP-UX ยูนิกซ์ของเอชพีเข้ากับ Solaris ซึ่งเป็นยูนิกซ์ของซัน
ทั้งสองฝ่ายมีคู่แข่งที่สำคัญร่วมกันคือลินุกซ์ ซึ่งกินตลาดเซิร์ฟเวอร์ระดับล่างไปมาก และการลงทุนในระบบปฏิบัติการต้องใช้เงินสูงมาก การควบรวมระหว่าง HP-UX กับ Solaris จะสร้างน้ำหนักและความเชื่อถือให้กับระบบปฏิบัติการใหม่ได้มากทีเดียว ถึงแม้จะไม่มีใครรู้ว่าจริงๆ ในทางเทคนิคจะเป็นไปได้มากแค่ไหนก็ตาม
หลังจากที่ปล่อยแบบ snapshot release มาหลายรุ่น มัสแตง (JavaSE 6) ก็ได้ผ่านหลักไมล์ที่สำคัญไปหลายจุดที่พอจะปล่อยรุ่นเบต้า ออกมาให้เราได้ลองใช้กันสักที
เบต้ารุ่นนี้จะมีอายุใช้งานได้ 90 วัน และทางซันเองคงปล่อยตัวเบต้ารุ่นถัดไปออกมาให้ใช้กันเรื่อยๆ โดยสามารถดาว์นโหลดได้ที่เว็บทางการของซัน เบต้าตัวนี้ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐาน build 59 อันเลื่องชื่อลือชา ถึงแม้รุ่น snapshot ปัจจุบันจะวิ่งไปที่ build 71 แล้วก็ตาม สาเหตุเนื่องมาจากการผ่านการทดสอบคุณภาพแล้ว
ควันหลงที่คุณ James Gosling มางาน Java Day2006 ที่เมืองไทยของเราครับ
โดยเค้ากล่าวถึงความประทับใจในแง่วิศวกรรมของ "เรือหางยาว" ของไทยที่เราเห็นกันจนชินตา!!
และยังทึ่งต่อความสามารถของผู้ขับเรือหางยาว(น่าจะคำนี้แหละ) ที่บังคับเครื่องยนต์ได้คล่องแคล่วครับ
หลังจากซันโปรโมทอย่างหนักหน่วงในช่วงหลังๆ Netbeans 5.0 ตัวเต็มก็ออกมาให้ใช้เสียที พูดกันไปหลายทีแล้วกับฟีเจอร์ใหม่ในเวอร์ชันนี้ี้ โหลดไปลองกันดูได้ หวังว่าบั๊กเวลาใช้ Matisse จะหมดไปซะทีนะ
ว่าแต่พวก IDE ที่ให้ใช้ฟรีแบบ NetBeans หรือ Eclipse ไม่มีใครสนใจทำ mirror ในไทยบ้างเหรอ
นาย Jonathan Schwartz ซีอีโอของซันแสดงความเห็นไว้ในบล็อกของเขาว่าซันกำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะแจกจ่าย Solaris ทั้ง CDDL และ GPLv3 ซึ่งนาย Schwartz ระบุว่านี่จะเป็นโอกาสให้โลกโอเพนซอร์สทำงานร่วมกับโค้ดของซันได้ดีขึ้น
เรื่องนี้อาจทำให้เกิดการแตกขั้วกันเนื่องจาก Linus ออกมาระบุแล้วว่าตัวเขาเองยืนยันจะใช้ GPLv2 ต่อไป โดยในตอนนี้ยังมีการถกเถียงถึงความเข้ากันได้ระหว่างสองเวอร์ชั่นกันอยู่
หลังจากช่วงนี้ Sun มีเรื่องข่มกับ Dell ในเรื่องเซิร์ฟเวอร์กันอยู่ แต่ก็เป็นเรื่องของการโฆษณาเท่านั้นแต่มาวันนี้Sunท้าตรงๆแล้วครับ
โดยในครั้งนี้ทาง Sun กล่าวว่าเป็นความต้องการของลูกค้าที่จะให้ x64 เซิร์ฟเวอร์ของ Sun กับ Dell มาวัดกันจะๆ
ไปเลยโดยจะ benchmark กันด้วย
ประเด็นปัญหาสำคัญของซีพียูดูอัลคอร์คือราคาซอฟต์แวร์ที่มักคิดราคาตามซีพียู โดยแม้จะมีการเรียกร้องให้คิดราคาตามจำนวนซีพียูจริงมากกว่าจำนวนคอร์ข้างใน แต่การทำจริงก็คงเป็นเรื่องยาก เพราะจำนวนคอร์ในซีพียูนั้นดูจะวิ่งสวนทางกับจำนวนซีพียูในเครื่องอย่างรวดเร็ว
ซันปล่อยข้อมูลการออกแบบระดับล่าง ชิปล่าสุดของตน UltraSparc T1 : Niagara เป็น open-source โปรเจค เพื่อให้คนหันมาสนใจผลิตภัณฑ์ของตน
ปกติแล้วข้อมูลสเปกของ Sparc สามารถที่จะสั่งซื้อจากซันได้อยู่แล้ว แต่ขณะนี้ซันได้เปลี่ยนแผนของตน โดยนอกจากจะปล่อยทั้งข้อมูลสเปกของระบบแล้ว ยังปล่อยทั้งข้อมูลการออกแบบ ซึ่งถูกเขียนอยู่ในรูปแบบภาษา Verilog นอกจากนี้ยังมีชุดของซอฟต์แวร์อื่นๆ เพื่อใช้ในการออกแบบและจำลองที่ปล่อยออกมารวมอยู่ด้วย
ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดีกับกรณีนี้ เมื่อ Scott McNealy ออกมาเปิดตัว UltraSparc T1 พร้อมกับเอกสารอยางละเอียด และซอร์สโค้ดบางส่วนของตัวชิป ซึ่งพัฒนาด้วยภาษา Verilog ให้นักพัฒนาภายนอกได้เข้าไปใช้กัน
McNealy เชื่อว่าโมเดลการโอเพนซอร์สฮาร์ดแวร์จะสามารถใช้โมเดลเดียวกับซอฟท์แวร์ได้ โดยเทคโนโลยีปัจจุบันของ UltraSparc T1 นั้นก็ถูกพัฒนามาจากเทคโนโลยีของบริษัท Afara Websystems Inc., ที่ซันซื้อมาเมื่อปี 2002 ซึ่งการเปิดเผยซอร์สนี้น่าจะทำให้บริษัทจำนวนมากพัฒนาเทคโนโลยี จากฐานของ UltraSparc ได้ และซันก็สามารถซื้อเทคโนโลยีที่ต้องการต่อไปได้
ไอบีเอ็มจะเปิด Cell ตามอย่างบ้างมั๊ย?
ตอนนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายพาเหรดกันออกมาแจกของฟรีกันเต็มไปหมด
หลังจากปล่อยข่าวมาเป็นระยะ Niagara ซีพียูตัวใหม่สำหรับงานเซิร์ฟเวอร์ของซันที่เรียกเป็นโค้ดเนมมาตลอด ก็มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า UltraSparc T-1
ซันหวังจะกู้ยอดขายยูนิกซ์เซิร์ฟเวอร์คืนมาหลังจากที่โดน x86+Linux ตีตลาดไปเยอะ เจ้า T-1 นี้รุ่นแรกจะมี 8 คอร์ ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 1.2 GHz บริโภคพลังงานสูงสุด 72 วัตต์ เมื่อเทียบกับ 135 วัตต์ของดูอัลคอร์ Xeon และ 95 วัตต์ของดูอัลคอร์ Opteron ในอนาคตซันจะออกรุ่น 4 คอร์และ 6 คอร์ ซึ่งเป็นตัวเดียวกับ 8 คอร์เพียงแต่ปิดการทำงานของบางคอร์ออกไป