กูเกิลประเทศไทยขยายโครงการ Be Internet Awesome อัพเดตบทเรียนเวอร์ชั่นใหม่สำหรับเด็กและเพิ่มวิดีโอสั้น 6 ตอนช่วยแนะนำให้ผู้ปกครองดูแลเด็กใช้อินเทอร์เน็ต
บทเรียนใหม่เพิ่มคำแนะนำเดี่ยวกับเกมออนไลน์, เว็บค้นหา, และการรับชมวิดีโอเพิ่มเข้ามา และเนื้อหาเพิ่มส่วนการของการกลั่นแกล้งออนไลน์ (cyberbully) เข้ามา
กูเกิลเปิดบทเรียนเหล่านี้ในงาน Safer with Google โดยพยายามแนะนำให้ผู้ใช้ตรวจสอบความปลอดภัยของตัวเองผ่านทางบริการ Security Checkup, Privacy Checkup, และโปรโมทให้ใช้งานตัวจัดการหัสผ่านของกูเกิลเอง
สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช. ชื่อภาษาอังกฤษว่า National Cyber Security Agency - NCSA) ประกาศเปิดโครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Intensive Cybersecurity Capacity Building Program) เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 2,250 คนภายในปี 2022
โครงการนี้มีการฝึกอบรมตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนการอบรมสำหรับผู้บริหาร เป้าหมายของโครงการมีทั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน, นักเรียนนักศึกษา, และประชาชนทั่วไป โดยมี 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรระดับพื้นฐาน, หลักสูตรระดับผู้เชี่ยวชาญ, หลักสูตรระดับผู้เชี่ยวชาญ (เฉพาะด้าน), หลักสูตรระดับผู้เชี่ยวชาญ (ภาคปฏิบัติ), หลักสูตร OWASP Security, และหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA เปิดตัวแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" ตั้งเป้าเป็นแอปรวมบริการภาครัฐที่คนไทยสามารถเข้าใช้งานได้ทุกช่วงวัย เบื้องต้นรวมบริการภาครัฐต่างๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิรักษาพยาบาล, สิทธิประกันสังคม, ตรวจสอบสิทธิ์วัยแรกเกิด, ดูหนังสือรับรองผลฯ O-Net, ตรวจสอบเครดิตบูโร ไปจนถึงตรวจสอบยอดเงินผู้ชราภาพ
หมอพร้อม อัปเดต เปิดให้ใช้งาน Digital Health Pass หรือเอกสารรับรองสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ ใช้แสดงก่อนเดินทางในประเทศ ร่วมกับสายการบินในประเทศ 7 แห่ง คือ บางกอกแอร์เวย์, แอร์เอเชีย, นกแอร์, ไทยสไมล์, Lion Air, Vietjet Air
Digital Health Pass มีการแสดงข้อมูลทั้งหมด 3 ส่วน คือ ข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด 19 จากหน่วยฉีดวัคซีนทั่วประเทศ, ผลการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR จากสถานพยาบาลที่เข้าร่วม และผลการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วย ATK จากคลินิกและร้านขายยาที่เข้าร่วม รวมถึงผลการตรวจหา antibody ชนิด IgG ใน serum
เมื่อปีที่แล้วมีรายงานถึงกลุ่มแฮกเกอร์ที่ไล่แฮกช่องโหว่ CVE-2018-13379 ของ Fortinet VPN ที่แพตช์ไปตั้งแต่ปี 2019 แต่องค์กรจำนวนมากไม่ได้ติดตั้งแพตช์ ตอนนี้กลุ่มแฮกเกอร์เบื้องหลังมัลแวร์ Groove ก็ออกมาโพสรายชื่อบัญชีผู้ใช้ 498,908 รายของเซิร์ฟเวอร์ที่เคยถูกแฮกมา
เซิร์ฟเวอร์ VPN เหล่านี้ถูกแฮกก่อนที่จะแพตช์เพื่อขโมยเอาชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แม้ว่าตอนนี้เซิร์ฟเวอร์อาจจะแพตช์ไปแล้วแต่รหัสผ่านก็อาจจะใช้งานได้ โดยรวมแล้วข้อมูลที่ปล่อยมีจำนวน 498,908 บัญชี จากเซิร์ฟเวอร์ 12,856 ไอพี
AWS เปิดบริการ Amazon Connect บริการระบบคอลเซ็นเตอร์แบบคลาวด์สำหรับลูกค้าในประเทศไทย บริการนี้ให้บริการสำหรับตัวแทนบริษัทสามารถจัดการแก้ปัญหาให้ลูกค้า โดยแสดงข้อมูลให้ตัวแทนเพื่อแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น และช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าเช่น ระบุตัวตนลูกค้าผ่านทางเทคโนโลยี Voice ID, รวบรวมข้อมูลลูกค้าเป็นโปรไฟล์, แสดงข้อมูลให้ตัวแทนช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า, และการกำหนดชิ้นงานที่ต้องทำเพื่อแก้ปัญหา
ในการเปิดตัวในไทย ทาง AWS ระบุรายชื่อองค์กรที่เริ่มใช้งาน Amazon Connect ในประเทศไทยแล้ว โดยยกตัวอย่าง 3 ราย ได้แก่ SCG Express, Sino S-Tech, และ NTT Thailand
ช่วงเช้าวันนี้ ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ เข้าแจ้งความกับสถานีตำรวจนครบาลพญาไท ระบุว่าข้อมูลและระบบภายในถูกล็อก ไม่สามารถเข้าใช้ระบบได้ตั้งแต่ช่วงเปิดทำการวันจันทร์
ข้อมูลที่ถูกล็อก เป็นข้อมูลส่วนตัว โรคส่วนตัว รายละเอียดการรักษาของผู้ป่วยราว 40,000 คน รวมถึงข้อมูลเอ็กซ์เรย์ และข้อมูลการฟอกไต คาดว่าถูกล็อกในช่วงเช้าวันจันทร์ ราว 5.30 ผ่านโปรแกรมเข้าใช้งานจากระยะไกล
เฟสบุ๊กเพจ CP Freshmart ออกแถลงการณ์ ยืนยันว่ามีการถูกแฮ็กจริง และอยู่ระหว่างการสืบสวน รวมถึงปรับปรุงระบบสารสนเทศให้มีความรัดกุมขึ้น CP Freshmart ระบุว่าข้อมูลที่หลุดมี ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ แต่ไม่มีข้อมูลบัตรเครดิตหรือข้อมูลด้านการเงิน
CP Freshmart ระบุว่าการแฮ็กครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและระบบความปลอดภัยด้านอื่นๆ และแจ้งลูกค้าให้ระมัดระวังการหลอกลวงทางโทรศัพท์ และการหลอกลวงทางอีเมล์ (phishing) ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการนำข้อมูลไปใช้ต่อ และย้ำว่าไม่มีนโยบายติดต่อลูกค้าเพื่อขอข้อมูลทางด้านการเงิน
นอกจากข้อมูลที่หลุดจากโรงพยาบาลเพชรบูรณ์แล้ว เมื่อค้นเว็บบอร์ด Raidforums ต่อ ยังสามารถพบข้อมูลจากประเทศไทยที่น่าเป็นห่วงอีกหลายรายการ
ผู้ใช้ THJAX ประกาศขายข้อมูลที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์ CP Freshmart ประกอบด้วยชื่อ-นามสกุล, อีเมล, ชื่อผู้ใช้, ที่อยู่, เบอร์โทร, วันเดือนปีเกิด, และรหัสผ่านแบบแฮช ทั้งหมดกว่า 5.9 แสนรายการ โดยมีตัวอย่างเป็นไฟล์เอ็กเซลให้ดาวน์โหลด 1,000 รายการ
นาวาอากาศเอก อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ประจำวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564 ประเด็นข้อมูลผู้ป่วยหลุด
นาวาเอกอมร ระบุว่าข้อมูลมาจากโรงพยาบาลของรัฐแห่งเดียว และขอยังไม่เปิดเผยชื่อโรงพยาบาล โดยเป็นระบบบริหารจัดการข้อมูลภายใน โรงพยาบาลยืนยันว่าฐานข้อมูลมีขนาด 3.7GB จริง เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อป้องกันการสับสนในการจัดการแพทย์และการรักษา
หลังมีข่าวข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขถูกแฮ็กเมื่อวานนี้ วันนี้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อถึงกรณีนี้แล้ว
นายอนุทินยอมรับว่าเหตุการณ์ข้อมูลกระทรวงถูกแฮ็กจากโรงพยาบาล เป็นเรื่องจริง เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ เคยมีกรณีก่อนหน้าเกิดที่จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตรวจสอบแล้ว และระบุว่า “เบื้องต้นทราบมาว่าเป็นข้อมูลเบื้องต้น ทั่วๆ ไป ไม่ได้มีข้อมูลอะไรที่เป็นความลับอะไรของคนไข้"
ผู้ที่ใช้ชื่อว่า Inanimate บนเว็บบอร์ด Raidforums ลงขายข้อมูลในรูปแบบไฟล์ SQL ที่อ้างว่านำมาจากระบบของกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย ขนาด 3.75GB กว่า 16 ล้านรายการ ระบุวันที่ล่าสุดของฐานข้อมูล วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน 2021 ที่ผ่านมา
ข้อมูลประกอบด้วย ชื่อผู้ป่วย ที่อยู่ เบอร์โทร หมายเลขประจำตัวประชาชน วันเกิด ชื่อโรงพยาบาล แพทย์ประจำตัว รหัสเข้าใช้ระบบโรงพยาบาล และอื่นๆ โดยลงขายในราคาเพียง 500 ดอลลาร์ หรือราว 16,300 บาทเท่านั้น (แต่ระบุเป็นราคาพิเศษช่วงสองวันแรก)
วันนี้ทางสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIResearch) และทีม PyThaiNLP ปล่อยโมเดลถอดความจากเสียงพูดภาษาไทย (Automatic Speech Recognition) ที่มีความแม่นยำทัดเทียมกับกูเกิล และบริษัทชั้นนำอื่น ๆ
โมเดลดังกล่าวฝึกฝนบนชุดข้อมูล Mozilla Common Voice 7.0 ที่ได้รับการบริจาคเสียงภาษาไทย จำนวน 133 ชั่วโมง ผู้พูด 7,212 คน (อ่านเพิ่มเติม ร่วมบริจาคเสียงพูดภาษาไทยด้วย Mozilla Common Voice) โดยฝึกกับโมเดล XLSR-Wav2Vec2 ของ Facebook
ทางสถาบันวิจัยได้ปล่อยโมเดลมาในรูปแบบลิขสิทธิ์ CC-BY-SA 4.0 และได้อัปโหลดขึ้น Hugging Face โดยสามารถใช้งานได้ผ่านไลบรารี transformers ในภาษาไพธอนได้
วันนี้ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ขึ้นตอบการอภิปราย โดยยืนยันว่าไม่ได้ใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยระบุว่ากระบวนการนั้นทางกระทรวงมีระบบ social listening และพบข้อความที่ผิดกฎหมายตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
ระหว่างการตอบการอภิปราย นายชัยวุฒิ ระบุว่า คนไทยซื้อสินค้าออนไลน์เป็นอันดับสามของโลก เป็นรองอินโดนีเซียและอังกฤษ และการจ่ายเงินออนไลน์ หรือ Mobile Banking เป็นอันดับหนึ่งในโลก โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นผู้สร้างระบบพร้อมเพย์ ทำให้ประชาชนไทยจ่ายเงินออนไลน์ได้โดยไม่มีปัญหาและมีความปลอดภัย
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในประเด็นการออกหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2564 เป็นการบิดเบือนกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการเมือง เพื่อสอดแนมการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน
นายปกรณ์วุฒิ วิจารณ์แนวทางการทำงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ว่าใช้การข่มขู่จับผิดคนต่อต้านรัฐบาลผ่านโซเชียลมีเดีย มากกว่าจะไปแก้ปัญหาเรื่องดิจิทัลอย่างเช่นปัญหาการทำงานของแอปหมอพร้อม, ไทยชนะ, ไทยร่วมใจ ที่เกิดปัญหามากมาย กระทบต่อประชาชนโดยตรง สร้างความสับสนเรื่องระบบการจองวัคซีน
พรรคเพื่อไทย เปิดเว็บไซต์ vote.ptp.or.th ทำแคมเปญ “ลงมติประชาชน รวมพลไล่ประยุทธ์”โดยประชาชนเข้ามากดโหวตไล่ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง และสามารถกดโหวตแยกเป็นรายจังหวัดได้ โดยตอนนี้มีคนโหวตแล้วกว่าล้านครั้ง
แต่ล่าสุด มีอีกเว็บที่ทำขึ้นมาในแบบเดียวกัน แต่เป็นการลงมติสนับสนุนให้ พล.อ ประยุทธ์ อยู่ต่อ ชื่อเว็บไซต์คือ rakloongtoo.com ภายใต้ชื่อแคมเปญ ลงมติประชาชน สนับสนุนลุงตู่
โครงการส่งเสริมอาชีพดิจิทัลสำหรับคนพิการ ภายใต้ความร่วมมือของ DEPA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมกับ Vulcan หน่วยงานขับเคลื่อนและสนับสนุนการจ้างงานคนพิการในสายงานดิจิทัล ทำบริการจับคู่คนพิการให้องค์กรและดำเนินเอกสารการจ้างงานตามมาตรา 35 ฟรี บริษัทที่อยากจ้างงานดิจิทัลผู้พิการสามารถเข้าไปลงชื่อได้ ที่นี่
จากประเด็น ส.ส. ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจอ้างอิงเอกสารภายในเผยการโกงเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าปฏิบัติการ IO ล่าสุดกระทรวงกลาโหมระบุว่าเป็นเอกสารปลอม
พล.ต.สวราชย์ แสงผล โฆษกกองทัพภาคที่ 2 ชี้แจงเรื่องเอกสารว่า ลายมือชื่อของแม่ทัพภาคที่ 2 ในเอกสารสองฉบับลายมือไม่เหมือนกัน, นามสกุลพิมพ์ไม่ถูกต้อง, ลายมือชื่อรองแม่ทัพภาคที่ 2 ไม่ตรงกับลายมือชื่อจริง, เลขลำดับเอกสารถึงแค่ลำดับที่ 851 ยังไม่ถึงลำดับที่ 1121 ตามเอกสารที่ผู้อภิปรายนำมาแสดง
บีทีเอส ประกาศสิ้นสุดการขายเที่ยวเดินทาง 30 วัน ทุกประเภท โดยสามารถเติมและซื้อเที่ยวเดินทางได้ถึงวันที่ 30 กันยายนนี้เป็นวันสุดท้าย โดยบัตรที่มีเที่ยวเดินทางเหลือ สามารถใช้ต่อได้จนกว่าเที่ยวเดินทางจะหมด
อัพเดท เพิ่มเนื้อหาฝั่งกระทรวงกลาโหม
มหกรรมแฉ IO กลับมาอีกครั้ง ในการประชุมรัฐสภา ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 31 ส.ค. 2564 โดย ส.ส. ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ พรรคก้าวไกล พร้อมเผยรายชื่อเพจอวตารในการรับหน้าที่โพสต์ด้อยค่าคนโจมตีรัฐบาล รวมถึงโพสต์ข่าวปลอมเข้าข้างรัฐบาล
การปฏิบัติหน้าที่มีการมอบหน้าที่ชัดเจน ดังนี้ กรมทหารราบที่ 3 ให้ไปดูเพจ จอมยุทธ กรมทหารราบที่ 8 ให้ไปดูเพจเรื่องงานไม่ขยับ เรื่องกินตับขอให้บอก กรมทหารราบที่ 16 ให้ไปดูเพจ ชาวไทยร่วมมือ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 ให้ไปดูเพจ ระดม Teen กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 ดูเพจ อีหยังกะด้อกะเดี้ย กรมทหารม้าที่ 7 ดูเพจ ผู้ชายลายพราง พร้อมเผยภาพห้องปฏิบัติการ IO โดยมีผู้บังคับบัญชาคอยชี้เป้าเพจที่ต่อต้านรัฐบาล พร้อมส่งสัญญาณให้ IO เข้าไปโพสต์โจมตี
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เผย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประกาศผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ ITA โดย กระทรวงดิจิทัลฯ ได้คะแนน 95.42 อยู่ในระดับ AA และเป็นหน่วยงานที่ได้รับคะแนนประเมินสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในระดับกระทรวง
หลายคนอาจรู้จัก Accenture (เอคเซนเชอร์) ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีระดับโลก ด้านดิจิทัล การบริหารระบบคลาวด์ และการวางระบบรักษาความปลอดภัย แต่รู้หรือไม่ว่า Accenture เปิดสำนักงานในไทยมาตั้งแต่พ.ศ. 2521 หรือมากกว่า 40 ปีแล้ว ถือเป็นบริษัทแรกๆ ในประเทศที่ให้บริการที่ปรึกษา การจัดการและเทคโนโลยีให้กับลูกค้าหลากหลายวงการ โดยให้บริการลูกค้าใน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ เทคโนโลยีการสื่อสารและสื่อ, การเงินการธนาคาร, โรงพยาบาลและภาครัฐ, ผลิตภัณฑ์และการค้า, พลังงานและทรัพยากร ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 6,000 องค์กรใน 120 ประเทศทั่วโลก ดูแลจัดการตั้งแต่ขั้นการวางแผนกลยุทธ์ไปจนถึงระดับปฏิบัติการ
นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหุ่นยนต์ AutoVacc หรือเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ ที่สามารถดึงวัคซีน AstraZeneca ออกจากขวดแก้วได้ 12 โดสภายใน 4 นาที และสามารถดึงปริมาณวัคซีนมาใช้ได้มากกว่าการใช้แรงคน 20% เพิ่มโอกาสการกระจายวัคซีน
จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยของศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัย กล่าวว่า วัคซีน AstraZeneca หนึ่งขวดบรรจุ 10 โดส หรือฉีดได้ 10 คน แต่ทางบริษัทผู้ผลิตวัคซีนเติมปริมาตรวัคซีนให้เป็น 13 โดส เนื่องจากแต่ละรอบที่บุคลากรต้องดูดวัคซีนขึ้นมาใช้ อาจเกิดการสูญเสียวัคซีน ได้ การพัฒนา AutoVacc ช่วยเพิ่มปริมาณวัคซีน หรือลดโอกาสการสูญเสียวัคซีนไป
เกิดดราม่าเรื่องลิขสิทธิ์นิยายขึ้น เมื่อ กศน.อำเภอ และ กศน.จังหวัด ผู้ดูแลห้องสมุดประชาชนออนไลน์สแกนไฟล์นิยายขึ้นเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนออนไลน์ให้อ่านฟรี ระบุเป็นเจตนาดีเพื่อให้ประชาชนได้อ่านหนังสือฟรีในยุคโควิด จนนักเขียนนิยายเตรียมดำเนินการทางกฎหมายข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์
ล่าสุด ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)ให้สัมภาษณ์ว่าได้สั่งให้ลบไฟล์ดังกล่าวแล้ว ชี้เป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ Bob Diachenko เปิดเผยการค้นพบคลัสเตอร์ของ Elasticsearch ที่สามารถเข้าถึงได้จากอินเตอร์เน็ต โดยภายในมีข้อมูลของหนังสือเดินทางของผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยกว่า 106 ล้านรายการ
อ้างอิงจากการตรวจสอบโดยผู้ค้นพบ ข้อมูลดังกล่าวประกอบไปด้วยข้อมูลที่พบได้ในหนังสือเดินทาง การตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าข้อมูลโดยส่วนใหญ่นั้นเป็นข้อมูลของชาวไทยและอาจมีขอบเขตของข้อมูลครอบคลุมการเดินทางเข้าประเทศย้อนหลังถึง 10 ปี