Didi Chuxing แอพให้บริการแท็กซี่รายใหญ่ของจีน ประกาศเพิ่มทุนรอบล่าสุดอีก 4 พันล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปพัฒนา AI, ขยายธุรกิจออกต่างประเทศ และเข้าสู่หมวดธุรกิจใหม่ ซึ่งรวมทั้งรถยนต์ที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่
ในแถลงการณ์ครั้งนี้ Didi ไม่ได้บอกว่าใครผู้ร่วมลงทุนบ้าง แต่บอกเพียงมีกองทุนทั้งจากจีนและต่างประเทศที่เข้าร่วม
Didi เพิ่มทุนครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนถึง 5,500 ล้านดอลลาร์ โดยประเมินจากการเพิ่มทุนครั้งนี้จะทำให้กิจการมีมูลค่าราว 56,000 ล้านดอลลาร์ จากการเพิ่มทุนรวมทั้งหมดแล้วกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีนักลงทุนดังอาทิ Alibaba, Tencent และแอปเปิล
หลังจากมีข่าวและมีข้อขัดแย้งกันมาหลายเดือน ล่าสุดมีรายงานว่าบอร์ดบริหาร Uber ได้มีมติรับเงินลงทุนจาก SoftBank ซึ่งอาจมีมูลค่ารวมสูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ โดยโฆษกของ Uber ยืนยันข่าวนี้แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดเพิ่มเติม
Tony Fadell ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอของ Nest ลาออกจาก Alphabet ไปเมื่อต้นปี 2016 (เบื้องหลังปัญหาใน Nest)
วันนี้ Fadell เปิดตัวบริษัทใหม่ Future Shape เป็นบริษัทลงทุน Venture Capital และให้คำปรึกษากับสตาร์ตอัพ เน้นไปที่สตาร์ตอัพสาย deep tech หรือเทคโนโลยีเชิงลึก โดยระบุว่าสนใจด้านการเกษตร อาหาร การคมนาคม อุปกรณ์การแพทย์และยา หุ่นยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ การเงิน และสินค้าคอนซูเมอร์ ขอบเขตการลงทุนไม่จำกัดแค่ซิลิคอนวัลเลย์ แต่เน้นทั้งในสหรัฐและยุโรป
Slack แอพคุยงานที่หลายคนใช้ ประกาศรับเงินลงทุนรอบล่าสุดอีก 250 ล้านดอลลาร์ นำโดยกองทุน Vision Fund ของ SoftBank และนักลงทุนรายอื่น ทำให้มีมูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 5.1 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนรอบล่าสุดในปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์
Slack บอกว่าจะนำเงินที่ได้ครั้งนี้มาใช้ในการดำเนินงานทั่วไป ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ใดเป็นพิเศษ ทั้งนี้ Slack ยังบอกว่าบริษัทมีรายได้จากองค์กรที่สมัครใช้งานแล้วกว่า 200 ล้านดอลลาร์
ที่มา: Bloomberg
Tokopedia เว็บอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซียประกาศรับเงินลงทุนเพิ่ม 1,100 ล้านดอลลาร์ หรือราว 36,000 ล้านบาท จากนักลงทุนนำโดยกลุ่ม Alibaba ซึ่ง Tokopedia ระบุว่า Alibaba ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นด้วยแต่ไม่ใช่หุ้นส่วนใหญ่
Tokopedia ก่อตั้งในปี 2009 เคยได้รับเงินลงทุนจาก SoftBank ในปี 2014 ราว 100 ล้านดอลลาร์ และเป็น Marketplace รายใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย มีร้านค้าหลายล้านอยู่บนแพลตฟอร์ม
William Tanuwijaya ซีอีโอ Tokopedia กล่าวว่าความร่วมมือกับ Alibaba จะช่วยขยายสเกลและเพิ่มคุณภาพการบริการสำหรับลูกค้า รวมทั้งเปิดโอกาสใหม่ให้กับร้านค้าใน Tokopedia ด้วย
PCCW Media เจ้าของแอพให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง Viu ซึ่งคอซีรี่ส์เกาหลีน่าจะคุ้นเคยดี ได้รับเงินทุนจากนักลงทุน 3 รายคือ Hony Capital, Foxconn Ventures และกองทุน Temasek รวม 110 ล้านดอลลาร์ โดยจะเข้ามาถือหุ้นรวม 18%
บริษัท PCCW Media จดทะเบียนอยู่ในฮ่องกง นอกจากบริการ Viu แล้ว ยังมีบริการวิดีโอบนมือถือ Vuclip และบริการเพลงสตรีมมิ่ง MOOV ดำเนินงานอยู่ใน 15 ประเทศในทวีปเอเชีย บริษัทระบุว่าจะนำเงินดังกล่าวว่าพัฒนาเทคโนโลยี และลงทุนในการผลิตคอนเทนต์ของตนเอง
เมื่อต้นสัปดาห์อีกบริการวิดีโอสตรีมมิ่งในเอเชียอย่าง iflix ก็ได้รับเงินเพิ่มทุน 133 ล้านดอลลาร์
Traveloka สตาร์ทอัพบริการด้านการท่องเที่ยวจากอินโดนีเซีย ที่เน้นทำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งในไทย ได้รับเงินลงทุนเพิ่ม 350 ล้านดอลลาร์จาก Expedia ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ จึงเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรายก่อนหน้ามี Grab, Garena (ตอนนี้ชื่อ Sea), Go-Jek และ Lazada
Traveloka ได้รับเงินลงทุนไปในช่วงที่ผ่านมาแล้วราว 500 ล้านดอลลาร์ จากผู้ลงทุนอาทิ JD.com, Sequoia Capital, East Ventures และ Hillhouse Capital
กูเกิลประกาศตั้งกองทุน Gradient Ventures เพื่อลงทุนในสตาร์ตอัพด้าน AI โดยเฉพาะ
ก่อนหน้านี้กูเกิลมีกองทุน VC อยู่แล้ว 2 กองคือ GV (Google Ventures เดิม) และ CapitalG (Google Capital เดิม) ทำให้ Gradient Ventures กลายเป็นกองทุนกองที่สามของกูเกิล และมีโฟกัสเฉพาะทางต่างจาก 2 กองทุนแรก
Singtel Innov8 (อ่านว่า "อินโนเวท") เป็นหน่วยลงทุนในสังกัดของ Singtel โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของเอเชียจากสิงคโปร์ หน้าที่ของ Innov8 คือเป็น corporate venture capital (CVC) ที่ออกไปลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจของ Singtel ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในยุคที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยแทบทุกรายประกาศทำ CVC ต้องถือว่า Innov8 เป็นต้นแบบของ CVC รายแรกๆ ในภูมิภาคนี้ (เริ่มทำปี 2011) และถือเป็นรายที่ประสบความสำเร็จมากรายหนึ่งด้วย
ในโอกาสที่คุณ Edgar Hardless ซีอีโอของ Innov8 เดินทางมายังเมืองไทย Blognone ก็มีโอกาสได้สัมภาษณ์เพื่อรับทราบประสบการณ์เหล่านี้
SCG ตั้ง AddVentures บริษัทในรูปแบบ Corporate Venture Capital วางวิสัยทัศน์ “You Innovate, We scale” เสริมศักยภาพสตาร์ทอัพทั่วโลก ยกระดับ Ecosystem ด้วยองค์ความรู้ เครือข่าย และฐานลูกค้าทั่วอาเซียน ปูพรมพัฒนานวัตกรรม 3 กลุ่มหลัก “Enterprise-Industrial-B2B” เพื่อพลิกโฉมธุรกิจ-เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน- สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่ดีและเร็วยิ่งกว่าให้ลูกค้า
ธนาคารกสิกรไทยเปิดตัวบริษัทบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล (Beacon Venture Capital) เพื่อเป็นหน่วยงานที่ร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพ ภายใต้แนวคิด The Next Building Block โดยมีเม็ดเงินลงทุน 1,000 ล้านบาท หนุนพัฒนานวัตกรรมด้านการเงินที่ส่งเสริมกลยุทธ์ของธนาคาร
Beacon VC ประเดิมเป็นธนาคารไทยรายแรกที่ลงทุนในรูปแบบ Venture Capital (VC) แก่สตาร์ทอัพไทย FlowAccount ตั้งเน้นลงทุนสตาร์ทอัพโดยตรง 3-5 แห่ง และลงทุนในกองทุน VC อื่น ๆ 2-3 แห่งในปี 2560
ปีที่แล้ว SoftBank จับมือกองทุนรัฐบาลซาอุฯ ตั้งกองทุนเทคโนโลยีขนาดมหึมา 2.5 ล้านล้านบาท (70 พันล้านดอลลาร์)
ความคืบหน้าล่าสุดของกองทุน SoftBank Vision Fund ตอนนี้ระดมเงินได้แล้ว 93 พันล้านดอลลาร์ และตั้งเป้าระดมให้ได้ครบ 100 พันล้านดอลลาร์ภายใน 6 เดือน
นักลงทุนหลักในกองทุนนี้คือ SoftBank และ Public Investment Fund of the Kingdom of Saudi Arabia (PIF) ส่วนนักลงทุนรายอื่นๆ ที่เข้ามาเพิ่ม มีทั้ง Apple, Foxconn, Qualcomm, Sharp และกองทุน Mubadala Investment Company of the United Arab Emirates ของสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ในยุคสมัยที่บริษัทใหญ่ๆ มีเงินเหลือและหันมาลงทุนในสตาร์ตอัพ Dell Technologies เป็นบริษัทรายล่าสุดที่ลงมาเล่นในตลาดนี้ และวันนี้ในงาน Dell EMC World 2017 ก็เป็นเวทีเปิดตัว Dell Technologies Capital บริษัทลูกที่รับดูแลเรื่องการลงทุนโดยเฉพาะ
Dell Technologies Capital ทำงานอย่างเงียบๆ มาสักระยะหนึ่ง และไล่ลงทุนในสตาร์ตอัพกว่า 70 บริษัทแล้ว หลักการเลือกบริษัทลงทุนคือเป็นบริษัทที่สอดคล้องกับธุรกิจในเครือ ไม่ว่าจะเป็น Dell, Dell EMC, Pivotal, RSA, SecureWorks, Virtustream, VMware
Didi Chuxing สตาร์ทอัพให้บริการรถแท็กซี่รายใหญ่ของจีน ประกาศเพิ่มทุนรอบล่าสุดถึง 5,500 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 190,000 ล้านบาท) ซึ่งถือเป็นการเพิ่มทุนของบริษัทนอกตลาดหุ้นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีผู้ลงทุน อาทิ Silver Lake Kraftwerk, SoftBank, ธนาคาร China Merchants ฯลฯ อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏชื่อแอปเปิล ซึ่งเคยร่วมลงทุนรอบก่อนหน้าในการลงทุนครั้งนี้
Didi ไม่ได้เปิดเผยอัตราส่วนการลงทุนในครั้งนี้ แต่แหล่งข่าวของ TechCrunch เผยว่าทำให้มูลค่ากิจการของ Didi สูงมากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้เป็นสตาร์ทอัพมูลค่าสูงสุดในโลกเป็นอันดับ 2 รองจาก Uber เท่านั้น
สตาร์ตอัพที่ระดมทุนไปพอแล้ว แต่เงินยังไม่พอใช้จ่ายเพราะธุรกิจยังไม่มีกำไร หนทางหนึ่งในการอยู่รอดต่อไปคือ "การกู้เงิน" (debt) จากนักลงทุน VC แทนการให้ผลตอบแทนเป็นหุ้น (equity)
สตาร์ตอัพรายล่าสุดที่ใช้ท่านี้คือ SoundCloud บริการฟังเพลงออนไลน์ที่มีปัญหาระดมทุนเพิ่มไม่สำเร็จ ล่าสุดบริษัทขอกู้เงินรวม 70 ล้านดอลลาร์จากบริษัทลงทุน 3 รายคือ Ares Capital, Kreos Capital, Davidson Technology
SoundCloud ระบุว่าจะนำเงินก้อนนี้ไปปรับโครงสร้างบริษัทเพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมา กิจการของ SoundCloud เติบโตทั้งในแง่ผู้ใช้และรายได้ แต่ผลประกอบการก็ขาดทุนหนักขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี
จากการที่ IBM จัดงาน IBM Connect 2017 ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ร่วมชมในงานนี้ พร้อมโอกาสสัมภาษณ์คุณ George Ugras ซึ่งเป็น Managing Director ของ IBM Ventures บริษัท VC ของ IBM สั้นๆ (ผมเพิ่งรู้ว่ามีจากงานนี้ด้วยซ้ำ) ถึงแนวทางและนโยบายของ IBM Ventures ที่อาจจะแตกต่างจาก CVC ของหลายๆ บริษัทอยู่ไม่น้อย
Airbnb ได้ส่งแบบรายงานต่อ กลต. สหรัฐอเมริกา (SEC) ระบุว่าบริษัทได้ทำการเพิ่มทุนรอบล่าสุดซีรี่ส์ F เป็นเงินรวม 1,003.3 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากลบตัวเลขที่ Airbnb เคยเปิดเผยก่อนหน้านี้ 555 ล้านดอลลาร์ นั่นหมายความว่า Airbnb ได้เพิ่มทุนอีกถึง 448 ล้านดอลลาร์ ในช่วงปลายปี
การเพิ่มทุนรอบนี้ทำให้ Airbnb มีมูลค่ากิจการราว 31,000 ล้านดอลลาร์ เป็นสตาร์ทอัพใหญ่อันดับ 2 ของอเมริการองจาก Uber ซึ่งถึงอย่างนั้นแหล่งข่าวก็บอกว่า Airbnb ยังไม่มีแผนเข้าตลาดหุ้นในช่วงเวลาอันใกล้นี้
สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือถึงจะมีการเพิ่มทุนเรื่อยๆ แต่ตัวธุรกิจ Airbnb นั้นเริ่มมีกำไรด้วยตนเองแล้ว นับตั้งแต่เมื่อไตรมาสที่ 2 ของปี 2016 และคาดว่าจะทำกำไรได้ตลอดปี 2017 ด้วย
ที่มา: CNBC
Airbnb ได้ออกเอกสารรายงานยืนยันการเพิ่มทุนรอบล่าสุด โดยรับเงินลงทุนอีก 555.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแกนนำหลักในการลงทุนรอบนี้คือ Google Capital และ Technology Crossover Ventures
Nathan Blecharczyk ซีทีโอของ Airbnb ออกมาเปิดเผยว่าเงินลงทุนรอบล่าสุดนี้ ทำให้มูลค่ากิจการของ Airbnb เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 ล้านดอลลาร์แล้ว (ปีที่แล้ว 25,500 ล้านดอลลาร์) ทั้งยืนยันว่า Airbnb ยังดำเนินงานเติบโตได้ดีและมีโอกาสอีกมาก
สิ่งที่น่าสนใจในการเพิ่มทุนครั้งนี้ ก็คือ Airbnb เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถขายหุ้นบริษัทที่ตนเองถืออยู่ออกมาได้ด้วย ซึ่งมูลค่าหุ้นที่ขายกันออกมานั้นอยู่ราว 200 ล้านดอลลาร์ การให้พนักงานสามารถขายหุ้นออกมาได้ก็ช่วยลดแรงกดดันที่ Airbnb จะต้องเข้าตลาดหุ้น เพราะพนักงานสามารถรับเงินสดได้ในอีกทางหนึ่ง
ที่มา: Bloomberg และ Boston Herald
Omise บริษัท Payment Gateway ในไทย ประกาศระดมทุน Series B ซึ่งรอบนี้ได้รับเงินลงทุนรวม 17.5 ล้านดอลลาร์ โดยผู้ลงทุนหลักคือกองทุน SBI Investment จากประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมี Golden Gate Ventures ที่ SCB ไปลงทุนไว้อีกด้วย โดยการระดมทุนครั้งนี้ถือเป็นการระดมทุน Series B ของบริษัท Fintech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง
วันนี้ Digital Ventures หรือ DV บริษัทลูกด้าน FinTech ของ SCB แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการ (อ่าน บทสัมภาษณ์ ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการบริหาร Digital Ventures ประกอบ) โดยเบื้องต้น DV จะมี 3 ส่วนธุรกิจ
บริษัทลงทุน Ardent Capital ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในไทย ประกาศรวมกองทุนสตาร์ตอัพของตัวเองให้บริษัท Wavemaker Partners จากแอลแอและสิงคโปร์ดูแลแทน
ผลคือบริษัทที่ Ardent เคยไปลงทุนไว้จะอยู่ภายใต้การบริหารของ Wavemaker ซึ่งในจำนวนนี้มีบริษัทไทยอย่าง Playbasis รวมถึง HappyFresh ที่มีธุรกิจในไทยด้วย (Ardent ลงทุนในสตาร์ตอัพฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 10 บริษัท)
ต่อจากข่าว HTC เตรียมแยกหน่วยธุรกิจ VR ออกเป็นบริษัทลูก ล่าสุด HTC ยืนยันการตั้งบริษัทลูกแล้ว โดยใช้ชื่อว่า HTC Vive Tech Corporation
ในโอกาสเดียวกัน HTC ยังประกาศตั้งกลุ่มพันธมิตร Virtual Reality Venture Capital Alliance (VRVCA) รวมเอาบริษัทลงทุน (VC) ด้าน VR จำนวน 30 ราย มาร่วมกันลงทุนในสตาร์ตอัพด้าน VR, AR และ Mixed Reality สมาชิกในกลุ่มมีเงินลงทุนรวมกันมากถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมี Alvin Wang Graylin ประธานฝ่าย VR ของ HTC China เป็นประธานกลุ่ม
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ตั้งบริษัทลูกชื่อ Digital Ventures ทำ FinTech วันนี้ Digital Ventures ประกาศลงทุนครั้งแรก โดยเข้าไปลงทุนในกองทุน Golden Gate Ventures (GGV) ของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในสตาร์ตอัพภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ผ่านมา GGV ลงทุนในสตาร์ตอัพไทยหลายราย เช่น Claim Di, Omise, Orami, Stamp, Noonswoon, ServisHero เป็นต้น โมเดลของกองทุน GGV คือบริหารเงินจากกองทุนหรือบริษัทยักษ์ใหญ่อีกทอดหนึ่ง ที่ผ่านมา GGV ได้เงินลงทุนจาก Temasek, Naver รวมถึง Eduardo Saverin หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Facebook ด้วย (ขนาดของกองทุนตอนนี้มากกว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็ไม่เปิดเผยว่า SCB ลงทุนเท่าไรใน GGV)
Twitter ได้เข้าลงทุนใน SoundCloud บริการสตรีมมิ่งเพลงที่ให้ผู้ใช้งานเข้ามาฝากเพลง ผ่านการเพิ่มทุนรอบล่าสุดโดย Twitter ลงทุนราว 70 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการประเมิน 700 ล้านดอลลาร์
Jack Dorsey ซีอีโอ Twitter ไม่ได้ให้ข้อมูลในรายละเอียดของการลงทุน แต่เขาบอกเพียงยืนยันว่ามีการลงทุนจริง และเป็นการลงทุนผ่านกองทุน Twitter Ventures ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนเหล่าผู้สร้างสรรค์ผลงานในอีกช่องทางหนึ่ง
มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า Twitter เคยพยายามซื้อกิจการ SoundCloud เมื่อปี 2014 แต่ไม่สำเร็จ และปรากฏเป็นการเข้าลงทุนถือหุ้นอย่างที่เห็นนี้
ที่มา: Recode
Anna Fang ซีอีโอของ ZhenFund บริษัท Venture Capital ของจีน ขึ้นเวทีงานสัมมนา Converge ของหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ที่ฮ่องกง
พิธีกรถามเธอว่าถ้ารัฐบาลจีนอยากให้นวัตกรรมเติบโตขึ้น 10 เท่า และสามารถทำได้เรื่องเดียว รัฐบาลควรทำอย่างไร คำตอบของ Anna คือขอให้รัฐบาลอยู่เฉยๆ (stay away) จะดีที่สุด
เธอยกตัวอย่างกรณีการกู้เงินแบบ P2P (P2P lending) ซึ่งรัฐบาลไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือกำกับดูแลเป็นระยะเวลาหนึ่ง ผลออกมาดีเพราะปล่อยให้ตลาดจัดการตัวเอง