WhatsApp เป็นแพลตฟอร์มส่งข้อความที่ประสบปัญหาการเผยแพร่ข่าวปลอมอยู่มากโดยเฉพาะในอินเดีย ที่ผ่านมา WhatsApp ได้หาแนวทางแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการซื้อโฆษณาในหนังสือพิมพ์ให้ความรู้, ร่วมกับหน่วยงานเพื่อบรรจุวิชาการตรวจสอบข่าว ไปจนถึงการจำกัดปริมาณการส่งต่อข้อความ
หลังจากที่ Zuckerberg ออกมาเขียนโพสต์เรื่องทิศทางใหม่ของ Facebook ได้ไม่นาน วันนี้ก็มีเรื่องที่ทำให้เขาต้องเขียนโพสต์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่รอบนี้เป็นการแถลงออกสู่สาธารณะอย่างเป็นทางการว่าผู้บริหารระดับสูงสองราย คือ Chris Cox หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ (ชื่ออย่างเป็นทางคือ CPO - Chief Product Officer หรือประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์) และ Chris Daniels หัวหน้าทีม WhatsApp ลาออกจากบริษัท
เว็บไซต์รายงานเกี่ยวกับแอพ WhatsApp ที่ชื่อ WABetaInfo รายงานว่า WhatsApp ได้อัพโหลดรุ่นทดสอบ beta รุ่นใหม่ที่มีเลขรุ่นเป็น 2.19.73 ขึ้นในระบบ Google Play Beta Program และพบว่ามีการปล่อยคุณสมบัติใหม่ออกมาพอสมควร แต่ที่น่าสนใจคือคุณสมบัติการค้นหาภาพที่ส่งในแอพจากระบบของ Google เพื่อตรวจสอบว่าเป็นภาพอะไร
คุณสมบัติดังกล่าวยังไม่เปิดใช้งาน แต่มีปรากฎขึ้นอยู่ในเมนูแล้ว โดยเมื่อเลือกภาพแล้วสามารถสั่ง "Search image" ได้จากเมนูโดยตรง จากนั้นระบบจะทำการค้นหาภาพที่เหมือนหรือคล้ายคลึงผ่าน Google API ก่อนที่จะแสดงผลผ่านเว็บเบราว์เซอร์อีกทีหนึ่งเพื่อให้ตรวจสอบผล
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า Facebook สนใจออกเหรียญเงินคริปโตขึ้นมาสำหรับใช้โอนจ่ายเงินกับบนแพลตฟอร์ม ล่าสุดมีข้อมูลเพิ่มเติมยืนยันว่าเงินคริปโตดังกล่าวจะเปิดตัวให้ใช้งานได้ภายในช่วงครี่งแรกของปีนี้ ทั้งยังระบุว่า Facebook ได้พูดคุยกับผู้ให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินคริปโต (Exchange) บางรายแล้วด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าเงินคริปโตของ Facebook จะมาในรูปแบบใด ใช้งานอะไรได้บ้าง แต่หากอ้างตามข่าวก่อนหน้านี้ แผนของ Facebook คือการทำเหรียญแบบมูลค่าคงตัว (Stablecoin) เพื่อใช้โอนรับเงินกันภายใน WhatsApp เป็นหลัก
Bundeskartellamt หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของเยอรมนี ออกคำสั่งห้าม Facebook เชื่อมข้อมูลผู้ใช้ระหว่าง Facebook, WhatsApp, Instagram เข้าด้วยกัน ก่อนได้รับความยินยอมจากผู้ใช้รายนั้น
Bundeskartellamt ให้เหตุผลว่าปัจจุบัน Facebook เป็นผู้ให้บริการ social network รายใหญ่ของโลก และไม่มีบริษัทอื่นมาเป็นคู่แข่งขันตรงๆ ถือว่ามีสถานะเกือบผูกขาดแล้ว จึงเข้าข่ายเงื่อนไขของกฎหมายต่อต้านการผูกขาด อีกทั้งธุรกิจ social network มีโมเดลหารายได้จากโฆษณา ซึ่งอิงกับข้อมูลของผู้ใช้งานเป็นหลัก
WhatsApp ออกอัพเดตเวอร์ชันใหม่บน iOS โดยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่คือเพิ่มการยืนยันตัวตนด้วย Touch ID หรือ Face ID ก่อนเข้าใช้งานแอพ เรียกว่า Screen Lock
ผู้ใช้สามารถเข้าไปเปิดใช้ฟีเจอร์นี้ได้ผ่านเมนู Settings > Account > Privacy และเลือกเมนู Screen Lock ซึ่งจะแสดงปุ่มให้เปิด Touch ID หรือ Face ID โดย WhatsApp ระบุว่าถ้าเปิดใช้งานแล้ว ผู้ใช้จะต้องใช้ Touch ID หรือ Face ID ในการปลดล็อกแอพ แต่จะยังคงสามารถตอบกลับข้อความจากการแจ้งเตือนหรือรับสายโทรศัพท์เข้าจาก WhatsApp ได้ตามปกติ
ทั้งนี้ เมนู Screen Lock ของ WhatsApp ยังคงมีเฉพาะ Touch ID หรือ Face ID เท่านั้น ไม่มี PIN แบบปกติให้เลือกเปิดใช้งาน
The New York Times อ้างแหล่งข่าวภายใน Facebook หลายราย ระบุว่า Mark Zuckerberg จะรวมโครงสร้างพื้นฐานของ WhatsApp, Instagram, Facebook Messenger เข้าด้วยกัน
บริการทั้งสามตัวจะยังแยกจากกันเหมือนเดิม แต่อยู่บนโครงสร้างทางเทคโนโลยีเดียวกัน ทำให้มันกลายเป็นเครือข่ายข้อความที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผู้ใช้งานถึง 2.6 พันล้านคน
ตามข่าวบอกว่าแผนการนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และต้องใช้วิศวกรของบริษัทเป็นหลักพันคนเพื่อปรับระบบเดิมมาอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ และมีเป้าทำให้เสร็จภายในช่วงสิ้นปี 2019 หรือต้นปี 2020
WhatsApp ประกาศปรับลิมิตการส่งต่อข้อความ (Forward) ลงอีกครั้ง จากเดิมได้สูงสุด 20 คน ลงมาเป็นข้อความละ 5 คน เป็นตัวเลขเท่ากับที่จำกัดอยู่ในอินเดียปัจจุบัน มีผลกับผู้ใช้ทั่วโลก
สาเหตุของการจำกัดจำนวนส่งต่อข้อความนั้นก็เพื่อป้องกันปัญหาการกระจายข่าวปลอม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ WhatsApp ยังคงแก้ไขต่อเนื่อง
นอกจากการป้องกันการส่งต่อข้อความที่รวดเร็ว ก่อนหน้านี้ WhatsApp ยังเพิ่มการแสดงเตือนผู้ใช้ว่าลิงก์ข่าวที่แชร์มามีความน่าสงสัยด้วย
มีรายงานว่า Facebook กำลังพัฒนาเหรียญคริปโตขึ้นมาเอง เพื่อใช้สำหรับการโอนเงินหากันบน WhatsApp โดยเหรียญดังกล่าวเป็นเหรียญแบบมูลค่าคงตัว (Stablecoin) ที่มีมูลค่าเท่ากับค่าเงินสกุลหนึ่งเสมอ ซึ่งโครงการนี้คาดจะนำไปใช้ในอินเดีย ซึ่งเป็นฐานผู้ใช้ขนาดใหญ่ของ WhatsApp
ปัจจุบัน Facebook มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเทคโนโลยี Blockchain โดยเฉพาะ ซึ่ง David Marcus อดีตหัวหน้าทีม Messenger เป็นผู้รับผิดชอบ
อย่างไรก็ตามตัวแทนของ Facebook ให้ความเห็นกับข่าวนี้ว่าบริษัทได้ศึกษาการนำ Blockchain มาใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งก็เหมือนกับบริษัทอื่น ๆ จึงไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมในขณะนี้
ผู้บริหารระดับสูงของบรรดาบริษัทที่ Facebook ซื้อกิจการมายังคงทยอยลาออกกันต่อเนื่องในปีนี้ ล่าสุดคือ Neeraj Arora หัวหน้าฝ่ายธุรกิจของ WhatsApp ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกคาดว่าจะเป็นซีอีโอ WhatsApp คนใหม่ ได้ประกาศลาออกแล้ววันนี้ โดยบอกว่าจะหยุดพักเพื่อเติมพลัง และใช้เวลากับครอบครัว พร้อมกล่าวขอบคุณ Jan Koum และ Brian Acton สองผู้ก่อตั้ง WhatsApp ที่ลาออกไปก่อนหน้านี้ ที่ให้โอกาสและสนับสนุนเขา
Arora มีตำแหน่งเรียกแบบไม่เป็นทางการว่าเป็นพนักงาน WhatsApp ลำดับที่ 4 ของบริษัท ก่อนหน้าจะมาร่วมงานกับ WhatsApp ในปี 2011 เขาเคยทำงานอยู่ที่กูเกิลมาก่อน
หลังจากทานกระแสมานาน ในที่สุด WhatsApp ภายใต้อาณาจักร Facebook ก็ยืนยันแล้วว่าจะมีโฆษณากับเขาสักที
Chris Daniels ผู้บริหารของ WhatsApp ไปให้สัมภาษณ์กับสื่อที่อินเดีย ยืนยันว่าจะเพิ่มโฆษณาลงในส่วน Status ที่เทียบได้กับ Stories ของ Instagram
เขาบอกว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ทำเงินของบริษัท และเป็นโอกาสอันดีที่ธุรกิจจะเข้าถึงผู้ใช้จำนวนมากของ WhatsApp ได้ (ปัจจุบัน WhatsApp มีผู้ใช้งานมากกว่า 1.5 พันล้านคน) แต่เขายังไม่ระบุช่วงเวลาว่าเราจะเห็นโฆษณาแบบใหม่นี้เมื่อไร
WhatsApp เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ “สติ๊กเกอร์” ตามแพลตฟอร์มแชทอื่น ๆ ที่มีฟีเจอร์นี้แล้ว
สำหรับสติ๊กเกอร์บน WhatsApp ใช้งานได้โดยการกดปุ่มสติ๊กเกอร์ในหน้าแชท ซึ่งในตอนนี้สติ๊กเกอร์บน WhatsApp ยังมีค่อนข้างจำกัด แต่ WhatsApp ก็มี API พร้อมเปิดรับสติ๊กเกอร์จากผู้มีไอเดียวาดสติ๊กเกอร์เองด้วย
ตอนนี้สติ๊กเกอร์ของ WhatsApp เริ่มทยอยปล่อยให้ผู้ใช้ได้เริ่มใช้งานแล้ว ส่วนผู้ที่สนใจทำสติ๊กเกอร์สำหรับ WhatsApp สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ Creating Stickers for WhatsApp ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งขนาดของสติ๊กเกอร์, คำแนะนำในการทำสติ๊กเกอร์ และโค้ดตัวอย่างให้
Facebook ซื้อบริษัทมากมายเข้ามารวมด้วย แต่มี 3 บริษัทที่เป็นการซื้อกิจการครั้งสำคัญ คือ Instagram, WhatsApp และ Oculus
เมื่อดูภาพยุทธศาสตร์ หรือโรดแมป 10 ปีของ Facebook ที่เผยออกมาในงาน f8 ปี 2016 จะเห็นได้ว่า ทั้ง Instagram, WhatsApp และ Oculus อยู่ในโรดแมปที่ต้องการสร้างรายได้มหาศาลนี้
น่าจับตาว่าเมื่อผู้ก่อตั้งทั้งสามบริษัทลาออกไปแล้ว หน้าตาและภาพรวบธุรกิจของทั้งสามผลิตภัณฑ์จะเป็นอย่างไรต่อไป
จากประเด็นผู้ก่อตั้ง whatsApp ออกมาเปิดใจถึงเหตุผลที่ลาออกจาก Facebook ทำให้ David Marcus หัวหน้าทีม Facebook Messenger ออกมาโต้บ้าง โดยจั่วหัวว่าเป็นเรื่องอีกด้านหนึ่ง เป็นความคิดเห็นในมุมของเขาไม่เกี่ยวกับบริษัท Facebook แต่อย่างใด
Brian Acton ผู้ร่วมก่อตั้ง WhatsApp ลาออกเมื่อเดือนกันยายน 2017 โดยลาออกก่อนจะเกิดเหตุอื้อฉาวข้อมูลหลุด ของเฟซบุ๊กผู้เป็นบริษัทแม่ได้ไม่นาน และเมื่อข่าวแพร่ออกไป เขายังเป็นคนจุดเทรนด์ #deletefacebook ชวนผู้ใช้ลบบัญชีเฟซบุ๊กบนทวิตเตอร์ด้วย
ผลของการลาออกคือ Acton ต้องทิ้งหุ้นเฟซบุ๊ก มูลค่า 850 ล้านดอลลาร์ หลังจากนั้นเขาก็ปิดปากเงียบมาตลอด จนกระทั่งนิตยสาร Forbes ได้สัมภาษณ์เปิดใจครั้งแรกถึงสาเหตุที่ลาออก รวมทั้งมุมมองของเขาที่มีต่อเฟซบุ๊ก
อินเดียมีปัญหาข่าวปลอมระบาด และส่งผลกระทบให้เกิดอาชญากรรมจริงๆ เพราะคนเชื่อข่าวปลอมที่แชร์กันมาผ่าน WhatsApp ฝั่ง Facebook เจ้าของ WhatsApp ก็พยายามแก้ปัญหาด้วยการซื้อหน้าโฆษณาหนังสือพิมพ์เพื่อแนะนำวิธีเช็กข่าวปลอม ล่าสุดโรงเรียนในอินเดีย 150 แห่ง ใน Kannur เริ่มรรจุวิชาการตรวจสอบข่าวปลอมเข้ามาในภาคการศึกษาแล้ว
นักเรียนราว 40 คนในห้องเรียนจะถูกแยกออกเป็นแถวๆ และอ่านข่าวสองข่าวเทียบกันแล้วต้องแยกให้ได้ว่าข่าวไหนเป็นข่าวจริงและข่าวปลอม การสอนก็ไม่มีอะไรมากคือเน้นย้ำให้เด็กๆ ตรวจสอบข่าวที่เจอมาให้ดี ลองเอาข่าวไปตรวจสับกับแหล่งข่าวอื่น และอย่าเพิ่งแชร์ต่อจนกว่าจะมั่นใจ
คลาสวิชาข่าวปลอมมีระยะเวลา 40 นาที จัดขึ้นใน 150 โรงเรียนรัฐบาล จากจำนวนโรงเรียนทั้งหมด 600 แห่ง ซึ่งจะมีนักเรียนที่ได้เรียนวิชาข่าวปลอมราวๆ 1,500 คน
WhatsApp มีฟีเจอร์แบคอัพลง Google Drive สำหรับผู้ใช้ Android โดยคิดพื้นที่แบคอัพตามจริงมานาน (ส่วน iOS อัพเดตขึ้น iCloud) ล่าสุด WhatsApp ประกาศว่า Google Drive จะไม่คิดพื้นที่ข้อมูลแบคอัพของ WhatsApp อีกแล้ว มีผลตั้งแต่ 12 พฤศจิกายนนี้
การประกาศครั้งนี้นอกจากเรื่องการนับพื้นที่แล้ว ยังมีเรื่องสำคัญอีกเรื่องคือ WhatsApp จะลบแบคอัพเก่าทั้งหมดบน Google Drive ที่ไม่เคยอัพเดตเลยนานกว่า 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ ดังนั้นเพื่อป้องกันข้อมูลสำคัญถูกลบ WhatsApp แนะนำให้ผู้ใช้ที่แบคอัพขึ้น Google Drive กดแบคอัพเองก่อนที่จะถึงวันที่กำหนด
ยุคสมัยที่แอพแชทครองเมือง เราเห็นแอพแชทหลายตัวเปิดช่องทางให้ธุรกิจสามารถคุยกับผู้ใช้ผ่านแชทโดยตรง เช่น LINE@ หรือสารพัดบริการของ WeChat แต่แอพแชทยอดนิยมที่ยังขยับตัวช้าในเรื่องนี้คือ WhatsApp
ล่าสุด WhatsApp ประกาศเปิด Business API ให้ใช้งานแล้ว ฟีเจอร์มีดังนี้
WhatsApp เปิดตัวฟีเจอร์การโทรหากันแบบกลุ่ม ทั้งโทรด้วยเสียงหรือวิดีโอคอล โดยสามารถสนทนากับเพื่อนได้มากสุดถึง 4 คน
วิธีใช้งานวิดีโอคอลแบบกลุ่มของ WhatsApp คือผู้ใช้จะต้องเริ่มการโทรกับผู้ใช้คนใดคนหนึ่งก่อน จากนั้นจึงกดปุ่มเพิ่มเพื่อนตรงมุมบนขวาเพื่อเพิ่มผู้ที่ต้องการสนทนาเข้ามา ก็จะเป็นการเริ่มการสนทนาแบบกลุ่มทันที
WhatsApp บอกว่าการโทรหากันแบบกลุ่มบนแพลตฟอร์มจะใช้การเข้ารหัสแบบ end-to-end ตลอดเวลา และออกแบบให้ระบบสามารถทำงานได้ดีแม้จะมีเงื่อนไขการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกัน โดยฟีเจอร์นี้ WhatsApp เริ่มปล่อยให้ผู้ใช้แอพทั้ง iOS และ Android แล้ว
WhatsApp ประกาศเปลี่ยนแปลงวิธีการส่งต่อข้อความ หลังเกิดปัญหาข่าวปลอมแพร่ระบาดใน WhatsApp ซึ่งกรณีที่รุนแรงมากคือเหตุฆาตกรรมจากการเชื่อข่าวปลอมในอินเดีย จนทำให้ต้องซื้อโฆษณาในหนังสือพิมพ์ เพื่อแนะนำวิธีตรวจสอบข่าว
โดย WhatsApp ประกาศปรับการส่งต่อข้อความ (Forward) ให้สามารถส่งในแต่ละครั้งได้สูงสุดเหลือ 20 คน จากเดิมที่ส่งได้ 250 คน มีผลกับผู้ใช้ทั่วโลก และเฉพาะในอินเดีย สามารถส่งได้สูงสุดเพียงครั้งละ 5 คน นอกจากนี้ปุ่มส่งต่อเร็ว (Quick Forward) สำหรับข้อมูลรูปภาพ-วิดีโอ ยังถูกตัดออกไปสำหรับผู้ใช้ในอินเดียด้วย
จากเหตุการณ์ศาลเตี้ยทำการฆาตกรรมในอินเดีย เพราะคนเชื่อข่าวปลอมเรื่องลักพาตัวเด็กที่แชร์ใน WhatsApp และเหตุการณ์ทำนองนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นในอินเดีย แต่ในระยะ 2-3 ปีให้หลังมานี้ เกิดเหตุแบบนี้อยู่เรื่อยๆ
ล่าสุด Facebook ได้ซื้อหน้าสื่อหนังสือพิมพ์ในอินเดีย 1 หน้าเต็มๆ เผยแพร่วิธีการเช็คข่าวปลอมที่แชร์กันใน WhatsApp พร้อมระบุด้วยว่า ภายในสัปดาห์นี้ WhatsApp จะมีฟีเจอร์ตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นข้อมูลที่ได้รับการแชร์ต่อๆ กันมาหรือไม่ ในกรณีที่ผู้ใช้อยากหาต้นตอว่าแชร์มาจากใคร
ก่อนหน้านี้เกิดเหตุฆาตกรรมในอินเดียเนื่องจากข่าวปลอมที่ส่งผ่าน WhatsApp ล่าสุด Facebook ก็เริ่มปรุงให้ WhatsApp แสดงข้อความระบุว่าข้อความใดเป็นข้อความที่ถูกส่งต่อมาให้ชัดเจนขึ้น โดยจะแสดงคำว่า Forwarded เหนือข้อความนั้น ๆ
เนื่องจากข้อความที่ผู้ใช้ส่งหากันบน WhatsApp นั้นเป็นข้อความเข้ารหัส ตัวผู้ให้บริการเองจึงไม่สามารถมอนิเตอร์หรือติดตามคีย์เวิร์ดของข้อความที่ส่งไปบนแพลตฟอร์มได้ ต่างกับบริการหลัก Facebook ดังนั้น WhatsApp จึงเลือกใช้วิธีนี้เพื่อให้ผู้ใช้สังเกตเห็นในตอนอ่านข้อความ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา มีผู้เคราะห์ร้าย 5 รายถูกทำร้ายจนเสียชีวิต เพราะคนทำร้ายเชื่อว่า 5 คนนั้นเป็นคนลักพาตัวเด็กตามข้อมูลที่แชร์ผ่าน WhatsApp
ในอินเดียมีคนใช้ WhatsApp ประมาณ 200 ล้านราย ถือเป็นตลาดที่ใหญ่มากๆ ของ WhatsApp เลยทีเดียว ในขณะที่ Facebook ถูกวิจารณ์ว่ามีแต่ข่าวปลอมจนส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้ง WhatsApp ในอินเดียก็เช่นกัน แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นในโลกจริงนั้นเลวร้ายกว่ามาก เพราะมีคนเสียชีวิตจริงจากการที่คนเชื่อข่าวปลอมที่แชร์กันใน WhatsApp
รัฐบาลในนามหน่วยงานกระทรวงไอที ระบุว่านอกจากจะใช้มาตรการทางกฎหมายต่อผู้ก่อเหตุแล้ว ยังแสดงความกังวลเรื่องข้อมูลปลอมที่แชร์กันซ้ำๆ บน WhatsApp และระบุด้วยว่า WhatsApp ควรรับผิดชอบส่วนหนึ่งด้วยการยุติการเผยแพร่ข้อมูลปลอมเสีย
WhatsApp ประกาศเพิ่มคุณสมบัติใหม่สำหรับห้องกลุ่ม โดยผู้ดูแลหรือ Admin สามารถเลือกตั้งค่าของกลุ่มให้มีเพียงแอดมินเท่านั้นที่ส่งข้อความเข้าไปในกลุ่มได้
ประโยชน์ของกลุ่มประเภทนี้ ก็คือแทนที่จะเป็นการตั้งกลุ่มเพื่อพูดคุย ก็จะกลายเป็นการตั้งกลุ่มเพื่อแจ้งข่าวสารประกาศสำคัญเท่านั้น WhatsApp บอกว่าการตั้งค่ากลุ่มแบบนี้ เหมาะกับกลุ่มของโรงเรียน-คุณครู-ผู้ปกครอง ใช้แจ้งข่าวสาร ตลอดจนกลุ่มชุมชนหรือองค์กรต่าง ๆ
สามารถกำหนดค่านี้ได้โดยไปที่ Group Info เลือก Group Settings > Send Messages และเลือก Only Admins ซึ่งคุณสมบัตินี้ WhatsApp เปิดให้ใช้แล้วกับผู้ใช้งานทั่วโลก
ข่าวฉาวและความไม่มั่นใจในความเป็นส่วนตัวของ Facebook ทำให้คนหนีจาก Facebook ไปใช้โซเชียล WhatsApp ในการพูดคุย ถกปัญหาจากข่าว ด้วยรู้สึกปลอดภัยมากกว่า ผลสำรวจจาก Digital News Report โดย Reuters ชี้ว่า การเสพข่าวผ่าน Facebook ลดฮวบ โดยเฉพาะคนอายุน้อย โดยกลุ่มคนเหล่านี้หันไปใช้ WhatsApp, Instagram, Snapchat
อย่างไรก็ตาม Facebook ยังคงเป็นเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับข่าว โดยมี 36% ใช้งานเสพข่าวในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็สูญเสียตัวเลขผู้ใช้ให้ WhatsApp ไปไม่น้อยซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในช่วง 4 ปีถึง 15 % ในผลสำรวจยังระบุด้วยว่า ผู้คนรู้สึกสบายใจมากกว่าในการใช้ WhatsApp พูดคุยการเมือง โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซียและตุรกี ผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขาจะเจอเนื้อหาข่าวบน Facebook, Twitter และแชร์ลง WhatsApp เพื่อคุยกัน