กระทรวงด้านไอทีของอินเดียได้ส่งจดหมายถึง Will Cathcart หัวหน้าฝ่าย WhatsApp โดยระบุว่านโยบายแชร์ข้อมูลใหม่ของ WhatsApp สร้างความกังวลอย่างร้ายแรงต่อทางเลือกและความเป็นอิสระของชาวอินเดีย และต้องการหยุดการเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้
อินเดียถือเป็นตลาดใหญ่ของ WhatsApp ดังนั้นทางกระทรวงต้องการทราบความชัดเจนของ WhatsApp ในข้อตกลงแชร์ข้อมูลกับ Facebook และบริษัทอื่น ๆ รวมถึงตั้งคำถามด้วยว่าทำไมจึงมีข้อยกเว้นสำหรับผู้ใช้งานในอียูว่าไม่ต้องทำตามนโยบายใหม่ แต่ผู้ใช้ในอินเดียไม่มีทางเลือกใด ๆ การเลือกปฏิบัติแบบนี้เป็นผลเสียต่อผู้ใช้ชาวอินเดียซึ่งรัฐบาลอินเดียกังวลมาก
WhatsApp ประกาศเลื่อนกำหนดข้อตกลงการใช้งานใหม่ ที่ผู้ใช้งานต้องแชร์ข้อมูลให้ Facebook ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถใช้งาน WhatsApp ต่อไปได้ จากเดิมจะมีผลวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ออกไปเป็นวันที่ 15 พฤษภาคม
WhatsApp ให้เหตุผลของการขยายเวลาออกไป เพื่อให้บริษัทมีเวลาชี้แจงถึงการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เนื่องจากยังมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอยู่ อีกทั้งให้เวลาผู้ใช้งานได้ตรวจสอบข้อกำหนดใหม่เพิ่มเติม
ดูเหมือนการปรับเงื่อนไขของ WhatsApp ที่แชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับ Facebook จะสั่นสะเทือน WhatsApp กว่าที่คิด มีทั้งคนที่วิจารณ์แรงและคนที่หนีไปใช้งานแอปอื่น จน WhatsApp ต้องออกมาชี้แจงเพิ่มเติมถึงการแชร์ข้อมูล โดยยืนยันว่าการปรับเงื่อนไข ไม่กระทบความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานในการแชทคุยกับเพื่อนและคนในครอบครัว และชี้แจงเพิ่มดังนี้
จากประเด็น WhatsApp ปรับเงื่อนไขการใช้งาน แชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับ Facebook ด้วย คนก็แห่ไปดาวน์โหลดแอป Telegram และ Signal กัน ล่าสุด Telegram ออกมาเปิดเผยว่า ภายใน 72 ชั่วโมงที่ผ่านมา มียอดดาวน์โหลด 25 ล้านครั้ง ทำให้ตอนนี้มียอดดาวน์โหลดสะสม 500 ล้านครั้งแล้ว
Elon Musk ทวีตเชิญชวนให้คนย้ายไปใช้ Signal หลังจาก WhatsApp ปรับเงื่อนไขการใช้งาน ว่าต้องแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับ Facebook ด้วย
ผลคือ Signal มีคนใช้งานพุ่งสูงในหลายประเทศ ขึ้นอันดับหนึ่งของ App Store ในอินเดียและเยอรมนี, ข้อความ SMS ยืนยันตัวตนของผู้ใช้ใหม่ส่งล่าช้าในหลายประเทศ รวมถึงส่งผลให้หุ้นของบริษัท Signal Advance Inc. ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน (แต่ชื่อเหมือนกัน) พุ่งสูงขึ้นถึง 1000% ด้วย เพราะคนเข้าใจผิด
Signal ได้รับเงินสนับสนุนจาก Brian Acton ผู้ก่อตั้ง WhatsApp ที่ลาออกจาก Facebook ในปี 2017 และเป็นฝ่ายวิจารณ์ Facebook อยู่บ่อยครั้ง
Facebook ประกาศสถิติการใช้งานแอปเพื่อการเฉลิมฉลองเข้าสู่ปีใหม่ 2021 ทั่วโลก ซึ่งปีนี้แตกต่างจากที่ผ่านมาด้วยสถานการณ์โควิด ทำให้การร่วมฉลองผ่านช่องทางออนไลน์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนเป็นสถิติใหม่สูงสุด
Caitlin Banford ผู้จัดการฝ่ายเทคนิคของ Facebook กล่าวว่า ในช่วงก่อนการระบาดของโควิด การใช้งาน Facebook จะสูงกว่าปกติในช่วงเข้าสู่ปีใหม่ทุกปีอยู่แล้ว แต่ช่วงเดือนมีนาคม 2020 ที่การระบาดเริ่มสูงขึ้นทั่วโลก การใช้งานกลับสูงยิ่งกว่าช่วงเทศกาลปีใหม่ ทีมงาน Facebook จึงวางระบบให้รองรับการใช้งานที่มากขึ้นเพื่อรองรับการเข้าสู่ปีใหม่ 2021
สถิติแยกรายแอปในเครือ Facebook เป็นดังนี้
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) สั่งให้บริษัทด้านโซเชียลและวิดีโอออนไลน์ยอดนิยม 9 ราย ได้แก่ Amazon (Twitch), ByteDance (TikTok), Discord, Facebook, Reddit, Snapchat, Twitter, WhatsApp, YouTube รายงานวิธีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ ตามรอย วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ตัดสินใจเลือกแสดงโฆษณา วัดผล ฯลฯ แล้วส่งกลับมายัง FTC ภายใน 45 วัน
FTC ไม่ได้ระบุชัดว่าข้อข้อมูลนี้ไปทำอะไรแบบเจาะจง แต่ก็แสดงให้เห็นว่า FTC กำลังเข้ามาสอบสวนพฤติกรรมทางธุรกิจของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่เหล่านี้ ซึ่งท่าทีของ FTC ช่วงหลังชัดเจนว่าต้องการเข้ามากำกับดูแลในประเด็นต่างๆ อย่างใกล้ชิดกว่าเดิม ดังที่เห็นจากคดีล่าสุดที่ FTC ฟ้องร้อง Facebook ว่าผูกขาดตลาดโซเชียล
Apple เคยประกาศไว้ในงาน WWDC ที่เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมาว่าจะเริ่มให้นักพัฒนาแอปใส่ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว โดยกฎนี้เป็นข้อบังคับเมื่อส่งแอปใหม่หรืออัพเดตให้ Apple มีผลกับแอปทั้ง App Store
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) ยื่นฟ้อง Facebook ในข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์คแล้ว
FTC บอกว่า Facebook มีพฤติกรรมปิดกั้นการแข่งขันมายาวนานและทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การไล่ซื้อบริษัทที่มีโอกาสมาเป็นคู่แข่งในอนาคต ทั้ง WhastApp, Instagram และกำหนดเงื่อนไขใน API ว่าห้ามนำไปใช้ทำฟีเจอร์บางอย่างแข่งกับ Facebook รวมถึงห้ามใช้โปรโมทหรือเชื่อมต่อกับบริการโซเชียลอื่นๆ ยิ่งทำให้ Facebook ผูกขาดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหนึ่งในบริษัทใหญ่ที่สุดของโลก มีกำไรมหาศาล
หลังการทดสอบใช้งานกับผู้ใช้กว่า 1 ล้านรายเป็นเวลา 2 ปี ก็ได้เวลาเปิดใช้งาน โดย WhatsApp ร่วมกับหน่วยงาน National Payments Corporation of India (NPCI) ในอินเดีย เปิดใช้งานฟีเจอร์โอนเงินให้กันผ่านแอปพลิเคชั่น ผ่านตัวกลางคือ Unified Payment Interface (UPI) หรือระบบการชำระเงินแบบเรียลไทม์ของอินเดีย
Facebook ประกาศว่าแอปแชท WhatsApp เปิดให้ผู้ใช้ ใช้งานโหมดข้อความแชทหายไปใด้เองใน 7 วัน เปิดใช้ทั่วโลกทั้ง Android, iPhone, KaiOS , Web และ Desktop
WhatsApp เป็นแอปแชทที่ใช้พื้นที่อยู่ไม่น้อยจากการเก็บรูปภาพและวิดีโอหรือ GIF ที่รับส่งผ่านแชท ล่าสุด WhatsApp อัพเดตฟีเจอร์จัดการสตอเรจตัวใหม่ที่ใช้งานง่ายขึ้นกว่าเดิม รวมถึงแจ้งเตือนด้วยว่าสตอเรจในเครื่องใกล้เต็มแล้ว และขึ้นหน้าเตือนให้ลบไฟล์
ตัวเลือกนี้จะอยู่ใน Settings > Storage and Data > Manage Storage ที่จะเรียงลำดับรูปและวิดีโอตามขนาดไฟล์ สามารถลบได้พร้อม ๆ กันหลายไฟล์ รวมถึงสามารถดูพรีวิวก่อนลบได้ด้วย นอกจากนี้ฟีเจอร์นี้ยังแบ่งไฟล์ออกเป็น 2 กลุ่มคือที่ขนาดใหญ่กว่า 5MB และไฟล์ที่ถูกฟอร์เวิร์ดมาหลายรอบ
ที่มา - The Next Web
แนวคิดหนึ่งที่ถูกเสนอมาเพื่อลดอำนาจผูกขาดของ Facebook คือ แยกบริษัทออกเป็นส่วนๆ คือแยก Facebook ออกจาก Instagram และแยกออกจาก WhatsApp ซึ่งขณะนี้ ทางบริษัทกำลังถูกสอบสวนจากรัฐบาลกลางและคาดว่าอนุคณะกรรมการต้านการผูกขาดจะเผยผลการสอบสวนเร็วๆ นี้
ล่าสุด The Wall Street Journal ไปเจอเอกสาร 14 หน้า ที่เขียนโดยทีมทนายความของ Facebook คาดว่าเป็นการเตรียมเอกสารไว้ใช้สู้คดี ระบุว่าการแยกบริษัทออกจากกันนั้นทำไม่ได้ เพราะทำให้บริษัทต้องใช้เงินทุนสูงเป็นพันล้านดอลลาร์เพื่อจะรักษาแต่ละระบบให้คงอยู่ต่อได้ และอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อประสบการณ์และความปลอดภัยในการใช้งาน
เว็บไซต์ WABetainfo เปิดเผยฟีเจอร์ใหม่จากแอป Whatsapp เวอร์ชั่นในโครงการ Google Play Beta Program พบว่า Whatsapp กำลังทดสอบฟีเจอร์การตั้งค่าให้รูปภาพ GIF หรือวิดีโอ ที่ถูกส่ง ลบตัวเองหายไปได้ ที่เรียกว่า Expiring Media
ฟีเจอร์นี้คล้ายคลึงกับบน Snapchat แต่แตกต่างตรงที่ไม่มีการตั้งเวลาให้ดูได้จำกัด แต่จะลบตัวเองออกไปเหมือนรูปหรือวิดีโอนั้นไม่เคยถูกส่งมาก่อน เมื่อคู่สนทนาออกจากแชท (WABetainfo ไม่ได้ระบุว่าเมื่อผู้รับหรือผู้ส่งออกจากแชท) โดยไม่มีการแจ้งเตือน แต่ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า Whatsapp จะเพิ่มระบบตรวจจับการจับภาพหน้าจอเข้ามาด้วยหรือไม่ หรือฟีเจอร์นี้จะใช้งานได้ในเวอร์ชั่นปกติเมื่อไร
WhatsApp พยายามแก้ปัญหาข่าวปลอมในห้องแชท ด้วยการจำกัดการ forward ข้อความที่ได้รับการส่งต่อเยอะๆ เพื่อสกัดกั้นการระบาดของข่าวปลอม ผลคือสามารถลดจำนวนข่าวปลอมลงได้ถึง 70%
ล่าสุด WhatsApp เพิ่มฟีเจอร์ต่อยอดจากการจำกัดข่าวปลอม โดยจะขึ้นข้อความเตือนผู้ใช้งานว่า ควรตรวจสอบข้อความนี้ผ่าน search engine ก่อน ถ้ากดยืนยัน WhatsApp จะนำข้อความนี้ไปค้นในกูเกิลเพื่อให้ตรวจเช็คได้ง่ายๆ ว่าเป็นข้อมูลจริงหรือปลอม
WhatsApp บอกว่าฟีเจอร์นี้รักษาความเป็นส่วนตัวของข้อความแชท เพราะเป็นการส่งเนื้อหาข้อความไป search ผ่านเบราว์เซอร์ในเครื่องผู้ใช้ โดยที่ WhatsApp ไม่สามารถอ่านข้อความนั้นได้ด้วย
WhatsApp ถือเป็นแอปแชทที่เข้าถึงคนอินเดียมหาศาล มีฐานผู้ใช้งานร่วม 400 ล้านราย ล่าสุดได้จับมือกับธนาคาร ICICI, Kotak Mahindra และ HDFC เพื่อมองหาช่องทางให้คนอินเดียเข้าถึงบริการการเงิน โดยเฉพาะคนชนบท และรายได้น้อย
Abhijit Bose ประธาน WhatsApp ในอินเดียกล่าวในการแถลงออนไลน์ว่าได้ร่วมมือกับธนาคารดังกล่าวตั้งแต่ปีที่แล้ว พบว่าธนาคารสามารถใช้ประโยชน์จาก WhatsApp ในการเข้าถึงประชากรเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้ WhatsApp กำลังร่วมมือกับพันธมิตรรายอื่นเพิ่มเติมเพื่อเตรียมเปิดตัวบริการการเงิน, สินเชื่อให้กับผู้มีรายได้น้อยภายใน 1 ปีครึ่ง
WhatsApp ประกาศ "หยุด" การดำเนินการตามคำขอข้อมูลผู้ใช้จากรัฐบาลฮ่องกง โดยระบุว่าบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบผลกระทบจากกฎหมายความมั่นคงที่รัฐบาลจีนประกาศใช้ โดยจะตรวจสอบตัวกฎหมายเองและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน
กฎหมายความมั่นคงให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างกว้างขวาง ทั้งการตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การสั่งให้ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องเปิดเผยหรือลบข้อมูล
อินเทอร์เน็ตฮ่องกงนั้นต่างจากจีนมาก เพราะการใช้งานบริการในโลกตะวันตกทั้งหมดล้วนใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก, กูเกิล, หรือทวิตเตอร์ ขณะที่ในจีนแผ่นดินใหญ่บล็อคบริการเหล่านี้เกือบทั้งหมด
WhatsApp ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ชุดใหญ่ดังนี้
หลังจากเพิ่งเปิดให้ใช้งานไปเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา ล่าสุด แบงค์ชาติบราซิลสั่งให้ระงับบริการจ่ายเงินของ WhatsApp ไปก่อน โดยให้ Mastercard และ Visa หยุดระบบการจ่ายเงินผ่านแอปในทันที และจะปรับหากไม่ให้ความร่วมมือ
แบงค์ชาติบราซิลต้องการประเมินความเสี่ยงของบริการที่มีต่อระบบการจ่ายเงินของประเทศ และเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมในการแข่งขันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมทั้งตรวจสอบว่าระบบดังกล่าวตรงตามข้อกำหนดหรือไม่ ซึ่งหากปล่อยให้บริการโดยที่หน่วยงานกำกับยังไม่ตรวจสอบและอนุญาต อาจจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าได้
บริการจ่ายเงินผ่าน WhatsApp สามารถใช้งานได้แล้วในบราซิล ผู้ใช้งานสามารถจ่ายเงินและโอนเงินได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าแชท ต่อยอดจากจากระบบแคตตาล๊อกสำหรับร้านค้าที่ปล่อยออกมาก่อนหน้านี้
WhatsApp เผยว่าบริการนี้จะรองรับบัตรเครดิตและเดบิต Visa และ Mastercard จากธนาคาร Banco do Brasil, Nubank และ Sicredi พร้อมทั้งกำลังเจรจากับ Cielo ผู้ให้บริการการชำระเงินชั้นนำของบราซิลอีกด้วย WhatsApp หวังว่าบริการดังกล่าวจะสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน และทำให้ธุรกิจขนาดเล็กเติบโตขึ้น
เว็บไซต์ WABetaInfo รายงานพบว่า WhatsApp กำลังทดสอบฟีเจอร์เพิ่มเพื่อนด้วยการสแกน QR code ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ใช้กันในแอปแชทใหญ่อย่าง WeChat และ LINE ตอนนี้เริ่มเปิดเป็นเวอร์ชั่นเบต้าทั้ง iOS และแอนดรอยด์
JioMart แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเครือ Reliance กลุ่มทุนรายใหญ่ของอินเดีย ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่คือการสั่งซื้อสินค้าผ่าน WhatsApp ซึ่งเป็นโปรแกรมสนทนาที่คนอินเดียนิยมใช้งาน
ฟีเจอร์นี้ออกมา หลังจากที่ Facebook บริษัทแม่ของ WhatsApp ประกาศถือหุ้น 9.99% ใน Jio ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ ซึ่งถือหุ้นใน JioMart นี้ (JioMart เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Jio กับ Reliance Retail)
การทำงานก็น่าสนใจ โดยผู้ใช้ส่งข้อความว่า Hi ไปยังหมายเลขที่กำหนด ระบบจะตอบกลับรายการสินค้าให้เลือกซื้อ เมื่อยืนยันคำสั่งซื้อ ก็จะแจ้งให้ไปรับสินค้าที่ร้านค้าใกล้บ้านในลำดับถัดไป ไม่มีกระบวนการจ่ายเงิน ซึ่ง Facebook กำลังยื่นคำขอดำเนินการอยู่
หลัง WhatsApp ออกมาตรการจำกัดการส่งต่อข้อความที่ถูกส่งต่อกันมาเยอะๆ ให้ส่งต่อได้แค่คนเดียว โดยจะแท็กข้อความถูกที่ส่งต่อกันมาเยอะ ๆ ครั้งละเกิน 5 คนเป็น "highly forwarded" และจะจำกัดการส่งต่อข้อความนั้นเหลือแค่คนเดียว
ล่าสุดผ่านมาราว 3 สัปดาห์ WhatsApp เปิดเผยว่ามาตรการดังกล่าวช่วยลดการส่งต่อข้อความที่ถูกแท็กเป็น highly forwarded ลงได้ถึง 70% ซึ่งน่าจะช่วยลดการส่งต่อข้อมูลผิด ๆ หรือข่าวปลอมเกี่ยวกับ COVID-19 รวมถึงสถานการณ์อื่น ๆ ได้ในอนาคต โดยหนึ่งในเคสหนักที่สุดของการส่งต่อข้อมูลผิด ๆ คือการฆาตกรรมในอินเดีย เพราะผู้คนหลงเชื่อว่าเหยื่อที่ถูกฆาตกรรม เป็นคนลักพาตัวเด็ก
WhatsApp เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ประสบปัญหาเผยแพร่ข้อมูลผิดหรือข่าวปลอม โดยเฉพาะเกี่ยวกับ COVID-19 ในช่วงนี้ ล่าสุด WhatsApp ออกมาตรการใหม่ สำหรับข้อความถูกที่ส่งต่อกันมาเยอะ ๆ ครั้งละเกิน 5 คนระบบจะแท็กข้อความนั้นเป็น "highly forwarded" และจะจำกัดการส่งต่อข้อความนั้นเหลือแค่คนเดียว
ก่อนหน้านี้ปี 2018 WhatsApp เคยจำกัดการส่งต่อข้อความได้คราวละ 20 คน เพื่อลดปัญหาการส่งต่อข่าวปลอมมาแล้ว โดย WhatsApp บอกว่าช่วยลดการส่งต่อข้อความทั่วโลกลงได้ 25%
ที่มา - The Verge
Facebook เผยการใช้งานส่งข้อความในหลายประเทศที่เป็นพื้นที่แพร่ระบาด มีการใช้งานเพิ่มขึ้น 50% ช่วงเดือนที่ผ่านมา และในประเทศอิตาลีที่มีการแพร่ระบาดสูงสุดขณะนี้ก็พบว่าผู้ใช้งาน ใช้เวลาในแอปต่างๆ ของ Facebook มากขึ้น 70% นับตั้งแต่มีวิกฤตโรคระบาดเกิดขึ้น ยอดดูไลฟ์ใน Facebook และ Instagram เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในสัปดาห์เดียว
Facebook บอกเพิ่มเติมว่ายังพบการส่งข้อความเพิ่มขึ้น 50% และเวลาที่ใช้ไปกับการการโทรแบบกลุ่มมากกว่า 3 คนขึ้นไปเพิ่มขึ้น 1,000% ภายใน 1 เดือน