นักวิเคราะห์จาก IDC พยากรณ์ว่าจำนวนโน้ตบุ๊คจะแซงเดสก์ท็อปภายในปี 2011
ปัจจุบันยอดขายคอมพิวเตอร์แบบไม่แบ่งประเภทอยู่ที่ 9.3% ในปี 2006 แต่ถ้าคิดเฉพาะเดสก์ท็อปมียอดเติบโตน้อยกว่าปี 2005 อยู่ 2% ส่วนโน้ตบุ๊คโต 26.3% ปัจจุบันในสหรัฐและยุโรป ยอดขายโน้ตบุ๊คแซงเดสก์ท็อปไปแล้ว ตัวเลขการเติบโตของเดสก์ท็อปกว่าครึ่งมีผลมาจากตลาดในประเทศกำลังพัฒนา เช่น เอเชียหรือละตินอเมริกา
บางบริษัทได้รับผลกระทบจากแนวโน้มนี้อย่างชัดเจน เช่น โน้ตบุ๊คของแอปเปิลเติบโตถึง 65% ในขณะที่เดสก์ท็อปลดลง 4%
ที่มา - Ars Technica
InformationWeek มีสัมภาษณ์ Linus Torvalds เกี่ยวกับ GPLv3 ประเด็นสำคัญที่ Linus ตอบมามีดังนี้
Free Software Foundation ประกาศมาตั้งแต่ปี 2005 ว่าจะออก GPLv3 มาในเร็ววัน ซึ่งวันที่ล่าสุดบอกว่าจะออกมาในช่วง "early 2007" แต่นี่จะพ้นไตรมาสแรกแล้ว ยังไม่เห็นวี่แววของ GPLv3 เสียที
ทาง FSF ได้อธิบายว่าเกิดจากสัญญาความร่วมมือระหว่างโนเวลล์กับไมโครซอฟท์ ซึ่งพลิกแพลงในเรื่องสิทธิบัตรเล็กน้อยและทำให้ GPLv2 ไม่สามารถใช้งานกับกรณีนี้ได้ FSF จึงกลับมาไตร่ตรองกันใหม่ว่า GPLv3 ยังมีรูรั่วสำหรับกรณีพิเศษแบบนี้หรือเปล่า ร่างฉบับใหม่ซึ่งน่าจะเป็นฉบับสุดท้ายก่อนตัวจริงจะออกมาก่อนวันที่ 27 มีนาคม ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่ประจำปีของ FSF
GPLv3 ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มนักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์เท่าไร แต่โครงการอื่นๆ อย่าง Samba, Java และ MySQL ก็มีปฏิกิริยาตอบรับที่ดี
ผมคงเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนเพราะทราบมาว่าคนอ่านของเราจำนวนมากลง Beryl กันอยู่แล้ว แต่เพื่อกระตุ้นให้คนหันมาใช้ลินุกซ์กันเยอะๆ ก็ต้องโฆษณาบ่อยหน่อยแหละ :P
หลังจาก Beryl ออกเวอร์ชันใหญ่ตัวใหม่ 0.2.0 พร้อมฟีเจอร์ใหม่มากมาย เว็บไซต์หลายแห่งพร้อมใจกันเล่นข่าวนี้ ทาง Ars Technica ถึงกับมีสกู๊ปพิเศษว่าด้วย Beryl โดยเฉพาะ สอนตั้งแต่วิธีลงไปจนถึงเอฟเฟคต์เป็นรายตัว ถ้าใครยังไม่เคยลอง นี่ก็อาจจะเป็นโอกาสอันดี (มีปัญหาการใช้งาน มาถามใน forum ของเราได้)
เจอมาจากเว็บคุณ Poakpong คิดว่าแถวนี้มีคนใช้ iPod กันเยอะ น่าจะตรงกลุ่มเป้าหมาย เลยช่วยประชาสัมพันธ์เสียหน่อย
หลังจากที่ทางเราได้่ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ Apple Inc. ทำการอัพเดทระบบการแสดงผลที่รองรับการใช้งานภาษาไทยด้วย ไปเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา (To support Thai language in iPod.) ทางเราได้สังเกตุว่าทาง Apple Inc. ยังนิ่งเฉยไม่มีปฏิกิริยาใดๆ
ถ้าใครดันเส้นเยอะ รู้จักกับแอปเปิลประเทศไทย (หรือแอปเปิลสำนักงานใหญ่) ช่วยส่งต่อก็จะยอดเยี่ยมมาก แต่ถ้าไม่มีเส้นเยอะขนาดนั้น ร่วมลงชื่อกันดีกว่า
Ian Murdock ("ian" ใน "Debian" อีกครึ่งนึงก็ชื่อเมียเค้า) ประกาศในบล็อกตัวเองว่าจะย้ายจาก Linux Foundation ไปรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย operating system platform strategy ซึ่ง Ian ใบ้ว่าจะไปดูการพัฒนาของ Solaris ให้ทัดเทียมกับลินุกซ์ในแง่ usability มากยิ่งขึ้น
เนื่องจากปรับแผนนิดหน่อย เตรียมเน้นเรื่อง Internet Censorship/การบล็อกเว็บ เป็นประเด็นสำคัญ เลยต้องขอเวลาเตรียมตัวกับทาง FACT และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ อีกหน่อย
ขอเลื่อนวันจัดงานเป็นเสาร์ 7 เมษายนแทนครับ จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน อัพเดต: เนื่องจากลืมดูว่าอาทิตย์นั้นมันหยุดยาว ขอเลื่อนออกไปก่อนไม่มีกำหนด (คงจะต้องหลังสงกรานต์)
ไมโครซอฟท์เร่งทำตลาด Windows Live Search หลังจากมีส่วนแบ่งตลาดแค่ 6.76% (เทียบกับกูเกิล 60.9%) โดยจ่ายเงินให้องค์กรที่ใช้ Windows Live Search
กรรมวิธีเริ่มจากติดตั้งปลั๊กอินของ IE7 ชื่อ Browser Helper Object ซึ่งจะส่งสถิติการค้นหากลับไปให้ไมโครซอฟท์ นอกจากนั้นมีการสอนให้พนักงานค้นหาผลลัพธ์ที่ต้องการจาก Windows Live Search อย่างมีประสิทธิภาพ, สอนการเอาทูลบาร์ของเสิร์ชเอนจินรายอื่นออก, สอนการตั้ง Live.com เป็นโฮมเพจ ไปจนถึงสอน CEO ให้อีเมลหาพนักงานเกี่ยวกับการใช้ Windows Live Search
ส่วนเงินที่จะจ่ายนั้นอยู่ที่ 2-10 ดอลลาร์ต่อเครื่องพีซีหนึ่งเครื่องต่อปี และเงินพิเศษอีก 25,000 ดอลลาร์ ไมโครซอฟท์ประมาณให้ว่าบริษัทจะได้เงินระหว่าง 100,000-200,000 ดอลลาร์ต่อปี
ถึงแม้จะมีข่าวลือมานานแต่มันก็ยังเป็นแค่ข่าวลือ พอมาคราวนี้ Google Phone ได้รับการยืนยันจาก Isabel Aguilera ผู้บริหารกูเกิลประจำภูมิภาคสเปนและโปรตุเกสว่า "มีวิศวกรบางส่วนถูกมอบหมายให้ทำโครงการนี้" แล้ว
ข่าวจริงมีแค่นั้นครับ ส่วนข่าวลือเก่าๆ ก็มีตั้งแต่เป็นมือถือจากซัมซุง, เป็นสมาร์ทโฟนแบบเดียวกับ BlackBerry และมี VoIP ในตัว, มีบริการต่างๆ จากกูเกิลมาให้ตั้งแต่แรก ฯลฯ รวมถึงรูปภาพ (แบบลือๆ) ของตัวเครื่องด้วย
โฆษกของกูเกิลให้ความเห็นว่า ตลาดมือถือนั้นเป็นสิ่งที่กูเกิลให้ความสำคัญอย่างมาก แต่ยังไม่มีอะไรต้องประกาศในตอนนี้
ที่มา - Ars Technica
ช่วงนี้ทั้ง Blu-ray และ HD DVD เริ่มบุกยุโรปโดยเริ่มจากงาน CeBIT ที่เยอรมนี ฝั่ง HD DVD ประกาศตัว European HD DVD Promotional Group มีเป้าหมายผลักดัน HD DVD ในยุโรป นาย Ken Graffeo จากยูนิเวอร์แซลให้ความเห็นว่า "HD DVD เป็นแบรนด์ที่คนรู้จักมากที่สุดในโลกของ HD"
ส่วนฝั่ง Blu-ray สนุกกว่านั้นเยอะ เพราะนาย Frank Simonis ประธานกลุ่ม Blu-ray ยุโรปให้สัมภาษณ์แบบมั่นใจว่า Blu-ray ไม่ได้มีเป้าหมายแค่เอาชนะ HD DVD แต่มุ่งไปถึงการเข้ามาแทน DVD ภายในสามปี
ถ้าเอาตัวเลขเดิมมาเทียบ สามปีแรก DVD มีส่วนแบ่งตลาดยังไม่ถึง 15%
ที่มา - Ars Technica
กลุ่ม OpenNET Initiative ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด, ออกซ์ฟอร์ด, แคมบริดจ์ และโตรอนโต ออกมารายงานผลการวิจัยว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตมากขึ้น สาเหตุเพราะว่ามีการเรียนรู้วิธีจากประเทศกลุ่มที่เริ่มอย่างเช่น จีน และตัวเทคโนโลยีที่ใช้เซ็นเซอร์เองก็ก้าวหน้ามากขึ้น
กลุ่มประเทศที่ทำการเซ็นเซอร์หนักๆ ได้แก่ จีน, อิหร่าน, ซาอุดิอาระเบีย, ตูนิเซีย, พม่า และอุซเบกิสถาน ส่วนประเทศไทยไม่อยู่ในกลุ่มนี้ แต่อยู่ในแผนที่ประกอบบทความ ซึ่งเขียนไว้ว่า "Following last year’s military coup some news sites were censored, including the BBC and CNN."
Red Hat Enterprise Linux 5 ออกมาตามกำหนด เรื่องว่าตัว RHEL มีอะไรใหม่ลองอ่านดูในข่าวเก่าๆ ใต้แท็ก Red Hat หรือไม่ก็ดูจากเว็บของ RHEL โดยตรง
ที่น่าสนใจกว่าตัว RHEL คือกลยุทธ์ของ Red Hat ซึ่งช่วงหลังถูกตีกระหนาบโดย Novell+Microsoft และ Oracle ดังนั้น Red Hat จึงต้องมีอะไรที่เข้มแข็งกว่านั้นมาสู้ บริษัทจึงเน้นไปทางแอพพลิเคชันมากขึ้น จะเห็นได้จากการเข้าซื้อ JBoss ส่วนกลยุทธ์ใหม่ที่มากับ RHEL5 คือ RHX (Red Hat Exchange) ซึ่งเป็นตัวกลางในการซื้อซัพพอร์ตจากแอพพลิเคชันจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ตัวอย่างเช่น MySQL หรือ SugarCRM
RHX จึงเป็นจิ๊กซอตัวใหม่ที่จะช่วยให้ Red Hat ชิงตลาด Enterprise ได้อย่างเบ็ดเสร็จมากขึ้น จับตาดูกลยุทธ์นี้ดีๆ
GNOME 2.18 ออกแล้ว เวอร์ชันนี้เน้นหน้าตาให้ดูสมบูรณ์มากขึ้น เพิ่มโปรแกรมอำนวยความสะดวก เช่น Seahorse สำหรับจัดการ PGP หรือโปรแกรมวิเคราะห์การใช้งานดิสก์ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือการเพิ่มพจนานุกรมภาษาไทยเข้าไปในตัว GNOME เลย
รายละเอียดสามารถอ่านได้จาก Release Notes เวอร์ชันภาษาไทยที่แปลโดยคุณเทพพิทักษ์ ถ้าใครร้อนใจอยากรีบลอง เดี๋ยวนี้เค้ามีเวอร์ชัน LiveCD ให้พร้อม แต่ถ้าเป็นคนปกติทั่วไป รออีกซักนิดเดี๋ยวได้ใช้กันทั้งใน Ubuntu 7.04 Feisty Fawn และ Fedora 7 ที่จะออกช่วงปลายเดือนเมษายน
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ กลุ่ม FACT - Freedom Against Censorship Thailand ได้ส่งคำถาม 20 ข้อเกี่ยวกับการบล็อคเว็บไซต์ในประเทศไทย (ข่าวเก่า) ตอนนี้ทางกระทรวงตอบมาแล้วครับ
กระทรวงตอบมาเป็นหนังสือราชการลงวันที่ 8 มีนาคม 2550 โดยมีนายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นผู้ลงนาม ใจความสำคัญในหนังสือนำมีดังนี้
จริงๆ แล้วคงเรียกว่า YouFest เป็นงานของ Blognone ไม่ได้ (พูดแบบหล่อๆ ก็เพราะมันเป็นงานของ "คุณ" ทุกคน) แต่ในฐานะที่ Blognone ไปเป็นหนึ่งในภาคีร่วมจัดงานกับเค้าด้วย ก็ขอใช้พื้นที่ตรงนี้โฆษณางาน YouFest ครั้งหน้า ซึ่งมีชื่องานว่า YouMove เน้นการเคลื่อนไหวภาคสังคม โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ
รายละเอียดทั้งหมดอยู่ในเว็บไซต์ YouFest อยู่แล้ว คงไม่ขอเขียนซ้ำ
ถึงแม้ว่าจะขายดีจนของไม่พอในสหรัฐและญี่ปุ่น แต่พอเวลาผ่านไปกระแสเริ่มจาง PS3 ที่เตรียมวางขายในสหราชอาณาจักรวันที่ 23 มีนาคมนี้กลับไม่ถูกพูดถึงเลย
CNET ฟันธงว่าจะไม่มีผู้คนมากมายไปต่อคิวรอซื้อตั้งแต่กลางคืน แถมช่วงนี้โซนี่แก้ปัญหาในการผลิตได้ ดังนั้น PS3 จะมีเหลือเฟือมากกว่าความต้องการซื้อ (เค้าใช้คำว่า "the most unwanted console in recent memory") เหตุผลที่ CNET วิเคราะห์คือขาดเกมที่น่าสนใจ และราคาที่สูงกว่าคู่แข่งมาก
ที่มา - Crave CNET
เพิ่มเติม: GameSpot ได้เชิญบรรณาธิการเกม 10 คนมาเสนอวิธีช่วยให้ PS3 กลับมาน่าสนใจ ซึ่งมีตั้งแต่ลดราคาไปจนถึงการพัฒนาระบบออนไลน์
ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของสหรัฐ ร่วมกับนักพัฒนาเกมและเว็บไซต์เกมอย่าง JoyStiq เสนอชื่อ 10 เกมที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์วงการเกม โดยเสนอให้กับหอสมุดของสภาคองเกรส ซึ่งทำหน้าที่เก็บภาพยนตร์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อยู่แล้ว
รายชื่อ
หลังจากเดลล์เปิดเว็บไซต์ IdeaStorm เพื่อรับฟังความเห็นจากลูกค้า (ข่าวเก่า) สิ่งที่ลูกค้าเรียกร้องเป็นอันดับ 1 คือขอให้ลงลินุกซ์ (ตอนที่ผมเขียนนี่เกินแสนโหวตแล้ว) ส่วนอันดับ 2 คือลง OpenOffice.org
โครงการ OpenOffice.org จึงฉวยโอกาสนี้ส่งจดหมายเปิดผนึกกดดันเดลล์ โดยส่งถึงไมเคิล เดลล์โดยตรง มีเนื้อความสั้นๆ ว่าทางโครงการดีใจที่เห็น OpenOffice.org ถูกโหวตเป็นอันดับสอง และคิดว่าตัวโปรแกรมมีคุณภาพเหมาะแก่ลูกค้าของเดลล์ โครงการยินดีจะพัฒนา “OpenOffice.org supplied by Dell” ให้เป็นพิเศษ และเรียกร้องเดลล์หันมาสนับสนุนทางการเงินให้กับโครงการด้วย
Daniel Robbins ผู้ก่อตั้งโครงการ Gentoo ในปี 2000 และออกไปในปี 2004 ได้กลับมาเข้าร่วมโครงการ Gentoo อีกครั้ง แต่ครั้งนี้อยู่ได้เพียงไม่กี่วันก็ออกจากโครงการไปอีกรอบ
DistroWatch ได้ติดตามประเด็นนี้ และมองว่าเป็นเพราะความขัดแย้งระหว่าง Robbins กับสมาชิกบางส่วนของ Gentoo ที่มีมาตั้งแต่เดิม แหล่งข่าวต้นฉบับได้ยกอีเมลจากเมลลิ่งลิสต์ของ Gentoo ที่วิพากษ์วิจารณ์ Robbins ว่าใช้ชื่อเสียงเก่าก่อนเข้ามามีอิทธิพลเหนือทีมงานเดิม
สงสัยคนอื่นเค้าจะคิดว่าคนอ่าน Blognone เป็นแรงงานมีฝีมือเชื่อถือได้ เลยมีคนติดต่อมาให้ผมหาคนให้อยู่เสมอๆ ซึ่งเอาจริงแล้วผมก็ไม่ค่อยรู้จักคนอ่านซักเท่าไร กระนั้นเลยอย่าให้เสียโอกาส เรามาเปิดตลาดนัดแรงงาน กันดีกว่า
Blognone Jobs ไม่มีอะไรมาก เป็น forum ธรรมดา สมาชิกทุกคนสามารถโพสต์ได้ทันที ซึ่งก็เปิดรับทั้งหมดไม่ว่าจะหานายจ้าง หาลูกจ้าง หางานพารท์ไทม์ หรือแม้กระทั่งหาที่ฝึกงาน ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยได้เลยครับ
หมายเหตุ: เรียกย่อๆ ได้ว่า BJ (อันนี้จงใจ) หมายเหตุ 2: ประกาศรับสมัครงานกับ Blognone Jobs จะผ่านสายตาคนอ่านมากกว่า... คนต่อวัน (ดูสถิติ) แถมตรงกลุ่มเป้าหมาย โฆษณาสุดๆ :P
Ars Technica มีบทความแนะนำเทคโนโลยีต่างๆ ของ IPv6 แนะนำให้อ่านถ้าคุณเคยเห็นชื่อ IPv6 ผ่านๆ แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร
หัวข้อ
ข้อมูลทั้งหมดเคยลงในบทความอื่นๆ มาเยอะแล้ว เพียงแต่อันนี้ไม่ยาวมาก แถมอ่านง่าย มีภาพประกอบชัดเจน
ที่มา - Ars Technica
บริษัท Wikia ของ Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia (Wikia ให้บริการโฮสต์ Wiki แบบกลุ่ม อย่างงาน YouFest ก็ใช้ Wikia) ได้เผยแผนการพัฒนาเสิร์ชเอนจินที่อนุญาตให้ผู้ใช้แก้ไขผลการค้นหาได้ถ้าไม่ถูกใจ
Gil Penchina ซีอีโอของ Wikia บอกว่าเสิร์ชเอนจินตัวนี้ยังไม่มีกำหนดทำตลาด แต่มีเป้าหมายจะชิงส่วนแบ่ง 5% ของตลาดเสิร์ชมูลค่า 7 พันล้านเหรียญ โดยหารายได้จากโฆษณาเช่นเดียวกับรายอื่น
ผมคิดว่ารูปแบบคงออกมาคล้ายๆ Open Directory Project ผสมกับลิงก์ภายนอกที่อยู่ในด้านล่างสุดของ Wikipedia แต่ละหน้า
ที่มา - Inside Bay Area
สำหรับคนที่ลองเล่น Ubuntu แล้วพบว่าปัญหาพวกการติดตั้ง codec หรือไดรเวอร์ต่างๆ ที่ต้องทำด้วยตัวเองเป็นเรื่องกวนใจ บ่นไปก็คงไม่มีประโยชน์เพราะพวกนี้เป็นปัญหาทางกฎหมาย ทางออกที่ง่ายกว่าคือใช้ LinuxMint
ในขณะที่ Ubuntu ออกทุกหกเดือน LinuxMint ออกเร็วกว่านั้นมาก ทุก 1-2 เดือน ในเวอร์ชันล่าสุด 2.2 ก็มีของหลายอย่างที่ไม่มีใน Ubuntu เช่น ธีม (สำหรับคนที่ไม่ชอบสีน้ำตาลคงจะดีใจ), เมนูและ control panel ใหม่ของ GNOME (แบบเดียวกับของ SUSE), ไดรเวอร์ WiFi, Codec ต่างๆ, โปรแกรมเสริมที่ไม่ใช่โอเพนซอร์สอย่าง Flash 9 หรือจาวา เป็นต้น รายละเอียดลองอ่านได้จาก Release Notes
เราดู keynote ของสตีฟ จ็อบส์กันมาเยอะแล้ว มาดู keynote ของไอดอลแห่งวงการเกมอย่างชิเงรุ มิยาโมโต้กันบ้างดีกว่า สำหรับคนที่ไม่รู้จัก มิยาโมโต้เป็นพ่อของมาริโอ้, ดองกี้คอง และเซลด้าครับ keynote อันนี้มิยาโมโต้มาพูดในงาน Game Developers Conference 2007 ซึ่งดูชื่อก็จะเห็นได้ว่าจับตลาดนักพัฒนาเกมโดยเฉพาะ
หลังจากเปิดตัวแบบสุดเท่ด้วยการปล่อยให้ Mii ของตัวเองออกมาบนจอก่อน มิยาโมโต้ได้พูดถึงแนวคิดในการพัฒนาเกม 3 ประเด็นใหญ่ๆ