เป็นอีกหนึ่งโครงการลูกของ Ubuntu นอกเหนือไปจาก Kubuntu (KDE) และ Xubuntu (XFCE) จุดประสงค์ก็ตามชื่อเลยครับ Edubuntu ลินุกซ์สำหรับเด็กๆ
Edubuntu ใช้ Breezy Badger เป็นฐานในการพัฒนา ตัวเดสก์ท็อปยังใช้ GNOME แต่รวมแพกเกจด้าน edutainment ของ KDE มาด้วย นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมอื่นๆ เช่น GCompris, TuxPaint, TuxTyping, TuxMath ที่สำคัญที่สุด ลองกดเข้าไปดู screenshot ตามลิงก์จะเห็นว่าใช้ไอคอนแบบการ์ตูนทั้งหมด และวอลล์เปเปอร์น่ารักได้ใจมาก (สังเกตดีๆ จะเห็นหัวหมา Firefox แบบการ์ตูนด้วย)
eBay ทำให้การค้าปลีกออนไลน์ทำได้สะดวกมากมาย และจากการที่ XBox 360 ฮิตระเบิดในอเมริกา ทำให้คนจำนวนมากเข้าคิวซื้อเครื่องเพื่อเอามาขายต่อฟันกำไรบน eBay ราคาของ XBox อยู่ที่ $399-$499 ขึ้นอยู่กับชุด แต่พอมันไปอยู่บน eBay อาจจะพุ่งไปถึง $999 เลยทีเดียว
ตัวเลขประมาณการของจำนวน XBox 360 ที่ประกาศขายบน eBay คือ 40,000 เครื่อง ซึ่งคิดเป็น 10% ของ XBox ทั้งหมดที่ถูกขายไปในอเมริกา (ตอนนี้ถ้าอยากซื้อปลีก ไม่มีของมาเป็นสัปดาห์แล้วครับ)สถานการณ์นี้น่าจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเมื่อ PS3 วางขายในปีหน้า
Facebook เว็บไซต์สร้างเครือข่ายทางสังคม (Social Networking) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มนักศึกษาในอเมริกาอยู่ในขณะนี้ (85%-90% ของนักศึกษาทั่วสหรัฐฯ จากกว่า 900 สถาบัน ใช้บริการนี้ ซึ่งถือว่าสูงมาก ๆ) กำลังตกอยู่ในความสนใจจากหลาย ๆ กลุ่มอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อมูลและสิทธิส่วนบุคคล ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษาได้ รูปแบบกิจกรรมทางสังคมในมหาลัยก็มีวิธีการที่เปลี่ยนไป (อ่านเพิ่มเติม CNET) เป็นต้น
หลายคนอาจสงสัย Google ได้รายได้มาจากไหน วันนี้บังเอิญไปเจอข่าวนี้ก็เลยเอามาให้อ่านกันเล่น ๆ อาจไม่ได้ตอบคำถามเสียทีเดียว แต่ก็พอให้รู้ว่าเงินทองมันไหลไปยังไงกัน
หุ้นของ Google แตะที่ $430 ไปเมื่อไม่กี่อาทิตย์ก่อน ซึ่งถึือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทีเดียว โดยผู้บริหารทั้งหมดปล่อยขายหุ้นออกไปอีก 18.6 ล้านหุ้น ซึ่งทำให้มีเงินเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้น รวมแล้วก็ไม่เท่าไหร่ ประมาณ 4.3 พันล้านเหรียญ โดย Page กับ Brin ก็ได้ไปคนละ 1.3 พันล้านเหรียญ ด้วยจำนวนหุ้น 5.3 ล้านหุ้น อย่างไรก็ตามเค้าสองคนยังมีหุ้นเหลือกอีก 33 ล้านหุ้น ถือเป็นเงินประมาณ 1 หมื่น 3 พันล้านเหรียญเลยทีเดียว
หลังจาก Windows Live เปิดตัวมาระยะหนึ่งพร้อมกับการประกาศตัว Windows OneCare ตอนนี้ ไมโครซอฟท์ก็เปิดบริการนี้ให้คนทั่วไปใช้แล้ว โดยไมโครซอฟท์ระบุว่าผู้ใช้ที่ลงทะเบียนขอใช้งานอาจถูกนำรายชื่อไปไว้ในรายการรอใช้งาน หากมีผู้ลงทะเบียนมากเกินไป
ไว้จะมารีวิวแล้วกัน...
ที่มา - The Register
หลังจากขาดความสามารถส่วนนี้อยู่นาน กูเกิลก็เพิ่มความสามารถในการตรวจสอบไว้รัสเข้าไปในบริการอีเมลของตนแล้ว โดยหากตรวจพบไวรัสในเมลขาเข้า ระบบจะพยายามทำลายไวรัสนั้นโดยอัตโนมัติ แต่หากทำลายไม่ได้มันจะไม่ยอมให้ดาวน์โหลดไฟล์นั้น ส่วนไฟล์ขาออกนั้นหากมีไวรัส มันก็จะไม่ยอมส่งจนกว่าจะแก้ไขเหมือนกัน
ที่มา - Gmail
Skype โปรแกรมที่ใช้สำหรับคุยกันผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ Voice over IP (VoIP) ออกเวอร์ชั่น 2.0 (Beta) ซึ่งเพิ่มส่วนของ Video เข้าไป ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นหน้าซึ่งกันและกันได้
Java Sandbox นั่นพูดสั้นๆ ง่ายๆ เหมือนเป็นสนามเด็กเล่นที่ให้ Applet เข้าไปวิ่งเล่นในเครื่องลูกข่าย (client) โดยกันไม่ให้ Applet นั้นเข้าถึงไฟล์ local system ก่อนจะได้รับอนุญาตจากผู้ใช้
Sacunia รายงานว่า พบรูรั่วหลายจุดที่ยอมให้ Applet ที่ไม่น่าเชื่อถือ สามารถหลบหลีกขั้นตอนการขออนุญาต เพื่อไป อ่าน/เขียน ข้อมูลในเครื่องลูกข่ายได้
โดย JDK/JRE รุ่นที่ตกอยู่ในอันตราย มีดังนี้
ไม่รู้จะนับเวอร์ชัน Blognone แบบไหนดี เอาเป็นว่า Blognone 1.0 คือรุ่นที่เปิดตัวรอบแรกสุด ใช้ Wordpress เป็น engine ส่วน Blognone 2.0 คือตอนย้ายจาก Wordpress มาเป็น Drupal (ตอนนั้นย้ายโฮสต์ด้วย) นับยังงี้ละกัน ตอนนี้ใช้ Drupal 4.6.3 ตัวล่าสุดของสาย 4.6
กำลังรอ Drupal 4.7 อยู่ จะได้อัพเป็น Blognone 3.0 ครั้งเดียวเลย มีอะไรอยากทำหลายอย่าง
Engine
เรื่องนี้ยังยืดเยื้อไม่จบเมื่อทางรัฐแมสซาชูเซ็ตส์ออกมาให้สัมภาษย์ว่า การที่ไมโครซอฟท์ฺยอมเปิดไฟล์ฟอร์แมตของตนให้กับ ECMA นั้นจะทำใ้ห้ฟอร์แมตของไมโครซอฟท์เข้าข่ายมาตรฐานเปิดที่ยอมรับได้กับทางรัฐ และอาจจะพิจารณาใช้ไมโครซอฟท์ต่อไป
เรื่องนี้เดือดร้อนถึงทางซันที่วิ่งโร่ส่งจดหมายถึงรัฐเป็นการใหญ่ว่าไฟล์ของไมโครซอฟท์นั้น เพียงกำลังจะเปิดเท่านั้น และทางรัฐไม่ควรไปยอมรับกับของที่ยังไม่ออกมา ซึ่งต่างจาก OpenDocument ที่มีหลายเจ้าเริ่มผลิตซอฟท์แวร์ออกมารองรับกันแล้ว
มันยังไม่จบ....
เป็นรุ่นสุดท้ายในตระกูล 3.x ก่อนจะเจอกับการเปลี่ยนแปลง "ครั้งยิ่งใหญ่" ใน KDE 4.0
สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือ Kicker (เทียบได้กับ Taskbar หรือ Panel) ได้รับการปรับปรุงเพิ่มขึ้น Konqueror เพิ่มการป้องกัน popup, เพิ่ม search bar และเรนเดอร์ Acid2 ผ่านแล้ว (Firefox ยังไม่ผ่านนะครับ) อีกอย่างที่สำคัญคือ KDE 3.5 ได้รวม SuperKaramba เข้ามาในชุดแล้วด้วย ที่เหลืออ่านใน Visual Guide
หลังจากที่ออกตัว RC3 มาประมาณ 10 วัน คราวนี้ก็ออกตัวจริงซะที โดย Firefox 1.5 นั้นมีคุณสมบัติเด่นๆ ที่ำพอจะเห็นได้ดังนี้ครับ
- Automatic update <ไม่ต้อง download กันใหม่หมด เวลาออก security updates>
- Tab reordering < ลาก tab ไปวางเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งได้ >
- New support for web standards < เช่น SVG, CSS 2-3, Javascript 1.6>
และอื่นๆอีกมากมาย ครับ
หลังจากครองตลาดเพลงดิจิทัลด้วย iPod ไปแล้ว Apple กำลังจะบุกห้องนั่งเล่น ซึ่งการรุกครั้งนี้ได้เริ่มจาก iMac G5 ตัวใหม่ที่ออกมาพร้อมกับ Front Row + รีโมตคอนโทรล ซึ่งเมื่อมองจากการทำตลาดและผลิตภัณฑ์ที่ Apple มีอยู่ในมือแล้ว ใครๆ ก็ต้องบอกว่า Mac mini จะนำทัพหลวงบุกเข้าห้องนั่งเล่น (ห้องนั่งเล่นฝรั่ง?)
หลังจากที่ได้ใส่เว็บเบราเซอร์เข้ามาในเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่น 2.0 แล้วทางโซนี่ก็ได้เพิ่มความสามารถของ PSP เข้าไปอีกด้วยเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่น 2.60
ในเวอร์ชั่น 2.60 นี้มีความสามารถเด่นๆ ที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ
- RSS Feed (เว็บเบราเซอร์ก็มีแล้ว ก็ต้องใส่ RSS Feed เข้าไปด้วยสิ) - เล่นวิดีโอที่มี Copyright Protection ได้แล้ว - เล่นเพลงรูปแบบ WMA ได้แล้ว (แล้ว AAC ล่ะ?) - และอีกมากมาย...
หากใครตามข่าวคราวอยู่บ้าง คงจำได้ลางๆ ว่าไมโครซอฟท์เคยประกาศไว้ว่าจะกระโดดเข้าสู่งานประมวลผลขั้นสูงอย่างเต็มตัว ซึ่งแต่เดิมถูกครอบครองโดยระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ และตอนนี้ก็ได้ย้ายกลายมาเป็น Linux แทน ตอนแรกไมโครซอฟท์ตั้งเป้าว่าจะต้องเสร็จภายในปีนี้ แต่จนแล้วจนรอดก็เป็นโรคเลื่อนเหมือนเช่นเคย ตอนนี้จึงเพิ่งจะคลอดเบต้า 2 ออกมา โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Windows Compute Cluster Server 2003 ล่าสุดอีกความพยายามหนึ่งของไมโครซอฟท์ก็คือ การดึงมือหนึ่งทางด้านการออกแบบซุปเปอร์คอมพ์ Bruton Smith มาร่วมทีม
หลังจากเราดูรูปเครื่องเขียวเหลืองมีมือจับหมุน ตอนนี้มีความคืบหน้าของโครงการแล็ปท็อปร้อยเหรียญ (หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า One Laptop Per Child - OLPC) มาอีกแล้วครับ
ช่วงแรก MIT เผยสเปกของฮาร์ดแวร์เพียงอย่างเดียว โดยไม่ระบุถึงซอฟต์แวร์แม้แต่น้อย สื่อต่างๆ ก็คาดการณ์กันว่าน่าจะเป็นลินุกซ์ซักยี่ห้อเพื่อตัดค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ออกไป หลังจากนั้นก็มีข่าวว่าแอปเปิลยินดียก OSX ให้ฟรีๆ แต่ทาง MIT ก็ปฏิเสธ เหตุผลไม่ใช่ด้านราคาแต่ MIT ต้องการระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สมากกว่า
CNET เปรียบเทียบซีพียูจากสองค่ายคู่กัดตลอดกาลในยุคดูอัลคอร์ ว่าสถานการณ์ตอนนี้ใครได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร
การทดสอบครอบคลุม Athlon 64 X2 5 รุ่น ตั้งแต่ตัวท็อป 4800+ ถึงตัวต่ำสุด 3800+ ฝั่งอินเทลเป็น Pentium D ไล่ขึ้นมาจาก 820-840 และปิดท้ายด้วยตัวท็อป 840 Extreme Edition
ผลปรากฎว่า AMD ชนะขาดทุกยกครับ!
ข่าวนี้ไม่ค่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยีโดยตรงเท่าไหร่แต่ก็ขอซะหน่อย : )
ใครที่ติดตามทีมปีศาจแดงแมนยู หรือบอลอังกฤษคงจะทราบดีว่า แมนยูกำลังหาสปอนเซอร์บนเสื้อรายใหม่ เพื่อแทนที่สปอนเซอร์รายเดิมอย่าง Vodafone ที่ประกาศยกเลิกสัญญา หลังจบฤดูกาลนี้
มัลค่อม กเลเซอร์ เจ้าของชาวอเมริกันที่เพิ่งจะซื้อสโมสรแมนยูไปเมื่อต้นฤดูกาล เตรียมเจรจาหาสปอนเซอร์รายใหม่มาแปะบนเสื้อทีม ซึ่งบริษัทที่มีชื่อพัวพันได้แก่ Google, IBM, Yahoo, Coca-Cola และ Levi
กลายเป็นเรื่องใหญ่เมื่อนักฟิสิกส์ชื่อนาย Richard Carrigan ออกมาให้ข่าวว่าโครงการ SETI@Home นั้นอาจจะทำให้โลกอยู่ในอันตราย ด้วยการเปิดให้ข้อมูลจากต่างดาวไหลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก
เรื่องนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าควรที่ SETI จะตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้นว่าไม่เป็นอันตรายจึงค่อยส่งออกไปตามบ้านหรือไม่ ด้านทาง SETI ออกมากล่าวว่ามนุษย์ต่างดาวที่เป็นตัวร้ายพยายามทำลายโลกนั้นมีแต่ในหนังเท่านั้น
กลุ่มนักคอมพิวเตอร์ทั้งหลายคงรู้ว่าไวรัสนั้นไม่ได้สร้างง่ายๆ โดยผู้สร้างต้องมีความเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์ที่จะเจาะเป็นอย่างดี แต่นาย Carrigan ก็ระบุว่าเรื่องนี้ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี
เมื่อวานเขียนไว้ในบล็อกส่วนตัว แล้ว mk บอกว่าเอามาวางไว้ตรงนี้จะมีประโยชน์กว่า
เรื่องหนึ่งในเมืองไทยที่ขัดใจผมตลอดมาคือเรื่องการให้เครดิต
ไม่ใช่เครดิตของบัตรเครดิตนะ แต่เป็นเครดิตที่หมายถึงการให้เกียรติเจ้าของผลงาน
ผมจำได้ว่าเปิด Blognone ขึ้นมาด้วยความขัดใจที่ว่าหลายๆ ที่ไปเอาข่าวของเจ้าอื่นๆ มาแปลกันเฉยๆ โดยที่หัวเรื่องน่ะบอกว่าเป็นการอ้างแหล่งข่าว พออ่านแล้วนี่มันแปลมาทั้งดุ้นเลยนี่หว่า เพราะฉะนั้นนโยบายของ Blognone ในตอนนี้คือทุกข่าวต้องมีที่มา
Maxell ประกาศว่าจะออกผลิตภัณฑ์สื่อบันทึกข้อมูลแบบใหม่ในช่วงปลายปี 2006 ซึ่งใช้เทคโนโลยี Holographic (เปรียบเทียบหลักการบันทึกข้อมูลแบบต่าง ๆ) ด้วยความจุ 300 GB และ Transfer Rate 20 MBps เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเพิ่มความจุขึ้นไปถึง 1.6 TB และ Transfer Rate 120 MBps
ไม่รู้ว่าจะมีผลกระทบอะไรกับ Blu-Ray และ HD-DVD ที่ยังไม่มีใครยอมใครหรือเปล่า
ที่มา PhysOrg
เพิ่มเติม:
ความเดิม: รัฐแมสซาชูเซ็ตส์ประกาศใช้ OpenDocument เป็นมาตรฐานไฟล์เอกสาร ไมโครซอฟท์เสนอ Open XML ของ Office 12 แต่ถูกปฏิเสธ หลังจากนั้นมันกลายเป็นเรื่องการเมือง เมื่อนักการเมืองของแมสซาชูเซ็ตส์บางส่วนออกมาต่อต้าน OpenDocument ด้วยเหตุผลอย่างเรื่องค่าใช้จ่าย และตัวฟอร์แมตไม่สนับสนุนการใช้คอมพิวเตอร์ของคนพิการ เป็นต้น การถกเถียงนี้มีมาได้ซักระยะแล้ว แต่ผมไม่ค่อยได้อ่าน/เขียนข่าวเท่าไร (เพราะข่าวการเมืองศัพท์มันยาก)
ตอนนี้มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจบางประการครับ
กำหนดการเดิมของ Vista ที่บอกกว้างๆ แค่ว่าครึ่งหลังของปี 2006 เริ่มจะชัดขึ้นแล้ว เมื่อ BusinessWeek ดันไปได้บล็อกภายในของ Chris Jones รองประธานฝ่ายวินโดวส์ของไมโครซอฟท์ ที่ระบุว่า Vista จะแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2006
ข่าวนี้ถูกลบออกไปจาก BusinessWeek แล้ว คาดว่าไมโครซอฟท์ขอร้องให้เอาออก แต่ยังสามารถอ่านได้จาก Ars Technica (ใจความหลักก็มีแค่วันที่ล่ะครับ)
ความสามารถใหม่ของ Firefox 1.5, Safari และ Opera9 ที่ำกำลังจะออกกันมานั้น นอกจากเรื่องของความสามารถในเรื่องใหญ่ๆ เช่น SVG แล้ว ยังมีเรื่องของ Canvas Tag ที่ยังไม่เป็นมาตรฐานเต็มตัวอีกด้วย ความสามารถของเจ้าแท็กนี้ก็จะทำให้ HTML ของเราๆ มีภาพเคลื่อนไหวกันได้แบบเต็มเหนี่ยว
แม้จะเป็นฟีเจอร์แบบปิดเงียบ แต่ตอนนี้ก็มีคนลองใช้แล้วครับ โดยนาย Benjamin Joffe ได้เขียนเกม FPS ขึ้นมาโดยใช้ความสามารถนี้ ทำให้เราเล่นเกมผ่านทาง HTML ได้เลย
รองรับบนบราวเซอร์รุ่นต่อไปแทบทุกยี่ห้อ ยกเว้นอยู่ยี่ห้อนึงมั๊ง........