หากใครตามข่าวคราวอยู่บ้าง คงจำได้ลางๆ ว่าไมโครซอฟท์เคยประกาศไว้ว่าจะกระโดดเข้าสู่งานประมวลผลขั้นสูงอย่างเต็มตัว ซึ่งแต่เดิมถูกครอบครองโดยระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ และตอนนี้ก็ได้ย้ายกลายมาเป็น Linux แทน ตอนแรกไมโครซอฟท์ตั้งเป้าว่าจะต้องเสร็จภายในปีนี้ แต่จนแล้วจนรอดก็เป็นโรคเลื่อนเหมือนเช่นเคย ตอนนี้จึงเพิ่งจะคลอดเบต้า 2 ออกมา โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Windows Compute Cluster Server 2003 ล่าสุดอีกความพยายามหนึ่งของไมโครซอฟท์ก็คือ การดึงมือหนึ่งทางด้านการออกแบบซุปเปอร์คอมพ์ Bruton Smith มาร่วมทีม
หลังจากเราดูรูปเครื่องเขียวเหลืองมีมือจับหมุน ตอนนี้มีความคืบหน้าของโครงการแล็ปท็อปร้อยเหรียญ (หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า One Laptop Per Child - OLPC) มาอีกแล้วครับ
ช่วงแรก MIT เผยสเปกของฮาร์ดแวร์เพียงอย่างเดียว โดยไม่ระบุถึงซอฟต์แวร์แม้แต่น้อย สื่อต่างๆ ก็คาดการณ์กันว่าน่าจะเป็นลินุกซ์ซักยี่ห้อเพื่อตัดค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ออกไป หลังจากนั้นก็มีข่าวว่าแอปเปิลยินดียก OSX ให้ฟรีๆ แต่ทาง MIT ก็ปฏิเสธ เหตุผลไม่ใช่ด้านราคาแต่ MIT ต้องการระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สมากกว่า
CNET เปรียบเทียบซีพียูจากสองค่ายคู่กัดตลอดกาลในยุคดูอัลคอร์ ว่าสถานการณ์ตอนนี้ใครได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร
การทดสอบครอบคลุม Athlon 64 X2 5 รุ่น ตั้งแต่ตัวท็อป 4800+ ถึงตัวต่ำสุด 3800+ ฝั่งอินเทลเป็น Pentium D ไล่ขึ้นมาจาก 820-840 และปิดท้ายด้วยตัวท็อป 840 Extreme Edition
ผลปรากฎว่า AMD ชนะขาดทุกยกครับ!
ข่าวนี้ไม่ค่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยีโดยตรงเท่าไหร่แต่ก็ขอซะหน่อย : )
ใครที่ติดตามทีมปีศาจแดงแมนยู หรือบอลอังกฤษคงจะทราบดีว่า แมนยูกำลังหาสปอนเซอร์บนเสื้อรายใหม่ เพื่อแทนที่สปอนเซอร์รายเดิมอย่าง Vodafone ที่ประกาศยกเลิกสัญญา หลังจบฤดูกาลนี้
มัลค่อม กเลเซอร์ เจ้าของชาวอเมริกันที่เพิ่งจะซื้อสโมสรแมนยูไปเมื่อต้นฤดูกาล เตรียมเจรจาหาสปอนเซอร์รายใหม่มาแปะบนเสื้อทีม ซึ่งบริษัทที่มีชื่อพัวพันได้แก่ Google, IBM, Yahoo, Coca-Cola และ Levi
กลายเป็นเรื่องใหญ่เมื่อนักฟิสิกส์ชื่อนาย Richard Carrigan ออกมาให้ข่าวว่าโครงการ SETI@Home นั้นอาจจะทำให้โลกอยู่ในอันตราย ด้วยการเปิดให้ข้อมูลจากต่างดาวไหลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก
เรื่องนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าควรที่ SETI จะตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้นว่าไม่เป็นอันตรายจึงค่อยส่งออกไปตามบ้านหรือไม่ ด้านทาง SETI ออกมากล่าวว่ามนุษย์ต่างดาวที่เป็นตัวร้ายพยายามทำลายโลกนั้นมีแต่ในหนังเท่านั้น
กลุ่มนักคอมพิวเตอร์ทั้งหลายคงรู้ว่าไวรัสนั้นไม่ได้สร้างง่ายๆ โดยผู้สร้างต้องมีความเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์ที่จะเจาะเป็นอย่างดี แต่นาย Carrigan ก็ระบุว่าเรื่องนี้ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี
เมื่อวานเขียนไว้ในบล็อกส่วนตัว แล้ว mk บอกว่าเอามาวางไว้ตรงนี้จะมีประโยชน์กว่า
เรื่องหนึ่งในเมืองไทยที่ขัดใจผมตลอดมาคือเรื่องการให้เครดิต
ไม่ใช่เครดิตของบัตรเครดิตนะ แต่เป็นเครดิตที่หมายถึงการให้เกียรติเจ้าของผลงาน
ผมจำได้ว่าเปิด Blognone ขึ้นมาด้วยความขัดใจที่ว่าหลายๆ ที่ไปเอาข่าวของเจ้าอื่นๆ มาแปลกันเฉยๆ โดยที่หัวเรื่องน่ะบอกว่าเป็นการอ้างแหล่งข่าว พออ่านแล้วนี่มันแปลมาทั้งดุ้นเลยนี่หว่า เพราะฉะนั้นนโยบายของ Blognone ในตอนนี้คือทุกข่าวต้องมีที่มา
Maxell ประกาศว่าจะออกผลิตภัณฑ์สื่อบันทึกข้อมูลแบบใหม่ในช่วงปลายปี 2006 ซึ่งใช้เทคโนโลยี Holographic (เปรียบเทียบหลักการบันทึกข้อมูลแบบต่าง ๆ) ด้วยความจุ 300 GB และ Transfer Rate 20 MBps เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเพิ่มความจุขึ้นไปถึง 1.6 TB และ Transfer Rate 120 MBps
ไม่รู้ว่าจะมีผลกระทบอะไรกับ Blu-Ray และ HD-DVD ที่ยังไม่มีใครยอมใครหรือเปล่า
ที่มา PhysOrg
เพิ่มเติม:
ความเดิม: รัฐแมสซาชูเซ็ตส์ประกาศใช้ OpenDocument เป็นมาตรฐานไฟล์เอกสาร ไมโครซอฟท์เสนอ Open XML ของ Office 12 แต่ถูกปฏิเสธ หลังจากนั้นมันกลายเป็นเรื่องการเมือง เมื่อนักการเมืองของแมสซาชูเซ็ตส์บางส่วนออกมาต่อต้าน OpenDocument ด้วยเหตุผลอย่างเรื่องค่าใช้จ่าย และตัวฟอร์แมตไม่สนับสนุนการใช้คอมพิวเตอร์ของคนพิการ เป็นต้น การถกเถียงนี้มีมาได้ซักระยะแล้ว แต่ผมไม่ค่อยได้อ่าน/เขียนข่าวเท่าไร (เพราะข่าวการเมืองศัพท์มันยาก)
ตอนนี้มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจบางประการครับ
กำหนดการเดิมของ Vista ที่บอกกว้างๆ แค่ว่าครึ่งหลังของปี 2006 เริ่มจะชัดขึ้นแล้ว เมื่อ BusinessWeek ดันไปได้บล็อกภายในของ Chris Jones รองประธานฝ่ายวินโดวส์ของไมโครซอฟท์ ที่ระบุว่า Vista จะแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2006
ข่าวนี้ถูกลบออกไปจาก BusinessWeek แล้ว คาดว่าไมโครซอฟท์ขอร้องให้เอาออก แต่ยังสามารถอ่านได้จาก Ars Technica (ใจความหลักก็มีแค่วันที่ล่ะครับ)
ความสามารถใหม่ของ Firefox 1.5, Safari และ Opera9 ที่ำกำลังจะออกกันมานั้น นอกจากเรื่องของความสามารถในเรื่องใหญ่ๆ เช่น SVG แล้ว ยังมีเรื่องของ Canvas Tag ที่ยังไม่เป็นมาตรฐานเต็มตัวอีกด้วย ความสามารถของเจ้าแท็กนี้ก็จะทำให้ HTML ของเราๆ มีภาพเคลื่อนไหวกันได้แบบเต็มเหนี่ยว
แม้จะเป็นฟีเจอร์แบบปิดเงียบ แต่ตอนนี้ก็มีคนลองใช้แล้วครับ โดยนาย Benjamin Joffe ได้เขียนเกม FPS ขึ้นมาโดยใช้ความสามารถนี้ ทำให้เราเล่นเกมผ่านทาง HTML ได้เลย
รองรับบนบราวเซอร์รุ่นต่อไปแทบทุกยี่ห้อ ยกเว้นอยู่ยี่ห้อนึงมั๊ง........
หลังจากมีการประชุมวิชาการด้านการใช้งานดิจิทัลที่กรุงเวียนนา จนได้เอกสารสรุปที่ชื่อว่า Vienna Conclusions ไมโครซอฟท์ก็ออกมาขอให้ทาง UN แก้ไขข้อความในเอกสารเพื่อลบส่วนที่แสดงถีงการใช้งานฟรีซอฟท์แวร์ออกไป จากประโยคที่ว่า
"Increasingly, revenue is generated not by selling content and digital works, as they can be freely distributed at almost no cost, but by offering services on top of them. The success of the free software model is one example,"
โดยแก้ไขเป็น
Royal Society ของอังกฤษซึ่งเป็นองค์กรณ์ไม่แสวงหากำไรที่ดำเนินการวารสารวิชาการที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอย่าง Philosophical Transactions ซึ่งดำเนินการมากว่าสามร้อยปี ออกโรงต้านการตีพิมพ์เอกสารทางวิชาการออนไลน์ที่ได้รับการเสนอโดย สภาการวิจัยแห่งสหราชอาณาจักร (Research Council UK)การออกมาต่อต้านครั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าวารสารวิชาการที่มีอยู่นั้นอาจจะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ หากเหล่านักวิจัยพากันแจกเอกสารวิชาการกันฟรีๆ บนโลกออนไลน์กันหมด
ฟังแล้วก็งงๆ ว่าแล้วทำไมวารสารเหล่านั้นไม่ยอมออนไลน์กันบ้าง หรือไม่คิดจะปรับตัวกันเลย
หลังจากทำวิจัยเรื่องเวลาว่างในการรอเครื่องบินแล้ว กูเกิลก็เอาใจคนอังกฤษอีกครั้งด้วยการเปิดเน็ตคาเฟ่ให้บริการกันฟรีๆ ที่สนามบินฮีตโทรว์ ประเทศอังกฤษ ในชื่อว่า Google Space โดยกูเกิลไม่ได้เพียงแต่ให้บริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังใช้ Google Space เป็นจุดทดสอบโปรแกรมใหม่ๆ ของกูเกิลเพื่อดูผลตอบรับของผู้ใช้โดยตรงอีกด้วย
โดยก่อนหน้านี้เมื่อกูเกิลเปิดสำนักงานในอังกฤษก็ได้เปิดบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายไปด้วยในตัว แต่ครั้งนี้ยังไม่มีการเปิดบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในสนามบินแต่อย่างใด โดยกูเกิลระบุว่าอาจะะมีการให้บริการในอนาคตหากมีเสียงเรียกร้องเพียงพอ
SourceForge ถือว่าเป็นแหล่งศูนย์รวมโครงงาน Opensource รายใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงมีผลิตผลจากภาษาแตกต่างกันไป
และนี่คืออันดับความนิยมภาษาที่ใช้ในการพัฒนา
หลังจาก Microsoft ออกมาเปิดตัวฟอร์แมตใหม่ (.docx) ของตัวเอง เพื่อมาเปรียบมวยกับ OpenDocument Format (.odt) วันนี้แวะนำบทความจาก GROKLAW เปรียบเทียบฟอรแมตของสองค่ายนี้ให้ดูกัน
สรุปสั้นๆ คือ ODF นั้นถ้าให้คนอ่านจะสามารถอ่านได้ (readability) ดีกว่า ส่วน MS XML นั้นจะอยู่ในรูปที่ normalize มากกว่า (normalize ภาษาไทย คืออะไร?)
ODF แปลงเป็น XHTML ได้ง่ายกว่า แหงละ เพราะแทบจะแปลงได้ตรงๆ เลย
สวัสดีผู้อ่านครับ เพิ่งสังเกตว่าตัวเองเขียนข่าวได้แล้ว
เคยทำ bookmark หายกันไหมครับ? ของผมเพิ่งหายไปเมื่อวานนี้โชคยังดีที่มี backup ไว้อีกเครื่อง ถ้าไม่มีคงจะเศร้าน่าดู..
Mother of All CPU เป็นบทความชุดสำคัญบนเว็บ Tom's Hardware เพราะนำซีพียูทั้งหมดในยุคหลังๆ มาเปรียบเทียบกัน ซึ่งเราจะมองเห็นภาพรวมได้ว่า Athlon XP 64 3400+ มันแรงกว่า Athlon ตัวแรกที่ใช้ Slot A กี่เท่า ตอนนี้ Mother of All CPU ได้เวลาอัพเดต โดยเพิ่มข้อมูลซีพียูใหม่ๆ ในยุคดูอัลคอร์เข้ามาด้วย
กำหนดออกตัวจริงสิ้นเดือนกุมภาปีหน้าพร้อมกับ GNOME 2.14 เรื่องของหน้าตาไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก รายการของใหม่อ่านได้จาก FedoraWiki และมีรีวิวสั้นๆ จาก DistroReviews
ดาวน์โหลดได้จาก Fedora Mirror
ประวัติเรื่องฟอนต์ของไมโครซอฟท์นี่ผมก็เพิ่งรู้เหมือนกัน เริ่มจาก MS Sans Serif ที่ปรากฎตัวใน Windows 95 และ Office 95 แต่มีข้อเสียคือมันจะเละที่ขนาดเล็กมากๆ ไมโครซอฟท์แก้ปัญหาด้วย Tahoma ใน Office 97 กับ Windows 98 จากนั้น Tahoma อยู่กับเรามาเกือบสิบปีแล้ว
ตอนนี้ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงแล้วครับ ฟอนต์มาตรฐานใหม่ใน Windows Vista และ Office 12 ดัดแปลงจาก Tahoma ให้ดูแข็งน้อยลง เพิ่มส่วนของ ClearType ซึ่งใช้กับจอ LCD เข้าไป ชื่อของมันคือ Segoe UI
มีรายงานถึงตัวเลขที่เ็ป็นไปได้ถึงการขาดทุนของไมโครซอฟท์ต่อ XBox 360 ทุกๆ เครื่องที่ขายไป โดยรายงานระบุว่า ราคาเฉพาะตัวเครื่องนั้นน่าจะอยู่ที่ประมาณ 470 ดอลลาห์ ขณะที่อุปกรณ์อื่นๆ เช่น คอนโทรลเลอร์ สายไฟ และอแปเตอร์นั้น รวมๆ กันแล้วน่าจะอยู่ที่ประมาณ 55 ดอลลาห์ ขณะที่ไมโครซอฟท์ขายในราคาเพียง 399 ดอลลาห์
วัฒนธรรมการขายขาดทุนเป็นเรื่องปรกติในวงการนี้ เครื่อง PS3 ของโซนี่นั้นน่าจะขาดทุนหนักกว่าไมโครซอฟท์เสียอีกเนื่องจากสเปคที่สูงกว่า โดยคาดกันว่าต้นทุนของ PS3 นั้นอาจจะทะลุไปถึง 600 ดอลลาห์ โดยทุกรายต่างหวังส่วนแบ่งจากเกมมากกว่าที่จะหวังกำไรจากตัวเครื่องกัน
หลังจากชิงตัดหน้าผู้ผลิตรายอื่นๆ ไปไ้ด้หลายเดือน และวางขายไปเพียงวันเดียว ผู้ใช้ XBox 360 ออกมาโอดครวญกันระงมถึงความไม่เสถียรของเครื่องคอลโซลพันธุ์ใหม่่นี้ โดยมีตั้งแต่บูตแล้วค้าง ไปจนถึงเล่นเกมไปสักแป้บก็ค้าง เข้าบริการ XBox Live แล้วค้างก็มี
งานนี้ใครรอเจ้าเครื่องนี้อยู่ไม่รู้ แต่ผมขอบายล่ะครับ
ที่มา - Slashdot
ข่าวแรกคือตัว emulator ของโปรแกรมเดิมที่เขียนมาสำหรับ PowerPC ที่ชื่อ Rosetta นั้น ตั้งแต่ตอนงานเปิดตัว แอปเปิลได้แถลงว่า Rosetta จะสนับสนุนเฉพาะชุดคำสั่งมาตรฐานของ G3 เท่านั้น แต่มาถึงวันนี้ Rosetta สามารถจำลองการทำงานของชุดคำสั่ง AltiVec ซึ่งหมายความว่าสามารถจำลองการทำงานของ G4 ได้สมบูรณ์ (แต่ทางที่เหมาะกว่าคือคอมไพล์โปรแกรมใหม่สำหรับ x86 และทำเป็น Fat Binary ถ้าอ่านไม่เข้าใจ ลองกลับไปอ่านข่าวเก่าๆ ดูนะครับ)ข่าวจาก OSx86 Project
ทีมงานของเว็บเบราว์เซอร์ 4 ค่ายใหญ่ คือ Mozilla, Konqueror, IE และ Opera ไปประชุมกันที่โตรอนโต เพื่อหาแนวทางสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ในการป้องกันภัยจาก Phishing และปัญหาอื่นๆ
เพื่อเป็นการบีบให้ผู้อ่านของเรามีความรู้เกี่ยวกับ Phishing เพิ่มเติม ผมไม่เขียนอธิบายว่ามันคืออะไรนะครับ (เป็นความขี้เกียจที่เหตุผลฟังดูดีมาก)