แม้จะถูกวางตัวเป็นศัตรูกับโลกโอเพ่นซอร์ส แต่ความจริงแล้วไมโครซอฟท์ก็มีการแบ่งซอร์สโค้ดให้กับพันธมิตรอยู่เนือง โดยทีผ่านมาไมโครซอฟท์มีลิขสิทธิ์คุ้มครองซอร์สของตนกว่าสิบแบบ
วันนี้เองไมโครซอฟท์ก็จัดระเบียบรูปแบบของลิขสิทธิ์ ในการใช้ซอร์สของไมโครซอฟท์ทั้งหมดลงเหลือเพียงสามแบบ คือ
แม้ในสหรัฐฯ จะถูกต่อต้านอย่างหนัก แต่กูเกิลพรินต์ก็ขยายไปยังยุโรปแล้ว แถมยังดูเหมือนว่าจะได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีอีกด้วย โดยล่าสุดกูเกิลพรินต์ได้เปิดเว็บเพื่อภาษาท้องถิ่นอีกแปดภาษา ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมันนี เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยียม และสเปน
สถานะการณ์ในยุโรปนั้นต่างจากในอเมริกามาก โดยมีสำนักพิมพ์จำนวนหนึ่งเป็นผู้ให้หนังสือกับกูเกิลเอง เพื่อที่จะให้กูเกิลเก็บข้อมูลเหล่านั้นลงในเว็บเพื่อให้สามารถค้นหาได้
ถ้ามาเปิดเมืองไทยจะมีอย่างนี้บ้างมั๊ยเนี่ย
อีเอฟเอฟ (Electronic Frontier Foundation - EFF) ประกาศการค้นพบการแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ลงไปในเอกสาร เมื่อใช้พรินเตอร์ของบริษัทซีรอกซ์ เรื่องนี้ความแตกเมื่อมีคนไปพบว่าพรินเตอร์ซีรอกซ์รุ่น DocuColor ทุกรุ่น จะมีจุดสีเหลืองจางๆ ที่มองด้วยตาไม่เห็นกระจายอยู่ทั่วเอกสาร
อีเอฟเอฟจึงดำเนินการวิเคราะห์เอกสารนับพันๆ หน้า และพบว่าข้อมูลที่มากับจุดสีเหลืองเหล่านั้นคือ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้พิมพ์หลายๆ อย่างรวมถึุง หมายเลขเครื่องพรินเตอร์ วันเวลาที่พิมพ์ ชื่อรุ่น และค่าต่างๆ ที่ตั้ง
ไม่รู้ว่าเพื่ออะไรเหมือนกันในกรณีนี้...
ไมโครซอฟท์ออก Windows Vista Community Technical Preview (CTP) ตัวที่สองมาแล้ว (คนละอย่างกับ Beta นะ CTP นี่แจกเฉพาะนักพัฒนาวงใน และออกบ่อยกว่า) รุ่นนี้เรียกเป็น Build 5231 ของใหม่ๆ มี Windows Media 11 กับโปรแกรมจัดการรูปภาพที่ชื่อ Windows Media Gallery (ยังกะ iPhoto เลยฮะ) ซึ่งใช้ไลบรารีจัดการรูปจากโปรแกรมตระกูล Microsoft Digital Image Studio 2006 (พวก Acryllic เดิม) แล้วก็แท็บพรีวิวใน IE7
ในงาน Intel Developer Forum ที่ไต้หวัน อินเทลได้โชว์เทคโนโลยีตัวใหม่ โค้ดเนมว่า "Robson" ซึ่งประกอบด้วยการ์ดแบบแฟลช และซอฟต์แวร์ของอินเทลเอง การทำงานคือจะเซฟข้อมูลและตัวโปรแกรมลงในการ์ด แทนที่จะเป็นฮาร์ดดิสก์ ส่งผลให้การบูตเครื่อง การปลุกเครื่องจาก sleep และการเรียกโปรแกรมทำได้เร็วมากขึ้น
อินเทลยังไม่ระบุรายละเอียดมากนัก ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ออกสู่ตลาด ความเร็วที่เพิ่มขึ้น และเทคโนโลยีที่ใช้ใน Robson แต่ระบุว่าการ์ด Flash มีขนาดตั้งแต่ 64MB-4GB ซึ่งยิ่งเยอะก็ทำให้จำนวนโปรแกรมที่ใช้ร่วมกับ Robson เยอะตามไปด้วย
พี่บิลของเรามีไปพูดที่ Princeton เลยโดนหนังสือพิมพ์ข้างใน The Daily Princetonian สัมภาษณ์มาสั้นๆ แต่ผมว่าเข้าท่ากว่าที่มาพูดบ้านเราตั้งเยอะ
ซิสโกได้มีการตีพิมพ์บทความวิจัยถึงสถิติการใช้ไอพี โดยพบว่าระบบการแปลงไอพีหรือ NAT (Network Address Translation) ที่ใช้เพื่อทดแทนจำนวนไอพีที่ขาดแคลนนั้นกำลังจะหมดอายุขัยของมันลง เมื่อปริมาณการใช้ไอพีกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าไอพีจะหมดโลกไปใน 2 ถึง 10 ปีข้างหน้านี้
ผลการวิจัยนี้แสดงถึงการผลักดันให้โลกหันไปใช้ IPv6 อย่างเต็มตัว ซึ่งจะเปิดโอกาสให้บริการหลายๆ อย่างซึ่งใช้ได้บ้างไม่ได้บ้างในวันนี้สามารถทำงานได้เต็มที่เช่น VOiP ตลอดจนบริการจำพวก Peer-To-Peer อื่นๆ
สงสัยผมจะได้เปิดหมวด OpenDocument เพิ่มอีกหมวดแล้วมั้ง หวังว่ายังไม่เอียนข่าวพวกนี้นะ
Andy Updegrov จาก Consortiuminfo.org ได้ข้อมูลจากเพื่อนในไมโครซอฟท์ของเค้าว่า OpenDocument นั้น "maybe someday" โดยยกกรณีของการสนับสนุน PDF มาอ้างว่า เกิดจากความต้องการของลูกค้า และช่วงเวลาที่เหมาะสมเช่นกัน อ่านบทวิเคราะห์ของเค้าได้
ที่เหลือผมว่าเองแล้วครับ ท่าทีแข็งกร้าวของไมโครซอฟท์ในตอนนี้ คงเป็นการแก้เกี้ยวหลังโดนรัฐแมสซาชูเซ็ทส์หักหน้าซะมากกว่า เพราะไมโครซอฟท์เองคงไม่หวังว่าฟอร์แมตใหม่ของ Office 12 จะโดนปฏิเสธ
ผมลง Ubuntu 5.10 เรียบร้อยแล้ว โดยภาพรวมก็มีทั้งสิ่งที่ประทับใจและไม่ประทับใจทั้งคู่ แต่ที่สำคัญคือได้ปรับแต่ง Ubuntu หลายๆ อย่าง เลยมาเขียนไว้เผื่อมีใครใช้อ้างอิงครับ
การติดตั้ง
ผมไม่ขอเน้นวิธีการติดตั้งมากนัก เนื่องจากลินุกซ์ทั่วไปก็ติดตั้งคล้ายๆ กันหมด ข้อแนะนำมีดังต่อไปนี้ครับ
สำหรับคนที่อยากลองเล่นดูเฉยๆ ว่ามันเป็นยังไงให้โหลดเวอร์ชัน LiveCD มาเบิร์นลงแผ่น ยัดเข้าไดรว์ แล้วรีบูตดู ลินุกซ์ที่ใช้นั้นจะถูกติดตั้งอยู่ในแรม ลองเล่นดูเฉยๆ ว่าชอบมั้ย ปิดเครื่องปุ๊บทุกสิ่งทุกอย่างยังกลับเป็นเหมือนเดิม ฮาร์ดดิสก์ของคุณยังอยู่ดีมีสุข
ช่วงที่ผมได้ใช้ WiFi มาตรฐาน 802.11b ใหม่ๆ ก็ได้ยินข่าวของมาตรฐานความเร็วที่เพิ่มขึ้น คือ 802.11g (54Mbps) ที่จะมาในเร็ววัน ตอนนั้นก็เฝ้าฝันถึงความเร็ว 100 Mbps จากมาตรฐาน 802.11n ที่ประกาศร่าง
แต่ใช้ 802.11g จนเบื่อแล้ว 802.11n เหมือนจะหายสาบสูญไปเลย
หลังจากแอปเปิลบุกไปเปิด iTunes Music Store ที่ญี่ปุ่น ทางสมาคมอุตสาหกรรมเพลงที่นู่น ก็เริ่มดำเนินการล็อบบี้ให้รัฐบาลญี่ปุ่นเก็บภาษีเพิ่มอีก 2% สำหรับเครื่องเล่นเพลงพกพาทุกเครื่องที่วางจำหนาย เงินที่ได้จะไปยังอุตสาหกรรมเพลง (ค่ายเพลง นักแต่งเพลง นักร้อง) เพื่อชดเชยกับยอดขายซีดีที่ตกลงเนื่องจากการขายเพลงออนไลน์
ญี่ปุ่นได้เก็บภาษีแบบนี้กับเครื่องบันทึกอื่นๆ มานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น CD-RW หรือเครื่องบันทึก MD เลยดูไม่แปลกมากนักสำหรับบ้านเค้า ตอนนี้เรื่องภาษียังอยู่ในขั้นตอนของทางรัฐบาลอยู่
เกมของ Popcap หลายเกมเข้าขั้นสนุกมากนะครับ (โดยเฉพาะ Bejeweled 2 และ Zuma) และถ้าคุณมีแผนจะซื้อ XBox 360 ที่จะวางขายวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้ ความฝันที่จะนอนเอนหลังเล่น Zuma กับจอทีวีก็เป็นจริงแน่นอน
XBox Live Arcade เป็นบริการหนึ่งของบริการออนไลน์ XBox Live ที่สมาชิกสามารถเลือกดาวน์โหลดเกมอาเขตหลายๆ เกมไปไว้ในฮาร์ดดิสก์ของ XBox 360 ได้ เรื่องราคานั้นยังไม่กำหนด แต่จะมีเกมที่น่าสนใจสามสี่เกมแถมมาในฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่ซื้อเครื่องเลย ซึ่งหนึ่งในนั้นสร้างโดย Alexi Pajitnov ชายที่อยู่เบื้องหลัง Tetris!
สำหรับคนที่เบื่อว่าลงลินุกซ์เดี๋ยวนี้ ต้องมาลงแพกเกจพิเศษเพิ่มเอาเอง (เช่น DVD, Multimedia Codec ต่างๆ, Flash, Java, ไดรเวอร์การ์ดจอ ATI/Nvidia) เนื่องด้วยปัญหาด้านสัญญาอนุญาตใช้งานที่ไม่ให้รวมไปกับตัวดิสโทร ทำให้ต้องมานั่งเพิ่ม repository พิเศษๆ เอาเอง มานั่ง apt-get อะไรก็ไม่รู้เยอะแยะน่ารำคาญ (ผมก็เป็นนะครับ)
ไม่รู้ว่าแถวนี้ใครทำงานเป็นแอดมินกันบ้าง แต่ตอนนี้เว็บเมลที่เป็น AJAX ก็มีให้โหลดไปติดตั้งกันแล้ว โดยโปรแกรมที่ชื่อว่า RoundCude
โดยตอนนี้มันยังขาดความสามารถบางส่วนเช่นการค้นหา แต่ส่วนอื่นๆ ที่ใกล้เคียง GMail นั้นก็มีให้ครบ เช่นการค้นเมลจาก Address Book อัตโนมัติ
ไปหามาลงสร้างความประทับใจให้เจ้านายกัน....
ที่มา - RoundCude
วันนี้ไมโครซอฟท์กับยาฮูออกมาประกาศความร่วมมือที่จะเชื่อมต่อเครือข่าย IM ของทั้งสองค่ายเข้าด้วยกัน โดยความร่วมมือนี้จะทำให้ทั้งสองค่ายมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง ร้อยละ 44
ความร่วมมือนี้น่าจะเกิดจากคู่แข่งรายใหม่ๆ อย่าง Skype หรือ GTalk ซึ่งน่าสนใจทีเดียวว่ามันจะหยุดบริการใหม่ๆ เหล่านั้นลงได้หรือไม่
ที่มา - BetaNews
Outlook Express ได้ฤกษ์เปลี่ยนชื่อซะที เนื่องจากภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยแย่ๆ ส่งผลกระทบต่อ Outlook ต้นฉบับเป็นอย่างมาก รวมไปถึงความสับสนของผู้ใช้ระหว่างสองตัวนี้ด้วย ชื่อใหม่ได้แก่ "Windows Mail" และจะมากับ Vista
อ่านความเห็นหลายๆ ที่ต่างพูดถึงโปรแกรมเมลของ MacOSX ที่ชื่อ Mail เฉยๆ (เรียกกันสับสนว่า Mail.app) ส่วนผมใช้ Thunderbird ต่อไปครับ
ตอนนี้ Ubuntu กลายเป็นดิสโทรยอดนิยมอันดับหนึ่งไปแล้วนะครับ ตัวนี้ผมก็รออยู่เหมือนกัน 5.10 Breezy Badger ของใหม่ที่มีก็ GNOME 2.12, OOo 2.0 Beta 2, สนับสนุนโน้ตบุ๊คดีขึ้น แล้วก็อัพเดตเวอร์ชันตามปกติ อย่างอื่นอ่านได้จาก Release Notes
มีอะไรใหม่บ้าง
iPod (with Video)ในโหมดวีดีโอสนับสนุนการเล่นไฟล์วีดีโอ .H264 และ MPEG4 ใช้งานได้นาน 20 ชั่วโมง มาพร้อมความจุ 30GB และ 60GB ราคายังคงเดิมคือ $299 และ $399
จะเห็นว่า Blognone เสนอข่าวของ OpenDocument มาโดยตลอด เนื่องจากเห็นประโยชน์ของฟอร์แมตเอกสารเปิด ที่มีประโยชน์มากมายในภาพรวม (มีประโยชน์ยังไงไม่เขียนถึงแล้วนะครับ) และเห็นว่ากลุ่มผู้อ่าน Blognone ค่อนข้างหัวก้าวหน้า มีความรู้ในทางเทคนิคมากพอที่จะช่วยเหลือให้คนรอบตัวรู้จักและใช้งาน OpenDocument ได้
Chris Capossela รองประธานฝ่าย Information Worker Product Management Group (ไม่รู้ว่าจะแปลยังไง ไม่แปลละกันนะครับ) ออกมาให้ความเห็นถึงข่าว Google จับมือเป็นพันธมิตรกับ Sun เมื่ออาทิตย์ที่แล้วว่า "That announcement didn't have anything" และ "It had something about a toolbar and Java Runtime"
แปลแบบสรุปๆ คือ Chris เองยังไม่เห็นภัยคุกคามจากการจับมือครั้งนี้ต่อไมโครซอฟท์ สำหรับกรณี Google Office ที่เก็งกันอยู่กัน ทางไมโครซอฟท์เองยังไม่มีแผนจะพอร์ตตระกูลออฟฟิศไปเป็นเว็บเบสเช่นกัน โดยไมโครซอฟท์กำลังพยายามทำผลิตภัณฑ์แบบกรุ๊ปแวร์ที่เหนือว่า Lotus Notes ในการทำงานระหว่างองค์กรอยู่
ไม่รู้ยังจำกันได้รึเปล่ากับโปรแกรมวาดภาพแบบเวคเตอร์ที่ชื่อว่า Xara ที่เคยเห็นฮิตในบ้านเราอยู่พักนึง ตอนนี้ Xara กลับมาอีกครั้งด้วยการเปิดตัวเองเป็นโอเพ่นซอร์สไปแล้ว โดยใช้ชื่อว่า XaraLXการเปิดครั้งนี้เป็นการเปิดเฉพาะบนลินิกซ์เท่านั้นโดย โดยที่เวอร์ชันบนวินโดวส์ยังวางขายอยู่ในราคา 79 ดอลลาห์
Xara ให้เหตุผลของการเปิดซอร์สของโปรแกรมคือ เพื่อให้รับประกันได้ว่า โปรแกรมจะมีต่อไป โดยยกตัวอย่างโปรแกรมอย่างเช่น Freehand ของมาโครมีเดีย ที่เมื่อรวมกับอโดบีแล้วโปรแกรมตัวนี้ก็หายไปจากตลาด
ข่าวการวางตลาดโปรแกรมรักษาความปลอดภัยของไมโครซอฟท์สร้างความพรั่นพรึงให้กับเหล่าบริษัทซอฟท์แวร์ด้านความปลอดภัยไปตามๆ กัน ล่าสุดไมโครซอฟท์ก็ถูกตรวจสอบจากสหภาพยุโรป
ข่าวนี้ถูกแถลงมาจากทางบริษัทไซแมนเทค บริษัทที่ถูกมองว่าเสียหายที่สุดหากไมโครซอฟท์จะบุกตลาดการรักษาความปลอดภัยนี้จริง โดยไซแมนเทคระบุุว่าตนไม่ได้ร้องเรียนเรื่องนี้ไปทางสหภาพยุโรปแต่อย่างใด แต่เพียงแค่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลกับทางการเท่านั้น
ที่มา - Computer Business Review
WinSuperSite มีรายงานการพรีวิวฮอตเมลเวอร์ชั่นใหม่ อย่างละเอียด พร้อมรูปภาพประกอบให้ดูกันก่อน
เห็นเพื่อนๆ ใน B|N อยากเห็นหน้าค่าตากันหลายคน แต่ยังขอทดสอบไม่ได้ ดูสกรีนชอตกันไปก่อนแล้วกัน