Fedora ออกเวอร์ชัน 41 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ซอฟต์แวร์ใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
Ubuntu ออกเวอร์ชัน 24.10 โค้ดเนม Oracular Oriole มีของใหม่ดังนี้
Canonical ประกาศออก Ubuntu 24.04 LTS โค้ดเนม Noble Numbat ซึ่งถือเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS รุ่นที่ 10 ของ Ubuntu ด้วย (รุ่นแรกคือ 6.04 LTS)
ของใหม่ใน Ubuntu 24.04 LTS มีจำนวนมาก ได้แก่
โครงการ Debian ประกาศรองรับซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V อย่างเป็นทางการ (riscv64 is now an official Debian architecture) หลังจากมีให้ใช้งานแบบพอร์ต (Debian port) มาระยะหนึ่งแล้ว
ประกาศนี้มาไม่ทัน Debian 12 Bookworm ที่ออกเมื่อเดือนที่แล้ว ดังนั้นเราจะได้ใช้ RISC-V ใน Debian stable เวอร์ชันหน้าคือ Debian 13 Trixie ที่จะออกในปี 2025 แต่ถ้าใครรีบด่วนก็สามารถทดลองใช้จาก Debian Sid ก่อนได้
Debian ดิสโทรลินุกซ์ยอดนิยมที่เป็นต้นน้ำของการพัฒนาดิสโทรจำนวนมาก ประกาศออกเวอร์ชั่น 12 ในชื่อ Bookworm ที่เป็นตัวละครใน Toy Story 3 โดยรวมเวอร์ชั่นนี้ใช้เวลาพัฒนา 1 ปี 9 เดือน 28 วัน และจะได้รับซัพพอร์ตไปอีก 5 ปี
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญ ตามแพ็กเกจที่ปรับในเวอร์ชั่นนี้ เช่น systemd 252, linux 6.1, nginx 1.22, php 8.2, postgresql 15, vim 9.0 เวอร์ชั่นนี้ยกเลิกซัพพอร์ตชิปในกลุ่ม i586 อย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะรองรับชุดคำสั่ง x86 แบบ 32 บิตอยู่แต่ก็ต้องการตระกูล i686 หรือ Pentium Pro ขึ้นไปเท่านั้น
Canonical เตรียมออกดิสโทร Ubnutu Desktop ที่ใช้แพ็กเกจแบบ Snap ล้วนๆ ในปีหน้า 2023 โดยแยกเป็นอีกเวอร์ชันจากดิสโทรเดิมที่ใช้ระบบแพ็กเกจแบบ .deb
ข้อมูลนี้มาจาก Oliver Grawert ทีมงานของ Canonical ที่ไปตอบคอมเมนต์ในเว็บ OMG Ubuntu
ดิสโทรลินุกซ์ยอดนิยมอย่าง Ubuntu เลือกใช้ระบบเดสก์ท็อป GNOME เป็นหลัก แต่คนที่ชอบใช้เดสก์ท็อปแบบอื่นๆ ยังมีทางเลือกเสมอ เพราะ Ubuntu มีระบบ flavours เป็นดิสโทรทางเลือกที่ติดตั้งแพ็กเกจซอฟต์แวร์อื่นๆ แทนแพ็กเกจแบบดีฟอลต์ ตัวอย่าง flavours ที่โด่งดังหน่อยคือ Kubuntu (KDE) หรือ Xubuntu (Xfce)
AWS เปิดตัว Amazon Linux 2023 (AL2023) ดิสโทรลินุกซ์เวอร์ชัน Amazon พัฒนาเองสำหรับใช้บนคลาวด์ AWS มาตั้งแต่ปี 2010
เวอร์ชันก่อนหน้านี้ของ Amazon Linux คือ Amazon Linux 2 ในปี 2017 ก่อนเปลี่ยนวิธีเรียกเวอร์ชันเป็นเลขปี เริ่มจากใน Amazon Linux 2022 เมื่อปีที่แล้ว โดยเวอร์ชันแบบใหม่จะซัพพอร์ตระยะยาว 5 ปี (2 ปีแรกอัพเดตทุกไตรมาส + 3 ปีหลังอัพเดตเฉพาะความปลอดภัย)
Fedora ออกเวอร์ชัน 35 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ของใหม่ที่สำคัญได้แก่
Fedora ออกเวอร์ชัน 33 มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรุ่นย่อยดังนี้
Fedora เวอร์ชัน 31 ออกแล้ว ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ ได้แก่
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 ก็ประกาศยุบรวมดิสโทร CoreOS Container Linux เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Fedora โดยจะใช้แทน Fedora Atomic Host ที่เลิกทำไปเพราะทับซ้อนกัน
เวลาผ่านมาประมาณปีครึ่ง Fedora CoreOS ทำเสร็จเรียบร้อย เข้าสถานะพรีวิวให้คนทั่วไปทดสอบได้แล้ว
Fedora CoreOS เป็นดิสโทรลินุกซ์ขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อรันในคอนเทนเนอร์ และมีฟีเจอร์ด้านบริหารจัดการ คอนฟิก อัพเดต เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล VM จำนวนมากๆ ตัวอย่างฟีเจอร์เหล่านี้คือการอัพเดตตัว OS เวอร์ชันใหม่อัตโนมัติ ติดตั้งและรีบูตเองให้เสร็จสรรพ ลดภาระการดูแลของแอดมินลง
ปัจจุบัน Debian ออกเวอร์ชันใหญ่ทุก 2 ปี โดยออกในช่วงกลางปีของปีที่เป็นเลขคี่ รุ่นที่แล้วคือ Debian 9.0 Stretch ล่าสุดคือ Debian 10.0 "Buster" (ชื่อหมาของพระเอก Toy Story ที่เป็นหมาจริงๆ ไม่ใช่ตุ๊กตา)
ของใหม่ใน Debian 10
Linux Mint ดิสโทรลินุกซ์ขวัญใจผู้ใช้อีกตัว ออกวอร์ชันใหม่ 19.0 "Tara" ซึ่งเป็นการออกเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกในรอบสองปี (เวอร์ชัน 18.0 ออกเดือนมิถุนายน 2016) และเวอร์ชันนี้เป็นรุ่น LTS ที่จะซัพพอร์ตไปจนถึงปี 2023
Linux Mint 19.0 ออกพร้อมกันทั้ง 3 เวอร์ชันย่อยที่ใช้ระบบเดสก์ท็อปแตกต่างกัน ได้แก่ Cinnamon (แยกจาก GNOME 3), MATE (แยกจาก GNOME 2) และ Xfce
Ubuntu 18.04 LTS โค้ดเนม "Bionic Beaver" ออกแล้ว เวอร์ชันนี้ถือเป็น LTS ตัวแรกที่เปลี่ยนกลับมาใช้ GNOME หลังการเปลี่ยนแปลงใน Ubuntu 17.10 เมื่อปีที่แล้ว
ของใหม่ใน Ubuntu 18.04 LTS
คนส่วนใหญ่ทราบว่าพนักงานของกูเกิลส่วนใหญ่ใช้แมค แต่ก็มีพนักงานบางส่วนที่ใช้ลินุกซ์ด้วย โดยพนักงานของกูเกิลใช้ดิสโทรของบริษัทเองชื่อ Goobuntu ที่พัฒนาอยู่บนฐานของ Ubuntu
อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 2017 กูเกิลก็เปิดเผยว่าเปลี่ยนจาก Goobuntu มาเป็นดิสโทรตัวใหม่ชื่อ gLinux ที่พัฒนาเองเช่นกัน และเปลี่ยนฐานจาก Ubuntu มาเป็น Debian (ใช้ Debian testing หรือ "buster" ที่จะนับเป็น Debian 10)
กูเกิลไม่ได้อธิบายเหตุผลที่เปลี่ยนจาก Ubuntu มาเป็น Debian แต่ระบุแค่ว่ามีระบบย้ายจาก Ubuntu 14.04 LTS มาเป็น Debian buster แล้ว
Amazon มีลินุกซ์ดิสโทรของตัวเองชื่อ Amazon Linux เป็นอิมเมจสำหรับ EC2 มานานตั้งแต่ปี 2011 โดยมันถูกออกแบบมาสำหรับรันบน AWS เพียงอย่างเดียว จึงมีฟีเจอร์ด้านการเชื่อมต่อกับ API ของ AWS มาให้ตั้งแต่แรก (ตอนแรกพัฒนาจาก RHEL แต่ภายหลังก็มีความแตกต่างกันพอสมควร)
ล่าสุด Amazon ประกาศออก Amazon Linux 2 ถือเป็นการอัพเกรดเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรก ปรับเวอร์ชันเคอร์เนลเป็น 4.9 ที่ปรับจูนให้ทำงานบน AWS อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มาพร้อมแพกเกจหลักรุ่นใหม่ๆ (gcc 7.2.1, glibc 2.25, binutils 2.27) รวมถึงซอฟต์แวร์ยอดนิยมอย่าง Python, MariaDB, Node.js ที่ใหม่กว่าของเดิม ดาวน์โหลดเพิ่มได้จาก Amazon Linux Extras repository
ชื่อ Clear Linux อาจไม่คุ้นหูกันนักในโลกโอเพนซอร์ส แต่มันคือดิสโทรลินุกซ์ที่พัฒนาโดยอินเทล เพื่อสำหรับงานบนคลาวด์โดยเฉพาะ เป้าหมายสำคัญของอินเทลคือปรับแต่งเรื่องประสิทธิภาพและพลังงานให้เหนือกว่าดิสโทรลินุกซ์ทั่วไป (แน่นอนว่าเฉพาะบนสถาปัตยกรรม x86 ของอินเทล)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศว่าบริการคลาวด์ Azure ของตัวเองรองรับ Clear Linux อย่างเป็นทางการแล้ว ลูกค้า Azure สามารถเลือกดาวน์โหลดอิมเมจได้จาก Azure Marketplace ซึ่งมีทั้งอิมเมจแบบที่รันบน VM และรันบน Docker
จุดเด่นอีกประการของ Clear Linux คือแนวคิด stateless ที่แยกตัวระบบออกจากคอนฟิกของผู้ใช้ ช่วยให้การใช้งานบนเครื่องจำนวนมากๆ ยืดหยุ่นและบริหารจัดการง่ายขึ้นมาก
Fedora 25 ออกแล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้แยกตามรุ่นย่อย ได้แก่
ที่มา - Fedora Magazine
ระบบแพ็กเกจแบบใหม่ Snap ที่พัฒนาโดย Ubuntu แก้ปัญหาหลายอย่างของระบบแพ็กเกจแบบเดิมๆ ที่ใช้กันมานานในโลกลินุกซ์ สามารถอัพเดตแอพเป็นรายตัวได้ง่ายกว่าระบบ dependency แบบของเดิมมาก
วันนี้ Canonical ต้นสังกัดของ Ubuntu ร่วมกับพาร์ทเนอร์จำนวนมาก ประกาศว่า Snap จะสามารถทำงานได้บนดิสโทรลินุกซ์อื่นๆ ด้วย
Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 7.2 ของใหม่ได้แก่
Fedora 23 ออกแล้ว ทิ้งช่วงห่างจาก Fedora 22 ประมาณ 4 เดือนเท่านั้น
Fedora 23 แยกเป็นหลายรุ่นย่อย โดยรุ่นหลักคือ Fedora Workstation, Fedora Server, Fedora Cloud และยังมีรุ่นย่อยอื่นๆ คือ Spins (ใช้ระบบเดสก์ท็อปอื่น เช่น KDE, Xfce, Cinnamon), Fedora Labs รวมซอฟต์แวร์เฉพาะทางจากชุมชน และรุ่นพิเศษที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับสถาปัตยกรรม ARM
สำหรับ Fedora 23 Workstation ที่คนทั่วไปน่าจะได้ใช้กัน อัพเดตมาใช้ GNOME 3.18 และ LibreOffice 5 ส่วน Fedora Server เพิ่มฟีเจอร์ใหม่คือ Cockpit ซึ่งเป็นหน้าเว็บสำหรับสั่งงานเซิร์ฟเวอร์จากระยะไกล
หลังจากข่าว CrunchBang Linux ประกาศยุติโครงการ เลิกพัฒนาแล้ว ก็ปรากฏว่ามีคนที่ไม่อยากให้ CrunchBang ตาย ได้ประกาศโครงการใหม่ #!++ หรือ CrunchBang Plus Plus โดยจุดสำคัญคือการย้ายมาพัฒนาบนฐานของ Jessie หรือ Debian 8.0 และได้เปิดให้ดาวน์โหลดรุ่น beta แล้ว
บนหน้าเพจปรากฏชื่อผู้พัฒนาโครงการคนเดียวคือ Ben Young (@computermouth)
ที่มา: #!++ coming soon ผ่านทาง +Linux News Here
CrunchBang Linux ดิสโทรลินุกซ์ที่เน้นขนาดเล็ก บริโภคทรัพยากรน้อย (ดัดแปลงจาก Debian แต่เลือกใช้ Openbox เป็น window manager แทนเพื่อความเบา) ประกาศหยุดการพัฒนาโครงการแล้ว
Philip Newborough นักพัฒนาหลักของโครงการให้เหตุผลว่าวงการไอทีและวงการลินุกซ์เปลี่ยนไปจากเดิมมาก สมัยที่เขาเริ่มทำ CrunchBang มีดิสโทรขนาดเบาให้เลือกไม่เยอะนัก แต่ปัจจุบันผู้ใช้มีตัวเลือกมากขึ้น เหตุผลที่จะต้องมี CrunchBang จึงหมดไป
Newborough ขอบคุณผู้ใช้และนักพัฒนาทุกคนที่ร่วมกันสนับสนุนโครงการนี้ ส่วนตัวเขาเองจะไปหาโครงการอย่างอื่นที่อยากทำต่อไป
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โครงการ Fedora ออกลินุกซ์ดิสโทรเวอร์ชัน 21 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือแยก Fedora ออกเป็น 3 รุ่นย่อย ตามนโยบาย Fedora.next ที่เคยประกาศเอาไว้
ทั้ง 3 รุ่นย่อยใช้แกนของระบบปฏิบัติการเหมือนกันคือ เคอร์เนล 3.18.0, ระบบจัดการแพ็กเกจ RPM/yum, ตัวติดตั้ง Anaconda, ตัวบูตระบบ systemd จากนั้นแยกไปมีแพ็กเกจตามการใช้งาน ดังนี้