Meta เตรียมลดขอบเขตการแบนเนื้อหาเกี่ยวกับคำว่า ‘ชะฮีด (Shaheed)’ คำใช้เรียกการพลีชีพในสงครามศาสนาตามหลักศาสนาอิสลาม หลังจาก Oversight Board (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบการใช้อำนาจนโยบายของ Meta) แนะนำให้ Meta ปรับขอบเขตการแบนเนื้อหาเกี่ยวกับคำว่าชะฮีด เพราะการแบนเนื้อหาทั้งหมดมันเกินเหตุไปหน่อย
ก่อนหน้านี้ Meta ได้รับคำวิจารณ์การจัดการคอนเทนต์เกี่ยวกับความขัดแย้งในตะวันออกกลางช่วงปี 2021 ก่อนจะบานปลายขึ้นเรื่อย ๆ หลัง Meta จำกัดการมองเห็นโพสต์เกี่ยวกับความขัดแย้งของอิสราเอลและกลุ่มฮามาสช่วงปีที่แล้ว
Twitter ประกาศทดสอบฟีเจอร์ใหม่ชื่อ Unmentioning หรือการถอดการแท็กชื่อ @ ของเราออกจากข้อความทวีตของคนอื่น
ฟีเจอร์นี้ออกมาแก้ปัญหาผู้ใช้ทวิตเตอร์คนอื่นๆ แท็กชื่อเราพร้อมข้อความด่าทอ เดิมทีเราสามารถ Mute เพื่อไม่แสดงการแจ้งเตือนจากข้อความนั้นๆ แต่ unmentioning จะทำให้เราสามารถถอดการแท็กชื่อเราออกจากข้อความนั้นได้เลย โดยจะเห็น @username ของเรากลายเป็นสีดำ แทนลิงก์สีน้ำเงินแบบเดิม
ตอนนี้มีผู้ใช้บางกลุ่มได้ทดลองใช้แล้วใน Twitter เวอร์ชันเว็บ
Twitch ออกมาตรการป้องกันปัญหากลั่นแกล้งหรือรุมด่ากันออนไลน์ ซึ่งช่วงหลังเกิดกับบรรดาสตรีมเมอร์ที่ถูกรุมถล่ม (แบบตั้งใจหรือเจาะจงตัว) ระหว่างสตรีมเกม
มาตรการของ Twitch คือสตรีมเมอร์สามารถตั้งค่าว่าคนที่จะเข้ามาร่วมแชทได้ ต้องยืนยันตัวตนด้วยโทรศัพท์หรืออีเมลเท่านั้น (Verified Chat) โดยสตรีมเมอร์สามารถตั้งค่าได้อย่างละเอียดว่า ให้บัญชีใดบ้างที่ต้องยืนยันตัวตน
สตรีมเมอร์ยังสามารถกำหนดเงื่อนไขยกเว้นให้ผู้ชมบางกลุ่ม เช่น VIP, Subscribers, Moderators ได้ด้วย
The New York Times และ FakeReporter กลุ่มเฝ้าระวังของอิสราเอลที่ศึกษาข้อมูลผิดๆ ทำการสำรวจร่วมกัน พบว่า ใน WhatsApp มีกรุ๊ปแชทอย่างน้อย 100 กลุ่มและ Telegram อีก 20กลุ่ม ที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการใช้ความรุนแรงต่อชาวปาเลสไตน์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มมีชื่อเรียกเช่น "Death to the Arabs", "The Jewish Guard" และ "The Revenge Troops" นอกจากนี้ หน่วยงานท้องถิ่นยังสามารถเชื่อมโยงกรุ๊ปแชทเหล่านี้กับเหตุการณ์รุนแรงหลายสิบครั้งต่อชาวปาเลสไตน์ที่เป็นพลเมืองของอิสราเอล
เหตุการณ์โลกที่กำลังตึงเครียดในช่วงนี้คือการปะทะกันระหว่างชาวปาเลสไต์และตำรวจอิสราเอล ซึ่งเป็นความตึงเครียดที่มีมานาน ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในย่าน Sheikh Jarrah โพสต์ภาพที่พวกเขาโดนขับไล่ในโซเชียลมีเดีย และพวกเขาพบว่ารูปและวิดีโอโดนลบออกจาก Instagram และบัญชี Twitter ของชาวปาเลสไตน์บางรายถูกระงับ ซึ่งทั้งสองแพลตฟอร์มออกมาตอบทีหลังว่าเป็นความผิดพลาดทางระบบอัตโนมัติ
7amleh องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เน้นงานด้านโซเชียลมีเดีย ได้รับการร้องเรียนมากกว่า 200 เรื่องเกี่ยวกับโพสต์ที่ถูกลบและบัญชีที่ถูกระงับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโพสต์เหตุการณ์ปะทะ
Facebook ประกาศแบนและจะลบเนื้อหาใดๆ ที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไม่มีอยู่จริง จากเดิมที่ Facebook พยายามวางตัวไม่แทรกแซงกับเนื้อหาเพราะไม่อยากกระทบเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็น ทำให้เนื้อหาจำพวกนี้ยังคงอยู่ในโซเชียลมีเดียที่มีคนใช้งานทั่วโลกได้
ที่ Facebook เพิ่งจะออกมาแบนเนื้อหาประเภทนี้ Monika Bickert รองประธานฝ่ายนโยบายเนื้อหาของ Facebook ให้เหตุผลว่าจากการสำรวจล่าสุดของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาที่มีอายุระหว่าง 18-39 ปีเกือบ 1 ใน 4 กล่าวว่าพวกเขาเชื่อว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นตำนานที่กล่าวเกินจริง หรือไม่แน่ใจว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ซึ่งเป็นระดับความไม่รู้ (ignorance) ที่น่าตกใจ
จากกรณีกราดยิงที่นิวซีแลนด์พร้อมไลฟ์สด ที่แพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Facebook/YouTube ไม่สามารถสกัดกั้นการเผยแพร่คลิปได้ ทำให้หลายประเทศตื่นตัวและเริ่มออกมาตรการคุมเข้ม เช่น ออสเตรเลียที่ออกกฎหมายเอาผิดแพลตฟอร์มไปเรียบร้อยแล้ว
สหราชอาณาจักรเป็นประเทศล่าสุดที่เตรียมเอาจริงในเรื่องนี้ โดยประกาศว่าจะเป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต (online safety laws)
Facebook ออกมาประกาศจะแบนเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธินิยมเชิดชูคนผิวขาวเหนือคนอื่นๆ โดยบริษัทระบุว่า แนวคิดเหล่านี้เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับกลุ่มที่สร้างความเกลียดชังซึ่งไม่ควรมีพื้นที่บนแพลตฟอร์มของ Facebook รวมทั้ง Instagram ด้วย
Facebook ระบุด้วยว่าในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาได้คุยกับสมาชิกของภาคประชาสังคมและนักวิชาการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติทั่วโลก ได้รับการยืนยันว่าลัทธิชาตินิยมผิวขาวและการพยายามแบ่งแยกคนผิวขาวออกจากกลุ่มอื่น ไม่สามารถแยกออกจากกลุ่มที่พยายามสร้างความเกลียดชังได้
Facebook บอกว่ายังต้องทำอีกมากในการใช้ machine learning ตรวจจับเนื้อหาดังกล่าว เบื้องต้นถ้ามีคนค้นหาเนื้อหาลัทธินิยมผิวขาว ระบบจะโยงผุ้ใช้เข้าไปยังเว็บไซต์ Life After Hate อัตโนมัติ เป็นเว็บองค์กรไม่แสวงหากำไรเพื่อให้ความรู้คนเรื่องความเกลียดชัง
Facebook เผยว่าได้กวาดล้างบัญชีในเมียนมาร์อีกครั้ง โดยลบบัญชีผู้ใช้งานออกไป 135 บัญชี, 425 เพจ, Facebook Groups 17 กลุ่ม และ Instagram 15 บัญชี โดยบัญชีและเพจที่ลบออกมีหลากหลายประเภททั้งข่าว ความสวยงาม ความบันเทิง ฯลฯ แต่เหตุผลที่ถูกลบ Facebook ไปพบความเชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมาร์
การกวาดล้างครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่เป็นการกวาดล้างใหญ่ที่สุดเท่าที่ Facebook เคยทำในเมียนมาร์ ก่อนหน้านี้ Facebook ได้ลบเพจพระที่ปลุกระดมความเกลียดชังชาวโรฮิงญา และแบนเพจนายพลที่มีส่วนเผยแพร่ความเกลียดชังออกไป เป้าหมายคือบรรเทาปัญหาความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องคนเชื่อข่าวปลอมใส่ร้ายชาวโรฮิงญา นำไปสู่ความเกลียดชังชนกลุ่มน้อย
Facebook พยายามแก้ไขปัญหาความเกลียดชังในพม่ามาได้ระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจาก Facebook เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นสำคัญต่อเหตุสลดและการฆาตกรรมชาวโรฮิงญา เช่น แบนเพจที่มีส่วนเผยแพร่ความเกลียดชัง เพิ่มบุคลากรแก้ปัญหานี้โดยตรง
Facebook เผยว่าในการแก้ปัญหาได้ร่วมมือกับ Business for Social Responsibility หรือ BSR องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ในการทำรายงานและหาแนวทางแก้ไขปัญหาในพม่า
ผลการรายงานคือ Facebook มีสิ่งต้องทำอีกมากในการแก้ปัญหานี้ ที่สำคัญที่สุดคือ Facebook ต้องบังคับใช้นโยบายด้านเนื้อหาอย่างเคร่งครัด และเพิ่มการมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพม่าและกลุ่มประชาสังคมในพม่าด้วย รวมทั้งต้องเตรียมรับมือกับข้อมูลเท็จข่าวปลอมที่อาจแพร่สะพัดในช่วงเลือกตั้งพม่าปี 2020
Facebook อัพเดตความเคลื่อนไหวต่อสถานการณ์ในพม่า ทำอะไรไปแล้วบ้างพร้อมระบุแนวทางดำเนินการในอนาคต Facebook ยอมรับว่าแก้ไขวิกฤตข่าวปลอมที่ส่งผลกระทบให้เกิดอาชญากรรมบนโลกจริงได้ช้ามาก และต้องรับผิดชอบเต็มที่ในฐานะที่คนพม่าใช้โซเชียลมีเดียเป็นอินเทอร์เน็ตสำหรับพวกเขา
โฆษก Facebook เผยกับ AFP ว่า ได้ลบเพจของพระวีรธุ พระชาวเมียนมาร์ที่ปลุกระดมสร้างความเกลียดชังต่อชาวโรฮิงญาออกไปตั้งแต่เดือนมกราคมแล้ว
พระวีรธุเป็นพระสงฆ์ผู้นำทางจิตวิญญาณของขบวนการต่อต้านมุสลิมในพม่า สนับสนุนให้ส่งชาวมุสลิมไปยังประเทศอื่น พระวีรธุยังเคยถูกขนานนามว่าเป็น Buddhist Bin Laden ด้านเพจ Facebook ของพระวีรธุในระยะหลัง ถูกใช้เป็นอีกช่องทางในการโจมตีชาวมุสลิมหรือโรฮิงญาด้วย
ทางโฆษก Facebook ระบุเพิ่มเติมว่า "มาตรฐานชุมชนของเราคือ ห้ามองค์กรและผู้คนใน Facebook ส่งเสริมความเกลียดชังและความรุนแรงต่อผู้อื่น ซึ่งหากมีคนแชร์เนื้อหาเกลียดชัง ทาง Facebook จะเริ่มดำเนินการจากแบนชั่วคราว ไปจนถึงลบเพจออก"
เยอรมนีผ่านกฎหมาย Network Enforcement Act ไปเมื่อกลางปี 2017 หากโซเชียลมีเดียไม่ยอมลบข้อความ Hate Speech ภายใน 24 ชั่วโมงจะต้องถูกปรับสูงสุด 60 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดกฎหมายดังกล่าวมีผลแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2018
กฎหมายระบุว่าโซเชียลมีเดียซึ่งมีผู้ใช่งานเกิน 2 ล้านคน เมื่อมีเนื้อหาที่ถูกรายงานว่าเป็น Hate Speech แล้วไม่ลบออกภายใน 24 ชั่วโมง จะต้องถูกปรับถึง 60 ล้านดอลลาร์ ซึ่งไม่เพียงมีผลต่อ Facebook, Twitter, Google แต่รายเล็กอย่าง Reddit, Tumblr, Vimeo, Flickr ก็ได้รับผลกระทบด้วย
กฎข้อห้ามการโพสต์บน Facebook คือ ต้องไม่เป็น Hate Speech หรือเข้าข่ายดูถูกเหยียดหยาม ข่มขู่คุกคามกลุ่มคนโดยใช้ศาสนา สีผิว ชาติพันธุ์เป็นข้ออ้าง แต่รายละเอียดของเนื้อหาที่เป็น Hate Speech ในตำราของ Facebook กับคนทั่วไปอาจไม่สอดคล้องกัน ผู้ใช้งาน Facebook ส่วนหนึ่งจึงยังพบโพสต์ Hate Speech บน Facebook แม้จะรายงานโพสต์ไปแล้วก็ตาม
Susan Wojcicki ซีอีโอ YouTube เขียนบล็อก เผยยอมรับว่า YouTube นอกจากจะเป็นพื้นที่แสดงความคิดสร้างสรรค์และเนื้อหาใหม่ๆ ในอีกทางหนึ่ง YouTube ก็สร้างปัญหาด้วย เพราะเป็นพื้นที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานบางรายแสดงความคิดเห็นไม่ดีและเป็นอันตราย พร้อมระบุว่าคนยังเป็นกำลังสำคัญในการจับตามองพฤติกรรมไม่ดีบนแพลตฟอร์ม
Wojcicki ระบุว่าในปี 2018 YouTube จะเพิ่มคนระบุเนื้อหาผิดนโยบาย YouTube ให้ถึง 1 หมืื่นคน เธอบอกว่าที่ผ่านมาอัลกอริทึมสามารถตรวจจับคอนเทนต์รุนแรงและสามารถลบออกจากแพลตฟอร์มได้อย่างแม่นยำ ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ระบบปักหมุดคลิปรุนแรงได้ 150,000 คลิป และ 98% ถูกนำออกภายในหกชั่วโมง อย่างไรก็ตามอัลกอริทึมยังตรวจจับคอมเมนท์แสดงความโกรธที่เลยเถิดไปเป็น Hate Speech ได้ยาก เพื่อให้คำมั่นสัญญาว่าปัญหานี้จะบรรเทาลง จึงจำเป็นต้องเสริมกำลังคนเช้ามาด้วย
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Edinburgh ตรวจสอบบัญชีทวิตเตอร์ปลอม ซึ่งมีที่มาจากรัสเซียจำนวนกว่า 2,000 บัญชีที่มีส่วนกับการเมืองในสหรัฐอเมริกา มี 419 บัญชีที่พยายามแพร่ข้อมูลป่วนช่วงลงมติ Brexit ด้วย เนื้อหาส่วนหนึ่งพยายามกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเกลียดชังคนมุสลิม
ประเด็นคุกคามและความรุนแรงบนทวิตเตอร์มีมาให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในอินเดีย ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งชื่อ Dhanya Rajendran เป็น บก.เว็บไซต์อินเดียที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงคือ The News Minute โพสต์ว่าเธอไปดูหนังที่ Vijay ดาราชื่อดังในอินเดียแสดง และเดินออกจากโรงกลางคัน (ประมาณว่าวิจารณ์หนังไม่สนุก)
หลังจากนั้นไม่กี่นาทีผู้ใช้รายอื่นต่างด่าทอเธอด้วยคำหยาบคาย และข่มขู่เธอผ่านเมนชั่นในทวิตเตอร์ และแฮชแทก #PublicityBeepDhanya ก็ขึ้นเทรนด์ 5 อันดับแรกอย่างรวดเร็ว และขึ้นเทรนด์อยู่หลายชั่วโมงกว่าทวิตเตอร์จะลบออก
Rajendran ระบุว่ามีการแจ้งเตือนมากกว่า 31,000 รายการในทวิตเตอร์ บางคนด่าทอเธอด้วยคำหยาบ ขู่จะข่มขืนเธอ การคุกคามนี้เป็นข่าวดังในสื่ออินเดีย หลายคนออกมาประณามการกระทำดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ไม่กี่วันมีประเด็นร้อนแรงในทวิตเตอร์ จากข่าวฉาวคุกคามทางเพศดาราของ Harvey Weinstein โปรดิวเซอร์ชื่อดังแห่งวงการฮอลลีวูด จนดาราทยอยออกมาแฉพฤติกรรมของเขา
หนึ่งในนั้นคือ Rose McGowan เธอโพสต์เรื่องนี้ลงทวิตเตอร์ แต่ทวิตเตอร์กลับระงับบัญชีของเธอด้วยเหตุผลละเมิดกฎบนแพลตฟอร์ม ส่งผลให้ทวิตเตอร์ถูกวิจารณ์อย่างหนาหู
วันศุกร์ที่ผ่านมา Jack Dorsey ซีอีโอโพสต์ทวิตเตอร์ว่า ทางบริษัทกำลังร่างกฎระเบียบใหม่ที่เข้มงวดกว่าเดิมเพื่อต่อสู้กับคอนเทนต์รุนแรง ภาพโป๊ สัญลักษณ์แสดงความเกลียดชัง
อังกฤษเตรียมใช้วิธีจัดการอาชญากรรมจากความเกลียดชัง (hate crime) ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ให้เหมือนกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นบนโลกแห่งความจริง
Alison Saunder อัยการสูงสุด ระบุว่า สำนักงานอัยการ (The Crown Prosecution Service: CPS) จะดำเนินคดีผู้ที่กระทำผิดกฎหมายด้วยการร้องขอให้ศาลพิจารณาโทษ สำหรับผู้ที่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็น Twitter, Facebook ฯลฯ ในการล่วงละเมิดผู้อื่น โดยแผนการดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องขอให้สภาผ่านกฎหมายใหม่
โซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ใหญ่เริ่มมาตรการแบนคอนเทนต์ขวาจัด ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ปะทะระหว่างฝ่ายนิยมผิวขาวแบบสุดโต่งกับฝ่ายต้านการเหยียดผิวที่เมืองชาร์ล็อตต์วิลล์ รัฐเวอร์จิเนีย เว็บไซต์สตรีมมิ่งเพลง Spotify ก็ใช้นโยบายแบนด้วย โดยแบนวงดนตรีที่มีเนื้อหาแสดงความเกลียดชังออกจากแพลตฟอร์ม
เว็บไซต์ Propublica เผยรายงานเอกสารสอนระบบอัลกอริทึมภายใน Facebook ที่ทำหน้าที่คัดกรอง Hate Speech พบเอกสารบางชุดสอนระบบให้ปกป้องคนขาวจาก Hate Speech มากกว่าผู้หญิงและเด็กผิวสี
เอกสารฝึกอบรมระบบที่กำลังเป็นประเด็นตอนนี้คือ คำถามว่า เราจะปกป้องคนกลุ่มใดจาก hate Speech โดยให้ระบบเลือกหนึ่งในสามภาพ ประกอบด้วย คนขับรถผู้หญิง (Female Drivers) เด็กผิวสี (Black Children) และ คนขาว (White Men) ปรากฏว่าระบบเลือกข้อสามคือคนขาว
AppNexus ผู้ให้บริการและควบคุมโฆษณาบนแพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหญ่ ออกแถลงการณ์ต่อต้านเว็บไซต์ Breitbart News เนื่องจากตัวเว็บไซต์มีเนื้อหารุนแรง เหยียดชาติพันธุ์และเต็มไปด้วย Hate Speech
สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยชื่อ Breitbart News ต้องบอกว่ากำลังเป็นที่จับตามอง เพราะ Steve Bannon ว่าที่มือขวาของโดนัลด์ ทรัมป์ ด้านยุทธศาสตร์ เป็นอดีตประธานกรรมการบริหารของ Breitbart News ด้วย
หลายท่านคงทราบแล้วว่าปัจจุบันอาชญากรรมออนไลน์ โดยเฉพาะการสร้างความเกลียดชังเกิดขึ้นมากขึ้นและส่งผลกระทบถึงชีวิตโดยเฉพาะวัยรุ่น แม้กระบวนการปัจจุบันจะเริ่มดีขึ้น แต่ก็มักเป็นมาตรการเชิงรับ อย่างไรก็ตาม วันนี้ตำรวจนครอังกฤษได้จัดตั้งหน่วยสืบสวนอาชญากรรมสร้างความเกลียดชังออนไลน์ดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้ หน่วยงานดังกล่าวเป็นโครงการทดลองจัดตั้งหน่วยสืบสวนกลางจากตำรวจที่ได้รับการอบรมมาโดยเฉพาะ เพื่อคอยสอดส่องและติดตามการก่ออาชญากรรมด้วยการสร้างความเกลียดชัง รวมทั้งสร้างประชาคมเพื่อต่อต้านการก่ออาชญากรรมฯ ไม่ให้เกิดขึ้น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีกำหนด 2 ปี คาดว่าใช้งบประมาณรวม £ 1,730,726