Steam ถอดเกมยิงธีมสงครามอิสราเอล vs ปาเลสไตน์ (จากมุมมองฝั่งปาเลสไตน์) ออกจากหน้าเว็บในสหราชอาณาจักร ตามคำขอของหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้ายของสหราชอาณาจักร (Counter Terrorism Internet Referral Unit หรือ CTIRU)
เกมนี้มีชื่อว่า Fursan al-Aqsa: The Knights of the Al-Aqsa Mosque (ยังเข้าได้จาก Steam ในประเทศอื่นๆ) สร้างโดยนักพัฒนาเกมอิสระชื่อ Nidal Nijm จากบราซิล ซึ่งระบุว่าตัวเองเป็นมุสลิม พัฒนาเกมนี้มาตั้งแต่ปี 2022 โดยใช้เอนจิน Unreal
Paddy Cosgrave ซีอีโอของ Web Summit ที่มีปัญหาจากคอมเมนต์เกี่ยวกับอิสราเอล จนสปอนเซอร์ถอนตัว ประกาศลาออกจากตำแหน่งซีอีโอแล้ว
แถลงการณ์ของ Cosgrave บอกว่าความเห็นส่วนตัวของเขาสร้างผลกระทบต่องาน Web Summit, ทีมงาน, สปอนเซอร์, ผู้เข้าร่วมงาน เขาจึงแสดงความขอโทษอีกครั้งต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเห็นของเขา
Web Summit บอกว่าจะหาซีอีโอคนใหม่โดยเร็ว ส่วนงาน Web Summit Lisbon ที่โปรตุเกสในเดือนพฤศจิกายน จะยังจัดต่อไปตามกำหนดเดิม แม้มีสปอนเซอร์และผู้ร่วมงานบนเวทีถอนตัวออกไปเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม
บริษัทไอทียักษ์ใหญ่หลายราย เช่น Google, Meta, Amazon, Intel, Siemens, Stripe ทยอยถอนตัวจากการเข้าร่วม Web Summit งานสัมมนาด้านไอทีที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป หลัง Paddy Cosgrave ซีอีโอของ Web Summit โพสต์วิจารณ์นักการเมืองชาติตะวันตกที่ให้การสนับสนุนอิสราเอลในสงครามกับฮามาส
Web Summit จัดงานสัมมนาในภายทวีป แต่งานใหญ่ประจำปีคือ Web Summit Europe ที่เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส งานปีนี้จัดขึ้น 13-16 พฤศจิกายน 2023
Thierry Breton กรรมาธิการยุโรปด้านตลาดในสหภาพยุโรปส่งจดหมายถึง Mark Zuckerberg ขอให้ตระหนักในการนำข่าวปลอมออกจากแพลตฟอร์ม เนื่องจากสหภาพยุโรปเห็นข่าวปลอมบนแพลตฟอร์มในประเด็นการโจมตีระหว่างอิสราเอลและฮามาสเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จึงขอให้ Mark Zuckerberg ปฏิบัติตามอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง
Meta มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบและลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมายเช่น เนื้อหาของผู้ก่อการร้าย, คำพูดแสดงความเกลียดชัง ภายใต้กฎหมาย Digital Services Act ของยุโรป ถ้าไม่ปฏิบัติตามอาจส่งผลให้เสียค่าปรับ 6% จากรายได้ต่อปีของบริษัท
Instagram เผยกับ Financial Times ว่า กำลังปรับปรุงอัลกอริทึมใน Stories ให้แสดงเนื้อหาที่อยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น หลังพนักงาน Instagram ร่วม 50 คนแสดงความกังวลว่าผู้ใช้งานมองไม่เห็นเนื้อหาสนับสนุนชาวปาเลสไตน์
โฆษก Instagram ระบุว่า ตอนนี้แพลตฟอร์มกำลังจัดอันดับการแสดงเนื้อหาให้เท่าเทียมกันทั้งเนื้อหาออริจินัล และเนื้อหาที่คนนำไปโพสต์ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้โพสต์อิงกับสถานการณ์ด่วนถูกพบเจอมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีผู้ใช้ที่แชร์โพสต์เกี่ยวกับความขัดแย้งล่าสุดในฉนวนกาซาเพิ่มขึ้น แต่วิธีการตั้งค่าแอปของ Instagram ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อจำนวนคนที่เห็นโพสต์มากกว่าที่คาดไว้
ก่อนหน้านี้ พนักงานกูเกิลยื่นจดหมายถึงซีอีโอเรียกร้องให้ออกมาประณามความรุนแรงในปาเลสไตน์ ล่าสุดพนักงานแอปเปิลก็ยื่นจดหมายถึง ทิม คุกในลักษณะเดียวกันด้วย มีพนักงานร่วมลงชื่อหลักพันราย
The New York Times และ FakeReporter กลุ่มเฝ้าระวังของอิสราเอลที่ศึกษาข้อมูลผิดๆ ทำการสำรวจร่วมกัน พบว่า ใน WhatsApp มีกรุ๊ปแชทอย่างน้อย 100 กลุ่มและ Telegram อีก 20กลุ่ม ที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการใช้ความรุนแรงต่อชาวปาเลสไตน์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มมีชื่อเรียกเช่น "Death to the Arabs", "The Jewish Guard" และ "The Revenge Troops" นอกจากนี้ หน่วยงานท้องถิ่นยังสามารถเชื่อมโยงกรุ๊ปแชทเหล่านี้กับเหตุการณ์รุนแรงหลายสิบครั้งต่อชาวปาเลสไตน์ที่เป็นพลเมืองของอิสราเอล
กลุ่มพนักงานในกูเกิลเขียนจดหมายถึง Sundar Pichai ซีอีโอ เรียกร้องให้เพิ่มการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ ท่ามกลางการทิ้งระเบิดร้ายแรงของกองทัพอิสราเอลในฉนวนกาซา ซึ่งเหตุการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ขอให้ Pichai ออกแถลงการณ์ประณามการโจมตีดังกล่าว และให้ตระหนักรู้ถึงอันตรายที่เกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์ จนถึงตอนนี้มีผู้ร่วมลงชื่อในจดหมาย 250 รายแล้ว
หลังเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์รุนแรงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ เว็บไซต์ IGN และ Game Informer สองเว็บสื่อชั้นนำในวงการเกม ได้โพสต์ลิงก์ช่องทางการบริจาคเพื่อช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ แต่สุดท้ายก็ลบออกไปทั้งสองเว็บ
ก่อนบทความจะถูกลบ ฝั่ง IGN อิสราเอล ได้ออกมาโพสต์ Instagram ประณามการโพสต์บทความช่องทางบริจาคให้ปาเลสไตน์ของ IGN สหรัฐฯ พร้อมสนับสนุนกองกำลัง IDF และระบุว่าความเห็นของ IGN สหรัฐฯ ไม่ได้สะท้อนมุมมอง IGN สาขาอื่น
เหตุการณ์โลกที่กำลังตึงเครียดในช่วงนี้คือการปะทะกันระหว่างชาวปาเลสไต์และตำรวจอิสราเอล ซึ่งเป็นความตึงเครียดที่มีมานาน ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในย่าน Sheikh Jarrah โพสต์ภาพที่พวกเขาโดนขับไล่ในโซเชียลมีเดีย และพวกเขาพบว่ารูปและวิดีโอโดนลบออกจาก Instagram และบัญชี Twitter ของชาวปาเลสไตน์บางรายถูกระงับ ซึ่งทั้งสองแพลตฟอร์มออกมาตอบทีหลังว่าเป็นความผิดพลาดทางระบบอัตโนมัติ
7amleh องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เน้นงานด้านโซเชียลมีเดีย ได้รับการร้องเรียนมากกว่า 200 เรื่องเกี่ยวกับโพสต์ที่ถูกลบและบัญชีที่ถูกระงับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโพสต์เหตุการณ์ปะทะ
เมืองเล็กในเบธเลเฮม ที่ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระเยซูมีนักท่องเที่ยวไปมากทุกปี โดยเฉพาะช่วงคริสต์มาสนี้ ล่าสุดมีนักท่องเที่ยวมากจนต้องใช้แอพพลิเคชั่นในการจองคิวเพื่อเข้าเยี่ยมชมสถานที่กันแล้ว
โดยจุดหนึ่งในเบธเลเฮมที่มีคนเข้าชมหนาแน่นมากคือห้องใต้ดินใน Church of the Nativity หรือ โบสถ์พระคริสตสมภพ ซึ่งเป็นจุดที่เชื่อว่าพระเยซูประสูติ และเนื่องจากตัวโบสถ์มีผู้เข้าชมหลากหลาย ทั้งที่มาสวดภาวนา และเป็นนักท่องเที่ยว การมีแอพพลิเคชั่นทำให้คนรู้ว่าควรเข้ามาในเวลาไหน เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย
ชาวปาเลสไตน์ได้ออกมาเรียกร้อง Google Maps ผ่านทาง #PalestineIsHere ให้ใส่ดินแดนปาเลสไตน์กลับเข้าไปในแผนที่ หลังจากกลุ่มนักหนังสือพิมพ์ชาวปาเลสไตน์ประกาศประณามการกระทำดังกล่าวจนเป็นกระแสตามสื่อสังคมออนไลน์
ความเป็นจริงคือ Google Maps ไม่ได้แสดงผลชื่อรัฐปาเลสไตน์ตั้งแต่แรก แต่มีชื่อประเทศอิสราเอล แม้จะมีการลากเส้นอาณาเขตอย่างถูกต้องก็ตาม นอกจากนี้หากค้นหาปาเลสไตน์ หรือคลิกชื่อเมืองบนแผนที่ผลการค้นหาที่เชื่อมกับวิกิพีเดียก็ยังแสดงผลข้อมูลได้อย่างถูกต้อง แต่ปัญหาล่าสุดที่พบโดยทางกูเกิลเองหลังจากเกิดกรณีนี้ขึ้นคือ บัก ที่ทำให้เวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา หายไปจากการแสดงผลของแผนที่