macOS High Sierra 10.13.4 อัพเดตล่าสุด เพิ่มฟีเจอร์ใหม่คือรองรับจีพียูภายนอก (external GPU หรือ eGPU) ผ่านพอร์ต Thunderbolt 3
ในโอกาสนี้แอปเปิลจึงอัพเดตข้อมูลบนเว็บไซต์ ระบุรายชื่อของจีพียูที่รองรับ ซึ่งตอนนี้ยังมีแค่ฝั่ง AMD เท่านั้น ไม่มีจีพียูฝั่ง NVIDIA แต่อย่างใด
แอปเปิลยังเตือนว่าให้ระวังเรื่องพลังงาน เพราะการต่อเชื่อมกับกล่อง eGPU ต้องมีไฟพอที่ทั้งรันจีพียูและชาร์จคอมพิวเตอร์ด้วย รายชื่อสินค้าที่รองรับทั้งหมดสามารถดูได้จากที่มา
CTS-Labs บริษัทวิจัยความปลอดภัยจากอิสราเอลเปิดเผยช่องโหว่โจมตีซีพียู AMD Ryzen และ EPYC สี่ช่องโหว่ หลังจากแจ้งเอเอ็มดีล่วงหน้าเพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมง โดยบริษัทระบุว่าข้อมูลที่เปิดเผยออกมาไม่เพียงพอสำหรับการโจมตี แต่บริษัทส่งข้อมูลเต็มให้กับเอเอ็มดี, ไมโครซอฟท์, และบริษัทอื่นอีกไม่กี่บริษัทเพื่อสร้างแพตช์และแก้ไขปัญหา
ช่องโหว่ที่เปิดเผยออกมามีสี่ช่องโหว่ ได้แก่
เอเอ็มดีเปิดตัว AMD Ryzen APU ชุดใหม่ที่เพิ่มส่วนกราฟิก Vega มาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยลูกค้าสามารถใส่ซีพียูลงเมนบอร์ด AM4 ได้โดยไม่ต้องซื้อเมนบอร์ดใหม่ ปัญหาคือบอร์ดบางรุ่นต้องอัพเดตเฟิร์มแวร์ก่อนจึงจะบูตด้วย APU เหล่านี้ได้ ตอนนี้ทางเอเอ็มดีก็มีทางออกสำหรับคนที่ซื้อเครื่องใหม่แล้วไม่มีซีพียูมาบูตเพื่ออัพเดตไบออส คือ ให้ยืมซีพียูไปบูตเครื่องก่อนได้
เอเอ็มดีเรียกซีพียูที่ให้ยืมนี้ว่า "boot kit" เป็น A6-9500 โดยผู้ใช้ต้องลงทะเบียนทางหน้าประกันของเอเอ็มดี แล้วแจ้งว่าจำเป็นต้องใช้ boot kit จะได้รับข้อความยืนยันทางอีเมล
Lisa Su ซีอีโอของ AMD ตอบคำถามเรื่อง Spectre & Meltdown ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 4/2017 โดยย้ำข้อมูลเดิมที่เคยประกาศไปแล้วว่า
ส่วนในแง่การดีไซน์ซีพียูเพื่อแก้ช่องโหว่ Spectre จะเกิดขึ้นในแกน Zen 2 รุ่นหน้า โดยมีกำหนดออกในปี 2019 (ปี 2018 จะเป็น Ryzen ตัวใหม่ที่ใช้แกน Zen+ ซึ่งยังเป็นสถาปัตยกรรมเดิม)
AMD รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2017 รายได้รวม 1,480 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 34% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 61 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Dr. Lisa Su กล่าวว่า ภายรวมตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา AMD มีรายได้เพิ่มขึ้น 25% จากการปรับพอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑ์ ทำให้ตลอดทั้งปีสามารถทำกำไรได้ ซึ่งในปี 2018 นี้จะมีผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงออกมา และเสริมให้ AMD เป็นบริษัททางเทคโนโลยีที่มีการเติบโตในระยะยาว
AMD ระบุว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากยอดขายที่แข็งแกร่งทั้งสินค้าตระกูล Radeon และ Ryzen โดยถ้าพิจารณาเฉพาะสินค้ากลุ่มกราฟิกนั้นรายได้เพิ่มขึ้นถึง 60%
ถึงแม้ซีพียูค่าย AMD จะไม่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ Meltdown แต่ก็ยังมีช่องโหว่ Spectre ที่ค้นพบโดย Project Zero เช่นกัน
AMD ประกาศข้อมูลเกี่ยวกับแพตช์ของซีพียูตัวเอง ดังนี้
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์ Meltdown/Spectre มาตั้งแต่วันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นแพตช์ที่แก้ไขการทำงานเคอร์เนล ทำให้มีปัญหากับซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสบางตัวโดยไมโครซอฟท์รับรู้ปัญหานี้ตั้งแต่ระหว่างทดสอบแพตช์
ทางแก้คือไมโครซอฟต์กำหนดให้เครื่องที่จะได้รับแพตช์วันที่ 3 มกราคม ต้องตั้งค่าในรีจิสตรี SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\QualityCompat
เอาไว้ล่วงหน้า ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับแพตช์ หากติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสเอาไว้ แม้จะเป็นของฟรีเช่น Microsoft Security Essentials เมื่ออัพเดตซอฟต์แวร์ที่รองรับแพตช์ใหม่เรียบร้อยแล้ว ตัวป้องกันไวรัสก็จะเขียนรีจิสตรีนี้ให้เอง แต่หากไม่ได้ติดตั้งตัวป้องกันไวรัสใดๆ เลยจะต้องตั้งค่ารีจิสตรีนี้ด้วยตัวเอง
AMD ใช้เวทีงาน CES 2018 เปิดตัวสินค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะฝั่งซีพียู Ryzen
อย่างแรกคือ Ryzen เวอร์ชันเดสก์ท็อป แบบผนวกจีพียู Radeon Vega มาให้ด้วย มี 2 รุ่นย่อยคือ Ryzen 5 2400G (4 คอร์ 8 เธร็ด) และ Ryzen 3 2200G (4 คอร์ 4 เธร็ด) ซึ่งเราคงได้เห็นมันถูกนำมาใช้ในเดสก์ท็อปเกมมิ่งระดับล่างๆ
ฝั่งโน้ตบุ๊กก็ขยายไลน์ของ Ryzen Mobile เพิ่มเติม จากปีก่อนเปิดตัว Ryzen 5 และ Ryzen 7 ไป ปีนี้ก็ตามมาด้วย Ryzen 3 ที่มีสองรุ่นย่อยคือ 2300U (4 คอร์ 4 เธร็ด) และ 2200U (2 คอร์ 4 เธร็ด) นอกจากนี้ยังมี Ryzen Pro Mobile สำหรับโน้ตบุ๊กภาคธุรกิจด้วย มี 3 รุ่นย่อยคือ 2700U, 2500U, 2300U
จากที่ อินเทลเคยประกาศไว้ว่าจะใช้จีพียูของ AMD และเพิ่งมีข่าวหลุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็ได้เวลาของข่าวอย่างเป็นทางการรับงาน CES 2018
ชื่ออย่างเป็นทางการของซีพียูตัวนี้คือ 8th Gen Intel Core processor with Radeon RX Vega M Graphics (ยาวมาก)
เอเอ็มดีออกประกาศผลกระทบของช่องโหว่ speculated execution ที่กระทบซีพียูแทบทุกตระกูล และรายงานของ Project Zero ยืนยันว่าซีพียูเอเอ็มดีกระทบบางส่วน โดยระบุว่าส่วนที่ซีพียูเอเอ็มดีได้รับผลกระทบสามารถแก้ไขได้ด้วยซอฟต์แวร์ และคาดว่าจะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพเพียงเล็กน้อย
เอเอ็มดีชี้แจงถึงช่องโหว่ทั้งสาม ระบุว่า
Project Zero รายงานช่องโหว่ซีพียูที่พบตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และกลายเป็นต้นกำเนิดของแพตช์ KPTI ที่ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องลดลง ตอนนี้ทางโครงการก็ปล่อยรายละเอียดออกมาแล้ว โดยมีการโจมตีสองแบบ สาม CVE และสี่รูปแบบการโจมตี
Intel ได้อธิบายอย่างเป็นทางการถึงช่องโหว่ความปลอดภัยบนชิพซึ่งเกิดจากการออกแบบ โดยช่องโหว่นี้เปิดให้แฮกเกอร์ที่รันโค้ดในระดับผู้ใช้สามารถรู้ตำแหน่งของฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในเคอร์เนลได้ ซึ่งตำแหน่งของเคอร์เนลนี้ควรจะถูกซ่อนไว้จากระดับผู้ใช้ โดยในคำอธิบาย Intel ไม่ใช่คำว่าช่องโหว่ แต่ใช้คำว่า software analysis method ซึ่งทำให้สามารถเห็นและเก็บข้อมูลสำคัญจากอุปกรณ์ได้ แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะใส่สิ่งเจือปน, ลบ หรือแก้ไขข้อมูลได้ และตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานการใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตี
อินเทลประกาศจะใช้ส่วนกราฟิกของเอเอ็มดีมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน แต่จนตอนนี้ก็ยังไม่มีก็ยังไม่มีข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม จนกระทั่งอินเทลอินเดียนำข้อมูล Core i7-8809G ขึ้นเว็บ
Core i7-8809G เป็นซีพียู 4 คอร์ 8 เธรด รองรับแรม DDR4-2400 และใช้ส่วนกราฟิกทั้ง Intel HD630 และ Radeon RX Vega M
อัตราการปล่อยความร้อนของ i7-8809G ตั้งเป้าไว้ที่ 100 วัตต์ ใกล้เคียงกับซีพียู 4 คอร์อื่นๆ
ที่มา - PC World
ความพยายามของ AMD เพื่อกลับมาในตลาดเซิร์ฟเวอร์เริ่มเห็นผล หลังการเปิดตัวซีพียู EPYC ก็เริ่มมีผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์หลายรายนำไปใช้งาน ล่าสุด Microsoft Azure เป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรกที่เปิดให้ใช้เครื่องที่เป็น EPYC แล้ว
Azure จะเริ่มให้บริการ EPYC ใน VM ซีรีส์ใหม่ที่เรียกว่า Lv2 ที่เน้นงานด้านสตอเรจ มีประสิทธิภาพด้าน I/O สูง เหมาะกับการรันฐานข้อมูลอย่าง MongoDB, Cassandra, Cloudera โดยมันจะใช้ AMD EPYC 7551 ความถี่ 2.2GHz และสามารถขยายซีพียูเสมือนได้สูงสุด 64 ตัว แรม 512GB
AMD ประกาศความร่วมมือกับ Qualcomm เพื่อสร้างแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์พีซีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (วิสัยทัศน์เดียวกับ Always Connected PC ของไมโครซอฟท์ และเปิดตัวในเวทีงาน Qualcomm งานเดียวกัน)
ภายใต้ความร่วมมือนี้ AMD จะนำโมเด็ม Snapdragon LTE ที่รองรับความเร็วระดับ Gigabit LTE ไปผนวกกับ Ryzen Mobile ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กของตัวเองด้วย ส่งผลให้ AMD มีโซลูชันสำหรับโน้ตบุ๊กในอนาคตครบถ้วน นั่นคือ Ryzen ในฐานะซีพียู บวกกับ Radeon Vega จีพียูสมรรถนะสูง และเชื่อมต่อ LTE ตลอดเวลา
ขั้นต่อไปก็รอบรรดาผู้ผลิตโน้ตบุ๊ก นำโซลูชันของ AMD+Qualcomm ไปใช้งาน ซึ่งก็น่าจะเปิดตัวกันในงาน CES 2018 ต้นปีหน้า
ปีนี้นอกจาก Ryzen แล้ว AMD ยังมี EPYC ซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์มาทำตลาดด้วยอีกตัว
ล่าสุด AMD ประกาศเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ EPYC จากผู้ผลิตหลายราย เช่น ASUS, BOXX, EchoStreams, Gigabyte, HPE, Penguin Computing, Supermicro, TYAN โดยมีกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันไป เช่น เซิร์ฟเวอร์ของ ASUS เน้นตลาด HPC/Virtualization หรือ HPE เน้นที่งานประมวลผลที่ซับซ้อน
นอกจากนี้ยังมีเครื่อง Inventec P47 ที่ใช้ EPYC เป็นซีพียูร่วมกับ Radeon Instinct อีก 4 ตัว ทำสมรรถนะได้ 12.3 TFLOPS ซึ่งถ้าใช้เครื่องนี้ 20 เครื่องก็สามารถอัดขึ้นไปแตะหลัก PetaFLOPS ได้ด้วย ของจะเริ่มวางขายในไตรมาสแรกของปี 2018
ช่วงนี้อินเทลมีความเคลื่อนไหวด้านจีพียูอย่างมาก ทั้งข่าว Core รุ่นใหม่ใช้จีพียูจากเอเอ็มดี และ การดึงตัว Raja Koduri หัวหน้าทีมจีพียูเอเอ็มดีมาร่วมทีม ทำให้คนที่ได้รับผลกระทบจากข่าวนี้มากที่สุดคือ NVIDIA
ซีอีโอ Jensen Huang ตอบคำถามเรื่องนี้ในงานแถลงผลประกอบการของ NVIDIA ดังนี้
ไม่ต้องรอกันนาน อินเทลประกาศวันนี้ว่า Raja Koduri อดีตหัวหน้าฝ่าย Radeon ของ AMD ที่ประกาศลาออกไปวันก่อน จะเข้ามารับตำแหน่งใหม่เป็นรองประธานฝ่าย Core and Visual Computing รวมทั้งตำแหน่ง Chief Architect และผู้จัดการฝ่าย Edge Computing
อินเทลระบุว่าตำแหน่งของ Koduri นั้นจะมาผลักดันธุรกิจด้านจีพียูให้กับอินเทล เพื่อขยายฐานสู่ตลาดใหม่ๆ มากขึ้น จากความต้องการใช้จีพียูที่เพิ่มขึ้นตลอด
ในรายงานของอินเทลนี้ระบุชัดเจนว่า Koduri ลาออกจาก AMD มาทำงานให้กับอินเทล จึงเป็นไปได้ว่าเขาจะร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความร่วมมือของทั้งสองบริษัทที่ประกาศไปเมื่อต้นสัปดาห์
Raja Koduri หัวหน้าฝ่าย Radeon Technologies Group (RTG) ของเอเอ็มดีประกาศลาออก หลังจากย้ายมาจากแอปเปิลตั้งแต่ปี 2013 ประกาศลาออกจากบริษัทโดยดูจะเป็นการลาออกด้วยดี ตัว Raja เองเขียนอีเมลประกาศการลาออกและขอบคุณผู้ร่วมงาน และทางเอเอ็มดีก็ขอบคุณเขาที่เป็นส่วนหนึ่งของทีม โดยตอนนี้ Lisa Su ซีอีโอของบริษัทจะเข้ามาดูแล RTG ไปพลาง
ก่อนหน้านี้ Raja อยู่ระหว่างการพักระยะยาวสองเดือนกับครอบครัว โดยระบุว่าต้องการใช้เวลากับครอบครัวหลังจากทุ่มเทกับ Vega มานาน กำหนดเดิมเขาจะกลับมาทำงานเดือนธันวาคมนี้ แต่ก็มาลาออกเสียก่อน
ทาง WCCF Tech รายงานข่าวต่อจากเรื่องนี้จากแหล่งไม่เปิดเผยตัวว่า Raja กำลังไปทำงานกับอินเทล โดยจะประกาศเป็นทางการเร็วๆ นี้
ข่าวลืออินเทลเตรียมใช้งานชิปกราฟิกจากเอเอ็ม มีมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยเมื่อต้นปีก็มีข่าวลืออีกรอบว่าจะใช้กราฟิกของเอเอ็มดีจับคู่กับชิป Core รุ่นที่ 7 ตอนนี้อินเทลก็เปิดข้อมูลชิป Core รุ่นที่ 8 โดยระบุว่า Core ตระกูล H จะใส่ส่วนกราฟิก AMD Radeon มาด้วยในแพ็กเกจ
ข้อได้เปรียบสำคัญของการรวมส่วนกราฟิกจากเอเอ็มดีเข้าไว้ในแพ็กเกจเดียวกันคือขนาดชิปโดยรวมจะเล็กลงมาก ทำให้ขนาดบอร์ดโน้ตบุ๊กโดยรวมเล็กลงและเบาลง
เอเอ็มดีเพิ่งประกาศผลประกอบการทำกำไร แต่เมื่อวานนี้ทาง Morgan Stanley ก็ออกรายงานวิเคราะห์หุ้นเอเอ็มดีพร้อมกับลดระดับหุ้นลงเหลือ underweight จาก equalweight โดยเหตุผลหลักคือเชื่อว่าตลาดการขุดเงินดิจิตัลจะหดตัวลงอย่างรวดเร็ว
รายงานเชื่อว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาจากการขายชิปกราฟิกไปขุดเงินจำนวนมาก และเชื่อว่าตลาดนี้จะอยู่ได้ไม่นาน โดยจะลดลงเหลือครึ่งเดียวในปีหน้า ทำให้รายได้หายไป 250 ล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกันตลาดอื่นเช่นคอนโซลก็น่าจะหดตัวลง 5.5% ขณะที่ตลาดซีพียูเอเอ็มดียังสร้างกระแสได้ไม่ดีนัก
หุ้นเอเอ็มดีตกหลังจากรายงานนี้ออกมาลงไปต่ำสุดที่ 10.68 ดอลลาร์ หรือประมาณ -9% ก่อนจะกลับขึ้นมาได้เล็กน้อย
AMD เปิดตัว Ryzen Mobile อย่างเป็นทางการ หลังโชว์ข้อมูลครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ว่าจะวางขายสินค้าในช่วง Q3-Q4 ของปี
ซีพียูที่เปิดตัวมี 2 รุ่นคือ Ryzen 7 2700U และ AMD Ryzen 5 2500U ทั้งสองตัวมีอัตราการใช้พลังงาน TDP 15 วัตต์, เป็นซีพียู 4 คอร์ 8 เธร็ด และผนวกจีพียู Radeon Vega มาให้ในตัว
จุดต่างคือ Ryzen 7 2700U ใช้สัญญาณนาฬิกาซีพียูสูงสุดที่ 3.8GHz, จีพียู Radeon Vega 10 มี compute unit 10 ตัว สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1.3GHz ส่วน Ryzen 5 2500U ใช้สัญญาณนาฬิกาซีพียู 3.6GHz, จีพียู Radeon Vega 8 มี compute unit 8 ตัว สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1.1GHz
AMD รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3/2017 มีรายได้ 1,643 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยมีการเติบโตหลักจากสินค้าตระกูล Radeon และ Ryzen สุทธิแล้วบริษัทมีกำไร 71 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายไตรมาสที่ AMD มีกำไร
ซีอีโอ Lisa Su กล่าวว่าสินค้ากลุ่มประสิทธิภาพสูงของบริษัทได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า ส่งผลให้รายได้เติบโตและการเงินบริษัทดีขึ้นมากจากปีก่อน รวมทั้งถือเป็นหลักไมล์สำคัญอีกครั้งที่บริษัทจะเติบโตต่อจากนี้
ที่มา: AMD
AMD เอาใจนักขุดเหมือง ด้วยการออกไดรเวอร์ AMDGPU-Pro Beta Mining Driver for Linux เป็นการเฉพาะ
ไดรเวอร์ตัวนี้ออกแบบมาสำหรับงานประมวลผล blockchain และไม่แนะนำสำหรับงานกราฟิกหรือเกมมิ่ง สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือรองรับ "เพจ" ของหน่วยความจำ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จากค่าดีฟอลต์ 64KB สามารถปรับเป็น 2MB ได้
จีพียูที่รองรับมีตั้งแต่ Radeon R5/R7/R9/RX 500 Series/RX Vega Series และจีพียูฝั่งเวิร์คสเตชัน FirePro ส่วนระบบปฏิบัติการที่รองรับคือ RHEL 7, CentOS 7, Ubuntu 16.04 LTS
จากที่เคยมีข่าว Ataribox เครื่องเกมคอนโซลตัวใหม่ของ Atari ครั้งแรกในรอบ 24 ปี เริ่มมีรายละเอียดของเครื่องเกมตัวนี้ออกมาอีกหน่อย ว่ามันจะใช้ซีพียูรุ่นปรับแต่งพิเศษจาก AMD, จีพียู Radeon และใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ที่ปรับอินเทอร์เฟซให้เหมาะกับทีวี
Ataribox ยังจะสามารถรันเกมพีซีได้ด้วย แต่ยังไม่มีข้อมูลว่ามันจะสามารถใช้งาน Steam (ที่มีคลังเกมบนลินุกซ์อยู่จำนวนเยอะพอสมควร) ได้ด้วยหรือไม่ ทางผู้สร้างบอกว่าจะให้อิสระในการปรับแต่งระบบปฏิบัติการ ผู้ใช้สามารถนำไปรันอะไรก็ได้เท่าที่ต้องการ