กูเกิลปล่อยฟีเจอร์ใหม่ของ Android ประจำไตรมาส 1/2023 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Pixel Feature Drop (ชื่อทางเทคนิคคือ Android Quarterly Platform Releases หรือ QPR) ให้กับอุปกรณ์ตระกูล Pixel
กูเกิลออก Android 14 Developer Preview 2 ตามมาหลัง DP1 เมื่อเดือนที่แล้ว โดยกูเกิลบอกว่าตอนนี้ Android แยกการออกฟีเจอร์ใหม่เป็น 2 สาย ได้แก่ Android 13 QPR ที่ทยอยอัพเดตฟีเจอร์ใหม่ให้ทุกไตรมาส (แถมมีเวอร์ชันทดสอบ Beta ของตัวเอง) และ Android 14 Preview ที่เป็นฟีเจอร์ใหม่ระดับตัวแพลตฟอร์ม
ของใหม่ใน DP2 มีดังนี้
GoodNotes แอพจดโน้ตยอดนิยมบน iOS (โดยเฉพาะบน iPad) ออกเวอร์ชัน Android แล้ว โดยตอนนี้ยังเป็นการทดสอบแบบ Beta แบบจำกัดกลุ่มผู้ใช้ และยังใช้ได้เฉพาะแท็บเล็ตซัมซุงขนาดหน้าจอ 8 นิ้วขึ้นไปเท่านั้น
กลุ่มผู้ทดสอบระบุว่าแอพเวอร์ชัน Android จริงๆ แล้วเป็นเว็บแอพที่รันแบบ Progressive Web App (PWA) จึงอาจไม่ได้ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ลื่นมากเหมือนกับเวอร์ชัน iOS
ที่มา - GoodNotes, Android Police
Android 14 เพิ่งออก Preview 1 แต่ล่าสุดมีข่าวโค้ดเนมของ Android 15 รุ่นของปี 2024 ออกมาแล้ว โดยทีมของกูเกิลใช้โค้ดเนมนี้ในซอร์สโค้ดของ Android คือ "Vanilla Ice Cream" ตามคิวตัว V
ส่วนโค้ดเนมของ Android 14 ตัวอักษร U ที่เผยออกมาเมื่อปีที่แล้วคือ Upside Down Cake
ที่มา - Android Police
ตัวอ่าน PDF ของ Google Drive อาจถือเป็นหนึ่งในตัวอ่าน PDF ที่มีคนใช้เยอะที่สุด เพราะถือเป็นแอพดีฟอลต์ของ Android จำนวนมาก แต่ที่ผ่านมาความสามารถของมันค่อนข้างจำกัดมาก ทำอะไรอื่นนอกจากแสดงผลไฟล์ PDF แทบไม่ได้เลย ผู้ใช้หลายคนจึงต้องหาแอพอ่าน PDF ตัวอื่นมาใช้กันแทน
ล่าสุดกูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ annotation ให้กับ Google Drive PDF viewer รองรับการเขียนหน้าจอและไฮไลท์ข้อความด้วยสีต่างๆ ทั้งด้วยนิ้วมือและด้วยปากกาแล้ว ในแง่ฟีเจอร์คงไม่ต่างจากแอพอื่นๆ แต่ก็ช่วยลดการพึ่งพาการใช้แอพอื่นลงได้สำหรับคนที่ต้องการประหยัดพื้นที่สตอเรจ
ฟีเจอร์นี้มากับอัพเดต Google Drive เวอร์ชัน 2.23.081.2 ซึ่งกำลังทยอยปล่อยให้ผู้ใช้ทีละกลุ่ม
มือถือตระกูล Pixel รองรับการใช้งาน eSIM มาตั้งแต่ Pixel 2 ในปี 2017 แต่กระบวนการย้าย eSIM ไปยังมือถือเครื่องใหม่ฝั่ง Android ยังทำได้ยาก ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งในฝั่งของผู้ผลิตและโอเปอเรเตอร์
ล่าสุดกูเกิลประกาศในงาน MWC 2023 สั้นๆ ว่าจะออกเครื่องมือย้าย eSIM (eSIM transfer) มาให้ภายในปีนี้ โดยอิงกับมาตรฐานของ GSMA และ Deutsche Telekom จะเป็นโอเปอเรเตอร์เจ้าแรกที่ใช้งานเครื่องมือตัวนี้
คาดว่าเครื่องมือ eSIM จะเพิ่มเข้ามาในอัพเดต Android 13 QPR2 ที่น่าจะออกพร้อมกับแพตช์รอบเดือนมีนาคม 2023
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า แอพจดโน้ตยอดนิยมอย่าง Google Keep รองรับการวาง widget บนหน้าโฮมของ Android เพียงแค่ 2 แบบ คือ Quick Capture ที่แสดงปุ่มเริ่มจดโน้ต และ Note Collections แสดงรายการโน้ตทั้งหมดในหมวดหมู่ที่ระบุ
ล่าสุดกูเกิลประกาศอัพเดต Keep ให้วาง widget แบบโน้ตอันเดียว (Single Note) บนหน้าโฮมได้แล้ว โน้ตสามารถเป็นแบบไหนก็ได้ แต่ที่กูเกิลนำมาโชว์คือเราสามารถวางรายการ To-Do list จาก Keep ลงบนหน้าโฮม เพื่อใช้จดรายการที่ต้องทำได้โดยไม่ต้องใช้แอพแยก (อย่าง Google Tasks)
นอกจากนี้ Google Keep ในสมาร์ทวอทช์ Wear OS ยังเพิ่มปุ่มสร้างโน้ตและ To-Do ด้วยการแตะเพียงครั้งเดียว แล้วพูดสิ่งที่ต้องการลงไปได้เลย
Qualcomm โชว์การรันโมเดล Stable Diffusion สร้างภาพตามคำสั่ง text-to-image ที่รู้จักกันดี บนสมาร์ทโฟน Android ที่ใช้ชิป Snapdragon 8 Gen 2 แทนการรันบนคลาวด์
Qualcomm บอกว่า Stable Diffusion เป็นโมเดลขนาดใหญ่มาก มีพารามิเตอร์เกิน 1 พันล้านตัว ปกติแล้วต้องรันบนคลาวด์เท่านั้น แต่ทีมของ Qualcomm AI Research ใช้เทคนิครีดประสิทธิภาพหลายอย่างร่วมกัน ให้สามารถรันบนมือถือได้ ตั้งแต่
ผู้ใช้ Nothing Phone (1) เริ่มรายงานว่าได้อัพเดตเป็น Android 13 กันแล้ว หลังบริษัทสัญญาแบบกว้างๆ ว่าจะออกให้ในครึ่งแรกของปี 2023
การอัพเดต Android 13 ของ Nothing Phone (1) ถือว่ามาช้ากว่าคู่แข่งหลายราย ซึ่งซีอีโอ Carl Pei ก็เคยให้รายละเอียดว่าตอนเริ่มทำ Phone (1) ยังมีทีมซอฟต์แวร์แค่ไม่กี่คน ต้องจ้างเอาท์ซอร์สทำรอมให้ แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาใช้ทีมภายในทั้งหมดซึ่งมีมากกว่า 100 คนแล้ว
นอกจากฟีเจอร์ของตัว OS แล้ว ของใหม่ในรอม Android 13 ของ Nothing คือริงโทนใหมที่เข้าจังหวะกับไฟ Glyph ด้านหลังเครื่อง, แอพ Nothing X ที่เชื่อมต่อกับหูฟังของตัวเอง และแอพพยากรณ์อากาศตัวใหม่
กูเกิลมีโครงการ Privacy Sandbox เปลี่ยนระบบตามรอยผู้ใช้เพื่อยิงโฆษณา จากการตามด้วยคุกกี้แบบดั้งเดิมมาเป็นระบบตามรอยแบบใหม่ Topics API โดยเริ่มจาก Chrome มาตั้งแต่ปี 2022 และประกาศทำบน Android ด้วย
หลังทดสอบ Privacy Sandbox SDK ในกลุ่มนักพัฒนามาได้เกือบปี กูเกิลเริ่มปล่อยอัพเดต Privacy Sandbox Beta ให้ผู้ใช้ Android 13 ใช้งานแล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ ในช่วงแรก แล้วจะค่อยๆ ขยายเพิ่มในลำดับต่อไป
ซัมซุงเริ่มปล่อยอัพเดต One UI 5.1 รุ่นที่เปิดตัวพร้อม Galaxy S23 ให้กับมือถือรุ่นเก่าๆ ด้วย เท่าที่มีรายงานว่าทยอยได้อัพเดตกันแล้วคือ S22, S21, S20, S21 FE, S20 FE, Z Fold/Flip 4, Z Fold/Flip 3
One UI 5.1 เป็นเวอร์ชันอัพเดตย่อยของ One UI 5.0 ที่เป็นการอัพเกรด Android 13 ของใหม่ในเวอร์ชัน 5.1 อาจมีไม่เยอะนัก ส่วนใหญ่เน้นไปที่ฟีเจอร์กล้องและแกลเลอรี่ กับฟีเจอร์ Modes/Routines สำหรับการสั่งงานอัตโนมัติ
รอบนี้ถือว่าซัมซุงปล่อยอัพเดต One UI 5.1 ออกมาให้เร็วมาก หลังจาก Galaxy S23 วางขายเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น
กูเกิลออก Android 14 Developer Preview 1 (DP1) รุ่นทดสอบแรกของปีนี้ ของใหม่ยังเน้นที่ระดับฐานรากของ OS เช่นเดิม
ซัมซุงเปิดตัว Galaxy S23 Ultra โทรศัพท์รุ่นสูงสุดโดยเน้นฟีเจอร์ด้านการถ่ายภาพเป็นหลัก ทั้งการถ่ายภาพกลางคืนและวิดีโอความละเอียดสูง และเป็นรุ่นเดียวในกลุ่ม S23 ที่รองรับปากกา S Pen
สเปครวมของ Galaxy S23 Ultra ได้แก่
ซัมซุงเปิดตัว Galaxy S23 และ S23+ ชูจุดเด่นกล้องคุณภาพสูงขึ้น พร้อมใช้ชิป Snapdragon 8 Gen 2 และแรม 8GB โดยทั้งสองรุ่นขนาดเครื่องต่างกันเล็กน้อยแต่หน้าจอความละเอียดเท่ากัน
Galaxy S23 ทั้งสองรุ่น หน้าจอ Flat FHD+ (2340x1080) อัตรารีเฟรช 48-120Hz ความสว่าง 1,750 nits กระจก Gorilla Glass Victus 2 กล้องหน้า 12 ล้านพิกเซล กล้องหลัง 3 ตัว เลนส์มุมกว้างพิเศษ 12 ล้านพิกเซล F2.2, เลนส์มุมกว้าง 50 ล้านพิกเซล F1.8, และกล้องเทเลโฟโต้ 10 ล้านพิกเซล F2.4 พร้อมออปติคัลซูม 3 เท่า ตัวเครื่องกันน้ำ IP68 (ทดสอบใต้น้ำจืด 1.5 เมตร 30 นาที) เชื่อมต่อ Bluetooth 5.3 และ Wi-Fi 6E รองรับการชาร์จไร้สาย Fast Wireless Charging 2.0 และ Wireless PowerShare
กูเกิลยอมถอย หลังโดนคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของอินเดีย (CCI) สั่งปรับเงินรวม 10.4 พันล้านบาทในเดือนตุลาคม 2022 ในข้อหา Android มีพฤติกรรมผูกขาด กีดกันการแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟน
สิ่งที่กูเกิลจะปรับตามคำสั่งของ CCI มีดังนี้
รัฐบาลอินเดียเปิดตัวระบบปฏิบัติการแห่งชาติ BharOS ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้ มันเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟน ที่พัฒนาโดยอิงจาก Android Open Source Project (AOSP) ตามที่คาดกัน
ความแตกต่างสำคัญคือ BharOS ไม่มีแอพใดๆ ติดตั้งมาให้ตั้งแต่แรก ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดแอพมาติดตั้งเองทั้งหมด โดยจะเปิดให้มีสโตร์แยกขององค์กร เรียกว่า Private App Store Services (PASS) และแน่นอนว่าไม่มี Google Play Services มาให้ด้วย
หลายวันมานี้มีข่าวพูดถึงเหยื่อถูกแฮกขโมยเงินจากบัญชีในโทรศัพท์มือถือ โดนหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีการโจมตีด้วยสายชาร์จ USB ที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายโดยเฉพาะ เช่น สาย O.MG ที่มีขายกันก่อนหน้านี้ แต่ในโลกความเป็นจริง การโจมตีด้วยสายเหล่านี้ทำได้ยาก มีต้นทุนที่สูง และหากมีการโจมตีจริงก็ควรจะพบตัวอย่างสายที่ใช้โจมตีบ้างแล้วเนื่องจากเหยื่อมีหลายคน
การใช้สาย USB เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีจริง โดยเฉพาะในยุคที่ผู้ใช้ส่วนมากใช้งานพีซีที่ต้องเชื่อมต่อคีย์บอร์ดและเมาส์ผ่านสาย USB หากแฮกเกอร์สามารถติดตั้งสายของตัวเองได้ ก็จะสามารถดักจับข้อมูลทุกอย่างที่ผู้ใช้พิมพ์ลงไปได้
Kuba Wojciechowski นักพัฒนาสาย Android รายหนึ่งระบุว่าค้นพบหลักฐานโค้ดของ Android ว่ากูเกิลกำลังพัฒนาฟีเจอร์ Fast Pair (ที่ปัจจุบันใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ Bluetooth แบบสะดวก) ให้เชื่อมต่อกับแท็กไร้สาย locator tag ลักษณะเดียวกับ AirTag ของแอปเปิล หรือ Galaxy SmartTag ของซัมซุง
Wojciechowski ยังอ้างแหล่งข่าววงในว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ใช้โค้ดเนมว่า "Grogu" หรือ GR10 (ตามชื่อตัวละครในเรื่อง The Mandalorian) พัฒนาโดยทีม Nest รองรับการเชื่อมต่อทั้ง UWB และ Bluetooth LE ซึ่งจะถือเป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกของกูเกิลที่เป็น UWB ด้วย
กูเกิลออก Android Studio เวอร์ชันใหม่ โค้ดเนมปลาไหลไฟฟ้า Electric Eel (2022.1.1) ตามแนวทางตั้งชื่อเป็นสัตว์เรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ (ตัวก่อนหน้านี้คือ Dolphin, ตัวถัดไปจะชื่อ Flamingo) เวอร์ชันนี้มีของใหม่หลายอย่างดังนี้
กูเกิลออก Android Extension SDK เปิดทางให้ออก API ใหม่ๆ ของ Android โดยไม่ต้องอิงกับรอบการออกเวอร์ชันของระบบปฏิบัติการ (Having the ability to introduce new functionality outside of major API level releases)
เบื้องหลังของ Extension SDK เกิดจากที่สมัย Android 10 ปรับสถาปัตยกรรม OS ให้เป็นโมดูล อัพเดตแยกส่วนได้ กูเกิลจึงสามารถนำ API ของ Android เวอร์ชันที่ใหม่กว่า นำกลับไปให้ Android เวอร์ชันเก่าใช้ได้ด้วย โดยปล่อยอัพเดตให้ผู้ใช้งานผ่าน Google Play Services อีกที
กูเกิลประกาศฟีเจอร์เพิ่มเติมด้านการฟังเพลงบน Android ดังนี้
ในงาน CES 2023 Qualcomm ประกาศเปิดตัว Snapdragon Satellite สำหรับ OEM ซึ่งระบุว่าเป็นบริการส่งข้อความ 2 ทางผ่านดาวเทียมเป็นเจ้าแรกของโลก โดยจะเริ่มใช้กับสมาร์ทโฟนพรีเมี่ยมที่ใช้ชิป Snapdragon 8 Gen 2 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ในบางพื้นที่ก่อน
Snapdragon Satellite ทำงานโดยใช้ระบบ Snapdragon 5G Modem-RF และทำงานร่วมกับกลุ่มดาวเทียมของ Iridium ซึ่งมีความแตกต่างจากบริการดาวเทียม SOS ของ Apple ที่สามารถส่งข้อความแบบทางเดียวในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น
Google ขึ้นข้อความบนป้ายบิลบอร์ดในลาสเวกัส ชวน Apple มาใช้ RCS ให้เป็นระบบโปรโตคอลส่งข้อความแบบใหม่ พร้อมใส่ #GetTheMessage ที่ Google ใช้ผลักดันแคมเปญนี้เพื่อให้ iPhone รองรับ RCS
บนบิลบอร์ดมีข้อความดังนี้ “Hey Apple, it's Android. the ball may have dropped on 2022, but you don't have to drop the ball on fixing your pixelated photos and videos. Here's some code to get the ball rolling...” ก่อนที่หน้าถัดไปจะขึ้นโค้ด RCS และจบด้วยข้อความ “Help Apple #GetTheMessage”
Lars Bergstrom ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมของกูเกิลบรรยายในงาน RISC-V Summit ปีที่ผ่านมาว่าโครงการ Android ส่วนโอเพนซอร์สหรือ AOSP นั้นเริ่มรองรับสถาปัตยกรรม RISC-V แล้วบางส่วนตั้งแต่เดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมา และน่าจะรองรับได้เกือบครบถ้วนภายในต้นปีนี้
ตัวโครงการ AOSP ตอนนี้คอมไพล์โค้ดรายวันโดยจะคอมไพล์ออกมารองรับสถาปัตยกรรม RISC-V ด้วย แต่จำกัดเฉพาะชุดคำสั่งแบบ 64 บิตเท่านั้น ทาง AOSP ไม่มีแผนจะรับแพตช์ RISC-V แบบ 32 บิตเข้าโครงการ สิ่งที่ยังขาดก้อนใหญ่คือ Android Emulator สำหรับชุดคำสั่ง RISC-V ที่คาดว่าจะใช้งานได้ในเดือนมกราคม 2023 และน่าจะพอร์ตรันไทม์ ART มาด้วยภายในไตรมาสแรก
Oppo ประกาศนโยบายการอัพเดตระบบปฏิบัติการ Android เพิ่มเป็น 4 เวอร์ชันใหญ๋ และอัพเดตความปลอดภัย 5 ปี เท่ากับ OnePlus ที่ประกาศเรื่องนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ถือว่ามากกว่ามือถือตระกูล Pixel ของกูเกิลเองที่ได้ 3 เวอร์ชัน + 4 ปี
นโยบายการอัพเดตระบบปฏิบัติการ 4 เวอร์ชัน จะมีผลเฉพาะมือถือระดับเรือธงบางรุ่นเท่านั้น (ยังไม่บอกว่ามีรุ่นไหนบ้าง) และเริ่มใช้ในปี 2023 เป็นต้นไป ซึ่งเหมือนกับ OnePlus ที่ให้เฉพาะมือถือบางรุ่นเช่นกัน