ไมโครซอฟท์ประกาศข่าว Microsoft 365 for Mac รองรับชิป Apple M1 แบบเนทีฟแล้ว ผู้ใช้เครื่องแมคที่เป็น Apple Silicon สามารถดาวน์โหลดอัพเดตได้จาก Mac App Store (ตัวแพ็กเกจเป็น Universal รันได้ทั้งบน Intel/M1)
แอพในชุดที่รองรับ M1 แล้วคือ Outlook, Word, Excel, PowerPoint, OneNote ส่วน Microsoft Teams ตอนนี้รองรับการรันผ่าน Rosetta และเวอร์ชัน M1 จะตามมาในอนาคต
ไมโครซอฟท์ยังทยอยปรับหน้าตาของโปรแกรมในชุดให้เป็น Fluent UI แบบใหม่ที่เข้าธีมกับ Big Sur เริ่มจาก Outlook ที่เปิดตัวไปแล้ว รอบนี้เป็น Office Start หน้าจอเริ่มต้นของโปรแกรมในชุด
Mozilla ออก Firefox 84 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ที่มา - Mozilla
กูเกิลประกาศข่าว Android Emulator รองรับการรันบน Apple Silicon แบบพรีวิวแล้ว เพื่อให้นักพัฒนาสามารถทดสอบแอพของตัวเองบนเครื่องแมคที่ใช้ชิป M1 ได้
ตอนนี้ Android Emulator ตัวนี้ยังมีฟีเจอร์บางอย่างยังไม่ทำงาน (เช่น Webview, เสียง, แอพแบบ ARM32) แต่ฟีเจอร์พื้นฐานหลายๆ อย่างก็สามารถทำงานได้ปกติ
ผู้สนใจ (และมีเครื่องทดสอบแล้ว) สามารถดาวน์โหลดไฟล์ .dmg ได้จาก GitHub
ที่มา - Android Studio
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ @LeaksApplePro ซึ่งมีประวัติปล่อยข่าวลือแอปเปิลได้ค่อนข้างแม่นยำ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชิป Apple Silicon รุ่นต่อไปในชื่อ Apple M1X (ชื่ออาจมีการเปลี่ยนแปลง) เป็นซีพียู 12 คอร์ แบ่งเป็น 8 คอร์ประสิทธิภาพสูงและ 4 คอร์ประหยัดพลังงาน กำหนดเปิดตัวในช่วงไตรมาสที่ 1 ปีหน้าพร้อมกับ MacBook Pro 16 นิ้วรุ่นใหม่ คาดว่าจะเปิดตัวอย่างเงียบ ๆ ผ่านข่าวประชาสัมพันธ์โดยไม่จัดงานเปิดตัว
แหล่งข่าวที่ได้ทดลองใช้ชิป M1X รุ่นต้นแบบกล่าวว่า ถ้าคุณคิดว่า M1 เร็ว แสดงว่าคุณยังไม่เคยได้ลองชิป M1X (if you think M1 is fast, you haven’t seen M1X)
Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สายซัพพลายเชนชื่อดังที่ปล่อยข่าวแอปเปิลค่อนข้างตรง เปิดเผยว่าแอปเปิลมีแผนจะเปิดตัว MacBook ดีไซน์ใหม่ที่ใช้ Apple Silicon รุ่นใหม่ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2021
อย่างไรก็ตาม Kuo ไม่ได้ระบุว่า MacBook รุ่นใหม่จะเป็นรุ่นไหน โดยก่อนหน้านี้ Kuo เคยระบุว่าแอปเปิลจะเปิดตัว MacBook Pro 13, MacBook Air ที่ใช้ชิป Arm ในปีนี้ และ MacBook Pro ขนาด 14.1 และ 16 นิ้วในปีหน้า รวมถึงมี iMac รุ่น Apple Silicon ด้วย แต่ทุกวันนี้แอปเปิลก็ยังไม่เปิดตัว iMac ชิป M1
ที่มา - MacRumors
หนึ่งในแอพที่คนน่าจะถามหามากที่สุดบน Apple Silicon คือ Photoshop ตอนนี้ออกรุ่นทดสอบ Beta แล้ว (รวมถึงรุ่นทดสอบสำหรับ Windows ARM ก็ออกมาช่วงไล่เลี่ยกัน)
Adobe บอกว่ารุ่นทดสอบนี้รองรับฟีเจอร์พื้นฐานสำหรับแต่งภาพ แต่ก็ยังขาดฟีเจอร์อีกหลายอย่าง เช่น Camera RAW, ฟีเจอร์กลุ่ม Content Aware, Healing Brush หรือบางฟีเจอร์ที่ยังมีบั๊กอยู่ เช่น การนำไฟล์เข้ามาจาก Lightroom ซึ่งจะทยอยแก้ไขใน Beta ถัดๆ ไป
Azul Systems บริษัทสาย Java เปิดตัว Zulu OpenJDK รุ่น 8 (LTS), 11 (LTS), 13 และ 16 (Early Access) สำหรับแมคที่ใช้ Apple Silicon เป็นเจ้าแรก สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีผ่านทางเว็บไซต์ หรือสามารถซื้อรุ่นพร้อมซัพพอร์ทผ่านทาง Zulu Enterprise subscription plans อย่างไรก็ตามยังไม่พบลิงค์ดาวน์โหลดสำหรับ Java 15 รุ่นปัจจุบัน
เพียง 1 วันนับจากที่แมคที่ใช้ Apple Silicon รุ่นแรกส่งถึงมือลูกค้าในกลุ่มประเทศแรกๆ วันนี้กูเกิลเปิดตัว Chrome 87 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ผ่านการคอมไพล์ใหม่สำหรับ Apple Silicon โดยเฉพาะ
แต่หลังการเปิดตัว ทีมพัฒนาพบปัญหาในแมคบางเครื่อง จึงหยุดการปล่อยรุ่นดังกล่าว และจะเปิดให้ดาวน์โหลดอีกครั้งในวันพรุ่งนี้
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด Chrome รุ่นสำหรับ Intel และ Apple Silicon ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ระหว่างนี้ผู้ใช้แมคสามารถใช้ Chrome รุ่น Intel ผ่าน Rosetta 2 ได้
ในงานแอปเปิลคืนนี้ สินค้าใหม่ที่คาดว่าจะเปิดตัวคือ Mac รุ่นแรกที่ใช้ซีพียู Apple Silicon ซึ่งน่าจะเป็นไปตามที่แอปเปิลประกาศไว้ในงาน WWDC เมื่อกลางปี ว่า Mac รุ่นแรกนี้ จะเริ่มจำหน่ายช่วงปลายปี คุณสมบัติหนึ่งที่แอปเปิลระบุไว้คือ macOS เวอร์ชัน Apple Silicon จะสามารถรันแอปจาก iOS ได้เลย เพราะใช้สถาปัตยกรรมซีพียูเดียวกัน อย่างไรก็ตามนักพัฒนาแอปรายใหญ่ดูเหมือนยังเลือกไม่เปิดให้แอปใช้งานบน macOS ได้
หลังมีข่าวงานอีเวนท์แท็กไลน์ “One more thing.” วันที่ 10 พฤศจิกายน Bloomberg ก็รายงานว่า ในงานจะมีการเปิดตัวเครื่อง Mac ที่ใช้ชิป “Apple Silicon” หรือชิปประมวลผลสถาปัตยกรรม ARM ที่ Apple ออกแบบเอง เปลี่ยนจากชิป Intel ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2006 หลังเลิกใช้ชิป PowerPC
Mac รุ่นใหม่ที่จะเปิดตัว คาดว่าเป็น Macbook Pro รุ่น 13 และ 16 นิ้ว กับ Macbook Air 13 นิ้ว ที่เปลี่ยนแค่ชิปประมวลผล แต่ดีไซน์ส่วนใหญ่คงเดิม และ Apple รวมถึงซัพพลายเออร์ในต่างประเทศ กำลังเร่งผลิตโน้ตบุ๊กเหล่านี้อยู่ โดย Foxconn จะเป็นผู้ผลิตรุ่น 13 นิ้ว ทั้ง Pro และ Air ส่วน Quanta Computer จะเป็นผู้ผลิต Macbook Pro รุ่น 16 นิ้ว
แอปเปิลประกาศจัดงานอีเวนท์แบบด่วน ๆ ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ด้วยแท็กไลน์ 'One more thing'
สิ่งหนึ่งที่น่าจะเปิดตัวแน่ ๆ คือ Mac ที่รันด้วย Apple Silicon ส่วนข่าวลืออื่น ๆ ที่ยังไม่มีอะไรหลุดมายืนยันมากนักก็มี AirPods Studio หูฟังไร้สายคาดหัว และ AirTags ส่วนตัวแอบหวัง (ลม ๆ แล้ง ๆ) ว่าจะมี iPad Mini ดีไซน์ใหม่ออกมาด้วย
ที่มา - @MKBHD
ฟีเจอร์ Face ID หรือสแกนหน้าเพื่อปลดล็อคเป็นฟีเจอร์ที่มีอยู่บนไอโฟน และไอแพดตั้งแต่ iPhone X แล้ว แต่ล่าสุดมีการพบโค้ดบน macOS Big Sur beta 3 ว่ามีส่วนขยายสำหรับรองรับฟังก์ชัน PearlCamera ซึ่งเป็นโค้ดเนมที่แอปเปิลใช้กับ Face ID และกล้อง TrueDepth มาตั้งแต่เริ่มแรก พร้อมกับพบโค้ด FaceDetect และ BioCapture ในส่วนขยายดังกล่าว ซึ่งมีความคล้ายกับโค้ดสำหรับ Face ID บนไอโฟน
หลังการประกาศเปลี่ยนจากชิป Intel มาเป็น Apple Silicon ที่ออกแบบเอง ใน MacBook รุ่นหน้า หนึ่งในคำถามที่หลายคนอาจสงสัยคือ MacBook จะยังคงรองรับมาตรฐาน Thunderbolt ที่ตัวเองมีส่วนช่วยออกแบบและพัฒนาร่วมกับ Intel อยู่หรือไม่ ซึ่งล่าสุดแอปเปิลออกมายืนยันแล้วว่ายังรองรับอยู่เช่นเดิม
แม้โฆษกแอปเปิลจะออกมายืนยันข้อมูลดังกล่าว ทว่าอุปกรณ์ Developt Transition Kit ที่ใช้ชิป Apple Silicon ที่แอปเปิลให้นักพัฒนายืมก่อนหน้านี้ กลับไม่มีพอร์ท Thunderbolt มีแค่ USB-C ธรรมดาเท่านั้น
ที่มา - The Verge
ภายหลังงาน WWDC 2020 เริ่มมีนักพัฒนาได้รับชุด Developer Transition Kit (DTK) ซึ่งประกอบด้วยเครื่อง Mac Mini รุ่นพิเศษที่ใช้ชิป A12Z และสิทธิ์ในการเข้าถึงเครื่องมือในการพัฒนาแอปบน Apple Silicon และแม้ว่าข้อตกลงการยืมชุดพัฒนาจะไม่อนุญาตให้ทำการ benchmark ตัวเครื่องแต่ก็ได้มีนักพัฒนานำเครื่องไปรันโปรแกรม Geekbench ในเวอร์ชัน x86_64 ผลลัพธ์ที่ได้เป็นดังนี้
ข่าวใหญ่ของวงการไอทีสัปดาห์นี้ย่อมเป็นเรื่อง แอปเปิลย้าย Mac จากสถาปัตยกรรม x86 มาเป็น ARM โดยเปลี่ยนมาใช้ซีพียูออกแบบเองที่มีชื่อเรียกรวมๆ ว่า Apple Silicon (ยังไม่มีข้อมูลของซีพียูตัวที่จะใช้จริงๆ)
ประกาศของแอปเปิลทำให้เกิดคำถามตามมามากมาย ซึ่งแอปเปิลเองก็ตอบคำถาม (บางส่วน) ไว้ในเซสซันย่อยของงาน WWDC 2020 เราจึงรวบรวมรายละเอียดมาให้อ่านกันครับ
ประเด็นที่หลายคนอยากรู้ ในข่าวการเปลี่ยนผ่านจาก x86 ไปสู่ ARM ของแอปเปิล (ที่แอปเปิลเรียกว่า Apple Silicon) คืออนาคตของ Boot Camp และการรันวินโดวส์บนฮาร์ดแวร์แมค
ล่าสุด Craig Federighi ผู้บริหารฝ่ายซอฟต์แวร์ของแอปเปิลที่เราคุ้นหน้ากันดี ไปคุยในรายการ Daring Fireball podcast ยืนยันว่าเครื่องแมคยุค Apple Silicon จะไม่รองรับการบูตไปยังระบบปฏิบัติการอื่น (we’re not direct booting an alternate operating system) และแนะนำให้ใช้ virtualization แทนหากต้องการใช้ระบบปฏิบัติการอื่น
Federighi ยังบอกว่าปัจจุบันเทคโนโลยี hypervisor มีประสิทธิภาพมากขึ้นมาก ความจำเป็นในการบูตเข้า OS อื่นโดยตรงจึงไม่ค่อยมีแล้ว
หนึ่งในข่าวใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในวงการนักพัฒนาคือการย้ายสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ของแอปเปิลจาก x86 ไป ARM ซึ่งก็มีการคาดการณ์กันไปว่า เพราะแอปเปิลต้องการรวมแพลตฟอร์มและสถาปัตยกรรมของทั้ง iPhone/iPad และ MacBook ให้ไปในทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม François Piednoël อดีตวิศวกรของ Intel ให้สัมภาษณ์กับ PCGamer เผยว่าหนึ่งในสาเหตุที่แอปเปิลเปลี่ยนไปใช้ ARM เพราะปัญหาเรื่องคุณภาพที่เกิดขึ้นกับซีพียูสถาปัตยกรรม Skylake ของ Intel (Comet Lake เป็น Skylake รุ่นที่ 4) ที่แอปเปิลต้องคอยแก้ เลยเป็นเหมือนฟางที่ค่อย ๆ ขาดในมุมของแอปเปิล โดย Piednoël ใช้คำว่า Skylake นั้นแย่แบบผิดปกติ (abnormally bad) ขณะที่แอปเปิลก็เป็น OEM ที่ยื่นเรื่องว่าเจอปัญหาเยอะที่สุดด้วย
ที่มา - PCGamer
จากประเด็น แอปเปิลย้าย Mac ไปสู่สถาปัตยกรรม ARM คำถามที่หลายคนสงสัยคือ Mac รุ่นใหม่จะยังลงวินโดวส์ได้หรือไม่
เว็บไซต์ The Verge สอบถามไมโครซอฟท์ในเรื่องนี้ และได้คำตอบว่าไมโครซอฟท์จะขายไลเซนส์ Windows 10 on ARM ให้กับผู้ผลิตพีซีแบบ OEM เท่านั้น (นั่นแปลว่าถ้าแอปเปิลจะขาย Mac แบบมี Windows 10 มาให้ก็สามารถทำได้ แต่ไมโครซอฟท์จะไม่ขาย Windows on ARM ให้คนทั่วไปมาติดตั้งเอง)
The Verge ยังถามว่าไมโครซอฟท์จะรองรับ Boot Camp บน Mac สถาปัตยกรรม ARM หรือไม่ ซึ่งไมโครซอฟท์ตอบว่ายังไม่มีอะไรจะแถลงในตอนนี้
จากประเด็น แอปเปิลย้าย macOS ไปสู่สถาปัตยกรรม ARM หลายคนคงสงสัยว่าอินเทลจะว่ายังไงบ้าง
อินเทลออกแถลงการณ์ผ่าน AppleInsider ระบุว่าแอปเปิลยังเป็นลูกค้าของอินเทลอยู่ และอินเทลจะสนับสนุนแอปเปิลต่อไปตามปกติ โดยยกภารกิจของอินเทลในการผลักดันวงการพีซี และกล่าวถึงชิป Tiger Lake ที่จะออกในปีนี้ว่าจะช่วยให้พีซีก้าวหน้าต่อไป
Tim Cook เองก็ระบุว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ ARM จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ซึ่งระหว่างนี้จะขายเครื่องแมคที่เป็นซีพียูอินเทล
แอปเปิลเปิดตัว macOS Big Sur (ชื่อภูเขาในแคลิฟอร์เนีย โดยตัวระบบปฎิบัติการเองมีการปรับแต่งหน้าจอปลีกย่อย จุดสำคัญคือมันเป็น macOS เวอร์ชั่นแรกที่จะรองรับชิป ARM อย่างเป็นทางการ โดยแอปเปิลปรับเลขเวอร์ชั่นเป็น 11.0 หลังจากก่อนหน้านี้ใช้เป็นเวอร์ชั่น 10.x มานาน
Safari เพิ่มตัวแปลภาษาในตัว รองรับภาษาอังกฤษ, สเปน, จีน, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, รัสเซีย, และโปรตุเกสแบบบราซิล ฟีเจอร์ Privacy Report รวมรายงานว่า Safari บล็อคส่วนต่างๆ ในเว็บที่ติดตามผู้ใช้ไปอย่างไรบ้าง และด้านความปลอดภัยนั้นเพิ่มระบบตรวจสอบการใช้งานรหัสผ่านที่เคยรั่วไหลมาแล้ว โดยระบบตรวจสอบจะไม่เปิดเผยรหัสผ่านนี้ให้แอปเปิลเอง
แอปเปิลประกาศรองรับ macOS บนชิป ARM นับเป็นการย้ายสถาปัตยกรรมซีพียูครั้งใหญ่รอบที่ 3 หลังจากเคยย้ายจาก Motorolla 68000 ไป PowerPC และมายัง x86 ทุกวันนี้ โดยระบุว่าเป็นการย้ายมาใช้ชิปที่พัฒนาโดยแอปเปิลเองเพื่อให้ควบคุมได้ทุกส่วน ฟีเจอร์สำคัญคือ macOS ที่รันบนชิป ARM นี้จะสามารถรันแอปพลิเคชั่นจาก iOS ได้ในตัว