Amazon Web Services
Reuters รายงานข่าวว่าทั้งกูเกิลและ Amazon ยื่นหนังสือต่อ CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ให้เข้าไปสอบสวน Microsoft Azure ว่ากีดกันการแข่งขันในตลาดคลาวด์ ด้วยวิธีจำกัดไลเซนส์การใช้งานซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์บนคลาวด์ยี่ห้ออื่น
ตัวอย่างคือหากลูกค้ามีไลเซนส์ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์อยู่ก่อนแล้ว (เช่น Windows Server หรือ SQL Server) หากต้องการนำไปใช้บนคลาวด์ยี่ห้ออื่น ลูกค้าจำเป็นต้องซื้อไลเซนส์ใหม่แยกต่างหาก แต่ถ้านำไปใช้บน Azure จะสามารถใช้งานได้เลย
จดหมายของกูเกิลระบุว่าวิธีจำกัดไลเซนส์ของไมโครซอฟท์ ทำให้ลูกค้าองค์กรไม่สามารถย้ายไปใช้คลาวด์ยี่ห้ออื่นได้ แม้ว่าคลาวด์คู่แข่งขายถูกกว่าก็ตาม
AWS ประกาศเพิ่มบริการ Claude 2.1 ของทาง Anthropic ที่เพิ่งเปิดตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา เข้ามาให้บริการใน Amazon Bedrock นับว่าให้บริการตามผู้พัฒนาโมเดลหลักได้ค่อนข้างเร็ว
Claude 2.1 เพิ่มฟีเจอร์สำคัญคือรองรับข้อมูลขนาดใหญ่มากจำนวน 200,000 โทเค็น หรือคิดเป็นเอกสาร 500 หน้ากระดาษ, ลดอัตราการหลอนลงครึ่งหนึ่ง, และรองรับ system prompt บอก AI ว่าให้ทำตัวอย่างไร
ฟีเจอร์สำคัญอย่างหนึ่งที่มีใน Bedrock คือ function calling เปิดทางให้ Claude สามารถเรียก API หรือฐานข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ฟีเจอร์นี้คล้ายกับ Agents for Amazon Bedrock ที่เปิดตัวในงานเดียวกัน แต่ทาง AWS ระบุว่าต้องขอใช้งานล่วงหน้าจึงเข้าถึงฟีเจอร์นี้ได้
AWS เปิดตัว Amazon ElastiCache Serverless บริการล่าสุดในตระกูล Serverless ที่ผู้ใช้สามารถสร้างระบบแคชจาก Amazon ElastiCache ได้อย่างรวดเร็ว และสเกลขนาดเครื่องขึ้นลงได้ตามปริมาณทราฟฟิกในแต่ละช่วงเวลา
ElastiCache Serverless ทำงานเหมือน ElastiCache เวอร์ชันปกติ คือเลือกใช้ระบบด้านหลังเป็น Redis (7.1 ขึ้นไป) หรือ Memcached (1.6 ขึ้นไป) ก็ได้ตามต้องการ แค่เปลี่ยนวิธีการสเกลเครื่องและการคิดเงินเท่านั้น
ที่มา - AWS Blog
AWS เปิดตัวบริการสตอเรจ Amazon S3 Express One Zone ที่ช่วยเร่งความเร็วการเข้าถึงข้อมูลสูงสุด 10 เท่า เมื่อเทียบเทียบกับ S3 Standard รุ่นปกติ
AWS บอกว่า Amazon S3 Express One Zone ออกแบบมาเพื่องานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากๆ อย่างรวดเร็ว เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล, machine learning โดยยังคงความเข้ากันได้กับ S3 API ทั้งหมด
เหตุผลที่ส่งข้อมูลได้เร็วเป็นเพราะข้อมูลทั้งหมดในสตอเรจจะถูกเก็บไว้บนฮาร์ดแวร์ที่อยู่ใน Availability Zone เดียวกัน (ตามชื่อ One Zone) ช่วยลด latency ในการเรียกข้อมูลลงได้มาก
AWS มีบริการ Generative AI ใต้ชื่อแบรนด์ Amazon Bedrock เริ่มมาตั้งแต่เดือนเมษายน โดยมีโมเดลให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ เช่น Stable Diffusion, Llama 2 รวมถึงโมเดลของ AWS เองที่ชื่อตระกูล Amazon Titan
ล่าสุดในงาน re:Invent 2023 เราได้เห็นการเปิดตัวบริการใหม่ในตระกูล Titan เพิ่มเติมคือ
AWS ประกาศนำเทคโนโลยีของบริการสแกนมือยืนยันตัวตน Amazon One มาให้องค์กรสามารถนำไปใช้งานได้ผ่านบริการใหม่ชื่อ Amazon One Enterprise
Amazon One เป็นบริการที่ยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลลายมือ ซึ่งใช้การสแกนมือเหนืออุปกรณ์โดยไม่ต้องสัมผัส เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2020 ในร้าน Amazon Go จากนั้นร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ร้านค้าหลายแห่ง นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในขั้นตอนการจ่ายเงินหรือยืนยันอายุ กรณีซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
AWS เปิดตัวชิปของตัวเอง 2 ตัวพร้อมกันในงาน re:Invent 2023 ได้แก่ ซีพียู Graviton 4 และชิปฝึกปัญญาประดิษฐ์ Trainium 2
Graviton 4 เป็นซีพียู ARMv9 ภายในเป็นคอร์ Neoverse V2 96 คอร์ เพิ่มขึ้นจาก Graviton3 ที่เคยมี 64 คอร์ และยังมีแบนวิดท์แรมเพิ่มขึ้น 30% ใส่แรมได้มากขึ้น 3 เท่าตัว ความพิเศษอีกอย่างคือชิปใหม่นี้สามารถเข้ารหัสการส่งข้อมูลออกนอกชิปทั้งหมด
Trainium 2 ชิปฝึกปัญญาประดิษฐ์ ออกแบบมารองรับการฝึก LLM ระดับล้านล้านพารามิเตอร์ ประสิทธิภาพการฝึกรวมเพิ่มขึ้นกว่ารุ่นแรก 4 เท่าและรองรับหน่วยความจำได้มากกว่าเดิม 3 เท่า ตอนนี้ Anthropic และ MosaicML ผู้พัฒนา LLM ก็ออกมาแสดงความสนใจจะใช้ Trainium 2 ฝึกโมเดล LLM ตัวต่อไป
AWS เปิดบริการ Amazon Q แชตบอตผู้ช่วยสารพัดประโยชน์แบบเดียวกับ ChatGPT แต่ชูจุดเด่นในการอ่านข้อมูลภายในองค์กร สามารถดึงข้อมูลจากในสตอเรจ S3 หรือบริการอื่นๆ เช่น Salesforce, Google Drive, Microsoft 365, ServiceNow, Atlassian, หรือ Zendesk มาตอบคำถามผู้ใช้ได้
ข้อมูลที่ Amazon Q นำมาตอบนั้นจะใช้สิทธิการเข้าถึงเดียวกับสิทธิ์ของบริการที่ไปเชื่อมต่อ และสามารถสั่งงานแอปพลิเคชั่นต่างๆ เช่น เปิด ticket ใน Jira หรือเปิดเคสใน Salesforce ได้จากแอปแชต
AWS เปิดตัวบริการ Agents for Amazon Bedrock บริการเรียกใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม LLM ที่สามารถหาข้อมูลภายในองค์กรจากฐานข้อมูลที่เก็บเอกสาร พร้อมๆ กับเรียกใช้งาน API ต่างๆ ที่อาจจะเก็บข้อมูลในองค์กร เพื่อให้สามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องโดยใช้ข้อมูลล่าสุด
AWS เปิด API เพิ่มเติมสำหรับคนใช้งานบริการฟรีหลายตัวใน AWS เอง ทำให้สามารถติดตามการใช้งานและรู้ได้ล่วงหน้าว่าใกล้หมดโควต้าฟรีแล้วหรือยัง
ก่อนหน้านี้ AWS มีบริการแจ้งเตือนผู้ใช้ที่ใช้บริการฟรีอยู่ 3 ช่องทาง ได้แก่ การตั้งแจ้งเตือนในระบบ Billing, จำกัดวงเงินไว้ที่ 0 ดอลลาร์ทำให้ AWS เตือนทันทีเมื่อมีการคิดเงิน, หรือหน้า Free Tier ที่แสดงว่ามีการใช้งานอะไรใกล้เต็มโควต้าบ้าง
AWS เพิ่มฟีเจอร์ให้บริการ AWS Amplify ให้เปิด GraphQL API จากฐานข้อมูล SQL เดิมๆ เช่น MySQL หรือ PostgreSQL ออกมาได้ จากเดิมที่รองรับเฉพาะ DynamoDB เท่านั้น
การเปิด GraphQL API นี้จะต้องเขียนโค้ดผ่านทาง CDK เพื่อกำหนด schema ของข้อมูลที่จะเปิด API ออกมาเสียก่อน ผู้ใช้จะต้องกำหนดเองว่าแต่ละ schema นั้นจะต้องเขียน SQL อย่างไรเพื่อให้ได้ข้อมูลมาครบถ้วน
บริการนี้สามารถใช้งานได้ทั้งฐานข้อมูล SQL ของ RDS ที่อยู่บน AWS เอง หรือฐานข้อมูลที่อยู่ภายนอกก็ได้
ที่มา - AWS
AWS เพิ่มฟีเจอร์ของบริการ CodeWhisperer ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ดที่เปิดตัวมาเมื่อปีที่แล้ว โดยเพิ่มฟีเจอร์สำคัญสองอย่าง คือ การแนะนำการแก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัย, และการเขียนโค้ดในกลุ่ม Infrastructure as Code (IaC)
การแนะนำการแก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยนั้นอาศัย generative AI มาประกอบกับฟีเจอร์สแกนความปลอดภัยโค้ดเดิมอยู่แล้ว ฟีเจอร์นี้จะแนะนำทางแก้ไขช่องโหว่ให้ในตัว ตอนนี้รองรับภาษา Java, Python, และ TypeScript
IaC รองรับการช่วยเขียนโค้ดทั้ง CloudFormation, AWS CDK, และ Terraform ผู้ใช้สามารถสั่งจากคำสั่งกว้างๆ เช่นขอ subnet แบบ public IP
AWS หรือ Amazon Web Services เปิดตัว Amazon WorkSpaces Thin Client อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กทรงกล่องสี่เหลี่ยม สำหรับใช้เชื่อมต่อใช้งานเดสก์ท็อปเสมือนผ่านคลาวด์ เหมาะสำหรับลูกค้าองค์กรในการให้พนักงานใช้งานคอมพิวเตอร์ ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า
Melissa Stein หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์สำหรับ End user ของ AWS บอกว่า สิ่งที่ท้าทายลูกค้าองค์กรในบางสายงานที่มีการเข้าออกของพนักงานสูงเช่น Call Center หรือบริการชำระเงิน ทำให้มีความต้องการฮาร์ดแวร์สำหรับเข้าถึงเดสก์ท็อปบนคลาวด์ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง
Amazon ประกาศโครงการ AI Ready เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน AI โดยมีเป้าหมายให้เข้าถึงคน 2 ล้านคน ภายในปี 2025 เนื่องจากมองว่าเป็นทักษะที่สำคัญในยุคถัดไป มีรายละเอียดสามอย่างดังนี้
อย่างแรกคือการเพิ่ม 8 คอร์สเรียนฟรีด้าน AI และ Generative AI ซึ่งมีทั้งด้านการประยุกต์ใช้งานทางธุรกิจ จนถึงคอร์สสำหรับงานทางเทคนิค ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ AWS Educate และ AWS Skill Builder ซึ่ง 8 คอร์สที่เปิดใหม่เพิ่มมีดังนี้
นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยดีลการเจรจานายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากการเดินทางไป ฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดการลงทุนในไทยจากบริษัท AWS, Microsoft, WD (Western Digital) และ Google ลงทุนในไทยด้วยมูลค่ามากกว่า 100,000 ล้านบาทต่อบริษัท
CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ประกาศจะเริ่มทำการสอบสวนการแข่งขันในตลาดผู้ให้บริการพับลิกคลาวด์ในสหราชอาณาจักร ว่ามีลักษณะที่รายใหญ่มีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่
การสอบสวนนี้เริ่มต้นจาก Ofcom หรือหน่วยงานแบบกสทช. ของสหราชอาณาจักร ได้ออกรายงานเกี่ยวกับตลาดคลาวด์ในประเทศ พบว่าผู้ให้บริการรายใหญ่ได้สร้างเงื่อนไขหลายอย่าง ที่ทำให้ผู้เล่นรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ยาก เช่น การคิดค่าธรรมเนียมย้ายข้อมูลออกที่สูง การให้ส่วนลดพิเศษ ตลอดจนข้อจำกัดทางเทคนิค ที่ทำให้การย้ายผู้ให้บริการคลาวด์หรือใช้หลายผู้ให้บริการพร้อมกันมีความยุ่งยากมาก
AWS เปิดบริการ Amazon Bedrock บริการปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม generative AI เช่น โมเดลภาษาขนาดใหญ่ และโมเดลสร้างภาพจากข้อความ จุดเด่นคือรองรับโมเดลจากผู้พัฒนาหลายราย ได้แก่ AI21 Labs, Anthropic, Cohere, Stability AI, และ Amazon เอง รวมถึงเตรียมนำ Llama 2 ของ Meta มาให้บริการในอนาคต
แม้จะเปิดบริการแล้ว แต่ผู้ใช้ยังต้องขอใช้งานล่วงหน้าแบบเดียวกับบริการ Azure OpenAI Service ที่ต้องกรอกแบบฟอร์มเหตุผลการใช้งานก่อน
Amazon ประกาศลงทุนในสตาร์ตอัพปัญญาประดิษฐ์ Anthropic โดยเตรียมเข้าใช้แพลตฟอร์ม AWS ในการให้บริการเต็มตัว
รูปแบบของดีลนี้นับว่าคล้ายกับ OpenAI และไมโครซอฟท์พอสมควร โดย Anthropic จะพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองผูกเข้าไปกับเทคโนโลยีของ AWS ตั้งแต่การฝึกปัญญาประดิษฐ์ด้วย AWS Trainium รันโมเดลด้วย Inferentia และให้บริการผ่านบริการ Amazon Bedrock ทั้งโมเดล Claude มาตรฐานและการทำ fine-tuning หลังจากนี้ AWS ก็จะลงทุนวางโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอสำหรับ Anthropic
Werner Vogels ซึ่งเป็น CTO ของ AWS ประกาศข่าวว่าการปิดบริการเครื่องแบบ EC2-Classic ที่ใช้มาตั้งแต่ยุค EC2 เปิดตัวครั้งแรกในปี 2006 ยาวนานถึงปัจจุบัน 17 ปี โดย AWS ปิดเครื่องเหล่านี้ไปเงียบๆ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2023 แต่เพิ่งมาประกาศต่อสาธารณะ
AWS ประกาศแผนปิดเครื่อง EC2-Classic ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 หรือประกาศล่วงหน้า 2 ปี โดยเครื่องเหล่านี้หยุดขายลูกค้าใหม่ไปตั้งแต่ปี 2013 แต่ลูกค้าเก่ายังใช้งานได้ต่อมาเรื่อยๆ
EC2 ถือเป็นบริการตัวแรกๆ ของ AWS โดยมีบริการที่เปิดตัวก่อนหน้าเพียง 2 ตัวคือ Amazon SQS เปิดตัวในปี 2004 (ตอนนั้นยังไม่นับเป็นคลาวด์ด้วยซ้ำ) และ S3 เปิดตัวปี 2006 ก่อนหน้า EC2 เพียงไม่กี่เดือน
Amazon Web Services เข้าซื้อกิจการ Fig ซอฟต์แวร์คอมมานด์ไลน์ยุคใหม่ที่ปรับแต่งได้หลากหลาย โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
แนวคิดของ Fig คือเอาฟีเจอร์ของ IDE ยุคใหม่ เช่น autocomplete รวมถึงความต้องการของทีมแอดมินยุคใหม่ เช่น การทำสคริปต์ใช้งานเพื่อ workflow ภายใน และสามารถแก้ไขสคริปต์ระหว่างในทีมกันได้, การแชร์คีย์ SSH เพื่อรีโมทเข้าเซิร์ฟเวอร์ แต่ต้องการแชร์อย่างปลอดภัย, การแก้ไข .dotfile สำหรับตั้งค่าเชลล์แล้วแชร์กันในทีม ฯลฯ
Fig เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2020 ปัจจุบันยังมีเฉพาะบน macOS โดยเวอร์ชัน Windows/Linux อยู่ระหว่างการพัฒนา แพ็กเกจค่าใช้งานเริ่มที่ 12 ดอลลาร์ต่อผู้ใช้ต่อเดือน โดยมี free tier สำหรับนักพัฒนาอิสระ หรือบริษัทขนาดไม่เกิน 10 คน
เมื่อปี 2020 AWS ได้เปิดตัวบริการ Amazon Honeycode บริการสร้างแอปพลิเคชันแบบ No-Code ที่ผู้ใช้งานสามารถลากวางข้อมูลจากสเปรดซีต โดยแอปที่ได้สามารถใช้งานได้ทั้งผ่านเว็บ และแบบแอปมือถือ อย่างไรก็ตาม AWS ประกาศเตรียมปิดบริการนี้แล้ว
Honeycode Support Team แจ้งอัพเดตผ่านชุมชนผู้พัฒนา ว่าหลังจากทีมงานได้รับความเห็นจึงตัดสินใจปิดให้บริการ Amazon Honeycode ที่ตอนนี้มีสถานะเบต้า มีผลตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2024
บริษัทวิจัยตลาด Bernstein Research ออกรายงานประเมินส่วนแบ่งตลาดเซิร์ฟเวอร์ Arm มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้
AWS ประกาศคิดค่าใช้ IPv4 จากเดิมที่ให้ฟรีรวมกับการใช้งานเซิร์ฟเวอร์หรือทรัพยากรอื่นๆ มาเป็นการคิดค่าใช้จ่ายเท่ากันทุกกรณี ชั่วโมงละ 0.005 ดอลลาร์ (เดือนละ 3.6 ดอลลาร์ หรือประมาณ 120 บาท) โดยเริ่มต้นคิดค่าใช้งานวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2024
ทาง AWS ให้เหตุผลว่าค่าใช้จ่ายในการจัดหา IPv4 แพงขึ้นมาก การคิดค่าใช้งานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงพร้อมกับสนับสนุนให้ไปใช้ IPv6 ที่ยังใช้งานได้ฟรีอยู่
นอกจากการคิดค่าใช้งานเพิ่มเติม AWS ยังเปิดเครื่องมือ Public IP Insights แสดงข้อมูลว่ามี IPv4 ใช้งานอยู่กับอะไรบ้าง
ที่มา - AWS Blog
Amazon เปิดเผยว่าบริษัทไม่มีแผนจัดงานสัมมนา re:MARS ในปีนี้ 2023 โดยเนื้อหาที่อยู่ในงานสัมมนานี้ จะนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งในงานสัมมนาของ Amazon Web Services แทน
re:MARS เป็นงานสัมมนาเน้นไปที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ใน 4 หัวข้อตามตัวย่อ MARS คือ Machine learning, Automation, Robotics และ Space ให้สตาร์ทอัพ องค์กรการศึกษา นักวิจัย และผู้บริหารระดับสูง แลกเปลี่ยนความรู้และการพัฒนาใหม่ ๆ ร่วมกัน งานจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2019 โดย Jeff Bezos อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Amazon
Amazon ยืนยันว่าการยกเลิกงาน re:MARS ไม่เกี่ยวกับเรื่องลดค่าใช้จ่ายบริษัท แต่บอกว่าการนำหัวข้อในงานนี้ไปรวมกับส่วนของ AWS จะทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์สูงสุดมากกว่า
Elastic ผู้พัฒนาโครงการ Elasticsearch ประกาศลงนามข้อตกลงความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ (global strategic collaboration agreement - SCA) กับ AWS โดยจะร่วมพัฒนาสินค้าต่างๆ ให้ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น