รวมข่าว Browser ทั้ง Mac, Linux, และ Windows พร้อมแนะนำ Browser มี Update ใหม่อะไรบ้าง
ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศนโยบายเลิกสนับสนุน IE รุ่นเก่าบนระบบปฏิบัติการเวอร์ชันต่างๆ โดยจะมีผลในวันที่ 12 มกราคม 2016 หรืออีกประมาณ 1 ปีครึ่งนับจากนี้
หลังจากวันที่ 12 มกราคม 2016 เป็นต้นไป ไมโครซอฟท์จะสนับสนุนเฉพาะ IE รุ่นล่าสุดบนระบบปฏิบัติการแต่ละตัวเท่านั้น (ซึ่งต่างกันไปตามแต่ละระบบปฏิบัติการ) ได้แก่
ไม่ช้าไม่นานหลัง Chrome for Windows รุ่น 64 บิต ก็มีคนไปพบว่า Chrome for OS X แบบ Dev Channel เริ่มเปลี่ยนมาเป็นรุ่น 64 บิตแล้ว (นับเลขเวอร์ชันคือรุ่น 38)
ข้อดีของ Chrome แบบ 64 บิตก็อย่างที่เคยลงข่าวไปแล้วหลายรอบคือ ประสิทธิภาพดีขึ้น และรองรับหน่วยความจำมากขึ้นครับ
ที่มา - OMG! Chrome
ทีมงาน IE ของไมโครซอฟท์เผยว่า ได้ปรับปรุง Internet Explorer 11 Mobile บน Windows Phone 8.1 Update ที่บริษัทเพิ่งเปิดตัวไป ให้แสดงผลเว็บไซต์ได้เหมือนกับที่ปรากฏบน Android หรือ iOS ตามแนวคิดที่ว่า "เว็บควรทำงานได้ (just work) กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ นักพัฒนา หรือองค์กร" ถึงแม้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นบางส่วนจะไม่ถูกพัฒนาตามมาตรฐานกลางของ W3C ก็ตาม
จากการสำรวจเว็บไซต์สาหรับอุปกรณ์พกพาต่างๆ พบ 5 ประเด็นหลักที่ทำให้เว็บไซต์เหล่านั้นแสดงผลบน WP ได้ไม่ถูกต้องเหมาะสม คือ
ต่อจากข่าว Google ปล่อย Chrome เวอร์ชั่น 64 บิตสำหรับ Windows ให้ทดสอบกันแล้ว วันนี้กูเกิลประกาศว่า Chrome 64 บิตเข้าสถานะ Beta เรียบร้อยแล้ว (ใช้งานได้กับ Windows 7/8)
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งได้จาก Chrome Beta หรือจะใช้วิธีเปลี่ยน Channel ก็ได้เช่นกันครับ
ที่มา - Chrome Releases
กูเกิลเริ่มค่อยๆ ปรับใช้แนวทางการออกแบบ UI ใหม่บนบริการของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ตามที่เคยบอกไว้ว่าจะนำการออกแบบนี้มาใช้กับทุกๆ แพลตฟอร์มและบริการของตน โดยการปล่อยอัพเดต Chrome Beta บนแอนดรอยด์ ปรับปรุงหน้าตาให้เป็น Material Design ตามหลัง Google Play แล้ว นอกจากนั้นยังจดจำบัญชีกูเกิลที่บันทึกอยู่ในเครื่อง ในกรณีที่มีมากกว่า 1 บัญชีให้อีกด้วย
การรองรับบัญชีกูเกิลที่เพิ่มขึ้นนี้ เมื่อ sign-in เข้า Chrome แอพจะบันทึกบัญชีอื่นๆ ที่ตั้งค่าไว้อยู่ในเครื่องให้ทันที ทำให้สามารถเลือกเข้าบัญชีอื่นได้ โดยไม่ต้องใส่รหัสใหม่
Mozilla ได้ออกอัพเดตสำหรับ Firefox รุ่นที่ 31 เวอร์ชันสำหรับเดสก์ท็อป โดยมีของใหม่ดังนี้
จากข่าว รายงานชี้ Chrome ทำให้เครื่องบริโภคใช้พลังงานมากขึ้นสูงสุด 25% เนื่องจากบั๊กเก่าตั้งแต่ปี 2012 ที่กูเกิลไม่ยอมแก้ไขสักที
แต่การเป็นข่าวดังไปทั่วโลกย่อมสร้างแรงกดดันต่อกูเกิล และเว็บไซต์ PCWorld ได้รับแจ้งจากกูเกิลว่ามอบหมายเป็นการภายในให้ทีมงาน Chrome แก้ปัญหานี้ และทีมงานก็เริ่มลงมือทำงานแล้ว
ระหว่างนี้ผู้ใช้ Chrome บนโน้ตบุ๊ก็ควรปิดโปรแกรมเมื่อไม่ใช้งาน หรือใช้เบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ แทนครับ
ที่มา - PCWorld
กูเกิลปล่อย Chrome beta เวอร์ชัน 37 ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์เด่นสองอย่างได้แก่การรองรับ DirectWrite API บนวินโดวส์ และรองรับ HTML element ตัวใหม่อย่าง dialog เพิ่มเข้ามา
ในส่วนของ DirectWrite API นั้นถูกเอามาแทนเอนจินเดิมสำหรับเรนเดอร์ตัวอักษรอย่าง Graphics Device Interface (GDI) ที่เก่าแก่มากแล้ว (ใช้มาตั้งแต่ช่วงกลางยุค 80) การเปลี่ยนไปใช้ DirectWrite API จะทำให้ Chrome สามารถเรนเดอร์ตัวอักษรได้เร็วขึ้น ความละเอียดสูงขึ้น ว่ากันง่ายๆ คือสวยขึ้นมาก ดูภาพเทียบได้ท้ายข่าวเลย
หลังจากไมโครซอฟท์ประกาศเตรียมปลดพนักงาน 18,000 ตำแหน่งภายในปีหน้า และ Stephen Elop อีเมลถึงพนักงานว่าจะเลิกทำมือถือ Android เปลี่ยนไปทำมือถือรัน Windows Phone อย่างเดียวแทน ล่าสุดเว็บไซต์ The Verge ก็เผยข้อมูลจากบันทึกที่ Jo Harlow ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายสมาร์ทโฟนสมัยอยู่โนเกียส่งให้พนักงาน ซึ่งระบุว่ามือถือตระกูล Asha กับ Nokia X และฟีเจอร์โฟนที่รัน Series 40 จะเข้าสู่สถานะ "maintenance mode" และบริษัทจะสิ้นสุดการให้บริการที่สนับสนุนแพลตฟอร์มเหล่านั้นในอีก 18 เดือนข้างหน้า นั่นหมายความว่าจะไม่มีฟีเจอร์ใหม่หรืออัพเดตให้แพลตฟอร์มข้างต้นอีกต่อไป
ดูเหมือน Chrome จะกลายเป็นข่าวร้ายสำหรับแบตเตอรี่โน้ตบุ๊กเข้าเสียแล้ว หลังจากมีนักเขียนของ Forbes ออกมาบอกว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้เบราว์เซอร์ Chrome นั้นกินไฟมากกว่าเจ้าอื่นๆ
คนที่ติดตามงาน Google I/O 2014 คงได้ยินชื่อโครงการ Polymer ของกูเกิลกันมาบ้าง มันคือ "ไลบรารีสำหรับสร้าง UI ด้วยเทคโนโลยีเว็บ" ที่พัฒนาขึ้นบนมาตรฐานเว็บตัวใหม่ Web Components ที่ว่ากันว่าจะปฏิวัติแนวคิดของการเขียนเว็บแบบเดิมๆ ไปอย่างสิ้นเชิง
บทความนี้จะแนะนำแนวคิดของ Web Components ในฐานะมาตรฐานที่กำลังพัฒนาขึ้นโดยคณะทำงานของ W3C ก่อนจะกล่าวถึง Polymer ในตอนต่อไป (ผู้อ่านควรมีพื้นฐานด้านการพัฒนาเว็บมาบ้างพอสมควร)
เว็บเบราว์เซอร์ Opera เดิมทีรองรับระบบปฏิบัติการพีซี 3 แพลตฟอร์มคือวินโดวส์ แมค ลินุกซ์ แต่หลังจากการเปลี่ยนเอนจิน Presto เดิมมาเป็น Chromium/Blink ในปี 2013 บริษัทก็เลือกรองรับเฉพาะวินโดวส์และแมคก่อนเท่านั้น ผู้ใช้ลินุกซ์รวมถึงระบบปฏิบัติการยูนิกซ์อื่นๆ จำเป็นต้องใช้ Opera 12.x ที่เป็นรุ่นเก่าต่อไป (เวอร์ชันล่าสุดคือ 12.16)
แต่ล่าสุด Opera ดูจะตั้งตัวได้และพร้อมสำหรับเวอร์ชัน Chromium บนลินุกซ์แล้ว โดยออกรุ่นทดสอบ Opera Developer 24 for Linux มาแล้ว
นอกจาก Firefox 31 Beta รุ่นบนเดสก์ท็อปแล้ว วันนี้ Mozilla ก็ออก Firefox for Android 31 Beta มาเหมือนกันครับ
ของใหม่ของ Firefox for Android 31 คือเปิดหน้าโฮมของเบราว์เซอร์ (about:home ที่แสดงรายชื่อเว็บที่ใช้บ่อย) ให้เว็บไซต์หรือบริการภายนอกสามารถสร้างเพจ (ต้นทางใช้คำว่า panel) เพิ่มเองได้ Mozilla เรียกฟีเจอร์นี้ว่า Firefox Hub และทดลองสร้างเพจขึ้นมาเป็นตัวอย่างให้ทำตามหลายแบบ เช่น แสดงภาพจาก Instagram, แสดงข้อมูลจาก Wikipedia/Pocket เป็นต้น
Firefox ออกรุ่น 31 Beta ที่มีของใหม่สำหรับผู้ใช้ทั่วไปเพียงอย่างเดียวคือ เพิ่มช่องค้นหาในหน้า New Tab แต่มีของใหม่สำหรับนักพัฒนาเว็บ (web developer tools) เป็นจำนวนมาก
จากข่าวก่อนหน้านี้ Chrome เริ่มทดสอบแสดง "origin chip" หรือเฉพาะชื่อโดเมนของเว็บไซต์ แทนการแสดง URL แบบเต็มในช่อง Omnibox
เป้าหมายของการแสดง origin chip คือเน้นโดเมนเนมเพื่อป้องกันปัญหา phishing แต่ล่าสุดทีมงาน Chrome ได้ปรับลดความสำคัญของฟีเจอร์นี้จากระดับสูงสุด (P1) ลงมาเหลือระดับ P3 แล้ว โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด (น่าจะเกิดจากการทดสอบกับผู้ใช้จริงแล้วผลออกมาไม่ดีนัก)
เบราว์เซอร์อื่นที่เริ่มแสดง URL เฉพาะโดเมนในลักษณะเดียวกันคือ Safari บน OS X 10.10 ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อสัปดาห์ก่อนครับ
Firefox เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 30 เรียบร้อยแล้ว เวอร์ชันนี้ต่างจาก Firefox 29 ที่มีการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก โดยของใหม่ใน Firefox 30 เวอร์ชันเดสก์ท็อปมีดังนี้
ก่อนหน้านี้ แอพบน iOS ที่ต้องการจะแสดงผลข้อมูลอื่นๆ ผ่านเบราว์เซอร์ในตัวที่มากับแอพจะต้องใช้งานเบราว์เซอร์ตัวที่ช้ากว่า เนื่องจากแอปเปิลจำกัดการใช้งานเอนจินจาวาสคริปต์ Nitro ไว้ใช้งานกับเบราว์เซอร์ Safari เท่านั้น
ให้หลังการเปิดตัว iOS 8 นักพัฒนาพบว่าแอปเปิลเปิดให้สามารถเข้าถึงเอนจิน Nitro ได้แล้ว ทำให้นักพัฒนาที่ใช้งานเบราว์เซอร์ในแอพ หรือแม้แต่รายที่พัฒนาเบราว์เซอร์ลงบน iOS ได้ประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงขึ้น
Huib Kleinhout นักพัฒนาของ Opera Coast บอกว่า WKWebView ตัวใหม่บน iOS 8 นั้นดูมีแววดีมาก แต่ความต่างระหว่างรุ่นก่อน จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อเจอเว็บที่ใช้งานจาวาสคริปต์หนักๆ เท่านั้น รวมถึงต้องมีการทดสอบความเสถียร เพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนใช้งานจริงอีกที
จากข่าว Chrome เตรียมยกเลิก API ของปลั๊กอินเบราว์เซอร์แบบเดิม เมื่อปีที่แล้ว ล่าสุดทีมงาน Chrome ออกมาเผยแผนการยกเลิกปลั๊กอินแบบ NPAPI แล้ว
จากข่าวเก่าเมื่อปีที่แล้ว Chrome จะเริ่มปิดไม่ให้ลงส่วนเสริมนอก Chrome Web Store ช่วงต้นปีหน้า วันนี้กูเกิลเริ่มใช้นโยบายนี้แล้วกับ Chrome รุ่นบนวินโดวส์ครับ
สำหรับส่วนเสริมใหม่ที่เพิ่งลงคงไม่มีปัญหาเพราะต้องผ่าน Chrome Web Store เพียงทางเดียว แต่ส่วนเสริมนอก Store ที่เคยติดตั้งไปแล้วอาจถูกปิดการใช้งาน และไม่สามารถเปิดคืนได้จนกว่านักพัฒนาจะส่งขึ้น Store เสียก่อน
กูเกิลยังเปิดให้นักพัฒนาสามารถติดตั้งส่วนเสริมได้เองเพื่อทดสอบการใช้งาน และเปิดให้ลูกค้าองค์กรสามารถติดตั้งส่วนเสริมของตัวเองได้ผ่าน Enterprise policy
กูเกิลออก Chrome 35 ทั้งเวอร์ชันเดสก์ท็อปและแอนดรอยด์
ไมโครซอฟท์ออกมาอธิบายฟีเจอร์ใหม่ของ IE11 ที่มาพร้อมกับ Windows Phone 8.1 ดังนี้
ตามปกติแล้ว Chrome เลือกใช้ Google Search เป็นเครื่องมือค้นหาหลัก และถ้าเราเปิดแท็บใหม่ (new tab) ขึ้นมา หน้าแท็บใหม่จะแสดงกล่องค้นหาของกูเกิลให้พิมพ์คำค้นกันได้สะดวกๆ
ถึงแม้ว่า Chrome เปิดให้ผู้ใช้เปลี่ยนเครื่องมือค้นหาหลักไปใช้ยี่ห้ออื่นได้มานานแล้วก็ตาม แต่หน้าแท็บใหม่กลับไม่แสดงกล่องค้นหาของเครื่องมือค้นหานั้น (จะแสดงเฉพาะ thumbnail ของเว็บไซต์ที่เข้าบ่อยเพียงอย่างเดียว ไม่มีกล่องค้นหา)
Firefox for Android ออกรุ่น 29 พร้อมกับรุ่นเดสก์ท็อป ของใหม่ที่สำคัญมี 2 ประการ
ที่มา - Mozilla Blog
Firefox 29 ออกรุ่นจริงแล้ว ของใหม่ที่สำคัญคือส่วนติดต่อผู้ใช้แบบใหม่ หรือที่เรียกกันภายในว่าธีม Australis ที่ทดสอบกันมาได้สักระยะแล้ว
หน้าตาใหม่ของ Firefox จะคล้าย Chrome มากขึ้น เริ่มจากแท็บที่ดูโค้งมนกว่าเดิม และย้ายปุ่ม Firefox มุมซ้ายบนไปเป็นปุ่มเมนูที่ขอบจอด้านขวาแทน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ คือย้ายปุ่ม Bookmark ออกมานอกช่อง URL, เพิ่มความสามารถด้านการปรับแต่งปุ่มต่างๆ บนแถบเครื่องมือ
เคยไหม? เจอปัญหาเล่นอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วเจอภาพที่มีข้อความน่าสนใจอยากก็อปปี้ไปค้นข้อมูลต่อ ถ้าสั้นๆ ไม่กี่คำ เราก็อาจจะพิมพ์ใหม่ได้ไม่เสียเวลามากแต่ถ้ายาวเป็นประโยคก็อาจจะเหนื่อยหน่อย หรือเจอข้อความภาษาที่ไม่คุ้นอยู่ในภาพจะเอาไปแปลก็ไม่รู้จะพิมพ์อย่างไร