ทีมวิจัย Accuvant (ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกูเกิล) ชี้ว่าขณะนี้ Firefox มีความปลอดภัยน้อยกว่า Internet Explorer โดยสาเหตุมาจากการที่ Firefox ไม่สามารถทำ sandbox โค้ดในเบราว์เซอร์ได้ ทำให้เครื่องของผู้ใช้งานตกเป็นเป้าของการถูกโจมตีจากแฮกเกอร์ได้ง่ายกว่า ส่วนเบราว์เซอร์ที่ปลอดภัยที่สุดตอนนี้ก็คือ Chrome (ซึ่งเป็นของกูเกิล)
Accuvant อธิบายว่า Chrome นั้นเป็นโครงการที่เริ่มใหม่ทั้งหมด ทำให้กูเกิลมีโอกาสที่จะใส่ความสามารถทางด้านความปลอดภัยที่ดีกว่าเข้าไปได้ แตกต่างจากคู่แข่งอย่าง Firefox ที่อาศัยโค้ดที่ตกทอดมาเรื่อยๆ เป็นพื้นฐาน ซึ่ง Firefox นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ตอนที่ความปลอดภัยของเบราว์เซอร์ยังไม่เป็นปัญหามากนัก ผิดกับ Chrome ที่เกิดมาในเวลาที่เหมาะเจาะพอดี
กูเกิลประกาศจับมือค่ายเกมจำนวนมากทำเกมลง Chrome ผ่านเทคโนโลยี NaCl (Native Client) ที่ช่วยให้นำเกมที่เขียนด้วย C/C++ พอร์ตมาลงเวอร์ชันเบราว์เซอร์ได้ง่ายขึ้น
ค่ายที่เซ็นสัญญากับกูเกิลได้แก่พี่ใหญ่อย่าง Square Enix, Moai, Supergiant รวมถึงเอนจินเกมชื่อดังอย่าง Unity 3D ที่ประกาศรองรับ NaCl แล้ว
ค่ายที่ถูกจับตามองที่สุดคงหนีไม่พ้น Square Enix ซึ่งเซ็นสัญญากับกูเกิลสามปี และได้ซีอีโอ Yoichi Wada มาแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ของกูเกิลด้วยตนเอง เกมแรกที่ Square Enix จะส่งมาลง Chrome คือเกม Mini Ninjas ที่เคยลงเครื่องคอนโซลมาก่อน
สงครามเบราเซอร์ในช่วงสองปีหลังมานี้หวือหวามากนับแต่ Chrome เข้ามาในตลาด และทำได้ดีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเว็บ StatCounter เปิดเผยสถิติเบราเซอร์ของเว็บทั่วโลก พบว่า Chrome นั้นมีส่วนแบ่งตลาด 25.69% เฉือนชนะ Firefox ที่ได้ส่วนแบ่ง 25.23% ไปได้เป็นครั้งแรกนับแต่เปิดตัวมา
ส่วน IE นั้นผงกหัวขึ้นเล็กน้อยหลังจากส่วนแบ่งตลาดตกลงอย่างต่อเนื่องมาสองปี อยู่ที่ 40.63% ที่เพิ่มขึ้นมา ที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แต่แน่นอนคือ Safari (รวม iPod, iPhone, และ iPad) มีส่วนแบ่งถึง 5.92% แล้วทิ้งห่าง Opera ที่อยู่ในช่วง 1-2% ตลอดมา
ที่มา - StatCounter
มีผู้ใช้เบราว์เซอร์ Chrome จำนวนหนึ่งรายงานว่าพวกเขาได้เห็นโฆษณาในหน้า New Tab อาทิ โฆษณาขาย Chromebook เป็นต้น (ดูตัวอย่างที่ท้ายข่าว) แต่ผู้ใช้เหล่านั้นก็ไม่ได้ระบุว่าเบราว์เซอร์ Chrome ที่ผู้ใช้เห็นป้ายโฆษณานี้อยู่ติดตั้งบนแพลตฟอร์มใด
หากกูเกิลต้องการที่จะโฆษณาผ่านเบราว์เซอร์ของตนจริงก็อาจต้องเจอกับปฏิกิริยาตอบโต้ แต่ก็เป็นไปได้ที่ผู้คนอาจ "รับได้" กับโฆษณาที่อาจปรากฎขึ้นเป็นครั้งคราวคงต้องดูกันต่อไปครับ
ที่มา: gHacks ผ่าน Neowin.net
กูเกิลประกาศหั่นราคา Chromebook ทั้งสองยี่ห้อคือ Acer AC700 และ Samsung Series 5 ลงมาอยู่ที่ 299 ดอลลาร์ (9,400 บาท) สำหรับรุ่น Wi-Fi
Acer AC700 รุ่น Wi-Fi เดิมขายอยู่ที่ 349 ดอลลาร์ และ Samsung Series 5 Wi-Fi ขายที่ 429 ดอลลาร์ การลดราคาครั้งนี้คงช่วยกระตุ้นยอดขายของ Chromebook ได้พอสมควร
นอกจากนี้กูเกิลยังปรับ UI ของตัวระบบปฏิบัติการอีกเล็กน้อย โดยเปลี่ยนหน้าจอล็อกอินใหม่ให้สวยขึ้น เพิ่มหน้าแท็บใหม่ของ Chrome 15 และเพิ่มไอคอน File Manager ในหน้าแท็บใหม่ด้วย
ที่มา - Official Google Blog
มีข่าวการซื้อกิจการของกูเกิลออกมาไล่เลี่ยกัน 2 ข่าว ยุบรวมกันเพื่อไม่ให้เปลืองที่นะครับ
บริษัทแรกคือ Katango ซึ่งสร้างซอฟต์แวร์บน iPhone ที่ช่วยจัดรายการเพื่อนบน Facebook ให้อัตโนมัติ (ทำนองเดียวกับ Smart List ที่ Facebook เพิ่งเปิดตัวออกมา) ทีมงาน Katango จะถูกรวมเข้ากับทีมของ Google+ และเราคงได้เห็นฟีเจอร์ช่วยจัดการ circle ในไม่ช้า - ReadWriteWeb
กูเกิลออก Chrome 16.0.912.21 ใน Beta Channel โดยมีฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือการล็อกอิน Google Profile ในตัวเบราว์เซอร์ (สำหรับซิงก์ข้อมูล) ได้หลายบัญชีพร้อมกัน
ผู้ใช้ Chrome 16 Beta จะเห็นไอคอน avatar ของเราโผล่มาที่มุมซ้ายบนของหน้าต่าง (ก่อนแท็บอันแรก - ดูภาพประกอบ) เมื่อกดแล้วสามารถล็อกอินบัญชีใหม่ หรือจะสลับไปยังบัญชีอื่นๆ ที่เคยล็อกอินไว้แล้วได้
ฟีเจอร์นี้เหมาะสำหรับคนที่แชร์คอมพิวเตอร์ร่วมกับคนอื่น ก็ช่วยให้ใช้งาน Chrome สะดวกมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกด้วยความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่อาจจะลดลงมาหน่อยครับ
ที่มา - Google Chrome Blog
ไม่รู้เบื่อข่าว Chrome รุ่นใหม่กันหรือยังนะครับ แต่ในเมื่อเขาออกรุ่นใหม่ เราก็ต้องเขียนเป็นข่าวต่อไป
Chrome 15 เข้าสู่สถานะ Stable Release เรียบร้อย (เลขรุ่นคือ 15.0.874.102) ของใหม่ได้แก่หน้า New Tab ดีไซน์ใหม่ (ดูวิดีโอประกอบ) ใช้วิธีเลื่อนซ้าย-ขวาเพื่อสลับระหว่างหน้า "แอพ" กับ "เว็บที่เข้าบ่อย" คาดว่าคงทำมารอรับหน้าจอสัมผัสที่จะกลายเป็นมาตรฐานในเร็ววันนี้
นอกจากนี้ Chrome 15 ยังออกมาพร้อมกับ Chrome Web Store โฉมใหม่ ที่ไฉไลกว่าเดิมอีกด้วย
สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับระบบ remote desktop อยู่แล้ว ข่าวนี้ไม่มีอะไรใหม่ในแง่การใช้งาน แต่ถือเป็นความพยายามที่น่าสนใจของกูเกิลในการผลักดัน Chrome/Chromebook สำหรับการควบคุมเครื่องจากระยะไกล
Chrome Remote Desktop เป็นส่วนเสริมของ Chrome ที่พัฒนาโดยทีม Chromium เมื่อติดตั้งแล้วก็ตามชื่อครับ เราสามารถควบคุมเดสก์ท็อป (ทั้งเดสก์ท็อปเลย ไม่ใช่เฉพาะเบราว์เซอร์) ของเครื่องที่อยู่อีกฝั่งได้
กูเกิลอธิบายว่าเป้าหมายของส่วนเสริมตัวนี้คือแสดงให้เห็นว่า Chrome สามารถทำงานระยะไกลได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้ส่วนเสริมนี้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการใช้งาน (IT helpdesk) ได้
เมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ใช้จำนวนหนึ่งรายงานว่าไม่สามารถเข้าถึง Google Chrome ได้หรือกระทั่งไฟล์โปรแกรมดังกล่าวหายไปจากเครื่อง หลังจาก Microsoft Security Essentials (MSE) แจ้งเตือนว่าพบมัลแวร์ PWS:Win32/Zbot และผู้ใช้ทำการสั่งลบมัลแวร์ดังกล่าวออกไป
มีคนไปค้นพบร่องรอยจากซอร์สโค้ดบนเว็บ chromium.org ว่า วิศวกรของกูเกิลทำระบบคอมไพล์ Chrome for Android เมื่อสัปดาห์ก่อน ถึงแม้กูเกิลจะยังไม่ประกาศอะไรอย่างเป็นทางการ แต่ก็เป็นสัญญาณว่าเราจะได้เห็น Chrome for Android ในอีกไม่นานนัก
ที่ผ่านมา เบราว์เซอร์ของ Android ใช้เอนจิน WebKit บวกกับโค้ดบางส่วนจาก Chrome แต่ยังไม่ใช่ตัวเดียวกัน ซึ่งกูเกิลเองก็เคยพูดไว้ว่าในอนาคต เบราว์เซอร์สองตัวนี้จะค่อยๆ หลอมรวมเข้าหากันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่บอกว่าเมื่อไรอย่างไร
ส่วนจะมาทันงานแถลงข่าว 11 ตุลาคมหรือไม่ ต้องรอดูกันต่อไป
บริษัท StatCounter ซึ่งเก็บสถิติส่วนแบ่งตลาดเว็บเบราว์เซอร์ ออกมาพยากรณ์ว่าส่วนแบ่งตลาดของ Chrome จะแซง Firefox ภายในเดือนธันวาคมนี้เป็นอย่างช้า
ตอนนี้ส่วนแบ่งตลาดตามที่ StatCounter ระบุคือ IE 41.7%, Firefox 26.8%, Chrome 23.6% ถ้าแนวโน้มยังเป็นแบบนี้ต่อไป Chrome จะขึ้นมาเท่ากับ Firefox ในเดือนพฤศจิกายน และแซงในเดือนธันวาคม
ต้องย้ำอีกรอบว่านี้เป็นสัดส่วนของ StatCounter เพียงรายเดียว เพราะยังมีบริษัทอื่นๆ อีกมากที่เก็บสถิติเบราว์เซอร์ และมีตัวเลขที่ต่างออกไป อย่างตัวเลขของ Net Applications จะเป็น Firefox 22.6%, Chrome 15.5%
ที่มา - Computerworld
กูเกิลประกาศ Chrome Stable รุ่นใหม่ (นับรุ่นก็คือ 14) โดยมีสองฟีเจอร์สำคัญคือ NaCl และ Web Audio API (รายละเอียดอ่านในข่าว Chrome 14 จะเปิด Native Client เป็นมาตรฐานแล้ว)
ของใหม่อื่นๆ คือ รองรับระบบปฏิบัติการ Mac OS X Lion มากขึ้น ทั้งเรื่อง scrollbar และ fullscreen ที่เหลือก็แก้ปัญหาความปลอดภัยอีกหลายจุด
คล้อยหลัง กูเกิลออกส่วนเสริม Google +1 สำหรับ Chrome เพียงหนึ่งวัน ก็มีคนไปค้นพบว่าฝั่ง Facebook เองก็มีส่วนเสริม Like Button สำหรับ Chrome อยู่ก่อนแล้ว
อย่างไรก็ตาม ส่วนเสริม Like Button อันนี้จะไม่สะดวกเท่ากับส่วนเสริม +1 ของกูเกิล เพราะเราจะต้องกดปุ่มบนทูลบาร์ก่อนหนึ่งครั้ง และจะมีเมนูแสดงปุ่ม Like Button ของจริงขึ้นมาให้กดอีกทีหนึ่ง (สรุปว่าต้องกด 2 ทีจึงจะ Like ได้)
นอกจากนี้ส่วนเสริมนี้ยังเพิ่มเมนูคลิกขวา Facebook Like Button ซึ่งมีความสามารถแชร์ข้อมูลลง Facebook (นอกจาก Like) ได้ด้วย
เรื่องทิศทางของปุ่ม +1 ของกูเกิลนั้น ชัดเจนแล้วว่ามันถูกรวมเข้ากับ Google+ (กูเกิลเปิดฟีเจอร์แชร์เว็บจากปุ่ม +1 ลง Google+ แล้ว)
เนื่องจากวันนี้มีข่าวกูเกิลถูกโจมตี เลยอยากพูดถึงความเปลี่ยนแปลงด้านความปลอดภัยหลายๆ เรื่องพร้อมๆ กันในข่าวเดียวเนื่องจากค่อนข้างเกี่ยวเนื่องกัน
เริ่มจากทางกูเกิลได้อัพเดตเรื่องนี้ว่าบริษัทได้รับรายงานว่ามีความพยายามจะโจมตีแบบ man-in-the-middle (MITM) บ้างแล้ว โดยเป้าหมายหลักคือกลุ่มผู้ใช้ในอิหร่าน อย่างไรก็ดีกูเกิลยืนยันว่าผู้ใช้ Chrome นั้นปลอดภัยจากการโจมตีครั้งนี้ และฝั่งไฟร์ฟอกซ์เองก็รีบออกอัพเดตเพื่อลดผลกระทบของการโจมตี พร้อมกับออกคำแนะนำสำหรับการยกเลิกใบรับรองของ DigiNotar ในกรณีที่ไม่ต้องการอัพเดต
ทุกวันนี้กูเกิลนั้นมีเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมสูงมากในความดูแลสองตัวคือ Chrome และเบราว์เซอร์บน Android ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ แม้ทั้งสองตัวจะใช้ WebKit เหมือนกันแต่ก็ใช้ทีมพัฒนาแยกสายกันมาโดยตลอดส่งผลให้มีความต่างกันเช่น Android นั้นเพิ่งใช้งานจาวาสคริปต์เอนจิน V8 เมื่อไม่นานมานี้ ขณะที่ Chrome ใช้งานตั้งแต่เริ่มต้น หรือการเรนเดอร์ที่ต่างกันไปบ้างในจุดเล็กๆ น้อยๆ จำนวนมาก
กูเกิลรับรู้ปัญหานี้และประกาศแก้ปัญหานี้อย่างเป็นระบบ ด้วยมาตรการสามขั้น
กูเกิลเปิดบริการตัวใหม่ชื่อ Google Related ซึ่งจะคอย "แนะนำ" เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเว็บที่เราเปิดอยู่ในตอนนั้นให้ผ่านทูลบาร์ด้านล่างของหน้าจอ
หลักการทำงานของมันก็คือส่ง URL ของเว็บที่เราเปิดอยู่ในตอนนั้นไปยังกูเกิล (ซึ่งกูเกิลจะรู้แน่นอนว่าเราเปิดเว็บหน้าไหนบ้าง คนที่กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวพึงระวัง) จากนั้นจะส่งรายชื่อเว็บที่เกี่ยวข้องจาก Google Search กลับมาให้ ทั้งหน้าเว็บ รูปภาพ ข่าวสาร วิดีโอ แผนที่ สถานที่ (ส่วนจะแสดงอะไรบ้าง ขึ้นกับว่าเปิดเว็บที่เกี่ยวข้องกับอะไร ไม่จำเป็นต้องแสดงทั้งหมด)
Native Client นั้นเป็นเทคโลยีที่ทำให้ไฟล์ไบนารีที่ทำงานกับซีพียูโดยตรงสามารถถูกจำกัดความสามารถในการเข้าถึงระบบได้อย่างแม่นยำ เช่นไม่สามารถเปิดไฟล์ใดๆ ที่ไม่ได้ขออนุญาตล่วงหน้า หรือการเชื่อมต่อกับเครือข่าย โดยกูเกิลเปิดตัวเทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ปี 2008 ในฐานะปลั๊กอินสำหรับเบราเซอร์ และเริ่มรวมกับ Chrome มาได้พักใหญ่ๆ แต่ผู้ใช้จะต้องเปิดการใช้งานเอง จนกระทั่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมากูเกิลระบุว่ากำลังเตรียมออก ABI รุ่นเสถียรรุ่นแรกและเมื่อพร้อมแล้วจะเปิดให้ใช้งานใน Chrome ตั้งแต่เริ่มต้น
ใน Android นั้นปัญหาอย่างหนึ่งที่ถูกแก้ไปอย่างดีคือการทำงานร่วมกันระหว่างแอพพลิเคชั่นที่มีระบบ Intent ที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เปิดโอกาสให้บริการใหม่ๆ สามารถให้บริการได้เช่นบริการอ่าน QR Code นั้นสามารถเขียนกันคนละแอพพลิเคชั่นจากนักพัฒนาที่ไม่เกี่ยวข้องกันแต่ให้บริการแทนกันได้ และวันนี้กูเกิลก็พยายามนำแนวคิดแบบเดียวกันให้มาอยู่ในเว็บ ในชื่อ Web Intents
กูเกิลยกตัวอย่างการแก้ไขรูปภาพ โดยเว็บฝากรูปดีๆ สักเว็บอาจจะไม่สามารถพัฒนาเว็บสำหรับแก้ไขรูปภาพได้ด้วยตัวเอง เว็บฝากรูปนั้นสามารถเรียก Intent สำหรับแก้ไขรูปภาพขึ้นมาลอยๆ โดยไม่รู้ว่าจะมีเว็บใดให้บริการแก้ไขรูปภาพบ้าง
ประมาณสองเดือนจาก Chrome 12 กูเกิลก็ออก Chrome 13 สำหรับรุ่น Stable Channel (13.0.782.107)
ฟีเจอร์ใหม่ในรุ่นนี้มีสองอย่างหลักๆ อย่างแรกคือ Instant Pages ที่เปิดตัวไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน มันจะประสานการทำงานของ Chrome กับ Google Search ช่วยโหลดผลการค้นหาอันดับแรกสุดรอไว้ให้ ทำให้ตอนที่เราคลิกลิงก์แรกในผลการค้นหา หน้าเว็บจะปรากฎขึ้นมาแทบจะทันที (ดูวิดีโอประกอบ)
อย่างที่สองคือ Print Preview ซึ่งรอกันมานาน (มาก) มีให้ใช้แล้วบนวินโดวส์และลินุกซ์ ส่วนแมคต้องรอกันต่อไปอีกสักพัก กูเกิลพัฒนาฟีเจอร์นี้ผ่าน PDF Viewer ในตัว ทำให้มันสามารถพิมพ์เว็บออกมาเป็น PDF ได้ในตัวด้วย
เพียงสองปีหลังเปิดตัว Google Chrome ก็เปลี่ยนตลาดเบราเซอร์ไปอย่างรวดเร็ว และกูเกิลเองก็ทุ่มงบประมาณผลักดันด้วยการโฆษณาให้เบราเซอร์ฟรีตัวนี้อย่างหนักแม้แต่ในเมืองไทย ตอนนี้ผลลัพธ์ของการทุ่มเทนี้ก็ส่งผลแล้วเมื่อสถิติเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา Chrome สามารถชิงส่วนแบ่งตลาดในประเทศไทยได้ร้อยละ 15.81 ชิงอันดับสองมาจากไฟร์ฟอกซ์ได้ในเวลาอันสั้น
แม้ว่า Chrome จะชิงที่สองมาจากไฟร์ฟอกซ์แต่ในแง่ส่วนแบ่งแล้วไฟร์ฟอกซ์เองถือว่า "นิ่ง" มาตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยผู้ใช้ไฟร์ฟอกซ์เกิน 15% ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และสามารถเกิน 16% ไปได้เพียงเดือนเดียวคือพฤษภาคมที่ผ่านมา
บริษัทที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาของแคนาดา AptiQuant ได้รายงานผลการวิจัยว่าด้วยความสัมพันธ์ของระดับเชาวน์ปัญญา (ไอคิว) กับเว็บเบราเซอร์ที่ใช้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งแสนคนทำแบบทดสอบวัดไอคิว จากนั้นก็เก็บผลคะแนนที่ได้กับเว็บเบราเซอร์ที่บุคคลนั้นใช้ พบผลลัพธ์ที่น่าสนใจดังนี้
ในภาพรวมแล้วผลการสำรวจพบว่าผู้ใช้ Internet Explorer มีระดับไอคิวอยู่ราว 80-90 ขณะที่กลุ่มผู้ใช้ Firefox, Chrome และ Safari มีไอคิวอยู่ในช่วง 100-110 ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเป็นผู้ใช้งาน Chrome Frame, Camino หรือ Opera จะมีระดับไอคิวสูงมากกว่า 120 กันเลย
จุดแข็งของ Firefox ในเรื่องเครื่องมือช่วยพัฒนาเว็บอย่าง Firebug อาจจะหมดลงในไม่ช้า เพราะ John J. Barton นักพัฒนาหลักคนปัจจุบันของโครงการ Firebug ประกาศว่าเขาจะร่วมงานกับทีม Chrome เพื่อสร้าง "เครื่องมือช่วยพัฒนาเว็บยุคหน้า"
ก่อนหน้านี้ John J. Barton เป็นพนักงานของ IBM และร่วมพัฒนา Firebug เต็มเวลาในฐานะพนักงานของ IBM แต่ตอนนี้เขาบอกว่าจะไม่ได้ร่วมพัฒนา Firebug รุ่นบน Firefox อย่างต่อเนื่องเหมือนเดิมอีกแล้ว (ยังมีนักพัฒนาคนอื่นๆ ทำต่อ แต่อาจจะพัฒนาช้ากว่าเดิม)
ปัญหาของ Firebug ตอนนี้คือสถาปัตยกรรมของซอฟต์แวร์ตาม Firefox ไม่ทัน และโฟกัสของนักพัฒนาเว็บที่เริ่มย้ายจากเดสก์ท็อปไปยังอุปกรณ์พกพา