AWS เปิดบริการ EC2 Dedicated Host ให้ใช้งานแล้ว หลังประกาศข่าวครั้งแรกเมื่อเดือนที่แล้ว
EC2 Dedicated Host คือการเช่า EC2 เครื่องจริงทั้งเครื่องแทนการเช่าแยกเป็น VM จากนั้นเราค่อยมาแบ่ง VM เอาเองตามต้องการ (เท่าที่เครื่องจะสามารถรับไหว)
บริการคลาวด์ของกูเกิลเปิดแนวทางใหม่ให้ผู้ใช้ปรับค่าของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการใช้งานได้เอง โดยไม่ต้องรอประเภทเครื่องที่กูเกิลจัดมาให้
ข้อจำกัดของการปรับเครื่องเองคือต้องจัดหน่วยความจำให้ 0.9GB ต่อซีพียูเป็นอย่างน้อย และหากมีซีพียูมากกว่า 1 ซีพียูหลังจากนั้นจะต้องเป็นเลขคู่เสมอ ไม่สามารถเลือกเป็น 5 หรือ 7 ซีพียูได้
ราคาเครื่องตอนนี้อยู่ที่ 0.03492 ดอลลาร์ต่อซีพียูต่อชั่วโมง และหน่วยความจำ 0.00468 ต่อกิกะไบต์ต่อชั่วโมง หากเปิดเครื่องเป็นประเภท preemtible จะถูกลงเหลือเพียง 1 ใน 3
ตอนนี้บริการยังอยู่ในขั้นเบต้า และสามารถเรียกใช้อิมเมจที่เป็นลินุกซ์ เช่น CentOS, CoreOS, Debian, OpenSUSE, และ Ubuntu
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือครั้งใหญ่กับเรดแฮท ข้อตกลงแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศรองรับ Cloud Foundry บนแพลตฟอร์มคลาวด์ Azure อย่างเป็นทางการ (general availability) หลังเริ่มทดสอบรุ่นเบต้ามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
Cloud Foundry เป็นเทคโนโลยีคลาวด์แบบ PaaS โอเพนซอร์สที่ริเริ่มโดย VMware และภายหลังตั้งมูลนิธิมาดูแล เพื่อไม่ให้ผูกกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินไป ตัวของ Cloud Foundry ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่อย่าง IBM และ HP
Mark Hurd ซีอีโอร่วมของออราเคิล (ถ้าจำกันได้ เขาเคยเป็นซีอีโอของ HP) ออกมาพยากรณ์ว่าในปี 2025 หรืออีกสิบปีข้างหน้า 80% ของซอฟต์แวร์ด้านการงาน (productivity apps) จะย้ายมาอยู่บนคลาวด์ ในขณะที่ปัจจุบันมีเพียง 25% เท่านั้น
ส่วนการเก็บข้อมูลขององค์กรจะย้ายมาอยู่บนคลาวด์ทั้งหมด และกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์-ทดสอบจะเกิดขึ้นบนคลาวด์ด้วย ยุคสมัยของการมี OS หรือฐานข้อมูลแบบ on premise จะจบลงในอีกสิบปีข้างหน้า
เขายังพยากรณ์ว่าผู้เล่นตลาด Software as a Service (SaaS) สำหรับลูกค้าองค์กร จะเหลือรายใหญ่เพียงแค่ 2 รายที่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน 80% ซึ่งเขามั่นใจว่าออราเคิลจะเป็นหนึ่งในสองรายนั้น
ออราเคิลหันมาลุยตลาดคลาวด์แบบ Infrastructure as a Service (IaaS) สู้กับ Amazon Web Services ตรงๆ โดยเปิดตัวบริการย่อยใหม่ 5 ตัว
ช่วงนี้ ออราเคิลจัดงานประจำปี Oracle OpenWorld เลยมีข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทเยอะหน่อยนะครับ ผลิตภัณฑ์ใหม่อีกตัวที่น่าสนใจคือ Oracle Cloud Platform for Big Data แพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่
Oracle Cloud Platform for Big Data เป็นการจับผลิตภัณฑ์สาย Big Data ของออราเคิลมารวมเป็นชุดเดียวกัน โดยมีของเดิมอยู่แล้ว 2 ตัวคือ Big Data Cloud Service กับ Big Data SQL Cloud Service และเพิ่มของใหม่อีก 4 ตัว
Rackspace ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่เปิดตัวบริการ Carina เป็นเบต้าสำหรับรันคอนเทนเนอร์ของ Docker และ Docker Swarm
Carina จะมาพร้อมกับสคริปต์สำหรับเชื่อมต่อจากเครื่องพัฒนา เมื่อยืนยันตัวตนผ่านสคริปต์แล้วจะได้ไฟล์ environment เพื่อเชื่อมต่อคำสั่ง docker ไปยังเซิร์ฟเวอร์ Carina
ช่วงนี้เป็นช่วงเบต้า เปิดให้ใช้งานฟรีโดยไม่ต้องผูกบัตรเครดิตล่วงหน้า
HP พยายามบุกตลาดคลาวด์ด้วยบริการ HP Helion มาตั้งแต่กลางปี 2014 โดยอาศัยโซลูชันโอเพนซอร์ส OpenStack เป็นฐาน (อธิบายง่ายๆ คือเป็นคลาวด์ OpenStack ที่ให้บริการโดย HP)
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ public cloud ที่มีตัวเลือกในท้องตลาดมากมาย บริการ HP Helion กลับไปได้ไม่ดีอย่างที่คิด ทำให้ HP ประกาศเลิกทำ HP Helion Public Cloud เรียบร้อยแล้ว มีผลในวันที่ 31 มกราคม 2016 และปรับโมเดลมาสนับสนุนการใช้ซอฟต์แวร์ของ HP บนคลาวด์ยอดนิยมอย่าง AWS หรือ Azure แทน
หลังเลิกให้บริการ public cloud ของตัวเอง HP จะนำทรัพยากรไปทุ่มกับ private cloud ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของบริษัทมากกว่า
SAP เปิดตัวบริการใหม่ SAP Cloud for Analytics บริการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเช่าใช้งานบนกลุ่มเมฆ (SaaS)
SAP Cloud for Analytics ถูกพัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์ม SAP HANA Cloud Platform โดยมุ่งเป้าเป็นบริการวิเคราะห์ข้อมูลด้าน business intelligence (BI) และการวางแผนภายในองค์กร จุดเด่นคือมีฟีเจอร์ครบครัน แต่อยู่บนอินเทอร์เฟซเดียวกันหมด ออกแบบ UI ให้ใช้งานง่ายมาตั้งแต่แรก แถมในอนาคตจะเพิ่มฟีเจอร์ predictive ช่วยคาดเดาแนวโน้มของข้อมูลได้ด้วย
SAP จะเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของ SAP Cloud for Analytics ในสัปดาห์หน้า
ผมได้รับเชิญจากบริษัทเน็ตแอพ ประเทศไทย ให้มาร่วมงานสัมมนาใหญ่ประจำปีของบริษัท NetApp Insight 2015 ที่เมืองลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา จึงนำข้อมูลจากในงานมาฝากกันครับ
ก่อนอื่นต้องแนะนำบริษัท NetApp ก่อน เพราะคนที่ไม่ได้อยู่ในโลกไอทีองค์กร (แถมต้องเป็นสายสตอเรจด้วย) อาจไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน
จริงๆ แล้ว บริษัท NetApp ก่อตั้งมานานตั้งแต่ปี 1992 เข้าตลาดหุ้นในปี 1995 มีธุรกิจหลักคือฮาร์ดแวร์ด้านสตอเรจสำหรับลูกค้าองค์กร ถือเป็นบริษัทสตอเรจรายใหญ่รายหนึ่งของโลกไอทีฝั่งองค์กร (Blognone เคยสัมภาษณ์ คุณวีระ อารีรัตนศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย NetApp มีรายละเอียดพื้นฐานพอสมควร แนะนำให้อ่านกัน)
เมื่อสิ้นเดือนที่ผ่านมา IBM ประกาศแผนการขยายธุรกิจด้านคลาวด์ของตนเอง โดยประกาศจัดตั้งศูนย์ที่อินเดีย และ Industry Platforms ชุดใหม่เพิ่มเติม
ในส่วนแรกสำหรับการจัดตั้งศูนย์ที่อินเดียนั้น IBM จะจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมธุรกิจด้านคลาวด์ขึ้นที่เมืองบังกาลอร์ของอินเดีย ซึ่งศูนย์นี้จะทำหน้าที่กับลูกค้าในการสร้างโซลูชั่นด้านคลาวด์ให้กับลูกค้า ร่วมกับทีมภายในของ IBM สำหรับอีกส่วนคือการเพิ่ม Industry Platforms ชุดใหม่นั้น จะเป็นโซลูชั่นสำหรับลูกค้าที่รวมเอางานด้านคลาวด์มาใส่ ประกอบไปด้วย
งาน re:Invent ปีนี้อเมซอนเพิ่มบริการจำนวนมาก ข่าวนี้คัดมาเฉพาะที่เกี่ยวกับ EC2 ที่เป็นบริการหลัก มีเซิร์ฟเวอร์สี่รูปแบบใหม่ให้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการ ได้แก่
Amazon Web Services (AWS) เปิดตัวบริการใหม่ Amazon QuickSight สำหรับประมวลผลข้อมูล business intelligence (BI) บนกลุ่มเมฆ
ระบบของ QuickSight ใช้เอนจินประมวลผลข้อมูลชื่อ Super-fast, Parallel, In-memory Calculation Engine (“SPICE”) เพื่อคำนวณและสร้างภาพเรนเดอร์ visualization ได้อย่างรวดเร็ว จุดเด่นของมันคือสามารถดึงข้อมูลที่เก็บอยู่ในบริการอื่นๆ ของ AWS มาประมวลผลได้ทันที รองรับปริมาณข้อมูลได้มากเท่าที่ AWS รับไหว และมีราคาถูกกว่าโซลูชัน BI แบบเดิมๆ ในอดีต (AWS โฆษณาว่าราคาเหลือเพียงแค่ 1/10 ของโซลูชันแบบเดิม)
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการใหม่ Azure Data Lake แพลตฟอร์มสำหรับจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) บนกลุ่มเมฆ
Azure Data Lake ประกอบด้วยชิ้นส่วนย่อย ดังนี้
Amazon Web Services เปิดบริการใหม่ชื่อ Amazon Elasticsearch Service (ตัวย่อ ES) โดยนำซอฟต์แวร์ค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลแบบโอเพนซอร์ส Elasticsearch มารันบนคลาวด์ของ AWS
Elasticsearch ถูกออกแบบมาใช้ค้นหาคำที่ต้องการจากข้อมูลขนาดใหญ่ โดยแบ่งงานแบบกระจายศูนย์ตามคลัสเตอร์ได้ (จึงเหมาะแก่การรันบน AWS ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว) ตัวซอฟต์แวร์มี API สำหรับเชื่อมกับระบบงานภายนอกอื่นๆ เช่น visualization ได้ด้วย
AWS ไม่ใช่ผู้ให้บริการคลาวด์รายแรกที่นำระบบ Elasticsearch มาใช้งาน เพราะ Google Compute Engine ให้บริการแบบเดียวกันมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2015
Google Cloud Platform เปิดบริการใหม่ (อีกแล้ว) โดยใช้ชื่อว่า Google Cloud Dataproc มันคือการนำเอาซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Apache Hadoop และ Apache Spark มาโฮสต์บนระบบคลาวด์ของกูเกิล และปรับแต่งให้เซ็ตอัพ คอนฟิก และใช้งานง่ายขึ้น ลดความยุ่งยากในการดูแลระบบลง
Cloud Dataproc ยังใช้ประโยชน์จากราคาประมวลผลบนกลุ่มเมฆ โดยคิดราคาเพิ่มจากปกติเพียงแค่ 1 เซ็นต์ต่อซีพียูต่อชั่วโมง (นอกเหนือจากค่าประมวลผล-สตอเรจที่ต้องจ่ายให้กูเกิลอยู่แล้ว) และถ้าอยากประหยัดแบบสุดๆ ก็สามารถรันงานบน Preemptible Instances เซิร์ฟเวอร์พร้อมตายทุกเวลา ที่ราคาถูกมากเป็นพิเศษได้
ในงานแถลงข่าว Microsoft Dynamics ที่ประเทศสิงคโปร์ ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ไมโครซอฟท์เชิญตัวแทนจากทีมรถแข่ง Lotus F1 (ที่ไมโครซอฟท์เป็นพันธมิตรและสปอนเซอร์) มาเล่าเบื้องหลังระบบไอทีที่ทีม F1 ใช้กัน ซึ่งเป็นของแปลกที่หาฟังได้ยากครับ
งานนี้เราได้คุณ Thomas Mayer ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ของทีม Lotus F1 (ชื่อเดิมคือ Benetton และ Renault) มาเล่ากระบวนการทำงานของทีม F1 ให้ฟังกันว่าเขาทำงานกันอย่างไร
เมื่อเซิร์ฟเวอร์ของ Amazon ที่เวอร์จิเนียล่ม เลยส่งผลกระทบให้กับเว็บมากมายที่ใช้บริการอยู่ที่นั่นล่มไปตามๆ กัน เว็บใหญ่ๆ เช่น Netflix, SocialFlow, Reddit, Pocket เป็นต้น รวมไปถึง AWS services เอง ก็ล่มไปอีก 21 รายการ
ครั้งนี้ไม่ได้เป็นครั้งแรกของการล่มที่ยิ่งใหญ่ของ AWS แต่ในปี 2013 ก็เคยล่มมาเหมือนกัน มูลค่าความเสียหายครั้งนั้นอยู่ที่ "วินาทีละ $1,100" (คำนวณเป็นเงินบาทปัจจุบันก็ราวๆ 40,000 บาทเอง)
สามารถติดตาม Status ของ AWS ได้ที่นี่
Amazon เพิ่มการเก็บข้อมูลแบบใหม่ในชื่อ S3 Standard IA (ย่อมาจาก Infrequent Access) สำหรับงานที่ต้องการความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล แต่เรียกใช้ไม่บ่อยนัก
ก่อนหน้านี้การเก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆของ Amazon ปกติจะมี 2 ทางเลือกคือ S3 สำหรับข้อมูลที่ถูกเรียกใช้บ่อยๆ ต้องการความรวดเร็ว และ Glacier สำหรับเก็บข้อมูลประเภทนานๆ ใช้ที เช่น แบ็คอัพข้อมูลต่างๆ ราคาถูกกว่า S3 แต่มีค่าใช้จ่ายตามจำนวนข้อมูลที่ดึงออกมา
สำหรับ S3 Standard IA นี้จะอยู่ระหว่างทั้งสองแบบ คือเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วระดับเดียวกับ S3 ปกติ (ระดับมิลลิวินาที) แต่ก็จะคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนข้อมูลที่ส่งแบบ Glacier และมีข้อจำกัดว่าต้องเก็บข้อมูลไว้ขั้นต่ำ 30 วัน
Salesforce เปิดตัว App Cloud บริการคลาวด์แบบ PaaS สำหรับพัฒนาแอพขององค์กร
App Cloud ถือเป็นการอัพเกรดแพลตฟอร์ม Salesforce1 เดิมให้ทำงานเชื่อมต่อกันมากขึ้น และเพิ่มส่วนประกอบต่างๆ ให้แพลตฟอร์มสมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิม โดยหลักแล้ว App Cloud ประกอบด้วย 5 ชิ้นส่วนคือ
Google Cloud Platform ประกาศความร่วมมือกับผู้ให้บริการ CDN (Content Delivery Network) รายใหญ่ 4 รายคือ CloudFlare, Fastly, Highwinds, Level 3 Communications ในการกระจายเนื้อหาบน Google Cloud Platform ไปยัง CDN เหล่านี้ที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้เร็วกว่าเดิม
บริการตัวนี้มีชื่อว่า CDN Connect โดยลูกค้าที่ใช้คลาวด์ของกูเกิล สามารถจ่ายค่า CDN ในราคาลดพิเศษจากปกติ
บริการนี้เหมาะสำหรับบริษัทที่รันงานอยู่บนคลาวด์ของกูเกิลอยู่แล้ว และมีลูกค้ากระจายตัวอยู่ในหลายประเทศ สามารถใช้ CDN ช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าเข้าใช้งานเว็บได้เร็วกว่าเดิม
Preemptible Instances เป็นบริการเครื่องราคาถูกจาก Google Compute Engine โดยคิดราคาถูกว่าเครื่องปกติมากกว่า 50% (ยกเว้นเครื่อง f1-micro ที่ถูกกว่าไม่มาก) แต่ผู้ใช้เครื่องประเภทนี้ต้องยอมรับสภาพว่าเครื่องอาจจะถูกปิดได้ทุกเวลา ก่อนหน้านี้บริการนี้เปิดในวงจำกัด หลังจากนี้ทุกคนสามารถสร้างเครื่องประเภทนี้ได้เองแล้ว
การนำเครื่องที่เหลือในคลาวด์มาขายในราคาถูก เริ่มต้นจาก Amazon EC2 ที่เปิดบริการ Spot Instances แต่ EC2 นั้นซับซ้อนกว่าเพราะผู้ใช้ต้องตั้งราคาประมูลเครื่องที่เหลืออยู่กันเองแถมสามารถตั้งราคาแพงกว่าเครื่องปกติก็ยังได้ ส่วน Preemptible Instances ของกูเกิลนั้นมีราคาตายตัว
Scaleway ผู้ให้บริการคลาวด์ที่ยกเครื่องให้ผู้ใช้ไปทั้งเครื่อง (baremetal) ประกาศลดค่าบริการ 70% จากเดือนละ 9.99 ยูโร เหลือ 2.99 ยูโร หรือ 120 บาทต่อเดือนเท่านั้น
เครื่อง C1 ของ Scaleway เป็นเซิร์ฟเวอร์ ARM 4 คอร์, แรม 2GB, พร้อมดิสก์ 50GB แต่ละเครื่องสามารถใช้แบนวิดท์ 200mbps โดยไม่มีการคิดค่าบริการตามปริมาณ
ค่าบริการรายชั่วโมงตอนนี้เหลือ 0.02 ยูโร ค่าดิสก์เหลือ 1 ยูโรต่อ 50GB ค่าไอพี 0.99 ยูโร
การลดราคาครั้งนี้ทำให้ Scaleway กลายเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่ค่าบริการรายเดือนถูกที่สุด แต่ข่าวร้ายสำหรับคนไทยคงเป็นเรื่องของศูนย์ข้อมูลที่มีที่เดียวคือฝรั่งเศส ทำให้ความเร็วการเชื่อมต่ออาจจะไม่ดีนัก
ที่งาน VMworld 2015 บริษัท VMware เจ้าของโซลูชั่นด้าน Virtualization และ Cloud แถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นด้านคลาวด์ชุดใหม่เป็นจำนวนมาก โดยสานต่อจากยุทธศาสตร์ unified hybrid cloud platform ของตนเอง มีรายละเอียดสำคัญดังต่อไปนี้ครับ
ผลิตภัณฑ์สาย vCloud Air