เมื่อวานนี้ (ตามเวลาท้องถิ่น) IBM ประกาศบริการใหม่ Highly Secure Blockchain โดยเป็นบริการ blockchain ความปลอดภัยสูง เน้นให้บริการกับองค์กรที่ต้องการนำเทคโนโลยี blockchain เข้าไปใช้ในสภาพที่ต้องการความปลอดภัยสูงอย่าง ภาคการเงิน ภาครัฐ และสาธารณสุขต่างๆ
บริษัทระบุว่าได้พัฒนาบริการดังกล่าวให้ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของภาครัฐ (FIPS 140-2) และความปลอดภัยในอุตสาหกรรม (EAL) โดยใช้ code จากโครงการ Hyperledger ของ Linux Foundation ในการพัฒนา และเปิดให้ใช้เป็นบริการบน Bluemix บริการคลาวด์ของ IBM ด้วย สำหรับองค์กรที่ต้องการความยืดหยุ่นในการใช้งาน IBM ก็ปล่อย blockchain ของตัวเองในรูปแบบของ Docker containers บน DockerHub ด้วย โดยสัญญาว่าจะมีอัพเดตใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ
เมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมาลิงก์เข้าออกจากสิงคโปร์มีปัญหาหลายจุดทำให้การเชื่อมต่อบางส่วนมีปัญหา Blognone เองพบว่าผู้ใช้จากบาง ISP ไม่สามารถเข้าเว็บได้ (เพราะมี CDN อยู่ที่สิงคโปร์)
ลิงก์ที่มีการแจ้งปัญหาเป็นลิงก์เข้าออกไปยัง DigitalOcean ผมพบว่า ISP ในไทยเองหลายรายก็ไม่สามารถเชื่อมต่อได้
ปีที่แล้วซัมซุงเปิดตัวชิปสำหรับอุปกรณ์ IoT ในชื่อแบรนด์ Artik วันนี้เวลาผ่านมา 1 ปีพอดี ซัมซุงเปิดตัวบริการคลาวด์เก็บข้อมูลสำหรับ IoT ในชื่อ Artik Cloud
Artik Cloud เป็นบริการคลาวด์ที่ออกแบบมาสำหรับเก็บข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ก่อนส่งต่อไปยังบริการหรือแอพอื่นๆ อีกทีหนึ่ง รูปแบบจะคล้ายกับ AWS IoT หรือ Azure IoT Hub ที่เปิดตัวมาก่อนหน้านี้
Amazon Web Services (AWS) หน่วยธุรกิจด้านคลาวด์ของ Amazon ประกาศตั้งสำนักงานในประเทศไทย โดยตั้ง ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ อดีตผู้จัดการของ VMware Thailand เป็นผู้จัดการประจำประเทศไทย (Blognone เคยสัมภาษณ์)
AWS ในไทยจะมีพนักงานด้านเซลส์, พนักงานตำแหน่ง Solutions Architect ให้ความรู้กับลูกค้า และทีมงานซัพพอร์ตที่เป็นคนไทย (ส่วนการซัพพอร์ตทางโทรศัพท์ ยังเป็นภาษาอังกฤษอยู่ เพราะเป็น global support) นอกจากนี้ AWS ยังจับมือกับพาร์ทเนอร์ในไทยหลายราย เช่น Accenture, G-able, True อีกด้วย
ส่วนคำถามที่ทุกคนอยากรู้คือจะมีศูนย์ข้อมูลในไทยหรือไม่ คำตอบคือยังไม่มีครับ ส่วน AWS CloudFront Edge หรือ CDN ในไทยตอนนี้ก็ยังไม่มี และเป็นนโยบายของบริษัทอยู่แล้วว่าไม่เปิดเผยแผนการในเรื่องนี้
GitLab.com ผู้พัฒนาระบบจัดการโค้ดโอเพนซอร์สและบริการโฮสต์โค้ดประกาศความร่วมมือกับ DigitalOcean ให้บริการเซิร์ฟเวอร์ฟรีสำหรับผู้ที่วางโฮสต์บน GitLab.com โดยใช้ฟีเจอร์ GitLab Runner Autoscale
บริการฟรีจำกัดเฉพาะผูใช้ GitLab.com เท่านั้น ส่วนผู้ที่ดาวน์โหลด GitLab ไปติดตั้งเองสามารถขอรับโปรโมชั่น 10 ดอลลาร์ (ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ต่างจากโปรโมชั่นทั่วไปของ DigitalOcean) หรือหากเป็นลูกค้า GitLab Enterprise Edition จะได้อีเมลเสนอโปรโมชั่นเครดิตถึง 250 ดอลลาร์
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Azure Container Service สำหรับการรันแอพพลิเคชันใน container บน Azure โดยมีเป้าหมายให้ผู้ใช้สามารถนำแอพพลิเคชันใน container ของตัวเองไปรันบนคลาวด์ Azure ได้ง่ายและเร็วที่สุด
Azure Container Service รองรับระบบจัดการ container (orchestration) ยอดนิยมสองตัวคือ DC/OS ของ Mesosphere ที่เพิ่งรับเงินลงทุนจากไมโครซอฟท์ไปเมื่อไม่นานมานี้ และ Docker Swarm ของค่าย Docker โดยตรง
ราคาของ Azure Container Service คิดตามขนาดของ instance รุ่นถูกที่สุดให้ซีพียู 1 คอร์, แรม 0.75GB, ดิสก์ 20GB คิดค่าใช้งานชั่วโมงละ 0.02 ดอลลาร์ หรือประมาณเดือนละ 15 ดอลลาร์ มีเครื่องรุ่นสเปกแรงใช้ SSD ให้เลือกด้วย
บริษัท TCC Technology ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานไอทีในไทย ประกาศความร่วมมือกับบริษัท Internet Initiative Japan (IIJ) เปิดตัวบริษัท ลีพ โซลูชั่นส์ เอเชีย (Leap Solutions Asia) เตรียมบุกตลาดคลาวด์ในไทยภายในไตรมาสสองนี้ โดยเป็นการร่วมทุนในสัดส่วน TCC Technology 60% และ IIJ 40%
ทาง IIJ โดยนายโคอิจิ มารุยาม่ากล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพ และปริมาณความต้องการการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งสูงเป็นรองเพียงสิงคโปร์ ทำให้ทาง IIJ มีความสนใจที่จะขยายการลงทุนเข้ามาสู่ประเทศไทย โดยร่วมลงทุนกับ TCC Technology เพื่อเปิดให้บริการคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ
ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ของโลกยังต่อสู้กันอย่างดุเดือด ในปี 2014 เราเห็น Amazon ออกบริการ AWS Lambda ตัวช่วยประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ระบุ (event-driven)
สัปดาห์ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ออกบริการแบบเดียวกันในชื่อ Azure Functions รูปแบบการใช้งานก็เหมือนกัน เราสามารถตั้งค่าเหตุการณ์ที่เป็นตัว trigger เพื่อให้ Azure Functions ทำงานตามที่กำหนดได้
Azure Functions รองรับภาษาโปรแกรมมิ่งหลากหลาย ทั้ง JavaScript, C#, Python, PHP รวมถึงสคริปต์แบบ Bash, Batch, PowerShell และสามารถเชื่อมต่อกับระบบ DevOps ยอดนิยมในท้องตลาด เช่น Visual Studio Team Services, GitHub, BitBucket
เมื่อวานนี้ (31 มีนาคม) บริษัท G-ABLE (อ่านว่าจีเอเบิล) ธุรกิจด้านไอทีโซลูชันรายใหญ่ของไทย แถลงแนวทางธุรกิจปี 2559 ว่าธุรกิจไอทีช่วงนี้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโซลูชันไอทีองค์กรอย่างมาก ส่งผลให้ G-ABLE เองก็ต้องปรับตัวเยอะ โดยจะเน้นไปที่โซลูชันสำคัญ 3 อย่าง ภายใต้ชื่อแผนว่า "Corporate Digital Transformation"
เมื่อวานนี้ Intel ประกาศความร่วมมือเพิ่มเติมกับ Ontario Institute for Cancer Research และ Dana-Farbet Cancer Institute โดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคลาวด์สำหรับงานด้านโรคมะเร็ง ที่ประกาศมาตั้งแต่ปี 2013
แม้ในรายละเอียดจะไม่มีการเปิดเผยให้กับสื่อมวลชน แต่โดยภาพรวมจะเป็นการแบ่งปันและทำงานในเชิงการวิจัยระดับโมเลกุลและการทำงานในเชิงภาพ (imagining data) ซึ่งตามปกติแล้วงานวิจัยเหล่านี้มักจะไม่แบ่งปันข้อมูลกัน ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี กฎหมาย และความปลอดภัย
ที่มา - Fortune
ถ้ายังจำกันได้ ปีที่แล้วไมโครซอฟท์มีเว็บแอพวิเคราะห์ข้อมูลภาพให้เล่นกันสนุกๆ หลายตัว เช่น How-Old.net ทายอายุ, TwinOrNot.net เทียบคนหน้าเหมือน
เว็บแอพเหล่านี้อยู่ภายใต้ Project Oxford โครงการพัฒนา API ด้านการแยกแยะภาพและเสียงพูด ซึ่งวันนี้ได้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Microsoft Cognitive Services
กูเกิลเพิ่มบริการ Cloud Machine Learning สำหรับการพัฒนาโมเดลคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยนักพัฒนาต้องพัฒนาผ่านเฟรมเวิร์ค TensorFlow ที่ต่างออกไปจากการพัฒนาบนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองคือนักพัฒนาจะเข้าถึงบริการของ Google Cloud เช่น Google Cloud Dataflow, Google Cloud Storage, และ Google BigQuery ได้
กูเกิลเปิดศึกชิงส่วนแบ่งตลาดคลาวด์จาก Amazon Web Services ด้วยแนวคิดว่าไม่ย้ายออกจาก AWS ไม่เป็นไร แต่ใช้บริการของกูเกิลช่วยมอนิเตอร์ระบบด้วยก็ได้
บริการตัวนี้ชื่อ Google Stackdriver มีไว้มอนิเตอร์ เก็บล็อก และตรวจสอบปัญหาของระบบคลาวด์ มันสามารถใช้ได้กับ Google Cloud Platform และ Amazon Web Services หรือจะมอนิเตอร์สองระบบคู่กันเลยก็ยังได้ (ล็อกและสถิติทั้งหมดจากทุกบัญชี ทุกยี่ห้อ จะถูกรวบรวมมาแสดงบน dashboard อันเดียวกัน)
สถานะของ Stackdriver ยังเป็นเบต้า เปิดให้ทดสอบใช้งานฟรี ส่วนราคาเปิดตัวต้องรอประกาศต่อไปครับ
Diane Greene หัวหน้าฝ่ายคลาวด์คนใหม่ของกูเกิล (เธอคือผู้ร่วมก่อตั้ง VMware และเป็นบอร์ดกูเกิลด้วย) ประกาศในที่ประชุมภายในบริษัท ว่าจะขยายงานด้านคลาวด์ครั้งใหญ่ โดยเน้นต่อสู้ช่วงชิงลูกค้าองค์กรให้มากกว่าเดิม
ยุทธศาสตร์นี้ถือว่าผิดไปจากธรรมเนียมปกติของกูเกิล ที่เน้นเทคโนโลยีนำหน้าการตลาดมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันกูเกิลยังรั้งอยู่อันดับสามในตลาด public cloud (ตามหลัง AWS และ Azure) การหันมาเน้นงานขายจึงดูสมเหตุสมผล
GoDaddy เว็บโฮสติ้งรายใหญ่ของโลก เปิดตัวบริการ GoDaddy Cloud Servers เซิร์ฟเวอร์บนกลุ่มเมฆลักษณะเดียวกับ Amazon EC2
GoDaddy Cloud Servers มีฟีเจอร์เท่าที่คลาวด์สมัยใหม่พึงมี แต่ตัวเลือกจะจำกัด เพราะเน้นไปที่เซิร์ฟเวอร์สมรรถนะสูงหน่อย ทุกตัวใช้สตอเรจแบบ SSD ทั้งหมด, รันอยู่บน OpenStack และ KVM, มีระบบแบ็คอัพและ Snapshot, ระบบเครือข่ายแบบ Private, หมายเลขไอพีถาวร และมี API สำหรับควบคุมระบบ
GoDaddy คุยว่าระบบของตัวเองมีระยะเวลา provisioning เตรียมเครื่องให้พร้อมใช้งานไม่ถึง 54 วินาที, การันตีอัพไทม์ 99.99% ส่วนระบบปฏิบัติการที่รองรับได้แก่ Ubuntu 14.04, CentOS 6 & 7, Fedora 23, Debian 8, FreeBSD, CoreOS, Arch Linux นอกจากนี้ยังจับมือกับบริษัท Bitnami นำแอพพลิเคชันโอเพนซอร์สดังๆ อย่าง WordPress, Drupal, OpenERP, Magento มาให้พร้อมใช้งาน ติดตั้งเพียงคลิกเดียวก็ใช้งานได้เลย
ช่วงหลังๆ มานี้ เรามักเห็นข่าวบริษัทหลายแห่งย้ายระบบจากศูนย์ข้อมูลเดิม มาใช้คลาวด์แทนแบบ 100% (เช่น Netflix และ Zynga ที่เช่า AWS ทั้งคู่)
แต่ในทางกลับกัน ก็มีบริษัทที่ต้องเปลี่ยนจากการเช่าคลาวด์ AWS มาทำศูนย์ข้อมูลของตัวเองแทน บริษัทนี้คือ Dropbox ที่ล่าสุดออกมาประกาศว่าย้ายลูกค้ากว่า 90% มาอยู่ในศูนย์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
Business Insider ได้อีเมลภายในของ Oracle ส่งถึงพนักงานทุกคน ระบุว่าบริษัทกำลังปรับเปลี่ยนวิธีการขายบริการผ่านคลาวด์ จากเดิมที่ต้องขายผ่านเซลส์ ซึ่งสร้างความยุ่งยากให้กับลูกค้าที่คาดหวังการสั่งซื้อบริการทั้งหมดจากระบบออนไลน์
วิธีการขายแบบใหม่เรียกว่า Oracle Accelerated Buying Experience สามารถซื้อบริการจากหน้าเว็บออราเคิลได้จากการกดปุ่มครั้งเดียว กระบวนการขาย บริการ และออกราคา จะอยู่บนระบบออนไลน์ทั้งหมด ช่วยให้ Oracle แข่งขันในตลาดคลาวด์ได้ดีกว่าเดิม
เมื่อปลายปีที่แล้ว Larry Ellison ผู้ก่อตั้ง Oracle ก็เคยให้สัมภาษณ์ว่าระบบคลาวด์ของบริษัทจะซื้อได้ง่าย "เพียงแค่รูดบัตรเครดิต" เท่านั้น
Amazon เปิดตัว AWS Database Migration Service บริการช่วยย้ายฐานข้อมูลจากบนเซิร์ฟเวอร์เดิม (on premise) ไปขึ้นคลาวด์ AWS โดยไม่ต้องปิดเครื่องชั่วขณะ
บริการนี้ใช้ได้กับฐานข้อมูลยอดนิยมในท้องตลาดหลายตัว เช่น Oracle, SQL Server, MySQL, MariaDB, PostgreSQL ที่รันอยู่บน EC2 หรือจะย้ายเข้าฐานข้อมูล Amazon Relational Database Service (Amazon RDS) ก็ได้เช่นกัน ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้องค์กรที่อยากย้ายระบบขึ้นคลาวด์ทำงานง่ายขึ้น ไม่ต้องหยุดระบบซึ่งส่งผลให้เสียทราฟฟิกและรายได้
วงการนี้ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรจริงๆ ถึงแม้แอปเปิลและกูเกิลแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายในตลาดอุปกรณ์พกพา แต่ล่าสุดมีข่าวไม่เป็นทางการ รายงานว่าแอปเปิลย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์บางส่วนมาอยู่บน Google Cloud Platform แทน AWS แล้ว
เว็บข่าว CRN อ้างแหล่งข่าวหลายราย บอกว่าแอปเปิลต้องการลดการพึ่งพาคลาวด์ของ AWS ที่ใช้รัน iCloud และบริการออนไลน์อื่นๆ จึงแบ่งระบบเซิร์ฟเวอร์บางส่วนมาใช้ Google Cloud Platform แทน แต่แอปเปิลก็ยังเป็นลูกค้าของ AWS ต่อไป ไม่ได้เลิกใช้ AWS ทั้งหมด นอกจากนี้แอปเปิลก็ยังมีศูนย์ข้อมูลของตัวเองด้วย (ก่อนหน้านี้ก็เคยมีข่าวว่าแอปเปิลใช้ Azure ด้วยเช่นกัน)
ตามข่าวบอกว่าแอปเปิล "น่าจะ" จ่ายค่าคลาวด์ให้กูเกิลปีละ 400-600 ล้านดอลลาร์
เมื่อวานนี้ (ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกา) Cisco ยักษ์ใหญ่ด้านเครือข่าย ประกาศแสดงเจตจำนงที่จะเข้าซื้อกิจการ (intention to acquire) ของ CliQr สตาร์ทอัพที่ทำผลิตภัณฑ์เป็นซอฟต์แวร์บริหารและจัดการคลาวด์ ที่ปัจจุบันสามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ด้านคลาวด์หลักๆของ Cisco ได้อยู่แล้ว และ Public Cloud ของผู้ให้บริการรายใหญ่ๆ ในตลาด
บริการคลาวด์ราคาถูกเริ่มต้นเดือนละ 5 ดอลลาร์อย่าง DigitalOcean ประกาศเปิดศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติมที่เมืองบังกาลอร์ อินเดีย เป็นศูนย์ข้อมูลที่ 6 ถัดจาก อัมสเตอร์ดัม, สิงคโปร์, ลอนดอน, แฟรงเฟิร์ต, และโตรอนโต
บริการคลาวด์นอกจากจะแข่งขันกันในแง่ของจำนวนศูนย์ข้อมูลเพื่อใ้หบริการต่างๆ สามารถตั้งเซิร์ฟเวอร์ได้ใกล้กับผู้ใช้ที่สุดแล้ว ยังแข่งขันกันในแง่ของความครบถ้วนของบริการ ทาง DigitalOcean ระบุว่าบริษัทกำลังเพิ่มโซลูชั่นด้านสตอเรจ และระบบมอนิเตอร์เซิร์ฟเวอร์
ช่วงนี้เราเห็นข่าวการย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์ขึ้นคลาวด์กันบ่อยครั้ง เช่น Netflix ปิดเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด ย้ายไปใช้ AWS อย่างสมบูรณ์, Bitly ย้ายไปใช้คลาวด์ของ IBM
บริการเพลงออนไลน์ Spotify เป็นบริการตัวล่าสุดที่ตัดสินใจย้ายระบบทั้งหมดขึ้นคลาวด์ โดยเลือกใช้ Google Cloud Platform รันระบบทุกอย่าง
Spotify บอกว่าการย้ายมาใช้คลาวด์ ช่วยแก้ปัญหาการซื้อหรือเช่าพื้นที่ในศูนย์ข้อมูล รวมถึงเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้การใช้คลาวด์ยังช่วยให้ส่งข้อมูลเพลงไปยังผู้ใช้ทั่วโลกได้ง่ายขึ้น
ที่งาน IBM InterConnect 2016 ที่สหรัฐอเมริกา (จัดช่วงเดียวกับ Mobile World Congress) IBM ได้แถลงเปิดตัวบริการและคุณสมบัติใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์สำคัญอย่าง IBM Cloud, Bluemix และ Watson (ขอจับรวบเป็นข่าวเดียว) ดังต่อไปนี้
Bitly บริการย่อ URL ชื่อดัง ประกาศในงาน IBM InterConnect 2016 ว่าเตรียมจะย้ายระบบของตนเองไปใช้ IBM Cloud อย่างเป็นทางการ
ภายใต้ข้อตกลงนี้ Bitly จะเปลี่ยนระบบไปใช้ IBM Cloud ซึ่งรวมไปถึงส่วนที่เป็น API ตลอดจนถึงการทำการตลาดร่วมกันกับทาง IBM โดยระบุว่าการตัดสินใจย้ายไปใช้ IBM Cloud เพื่อรองรับศักยภาพการเติบโตที่มากขึ้น ตลอดจนถึงความรวดเร็วที่จะต้องตอบสนองความต้องการของปริมาณ traffic ที่กว่าร้อยละ 70 มาจากต่างประเทศ
ปีที่แล้ว Google เปิดตัว Cloud Dataproc บริการ Hadoop/Spark บนกลุ่มเมฆ ตอนนี้บริการตัวนี้เข้าสถานะ GA (general availability) แล้ว
Google Cloud Dataproc ออกแบบมาสำหรับคนที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล big data ด้วย Apache Hadoop/Spark แต่ไม่อยากเซ็ตระบบเซิร์ฟเวอร์เอง หรือไม่อยากลงทุนเตรียมคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ไว้ ก็สามารถเช่าใช้บริการจากคลาวด์ของกูเกิลได้เลย ช่วยแก้ปัญหาทั้งค่าใช้จ่ายตั้งต้น ภาระการดูแล และการขยายขนาดในอนาคตถ้าหากข้อมูลมีปริมาณเยอะขึ้น