เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา SAP ผู้ผลิตซอฟต์แวร์และโซลูชั่นสำหรับองค์จัดงาน SAP Solution Summit 2017 แสดงโซลูชั่นสำหรับการทำ Digital Tranformation และประโยชน์ของคลาวด์โซลูชั่นต่อภาคธุรกิจทุกขนาดในไทยจากพฤติกรรมผู้ใช้งานเปลี่ยนไป การเข้าถึงข้อมูลต้องเข้าถึงได้ทุกที่และทุกอุปกรณ์ ความสำคัญของการกักเก็บข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์ไม่เพียงพอต่อการจัดการธุรกิจอีกต่อไป พร้อมกับย้ำถึงความสำคัญของโซลูชั่น รวมทั้งประโยชน์ที่ภาคธุรกิจจะได้รับจากคลาวด์โซลูชั่น ตอนนี้ทาง Blognone มีโอกาสได้พูดคุยกับทาง SAP ว่ามีมุมมองต่อตลาดเทคโนโลยีสำหรับองค์กรอย่างไร
การนำข้อมูลขนาดใหญ่ย้ายขึ้นคลาวด์ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของการเปลี่ยนมาใช้คลาวด์อยู่เสมอ บางครั้งการนำข้อมูลใส่ฮาร์ดดิสก์แล้วส่งไปยังศูนย์ข้อมูล อาจเร็วกว่าการอัพโหลดผ่านเครือข่ายด้วยซ้ำ
ในอดีตเราเคยเห็น อเมซอนเปิดตัว Snowball ฮาร์ดดิสก์พร้อมส่งไปรษณีย์สำหรับโหลดข้อมูลเข้า AWS และล่าสุดฝั่งกูเกิลก็ประกาศทำแบบเดียวกันกับ Google Cloud Platform
Google Cloud Platform (GCP) ออกมาคุยว่าบริการ Virtual Private Cloud (VPC) ของตัวเองเหนือกว่าคู่แข่ง ตรงที่กูเกิลมีลิงก์ตรงระหว่างศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ
Virtual Private Cloud คือบริการที่องค์กรสามารถสร้างคลาวด์ส่วนตัว (private cloud) ที่ใช้ภายในองค์กรเองเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วรันอยู่บนคลาวด์สาธารณะ (public cloud) อีกทีหนึ่ง
ข้อจำกัดของ VPC คือเครื่องบนคลาวด์เดียวกัน แต่ตั้งอยู่คนละศูนย์ข้อมูลกัน จะต้องส่งทราฟฟิกผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (ผ่าน VPN ที่เข้ารหัสเพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล) ส่งผลให้มีความยุ่งยากและซับซ้อนในการคอนฟิก รวมถึงการจัดการหมายเลขไอพีระหว่างศูนย์ข้อมูลด้วย
มาถึงตอนนี้เราทราบดีว่า นวัตกรรมใหม่ๆ ของไมโครซอฟท์เกิดขึ้นบนคลาวด์ Azure ก่อนแล้วค่อยกลับมาอัพเดตในเวอร์ชัน on premise ส่งผลให้องค์กรหลายแห่งเกิดความต้องการ "รัน Azure ในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง" มากขึ้น ไมโครซอฟท์ก็ตอบสนองตลาดนี้ด้วยการเปิดตัว Azure Stack ที่เป็นรุ่นพรีวิวมาตั้งแต่ปี 2015
ตอนแรกไมโครซอฟท์ขายซอฟต์แวร์ Azure Stack ให้องค์กรไปติดตั้งกันเอง แต่ภายหลังเปลี่ยนใจ เปลี่ยนมาขายพ่วงกับฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์แทน (มี Dell EMC, HPE, Lenovo เข้าร่วม) และหลังทดสอบกันมายาวนาน ไมโครซอฟท์ก็เริ่มวางขาย Azure Stack อย่างเป็นทางการแล้ว ลูกค้าองค์กรสามารถสั่งซื้อเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้ง Azure Stack ได้แล้ววันนี้ (สินค้าเริ่มส่งมอบเดือนกันยายน)
Nutanix ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์แบบ hyperconverge สำหรับองค์กร ประกาศความร่วมมือกับ Google Cloud Platform เพื่อเชื่อมโยงโลกไอทีระหว่างเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรกับคลาวด์เป็น hybrid cloud
ความร่วมมือนี้ประกอบด้วย
ซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ประกาศจะพัฒนาเสร็จพร้อมใช้งานในไตรมาสแรกของปี 2018
Google App Engine บริการคลาวด์แบบ PaaS ของกูเกิล ประกาศรองรับ Java 8 แล้ว ช่วยให้แอพพลิเคชันสาย Java สามารถเรียกใช้ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Java 8 ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถเรียกใช้ฟีเจอร์ของ Google Cloud Client Library for Java (ที่เป็น Java 8 อยู่แล้ว) ได้ทุกฟีเจอร์ด้วย
กูเกิลบอกว่า Java 8 เป็นฟีเจอร์ที่ลูกค้า App Engine เรียกร้องเข้ามาเป็นอันดับต้นๆ (อีกอันคือ Python 3 ที่ยังไม่มี) หลังจากรอกันมานาน ตอนนี้ App Engine ก็รองรับ Java 8 สักที (ยังมีสถานะเป็น Beta) โดยนักพัฒนายังสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ standard environment เป็น Java 7 หรือ Java 8
จากที่เคยประกาศไว้เมื่อปลายปี และเริ่มให้บริการแบบไม่เป็นทางการ มาตั้งแต่เดือนเมษายน วันนี้ Google Cloud Platform ก็ประกาศเปิดบริการเขตสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ
ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของพื้นที่สิงคโปร์คือ asia-southeast1 ถือเป็นเขต (region) ที่สามของกูเกิลในเอเชีย ต่อจากญี่ปุ่นและไต้หวัน โดยเขตสิงคโปร์จะมีโซน (zone) ให้บริการ 2 โซน เพื่อกระจายความเสี่ยงจากปัญหาต่างๆ
กูเกิลบอกว่าการเปิดศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ ช่วยให้ลดค่า latency ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลง 51-98% (วัด round-trip time) เมื่อเทียบกับการเรียกข้อมูลที่ไต้หวันหรือโตเกียว
AWS Greengrass บริการใหม่สำหรับอุปกรณ์ IoT ที่ทำงานแบบโลคัลไม่ต้องต่อเน็ตตลอดเวลา เข้าสถานะ General Availability (GA) แล้ว
แนวคิดของ Greengrass คือการนำ AWS Lambda บริการประมวลผลแบบ serverless ไปรันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง (edge server หรือในที่นี้เรียก Greengrass Core) เพื่อรับข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ในพื้นที่นั้นๆ โดยไม่ต้องรันอยู่บนคลาวด์ของ AWS เสมอไป จากนั้นตัว Core ค่อยซิงก์ข้อมูลกับคลาวด์เป็นระยะๆ ตามที่ต้องการหรือในตอนที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
ช่อง CNBC อ้างแหล่งข่าวภายในระบุว่าเฟซบุ๊กกำลังย้ายเซิร์ฟเวอร์ WhatsApp ออกจากบริการคลาวด์ IBM SoftLayer หลังจากปล่อยให้ใช้บริการเดิมมานับแต่เข้าซื้อบริษัทในปี 2014
ปกติแล้วผู้ให้บริการคลาวด์มักอ้างอิงลูกค้าดังๆ เช่น AWS มักจะพูดถึง Netflix หรือ Google Cloud อ้างถึง Snap และ Spotify แม้ว่าไอบีเอ็มจะไม่ได้พูดถึง WhatsApp ต่อสาธารณะแต่แหล่งข่าวของ CNBC ก็ระบุว่ามีการอ้างอิงอยู่บ้าง โดย WhatsApp ใช้เซิร์ฟเวอร์กว่า 700 ตัวและจ่ายค่าเซิร์ฟเวอร์เดือนละสองล้านดอลลาร์
WhatsApp รันบน SoftLayer มาตั้งแต่ปี 2009 ก่อนที่ไอบีเอ็มจะเข้าซื้อเป็นส่วนหนึ่งของบริการ Bluemix
สัปดาห์ที่ผ่านมา Blognone มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน AWS Summit 2017 งานประชุมประจำปีในภูมิภาค ซึ่งจัดในกรุงเทพเป็นครั้งแรก มีทั้งช่วงคีย์โน้ตโดย Adrian Cockcroft รองประธานฝ่ายกลยุทธ์สถาปัตยกรรมคลาวด์และช่วงสัมภาษณ์ Nick Walton ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคของ AWS
Google Cloud ประกาศเพิ่มซีพียู Skylake ในสามโซน คือ Western US, Western Europe, และ East Asia Pacific (ไต้หวัน) ทำให้ได้เปรียบกับซอฟต์แวร์ที่เร่งความเร็วกับชุดคำสั่ง AVX-512 กูเกิลให้ซีพียูรุ่นใหม่เป็นโปรโมชั่นสองเดือนโดยไม่คิดราคาเพิ่ม แต่หลังจากช่วงโปรโมชั่น เครื่อง Skylake จะแพงกว่าเครื่องปกติ 6-10%
ขณะที่ศูนย์ข้อมูลทั้งหมดก็อัพเกรดซีพียูตามรอบโดยมีซีพียู Broadwell ทุกศูนย์ และสามารถสร้างเครื่องขนาด 64 vCPU ได้ทั้งหมดแล้ว
Preakness Stakes เป็นการแข่งม้ารายการใหญ่ระดับ Top 3 ของสหรัฐอเมริกา (ที่เรียกรวมกันว่า Triple Crowns) และในการแข่งขันปี 2017 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ม้าแข่งที่ชนะเลิศชื่อว่า Cloud Computing
Cloud Computing ไม่ใช้ม้าตัวเต็งของการแข่งขันนี้ แต่สามารถไล่กวดเอาชนะ Classic Empire ม้าตัวเต็งช่วงก่อนเข้าเส้นชัยได้สำเร็จ (ดูคลิปประกอบ)
สาเหตุที่ม้าตัวนี้ใช้ชื่อว่า Cloud Computing มาจากเจ้าของ Seth Klarman และ William Lawrence ที่เป็นผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ทั้งสองคนเคยตั้งชื่อม้าตัวก่อนๆ ตามคำศัพท์ในแวดวงการเงิน เช่น Takeover Target และ Currency Swap มาก่อน
กูเกิลจริงจังกับงานด้าน deep learning ถึงขนาดออกแบบชิปประมวลผลเองในชื่อ TPU (Tensor Processing Unit) โดยในงาน Google I/O 2017 กูเกิลก็เปิดตัว TPU รุ่นที่สอง ที่มีความสามารถมากขึ้น
เป้าหมายของกูเกิลคือนำ TPU ขึ้นไปอยู่บนคลาวด์ เพื่อให้นักวิจัยหรือคนที่ต้องการเทรน AI ให้เร็วกว่าทำเอง เข้ามาเช่าใช้งาน แต่ในช่วงแรกเพื่อเปิดโอกาสให้คนลองใช้กันมากๆ กูเกิลเลยสร้างคลาวด์พิเศษ TensorFlow Research Cloud (TFRC) ให้กลุ่มนักวิจัยใช้งานกันฟรีๆ
ก่อนงาน Google I/O 2017 จะเริ่มขึ้นในคืนวันนี้ กูเกิลชิงเปิดตัวบริการใหม่ Google Cloud IoT Core สำหรับบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT ผ่านกลุ่มเมฆ Google Cloud Platform
Cloud IoT Core เป็นบริการบนคลาวด์ที่เอาไว้เชื่อมต่อพูดคุยกับอุปกรณ์ IoT โดยตรง ทำงานทั้งฝั่งการรับข้อมูลจาก IoT ไปประมวลผลต่อบนคลาวด์ และฝั่งนำคอนฟิกจากคลาวด์ส่งไปยัง IoT
Cloud IoT Core รองรับทั้งโพรโทคอล MQTT ที่ใช้กันแพร่หลายในอุตสาหกรรม และ Android Things ของกูเกิลเอง ในกรณีที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่เป็น Android Things เราสามารถอัพเดตเฟิร์มแวร์ของอุปกรณ์นั้นจากคลาวด์ได้อัตโนมัติ
กูเกิลประกาศว่าฐานข้อมูล Cloud Spanner ภายใต้บริการ Google Cloud Platform เข้าสถานะตัวจริง (GA หรือ General Availability) แล้ว หลังจากทดสอบรุ่นเบต้ามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
Cloud Spanner คือระบบฐานข้อมูลที่กระจายตัวอยู่ทั้งโลก ไม่ใช่แค่ทำสำเนาไว้ในศูนย์ข้อมูลเพียงไม่กี่แห่งในภูมิภาคเดียวกันเท่านั้น เทคโนโลยีนี้พัฒนาจากงานวิจัยของกูเกิลในปี 2012 ที่พยายามแก้ปัญหาเรื่อง latency หรือเวลาหน่วงของข้อมูลที่อยู่ห่างกันคนละซีกโลก
เทรนด์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจในโลกการประมวลผลยุคคลาวด์คือ เราไม่จำเป็นต้องเปิดเซิร์ฟเวอร์ค้างไว้เพื่อรอประมวลผลอีกต่อไป มีงานประเภทใหม่ๆ ที่เราสามารถประมวลผลแบบ event-based เฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่กำหนดเท่านั้น (แปลว่าไม่คิดเงินค่าใช้งานตามเวลา แต่คิดตามจำนวนรีเควสต์แทน) แนวทางนี้เรียกกันว่า serverless
ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ต่างมีบริการลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น Amazon Lambda, Google Cloud Functions และ Microsoft Azure Functions
Michael Dell ซีอีโอ Dell Technologies ได้กล่าวในงาน Dell EMC World ว่าบริษัทพบลูกค้าบางส่วน เริ่มกลับมาซื้ออุปกรณ์ติดตั้งและใช้งานเองแทนที่จะซื้อบริการคลาวด์ เนื่องจากพบว่าผู้ให้บริการคลาวด์นั้นมีรูปแบบที่ซับซ้อน และค่าใช้จ่ายก็สูงมากกว่าที่คาดไว้
เขาบอกว่าเมื่อเทียบราคาของผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ชื่อดังในท้องตลาดแล้ว ราคาอาจสูงกว่าซื้ออุปกรณ์มาใช้เองถึง 2 เท่าเลย
อย่างไรก็ตาม Dell บอกว่าการที่เขาบอกพูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าคลาวด์สาธารณะจะไม่มีโอกาสเติบโต เพียงแต่มันไม่ได้เหมาะกับทุกเงื่อนไขการทำงาน และทุกอย่างจะไม่ย้ายขึ้นไปอยู่บนคลาวด์สาธารณะ
เป็นทิศทางของโลกการประมวลผลที่เริ่มนำ GPU มาช่วยประมวลผลงานด้าน AI และ Deep Learning ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้บริการคลาวด์หลายตัวต้องเปิด instance ที่มี GPU รุ่นใหม่ๆ ให้ลูกค้าใช้งานกัน
ก่อนหน้านี้ Google Cloud Platform เพิ่งอัพเดต GPU โดยมี GPU รุ่นใหม่ๆ อย่าง NVIDIA Tesla P100 ที่ใช้สถาปัตยกรรม Pascal ให้เลือก
วันนี้ฝั่ง Microsoft Azure ก็ทำแบบเดียวกัน โดยมี GPU ให้เลือกใช้งานสองตัวคือ NVIDIA Tesla P100 และ Tesla P40 ซึ่งเป็น Pascal ทั้งคู่
ตลาดคลาวด์ในปัจจุบันค่อนข้างชัดแล้วว่าผู้นำตลาดคือ AWS ตามด้วย Azure และ Google Cloud Platform (GCP) แต่ส่วนแบ่งตลาดของแต่ละรายก็ไม่ชัดเท่าไรนัก
Michael Crandell ซีอีโอของบริษัท RightScale ที่ทำธุรกิจช่วยย้ายระบบองค์กรไปสู่คลาวด์ ให้ข้อมูลว่าลูกค้าของเขา 60% ใช้ AWS, 30% ใช้ Azure และประมาณ 10% เท่านั้นที่ใช้ GCP แม้ว่าในมุมมองของเขาแล้ว บริการของ GCP เรียบง่ายที่สุดและมีโครงสร้างต้นทุนดีที่สุดก็ตาม
Crandell มองว่า GCP ยังเจาะตลาดองค์กรได้ไม่ดีนัก ต้องหันมาเน้นงานขายให้จริงจังกว่านี้ และอาจต้องใช้วิธีซื้อกิจการบริษัทอื่นเพื่อขยายช่องทางการรุกเข้าตลาดองค์กร
เราเพิ่งเห็นข่าว Verizon โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐ ขายธุรกิจศูนย์ข้อมูลให้ Equinix ไปหมาด ล่าสุด Verizon ประกาศขายธุรกิจด้านคลาวด์และโฮสติ้งให้ IBM อีกต่อหนึ่ง
ธุรกิจส่วนนี้อยู่ภายใต้ Verizon Enterprise Solutions (VES) เดิมทีให้บริการทั้ง public/private cloud แต่สุดท้าย VES แข่งขันกับ public cloud รายใหญ่ๆ อย่าง AWS หรือ Azure ไม่ได้ จนต้องปรับให้เหลือแต่ธุรกิจ private cloud และสุดท้ายก็ต้องตัดส่วนนี้มาขายต่อให้ IBM อยู่ดี การขายกิจการครั้งนี้ไม่เปิดเผยมูลค่าใดๆ
ข่าวนี้คงเป็นสัญญาณอันดีว่าธุรกิจคลาวด์มีการแข่งขันสูง รายเล็กหรือรายที่มาทีหลังอยู่ยาก แม้แต่บริษัทใหญ่ระดับ Verizon ยังไปไม่รอดในตลาดนี้
ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการบริษัท Deis ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี container Kubernetes เพื่อนำไปใช้กับ Azure
Kubernetes เป็นโครงการโอเพนซอร์สสำหรับช่วยจัดการ container จำนวนมาก (automating deployment) ที่ริเริ่มโดยกูเกิลเมื่อปี 2014 แต่ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิ Cloud Native Computing ที่เป็นองค์กรกลาง ชื่อ Kubernetes มาจากภาษากรีกที่แปลว่า "pilot"
ส่วน Deis เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่อง Kubernetes โดยพัฒนาเครื่องมือหลายอย่าง เช่น package manager ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ไมโครซอฟท์อธิบายว่าซื้อ Deis เพื่อรับมือการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ container บน Azure นั่นเอง
ไอบีเอ็มประกาศเพิ่มจีพียู Tesla P100 จากเดิมที่มีเฉพาะ M60, K80, และ K2 ภายในเดือนนี้ ซึ่งทำให้เป็นคลาวด์เจ้าแรกที่ใช้จีพียูรุ่นล่าสุดจาก NVIDIA
Tesla P100 เปิดตัวมาครบหนึ่งปีพอดี แต่สำหรับคลาวด์เจ้าหลักๆ การอัพเกรดใช้เวลานานกว่ารอบอัพเกรดของจีพียูตามบ้าน โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมากูเกิลเปิดให้ลูกค้าสามารถต่อจีพียูเข้ากับเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ได้ แต่ยังเป็น Tesla K80
ตอนนี้ไอบีเอ็มยังไม่เปิดเผยราคา แต่เครื่องรุ่นก่อนหน้านี้เป็น Tesla K80 แรม 24GB พร้อม Xeon E5-2620v4 แรม 128GB ราคาอยู่ที่ 5.3 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง
VMware ประกาศขายธุรกิจบริการคลาวด์ของตัวเอง vCloud Air ให้กับบริษัทด้านคลาวด์ OVH รายใหญ่จากฝรั่งเศส
vCloud Air เป็นคลาวด์แบบ IaaS เทียบได้กับ AWS หรือ Azure แต่รันอยู่บนเทคโนโลยี vSphere ของ VMware แทน โดยที่ VMware เป็นผู้จัดการโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดให้ อย่างไรก็ตาม รูปแบบธุรกิจของ vCloud Air ที่เป็น public cloud อาจไม่สอดคล้องกับธุรกิจหลักของ VMware ที่เน้นการขายไลเซนส์ซอฟต์แวร์เพื่อทำ private cloud มากนัก บวกกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด public cloud น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ VMware ตัดสินใจขายธุรกิจส่วนนี้ไป
แนวคิดบริการคลาวด์แบบ serverless ไม่ต้องเปิดเครื่องรันทิ้งไว้ ทำงานเมื่อถูกเรียกใช้งาน กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มจาก AWS Lambda ที่เปิดมาก่อนเพื่อน
ฝั่ง Google Cloud Platform ก็ออกบริการแบบเดียวกันในชื่อ Cloud Functions ที่เปิดตัวครั้งแรกช่วงต้นปี 2016 โดยยังจำกัดวงทดสอบแบบอัลฟ่า
เวลาผ่านมา 1 ปี บริการก็เปิดให้คนทั่วไปทดสอบแบบ public beta แล้ว
ในงาน Google Cloud Next 2017 กูเกิลประกาศของใหม่ให้ Google Cloud Platform (GCP) หลายอย่าง ที่น่าสนใจมีดังนี้