ที่งาน VMworld 2015 บริษัท VMware เจ้าของโซลูชั่นด้าน Virtualization และ Cloud แถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นด้านคลาวด์ชุดใหม่เป็นจำนวนมาก โดยสานต่อจากยุทธศาสตร์ unified hybrid cloud platform ของตนเอง มีรายละเอียดสำคัญดังต่อไปนี้ครับ
ผลิตภัณฑ์สาย vCloud Air
กูเกิลเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนเทคโนโลยี container (ในที่นี้คือ Docker) บนระบบคลาวด์ของตัวเองมาตั้งแต่ยุคแรกๆ (ข่าวเก่า) ล่าสุดกูเกิลปรับสถานะของบริการ Google Container Engine เป็นการให้บริการเต็มรูปแบบ (general availability) เรียบร้อยแล้ว
Google Container Engine เป็นบริการช่วยจัดการคลัสเตอร์ของ container โดยใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส Kubernetes ของตัวเอง รองรับการจัดระเบียบ, กระจายโหลด, บันทึกล็อก และการทำงานข้ามเครือข่ายให้กับ container ด้วย
บริษัทความปลอดภัยระบบคลาวด์ Bitglass สำรวจองค์กรกว่า 120,000 แห่งทั่วโลกว่านิยมใช้ระบบแอพพลิเคชันบนคลาวด์ตัวใดบ้าง ผลออกมาว่า Office 365 ของไมโครซอฟท์สามารถแซงหน้า Google Apps ได้แล้ว
ปีที่แล้วกูเกิลมีส่วนแบ่งตลาดเยอะกว่าไมโครซอฟท์เป็นเท่าตัว (16.3% เทียบกับ 7.7%) แต่ปีนี้ ไมโครซอฟท์กลายเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่ง 25.2% ส่วนกูเกิลตกลงมาที่ 22.8% แถมถ้าเลือกเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 500 คน สัดส่วนผู้ใช้ Office 365 ยังเพิ่มเป็น 34.3% ในขณะที่ Google Apps มีส่วนแบ่ง 21.9%
ในภาพรวมแล้วองค์กรขนาดใหญ่เปลี่ยนมาใช้ระบบอีเมลบนคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนประเทศที่มีอัตราการใช้คลาวด์สูงสุดคือฟินแลนด์ (78% ขององค์กรที่สำรวจ)
ประเด็นสำคัญของแวดวงคลาวด์คือการให้บริการได้ต่อเนื่อง (availability) ซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถทำได้เพราะเหตุสุดวิสัยบางอย่าง ล่าสุด Google Compute Engine ในยุโรปต้องล่มไปเพราะเหตุ "ฟ้าผ่า"
เหตุเกิดที่ศูนย์ข้อมูลของกูเกิลในเมือง St. Ghislain ที่ประเทศเบลเยียม (ให้บริการโซน europe-west1-b) เกิดเหตุฟ้าผ่าที่โครงข่ายไฟฟ้าท้องถิ่น 4 ครั้งติดต่อกัน ทำให้ระบบไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูลใช้งานไม่ได้ชั่วขณะ ระบบสตอเรจของกูเกิลมีแบตเตอรี่สำรองในตัว สามารถทำงานต่อได้ตามปกติ แต่มีสตอเรจส่วนน้อยที่กลับมีปัญหาแบตเตอรี่ไม่ทำงานจนล่มไป ซึ่งวิศวกรของกูเกิลสามารถแก้ไขให้กลับมาทำงานได้ในภายหลัง
Google Cloud Platform ประกาศเลื่อนชั้นบริการคลาวด์ 2 ตัวจากเดิมเป็นรุ่นเบต้า มาเป็นรุ่น general availability
ข้อวิตกกังวลประการสำคัญของการใช้คลาวด์แบบ public cloud คือความปลอดภัยของข้อมูลที่ไปเก็บอยู่บน "เซิร์ฟเวอร์ตัวไหนก็ไม่รู้" นอกองค์กร ถึงแม้ผู้ให้บริการคลาวด์จะมีตัวช่วยเข้ารหัสข้อมูล ก็ยังมีคำถามอยู่ดีว่าผู้ให้บริการเองสามารถดูข้อมูลของเราได้หรือไม่
ล่าสุด Google Cloud Platform จึงอนุญาตให้ฝั่งผู้ใช้งานสามารถใช้คีย์ของตัวเองเข้ารหัสข้อมูลบนคลาวด์ของกูเกิลได้ บริการนี้เรียกว่า Customer-Supplied Encryption Keys ซึ่งยังอยู่ในช่วงทดสอบแบบเบต้า และให้บริการฟรีสำหรับลูกค้าทุกรายโดยไม่คิดเงินเพิ่ม
บริษัท Synergy Research Group ออกรายงานสถิติส่วนแบ่งตลาดผู้ให้บริการคลาวด์ (นับรวมทุกประเภททั้ง IaaS, PaaS, private, hybrid) ประจำไตรมาส 2/2015
ตลาดรวมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้มีมูลค่าต่อไตรมาสเกือบ 6 พันล้านดอลลาร์แล้ว และมูลค่าต่อปีเกือบ 20 พันล้านดอลลาร์ ภูมิภาคหลักที่ใช้งานคลาวด์ยังเป็นอเมริกาเหนือ ที่มีส่วนแบ่งตลาดเกินครึ่งของตลาดโลก
ผู้ที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งยังเป็น Amazon Web Services ที่ 29% ตามด้วย Microsoft, IBM, Google ที่ไม่ได้เผยข้อมูลตัวเลขมาด้วย จุดที่น่าสนใจคือบรรดา Big 4 มีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน 54% เยอะขึ้นจากปีก่อนๆ ที่มีส่วนแบ่งตลาด 41% ในปี 2013 และ 46% ในปี 2014 (เท่ากับว่ารายที่เหลือมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันน้อยลงเรื่อยๆ)
Kubernetes ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับจัดการ container ที่ริเริ่มโดยกูเกิลในปี 2014 ออกเวอร์ชัน 1.0 เรียบร้อยแล้ว ถือว่ามีความสมบูรณ์สำหรับการใช้งานจริง ทั้งฟีเจอร์การจัดการคลัสเตอร์ การจัดการโหลดงาน และมีเสถียรภาพทั้งในแง่การรันงานและ API ที่มีนโยบายกำหนดอายุชัดเจน
ในโอกาสเดียวกัน กูเกิลยังประกาศตั้งมูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) เพื่อมาดูแลกระบวนการพัฒนา Kubernetes ให้เป็นของชุมชนต่อไป โดยมีพันธมิตรร่วมก่อตั้งพร้อมหน้า ตั้งแต่ Linux Foundation, AT&T, Docker, eBay, IBM, VMWare, Intel, Cisco, Joyent, CoreOS, Mesosphere, Univa, Red Hat, Twitter
กูเกิลประกาศเข้าร่วมเป็นสปอนเซอร์ให้ OpenStack Foundation ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์คลาวด์โอเพนซอร์ส โดยให้เหตุผลว่าแนวโน้มของโลกไอทีองค์กร มุ่งไปที่คลาวด์แบบไฮบริด (รันคลาวด์ทั้งภายใน/ภายนอกองค์กร) และ OpenStack กำลังกลายเป็นซอฟต์แวร์มาตรฐานสำหรับองค์กรที่อยากสร้างคลาวด์ภายในบริษัท (on premise)
ตั้งแต่วงการเกมเริ่มกระจายตัวออกไปนอกเครื่องคอนโซล เราได้เห็นเกมในยุคใหม่ที่ไปปรากฎตัวในสื่อหลายรูปแบบมากขึ้น ล่าสุดยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเกม EA เพิ่งประกาศจับมือกับผู้ให้บริการเคเบิลทีวีรายใหญ่ Comcast เพื่อนำบริการสตรีมเกมไปลงบนกล่อง set-top อย่างเป็นทางการแล้ว
บริการสตรีมเกมของ EA ที่เพิ่งประกาศมานี้ ทำมาเพื่อใช้งานกับกล่อง Xfinity X1 โดยเฉพาะ การใช้งานทำได้ผ่านแอพ Xfinity Games ใส่โค้ด เลือกเกม และควบคุมเกมด้วยแท็บเล็ต (ดูรุ่นที่รองรับได้ที่นี่)
ไมโครซอฟท์ประกาศเริ่มให้บริการช่วยเหลือแก้ปัญหาการใช้งานลินุกซ์บน Azure จากเดิมที่ระบบปฎิบัติการเหล่านี้สามารถใช้งานได้อยู่แล้ว แต่หลังจากนี้ลูกค้าจะสามารถขอความช่วยเหลือได้อีกด้วย
ระบบปฎิบัติการที่รองรับ ได้แก่ Ubuntu, CentOS, SUSE Linux, OpenSUSE, Oracle Linux, และ CoreOS นอกจากนี้ยังช่วยเหลือสำหรับการติดตั้งซอฟต์แวร์บางตัว เช่น PHP, Java, Python, MySQL, Apache, Tomcat, Wordpress
หัวข้อที่ไมโครซอฟท์ให้ความช่วยเหลือ เช่น ปัญหาการติดตั้ง, ปัญหาการดีพลอยซอฟต์แวร์เมื่อใช้งานบน Azure, ปัญหาประสิทธิภาพบน Azure
การซัพพอร์ตนี้ให้บริการช่วยเหลือทางโทรศัพท์ด้วย แต่รองรับเฉพาะเวลาทำงานในสหรัฐฯ และเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการซัพพอร์ตในชุมชนออนไลน์อีกทาง
PhotoDNA บริการระบุเอกลักษณ์ของรูปภาพจากการร่วมมือของ Microsoft และวิทยาลัย Dartmouth เพื่อใช้แก้ปัญหาการค้นหารูปเด็กที่ถูกละเมิดให้กับศูนย์เด็กหายและถูกละเมิดของสหรัฐอเมริกา (NCMEC) ขณะนี้ตรวจจับรูปที่ผิดกฎหมายไปแล้วหลายล้านรูป และมีองค์กรนำไปใช้งานแล้วมากกว่า 70 องค์กร มีเจ้าดังๆ เช่น Facebook และ Twitter และล่าสุดนักพัฒนาได้ปรับปรุงบริการให้ใช้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในรูปแบบของ Cloud Service
PhotoDNA ทำงานโดยเปลี่ยนรูปภาพเป็นโทนสีเทา (greyscale) จากนั้นทำการสร้างตารางให้เกิดกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆ และใส่ค่าตัวเลขเข้าไปในแต่ละกรอบ ซึ่งค่าเหล่านี้จะสร้างข้อมูลเอกลักษณ์ของรูปภาพ (PhotoDNA signature) ขึ้นมา แล้วนำค่าที่ได้ไปจับคู่กับรูปภาพที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
Google Compute Engine รองรับระบบปฏิบัติการ Windows Server มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว วันนี้กูเกิลประกาศสถานะ general availability (GA) โดยมีให้เลือกทั้ง Windows Server 2008 R2 และ 2012 R2
กูเกิลเลือกประกาศข่าวนี้ในวันที่ Windows Server 2003 หมดอายุซัพพอร์ต เพื่อกระตุ้นให้องค์กรที่อยากย้ายระบบจาก Windows Server 2003 หันมาอัพเกรดเป็น 2008/2012 ที่รันบน Compute Engine แทน เพื่อจะได้ไม่ต้องลงทุนกับค่าฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ใหม่ และจ่ายเงินแค่เท่าที่ใช้งาน
ซอฟต์แวร์ที่มาแรงในโลกของ Big Data คือ Apache Spark ที่เปรียบเสมือน Hadoop ทำงานในหน่วยความจำ (MapReduce in memory)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ที่เคยรองรับ Hadoop บน Azure ในชื่อ HDInsight ก็ประกาศรองรับ Spark เพิ่มเติมแล้ว โดยยังมีสถานะเป็น public preview ภายใต้บริการ Azure HDInsight อีกทีหนึ่ง
Apache Spark for Azure HDInsight เป็นบริการประมวลผลข้อมูลบนกลุ่มเมฆ และสามารถใช้เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ข้อมูลยี่ห้อใดก็ได้มาช่วยอ่านค่า ไม่ว่าจะเป็น Power BI ของไมโครซอฟท์เอง, Tableau, SAP Lumira, Qlik
Power BI เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของไมโครซอฟท์เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ไมโครซอฟท์เปิดตัว Power BI ครั้งแรกช่วงต้นปี 2014 และหลังจากทดสอบในวงกว้างมาได้ประมาณปีครึ่ง Power BI ก็เตรียมเข้าสถานะเป็นรุ่นจริง (general availability) ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2015 ปลายเดือนนี้
การทดสอบแอพบนอุปกรณ์จริงถือเป็นปัญหาสำคัญของนักพัฒนา ยิ่งในสายของ Android ที่มีอุปกรณ์หลากรุ่นมาก การทดสอบอุปกรณ์ให้ครอบคลุมจึงเป็นเรื่องยากมาก
ล่าสุด Amazon Web Services จึงเปิดตัวบริการคลาวด์ตัวใหม่ชื่อ AWS Device Farm ให้นักพัฒนาส่งแอพบน Android หรือ Fire OS ไปรันบนฮาร์ดแวร์ทดสอบที่ Amazon เตรียมไว้ให้ว่ามีบั๊กหรือมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพหรือไม่ แล้วนั่งรอผลการทดสอบที่บ้านได้เลย
บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด (ISSP) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและศูนย์ข้อมูลของไทย ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เปิดตัวบริการคลาวด์ a.csp (อ่านว่า "เอซีเอสพี") ที่มีจุดเด่นคือใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีเดียวกับ Microsoft Azure มารันในศูนย์ข้อมูลของ ISSP เลย
การที่ a.csp ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Azure (หลักๆ คือ Windows Server และ Windows Azure Pack) ทำให้ลูกค้าสามารถย้ายงานข้ามไปมาระหว่าง Microsoft Azure และ a.csp ได้โดยตรง ซึ่งก็ตอบโจทย์องค์กรที่อยากรันงานบนคลาวด์สายไมโครซอฟท์ แต่มีความต้องการเรื่องตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์ข้อมูลในประเทศ-นอกประเทศด้วย
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ ISSP
Amazon Web Services เปิดศูนย์ข้อมูลในอินเดีย เพื่อรองรับธุรกิจออนไลน์ที่กำลังเติบโตในภูมิภาคนี้ รวมถึงบริษัทสตาร์ตอัพอินเดียจำนวนมากที่กำลังมาแรงด้วย
ตัวแทนของ AWS บอกว่าอินเดียมีลูกค้า AWS เป็นหลัก "หลายหมื่นบริษัท" ดังนั้นการเปิดศูนย์ข้อมูลในอินเดียเพื่อแก้ปัญหา latency รวมถึงตอบโจทย์เรื่องกฎระเบียบภาครัฐที่ให้ใช้เซิร์ฟเวอร์ในประเทศจึงถือว่าคุ้มค่า บริการคลาวด์ AWS เขตอินเดียจะเริ่มให้บริการในปี 2016
ที่ผ่านมา AWS มีศูนย์ข้อมูลในเอเชีย 3 แห่งคือสิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ส่วนประเทศอื่นๆ ที่อยู่นอกเอเชียคือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย บราซิล เยอรมนี ไอร์แลนด์
หากยังจำกันได้เมื่อช่วงต้นปี IBM ประกาศเตรียมวางจำหน่ายหนังสือสูตรอาหารที่คิดขึ้นโดย Watson ระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ของตัวเอง (ข่าวเก่า) มาคราวนี้ IBM ร่วมมือกับนิตยสารด้านอาหารอย่าง Bon Appetit เปิดตัวแอพ Chef Watson ให้ใช้งานอย่างเป็นทางการ
ในเชิงหลักการ Watson จะนำข้อมูลสูตรอาหารในฐานข้อมูล ผสมกับข้อมูลเกี่ยวกับด้านเคมีและข้อมูลในเชิงจิตวิทยา เพื่อสร้างสูตรอาหารใหม่ขึ้นมา โดยปีที่แล้วได้เริ่มทดลองในวงปิดกับผู้อ่านของนิตยสาร Bon Appetit ก่อนที่จะเปิดให้ใช้อย่างเป็นทางการ
Amazon EC2 ประกาศเครื่องตระกูลใหม่ M4 ที่ให้ทั้งซีพียูและแรมสูง เครื่องรุ่นใหญ่สุด คือ m4.10xlarge นั้นให้ซีพียู 40 คอร์ ประสิทธิภาพตามหน่วย ECU ของอเมซอนอยู่ที่ 124.5 ECU แรม 160GB ราคาชั่วโมงละ 2.520 ดอลลาร์
เครื่องรุ่นใหม่นี้ใช้ซีพียูเป็น Intel Xeon E5-2676v3 ติดตั้งแล้วใน สหรัฐฯ, ยุโรป, เอเชียรวมถึงสิงคโปร์
นอกจากเปิดเครื่องรุ่นใหม่แล้ว ทางอเมซอนยังลดราคาเครื่องตระกูล M3 และ C4 ลงอีก 5% ในบางโซน แต่สิงคโปร์ที่คนไทยใช้กันเยอะนั้นยังไม่ได้ลดราคาในรอบนี้
ที่มา - Amazon Web Service
บริการ Cloud เซิร์ฟเวอร์อย่าง DigitalOcean หลังจากเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2011 ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีราคาถูกกว่าผู้ให้บริการเจ้าอื่นโดยมีราคาเริ่มต้นเพียง $5 ต่อเดือน ปัจจุบันมีเครื่องที่เปิดใช้งานแล้วถึง 5,636,018 เครื่อง (ตัวเลขปัจจุบันแสดงในหน้าเว็บไซต์ของ DigitalOcean)
บล็อกของ DigitalOcean รายงานว่าแอปพลิเคชันที่ deploy บนเซิร์ฟเวอร์มีการเข้าถึงจาก developer หลายคนโดยใช้บัญชีผู้ใช้เดียวกัน ซึ่งบางครั้งเจ้าของบัญชีไม่ต้องการบอกรหัสผ่านให้คนอื่นรู้
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวทาง DigitalOcean จึงเปิดให้บริการ Team Accounts ซึ่งอนุญาตให้เจ้าของบัญชีสามารถเชิญ developer คนอื่นเข้ามาใช้งานเซิร์ฟเวอร์ได้โดยการยืนยันตัวตนแบบ 2-Factor login
ซิสโก้ประกาศเข้าซื้อบริษัทซอฟต์แวร์คลาวด์ Piston Cloud Computing โดยยังไม่เปิดเผยมูลค่า
ซอฟต์แวร์หลักของ Piston คือ Piston CloudOS ช่วยให้การจัดการเฟรมเวิร์คต่างๆ ในระดับสูงขึ้นไป เช่น OpenStack, Hadoop, Docker ทำได้ง่ายขึ้น โดยรวมเอาทั้งบริการสตอเรจแบบ SDS และบริการเครือข่ายแบบ SDN เอาไว้ในชุด
ทางซิสโก้ระบุว่าระบบจัดการของ Piston จะเข้าคู่กับ Cisco OpenStack ที่ได้มาจากการเข้าซื้อ Metacloud เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารคลาวด์ขนาดใหญ่
ตอนนี้การเข้าซื้อยังอยู่ในช่วงการแสดงความจำนงเข้าซื้อ ยังไม่มีกำหนดว่าบริษัทจะรวมเข้ามาจริงๆ เมื่อใด
กูเกิลลดราคาบริการกลุ่มเมฆ Google Cloud Platform อีกครั้ง หลังจากลดไปรอบก่อนประมาณ 10% เมื่อเดือนตุลาคม 2014
กูเกิลยืนยันว่าการลดราคาเป็นไปตามนโยบายของบริษัท ที่มองว่าต้นทุนของการประมวลผลจะลดลงเรื่อยๆ ตามกฎของมัวร์ (ดูกราฟท้ายข่าวประกอบ) โดยรอบนี้ instance ขนาดเล็กที่สุด (micro) ลดราคาลง 30%, ส่วนรุ่น standard ลด 20%, รุ่นใหญ่หน่อย high cpu ลดน้อยหน่อย 5%
Talkspace บริการสำหรับผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตในสหรัฐอเมริกา ประกาศออกแอพของตัวเองที่นำเอา IBM Watson เข้ามาใช้งานร่วมกับตัวแอพ เพื่อคัดเลือกหานักจิตเวชในการช่วยในการบำบัดหรือฟื้นฟูสภาพจิตของผู้ป่วยจากข้อความที่เราส่งไปหาด้วย
หลักการที่ Talkspace ใช้ จะเป็นการให้ Watson ตรวจสอบจากข้อความที่เราส่งไปหานักจิตเวช ซึ่งเราจะส่งไปแบบนิรนาม (anonymous) ขึ้นสู่ระบบ แล้ว Watson จะทำการตรวจสอบข้อความเพื่อประเมินสภาพทางจิตเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งให้เราไปพูดคุยกับนักจิตเวชซึ่งอยู่บนระบบของ Talkspace เพื่อทำการบำบัด ระบบนี้มีข้อดีกว่าการที่จะต้องมานั่งหานักจิตเวชด้วยตนเอง ซึ่งไม่รู้ว่าจะเชี่ยวชาญในด้านที่เรากำลังต้องการหรือไม่