เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2564 สำนักข่าวอิศราได้รายงานข่าวการจับกุมผู้ต้องหาคดีทุจริต โดยมีการเปิดเผยว่าหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่ทางเจ้าหน้าที่ใช้ในการสะกดรอยนั้นได้มาจากการใช้งานแอปพลิเคชันของภาครัฐที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ด้านการรับมือสถานการณ์โควิด 19 เช่น หมอพร้อม ที่ใช้เพื่อนัดหมายการฉีดวัคซีน (ปัจจุบันแอปพลิเคชันหมอพร้อมถูกถอดออกจาก Play Store แล้ว) หรือ คนละครึ่ง ที่ใช้เพื่อการจ่ายเงิน เป็นต้น
นักข่าวสหรัฐไปถามประธานาธิบดีโจ ไบเดน ว่าคิดอย่างไรกับข้อมูลเท็จเกี่ยวกับ COVID-19 บนแพลตฟอร์มโซเชียลอย่างเฟซบุ๊ก คำตอบของไบเดนคือ "ทำให้คนตาย" (they're killing people)
ไบเดนบอกว่าตอนนี้สหรัฐอเมริกาเจอปัญหาโรคระบาดในกลุ่มคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน (unvaccinated) ดังนั้นข่าวปลอมเหล่านี้ (ที่ชักจูงคนไม่ให้ฉีดวัคซีน) จึงถือเป็นการฆ่าคนทางอ้อม
ท่าทีของทำเนียบขาวก็ไปในทางเดียวกับไบเดน โดย Jen Psaki โฆษกของทำเนียบขาวก็ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า ทุกคนมีหน้าที่ต้องกระจายข้อมูลที่ถูกต้อง บริษัทโซเชียลเหล่านี้ต้องพยายามเพิ่มมาตการต่อต้านข่าวปลอมให้มากกว่าที่เป็นอยู่ โดยยกตัวอย่างข่าวปลอมว่า วัคซีนโควิดทำให้คนเป็นหมัน
คณะกรรมการที่ปรึกษา (advisory panel) ของหน่วยงานกำกับดูแลสินค้าทางการแพทย์แห่งชาติจีน (National Medical Products Administration - NMPA) เห็นชอบให้รับรองวัคซีน BNT162b2 ให้ใช้งานในจีน หาก NMPA อนุญาตตามคำแนะนำของที่ปรึกษาก็จะนับเป็นวัคซีน mRNA ตัวแรกที่จะได้อนุญาตให้ใช้งานในจีน
Shanghai Fosun Pharmaceutical Group ผู้ถือสิทธิ์จำหน่ายวัคซีนตัวนี้ในแถบจีน (Greater China รวมไต้หวันและฮ่องกง) แถลงเรื่องนี้ในงานประชุมผู้ถือหุ้นระบุว่ากระบวนการตรวจสอบเป็นไปด้วยความราบรื่น และทาง NMPA กำลังเร่งตรวจสอบข้อมูล
Foxconn และ TSMC แถลงว่าเจรจาซื้อวัคซีน COVID-19 จาก Pfizer เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยลงนามซื้อผ่าน Shanghai Fosun Pharmaceutical Group ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายของ BioNTech ในภูมิภาค สัญญาซื้อวัคซีนทั้งหมด 10 ล้านโดส รวมมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท สองบริษัทแบ่งกันจ่ายคนละครึ่ง
แก้ไข: เวอร์ชั่นแรกของบทความนี้ระบุว่าเป็นการสั่งซื้อ 20 ล้านโดส เมื่อตรวจสอบพบว่ายอดรวมสองบริษัทคือ 10 ล้านโดส
วัคซีนทั้งหมดจะมาจากโรงงานของ BioNTech ในเยอรมัน คาดว่าจะเริ่มส่งมอบได้ภายใต้สิ้นเดือนกันยายน แต่ทาง Fosun ก็เตือนว่ากำหนดการที่แท้จริงนั้นขึ้นกับเงื่อนไขอีกหลายอย่าง
ไมโครซอฟท์จ่ายโบนัสพิเศษให้แก่พนักงานส่วนใหญ่ทั้งในสหรัฐฯและนอกประเทศ ตกคนละ 1,500 ดอลลาร์ หรือราวกว่า 48,000 บาท อยู่ในวงเงิน 200 ล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานหนักในช่วงโควิด และเป็นการจูงใจพนักงานให้ไม่อยากเปลี่ยนงานหลังกลับมาเปิดเมือง ซึ่งเป็นเทรนด์ที่พบเห็นได้บ่อย
บริษัท Moderna ประกาศเริ่มทดสอบวัคซีน mRNA สำหรับไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza) แล้ว วัคซีนตัวนี้มีชื่อเรียกว่า mRNA-1010 (ส่วนวัคซีนโควิดชื่อ mRNA-1273) เริ่มเข้ากระบวนการทดสอบเฟส 1/2 กับชาวอเมริกันจำนวน 180 คน
Moderna ตั้งเป้าว่าวัคซีน mRNA-1010 จะสามารถป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1, H3N2) และสายพันธุ์ B (Yamagata, Victoria) ได้
ไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นการระบาดตามฤดูกาล ที่แต่ละปีมีระดับความรุนแรงต่างกันไป วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบันจึงต้องปรับสูตรใหม่ทุกปี โดยตัดสินใจล่วงหน้า 6-9 เดือน และมีประสิทธิภาพราว 40-60% ทำให้ Moderna ตั้งเป้าพิชิตข้อจำกัดนี้ด้วยวัคซีนแบบ mRNA ที่สามารถผสมวัคซีนกันเพื่อป้องกันไวรัสหลายๆ ตัวพร้อมกันได้เร็วกว่า
สัปดาห์ที่ผ่านมาสหภาพยุโรปเริ่มเดินหน้าออกใบรับรอง COVID-19 แบบดิจิทัล ทำให้ชาติสมาชิกสามารถสแกน QR เพื่อตรวจสอบใบรับรองได้ ผมสำรวจการออกแบบ QR ที่สหภาพยุโรปออกแบบครั้งนี้ พบว่ามีความน่าสนใจหลายประการโดยเฉพาะกระบวนการออกใบรับรองที่ง่ายเนื่องจากสามารถออกใบรับรองผ่านแอปหรือแม้แต่พิมพ์ใบรับรองเป็นกระดาษด้วยตัวเอง, ยังมีความปลอดภัยสูงด้วยกระบวนการยืนยันข้อมูลด้วยลายเซ็นดิจิทัล, และสุดท้ายคือการออกแบบฟอร์แมตข้อมูลถูกออกแบบด้วยเทคนิคหลายอย่างเพื่อให้ QR มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้สแกนได้ง่าย
Johnson & Johnson รายงานผลทดลองประสิทธิภาพวัคซีน Ad26.COV2.S ที่ฉีดเพียงเข็มเดียว ต่อเชื้อ COVID-19 ตระกูลกลายพันธุ์ต่างๆ โดยอาศัยการทดสอบภูมิคุ้มกันในกลุ่มผู้ร่วมทดสอบกลุ่มเล็ก พบว่าแม้ภูมิในสายพันธุ์ต่างๆ จะลดลง แต่กับสายพันธุ์ Delta (B.1617.2) นั้นมีอัตราภูมิลดลงเพียงเล็กน้อย แต่สายพันธุ์ Beta (B.1.351) และ Gamma (P.1) นั้นลดลงมากที่สุด
การทดลองใช้เซรุ่มจากกลุ่มผู้เข้าร่วมทดลองเฟส 3 ของ Johnson & Johnson จำนวน 8 คน
นอกจากนี้ ผลการติดตามการทำงานของวัคซีนในช่วง 8 เดือนแรก ยังพบว่าภูมิคุ้มกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้มั่นใจได้ว่าวัคซีนน่าจะมีผลดีในช่วงนี้ต่อไป
วันนี้ 1 ก.ค. สหภาพยุโรปเริ่มใช้งานใบรับรองฉีดวัคซีน COVID-19 แบบดิจิทัลแล้ว โดยมีชาติสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 29 ประเทศ
ประชาชนในชาติสมาชิกที่เข้าร่วม ที่ฉีดวัคซีนแล้ว / ทดสอบแล้วผลเป็นลบ / ป่วยแล้วหายแล้ว จะได้ใบรับรองนี้มาใช้งาน วิธีการคือแสดง QR Code บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อแสดงตนเวลาเดินทางในสหภาพยุโรป หากสถานที่บางแห่งจำเป็นต้องตรวจสอบว่าฉีดวัคซีนหรือยัง ก็สามารถแสดง QR Code เพื่อให้เจ้าหน้าที่สแกนได้ (ในกรณีที่ไม่มีมือถือ ก็สามารถขอเวอร์ชันกระดาษที่มี QR ได้เช่นกัน)
Google Pay บริการจ่ายเงินของกูเกิล มีฟีเจอร์ Pass สำหรับบัตรสะสมแต้ม บอร์ดดิ้งพาส ตั๋วยานพาหนะต่างๆ มาได้สักพักแล้ว (ข่าวเก่า, แน่นอนว่าไม่มีไทย)
ล่าสุดกูเกิลปรับ Passes API ให้เก็บเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน (vaccination card) ได้ด้วย ฟีเจอร์นี้จะเริ่มใช้กับสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรก และจะรองรับในประเทศอื่นๆ ตามมาต่อไป
TSMC เริ่มติดต่อรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อขอซื้อวัคซีนหลังจากเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมารัฐบาลไต้หวันเห็นชอบให้ทั้ง TSMC และ Foxconn เป็นตัวแทนรัฐบาลเจรจาซื้อวัคซีนจาก Pfizer รวม 10 ล้านโดส
ทั้งสองบริษัทพยายามจัดหาวัคซีนด้วยตัวเองเพื่อมาฉีดให้พนักงานและครอบครัวระยะหนึ่งแล้ว แต่ระบุว่าจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ และหลังจากเข้าพูดคุยกับประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน คณะรัฐมนตรีไต้หวันก็ประกาศอนุญาตให้ทั้งสองบริษัทเป็นตัวแทนรัฐบาลจัดหาวัคซีนเป็นทางการ
กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ประกาศว่าผู้ที่เลือกฉีดวัคซีน Sinovac จะไม่ได้สิทธิ์เข้าร่วมงานต่างๆ โดยไม่ต้องตรวจ COVID-19 ล่วงหน้า หรือ pre-event testing (PET) เหมือนกับผู้ที่รับวัคซีน Pfizer หรือ Moderna และหลังจากนี้คลีนิกที่รับฉีดวัคซีน Sinovac จะต้องแจ้งผู้รับวัคซีนว่าสิทธิ์ต่างๆ จะไม่เท่ากับผู้รับวัคซีนตามโครงการหลักของรัฐบาล
AstraZeneca ออกจดหมายข่าวประกาศว่าเดือนกรกฎาคมนี้บริษัทจะเริ่มส่งออกวัคซีน COVID-19 จากโรงงาน Siam Bioscience ในประเทศไทย โดยจะส่งออก 2 ใน 3 และกันไว้ให้ใช้ในประเทศไทย 1 ใน 3
จนตอนนี้ยังไม่มีข่าวเป็นทางการว่ากำลังผลิตจริงของ Siam Bioscience เป็นเท่าใด หลังจากบริษัทเคยประกาศร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขว่าจะผลิตให้ได้ 200 ล้านโดสต่อปี ซึ่งหากทำได้ตามที่ประกาศไว้ก็จะคิดเป็นกำลังผลิตเดือนละ 16.7 ล้านโดส ตามสัดส่วนในประกาศครั้งนี้ไทยจะได้รับ 5.56 ล้านโดสต่อเดือน
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดรายงานถึงการทดลองตรวจภูมิในผู้รับวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 หรือวัคซีน Oxford-AstraZeneca ในกรณีที่มีการดึงเวลารับเข็มที่สองเอาไว้ พบว่าการดึงเวลาเอาไว้นานขึ้นแม้จะส่งผลให้ภูมิลดลงในช่วงที่รอเข็มสอง แต่เมื่อกระตุ้นภูมิในเข็มที่สองแล้วกลับมีภูมิสูงกว่าการฉีดตามกำหนดปกติ
ทีมวิจัยทดสอบโดยแบ่งตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มรับเข็มสองภายใน 8-12 สัปดาห์หลังเข็มแรก, กลุ่มรับเข็มสองภายใน 15-25 สัปดาห์หลังเข็มแรก, และกลุ่มรับเข็มสอง 44-45 สัปดาห์หลังเข็มแรก ผลพบว่ายิ่งรอนานภูมิหลังกระตุ้นเข็มสองนั้นยิ่งสูงขึ้น อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคต่อไป
ข้อมูลจากแหล่งข่าวหลายแหล่งทั้งบน Reddit, Hacker News และการรีวิวในแอป พบว่า กูเกิลติดตั้ง MassNotify แอปติดตามการระบาดของ COVID-19 ในรัฐแมสซาชูเซตส์ โดยที่ผู้ใช้โทรศัพท์ไม่รู้ตัวและไม่ยินยอม
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโรคระบาด โควิด-19 เรามองเห็นความเคลื่อนไหวของซีพีในการใช้ทรัพยากรที่มี สร้างโซลูชันเร่งด่วนเพื่อแก้วิกฤตมาโดยตลอด ยกตัวอย่างเช่น การใช้ AI มาเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบคุณภาพหน้ากากอนามัยที่เครือซีพีตั้งโรงงานผลิตเพื่อส่งมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้เปราะบางตั้งแต่โควิดรอบแรกจนถึงปัจจุบัน
วิกฤตโควิดรอบนี้ เครือซีพีผนึกกำลังกับบริษัทในเครือร่วมทำโครงการซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19 สนับสนุนภารกิจโรงพยาบาลสนาม โดย Blognone ได้พูดคุยกับ คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เกี่ยวกับการผนึกกำลังของซีพีและทรู ร่วมนำทรัพยากรและเทคโนโลยีมาสนับสนุนภารกิจภาคสาธารณสุข อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสาร พัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เสริมประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และช่วยเหลือคนไทยให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ในสถานการณ์โควิด-19
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 ผู้เขียนข่าวพบว่าระบบไทยชนะ ทั้งตัวแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ qr.thaichana.com ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากใบรับรอง HTTPS ได้หมดอายุไปแล้ว
ก่อนหน้านี้แอปพลิเคชันหมอชนะก็เคยใช้งานไม่ได้เนื่องจากใบรับรองหมดอายุเช่นเดียวกัน
ที่มา - พบเอง
สหภาพยุโรปเริ่มโครงการใบรับรอง COVID-19 เป็นแบบแอปพลิเคชั่นและกระดาษพร้อม QR ใช้สำหรับยืนยันผล 3 ประเภท ได้แก่ การฉีดวัคซีน, ผลทดสอบ COVID-19 เป็นลบ, หรือเป็นผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว
หลักการโดยทั่วไปของใบรับรองนี้คือชาติสมาชิกสหภาพยุโรปจะไม่วางเงื่อนไขการเดินทางสำหรับผู้ถือใบรับรอง อย่างไรก็ดีแต่ละชาติอาจจะมีเงื่อนไขการยอมรับใบรับรองต่างกัน เช่น บางชาติอาจจะยอมให้เดินทางทันทีเมื่อฉีดเข็มแรก ขณะที่บางชาติจะมีเงื่อนไขต้องฉีดครบโดสเท่านั้น สำหรับรายการวัคซีนที่ยอมรับได้ ทุกชาติจะยอมรับวัคซีนในรายการ EU marketing authorisation เหมือนกันหมด แต่บางชาติอาจจะยอมรับวัคซีนตัวอื่นๆ เพิ่มเติม
Novavax ผู้พัฒนาวัคซีนอีกรายที่กำลังพัฒนาวัคซีน COVID-19 ในชื่อว่า NVX-CoV2373 แถลงประสิทธิภาพของวัคซีนที่ 90.4% (ความมั่นใจ 95% อยู่ที่ 82.9-94.6%) หลังจากเคยแถลงผลเบื้องต้นเมื่อสิ้นเดือนมกราคมว่ามีประสิทธิภาพ 89.3%
การทดลองอาศัยอาสาสมัครรวม 29,960 คน แบ่งกลุ่มฉีดวัคซีนจริงและวัคซีนหลอกในอัตราส่วน 2:1 โดยระหว่างทางมีการสลับยา (cross-over) ให้คนที่ได้รับวัคซีนจริงสลับไปรับวัคซีนหลอก และกลุ่มได้รับวัคซีนหลอกสลับมาวัคซีนจริง โดยรวมแล้วมีผู้ติดเชื้อแบบมีอาการทั้งหมด 77 ราย อยู่ในกลุ่มได้รับวัคซีนหลอก 63 ราย กลุ่มได้รับวัคซีนจริง 14 ราย เป็นกลุ่มมีอาการน้อยทั้งหมด
เว็บไซต์ ThailandInterVac.com เป็นเว็บไซต์ของรัฐบาลไทยสำหรับชาวต่างชาติอายุเกิน 60 ปีหรือมีโรคประจำตัวที่ต้องการฉีดวัคซีน หลังจากเปิดมาได้เพียงสัปดาห์เดียวก็มีผู้พบว่าเว็บไซต์นี้มี URL เปิดเผยข้อมูลผู้ลงทะเบียนทั้งหมด
ทางเว็บ Coconut Media ระบุว่าพบไฟล์ profile-summary.php
แสดงรายชื่อผู้ลงทะเบียนล่าสุดและเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องล็อกอินแต่อย่างใด รวมถึงมีบาง URL ที่สามารถระบุหมายเลขผู้ใช้เพื่อดูข้อมูลผู้ลงทะเบียนคนอื่นๆ ได้
ตอนนี้ข้อมูลที่แสดงออกมาระบุชื่อ-นามสกุล, หมายเลขหนังสือเดินทาง ยังไม่มีชัดเจนว่ามีข้อมูลอื่นหรือไม่ และล่าสุดรัฐบาลก็ปิดเว็บไซต์ไปแล้ว
เกิดดราม่าเล็กๆ ในกลุ่มอีเมลนักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ หลัง Enrico Weigelt ผู้ดูแลเคอร์เนลชาวเยอรมันแสดงความเชื่อต่อวัคซีน mRNA ว่าเป็นการทดลองสร้างมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ แถมยังแสดงความสงสัยต่อเหตุโรคระบาดว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่
หลัง Weigelt ส่งเมลฉบับนี้ไลนัสก็ตอบโต้ทันทีว่าเป็นคอมเมนต์ที่ไร้สติ (insane) และขอให้เก็บความเห็นต่อต้านวัคซีนแบบนี้ไว้กับตัวเอง หลังจากนั้นไลนัสก็อธิบายกระบวนการทำงานของวัคซีน mRNA ว่าไม่ได้เปลี่ยน DNA ของมนุษย์แต่อย่างใด โดยตัว mRNA อยู่ในร่างกายเพียงไม่กี่วันเท่านั้น ระหว่างนั้นสอนให้ร่างกายต่อสู้กับโปรตีนไวรัส เทียบกับวัคซีนแบบอื่นๆ แล้วหลายครั้งวัคซีน mRNA ใช้วัตถุแปลกปลอมกับร่างกายน้อยกว่าด้วยซ้ำ
เนื่องจากการฉีดวัคซีนเป็นวาระเร่งด่วนที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่าจะฉีดให้ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทยภายในสิ้นปีนี้ การนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าการฉีดวัคซ๊นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ประชาชนเห็นสถานการณ์ปัจจุบันของการฉีดวัคซีนและแนวโน้มในอนาค
เว็บไซต์รายงานข้อมูลความคืบหน้าการฉีดวัคซีนที่พัฒนาโดย The Researcher ได้รวบรวมชุดข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ของรัฐบาลมารายงานบนเว็บไซต์ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
สาธารณสุขสิงคโปร์อนุญาตให้ใช้งานวัคซีน Sinovac-CoronaVac หลังจากองค์การอนามัยโลกรองรับให้วัคซีนใช้งานได้แบบฉุกเฉิน หลังจากสิงคโปร์เน้นใช้งานเฉพาะวัคซีน mRNA ทั้ง Pfizer และ Moderna
วัคซีน mRNA มีรายงานว่าก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) ในกลุ่มผู้เป็นภูมิแพ้ที่มีอาการแพ้รุนแรงมาก่อน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาสหรัฐฯ รายงานว่าพบผู้รับวัคซีนที่มีอาการแพ้รุนแรงจำนวน 21 คน คิดเป็น 11.1 รายต่อ 1 ล้านโดส โดยในจำนวนนี้ 17 คนเคยมีประวัติการแพ้รุนแรงมาก่อน นอกจากนี้วัคซีน mRNA ยังอาจจะไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (immunocompromised)
องค์การอนามัยโลกประกาศรับรอง (validate) วัคซีน Sinovac-CoronaVac ที่ตอนนี้นับเป็นวัคซีน COVID-19 ตัวหลักของประเทศไทยให้เข้ารายชื่อวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานแบบฉุกเฉิน (Emergency Use Listing - EUL) เป็นตัวที่ 6 ต่อจาก Pfizer/BioNTech, AstraZeneca, Janssen (Johnson & Johnson), Moderna, และ Sinopharm
กระบวนการรับรองเข้า EUL เป็นเงื่อนไขที่วัคซีนจะสามารถนำไปใช้งานในโครงการ COVAX Facility ได้ โดยกระบวนการพิจารณาอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกมาร่วมพิจารณาข้อมูลทั้ง คุณภาพ, ความปลอดภัย, และประสิทธิผลของตัววัคซีน
Naver แอปแชทในเกาหลีใต้ทำ COVID-19 AI CareCall Service ใช้เสียงผู้ช่วยอัจฉริยะสอบถามผู้ที่ได้รับวัคซีน COVID-19 ไปแล้วว่ามีอาการที่เกิดจากผลข้างเคียงวัคซีนหรือไม่ โดยระบบจะติดตามผู้ที่รับวัคซีนอายุ 75 ปีขึ้นไป เร่ิมใช้งานแล้วในเมืองปูซาน, ซองนัม, ซูวอน และเมืองจอนจู จังหวัดชอลลาเหนือ