Jay Parikh รองประธานผู้ดูแลฝ่ายวิศวกรรมของ Facebook ได้เปิดเผยข้อมูลว่าในปัจจุบัน Facebook ได้ทำการทดสอบซ้อมแผนการรับมือสถานการณ์วิกฤต โดยทีมวิศวกรได้ทดลองทำให้ศูนย์ข้อมูลของตนเองล่มกันจริงๆ เพื่อการทดสอบนี้
Parikh ได้กล่าวบรรยายถึงเรื่องนี้ในงานสัมมนา @Scale งานดังกล่าวเป็นงานที่รวบรวมเอาเจ้าหน้าที่ผู้สร้างและบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่รองรับผู้ใช้งานจำนวนมหาศาล ซึ่งมีเหล่าวิศวกรจากบริษัทใหญ่ๆ อาทิ Google, Airbnb, Dropbox, Spotify, Netflix และบริษัทอื่นอีกมาเข้าร่วมกันมากมาย
เราคงรู้กันดีว่าเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แต่บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รู้ตัวเรื่องนี้กันแค่ไหน และมีแผนปรับตัวอย่างไร
Western Digital บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ที่สุดของโลก มีแผนรับมือเรื่องนี้ไว้แล้ว ในระยะสั้น บริษัทแสดงให้เห็นผ่านการซื้อ SanDisk เพื่อขยายมายังตลาดหน่วยความจำแบบแฟลช แต่ในระยะยาว WD ต้องการไปไกลกว่าการเป็นผู้ขายฮาร์ดแวร์สตอเรจ แต่ไปให้ถึงการวางโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลในอนาคตด้วย
Delta Air Lines สายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาระบบไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูล และไม่สามารถย้ายไปใช้ระบบสำรองได้ ส่งผลให้เที่ยวบินเกือบ 6,000 เที่ยวต้องล่าช้าหรือยกเลิก กระทบผู้โดยสารจำนวนมาก
เหตุการณ์เริ่มต้นในช่วง 2:30 น. ของเมื่อวานนี้ตามเวลาสหรัฐ ปัญหาศูนย์ข้อมูลหลักที่เมืองแอตแลนต้าใช้งานไม่ได้ทำให้เที่ยวบินของ Delta ทั่วโลกไม่สามารถออกบินได้ ตลอดทั้งวัน Delta ต้องยกเลิกเที่ยวบินไปแล้ว 740 เที่ยวบิน และมีเพียง 3,340 ที่สามารถกลับมาให้บริการได้ตามเส้นทางเดิม
Delta ชดเชยลูกค้าโดยให้เปลี่ยนตั๋วได้ฟรี 1 ครั้ง ถ้าไฟลท์ยกเลิกหรือล่าช้ามากก็สามารถขอคืนเงินได้เต็มจำนวน สำหรับลูกค้าที่เจอปัญหาเที่ยวบินล่าช้าเกิน 3 ชั่วโมง จะได้คูปองมูลค่า 200 ดอลลาร์เพิ่มด้วย
Salesforce ประกาศซื้อบริษัท Coolan สตาร์ตอัพที่ทำระบบปรับแต่งประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูล (data center optimization)
ความน่าสนใจของ Coolan อยู่ที่ผู้ก่อตั้ง Amir Michael เป็นอดีตวิศวกรสายฮาร์ดแวร์ของ Google และ Facebook รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ Open Compute ที่เปิดสเปกฮาร์ดแวร์สำหรับศูนย์ข้อมูลของ Facebook ด้วย
ซอฟต์แวร์ของ Coolan จะอ่านค่าต่างๆ จากฮาร์ดแวร์ในศูนย์ข้อมูล และวิเคราะห์สภาพการทำงานได้ละเอียดระดับฮาร์ดแวร์แต่ละชิ้นของเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่อง เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำขึ้นกว่าเดิม
ทีมงาน Coolan จะเข้าไปช่วย Salesforce ปรับปรุงศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ส่วนตัวของ Michael ก็จะยังมีบทบาทในโครงการ Open Compute ต่อไปด้วย
เมื่อคืนที่ผ่านมาตามเวลาในบ้านเรา เฟซบุ๊กได้เปิดศูนย์ข้อมูลในรัฐออริกอนให้ผู้สื่อข่าวได้เยี่ยมชมเป็นครั้งแรก ซึ่งนอกจากจะเต็มไปด้วยเซิร์ฟเวอร์แล้ว ศูนย์ข้อมูลแห่งนี้ยังเป็นแล็บ สำหรับทดสอบสมรรถภาพและการทำงานของแอพเฟซบุ๊กบนสมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆ กว่า 2,000 เครื่องอีกด้วย เพื่อผู้ใช้ทั่วโลก ไม่ว่าจะใช้สมาร์ทโฟนเก่าแค่ไหน ยังคงมีประสบการณ์การใช้งานแอพที่ดีอยู่ตลอด
กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ออกรายงานการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลโดยรวม พบว่าการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และตามแนวดน้มแล้วมีความเป็นไปได้ว่าการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลโดยรวมอาจจะลดลงจากการบริหารจัดการอย่างเป็นมืออาชีพ และการใช้คลาวด์ขนาดใหญ่
รายงานรวบรวมข้อมูลจากปี 2000 ถึง 2014 และพบว่าหลังจากช่วงปี 2007 เป็นต้นมา การใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลเพิ่มขึ้นช้าลงเรื่อยๆ และมีสามแนวทางที่อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูลจนกระทั่งการใช้พลังงานลดลง ได้แก่
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่า Dropbox ย้ายระบบจาก AWS มาใช้ศูนย์ข้อมูลของตนเอง ล่าสุด Dropbox เปิดเผยว่า Hewlett Packard Enterprise หรือ HPE คือพาร์ทเนอร์ที่ให้ความร่วมมือในการออกแบบและพัฒนาฮาร์ดแวร์เพื่อการนี้
Drew Houston ซีอีโอ Dropbox ระบุว่าการได้ร่วมมือกับ HPE นี้ เป็นประโยชน์ต่อ Dropbox ในการเข้าสู่ลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ เพราะมี HPE ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบการดูแลข้อมูล ซึ่งทาง HPE เองก็เป็นลูกค้าแบบองค์กรของ Dropbox ด้วย
Houston ยังเผยว่าในการออกแบบฮาร์ดแวร์สำหรับใช้งานนั้น ทาง HPE ได้ช่วยปรับเซิร์ฟเวอร์ให้สามารถบรรจุดิสก์ต่อเครื่องเพิ่มมากขึ้น เพราะ Dropbox ต้องการประหยัดต้นทุนให้มากที่สุด
Google ประกาศเปิดตัวโครงการ Data Center Mural Project ให้ศิลปินที่ได้รับเชิญจากทางบริษัท มาสร้างสรรค์งานศิลปะให้กับอาคารศูนย์ข้อมูล โดยจะอยู่ภายใต้โจทย์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและการใช้ผลิตภัณฑ์ของ Google เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะนี้
ปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในโครงการนี้ 4 แห่ง คือที่ Mayes County มลรัฐโอกลาโฮมา, St. Ghislain ที่ประเทศเบลเยียม, Dublin ประเทศไอร์แลนด์ และ Council Bluffs มลรัฐไอโอวา โดยวาดเสร็จไปแล้วสองแห่งคือที่ Mayes County ที่ออกแบบโดย Jenny Odell และ St. Ghislain ที่ออกแบบโดย Oli-B
Google ระบุว่าตั้งใจจะทำให้ครบศูนย์ข้อมูลทั้งหมด 11 แห่งทั่วโลก
Schneider Electric บริษัทผลิตอุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า จัดงานแสดงขั้นตอนการวางแผนทำ data center ตลอดจนการติดตั้งและนำไปใช้ รวมถึงการแก้ไขปัญหาด้วยระบบมอนิเตอร์อัจฉริยะ
ชื่อไทยฟังดูเหมือนซอสปรุงรส แต่เป็นเรื่องจริงจัง Western Digital เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สำหรับกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ ใช้ฉลากสีทองครับ มาในมิติ 3.5 นิ้ว ต่อกับระบบด้วยพอร์ต SATA (6Gb/s) กับแคช 128MB จานหมุน 7,200 รอบต่อนาที ประกัน 5 ปี และมีค่า MTBF ที่ 2.5 ล้านชั่วโมง มีความจุลูกละ 4, 6 และ 8TB ตามลำดับ
The Register คาดการณ์ว่าไดรฟ์รุ่น 4TB จะใส่จาน 1TB 4 จานภายใน, 6TB มาแบบ 1.5TB 4 จาน, และรุ่น 8TB ใช้ดีไซน์เดียวกับไดรฟ์ HGST 8TB ที่ใส่ก๊าซฮีเลียม และมีจาน 1.142TB ซ้อนกัน 7 จานครับ ด้านราคา Anandtech ระบุว่าอยู่ที่ 309, 499 และ 629 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
ที่มา - WD, The Register, Anandtech
Mesosphere สตาร์ตอัพด้านระบบปฏิบัติการ "คลัสเตอร์" สำหรับศูนย์ข้อมูล มีซอฟต์แวร์ชื่อ DC/OS ที่พัฒนาต่อมาจากโครงการโอเพนซอร์ส Apache Mesos ที่ถูกนำไปใช้งานในบริษัทใหญ่ๆ หลายราย (DC/OS ย่อมาจาก Datacenter Operating System)
วันนี้ Mesosphere ออกมาประกาศโอเพนซอร์สตัว DC/OS เรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลว่าอยากกระจายเทคโนโลยีนี้ออกไปในวงกว้างที่สุด โครงการ DC/OS ประกอบด้วยโครงการย่อยๆ หลายตัว เช่น ตัวจัดคิวงาน Apache Mesos, ตัวจัดการคลัสเตอร์ Marathon, ตัวติดตั้ง, อินเทอร์เฟซจัดการระบบ, ตัวจัดการแพ็กเกจซอฟต์แวร์ที่มารันบน DC/OS ฯลฯ ซึ่งโค้ดทั้งหมดจะถูกเปิดภายใต้สัญญาอนุญาต Apache 2.0
Joe Kava ผู้บริหารด้านศูนย์ข้อมูลของกูเกิล ไปพูดที่งานสัมมนา Google Cloud Platform ของบริษัท และเปิดเผยว่ากูเกิลออกแบบระบบทำความเย็นของศูนย์ข้อมูลใหม่ทุก 12-18 เดือน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้นตลอดเวลา
การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องของกูเกิล ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการทำความเย็นด้วยน้ำและอากาศมากมาย เช่น การใช้น้ำทะเล, น้ำคลองจากโรงงาน, การรีไซเคิลน้ำที่ไม่สะอาด, การเก็บสะสมน้ำฝนมาใช้ระบายความร้อน, รวมถึงศูนย์ข้อมูลที่ไม่ต้องใช้น้ำเลย ใช้อากาศเพียงอย่างเดียว
Mesosphere สตาร์ตอัพด้านระบบปฏิบัติการ "คลัสเตอร์" สำหรับศูนย์ข้อมูล ระดมทุนรอบใหม่ (Series C) อีก 73.5 ล้านดอลลาร์ ความน่าสนใจอยู่ที่มีบริษัทใหญ่ทั้ง Microsoft และ HPE มาร่วมลงทุนด้วย
ผลิตภัณฑ์หลักของ Mesosphere คือ Datacenter Operating System (DCOS) ที่พัฒนาต่อมาจาก Apache Mesos อีกทีหนึ่ง แนวคิดของมันคือมองเซิร์ฟเวอร์ทุกตัว (ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์จริง หรือ VM ในคลาวด์ใดๆ) เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว การนำแอพพลิเคชันใดๆ ไปรันจึงไม่ต้องคำนึงว่าจะรันบนเครื่องไหน เพราะ DCOS สามารถจัดการทรัพยากรให้เราอัตโนมัติ การใช้ทรัพยากรจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่มี VM ตัวไหนที่อยู่ว่างจนเกินไปและเปลืองพลังประมวลผลเสียเปล่า
NTT Communications บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของญี่ปุ่น (อยู่ในเครือ NTT เช่นเดียวกับ NTT docomo) เปิดศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ในประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า Nexcenter (Bangkok 2 Data Center)
NTT Communications เป็นผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ของโลก มีศูนย์ข้อมูลในสังกัดกว่า 140 แห่งทั่วโลก พื้นที่ใช้สอยรวมกัน 315,000 ตารางเมตร (ตัวเลขนับถึงสิ้นปี 2015) มีลูกค้าเป็นบริษัทใหญ่มากมาย ที่ผ่านมา NTT มีศูนย์ข้อมูลในไทยแล้วหนึ่งแห่งที่กรุงเทพ (Bangkok 1)
ยิ่งความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเท่าไร สิ่งที่โตตามมาคือบรรดาศูนย์ข้อมูลสำหรับให้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตก็ยิ่งโตตามขึ้นไปทุกวัน และแม้ว่าค่าซ่อมบำรุงจะไม่สูงมาก แต่ค่าไฟสำหรับเปิดแอร์ฯ ดูแลเหล่าคอมพิวเตอร์พันๆ กลับกลายเป็นต้นทุนราคาแพงไปแทน ล่าสุดโครงการวิจัยของไมโครซอฟท์หาทางแก้ปัญหาค่าไฟด้วยการจับศูนย์ข้อมูลลงไปทำงานใต้มหาสมุทรเสียเลย
บริษัท Switch เจ้าของศูนย์ข้อมูลแบรนด์ SUPERNAP ในสหรัฐอเมริกา ประกาศสร้างศูนย์ข้อมูล SUPERNAP Thailand ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชใน จ.ชลบุรี คิดเป็นมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์หรือ 1.1 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลสำรอง (mirror) คู่กับศูนย์ข้อมูลหลักในสหรัฐ
เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ คอร์ปอเรชั่น (เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์) ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านไอซีทีโซลูชั่นส์และการสื่อสารระหว่างประเทศในเครือของ เอ็นทีที (NYSE: NTT) ประกาศเปิดตัวศูนย์ข้อมูล Thailand Bangkok 2 Data Center ซึ่งประกอบไปด้วยห้องเซิร์ฟเวอร์ขนาด 3,800 ตารางเมตร เทียบเท่าตู้แร็ค จำนวน 1,400 ตู้ ทำให้ศูนย์ข้อมูล(Data Center) แห่งนี้ขึ้นแท่นเป็นศูนย์ข้อมูลระดับแนวหน้าในประเทศไทย
ประเด็นการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลทั่วโลกเป็นประเด็นที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายพยายามลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วยการหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนเช่นพลังงาแสงอาทิตย์, พลังงานลม, หรือพลังงานความร้อนใต้พิภพ แต่บริษัท Rosenergoatom ที่เป็นรัฐวิสาหกิจพลังงานของรัสเซียกำลังสร้างศูนย์ข้อมูลที่อาศัยพลังงานหลักจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แทน
ศูนย์ข้อมูลใหม่นี้จะตั้งอยู่ติดกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ Udomlya ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าถึง 4,000 เมกะวัตต์ ตัวศูนย์ข้อมูลมีพื้นที่ถึง 10,000 ตู้ rack คาดว่าจะกินพลังงาน 80 เมกะวัตต์ เฉพาะมูลค่าการก่อสร้าง 975 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะเปิดบริการส่วนแรกได้ในเดือนมีนาคม 2017 และส่วนที่สองในปี 2018
ศูนย์ข้อมูล PAR7 ของบริษัท Interxion ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถูกชาวบ้านที่อยู่อาศัยในย่าน La Courneuve ฟ้องศาลขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการ ด้วยเหตุผลว่าเสียงจากเครื่องปั่นไฟดีเซลของศูนย์ข้อมูลเป็นมลภาวะทางเสียง และคลังน้ำมัน 500 ล้านลิตรที่เก็บไว้ปั่นไฟอาจเป็นอันตรายได้
เดือนที่แล้ว ศาลฝรั่งเศสตัดสินให้เพิกถอนใบอนุญาตของศูนย์ PAR7 แต่ล่าสุดเหมือนว่าศาลจะกลับคำตัดสิน และเปิดให้ PAR7 ขอใบอนุญาตได้ใหม่อีกครั้ง หลังพบว่าปัญหาเรื่องเสียงรบกวนจาก PAR7 อยู่ในขอบเขตที่กฎหมายระบุไว้ และศูนย์ข้อมูลก็ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องก่อนเริ่มสร้างแล้ว
วันนี้ (9 ตุลาคม 2558) เกิดความผิดปกติในเครือข่ายของ CS Loxinfo ในส่วนของ IDC2 ที่อาคารไซเบอร์ เวิร์ลด รัชดาภิเษก ตั้งแต่เวลา 21:13 ถึงเวลา 21:58 ทำให้เว็บหลายรายไม่สามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติ เช่น SoccerSuck, DroidSans แต่ยังคงสามารถเข้าใช้งานได้จากต่างประเทศ (International)
ทั้งนี้ CS Loxinfo เคยเกิดเหตุเมื่อไม่นานมานี้เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2558 จากเหตุไฟฟ้าขัดข้อง
บริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ประกาศตั้งศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (IDC) แห่งที่สาม สถานที่ยังไม่ระบุชัด แต่จะอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 100 กิโลเมตร มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 3,000 ตารางเมตร ถือเป็นศูนย์ข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท เริ่มสร้างปี 2559 (2016) และเปิดบริการช่วงต้นปี 2560 (2017)
ปัจจุบัน INET มีศูนย์ข้อมูลสองแห่งที่ตึก Thai Summit ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ และตึก Bangkok Thai Tower ซ.รางน้ำ มีพื้นที่ใช้สอยรวมกัน 2,700 ตารางเมตร และเป็นบ้านของเว็บไทยชื่อดังหลายราย
เหตุผลที่ INET สร้างศูนย์ข้อมูลแห่งที่สามคือรองรับการขยายตัวของธุรกิจไอทีในไทย โดยเฉพาะบริการคลาวด์ที่เติบโตรวดเร็วมาก และมีส่วนแบ่งรายได้ 40% ของบริษัทแล้ว (INET ใช้ระบบของ VMware)
สำหรับคนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมาตลอด คงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อของซีเอส ล็อกซอินโฟ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่รายแรกๆ ของประเทศไทยที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการนี้มานาน และขยับตัวตามเทคโนโลยีสมัยใหม่มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ที่เคยให้บริการอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ความเร็วเพียง 56k ได้พัฒนามาถึงความเร็วระดับกิกะบิต พร้อมทั้งขยายบริการไปให้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้อย่างต่อเนื่องมาตลอด 20 ปี
ประเด็นสำคัญของแวดวงคลาวด์คือการให้บริการได้ต่อเนื่อง (availability) ซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถทำได้เพราะเหตุสุดวิสัยบางอย่าง ล่าสุด Google Compute Engine ในยุโรปต้องล่มไปเพราะเหตุ "ฟ้าผ่า"
เหตุเกิดที่ศูนย์ข้อมูลของกูเกิลในเมือง St. Ghislain ที่ประเทศเบลเยียม (ให้บริการโซน europe-west1-b) เกิดเหตุฟ้าผ่าที่โครงข่ายไฟฟ้าท้องถิ่น 4 ครั้งติดต่อกัน ทำให้ระบบไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูลใช้งานไม่ได้ชั่วขณะ ระบบสตอเรจของกูเกิลมีแบตเตอรี่สำรองในตัว สามารถทำงานต่อได้ตามปกติ แต่มีสตอเรจส่วนน้อยที่กลับมีปัญหาแบตเตอรี่ไม่ทำงานจนล่มไป ซึ่งวิศวกรของกูเกิลสามารถแก้ไขให้กลับมาทำงานได้ในภายหลัง
กสท โทรคมนาคม ผู้ให้บริการ ISP และศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ของประเทศไทยเปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ล่าสุดในชื่อ CAT data center Nonthaburi II ที่พร้อมรองรับการใช้งานจากทั้งภาคเอกชน และภาครัฐไปพร้อมกัน
CAT data center Nonthaburi II เป็นศูนย์ข้อมูลแห่งที่สองของจ. นนทบุรี ลงทุนสร้างเป็นเงินกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายแรก และรายเดียวในอาเซียนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล TSI ระดับ 3 ของสถาบันเพื่อความปลอดภัย TÜViT