วันนี้ตั้งแต่ช่วงก่อนสี่โมงที่ผ่านมาบริการ npmjs มีปัญหาทั้งเว็บไซต์และบริการดาวน์โหลดแพ็กเกจ ส่งผลให้สคริปต์หลายตัวไม่ทำงาน
GitHub เพิ่งเข้าซื้อ npm เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้เจ้าของ npm กลายเป็นไมโครซอฟท์
ที่มา - npm status
ถึงแม้ Surface Neo เลื่อนวางขายไม่มีกำหนด แต่ข่าวในแวดวงไมโครซอฟท์ยังยืนยันว่า Surface Duo เดินหน้าตามกำหนดเดิมในช่วงครึ่งหลังของปี 2020
ล่าสุดมีข้อมูลเพิ่มเติมว่า ไมโครซอฟท์เริ่มตั้งทีมพัฒนารอม Android ของตัวเองแล้ว จากที่ช่วงก่อนหน้านี้ใช้วิธีเอาท์ซอร์สงาน โดยใช้บริการของบริษัท Movial ที่มีสำนักงานหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงในซีแอทเทิล ใกล้กับสำนักงานใหญ่ของไมโครซอฟท์ด้วย
ไมโครซอฟท์ยืนยันข่าวนี้โดยระบุว่าจ้างพนักงานบางส่วนของ Movial มาเป็นพนักงานไมโครซอฟท์ แต่ไม่ได้ซื้อกิจการบริษัท Movial แต่อย่างใด
ไมโครซอฟท์ส่งอีเมลแจ้งเข้ากลุ่มนักพัฒนา PHP ว่าจะหยุดซัพพอร์ต PHP บนแพลตฟอร์มวินโดวส์ มีผลนับตั้งแต่ PHP 8.0 (ปัจจุบันเป็น Alpha 1) เป็นต้นไป
ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์เป็นผู้ดูแลโครงการ PHP For Windows บนเว็บไซต์ PHP.net และทำหน้าที่พัฒนา-ออกไบนารีของ PHP เวอร์ชันวินโดวส์ (php.exe) ตามอัพเดตทุกเวอร์ชันย่อย
ไมโครซอฟท์ไม่ได้ระบุเหตุผลที่หยุดออกไบนารีของ PHP 8.0 บนวินโดวส์ แต่สัญญาว่าจะยังออกไบนารีของ PHP 7.2, 7.3, 7.4 ไปจนหมดระยะเวลาซัพพอร์ตของ PHP.net
เมื่อเดือนพฤษภาคม VS Code ออกเวอร์ชัน Windows 10 ARM เพื่อใช้บนอุปกรณ์แบบ Surface Pro X โดยยังเปิดทดสอบเฉพาะกลุ่ม Insiders ก่อน
ล่าสุดใน VS Code เวอร์ชัน 1.47 รอบอัพเดตเดือนมิถุนายน 2020 รองรับ Windows ARM อย่างเป็นทางการ เข้าสถานะเสถียรเรียบร้อยแล้ว สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ https://aka.ms/win32-arm64-user
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ Canonical พัฒนาให้ Flutter รองรับการสร้างแอพบนลินุกซ์
หลังจากตีตลาดแอพมือถือมาได้พอสมควร ก้าวต่อไปของ Flutter คือการเขียนเว็บและแอพเดสก์ท็อป โดยเริ่มจาก macOS เป็นแพลตฟอร์มเดสก์ท็อปตัวแรก
ทีมงาน Flutter อธิบายกระบวนการซัพพอร์ตแอพเดสก์ท็อป ว่าเริ่มจากปรับเอนจินให้รองรับเมาส์และคีย์บอร์ด รวมถึงการขยายขนาดหน้าต่าง (ซึ่งบนมือถือไม่จำเป็นต้องทำ) จากนั้นจึงเก็บรายละเอียด ปรับคอมโพเนนต์บางตัวให้ UI เหมาะกับเดสก์ท็อป และเชื่อมกับฟีเจอร์หรือสไตล์เฉพาะของ OS
Unity ประกาศแจกคอร์สสอนทำเกมแบบพรีเมียม Unity Learn Premium ที่เดิมทีต้องเสียเงินค่าเรียนเดือนละ 15 ดอลลาร์ มาเป็นคอร์สแบบฟรีทั้งหมด
Unity บอกว่าทดลองเปิดคอร์ส Learn Premium เป็นคอร์สฟรีชั่วคราว 3 เดือนในช่วง COVID-19 และได้รับผลตอบรับล้นหลาม มีคนมาเข้าเรียนมากถึง 320,000 คน จึงตัดสินใจเปลี่ยนเป็นคอร์สฟรีแบบถาวร
คอร์ส Unity Learn Premium มีบทเรียนออนไลน์ความยาวรวมกว่า 350 ชั่วโมง ครอบคลุมเนื้อหาด้านการพัฒนาเกมทุกประเภท และหัวข้อที่เกี่ยวข้องอย่าง AR, VR, AI รายละเอียดคอร์สดูได้จาก Unity
เมื่อประมาณต้นเดือนมิถุนายน ไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตเวอร์ชัน 1.46 ให้ Visual Studio Code โดยได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่และการปรับปรุงในส่วนของ UI หลายอย่าง
การปรับปรุงที่สำคัญอย่างแรก คือการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการปรับแต่งเลย์เอาต์ ด้วยการเปิดให้ผู้ใช้สามารถย้ายตำแหน่งของ view ไปมา ระหว่าง side bar และ panel ได้เอง เพียงแค่คลิกที่ไอคอนหรือชื่อของ view แล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ (หรือผ่านคำสั่ง View: Move View, View: Move Focused View หากใช้คีย์บอร์ด)
AWS เปิดตัว Amazon Honeycode บริการสำหรับพัฒนาแอปพลิเคชันง่ายๆ ที่มักใช้บ่อยในฝั่งธุรกิจ ผ่านอินเทอร์เฟซแบบลากแล้ววาง โดยไม่ต้องเขียนโค้ดแม้แต่บรรทัดเดียว ("ง่ายเหมือนกินน้ำผึ้ง" ประโยคที่ AWS ไม่ได้กล่าวไว้)
Amazon Honeycode จับตลาดการพัฒนาโปรแกรมแบบง่ายๆ (No-Code หรือ Low-code) ที่องค์กรมักต้องสร้างแอปพลิเคชันตอบโจทย์การใช้งานภายใน ดึงข้อมูลจากไฟล์สเปรดชีต ทำฟอร์มผ่านหน้าเว็บ ให้หัวหน้าอนุมัติเอกสาร ฯลฯ (หรือเรียกง่ายๆ คืองานที่เคยเขียนด้วย VBA ในอดีตนั่นเอง)
แอปเปิลออก Xcode 12 ตามรอบการอัพเดตปีละครั้งในงาน WWDC ของใหม่ที่สำคัญคือ ปรับหน้าตาและ UI เป็นสไตล์แบบใหม่ตามอย่าง macOS Big Sur เปลี่ยนไอคอนในทูลบาร์, ปรับหน้าตาและพฤติกรรมของแท็บ (เปิดแท็บใหม่ด้วยการดับเบิลคลิก), ปรับขนาดฟอนต์ในแถบ Navigator ด้านข้าง (อิงตามค่าของระบบปฏิบัติการ ซึ่งใช้กับโปรแกรมอื่นๆ อย่าง Finder ด้วย), ปรับหน้าตาของ code completion และหน้าตาของ Organizers ใหม่
Bootstrap เฟรมเวิร์คสำหรับเขียนเว็บชื่อดัง ประกาศออกเวอร์ชัน 5.0 Alpha 1 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือเลิกใช้เฟรมเวิร์ค jQuery ที่ใช้มายาวนาน เปลี่ยนมาใช้โค้ด JavaScript ปกติแทน ด้วยเหตุผลว่าฟีเจอร์ของ JavaScript และเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ๆ สามารถทดแทน jQuery ได้แล้ว
ผลของการเลิกใช้ JQuery ช่วยให้ขนาดไฟล์เว็บที่สร้างด้วย Bootstrap เล็กลง และเว็บเพจโหลดได้เร็วขึ้น ทีมงาน Bootstrap บอกว่ายังต้องปรับปรุงแก้ไขการแสดงผลอีกหลายจุดหลังถอด jQuery ออกไป ซึ่งก็จะค่อยๆ แก้ไขในรุ่นทดสอบถัดๆ ไป
Bootstrap 5 ยังเลิกซัพพอร์ต Internet Explorer แล้ว ทำให้เรียกใช้ฟีเจอร์เว็บใหม่ๆ ได้ เช่น CSS custom properties
นับเป็นข่าวดีสำหรับนักพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นที่ใช้เฟรมเวิร์คตระกูล ASP.NET เมื่อไมโครซอฟท์ประกาศออก Web Live Preview ส่วนขยายใหม่สำหรับ Visual Studio 2019 เพื่อเพิ่มความสะดวกใหักับการเขียนโค้ดในส่วนที่เป็น UI ของเว็บแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาด้วย ASP.NET
การติดตั้งส่วนขยายดังกล่าวจะช่วยเพิ่มฟังก์ชั่น Edit in Browser ให้ VS 2019 ช่วยซิงก์การเปลี่ยนแปลงโค้ด UI ของเว็บกับการแสดงผลหน้าเว็บบนเบราว์เซอร์ ทำให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ด ASPX (ASP.NET Web Forms) หรือ .cshtml, .vbhtml (ASP.NET MVC Razor) แล้วดูผลลัพธ์จากเบราว์เซอร์ได้ทันที
ความนิยมในโครงการ Flutter ทำให้มันขยายจากการเขียน UI ของแอพมือถือไปสู่การเขียนเว็บ และแอพเดสก์ท็อป โดยเริ่มจาก macOS เป็นแพลตฟอร์มแรก ส่วน Windows/Linux จะตามมาในลำดับถัดไป
ล่าสุด Flutter ออกมาอธิบายความคืบหน้าของเวอร์ชัน Windows โดยบอกว่าปัจจุบัน Windows มีโมเดลการพัฒนาแอพ 2 แบบ ได้แก่ Win32 ที่มีจุดเด่นเรื่องการใช้ได้บน Windows เวอร์ชันเก่าด้วย และ UWP ที่รันได้เฉพาะบน Windows 10 ขึ้นไป แต่ก็ขยายไปยังแพลตฟอร์มอื่นอย่าง Xbox หรือ Windows 10X ได้ง่าย
GitHub ปล่อย Super Linter อิมเมจคอนเทนเนอร์สำหรับตรวจสอบโค้ด สำหรับใช้เรียกจาก GitHub Action เพื่อตรวจสอบคุณภาพโค้ดก่อนที่จะ merge โค้ดเข้า mastermain
ตัวคอนเทนเนอร์นี้เป็นโครงการที่ GitHub ใช้งานเป็นการภายในแต่เดิม โค้ดหลักเป็น shell script สำหรับรัน linter ในภาษาต่างๆ เช่น Ruby, Python3, JavaScript, TypeScript, Go ไปจนถึงไฟล์คอนฟิกหรือสคริปต์ เช่น Dockerfile, Terraform, YAML
ค่าเริ่มต้นของ Super Linter จะใช้กฎตรวจสอบเริ่มต้นของ linter แต่ละภาษา แต่หากต้องการใช้กฎเฉพาะของทีมก็ตั้งเพิ่มเติมได้
ที่มา - GitHub
ในคลิปแนะนำฟีเจอร์ใหม่ของ Google Play ปี 2020 (ที่ออกมาแทนประกาศในงาน Google I/O ซึ่งไม่ได้จัด) กูเกิลระบุว่าจะเริ่มบังคับใช้ Android App Bundle กับแอพใหม่ที่ส่งขึ้น Play Store ในปีหน้า 2021 แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาที่ชัดเจน
Android App Bundle คือเทคนิคใหม่ช่วยลดขนาดไฟล์ APK ลงได้สูงสุดถึง 50% เพราะเป็นการแบ่งดาวน์โหลดเฉพาะส่วนที่จำเป็น เปิดตัวครั้งแรกในงาน Google I/O 2018 และกูเกิลระบุว่าตอนนี้มีแอพกว่า 5 แสนตัวใช้งาน และแอพสัดส่วน 35% ที่ผู้ใช้ติดตั้งจริงๆ รองรับ App Bundle แล้ว
คนที่เล่นเกมบน Android คงคุ้นเคยกับการโหลดแอพเกมที่ขนาดไม่ใหญ่นัก (ไม่เกิน 100MB) มาติดตั้งก่อน แต่ก่อนเล่นต้องดาวน์โหลดไฟล์เนื้อหาของเกม (ที่เรียกว่า APK Expansion Files หรือ OBB) ขนาดใหญ่เป็นหลัก GB ที่รอโหลดกันนานกว่าจะได้เริ่มเกมจริงๆ เป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีนัก
ปัญหานี้กำลังจะถูกแก้ไขด้วยบริการใหม่ของกูเกิลที่เรียกว่า Google Play Asset Delivery
Google Play Asset Delivery เป็นการต่อยอดจาก Android App Bundle ที่เริ่มใช้ในปี 2018 ช่วยให้เราไม่จำเป็นต้องโหลดไฟล์ APK ตัวเต็มอีกต่อไป ดาวน์โหลดเฉพาะโมดูลที่จำเป็นเท่านั้น
ในงานเปิดตัว Android 11 Beta กูเกิลนำเสนอ Modern Android Developement แนวทางการพัฒนาแอพยุคใหม่บน Android ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการที่กูเกิลแนะนำ
ทีมงานซอฟต์แวร์ของ SpaceX ตั้งกระทู้ตอบคำถามบน Reddit ให้คนทั่วไปตั้งคำถามใดๆ ก็ได้ ทำให้ทีมงานมีโอกาสเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม โดยประเด็นที่สำคัญคือหน้าจอสัมผัสของยาน Dragon นั้นรันอยู่บน Chromium โดยมีไลบรารีจาวาสคริปต์แบบ reactive ที่พัฒนาขึ้นเองเป็นการภายใน โดยหน้าจอนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับหน้าจอรถของ Tesla
ทีมงานยืนยันว่าหน้าจอบนยานไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับเกมจำลองการเชื่อมต่อแคปซูลเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติ แม้จะพัฒนาโดยทีมงานเดียวกันแต่ก็เป็นโปรเจคทำเอาสนุกของทีมงานบางคนและสุดท้ายบริษัทตัดสินใจพัฒนาต่อเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาเล่น
Duolingo แอพสอนภาษาต่างประเทศชื่อดัง เล่าประสบการณ์การย้ายแอพเวอร์ชัน Android จากที่เขียนด้วยภาษา Java มาเป็น Kotlin เสร็จสมบูรณ์แล้ว 100%
Duolingo ระบุว่าใช้เวลาย้ายจาก Java เป็น Kotlin ทั้งหมด 2 ปี (เริ่มทำช่วงต้นปี 2018) เหตุผลที่ย้ายเป็นเพราะ Kotlin เขียนง่ายกว่า ดูแลโค้ดง่ายกว่า ตัดข้อกังวลเรื่องปัญหาแครช (Duolingo บอกว่าข้อความ commit ยอดฮิตช่วงก่อนหน้านี้คือ Fix NullPointerException crash ซึ่งตอนนี้ไม่มีอีกแล้ว)
กูเกิลเปิดตัว Android Studio 4.0 ที่มีของใหม่หลายอย่าง ฟีเจอร์สำคัญมีดังนี้
Blazor เป็นเฟรมเวิร์คตัวหนึ่งในตระกูล ASP.NET เอาไว้เขียนเว็บแอพแบบหน้าเดียว (single-page) ด้วย HTML ผสมกับ C# แทนที่จะเป็น JavaScript
จุดเด่นของ Blazor คือใช้ภาษา C# ที่นักพัฒนาสาย .NET คุ้นเคย, ใช้โค้ด C# ทั้งฝั่งไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์, ใช้ไลบรารีของ .NET ได้, มีระบบ UI component ให้พร้อมสรรพ
ก่อนหน้านี้ การทำงานของ Blazor คือต้องรันเซิร์ฟเวอร์ Blazor ที่เป็น .NET ด้วย แต่ล่าสุดในงาน Build 2020 ไมโครซอฟท์เพิ่มวิธีรัน Blazor แบบที่สองคือ Blazor WebAssembly แปลงโค้ดของรันไทม์ .NET เป็น WebAssembly ที่รันในเว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ๆ ได้ทั้งตัว
ไมโครซอฟท์โชว์ฟีเจอร์เขียนโค้ดร่วมกัน Visual Studio Live Share มาตั้งแต่ปี 2017 และเริ่มใช้จริงใน Visual Studio 2019
ฟีเจอร์เขียนโค้ดร่วมกันทำให้ทั้งสองฝั่งเห็นหน้าจอเดียวกัน และเห็นเคอร์เซอร์ของอีกฝ่ายว่าอยู่ตรงไหน กำลังพิมพ์อะไร แต่ยังขาดการสื่อสารระหว่างกัน ทำให้การใช้งานจริงจำเป็นต้องสื่อสารทางอื่น (เช่น โทร แชท คอลล์) พร้อมกันไปด้วย
ล่าสุดในงาน Build 2020 ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์แชทและคอลล์เสียงมาให้ Live Share ในตัว โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่นเข้าช่วย (ราวกับเป็น Discord) ฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ใช้งานในเร็วๆ นี้
ไมโครซอฟท์ออกส่วนขยายสำหรับ Visual Studio และ Visual Studio Code เพื่อสร้างแอพให้กับ Microsoft Teams ได้โดยตรง ตอบโจทย์ลูกค้าองค์กรที่นิยมใช้งาน Teams มากขึ้นเรื่อยๆ และพยายามผนวกแอพในองค์กรให้ใช้ได้จาก Teams โดยไม่ต้องสลับจอ
นักพัฒนาสามารถใช้ส่วนขยายตัวนี้เขียนแอพเพื่อใช้งานในองค์กร และส่งขึ้นแคตาล็อกขององค์กรได้โดยตรง แถมยังเชื่อมกับ Power Apps Studio เพื่อให้คนที่ไม่มีทักษะการเขียนโค้ด สามารถสร้างแอพได้ง่ายๆ เช่นกัน
แอพที่ได้จากส่วนขยายนี้ ยังรองรับ single sign-on ขององค์กรในตัว (ลดอุปสรรคเรื่องการล็อกอิน) และต่อกับ Teams Activity Feed API เพื่อส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้ Teams ได้ด้วย
คนที่เคยเขียน Xamarin คงทราบดีว่าเป็นแพลตฟอร์มพัฒนาแอพที่ใช้ภาษาตระกูล .NET (C#/XAML) แต่เขียนเป็นแอพมือถือ Android/iOS โดยมีจุดเด่นคือใช้เครื่องมือที่นักพัฒนาสาย .NET คุ้นเคย และแชร์โค้ดร่วมกันระหว่างแอพ Android/iOS ได้สะดวก (Xamarin ทำหน้าที่แปลงให้)
หลังไมโครซอฟท์ซื้อ Xamarin ในปี 2016 ก็ประกาศแผนการรวม Xamarin เข้ากับแพลตฟอร์ม .NET 5 โดยมีตั้งแต่การรวมระดับของรันไทม์ (CoreCLR และ Mono) และระดับของ GUI
ในงาน Build 2019 เมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์เปิดตัว .NET 5 ที่เป็นการรวม .NET Core เข้ากับ Xamarin/Mono โดย .NET 5 ออกรุ่น Preview 1 เมื่อเดือนมีนาคม 2020 ที่ผ่านมา
เวลาผ่านมาจนถึง Build 2020 ไมโครซอฟท์ออก .NET 5 Preview 4 พร้อมข่าวสำคัญคือปรับแผนใหม่ ยังไม่รวม Xamarin/Mono เข้ามาเต็มรูปแบบ (เพราะทำไม่ทัน) แต่จะออกเวอร์ชันแยกในชื่อว่า .NET MAUI ออกเป็นพรีวิวในเดือนพฤศจิกายน 2020 และตัวจริงค่อยไปรวมกับ .NET 6 LTS ที่จะออกในเดือนพฤศจิกายน 2021 แทน
แต่ถึงแม้ .NET 5 ตัดส่วนของ Xamarin/Mono ออกไป ก็ยังมีของใหม่อีกหลายอย่าง ได้แก่
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Project Reunion ความพยายามในการรวม API ของแอพ Win32 แบบดั้งเดิม และแอพ UWP แบบใหม่ที่เริ่มในยุค Windows 8 เข้าด้วยกันเป็น API ชุดเดียว
Project Reunion ประกอบด้วยโครงการย่อยๆ หลายตัว มีตั้งแต่แยก API ของแอพออกจากตัว OS ให้ขาดจากกัน (เพื่อให้ Reunion เป็นแพลตฟอร์มพัฒนาแอพที่ไม่ขึ้นกับเวอร์ชันของ Windows ในอนาคต), ถอด API เก่าบางตัวออก, เพิ่ม API ตัวใหม่ที่จำเป็น
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เพื่อให้ Reunion สามารถเรียกใช้ API ใหม่ๆ บน Windows รุ่นเก่าๆ ได้ ไมโครซอฟท์สัญญาว่าจะทำ polyfill หรือการเติมฟังก์ชันของ API ใหม่บนระบบปฏิบัติการเก่าให้ด้วย แต่ยังไม่มีรายละเอียดออกมาว่าจะทำถึงขั้นไหน
โครงการย่อยของ Reunion ที่เปิดตัวมาแล้วคือ