US Department of Justice
เมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) ได้ยื่นฟ้อง Apple และสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ทั้ง 7 ราย อันได้แก่ Hachette, HarperCollins, Macmillan, Penguin, Simon & Schuster และ Georg von Holtzbrinck Publishing Group
เท่าที่อ่านในคำฟ้องมีประเด็นสำคัญๆ ที่สรุปได้มีดังนี้
ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นกับข่าวไมโครซอฟท์ไล่เซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ Android หลายราย แต่หนึ่งรายที่ไม่ยอมเซ็นกับไมโครซอฟท์ก็คือ Barnes & Noble (ซึ่งทำ Nook) และจบลงด้วยไมโครซอฟท์ยื่นฟ้อง Barnes & Noble
ทางทนายของ Barnes & Noble ก็แก้เกมกลับโดยยื่นเรื่องไปยังหน่วยงานด้านต่อต้านการผูกขาด ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และล่าสุดมีสไลด์ของ Barnes & Noble หลุดออกมาสู่สาธารณะ (เอกสารยื่นวันที่ 12 กรกฎาคม 2011)
เอกสารนี้เผยให้เห็นรายละเอียดของ "สิทธิบัตร" ที่ไมโครซอฟท์นำมาเจรจา/ฟ้องกับ Barnes & Noble ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสิทธิบัตรชุดเดียวที่ใช้เซ็นสัญญากับผู้ผลิต Android รายอื่นๆ (ซึ่งไมโครซอฟท์ไม่เคยเปิดเผย) ใครสนใจก็เอาเลขสิทธิบัตรไปค้นต่อกันตามสะดวก
ความฝันของเครือข่าย AT&T ในการควบกิจการกับ T-Mobile USA อาจถึงคราวสะดุด เพราะกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในฐานะผู้ดูแลการผูกขาดธุรกิจ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลเขต District of Columbia สั่งไม่อนุญาตให้ควบกิจการครั้งนี้เกิดขึ้น โดยให้เหตุผลว่าการควบกิจการจะส่งผลเสียต่อการแข่งขันในวงการโทรคมนาคม บริการคุณภาพตกลง
FBI แถลงข่าวจับกุมแฮ็กเกอร์ในสหรัฐจำนวนรวม 16 คน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการของกลุ่ม Anonymous ที่โจมตีเว็บไซต์ PayPal เนื่องจากหยุดให้บริการแก่ Wikileaks (ข่าวเก่า)
นอกจากนี้ FBI ยังออกหมายค้น (search warrant) จำนวน 35 หมาย เพื่อค้นบ้านของผู้ต้องสงสัยทั่วสหรัฐ และสำหรับแฮ็กเกอร์นอกสหรัฐ ตำรวจอังกฤษได้จับกุมผู้ต้องสงสัย 1 ราย ตำรวจเนเธอร์แลนด์อีก 4 รายในวันเดียวกัน
มีรายงานว่าแฮ็กเกอร์ที่อังกฤษเป็นสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่ม LulzSec ซึ่งถือเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งของ Anonymous ที่แตกสาขาออกไปด้วย
หลังจากข่าว Google ทุ่ม 900 ล้านดอลลาร์ซื้อสิทธิบัตร Nortel ขณะนี้ใกล้ถึงเวลาเปิดประมูลเข้ามาทุกที แต่ก็ยังไม่มีคู่แข่งที่ดูจะสมน้ำสมเนื้อกับ Google ออกมาประกาศตัวในสงครามช่วงชิงสิทธิบัตรจำนวนกว่า 6,000 รายการ ที่ Nortel ได้ถือครองไว้ก่อนที่จะล้มละลาย
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (DoJ) แสดงความมั่นใจว่า หาก Google ได้สิทธิบัตรจำนวนดังกล่าวไป ก็จะไม่เกิดคดีความฟ้องร้องเพิ่มขึ้นมากนัก โดยพิจารณาจากท่าทีของ Google ก่อนหน้านี้ในเรื่องของการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แต่ถ้าหากเป็น Apple ที่ได้ไปแทนล่ะ?
ข่าวนี้ต่อจาก กูเกิลซื้อบริษัทซอฟต์แวร์ขายตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ITA Software ซึ่งสร้างประเด็นให้เว็บไซต์จองตั๋วเครื่องบินหลายแห่งที่ใช้ซอฟต์แวร์ของ ITA รวมตัวกันประท้วง เพราะกลัวโดนกูเกิลกีดกันไม่ให้ใช้ซอฟต์แวร์ ITA อีกต่อไป
สถานการณ์ล่าสุดคือกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ทำข้อตกลงกับกูเกิล โดยอนุมัติให้กูเกิลซื้อกิจการ ITA ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าลูกค้าเดิมของ ITA จะต้องได้ใช้ซอฟต์แวร์ต่อไป ซึ่งกูเกิลก็ได้ตอบสนองเงื่อนไขนี้โดยการันตีว่าลูกค้าเดิมของ ITA จะได้ใช้ซอฟต์แวร์ไปถึงปี 2016
ในโอกาสเดียวกัน กูเกิลก็ประกาศชัดเจนว่าจะรวมทีมของ ITA เข้ามาเพื่อสร้าง "exciting new flight search tools" ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สงคราม codec ระหว่างค่าย MPEG LA และ WebM ยังต่อสู้กันอย่างดุเดือด ความเคลื่อนไหวล่าสุดของฝั่ง MPEG LA คือสอบถามไปยังคู่ค้าของตนว่ามีสิทธิบัตรทางวิดีโอชิ้นใดบ้าง เพื่อสร้างชุดของสิทธิบัตร (patent pool) ไปไล่ฟ้องคู่แข่ง (ไม่ได้ระบุนามแต่เข้าใจตรงกันหมดว่าหมายถึง VP8 และ WebM)
ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐลงมาสืบสวนเรื่องนี้ เพราะอาจเข้าข่ายเจ้าตลาด (H.264 และ MPEG LA) ใช้อิทธิพลกีดกันคู่แข่งหน้าใหม่ไม่ให้เข้าสู่ตลาด
นอกจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในฐานะตัวแทนรัฐบาลกลาง ทางสำนักงานอัยการของรัฐแคลิฟอร์เนียก็เตรียมสืบสวนเรื่องนี้เช่นกัน
ที่มา - Wall Street Journal
ต่อจากข่าว แอปเปิลเปิดบริการสมัครสมาชิกภายในแอพ ผู้ให้บริการโวยค่าหัวคิว 30% แพงไป ซึ่งผู้สันทัดกรณีให้ความเห็นว่าแอปเปิลอาจโดนฟ้องข้อหาผูกขาด
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ได้รายงานข่าววงในว่า 3 องค์กรที่ดูแลเรื่องการผูกขาดตลาดของสหรัฐและยุโรป ได้แก่ คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) และคณะกรรมการยุโรป (European Commission) กำลังจับตาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด แม้จะยังไม่ได้เริ่มกระบวนการสืบสวนอย่างเป็นทางการก็ตาม
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้เข้าสืบสวนการทำข้อตกลงระหว่างบริษัทไอทีชั้นนำ 6 บริษัทได้แก่ กูเกิล, แอปเปิล, อโดบี, อินเทล, พิกซาร์, และ Intuit ที่ทำข้อตกลงกันไปมาว่าจะไม่ซื้อตัวพนักงานกันและกัน หลังการสอบสวนกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้ยื่นฟ้องต่อทั้งหกบริษัทว่าการทำข้อตกลงนี้เป็นการผูกขาด และวันนี้ทั้งหกบริษัทก็ยินยอมทำตามข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรมเพื่อยุติคดีแล้ว
ข้อตกลงที่ทั้งหกบริษัททำร่วมกันนั้นเป็นข้อตกลงที่จะไม่ "เรียกตัว" (Cold calling) พนักงานจากบริษัทอื่นๆ ที่ไม่ได้ยื่นสมัครงาน แต่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ เพื่อให้เข้ามาทำงานกับบริษัทของตัวเอง
ดูเหมือนไมโครซอฟท์กำลังจัดทำเอกสารทางเทคนิคของวินโดวส์รุ่นถัดไปจากวินโดวส์ 7 (ที่เราเรียกๆ กันว่า "วินโดวส์ 8") ทั้งรุ่นไคลเอ็นท์และเซิร์ฟเวอร์ให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ แล้ว โดยเว็บไซต์ CodenameWindows** ได้ให้ข้อสังเกตว่าเป็นไปได้ที่ไมโครซอฟท์จะทำวินโดวส์ 8 Build แรกๆ ออกมาแล้ว เพื่อยื่นให้หน่วยงานป้องกันการผูกขาดทำการทดสอบได้
ที่มา: เว็บไซต์กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ผ่าน CodenameWindows
** CodenameWindows เป็นเว็บไซต์นำเสนอด้านระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยเฉพาะ และไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทไมโครซอฟท์แต่อย่างไร