US Department of Justice
หลังจากที่เมื่อเช้านี้กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ถอนคำร้องขอให้ Apple ปลดล็อก iPhone ของกลาง เพราะเข้าถึง iPhone ของกลางได้แล้ว ก็มีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญตามมาติดๆ ว่าทางรัฐบาลควรแจ้ง Apple เพื่อปิดช่องโหว่ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลนี้ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมไม่ได้ระบุว่าจะแจ้งช่องโหว่ความปลอดภัยดังกล่าวให้กับทาง Apple ตามขั้นตอนของรัฐบาลกลางหรือไม่
คดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) ยื่นให้ศาลสั่งแอปเปิลทำรอมพิเศษ เพื่อให้ FBI ถอดรหัส iPhone ได้ง่ายขึ้น เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก หลายฝ่ายต่างจับตาคดีนี้ว่าจะสิ้นสุดอย่างไร เพราะเป็นคดีตัวอย่างเรื่องการเข้ารหัสของอุปกรณ์พกพา
แต่ล่าสุด คดีนี้จบลงแบบง่ายๆ เมื่อกระทรวงยุติธรรมถอนฟ้องคดี ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่าหาวิธีถอดรหัส iPhone โดยไม่ต้องพึ่งพาแอปเปิลได้แล้ว กระทรวงจึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งก่อนหน้านี้ที่สั่งให้แอปเปิลร่วมมือ (ซึ่งแอปเปิลกำลังอุทธรณ์อยู่)
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่ากระทรวงยุติธรรมถอดรหัส iPhone ด้วยวิธีไหน ในเอกสารที่กระทรวงยื่นต่อศาลก็เขียนสั้นๆ เพียง 3 บรรทัดว่า "ถอดได้แล้ว"
หลังจากที่กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ยื่นต่อศาลเพื่อเลื่อนการพิจารณาคำร้องที่จะบังคับให้ Apple ปลดล็อก iPhone ของกลางในคดีที่เมือง San Bernardino ออกไป พร้อมกับระบุว่ากำลังทำงานร่วมกับฝ่ายอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี (outsider party) เพื่อเข้าถึงข้อมูลเครื่อง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าตกลงแล้วใครคือคนที่ FBI กำลังทำงานด้วย วันนี้สำนักข่าว Reuters ออกมารายงานข่าวลือว่าเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยจากอิสราเอล
หน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ นำโดยกระทรวงยุติธรรม (Department of Justic: DoJ) ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอเลื่อนการไต่สวนกรณีที่ต้องการให้ศาลบังคับ Apple ปลดล็อค iPhone 5c ที่เป็นของกลางในกรณีกราดยิงที่เมือง San Bernardino
ในคำร้องระบุว่า FBI กำลังหาช่องทางอื่นที่เป็นไปได้ในการปลดล็อค iPhone โดยระบุว่ามีบางฝ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี (outside party) ได้สาธิตวิธีการปลดล็อค iPhone ให้กับทาง FBI ซึ่งตอนนี้กำลังประเมินอยู่ว่าจะใช้ได้มากน้อยเพียงใด หากทำได้ FBI อาจจะไม่ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากทาง Apple อีกต่อไปภายใต้กฎหมาย All Writs Act
ทั้งนี้ ศาลได้พิจารณาตามคำขอและอนุญาต โดยกำหนดว่าทาง DoJ ต้องนำส่งรายงานความคืบหน้าในวันที่ 5 เมษายนนี้
ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐ (FBI + กระทรวงยุติธรรม) กับแอปเปิลในกรณีถอดรหัส iPhone เป็นเพียงตัวอย่างของปัญหาใหญ่เรื่องการเข้ารหัสข้อมูลเท่านั้น บริษัทด้านไอทีทุกแห่งมีโอกาสเจอปัญหาแบบเดียวกัน และล่าสุดมีข่าวว่ารายต่อไปที่จะโดนกดดันจากภาครัฐคือ WhatsApp
หนังสือพิมพ์ The New York Times รายงานข่าววงในว่า เจ้าหน้าที่ในกระทรวงยุติธรรมกำลังถกเถียงว่าจะแก้ปัญหาเรื่องการเข้าถึงข้อความใน WhatsApp อย่างไร ความนิยมใน WhatsApp เริ่มสร้างปัญหาในวงกว้าง เพราะรัฐบาลไม่สามารถดักฟังข้อความที่ถูกเข้ารหัสใน WhatsApp ได้
ศาลฎีกาตัดสินคดีเรื่องการโก่งราคาอีบุ๊กของ Apple และยืนยันคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ว่า Apple มีความผิดจริงตามคำฟ้องที่ยื่นร่วมกันโดยกระทรวงยุติธรรมและรัฐต่างๆ อีกกว่า 30 รัฐ ยังผลให้ Apple ต้องจ่ายเงิน 450 ล้านดอลลาร์
ความผิดของ Apple นั้นมาจากการกำหนดเงื่อนไขการตั้งราคาอีบุ๊กใน iBookstore ตั้งแต่ปี 2010 โดยทำข้อตกลงกับสำนักพิมพ์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา 7 แห่ง ห้ามมิให้สำนักพิมพ์ตั้งราคาอีบุ๊กแพงกว่าแหล่งขายอื่น ส่งผลให้ราคาอีบุ๊กในร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ที่เคยขายถูกสุดอยู่ที่ 9.99 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเป็น 12.99-14.99 ดอลลาร์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายการฮั้วกันโก่งราคาขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการผูกขาดทางการค้า
คดีเก่าเรื่องแอปเปิลกับการปลดล็อค iPhone ของผู้กราดยิงในเมือง San Bernardio ยังไม่ได้ข้อยุติ ก็มีข่าวตามหลังมาติดๆ ว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ต้องการปลดล็อค iPhone อีก 9 เครื่องที่เป็นของกลางในคดีอื่นๆ ด้วย
เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย Marc J. Zwillinger ทนายความของแอปเปิลที่เขียนจดหมายส่งต่อศาล ย้ำว่าแอปเปิลไม่ต้องการปลดล็อค iPhone เหล่านี้ ในจดหมายยังระบุว่าแอปเปิลเริ่มได้รับคำขอจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015
แอปเปิลไม่ได้ระบุรายละเอียดของคดีที่ iPhone เหล่านี้ไปเกี่ยวข้องด้วย บอกเพียงว่าเป็นคดีที่เกิดขึ้นในนิวยอร์ก ชิคาโก แอลเอ ซานฟรานซิสโก และบอสตัน
จากกรณี Apple vs FBI เรื่องการปลดรหัสเข้า iPhone ของผู้ต้องสงสัย Pew Research Center ศูนย์วิจัยอิสระทำแบบสอบถามความเห็นชาวอเมริกัน 1,002 คน ว่ามีความเห็นอย่างไรในเรื่องนี้
ผู้ตอบแบบสำรวจ 51% มองว่าแอปเปิลควรปลดล็อค iPhone ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมี 38% และอีก 11% ไม่ทราบ การสำรวจเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 18-21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ถ้าแยกตามกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา และอุดมการณ์ทางการเมือง ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบทุกกลุ่มเห็นว่าแอปเปิลควรปลดล็อคด้วยสัดส่วนที่มากกว่า จะมียกเว้นในกรณีเป็นผู้ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด (independent) ที่มีความเห็นเข้าข้างพรรคเดโมแครต (Lean Democrat) เท่านั้นที่เห็นว่าแอปเปิลไม่ควรปลดล็อค
เรื่องราวที่ศาลมีคำสั่งให้ Apple ต้องทำรอมพิเศษเพื่อใช้ในการข้ามการตั้งค่าความปลอดภัยในกรณีกราดยิงที่เมือง San Bernardino นั้นยังไม่จบ เมื่อกระทรวงยุติธรรมของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Department of Justice) ได้ยื่นต่อศาลกลางของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อขอให้ Apple ดำเนินการตามคำสั่งศาลก่อนหน้าแล้วอย่างเป็นทางการ
เอกสารดังกล่าวมีความยาว 35 หน้า ซึ่งระบุว่า Apple มีเจตนาอย่างชัดเจนที่จะคัดค้านคำสั่งนี้ และทำให้การค้นหาหลักฐานหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรูปคดีนั้นไม่สามารถดำเนินการได้ กระทรวงยุติธรรมของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ในฐานะผู้ยื่นฟ้อง จึงต้องการให้ศาลออกคำสั่งบังคับให้ Apple ทำตามคำสั่งศาลในตอนแรกโดยไม่ชักช้า
สืบเนื่องมายาวนานกับคดีโก่งราคาอีบุ๊กของ Apple ที่ดำเนินมาถึงการตัดสินของศาลชั้นอุทธรณ์ หลังจากที่ปลายปีก่อนมีความเคลื่อนไหวจากทาง Apple ที่ออกมาเสนอยอมจ่ายเงินเพื่อจบคดีและได้รับการอนุมัติจากศาลชั้นต้นแล้ว ล่าสุดศาลอุทธรณ์มีคำตัดสินว่า Apple ผิดจริงเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น ยังผลบังคับให้ Apple ต้องจ่ายเงิน 450 ล้านเหรียญตามที่ได้ทำข้อเสนอยอมความเอาไว้
เว็บไซต์ The Verge อ้างแหล่งข่าววงในว่าหน่วยงานด้านต่อต้านการผูกขาด ทั้งกระทรวงยุติธรรมสหรัฐและคณะกรรมการการค้า (FTC) กำลังจับตาดูแอปเปิลในธุรกิจเพลงออนไลน์
The Verge บอกว่าจากการที่มีมีข่าวแอปเปิลเตรียมเปิดตัวบริการเพลงสตรีมมิ่งของตัวเอง ข้อมูลวงในบอกว่าแอปเปิลบีบให้ค่ายเพลงบังคับให้บริการคู่แข่ง (เช่น Spotify) เลิกให้บริการแบบฟรี เพื่อให้บริการของแอปเปิลมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีข่าวว่าแอปเปิลเสนอให้ค่ายเพลง Universal Music Group เลิกสัญญากับ YouTube Music โดยเสนอว่าแอปเปิลจะจ่ายเงินชดเชยให้แทน
ข้อมูลของ The Verge บอกว่าตอนนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเริ่มส่งคนไปสัมภาษณ์ตัวแทนค่ายเพลงแล้ว ส่วน FTC ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทแล้วเช่นกัน
ปีที่แล้ว บริษัทเคเบิลทีวีและอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา 2 รายคือ Comcast และ Time Warner Cable ประกาศข่าวการควบกิจการ วันนี้ดีลล่มอย่างเป็นทางการแล้ว เนื่องจากหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐคัดค้านเพราะเกรงว่าจะกลายเป็นการผูกขาดตลาด
Brian L. Roberts ประธานและซีอีโอของ Comcast ออกมายอมรับว่าแผนการนี้ต้องล้มเลิก อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดการณ์ว่าจะเกิดปัญหานี้ตั้งแต่แรก และเตรียมแผนการรองรับไว้อยู่แล้ว ทำให้ Comcast ไม่ต้องจ่ายค่าฉีกสัญญาให้กับ Time Warner Cable
เป็นความต่อเนื่องจากข่าวเก่า กรณีแอปเปิลเตรียมจบคดี กรณีมีความผิดฐานร่วมกับเหล่าสำนักพิมพ์โก่งราคาอีบุ๊กแล้ว ครับ มาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผู้พิพากษา Cote ได้นั่งบัลลังก์ตัดสินอนุมัติในกรณีที่แอปเปิลยื่นคำร้องขอยอมความ (settlement) ตามข้อตกลง โดยใจความสำคัญคือจะจ่ายเงินสูงสุด 400 ล้านเหรียญให้กับลูกค้า และอีก 50 ล้านเหรียญให้กับทนายความ
ความคืบหน้าล่าสุดของมหากาพย์คดีผูกขาดอีบุ๊กของแอปเปิลที่เริ่มต้นเมื่อสองปีก่อน เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แอปเปิลได้เตรียมยอมความ (settlement) ในกรณีคดีผูกขาดอีบุ๊กในสหรัฐอเมริกาเป็นรายสุดท้ายแล้วครับ หลังจากที่บรรดาสำนักพิมพ์ทั้ง 5 ที่เข้าร่วมขบวนการต่างได้ยอมความไปก่อนหน้านี้หมดแล้ว
สืบเนื่องจากคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องแอปเปิลกับสำนักพิมพ์ใหญ่ในอเมริกาข้อหาสมคบกันกำหนดราคาอีบุ๊ก ที่ต่อมาทางสำนักพิมพ์หาข้อตกลงระงับคดี (settlement) เป็นเวลาปีเศษๆ มาบัดนี้ เงินเข้าบัญชีผู้ใช้แล้วครับ
จากความคืบหน้าจากเมื่อประมาณหกเดือนก่อน ที่ว่ากระทรวงยุติธรรมยื่นข้อเสนอเพื่อแก้ไขความเสียหายจากการผูกขาดอีบุ๊กของแอปเปิล โดยสาระสำคัญอันหนึ่งคือจะต้องให้แอปเปิลต้องจ้างเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการผูกขาดและต้องอนุญาตให้ศาลเข้ามาตรวจสอบนโยบายต่อต้านการผูกขาดของแอปเปิลอีกด้วย กลับมามีประเด็นกันหน่อยแล้วครับ เมื่อแอปเปิลอุทธรณ์ไม่ผ่าน
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ศาลแขวงเลือกให้คุณ Michael Bromwichไปปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบการผูกขาดอีบุ๊กภายในบริษัทแอปเปิล
หลังจากผู้ถือหุ้นโนเกียอนุมัติให้ขายธุรกิจมือถือและบริการแก่ไมโครซอฟท์ ขั้นตอนต่อไปก็คือรอให้หน่วยงานภาครัฐทั่วโลกอนุมัติการซื้อขายกิจการครั้งนี้
ประเทศล่าสุดที่ออกมาอนุมัติแล้วคือกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา (ที่มีหน่วยงานด้านเฝ้าระวังการผูกขาดตลาดหรือกีดกันการแข่งขัน) โดยโฆษกของไมโครซอฟท์ก็ออกมาแสดงความยินดีกับข่าวนี้และระบุว่าจะรอวันที่โนเกียเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเดียวกันต่อไป
ภูมิภาคสำคัญที่ไมโครซอฟท์รอการอนุมัติคือสหภาพยุโรป (ที่ฟินแลนด์ บ้านเกิดของโนเกียเป็นสมาชิกอยู่) ซึ่งก่อนหน้านี้มีข่าวว่าสหภาพยุโรปจะประกาศข่าวการอนุมัติในวันที่ 4 ธันวาคมนี้
จากข่าวปีที่แล้วที่อเมซอนร่อนจดหมายถึงลูกค้าแจ้งจะคืนเงินบางส่วนจากการซื้อหนังสือจาก 3 ค่ายใหญ่ หลังจากบรรดาสำนักพิมพ์ตกลงระงับข้อพิพาท (settlement) ไปเกือบทั้งหมดแล้ว เมื่อวานนี้ทางอเมซอนก็ส่งอีเมลฉบับที่สองมาถึงลูกค้าในอเมริกา ใจความสำคัญคือ
ภาคต่อจากข่าว กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้ "อีเมลสตีฟจ็อบส์" เป็นหลักฐานชี้แอปเปิลผูกขาดราคาอีบุ๊ก ทางทนายความของแอปเปิลก็ออกมาตอบโต้ (ตามคาด) โดยบอกว่าแผนการของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐจะเอื้อประโยชน์ทางการแข่งขัน (competitive advantage) ให้อเมซอน
แอปเปิลยังบอกว่าด้วยว่าแผนการของกระทรวงฯ ถือเป็นการกำกับดูแลที่ไม่จำเป็น และจะสร้างความซับซ้อนให้กับตลาดอีบุ๊กที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม แอปเปิลก็ยอมใช้เงื่อนไขของการจัดจำหน่ายอีบุ๊กที่ตัวเองตั้งขึ้นกับ App Store ของตัวเองด้วย จากเดิมที่บังคับใช้เฉพาะกับแอพของบริษัทอื่นๆ เท่านั้น
สุดท้ายแล้วศาลจะเป็นคนตัดสินตามข้อเสนอจากทั้งฝั่งของกระทรวงฯ และฝั่งของแอปเปิลครับ
จากกรณี กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องแอปเปิลกับสำนักพิมพ์ทั้ง 7 ข้อหาสมคบกันกำหนดราคา e-book และ กระทรวงยุติธรรมยื่นข้อเสนอเพื่อแก้ไขความเสียหายจากการผูกขาดอีบุ๊กของแอปเปิล
กระทรวงยุติธรรมได้ยื่นข้อเสนอฉบับปรับแก้จากข่าวล่าสุดก่อนหน้านี้ โดยเพิ่มเนื้อหาด้านนโยบาย in-app purchase ที่แอปเปิลเปลี่ยนเมื่อปี 2011 บังคับให้แอพต้องขายเนื้อหาดิจิทัล (ทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะอีบุ๊ก) ผ่าน iTunes Store เท่านั้น
หนึ่งในหลักฐานที่กระทรวงยุติธรรมนำมายืนยันว่าแอปเปิลจงใจกีดกันคู่แข่ง ก็คืออีเมลของสตีฟ จ็อบส์ ที่ส่งถึงผู้บริหารของแอปเปิล Phil Schiller, Eddy Cue, Joswiak Greg
ความคืบหน้าล่าสุดของมหากาพย์ผูกขาดอีบุ๊กของแอปเปิล หลังจากที่ศาลแขวงได้ตัดสินแอปเปิลมีความผิดฐานสมคบคิดโก่งราคาอีบุ๊กแล้ว ทางกระทรวงยุติธรรมสหรัฐก็ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น (remedy) จากการผูกขาดอีบุ๊กของสโนว์ไวท์แอปเปิลเมื่อวันศุกร์ที่สองที่ผ่านมา
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอีกหลายแห่ง สั่งปิดเว็บและยึดโดเมนเว็บแจกแอพแอนดรอยด์ละเมิดลิขสิทธิ์ 3 เว็บ ได้แก่ applanet.net, appbucket.net, snappzmarket.com
เมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) ได้ยื่นฟ้อง Apple และสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ทั้ง 7 ราย อันได้แก่ Hachette, HarperCollins, Macmillan, Penguin, Simon & Schuster และ Georg von Holtzbrinck Publishing Group
เท่าที่อ่านในคำฟ้องมีประเด็นสำคัญๆ ที่สรุปได้มีดังนี้
ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นกับข่าวไมโครซอฟท์ไล่เซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ Android หลายราย แต่หนึ่งรายที่ไม่ยอมเซ็นกับไมโครซอฟท์ก็คือ Barnes & Noble (ซึ่งทำ Nook) และจบลงด้วยไมโครซอฟท์ยื่นฟ้อง Barnes & Noble
ทางทนายของ Barnes & Noble ก็แก้เกมกลับโดยยื่นเรื่องไปยังหน่วยงานด้านต่อต้านการผูกขาด ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และล่าสุดมีสไลด์ของ Barnes & Noble หลุดออกมาสู่สาธารณะ (เอกสารยื่นวันที่ 12 กรกฎาคม 2011)
เอกสารนี้เผยให้เห็นรายละเอียดของ "สิทธิบัตร" ที่ไมโครซอฟท์นำมาเจรจา/ฟ้องกับ Barnes & Noble ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสิทธิบัตรชุดเดียวที่ใช้เซ็นสัญญากับผู้ผลิต Android รายอื่นๆ (ซึ่งไมโครซอฟท์ไม่เคยเปิดเผย) ใครสนใจก็เอาเลขสิทธิบัตรไปค้นต่อกันตามสะดวก
ความฝันของเครือข่าย AT&T ในการควบกิจการกับ T-Mobile USA อาจถึงคราวสะดุด เพราะกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในฐานะผู้ดูแลการผูกขาดธุรกิจ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลเขต District of Columbia สั่งไม่อนุญาตให้ควบกิจการครั้งนี้เกิดขึ้น โดยให้เหตุผลว่าการควบกิจการจะส่งผลเสียต่อการแข่งขันในวงการโทรคมนาคม บริการคุณภาพตกลง