TensorFlow ประกาศเปิดตัววิชาเรียนฟรี 2 ชุดพร้อมกันบนสองแพลตฟอร์ม คือ Coursera และ Udacity
บน Coursera คือวิชา Intro to TensorFlow for AI, ML and DL เป็นการสอน TensorFlow ระดับเริ่มต้น เวลารวมชั่วโมงกว่าๆ เท่านั้น โดยวิชานี้เป็นวิชาแรกในชุดวิชา TensorFlow: from Basics to Mastery ที่จะเปิดวิชาอื่นเพิ่มภายหลัง
CERN ร่วมกับโครงการ Google Arts and Culture สร้างแอป Big Bang AR สำรวจกำเนิดจักรวาล นับตั้งแต่เหตุการณ์ Big Bang กำเนิดอนุภาคและอะตอม เรื่อยมาจนถึงซูปเปอร์โนวาร์ จนถึงกำเนิดระบบสุริยะและโลก
ตัวแอปพากย์เสียงโดย Tilda Swinton และผู้ใช้ต้องมีส่วนร่วมกับแอปบางส่วนเช่น ผู้ใช้ยื่นมือออกไป "ถือ" โลกเอาไว้ หรือการสำรวจมุมต่างๆ ของจักรวาลด้วยการขยับโทรศัพท์
นอกจากตัวแอปแล้ว ทาง CERN ยังสร้างนิทรรศการเสมือน 5 รายการ เช่น การตามล่าหา Higg Boson, โลกของปฎิสสาร (antimatter), สำรวจชั้นใต้ดินของ CERN, 10 เรื่องที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับ CERN, และกำเนิดเว็บ
การบ้าน นอกจากจะเป็นหน้าที่ของนักเรียนต้องทำแล้ว อาจเป็นความเหน็ดเหนื่อยยิ่งกว่าของผู้ตรวจที่ต้องตรวจการบ้านนักเรียนทุกคน ล่าสุด สตาร์ทอัพจีน Yuanfudao ที่ทำเรื่องการศึกษาออนไลน์ได้สร้างแอพพลิเคชั่นช่วยตรวจการบ้านคณิตศาสตร์ โดยมีพลัง AI ช่วยงานอยู่เบื้องหลัง และสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงถ่ายรูปเข้าไปในแอพ
แอพ Xiaoyuan Kousuan ของ Yuanfudao ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในประเทศจีนตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว ทางบริษัทยังอ้างด้วยว่าได้ตรวจสอบปัญหาทางคณิตศาสตร์เฉลี่ย 70 ล้านข้อต่อวัน Li Xin ผู้ร่วมก่อตั้ง Yuanfudao บอกว่า ในการตรวจสอบปัญหาเกือบ 100 ล้านครั้งทุกวัน บริษัทต้องทำความเข้าใจรูปแบบของความผิดพลาดของนักเรียนเวลาเจอโจทย์ต่างๆ
วันนี้ที่โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) โดยฝ่าย Ananda UrbanTech และ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แถลงข่าวร่วมกันเปิดตัวโครงการ "How Cambridge Berkeley Stanford do Tech Transfer" ซึ่งเป็นโครงการจัดการประชุม เพื่อเรียนรู้การถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาให้กับบุคลากรและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
ไมโครซอฟท์จับมือพาร์ทเนอร์ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ 3 รายคือ Acer, Lenovo, Dell เปิดตัวโน้ตบุ๊กราคาถูกเพื่อตลาดการศึกษารวม 7 รุ่น โดยมีราคาเริ่มต้น 189 ดอลลาร์สำหรับโน้ตบุ๊กปกติ และ 300 ดอลลาร์สำหรับโน้ตบุ๊กพับได้ 2-in-1
ตัวที่น่าสนใจที่สุดคือ Lenovo 300e (2-in-1) โน้ตบุ๊กพับได้ที่มีช่องเก็บปากกาสไตลัสในตัว แต่ถ้ามีช่องให้ขนาดนี้แล้วยังทำปากกาหายกัน ก็ยังสามารถใช้ดินสอไม้ธรรมดา (HB) เขียนบนหน้าจอได้เลย โดยจอไม่เป็นรอยแต่อย่างใด
ตอนนี้ไมโครซอฟท์ยังไม่เผยสเปกละเอียดและราคาของ Lenovo 300e (รวมถึงโน้ตบุ๊กทุกรุ่นที่เปิดตัว) โดยบอกเพียงแค่ว่ารัน Windows 10 S และยังไม่มีข้อมูลว่าจะขายปลีกให้ลูกค้านอกตลาดการศึกษาด้วยหรือไม่
โน้ตบุ๊กทั้ง 7 รุ่นได้แก่
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าลุยตลาดคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อกรกับ Chromebook ที่มาแรงมากในช่วงหลัง ของใหม่ที่เปิดตัววันนี้คือปากกา Classroom Pen สำหรับ Surface Go
Classroom Pen ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาปากกา Surface Pen ราคาแพง (99.99 ดอลลาร์) โดยปรับให้เหมาะกับการใช้งานของเด็กๆ เน้นความทนทานมากขึ้น หัวปากกาแข็งแรงขึ้น และรวมหัวปากกาสำรองมาให้ในชุดด้วย ส่วนราคาก็ปรับลดลงเหลือเพียง 39.99 ดอลลาร์ แต่จำกัดขายเฉพาะตลาดการศึกษาเท่านั้น และต้องสั่งขั้นต่ำเป็นชุดครั้ง 20 ด้ามด้วย
ไมโครซอฟท์บอกว่า Classroom Pen จะวางขายในทุกประเทศที่มี Surface Go จำหน่าย ซึ่งก็น่าจะหมายถึงประเทศไทยด้วย
ภาษา Scratch เป็นภาษาเขียนโปรแกรมแบบ drag-and-drop ที่ได้รับความนิยมมาระยะหนึ่งแล้ว หลังปีใหม่ปีนี้ทางโครงการก็เปิดตัวเวอร์ชั่น 3.0 ที่แก้ไขหลายอย่าง ที่สำคัญคือมีความร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ทั้ง Google ที่ให้บริการแปลภาษาและ AWS ที่ให้บริการแปลงข้อความเป็นเสียงเชื่อมบริการเข้ามา และสามารถเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ได้ รองรับ micro:bit และ LEGO Mindstorms EV3
ตัวเว็บสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องล็อกอินใดๆ และมีบทเรียนให้ฝึกเขียนโปรแกรมอีกนับสิบรายการ
ตัวภาษารองรับการประมวลผลข้อความดีกว่าเดิม, เพิ่มบล็อคเกี่ยวกับเสียง, และตัวบล็อคใหญ่ขึ้นเพื่อให้ใช้งานบนจอสัมผัสได้โดยง่าย
กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์เปิดตัวแอพพลิเคชั่น Parents Gateway ให้โรงเรียนและผู้ปกครองสื่อสารกันง่ายและเร็วขึ้น เช่น ครูสามารถอัพเดทกิจกรรมและขออนุญาตผู้ปกครองในการให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนได้ผ่านแอพเลย ไม่ต้องกรอกแบบฟอร์มในกระดาษ
แอพ Parents Gateway ยังสามารถช่วยความยุ่งยากเวลาที่ครูต้องทำเอกสารสื่อสารกับผู้ปกครอง ตัวแอพเปิดใช้งานเจาะไปที่โรงเรียนประถมและมัธยม
ผู้ปกครองสามารถล็อกอินใช้งานแอพผ่าน SingPass ระบบล็อกอินกลางรัฐบาลสิงคโปร์ หรือผ่าน SMS, 2FA หรือ OneKey Token ปัจจุบันมีโรงเรียนนำแอพไปใช้แล้ว 66 โรงเรียน
Binance ตลาดซื้อขายสกุลเงินคริปโตประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาใหม่ โดยมุ่งเน้นที่การศึกษาเกี่ยวกับ blockchain และสกุลเงินคริปโตโดยเฉพาะในชื่อว่า Binance Academy เข้าผ่านหน้าเว็บได้ทาง binance.vision
สำหรับ Binance Academy นั้นจะมีบทเรียนให้ถึง 15 ภาษา แบ่งเป็น 4 หมวดหลัก ๆ คือ blokchain, ระบบเศรษฐกิจ, ความปลอดภัย และวิธีใช้งาน พร้อมทั้งส่วน glossary สำหรับรวบรวมคำศัพท์ที่ใช้ในวงการ และหน้าสำหรับส่งคำเสนอเนื้อหาที่ควรมีในอนาคต
มอซิลล่าผู้ดูแลโครงการเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์ได้รับทุนจากสหภาพยุโรปมาสร้างหลักสูตรปริญญาเอก OpenDoTT ร่วมกับมหาวิทยาลัย Dundee เพื่อให้นักวิจัยมาศึกษาการออกแบบอุปกรณ์ IoT ที่มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้
ทุนนี้มีระยะเวลา 3 ปี โดยปีแรกจะศึกษาการออกแบบงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Dundee จากนั้นไปทำงานร่วมกับมอซิลล่าในเบอร์ลินอีก 18 เดือนก่อนจะกลับมาทำวิจัยที่มหาวิทยาลัยอีก 6 เดือน
หัวข้อวิจัย เช่น อุปกรณ์สวมใส่ได้, สมาร์ตโฮม, สมาร์ตซิตี้ ทางมอซิลล่าระบุว่าผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสทำงานร่วมกับกลุ่มที่ทำงานเฉพาะทาง เช่น Officine Innesto ผู้ออกแบบฮาร์ดแวร์, SimpleSecure สำหรับการออกแบบความปลอดภัยดิจิตอล
YouTube ประกาศเตรียมเงินทุน 20 ล้านดอลลาร์ ไว้สำหรับผู้สร้างสรรค์เนื้อหา (creator) ด้านการศึกษาโดยเฉพาะ โดยมีบางช่องที่ได้รับเงินทุนนี้ไปแล้วเช่น TED-Ed และ CrashCourse แต่ YouTube ก็ต้องการให้เงินทุนกับผู้สร้างสรรค์เนื้อหาอิสระด้วย
ถึงแม้ Chrome OS และ Chromebook จะไปได้ดีในตลาดสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ แต่ก็ยังมีโรงเรียนอีกมากที่ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าซึ่งทำงานช้า แถมยังไม่มีงบประมาณไปเปลี่ยนคอมพิวเตอร์เป็นรุ่นใหม่ด้วย
ทางออกของกูเกิลคือจับมือกับบริษัท Neverware ผู้นำระบบปฏิบัติการ Chromium OS เวอร์ชันโอเพนซอร์สมาดัดแปลงให้เหมาะกับการใช้งานในโรงเรียน โดยใช้ชื่อใหม่ว่า CloudReady OS
กูเกิลและ Neverware ร่วมมือกับ London Grid for Learning ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่หวังผลกำไรที่ทำเรื่องการศึกษาในลอนดอน เปลี่ยนคอมพิวเตอร์เก่าในโรงเรียนต่างๆ โดยจับลงระบบปฏิบัติการ CloudReady เพื่อให้ทำงานได้เหมือน Chromebook รุ่นใหม่ๆ และสามารถใช้งานระบบการเรียนการสอนรุ่นใหม่ทั้ง G Suite for Education และ Google Classroom ได้
ที่งาน Google Developer Day เซี่ยงไฮ้ กูเกิลระบุว่ากำลังอยู่ระหว่างการแปลวิชา Machine Learning Crash Course (MLCC) เป็นภาษาไทย หลังจากที่เปิดตัวชุดวิชามาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา
MLCC เปิดตัวมาแล้ว 5 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ, สเปน, เกาหลี, จีน, และฝรั่งเศส โดยมีโครงการจะแปลเพิ่ม เช่น ภาษาไทย, เวียดนาม
อย่างไรก็ดี กูเกิลยังไม่เปิดเผยว่าตัววิชาภาษาไทยจะเปิดตัวเมื่อใด
ไมโครซอฟท์เปิดรับสมัครนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ Microsoft Student Partners หรือ MSP
MSP เป็นโครงการ 1 ปีเต็มที่จะสนับสนุนนักศึกษาที่ชื่นชอบและใฝ่เรียนรู้ในเทคโนโลยีจากทั่วโลก ให้มีโอกาสได้เข้ามาเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และนำประสบการณ์ความรู้ที่ได้ไปแบ่งปันให้เพื่อนร่วมสถาบันและชุมชนในฐานะ MSP ประจำแต่ละประเทศ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน
โดยในปีนี้ทาง Corp จะดูแลเรื่องรับสมัครโดยตรง (ไม่ใช่ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย) และจะมีความแตกต่างจากปีที่ผ่านมา
Microsoft ประกาศว่า Minecraft: Education Edition กำลังจะมีเวอร์ชั่น iPad ในเดือนกันยายนนี้ เป็นการขยายกลุ่มการศึกษาจากที่เล่นได้บน 2 อุปกรณ์ เพิ่ม iPad เข้าไปรวมเป็น 3 นอกจากนี้ Microsoft ยังขยายฟีเจอร์การศึกษาไปยังกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่อยู่นอกรั้วการศึกษาด้วย
ฟีเจอร์ที่ขยายออกไปคือ Chemistry Resource Pack ที่เป็นการเล่นเกม Minecraft ในคอนเซปต์เคมี ผู้เล่นสามารถเข้าถึงได้ผ่านพีซี Windows 10 และ Xbox ผู้เล่นสามารถสร้างบอลลูนได้โดยใช้แก๊สฮีเลียมและ latex เป็นต้น Microsoft ระบุว่าปัจจุบันสมาชิกผู้ใช้งาน Minecraft: Education Edition มี 35 ล้านรายทั่ว 115 ประเทศ
กระทรวงการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นเตรียมใช้หุ่นยนต์ AI เข้ามาช่วยสอนภาษาอังกฤษ ตั้งเป้าปีหน้าได้ใช้สอนใน 500 ห้องเรียน โดยลงทุน 250 ล้านเยน หรือราวๆ 3.1 ล้านดอลลาร์
ทางกระทรวงระบุว่าปัจจุบันตลาดหุ่นยนต์ในญี่ปุ่นมีอย่างกว้างขวาง และมีความสามารถหลากหลายมากขึ้น หุ่นยนต์เหล่านี้สามารถช่วยสอนเรื่องการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้องได้ นอกจากหุ่นยนต์แล้วก็เตรียมใช้พวกแอพพลิเคชั่นบนแท็บเลตเข้ามาใช้สื่อการสอนด้วย
การใช้ AI มาช่วยสอนเป็นหนึ่งในการดำเนินการหลังหลักสูตรระดับชาติให้เด็กอายุ 10 ปีต้องเรียนภาษาอังกฤษ ปัจจุบันบังคับเรียนที่อายุระหว่าง 12-15 ปีขึ้นไป
Microsoft เปิดตัวโครงการโอเพ่นซอร์สใหม่ Quantum Katas ที่จะช่วยเป็นโปรแกรมการสอนการคำนวณแบบควอนตัมและการโปรแกรมภาษา Q#
ตัว Quantum Katas นี้มีเนื้อหาแยกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า kata ในแต่ละ kata จะครอบคลุมทีละหัวข้อ เป็นโปรเจคเดี่ยวที่มีสอนตั้งแต่ระดับธรรมดาไปจนถึงบททดสอบที่ท้าทายขึ้นเรื่อย ๆ มีการให้ผู้ใช้เขียนโค้ดเอง ซึ่งในโครงการนี้ก็จะมีเฟรมเวิร์คสำหรับการทดสอบและรันโค้ด หากพบปัญหาก็จะมีคำแนะนำเพื่อช่วยแก้ไขด้วย
สำหรับเนื้อหาของ Quantum Katas ตอนนี้มีอยู่สี่หมวดใหญ่ ๆ คือ
AWS เผยจะเริ่มโปรโมท AWS Educate หรือเกตเวย์เพื่อการศึกษาในไทยมากขึ้น เปิดให้นักเรียนสมัครเข้ามาลองใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ของจริง รวมทั้งยังสามารถเข้าถึงเนื้อหาการศึกษาในหลักสูตรไอทีที่เป็นที่ต้องการของตลาดงาน นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มรับสมัครงานหรือ AWS Educate Jobs Board นักศึกษาเข้าไปโพสต์สมัครงาน เพื่อให้ AWS และบริษัทอื่นได้เจอบุคลากรที่มีทักษะตามต้องการได้
Google เปิดตัว Course Kit ระบบเพื่อการศึกษาในห้องเรียนโดยใช้ Google Docs และ Drive มาช่วยในการเก็บงานนักเรียน, ตรวจงาน, ใส่คอมเมนท์ และแชร์เอกสารต่าง ๆ ภายในห้องเรียน
Course Kit ของ Google พัฒนาโดยใช้มาตรฐาน Learning Tools Interoperability (LTI) จึงสามารถใช้งานกับ Learning Management Systems (LMS) ที่ผู้สอนมักจะใช้เพื่อส่งเอกสารต่าง ๆ ในชั้นเรียนรวมถึงมอนิเตอร์การทำการบ้านหรือรายงานในห้องเรียนได้ หรือหมายความว่าครูและนักเรียนสามารถใช้ Google Docs กับ LMS ที่ตั้งค่าไว้แล้วได้เลย อย่างเช่นมอบหมายงานให้ทำและให้คะแนนงานโดยใช้ Google Docs ผ่าน LMS ที่ใช้งานอยู่แล้วได้เลย หรือจะฝังไฟล์จาก Google Drive เข้าไปใน LMS เดิมเลยก็ได้
โรงเรียนประมาณ 60,000 แห่ง ซึ่งถือเป็นราว 1 ใน 4 จากจำนวนโรงเรียนทั่วประเทศจีน เริ่มใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการตรวจให้คะแนนเรียงความของนักเรียนมากกว่า 100 ล้านคนแล้ว
ปัญญาประดิษฐ์จะตรวจให้คะแนนเรียงความโดยตัดสินจากรูปแบบการเขียน, การจัดวางโครงสร้างของเนื้อหา และความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหากับหัวข้อเรียงความ ซึ่งผู้พัฒนาคิดว่านี่เป็นรูปแบบการตัดสินให้คะแนนเรียงความที่โปร่งใสและตรงไปตรงมากว่าในอดีต ซึ่งเทคโนโลยีนี้ในต่างประเทศก็มีการพัฒนาขึ้นมาใช้งานกันนานหลายปีแล้ว แต่นี่เป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานภาษาจีนด้วย
Apple เปิดตัวแอป Schoolwork แอปคลาวด์เบสเพื่อการสอนสำหรับ iPad ให้ครูใช้ฟรี โดยครูสามารถมอบหมายงาน การบ้าน กิจกรรมพิเศษให้นักเรียนได้ผ่านแอป รวมทั้งดูความคืบหน้าของนักเรียนแต่ละคนได้
Schoolwork สามารถใช้งานร่วมกับแอปเพื่อการสอนอื่นๆ อย่าง Explain Everything, Tynker, GeoGebra และ Kahoot! ได้ และจะแสดงความคืบหน้าของนักเรียนผ่านแดชบอร์ด
อย่างไรก็ตาม ไม่แน่ใจว่า Schoolwork จะได้รับความนิยมมากขนาดไหน เพราะฟีเจอร์ก็คล้ายๆ Blackboard เว็บแอปสื่อกลางระหว่างครูและผู้สอน และไม่มีค่าใช้จ่ายเหมือนกัน นอกจากนี้ ครูหลายรายก็ไม่มีเวลามาเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ จึงเป็นการบ้านกลับไปที่ Apple ว่าจะจัดการ educate ผู้ใช้อย่างไร
GitHub มีบริการแบบ GitHub Education สำหรับใช้งานในโรงเรียนมาได้สักระยะแล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะบางโรงเรียนเท่านั้น ล่าสุดบริษัทประกาศเปิด GitHub Education ให้โรงเรียนทุกแห่งใช้ฟรี
ชุด GitHub Education ประกอบด้วยบริการ GitHub Enterprise หรือ Business Hosted แบบไม่คิดเงิน, ชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา Student Developer Pac (ที่รวมเครื่องมือจากบริษัทอื่นๆ เช่น Travis CI, DigitalOcean มาให้ด้วย), ตัวช่วยจัดการสำหรับครู GitHub Classroom และเอกสารกับบริการฝึกอบรมใช้งาน
โรงเรียนที่สนใจสมัครใช้งาน สามารถดูรายละเอียดได้จาก GitHub Education ในช่องกรอกชื่อประเทศ มีชื่อประเทศไทยให้เลือกด้วย
Google เผยฟีเจอร์ใหม่ เมื่อค้นหามหาวิทยาลัยที่จะเรียนในสหรัฐฯ เช่น UCLA, Spelman เป็นต้น Google จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการรับสมัคร,ค่าใช้จ่ายและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในผลการค้นหาโดยตรง ผู้ใช้สำรวจทางเลือกด้านการศึกษาและมหาวิทยาลัยที่ตรงกับความต้องการง่ายขึ้น
จากตัวอย่างในภาพ จะเห็นว่า Google แสดงข้อมูลค่าเทอม อัตราส่วนการสอบเข้าและความสำเร็จในการจบการศึกษาเพิ่มเข้ามาด้วยนอกเหนือจากข้อมูลทั่วไปอย่างตำแหน่งและรูปภาพ และยังดูข้อมูลเชิงลึก เช่น อัตราการสำเร็จการศึกษา รวมถึงรายได้ประจำปีโดยทั่วไป 10 ปีหลังจากจบการศึกษามาแล้ว, ข้อมูลนักศึกษา ว่ามีเพศใด เชื้อชาติใดบ้าง
ในฟีเจอร์ใหม่นี้ Google ได้ร่วมมือกับองค์กรด้านการศึกษาคือ U.S. Department of Education’s College Scorecard และความร่วมมือด้านข้อมูลจาก Integrated Postsecondary Education Data System (IPEDS) และทำงานร่วมกับนักวิจัยด้านการศึกษาด้วย
เมื่อเดือนมีนาคม กูเกิลเปิดคอร์สวิชา Machine Learning ที่ใช้สอนพนักงาน ให้คนทั่วไปเรียนฟรีออนไลน์ และประสบความสำเร็จอย่างสูง ตอนนี้ได้เวลาของคอร์สที่สองแล้ว
คอร์สใหม่ชื่อว่า Machine Learning Practicum on Image Classification เป็นคอร์สต่อเนื่องจากคอร์สแรก โดยเน้นไปที่การใช้ machine learning เพื่อแยกแยะรูปภาพ เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ convolutional neural networks (CNNs) โดยจำเป็นต้องผ่านคอร์สแรกมาก่อน และมีทักษะเขียนโปรแกรมในภาษา Python บ้าง
กูเกิลส่งผู้เชี่ยวชาญของตัวเองทำวิชา Kotlin Bootcamp ติวเข้มการเขียนโปรแกรมภาษา Kotlin ที่กำลังเป็นภาษาสำหรับแอนดรอยด์เต็มรูปแบบเท่ากับจาวา โดยการติวเข้มจะทำให้วิชารวมสั้นเพียงประมาณ 8 ชั่วโมงเท่านั้น ครอบคลุมเนื้อหาหลักๆ 5 ส่วน ได้แก่