สถาบัน MIT ทำแอพพลิเคชั่นเรียนรู้คำศัพท์ภาษาต่างประเทศ ตัวแอพจะปรากฏต่อเมื่อผู้ใช้กำลังรอแอพพลิเคชั่นอื่นทำงาน รอสัญญาณไวไฟ รอเพื่อตอบกลับแชท รออีเมล รอลิฟต์ เป็นต้น
แอพพลิเคชั่นชื่อว่า WaitChatter ทำงานได้ทั้งบนเดสก์ทอปและมือถือ MIT บอกเหตุผลที่ทำแอพออกมาว่า ในชีวิตคนเราต้องมีการรออะไรบางอย่างอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ จึงทำแอพออกมาเพื่อให้การรอใช้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างคำศัพท์ในภาษาอื่น
ระบบในแอพพลิเคชั่นจะตรวจหาโดยอัตโนมัติหากอุปกรณ์ของผู้ใช้อยู่ะหว่างมองหาการเชื่อมต่อ WiFi และสามารถตรวจจับ iBeacons Bluetooth ที่ระบุว่าผู้ใช้อยู่ใกล้ลิฟต์ จากนั้นตัวแอพจะปรากฏขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
Yaacob Ibrahim รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของสิงคโปร์ประกาศโครงการสนับสนุนเมกเกอร์ระดับชาติในชื่อ Digital Maker Programme สนับสนุนตั้งแต่การศึกษา, ชุมชนเมกเกอร์, ไปจนถึงตลาดสินค้าสิ่งประดิษฐ์
โครงการที่เป็นรูปธรรมส่วนแรกคือการร่วมมือกับกระทรวงศึกษา นำบอร์ด micro:bit ที่ BBC เคยแจกให้นักเรียนในโรงเรียนอังกฤษมาใช้ในการเรียน โดยมุ่งจะใช้งานในโรงเรียนประถมและมัธยม ระยะเวลาโครงการสองปี ส่วนการสนับสนุนในแง่ชุมชนจะมีการจัดฝึกความรู้เกี่ยวกับเมกเกอร์ให้ และระดับธุรกิจจะมีการสนับสนุนด้านการเงินให้กับบริษัทต่อไป
ยังไม่แน่ชัดว่าการใช้ micro:bit ในสิงคโปร์จะเป็นรูปแบบใด จากโครงการของ BBC เดิมนั้นเป็นการแจกนักเรียนมัธยมหนึ่ง (เกรด 7) ทุกคน
ไมโครซอฟท์ส่งบัตรเชิญร่วมงานแถลงข่าว 2 พฤษภาคมที่นครนิวยอร์ก ในบัตรเชิญมีแท็ก #MicrosoftEDU ซึ่งหมายถึงเป็นงานด้านการศึกษา
ZDNet ได้ข้อมูลว่างานนี้ไมโครซอฟท์จะเปิดตัว Windows Cloud ที่เคยมีข่าวหลุดมาก่อนแล้ว คาดว่าไมโครซอฟท์จะใช้ Windows Cloud ที่รันได้เฉพาะแอพ UWP จาก Store มาทำตลาดการศึกษาในราคาถูกกว่า Windows 10 ปกติ
ZDNet ยังบอกว่างานนี้ไมโครซอฟท์จะไม่ได้เปิดตัวอุปกรณ์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Surface Pro 5 หรือ Surface Book 2 ที่หลายคนอาจรอกันอยู่ แต่อาจมีอุปกรณ์ Surface ราคาถูก (เช่น Surface 4) เปิดตัวในงาน
อาชีพด้านการพัฒนาเกมได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดไมโครซอฟท์ออสเตรเลีย ร่วมมือกับสถาบัน Academy of Interactive Entertainment (AIE) จัดงานอบรม Xbox Academy ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ซิดนีย์
AIE เป็นสถาบันการศึกษาด้านเกมและแอนิเมชันของออสเตรเลียที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว (เปิดปี 1996) และมีสาขาอยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วย สถาบันมีความร่วมมือกับทั้ง Microsoft และ Sony ส่วนการอบรมครั้งนี้ก็ใช้บุคลากรของ AIE มาเป็นผู้สอน กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนที่ยังไม่เข้าระดับอุดมศึกษา เพื่อจะได้รู้ว่าโลกของการพัฒนาเกมเป็นอย่างไร (เข้าอบรมแล้วได้ประกาศนียบัตรจาก AIE ด้วย)
Microsoft ได้เปิดตัว Project Torino ซึ่งเป็นโครงการที่มีจุดประสงค์ในการสอนการเขียนโปแกรมให้เด็กที่มีปัญหาด้านการมองเห็น หรือมีปัญหาอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเรียนการเขียนโปรแกรมในแบบปกติได้
Project Torino นี้จะใช้ภาษาโปรแกรมมิ่งมารวมเข้ากับของเล่นที่มีสีสันสวยงามเรียกว่า pods ซึ่งสามารถส่งเสียง, สร้างเรื่องราว, บทกวี หรือเพลงเพื่อช่วยการสอนคอนเซปต์การเขียนโปรแกรมให้เด็กได้ เด็ก ๆ จะใช้อุปกรณ์เหล่านี้มาต่อเรียง ๆ กันและให้อุปกรณ์ทำงาน (ลักษณะเหมือนการเขียนโปรแกรมใน Scratch แต่ใช้อุปกรณ์จริง) โดย Microsoft เรียกว่า physical programming language
Google ได้เปิดให้ใช้งาน Google Classroom ระบบจัดการห้องเรียนออนไลน์ให้ผู้ใช้ทั่วไปใช้งานได้แล้ววันนี้ จากเดิมที่กำหนดให้ต้องใช้งานผ่าน G Suite for Education คือผู้ที่จะเข้าร่วมกับ Classroom จำเป็นต้องใช้บัญชี G Suite for Education ในโดเมนเดียวกันเท่านั้น
ผู้ดูแลระบบ G Suite for Education จะเริ่มเห็นเครื่องมือ Classroom อัพเดตใหม่ โดยมาพร้อมกับระบบการควบคุมที่อนุญาตให้ผู้ใช้จากภายนอก ไม่ว่าจะจากบัญชี Google ปกติ หรือบัญชี G Suite for Education จากภายนอกที่ไม่ได้อยู่ในโดเมนเดียวกันเข้ามาใช้งาน Classroom ได้ เพื่อความยืดหยุ่นในการเข้าใช้งานระบบ ซึ่งจะสะดวกแก่การใช้งานในหลายกรณี เช่น กรณีนักเรียนจากต่างสถาบันเข้ามาเรียนด้วย
เปิดวิสัยทัศน์อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยโฉมหน้าก้าวสำคัญด้านการศึกษามุ่งสู่การพัฒนาบัณฑิตรองรับความต้องการตลาดงานและระบบเศรษฐกิจใหม่ “Value–Based Economy” พัฒนาหลักสูตรดิจิทัลครบวงจรทั้งดิจิทัลฟิล์ม-มีเดีย ไอที-นวัตกรรม และการตลาด เสริมความแกร่งให้นักศึกษาจากการผนึกพลังความร่วมมือพันธมิตรระดับโลกจากอเมริกา-แคนาดา และองค์กรธุรกิจเอกชนชั้นนำหลากหลายสนับสนุนการบ่มเพาะ Smart Enterprises และ Startups ศักยภาพสูงสู่ตลาดงานมาตรฐานสากล
วิทยาลัยออกแบบสื่อของมหาวิทยาลัย Torrens ของออสเตรเลียได้เปิดเผยว่า หลักสูตร PlayStation First Academic Development Program ซึ่งเป็นหลักสูตรพัฒนาเกมบน PlayStation ได้รับการรับรองจาก Sony ยุโรปแล้ว และเป็นแห่งที่ 2 ในออสเตรเลียที่ได้รับการรับรอง ตามหลัง Academy of Interactive Entertainment ที่ได้รับการรับรองตั้งแต่ปี 2013
การรับรองนี้เท่ากับว่ามหาวิทยาลัยและนักเรียนจะได้เข้าถึงชุดพัฒนาของทั้ง PS4 และ PS Vita รวมถึงความรู้ในการเขียนโค้ดสำหรับพัฒนาเกมบนแพลตฟอร์มทั้ง 2 ด้วย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยระบุว่าหลักสูตรนี้เปิดให้กับทั้งนักศึกษาสายครีเอทีฟ ออกแบบเกมและสายวิศวกรรมซอฟต์แวร์
บริษัทวิจัยตลาด Futuresource Consulting ออกรายงานสำรวจการใช้คอมพิวเตอร์ในตลาดภาคการศึกษาของสหรัฐ พบว่าตลาดรวมในปี 2016 เติบโตขึ้น 18% จากปีก่อน มีอุปกรณ์ขายได้ทั้งหมด 12.6 ล้านชิ้น
สิ่งที่น่าสนใจคือ แอปเปิล ที่เคยครองความเป็นเจ้าตลาดคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษามาโดยตลอด (เคยมีสัดส่วนสูงถึง 50% ในปี 2013) สูญเสียส่วนแบ่งตลาดไปมาก ในปี 2016 แอปเปิลมีส่วนแบ่งตลาดเหลือเพียง 19% (Mac 5% + iOS 14%) ลดลงจาก 25% ในปี 2015
เหตุผลสำคัญมาจาก Chromebook ของกูเกิลที่ตีตลาดอย่างหนัก ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจาก 50% ในปี 2015 มาเป็น 58% ในปี 2016 แล้ว ในขณะที่ไมโครซอฟท์ก็ทำผลงานได้คงเส้นคงวา ส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ราว 22% ไม่เพิ่มไม่ลด แต่ขึ้นมาเป็นอันดับสองแทนแอปเปิล
ในขณะที่บ้านเรากำลังถกเถียงกันอย่างเข้มข้นว่า eSport ถือเป็นกีฬาหรือไม่ ในประเทศมาเลเซีย มหาวิทยาลัย Asia Pacific University (APU) จับมือกับ eSports Malaysia (eSM) หน่วยงานรัฐซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมาธิการด้านกีฬาของมาเลเซีย เปิดตัว eSport Academy โรงเรียนบ่มเพาะบุคลากรด้าน eSport เริ่มการเรียนการสอนกันในเดือนเมษายน 2017 นี้
ในช่วงแรก eSport Academy จะโฟกัสที่การพัฒนานักกีฬา eSport มืออาชีพใน 4 เกมหลักที่ได้รับความนิยม คือ Dota 2, League of Legends, CS:GO และ FIFA Online และหลังจากนั้นจะมีการเปิดคอร์สเพิ่มเติมสำหรับด้านอื่นๆ ในอุตสาหกรรม eSport ต่อไป เช่น การบริการจัดการทีม หรือ อบรบด้านทักษะการพากย์เกม เป็นต้น
เรามักจะได้ยินชื่อ Raspberry Pi ในฐานะผู้ผลิตบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว และมีตัวเลือกแบบราคาย่อมเยา (Raspberry Pi Zero) เป็นสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ที่กลายร่างมาเป็นตัวต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ กระตุ้นการเกิดชุมชน maker จนไปถึงสนับสนุนวงการการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ตั้งแต่วัยเด็กกันเลยทีเดียว
วันนี้ มูลนิธิ Raspberry Pi ร่วมกับ Computing at School องค์กรรากหญ้า (grassroot organization) เพื่อครูผู้สอนคอมพิวเตอร์แห่งสหราชอาณาจักร สนับสนุนวงการไปอีกขั้นด้วยการเปิดตัวนิตยสารเป็นของตัวเองในชื่อ “Hello World” วางตัวเป็นสื่อสร้างเครือข่ายระหว่างครูและนักการศึกษา (educators) เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ร่วมกันภายใต้หัวข้อ computing and digital making จากทั่วทุกมุมโลก
Dell เปิดตัวแล็บท็อปแบบ 2-in-1 สำหรับภาคการศึกษา 2 รุ่นใหม่พร้อมรองรับปากกาสไตลัส และมีสเปคใกล้เคียงกันต่างกันแค่ระบบปฏิบัติการคือ Latitude ที่รันวินโดวส์และ Chromebook ที่รัน Chrome OS
ทั้ง Latitude และ Chromebook มีสองขนาดหน้าจอคือ 11 นิ้วและ 13 นิ้ว โดย Latitude 11 มีตัวเลือกซีพียูคือ Intel Pentium และ Celeron Gen 7th ส่วน Latitude 13 เพิ่ม Core i5 เข้ามาอีกหนึ่งตัวเลือกด้วย ส่วน Chromebook 11 มีเพียง Intel Celeron Gen 6th ขณะที่ Chromebook 13 มี Core i3 เพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งตัวเลือก
เป็นที่รู้กันดีว่า Chromebook มาแรงมากในตลาดภาคการศึกษา และชิงส่วนแบ่งตลาดจากไมโครซอฟท์-แอปเปิลไปมาก ล่าสุดไมโครซอฟท์จึงต้องเริ่มตอบโต้ ด้วยโครงการคอมพิวเตอร์ราคาถูก 189 ดอลลาร์
ไมโครซอฟท์จับมือกับผู้ผลิตพีซี 3 รายคือ HP, Acer, Lenovo ออกโน้ตบุ๊กราคาถูกมาเจาะตลาดการศึกษาโดยเฉพาะ รุ่นที่ถูกที่สุดคือ HP Stream 11 Pro G3 for Education และ Lenovo N22 ราคาเริ่มต้น 189 ดอลลาร์ แต่ก็ยังมีคอมพิวเตอร์รุ่นอื่นที่แพงขึ้นอีกหน่อย มาพร้อมกับฟีเจอร์พับจอได้และปากกาสไตลัส เช่น Lenovo N24, ThinkPad 11e, Acer TravelMate Spin B118 และ HP ProBook x360 11 Education Edition
ผู้ผลิตอีกรายที่ไมโครซอฟท์ไปจับมือด้วยคือ JP.IK ผู้ขายอุปกรณ์ไอทีสำหรับภาคการศึกษารายใหญ่ของโลก ออกโน้ตบุ๊กทรงกระเป๋าหิ้วชื่อ TURN T201 PC มีฟีเจอร์พับจอได้และปากกาสไตลัสด้วย
หลังซัมซุงเปิดตัว Chromebook Pro และ Chromebook Plus ที่รองรับปากกาสไตลัสไปก่อนหน้านี้ ล่าสุดมี Chromebook ที่รองรับปากกาเพิ่มอีก 2 รุ่นแล้วจาก Google for Education สำหรับภาคการศึกษาคือ Acer Chromebook Spin 11 และ Asus Chromebook C213
สำหรับสเปคมีเพียงรุ่น Acer Chromebook Spin 11 ที่เท่าที่มีรายละเอียดออกมาก่อน โดยตัวเลือกซีพียูมี Intel Celeron N3350 ดูอัลคอร์หรือ Celeron N3450 ควอดคอร์ แรม 4GB และ 8GB หน่วยความจำแฟลชแบบ eMMC ความจุ 32GB และ 64GB USB-C 3.1 สองพอร์ต USB-A 3.0 สองพอร์ต รองรับ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11ac, บลูทูธ 4.2 พร้อมพอร์ต microSD
Google ประกาศว่า G Suite for Education (ชื่อเดิม Google Apps for Education) มีผู้ใช้มากถึง 70 ล้านบัญชีทั่วโลกแล้ว เติบโตจากปีที่แล้ว 60 ล้านบัญชีและ 50 ล้านบัญชีเมื่อเดือนตุลาคมปี 2558
หัวใจสำคัญของ G Suite for Education ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่สนใจคือฟีเจอร์ Classroom ที่ช่วยให้คุณครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนระหว่างกันนั่นเอง
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายจัดการผลิตภัณฑ์สำหรับ Chrome สำหรับธุรกิจและการศึกษาของ Google ยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่ามี Chromebook มากถึง 20 ล้านเครื่องที่ใช้งานอยู่ในโรงเรียนเป็นประจำทุกสัปดาห์อีกด้วย
LEGO เปิดตัวสินค้าตระกูลใหม่ BOOST หุ่นยนต์เพื่อการศึกษาฝึกให้เด็กเขียนโปรแกรมสั่งการหุ่นยนต์ด้วยตัวเอง
BOOST แต่ละชุดจะประกอบด้วย Move Hub สำหรับสั่งการ, เซ็นเซอร์สีและระยะทาง, และมอเตอร์ และชิ้นส่วนเลโก้อีก 843 ชิ้น สำหรับประกอบหุ่นยนต์ได้ 5 แบบ ตัวซอฟต์แวร์มีกิจกรรมให้ฝึกฝนกับหุ่นยนต์ทั้ง 5 แบบรวม 60 กิจกรรม
ไมโครซอฟท์ร่วมกับ Code.org เปิดตัวบทเรียนสอนเขียนโปรแกรมด้วยเกม Minecraft ฉบับใหม่ ที่จะนำมาใช้สอนนักเรียนในโครงการ Hour of Code ประจำปีนี้
บทเรียนดังกล่าวมีชื่อว่า Minecraft Hour of Code Designer ซึ่งจะสอนให้นักเรียนได้ทดลองเขียนโปรแกรมด้วยการลากคำสั่งที่เตรียมไว้ให้มาประกอบกันเพื่อให้โปรแกรมทำงาน โดยสิ่งที่ได้จากบทเรียนนี้คือเด็กๆ จะได้เรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์ อย่าง object-oriented programming, event handlers ไปจนถึงการวนลูป
แอปเปิลร่วมกับ Code.org เปิดช่องทางลงทะเบียนผู้ที่สนใจเรียนเขียนโค้ดฟรี 1 ชั่วโมง (Hour of Code) เป็นเวลา 1 สัปดาห์เต็ม เรียนตั้งแต่วันที่ 5-11 ธ.ค. ที่ Apple Store ประมาณ 500 แห่งทั่วโลก
เนื้อหาในการเวิร์คช็อปครั้งนี้มีโปรแกรม CS ขั้นพื้นฐาน Swift Playgrounds โปรแกรมเขียนโค้ดขั้นพื้นฐานบนไอแพด และเนื้อหาอื่นที่เน้นให้ผู้เรียนมาทำงานร่วมกัน
กลุ่ม Big Brother Watch องค์กรในอังกฤษที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะในภาคการศึกษา เผยเอกสารวิจัย พบว่าโรงเรียนกว่าพันแห่งในอังกฤษใช้ซอฟต์แวร์ติดตามพฤติกรรมนักเรียน โดยซอฟต์แวร์ประเภทที่เรียกว่า Classroom Management Software
ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ติดตามพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ การเข้าอินเทอร์เน็ต ประวัติการท่องเว็บ แม้กระทั่งว่านักเรียนพิมพ์อะไรจากคีย์บอร์ดลงไปบ้าง ในเอกสารยังเผยอีกว่า โรงเรียนมัธยมกว่า 70 แห่งในอังกฤษติดตั้งอุปกรณ์และระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าวไปแล้วกว่า 8 แสนชิ้น
เว็บไซต์การเรียนรู้ออนไลน์ Udactiy ประกาศความร่วมมือกับ IBM Watson, Amazon Alexa และ Didi Chuxing บริการเรียกรถแท็กซี่รายใหญ่ของจีน เปิดตัวคอร์สอนวิชา AI ให้เรียนผ่านระบบออนไลน์
คอร์ส Artificial Intelligence ของ Udacity เป็นหลักสูตระยะสั้น (nanodegree) ออกแบบมาสำหรับตลาดแรงงานในอนาคตที่จะขาดแคลนทักษะด้าน AI อีกมาก เนื้อหาในคอร์สมีเรื่อง Search and Optimization, Logic, Reasoning & Planning, Building Models of Probability, Natural Language Processing, Computer Vision
คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม สร้างห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โดยใช้คอมพิวเตอร์เกมมิ่ง Acer Predator G3 ถึง 80 เครื่อง เพื่อให้นักศึกษาฝึกฝนการใช้งาน ตอบรับนโยบาย Thailand 4.0 โดยครอบคลุม 4 สาขาวิชาคือ ดิจิทัลอาร์ต ออกแบบกราฟิก แอนิเมชั่น-วิชวลเอฟเฟกต์ และ ทำเกม ถือเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียที่มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เกมมิ่งจาก Acer
ก่อนหน้านี้ไม่นาน Google เปลี่ยนชื่อ Google Apps เป็น G Suite มาแล้ว ล่าสุด กูเกิลเปลี่ยนชื่อ Google Apps for Education สำหรับภาคการศึกษา เป็น G Suite for Education
ปีที่แล้ว LinkedIn เข้าซื้อกิจการ Lynda.com เว็บไซต์การเรียนผ่านออนไลน์ เพื่อขยายตัวมายังธุรกิจด้าน e-learning อย่างจริงจัง วันนี้ LinkedIn เปิดตัวบริการใหม่ LinkedIn Learning ที่เป็นศูนย์รวมด้าน e-learning ของบริษัทแล้ว
เป้าหมายของ LinkedIn Learning คือช่วยพัฒนาทักษะของพนักงาน โดยดึงเนื้อหาจากทั้ง Lynda.com และในเครือข่ายของ LinkedIn เองมาผสมผสานกัน ตอนนี้ในระบบมีคอร์สการเรียนรู้ออนไลน์กว่า 9,000 คอร์ส และมีระบบแนะนำคอร์สที่น่าจะเหมาะสมกับเรา โดยอิงจากประวัติของเราบน LinkedIn ด้วย การเรียนมีทั้งผ่านวิดีโอ ฟังไฟล์เสียงบรรยาย และใช้งานได้จากแอพบนอุปกรณ์พกพา
เมื่อต้นปีนี้ ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ MinecraftEDU เปลี่ยนเป็น Minecraft: Education Edition เพื่อบุกตลาดการเรียนรู้ในห้องเรียนผ่าน Minecraft และหลังจาก Minecraft: Education Edition ทดสอบระบบมาได้สักพัก ตอนนี้ก็ใกล้ได้เวลาเปิดตัวรุ่นสมบูรณ์
Minecraft: Education Edition จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ โดยจะขายผ่าน Windows Store ในราคา 5 ดอลลาร์ต่อผู้ใช้หนึ่งคนต่อปี หรือถ้าโรงเรียนอยากซื้อเป็นจำนวนมากๆ ก็สามารถซื้อแบบไลเซนส์ชุดใหญ่กับทางไมโครซอฟท์ได้เช่นกัน
โครงการ Microsoft DreamSpark โครงการสำหรับนักศึกษา ที่จะได้รับซอฟต์แวร์อย่าง Windows และ Office ฟรีหรืออาจจะมาในราคาพิเศษ ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น Microsoft Imagine โดยการเปลี่ยนแปลงจะเริ่มต้นในไตรมาสที่ 1 ปีการเงิน 2017 โดยสถาบันการศึกษาและนักเรียนจะยังได้รับทุกสิ่งทุกอย่างคงเดิม ไม่มีการจ่ายเงินเพิ่ม
โครงการ DreamSpark เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี 2008 ครอบคลุมกว่า 80 ประเทศ และนักศึกษาราว 35 ล้านคน
ที่มา - ไมโครซอฟท์ via WinBeta