Amazon แบนร้านค้าขาย gadget จากจีนไปสามแบรนด์คือ RAVPower ขายพาวเวอร์แบงค์, Taotronics ขายหูฟัง และ VAVA ขายกล้อง ซึ่งทั้งสามแบรนด์อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกันคือ Sunvalley ก่อตั้งที่เสินเจิ้น
Jane Manchun Wong นักแกะแอปไปเจอทวิตเตอร์กำลังทดสอบฟังก์ชั่นติดป้ายกำกับโพสต์ที่มีเนื้อหาบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยคิดป้ายสามระดับคือ “รับข่าวสารล่าสุด” หรือให้คลิกเพิ่มเพื่อดูข่าวล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องที่โพสต์, “รับทราบข้อมูล” ให้คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม และ “ทำให้เข้าใจผิด” ในโพสต์ที่ให้ข้อมูลบิดเบือนจากความจริง
Facebook เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่จัดการกับผู้ที่มักเผยแพร่เนื้อหาผิดข้อเท็จจริง หรือนำไปสู่ความเข้าใจผิดไม่ว่าจะเป็นเรื่อง COVID-19 การเลือกตั้ง หรือเรื่องเกี่ยวกับ climate change
โดยผู้ใช้งานทั่วไปจะมองเห็นหน้าต่างแสดงการแจ้งเตือนหากกำลังจะกดไลค์เพจที่เผยแพร่ข้อมูลผิดบ่อย ผู้ใช้งานยังเลือกที่จะกดไลค์และติดตามเพจนั้นต่อได้หากต้องการ หรือกด learn more เพื่อดูตัวอย่างโพสต์ที่เผยแพร่ข้อมูลผิดได้
SafetyDetectives กลุ่มนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ cybersecurity ออกรายงานเปิดเผยฐานข้อมูล ElasticSearch แบบเปิด พบว่ามีการใช้รีวิวปลอมใน Amazon อันผิดจรรยาบรรณการค้าขาย พบฐานข้อมูลการรีวิวระหว่างผู้ขายของ Amazon และลูกค้าที่เต็มใจเขียนรีวิวปลอมเพื่อแลกกับสินค้าฟรี โดยรวมแล้วมีบันทึกไว้ 13,124,962 รายการ (ข้อมูล 7 GB) กระทบต่อข้อมูลมากกว่า 200,000 คน
Facebook เริ่มแปะป้าย (label) บอกใต้ชื่อเพจว่าเป็นเพจชนิดใด เช่น เพจอย่างเป็นทางการ (official page), เพจที่แฟนๆ ทำกันเอง (fan page) หรือเพจล้อเลียน (satire page) เพื่อแก้ปัญหาข่าวปลอม ผู้ที่เห็นโพสต์จะได้ระมัดระวังในการแชร์ข้อมูลที่อาจไม่ใช่ข้อมูลอย่างเป็นทางการ
จากภาพตัวอย่างของ Facebook คือเพจ Future Mayor of the Year ที่เป็นเพจล้อเลียน มีคำว่า Satire Page อยู่ใต้ชื่อเพจในทุกโพสต์ที่เห็นบน News Feed และกดเข้าไปดูจะเห็นคำอธิบายเพิ่มเติม
การเปลี่ยนแปลงนี้ยังมีผลเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น
TikTok เป็นโซเชียลมีเดียรายล่าสุดที่ออกมาจัดการบัญชีที่เผยแพร่ข้อมูลปลอมและความรุนแรงในเมียนมาร์อย่างเป็นทางการ หลังจากสื่อหลายรายเริ่มรายงานว่าบริษัทหละหลวมในการจัดการข้อมูลเหล่านี้ และปล่อยให้เผยแพร่ในเมียนมาร์เป็นเวลานาน
Rest of World รายงานว่า ทหารเมียนมาร์ได้โพสต์วิดีโอนับร้อยลง TikTok ตั้งแต่ยึดอำนาจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตั้งแต่โฆษณาชวนเชื่อในรัฐบาลทหาร ไปจนถึงข้อมูลปลอมที่สร้างความสับสนให้ผู้ประท้วง หรือแม้กระทั่งการข่มขู่จากทหารพร้อมกับอาวุธ
Twitter ประกาศแปะป้ายคำเตือนเรื่องวัคซีน COVID-19 ว่าอาจเป็นข้อมูลปลอมหรือชวนให้เข้าใจผิด ลักษณะเดียวกับที่แปะป้ายเตือนใต้ข้อความของ Donald Trump ช่วงก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดี
Twitter ระบุว่าที่ผ่านมาได้ลบข้อความที่มีข้อมูลผิดๆ ของโรค COVID-19 ไปแล้ว 8,400 ข้อความ และเตือนบัญชีไป 11.5 ล้านบัญชี
แนวทางของ Twitter ตอนนี้ใช้วิธีแจ้งเตือนบัญชีที่ทำผิดกฎ แบ่งตามระดับของความผิดซ้ำ เช่น ครั้งแรกจะเตือนอย่างเดียว แต่ถ้าทำผิดครั้งที่สองจะโดนล็อคบัญชี 12 ชั่วโมง ครั้งที่สามอีก 12 ชั่วโมง ครั้งที่สี่ 7 วัน และครั้งที่ห้าจะแบนบัญชีถาวร
Instagram ประกาศปิดฟีเจอร์ "Recent" ในหน้า hashtag ชั่วคราว มีผลเฉพาะผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา เพื่อลดการแพร่กระจายของข่าวปลอมในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสัปดาห์หน้า
ปกติแล้วเวลาค้นหา hashtag ใน Instagram แอพจะแสดงโพสต์ที่อยู่ภายใต้แท็กนั้นแยก 2 แท็บคือ "ยอดนิยม" (Top) และ "ล่าสุด" (Recent) สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือหน้า Recent จะถูกปิดชั่วคราว
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีวิดีโอจากกลุ่ม American Principles Project เผยแพร่ว่า Joe Biden ผู้สมัครท้าชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯจากเดโมแครต สนับสนุนการแปลงเพศในเด็ก โดยใช้ฟุตเทจจากงานทาวน์ฮอลล์ของ ABC เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ซึ่งเป็นการนำคำพูดของ Biden มาบางส่วนทำให้เกิดความเข้าใจผิด จริงๆ แล้ว Biden พูดว่าเด็กข้ามเพศไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติ แต่เขาไม่ได้บอกว่าเด็กมีสิทธิ์ในการแปลงเพศ
วิดีโอดังกล่าวก็เพผยแพร่ไปแล้วยังโซเชียลมีเดียหลักทั้ง Facebook และ Twitter มีคนรับชมไปแล้วกว่า 15,000 ครั้ง และมีวิดีโอที่คล้ายกันปรากฏบน Facebook มากถึง 100,000 ครั้งโดยส่วนใหญ่อยู่ในรัฐมิชิแกนซึ่งเป็น swing state นอกจากโซเชียลมีเดียแล้ว ข้อความและลิงค์วิดีโอยังถูกส่งไปยัง SMS ทางกลุ่ม American Principles Project ยังไม่ตอบข้อซักถามว่า ข้อความถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ต่างๆ ได้อย่างไร เก็บข้อมูลเบอร์โทรมาจากไหน
ทวิตเตอร์ทดสอบ Birdwatch เป็นตัวช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา จะมองเห็นเป็นไอคอนรูปแว่นตาตรงด้านล่างขวาของโพสต์ ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มโพสต์หรือเว็บไซต์เข้าไปที่ Birdwatch ได้ เพื่อให้ตรวจสอบเนื้อหาเพิ่มเติม
ความน่าสนใจคือ ผู้ใช้สามารถเขียนโน้ตแจ้งรายละเอียดทิ้งไว้ได้ว่าเนื้อหาต้นทางหรือโพสต์ดังกล่าวมีปัญหาตรงไหน และยังเข้าถึงได้แบบ public ด้วย ซึ่งเป็นการให้สังคมช่วยตรวจสอบเนื้อหา แทนที่จะเป็นอำนาจและสิทธิ์ของทวิตเตอร์ฝ่ายเดียว
WhatsApp พยายามแก้ปัญหาข่าวปลอมในห้องแชท ด้วยการจำกัดการ forward ข้อความที่ได้รับการส่งต่อเยอะๆ เพื่อสกัดกั้นการระบาดของข่าวปลอม ผลคือสามารถลดจำนวนข่าวปลอมลงได้ถึง 70%
ล่าสุด WhatsApp เพิ่มฟีเจอร์ต่อยอดจากการจำกัดข่าวปลอม โดยจะขึ้นข้อความเตือนผู้ใช้งานว่า ควรตรวจสอบข้อความนี้ผ่าน search engine ก่อน ถ้ากดยืนยัน WhatsApp จะนำข้อความนี้ไปค้นในกูเกิลเพื่อให้ตรวจเช็คได้ง่ายๆ ว่าเป็นข้อมูลจริงหรือปลอม
WhatsApp บอกว่าฟีเจอร์นี้รักษาความเป็นส่วนตัวของข้อความแชท เพราะเป็นการส่งเนื้อหาข้อความไป search ผ่านเบราว์เซอร์ในเครื่องผู้ใช้ โดยที่ WhatsApp ไม่สามารถอ่านข้อความนั้นได้ด้วย
บริการโซเชียลยอดนิยมทั้ง Facebook, Twitter, YouTube พร้อมใจกันแบนวิดีโอเกี่ยวกับยารักษา COVID-19 ที่เป็นข้อมูลผิดๆ และถูกรีทวิตโดย Donald Trump (รวมถึงลูกชายของเขาคือ Donald Trump Jr.)
วิดีโอนี้เป็นการแถลงข่าวของกลุ่มแพทย์ที่เรียกตัวเองว่า America's Frontline Doctors และเผยแพร่ผ่านช่องทางของ Breitbart สำนักข่าวฝ่ายขวาที่สนับสนุน Trump มาโดยตลอด เนื้อหาในวิดีโอเป็นแพทย์ที่อ้างว่า ไฮดรอกซีคลอโรควิน (hydroxychloroquine) ซึ่งเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย สามารถใช้รักษาโรค COVID-19 ได้ (องค์การอนามัยโลก WHO สั่งระงับการทดลองใช้ไปตั้งแต่เดือน พ.ค. เพราะมีแนวโน้มให้ผู้ป่วย COVID-19 เสียชีวิตเพิ่มขึ้น - BBC)
Google ประกาศมาตรการแบนโฆษณาที่ให้ข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้นในเดือนหน้า หากพบเว็บไซต์ใดพยายามโฆษณาข้อมูลซ้ำ ๆ จะถูกแบนจากแพลตฟอร์มโฆษณาของ Google
ปัจจุบัน Google มีมาตรการแบนข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพที่อันตรายบนโลกออนไลน์อยู่แล้ว และทางบริษัทก็จัดการลบโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ ลักษณะนี้ไปแล้วกว่า 200 ล้านรายการ ส่วนนโยบายใหม่ Google จะเข้มงวดมากขึ้น คอนเทนต์เกี่ยวกับไวรัสที่ขัดแย้งกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ส่วนมากที่เชื่อถือได้จะไม่ได้รับอนุญาตให้โฆษณา
Joe Biden ผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครต ออกมาเปิดแคมเปญเรียกร้อง Facebook ให้แก้ปัญหาข่าวปลอม และบังคับใช้นโยบายเซ็นเซอร์โพสต์อย่างเท่าเทียม ให้ครอบคลุมถึงประธานาธิบดี Donald Trump ที่เป็นคู่แข่งด้วย หลังจาก ยืนยันไม่ลบโพสต์ของ Donald Trump ที่สร้างความขัดแย้ง
ในจดหมายของ Biden บอกว่าหลังจากเหตุการแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2016 โดยหน่วยข่าวกรองของรัสเซีย ทาง Facebook ก็สัญญาว่าจะแก้ปัญหา แต่เวลาผ่านมา 4 ปี ปัญหาแบบเดิมๆ ก็ยังเกิดขึ้นเหมือนเดิม แพลตฟอร์ม Facebook เต็มไปด้วยข่าวปลอม และ Facebook ก็ยอมให้ Donald Trump โพสต์อะไรก็ได้ แถมบริษัทยังมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการรับเงินค่าโฆษณาของนักการเมือง
ในช่วงโรคระบาดนี้ มีทฤษฎีความเชื่อผิดๆ เกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็น สัญญาณ 5G เร่งการกระจายโรค COVID-19, Bill Gates เป็นต้นเหตุของ COVID-19 เป็นต้น ล่าสุด YouTube เพิ่มฟีเจอร์ แสดงผลการตรวจสอบข่าวปลอมในหน้าค้นหาในสหรัฐฯ หลังจากที่ได้เปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ในอินเดียและบราซิลแล้ว
เนื้อหาที่แสดงได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหน่วยงานตรวจสอบข่าว เช่น Dispatch, FactCheck.org, PolitiFact และ The Washington Post Fact Checker ผู้ใช้งานสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดว่า ข่าวปลอมนั้นมีเนื้อหาอะไร และเหตุผลที่ทำให้ข่าวนั้นปลอม ดูไม่น่าเชื่อถือ
มีผู้พบข้อมูลสื่อการตลาดของ Alipay แพลตฟอร์มบริการรับจ่ายเงินของ Alibaba โดยระบุว่า iOS 13.4 จะออกมาให้อัพเดตในวันที่ 17 มีนาคม ซึ่งตัวอัพเดตจริงน่าจะออกมาในช่วงคืนวันที่ 17 มีนาคม หรือเช้า 18 มีนาคม (ภาพดูได้จากที่มา)
รายละเอียดระบุว่า iOS 13.4 นั้น Apple Pay จะรองรับการเชื่อมต่อกับกระเป๋าเงิน Alipay ซึ่งอาจถือเป็นการขยับครั้งสำคัญ เพราะทำให้ Apple Pay เข้าถึงฐานลูกค้าในจีนจำนวนมากได้
ฟีเจอร์อื่นของ iOS 13.4 ที่ออกมาในเวอร์ชันเบต้าสำหรับนักพัฒนา มีทั้ง iCloud Folder Sharing, Memoji กับ Animoji ใหม่ และอีกหลายรายการ
ที่มา: MacRumors
อัพเดตข้อมูลเพิ่มตามคำชี้แจงของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของรัฐ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของรัฐ ที่ก่อตั้งโดยกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ถูกจับได้ว่าเผยแพร่ข่าวปลอมเรื่องไวรัส COVID-19
เรื่องราวเริ่มต้นจาก Khaosod Online เผยแพร่ข่าวที่อ้างอิงจากสถานทูตไทยในลอนดอน ระบุว่าคนไทยที่เดินทางเข้าสหราชอาณาจักรอาจต้องถูกกักกันเพื่อดูอาการ 14 วัน ถ้าพวกเขามีอาการส่อว่าจะเกิดโรค ไมว่าจะเป็นไข้ ไอ จาม หายใจติดขัด
หลังจากนั้นศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ว่าข่าวของ Khaosod Online ไม่เป็นความจริง และบอกด้วยว่าเพจสถานทูตไทยในลอนดอนนั้นเป็นเพจปลอม ซึ่ง Khaosod Online ได้ตรวจสอบเพจแล้วว่าเป็นเพจจริง ซึ่งล่าสุด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็ลบโพสต์ที่ตัวเองเผยแพร่แบบผิดๆ ออกไปแล้วโดยไม่มีการชี้แจงแต่อย่างใด สามารถดูหน้าตาโพสต์ข่าวของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ที่แหล่งข่าวต้นทาง
ทวิตเตอร์เริ่มทดสอบการแจ้งเตือนทวีตที่ชี้นำในทางที่ผิดอย่างเป็นอันตราย (harmfully misleading) โดยแสดงให้เด่นด้วยสีแดงและส้ม พร้อมทั้งให้ข้อมูลจากสำนักข่าวรวมถึงแหล่งข้อมูลที่ได้รับการยืนยันแล้ว
สำหรับฟีเจอร์นี้ ตัวแทนของทวิตเตอร์ได้ให้ข้อมูลกับ NBC News ว่าเป็นหนึ่งในวิธีที่ทางบริษัทกำลังทดสอบเพื่อจัดการข้อมูลปลอมตามนโยบายต่อต้านข้อมูลปลอมที่ทางบริษัทเตรียมบังคับใช้จริงวันที่ 5 มีนาคมนี้ ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่กฎควบคุม deepfake จะเริ่มบังคับใช้งาน
ทวิตเตอร์ออกกฎใหม่สำหรับจัดการกับสื่อประเภท deepfake อย่างเป็นทางการ โดยนโยบายใหม่นี้จะจำกัดไม่ให้แชร์ข้อมูลปลอมที่อาจสร้างผลกระทบหรือความเสียหายได้
ทวิตเตอร์มีปัจจัยในการพิจารณาทวีตอยู่ 3 ข้อ ว่าจะทำเครื่องหมาย, แสดงข้อความเตือนหรือลบทวีตเหล่านั้นหรือไม่ ดังนี้
Jigsaw หน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยีในเครือ Alphabet กำลังพัฒนาเครื่องมือใหม่ Assembler ที่ช่วยตรวจจับรูปภาพที่ผ่านการดัดแปลง ปลอมแปลง หรือใช้เทคโนโลยี deepfake เป้าหมายคือให้นักข่าวสามารถนำเครื่องมือไปใช้ตรวจสอบเนื้อหาได้ เพื่อสู้กับข่าวปลอม
ในขณะที่รูปภาพถ้าผ่านการดัดแปลงผ่าน Photoshop ตามนุษย์ยังพอสังเกตความผิดปกติในรูปภาพได้ แต่ก็ยัง
มีการดัดแปลงรูปภาพอีกหลายอย่างที่คอมพิวเตอร์สามารถมองออก เช่น แพทเทิร์นซ้ำๆ กันในรูปภาพ และภาพที่ดัดแปลงจาก deepfake ซึ่งมีความแนบเนียนมากขึ้นทุกที
Facebook ประกาศมาตรการด้านข้อมูลไวรัสโคโรน่าบนแพลตฟอร์ม เริ่มลบเนื้อหาปลอมที่คัดกรองโดยองค์กรที่เกี่ยวกับสุขภาพภายนอก พุ่งเป้าไปที่เนื้อหาการรักษาไวรัสแบบผิดๆ เช่น ดื่มเครื่องดื่มอะไรสักอย่างเพื่อกำจัดเชื้อไวรัส เป็นต้น และบล็อกแฮชแท็กที่เผยแพร่ข้อมูลผิดเกี่ยวกับไวรัสด้วย
นอกจากนี้ Facebook ระบุด้วยว่าจะให้องค์กรที่เผยแพร่ข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าฟรีทั้งบน Facebook และ Instagram นอกจากนี้ ถ้าผู้ใช้งานกดค้นหาข้อมูลหรือกดแฮชแท็กเกี่ยวกับไวรัส ระบบจะขึ้นป๊อบอัพแสดงข้อมูลที่น่าเชื่อถือจาก WHO (World Health Organization) ขึ้นมาก่อน
ไวรัสโคโรน่าระบาด ข่าวปลอมเกี่ยวกับไวรัสก็ระบาดด้วยเช่นกัน ที่สิงคโปร์มีผู้ใช้งาน Facebook เผยแพร่ข่าวปลอมว่าพบเจอผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าที่สถานีรถไฟและมีการปิดสถานีรถไฟฟ้า Woodlands MRT เพื่อทำการฆ่าเชื้อ
ข่าวปลอมดังกล่าวแพร่กระจายออกไป และมีผู้ใช้งาน Facebook นำไปโพสต์ต่อๆ กันเป็นจำนวนมาก จนกระทรวงคมนาคมของสิงคโปร์ออกมาโพสต์แก้ข่าวว่าไม่เป็นความจริง สถานีรถไฟยังทำงานปกติ โดยขอให้ประชาชนเน้นตามข่าวผ่านช่องทางรัฐบาลเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น www.moh.gov.sg หรือกลุ่ม Whatsapp ที่ https://go.gov.sg/whatsapp
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม Khaw Boon Wan เริ่มดำเนินการกับ Facebook ให้ทำการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ภายใต้กฎ Protection from Online Falsehoods and Manipulation Act (Pofma) ของสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นกรณีที่สองแล้วของไวรัสโคโรน่า โดยกรณีแรกเป็นข่าวปลอมจากนิตยสาร SPH ที่แพร่ข่าวปลอมผ่านฟอรั่ม HardwareZone ที่บอกว่ามีคนตายในสิงคโปร์จากเชื้อไวรัส
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี โพสต์ Facebook เผยว่าได้ไปเยือน Facebook ที่สหรัฐฯ และได้ไปหารือเรื่องมาตรการจัดการกับข่าวปลอม ข้อมูลปลอม หรือเพจที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย และยังย้ำด้วยว่าเรื่องเหล่านี้เป็น "ปัญหาหนักของประเทศไทย"
AFP ทำรายงาน fact-check ต้านข่าวปลอมมาตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ออกบทความแสดงข่าวปลอมจากทั่วโลกรวมไทยด้วย ล่าสุดมีข่าวไทยที่เป็นข่าวการเมืองชิ้นแรก เป็นข่าวเกี่ยวกับ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ปลอมใบ สด.9 เผยแพร่โดยบัญชีทวิตเตอร์รายหนึ่งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา
AFP ระบุว่าข่าวชิ้นนี้เป็นข่าวปลอมและภาพใบ สด.9 ที่ระบุในข่าวก็เป็นภาพจากวิกิพีเดีย พร้อมอ้างอิงถึงนายธนาธรที่ออกมาแก้ข่าวว่าไม่เป็นความจริงด้วย
Facebook มีแผนเพิ่มเครื่องหมายสื่อบนแพลตฟอร์มว่ามีการสนับสนุนจากภาครัฐหรือไม่ โดยแผนของ Facebook กำหนดว่าภายในเดือนพฤศจิกายน แต่ CNN Business รายงานว่า Facebook ยังคงพบกับความยุ่งยากในการกำหนดเครื่องหมายเหล่านี้ ทำให้กำหนดการล่าช้าออกไป
Facebook ระบุว่า ทางบริษัทจะอิมพลีเมนต์เครื่องหมายให้สำนักข่าวซึ่ง “อยู่ภายใต้การควบคุมบทบรรณาธิการจากรัฐบาลของตัวเองทั้งหมดหรือบางส่วน” ว่าเป็น “สื่อภายใต้การควบคุมของรัฐ” เพื่อเป็นการสร้างความโปร่งใสให้ข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์ม
สื่อที่ชัดเจนว่าอยู่ภายใต้รัฐบาลอย่างเช่น RT ของรัสเซีย หรือ CGTN, Xinhua ของจีนนั้นมีข้อมูลระบุชัดว่าได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐและควบคุมโดยรัฐบาลนั้นไม่ใช่ปัญหา