Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook ได้เผยถึงวิธีที่จะจัดการเกี่ยวกับการโฆษณาด้านการเมืองบนแพลตฟอร์ม Facebook เพื่อให้การโฆษณาบนแพลตฟอร์มมีความโปร่งใส และเป็นการรับมือกับปัญหาข่าวปลอมที่อาจเกิดขึ้นได้อีกบนแพลตฟอร์ม โดยมีทั้งหมด 3 ข้อดังนี้
มีผู้พบว่าระบบแจ้งเตือนข่าวสารทางการเงิน Dow Jones Newswires ก็ไม่พ้นเจอปัญหา ข่าวปลอม โดยในวันนี้หลังเปิดการซื้อขายตลาดหุ้นในอเมริกาไปไม่กี่นาที ก็มีพาดหัวข่าวแจ้งว่า กูเกิลประกาศซื้อกิจการแอปเปิล ด้วยมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์ โดยกูเกิลบอกว่าสตีฟ จ็อบส์ก็เห็นด้วยกับดีลนี้ และการซื้อขายจะเสร็จสิ้นวันพรุ่งนี้
ข่าวนี้ไม่ส่งผลต่อราคาหุ้นของทั้งกูเกิลและแอปเปิล เนื่องจากใครได้อ่านแล้วก็คงทราบได้ว่าไม่น่าจะเป็นข่าวจริง
ล่าสุดทาง Dow Jones ได้ขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยบอกว่าเป็นปัญหาขัดข้องทางเทคนิค ทำให้พาดหัวข่าวนี้ถูกส่งออกมา ซึ่งตอนนี้ได้นำออกไปจากระบบแล้ว
The Washington Post รายงานว่า ตอนนี้ Google กำลังตรวจสอบรายละเอียดเรื่องนี้ในขั้นต้น โดยทางบริษัทกำลังอยู่ในกระบวนการแยกโฆษณา โดยพบว่าโฆษณาเหล่านี้แพร่ไปทั้ง Gmail, YouTube และ Google Search
โฆษกของ Google ให้รายละเอียดกับ The Verge ว่าทางบริษัทได้ตั้งกฎเกี่ยวกับการโฆษณา ซึ่งมีการจำกัดเป้าหมายการโฆษณาทางด้านการเมือง และการปิดกั้นการตั้งเป้าหมายโฆษณาตามเชื้อชาติและศาสนา ซึ่งทางบริษัทกำลังจะตรวจสอบรายละเอียดให้ลึกลงไปอีกเกี่ยวกับความพยายามในการใช้ระบบในทางที่ผิด โดยจะทำงานร่วมกับนักวิจัยและบริษัทอื่น ๆ ในการสืบสวนหารายละเอียดต่อไป
แม้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯผ่านไปแล้ว แต่ปัญหาข่าวปลอมยังกดดัน Facebook อยู่ และ Facebook ก็ให้สัญญาว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้แพลตฟอร์มสะอาดปราศจากข่าวปลอม ก่อนหน้านี้Facebook จ้างคนเพิ่มเป็นพันรายเพื่อตรวจสอบข่าวและโฆษณาจากบัญชีน่าสงสัย ล่าสุดออกมาเผยว่ากำลังทำฟีเจอร์ที่คาดว่าจะเป็นไม้ตายสู้กับข่าวปลอมได้
Facebook กำลังทดลองฟีเจอร์ให้ผู้ใช้ตรวจสอบข่าวสารบน News Feed ได้โดยไม่ต้องออกจาก Facebook เลย คือเพิ่มปุ่ม Information หรือปุ่ม i ขึ้นมาใต้ลิงก์ข่าว เมื่อผู้ใช้กดที่ปุ่มนั้นระบบจะแสดงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้น เช่น มาจากสำนักข่าวอะไร ข้อมูลเกี่ยวกับสำนักข่าวนั้นๆ รวมถึงข่าวนี้มีเว็บไซต์ข่าวไหนนำเสนออีกบ้าง ระบบยังแสดงโลเคชั่นด้วยว่าข่าวนี้มีการแชร์ที่พื้นที่ใดบ้าง และหากในกรณีที่มีข่าวไม่น่าเชื่อถือปรากฏบน News Feed ระบบก็จะไม่แสดงลิงก์ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง
Facebook เขียนบล็อกตอบคำถาม Hard Questions เรื่องบัญชีปลอมจากรัสเซียเข้าซื้อโฆษณา 3,000 ชิ้นช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016
หนึ่งในคำถามที่ประชาชนอยากรู้คือ บรรดาโฆษณาดังกล่าวเข้าถึงคนจำนวนเท่าไร ซึ่ง Facebook เผยว่าเข้าถึง (reach) ผู้ใช้ Facebook ในสหรัฐฯประมาณ 10 ล้านคน และ 44% ของโฆษณาทั้ง 3,000 ชิ้น ผ่านตาผู้ใช้ก่อนถึงวันเลือกตั้ง, 56% ปรากฏหลังการเลือกตั้งจบ, 25% ไม่ผ่านตาผู้ใช้ Facebook
ส่วนเม็ดเงินซื้อโฆษณา Facebook ระบุว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของโฆษณาที่เป็นปัญหาซื้อในราคาต่ำกว่า 3 ดอลลาร์ มี 1% ของโฆษณาที่ซื้อแพงมากกว่า 1,000 ดอลลาร์
จากเหตุโศกนาฏกรรมมือปืนกราดยิงที่ลาสเวกัสเมื่อวานนี้ (2 ตุลาคม 2017) พบข่าวปลอมจากแหล่งข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือถูกโปรโมทบนแพลตฟอร์มทั้ง Facebook และ Google แถมยังเผยแพร่นานเป็นชั่วโมง กว่าจะถูกนำออกจากแพลตฟอร์ม
Facebook มีฟีเจอร์ Safety Check และ Crisis Response ผู้ใช้สามารถระบุความปลอดภัยของตัวเองได้ระหว่างเกิดเหตุการณ์อันตรายหรือภัยธรรมชาติ รวมถึงเหตุกราดยิงเมื่อวานนี้ด้วย โดยในหน้า Safety Check ซึ่งนอกจากผู้ใช้จะแสดงตัวว่าปลอดภัยแล้ว ระบบยังแสดงข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ด้วย
จากประเด็นบัญชี Facebook ปลอมรันโฆษณาช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ จุดกระแสประเด็นข่าวปลอมช่วยให้โดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งให้กลับมาอีกครั้ง และดูเหมือนว่าสายตาเพ่งเล็งไปที่ Facebook มากเป็นพิเศษ
ล่าสุดทวิตเตอร์ออกมาเผยว่า ได้เข้าเจรจากับคณะกรรมการรัฐสภา เรื่องการสืบสวนหาหลักฐานการแทรกแซงของรัสเซียในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2016 โดยวันนี้ Colin Crowell รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะของทวิตเตอร์ เข้าพูดคุยกับคณะกรรมการด้านข่าวกรอง หรือ House Permanent Select Committee on Intelligence รวมทั้งเผยข้อสงสัยการผลการสืบสวนภายในเป็นตัวเลขคร่าวๆ
ทวิตเตอร์เผยว่า จากบัญชีน่าสงสัยใน Facebook ประมาณ 450 บัญชี มีประมาณ 22 บัญชีที่เกี่ยวข้องกับทวิตเตอร์ด้วย บัญชีเหล่านั้นถูกระงับเรียบร้อยแล้ว และจากการสอบสวนต่อ พบว่ามีอีกประมาณ 179 บัญชีที่เชื่อมโยงกันและละเมิดกฎของทวิตเตอร์ แต่ทวิตเตอร์ระบุว่าบัญชีกลุ่มดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ซื้อโฆษณาบนแพลตฟอร์ม
จากประเด็นบัญชีปลอมจากรัสเซียซื้อโฆษณาเพื่อการเมืองบน Facebook ช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ซีอีโอ Mark Zuckerberg ต้องออกมาประกาศว่าจะจัดการแพลตฟอร์มโฆษณาของตัวเองให้ดีขึ้น หาโซลูชั่นยืนยันตัวตนบุคคลและกลุ่มคนที่มาซื้อโฆษณา ขณะเดียวกันฝ่ายการเมืองก็ออกมาเรียกร้องว่าให้มีการเปิดเผยข้อมูลการซื้อโฆษณาของ Facebook โดยเฉพาะโฆษณาที่มีเป้าหมายทางการเมือง
The Washington Post รายงานว่า หลังจากผลการเลือกตั้งปี 2016 ออกมาเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าโดนัลด์ ทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดี อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ถึงกับมาพูดคุยกับ Zuckerberg ด้วยตัวเอง เพื่อให้เขาตระหนักว่าปัญหาข่าวปลอมบน Facebook สร้างผลกระทบแย่กว่าที่คิด
Facebook ได้เปิดเผยรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากรัสเซียในปี 2016 ซึ่งทางบริษัทได้ทำการมอนิเตอร์กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มของ Facebook เพื่อให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น
จากการที่ Facebook ได้ดูรายละเอียดเรื่องการซื้อโฆษณานั้น พบว่ามีการใช้เพจและบัญชีปลอมกว่า 470 บัญชีในการเข้าซื้อโฆษณาทั้งหมด 3,000 โฆษณา คิดเป็นเงิน 1 แสนดอลลาร์ ตั้งแต่ช่วงมิถุนายน 2015 - พฤษภาคม 2017 โดยจากการวิเคราะห์โดย Facebook พบว่าบัญชีเหล่านี้ถูกจ้างวานจากใครบางคน และน่าจะอยู่นอกประเทศรัสเซีย
เรื่องข่าวปลอมไม่ใช่ประเด็นที่ Google และ Facebook ต้องจัดการเพียงลำพังอีกต่อไป เพราะล่าสุด Mozilla ผู้สร้างเว็บบราวเซอร์ Mozilla Firefox ก็กระโดดเข้าร่วมด้วย โดยเปิดตัว MITI (Mozilla Information Trust Initiative) ทำเทคโนโลยี วิจัยแก้ปัญหาข่าวปลอมและข้อมูลผิดๆ บนโลกออนไลน์
สิ่งที่ Mozilla ระบุจะทำคือ
ข่าวปลอมเป็นปัญหาใหญ่ของ Facebook มาพักใหญ่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งล่าสุด ตอนนี้ ทางแก้ปัญหาคือการจำกัดการแก้ไขข้อมูลตรง link preview ทำให้ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้อีก เนื่องจากพวกข่าวปลอมจะใช้ช่องทางนี้ในการดักผู้อ่านให้เข้าไปอ่านข่าวปลอมที่ผู้อ่านไม่เคยสนใจมาก่อนได้ Facebook เชื่อว่านี่จะเป็นอีกขั้นตอนที่ช่วยกำจัดพวกข่าวปลอมได้
ไม่เพียง Facebook ที่เจอปัญหาข่าวปลอม WhatsApp ก็เจอปัญหาหนักไม่แพ้กัน แต่ดูเหมือนจะหนักกว่าเพราะข่าวปลอมที่แพร่ใน WhatsApp ส่งผลต่อสถานการณ์จริงด้วย
รายละเอียดคือมีคอนเทนต์หนึ่งเผยแพร่ใน WhatsApp ประเทศบราซิล ว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งอายุราว 20 ปี กับผู้ชายสูงอายุประมาณ 60 ปี ลักพาตัวเด็กๆ ไปค้ามนุษย์ จนกระทั่งมีคนหนึ่งสังเกตุเห็นว่ามีบุคคลตรงตามข่าวลือที่แพร่ใน WhatsApp ในเขต Lake District กรุงริโอ เดอจาเนโร ทั้งคู่ขับรถสีขาว 1989 Ford Escort มีคนถ่ายภาพทั้งคู่ได้และภาพก็แพร่ไปใน WhatsApp ทำให้มีฝูงชนเข้าไปล้อมทั้งคู่และทำร้ายร่างกายพวกเขา แต่โชคดีที่ไม่ถึงแก่ชีวิต เพราะเพื่อนของฝ่ายหญิงเข้าไปช่วยไว้ และระบุว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักพาตัวเด็ก
ทีมวิศวกรของ Facebook ได้อัพเดตเพิ่มเติมถึงกระบวนการจับพาดหัวข่าว Clickbait เพื่อให้แสดงผลน้อยลงใน News Feed โดยเป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งมีสิ่งสำคัญเพิ่มเติม 3 รายการดังนี้
ข่าวปลอมเป็นประเด็นที่ทำให้ Facebook ถูกโจมตีอย่างหนักตั้งแต่ช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และดูเหมือนว่าการปรับปรุงฟีเจอร์ อัลกอริทึมให้ความสำคัญกับข่าวปลอมน้อยลงจะยังไม่เพียงพอ Facebook จึงอัดแคมเปญสร้างความรับรู้แยกแยะข่าวปลอมลงหน้าโฆษณาหนังสือพิมพ์ในอังกฤษด้วย เช่น The Times, The Guardian และ Daily Telegraph
เนื้อหาแคมเปญเป็นการแนะนำ 10 วิธีแยกแยะข่าวปลอม เช่น ตั้งข้อสงสัยพาดหัวข่าวไว้ก่อนเสมอ ดูที่ลิงก์ URL ให้ดีว่ามีสัญลักษณ์อะไรแปลกๆ ดูที่มาข่าว รูปแบบข่าว ภาพข่าว วันที่ เป็นต้น
Facebook พยายามทุกทางในการแก้ปัญหาข่าวปลอม (แต่ยังไม่ค่อยสำเร็จมากนัก) ล่าสุดบริษัทใช้ฟีเจอร์ Related Articles ที่แนะนำบทความใกล้เคียงกับลิงก์ที่เรากดใน News Feed มาช่วยแก้ปัญหาข่าวปลอมอีกทางหนึ่ง
แนวทางแบบใหม่ของ Facebook คือนำเสนอ Related Articles บนหน้า News Feed ในตำแหน่งใกล้ๆ กับโพสต์เลย (เพิ่มโอกาสที่เราจะเห็นบทความในหัวข้อเดียวกันจากแหล่งข่าวอื่น ก่อนกดไปยังลิงก์ในโพสต์) การเพิ่มพื้นที่ตรงนี้เข้ามา ช่วยให้ผู้ใช้มีโอกาสรับมุมมองอื่นจากแหล่งข่าวอื่น ในประเด็นข่าวเดียวกัน
ฟีเจอร์นี้ยังอยู่ในขั้นทดลองใช้งาน และ Facebook จะประเมินผลต่อไป
ที่มา - Facebook
Google Search ประกาศปรับอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาข่าวปลอม-ข้อมูลผิดๆ บนอินเทอร์เน็ต การปรับอัลกอริทึมครั้งนี้จะส่งผลให้เนื้อหาปลอม เช่น บทความที่บอกว่าการฆ่าล้างพันธุ์ชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองไม่ได้เกิดขึ้นจริง (holocaust denial) มีโอกาสโผล่ในผลการค้นหาน้อยลง
นอกจากการปรับอัลกอริทึมโดยตรงแล้ว กูเกิลยังปรับคู่มือการทำงานของคนตรวจสอบคุณภาพของผลการค้นหา (Search Quality Rater) ให้ละเอียดขึ้นในเรื่องการตรวจสอบข่าวปลอม หรือเนื้อหาที่รุนแรง เพื่อกระบวนการนำเนื้อหาเหล่านี้ออกจะได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น
Jimmy Wales ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิพีเดีย ประกาศเปิดตัวเว็บไซต์แหล่งข่าวและข้อมูลใหม่อีกเว็บคือ Wikitribune เพื่อสู้กับปัญหาข่าวปลอม Wikitribune จะเป็นเว็บไซต์อิสระไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดีย เป็นการรวมตัวกันของนักข่าวมืออาชีพและคนตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวมาทำงานร่วมกันบนเว็บไซต์
หนึ่งในสาเหตุปัญหาข่าวปลอมบน Facebook คือบัญชีสแปม โดย Facebook เผยว่าได้ตรวจสอบบัญชีสแปมที่มีคนติดตามกดไลค์มากกว่า 1 แสนคน และมีพฤติกรรมเผยแพร่เนื้อหาคุณภาพต่ำ และสามารถระงับบัญชีสแปมไปแล้วกว่า 3 หมื่นบัญชีภายในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
การสร้างบัญชีปลอมหรือบัญชีไม่มีตัวตนใน Facebook ทำได้ยากกว่าแต่ก่อน เพราะต้องยืนยันเบอร์โทรศัพท์หรือข้อมูลระบุตัวตนอื่นๆ แต่บัญชีสแปมมีวิธีหลบเลี่ยง เปลี่ยนเส้นทางการรับส่งข้อมูลผ่าน proxy ที่สามารถปลอมแปลงตำแหน่งได้ โดยบัญชีที่สแปมที่พบเป็นบัญชีจากประเทศบังกลาเทศ ซาอุดิอาระเบีย อินโดนีเซีย เป็นต้น
หลังจาก "ข่าวปลอม" (fake news) กลายเป็นปัญหาใหญ่ในยุคข้อมูลข่าวสารออนไลน์ไหลบ่า ล่าสุด Google Search และ Google News เปิดใช้ระบบช่วยเช็คข้อมูลกรณีข่าวปลอมให้กับผู้ใช้ทั่วโลกแล้ว
ระบบของกูเกิลจะทำงานอัตโนมัติ เมื่อเราค้นหาข้อมูลที่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับข่าวที่น่าจะปลอม กูเกิลจะขึ้นป้ายเตือนว่า "Fact Check" หรือข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบมาแล้วว่าข่าวนั้นถูกต้องแค่ไหน ผ่านความร่วมมือกับสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง และหน่วยงานด้านการตรวจสอบข่าวปลอมหลายแห่ง
ข้อจำกัดของระบบ Fact Check คือมันไม่สามารถทำงานได้กับทุกคีย์เวิร์ด และบางครั้งแต่ละสำนักข่าวก็มีมุมมองต่อข่าวนั้นแตกต่างกันว่าจริงหรือไม่
Facebook มีการอัพเดทฟีเจอร์แก้ปัญหาข่าวปลอมอยู่เป็นระยะ ล่าสุดปรับอัลกอริทึมลดความสำคัญข่าวปลอม และเมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้วนี่เองที่ Facebook ปรับปรุงอีกครั้ง ข่าวไหนที่มีแนวโน้มจะเป็นข่าวปลอม ระบบจะปักหมุดข่าวนั้นว่าได้รับการโต้แย้งหรือ Disputed
รัสเซียเป็นประเทศที่มีการควบคุมสื่อค่อนข้างเข้มข้น ถูกจัดให้อยู่ในพื้นที่สีแดง คือค่อนข้างไม่มีเสรีภาพสื่อ ล่าสุดรัฐบาลรัสเซียออกมาประกาศว่าทางรัฐบาลทำเว็บไซต์ตรวจสอบข่าวปลอมของตัวเอง ที่จะแปะตรายางใหญ่หน้าข่าวนั้นว่าเป็นข่าวปลอม
เว็บไซต์ จะติดตามเฉพาะข่าวจากสำนักข่าวสหรัฐฯ เท่านั้น เช่น New York Times, Bloomberg, the Telegraph, NBC News และ the Santa Monica Observer นอกจากเว็บตรวจข่าวปลอมแล้ว รัฐบาลยังมีเว็บไซต์เชิงข่าวของตัวเองอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในเว็บไซต์ไม่มีอธิบายว่าเพราะเหตุใดข่าวนี้จึงเชื่อไม่ได้ แปะแค่ตรายางเท่านั้น ตัวอย่างข่าวที่ทางเว็บระบุว่าปลอมคือข่าวของ Bloomberg ที่พาดหัวว่ารัสเซียเกี่ยวข้องการแฮกข้อมูลของนักการเมืองฝรั่งเศส และเนื้อหาในข่าวระบุว่าโฆษกในรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว การที่รัฐบาลแปะตรายางว่าข่าวนี้ปลอมทำให้สับสนว่าปฏิเสธอะไรระหว่างมีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องแฮกข้อมูล หรือปฏิเสธว่าสิ่งที่โฆษกรัสเซียพูดว่าไม่จริง
ช่วงนี้ Facebook ประกาศปรับอัลกอริทึม News Feed ค่อนข้างบ่อย รอบนี้ปรับ 2 เรื่องคือเรื่องข่าวปลอม และการใช้ข้อมูลเรียลไทม์มาพิจารณามากขึ้น
ประเด็นแรกในเรื่องข่าวปลอม Facebook เพิ่มปัจจัยตัวใหม่ที่ช่วยวิเคราะห์ว่าโพสต์นั้นเป็นข่าวปลอมหรือสแปม รูปแบบการทำงานคือ Facebook ศึกษาโพสต์ข่าวปลอมจากเพจคุณภาพต่ำ แล้วสร้างโมเดลขึ้นมาเทรนให้แยกแยะโพสต์ลักษณะเดียวกันจากเพจอื่นๆ (เช่น ถ้าโพสต์ถูกกด hide จากผู้ใช้บ่อย ก็มีแนวโน้มสูงว่าเป็นโพสต์ข่าวปลอม) ในทางกลับกัน ถ้าโพสต์ของเรามีแนวโน้มว่าจะเป็นของจริง ก็มีโอกาสถูกแสดงผลเพิ่มขึ้น
Thomas Oppermann สมาชิกพรรค SPD ของเยอรมันเผยว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้กฎหมายจัดการกับปัญหาข่าวปลอมใน Facebook ถ้ามีข่าวปลอมปรากฏบนหน้าฟีด แล้ว Facebook ไม่ลบออกภายใน 24 ชั่วโมง จะลงโทษปรับ 5 แสนยูโรต่อ 1 ข่าว
นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวมีแผนจะประกาศใช้ให้เร็วที่สุด สำนักข่าวเยอรมัน Deutsche Welle รายงานว่า มีแผนจะบังคับใช้ก่อนการเลือกตั้งปีหน้า และจะเริ่มอภิปรายกันหลังวันหยุดคริสต์มาสนี้
มีฝ่ายโต้แย้งเรื่องการผลักดันกฎหมายนี้เหมือนกัน คือสมาคมสำนักพิมพ์หนังสือพิมพ์ของเยอรมันหรือ BDZV (Germany’s federal association of newspaper publishers) แย้งว่า Facebook ไม่ใช่สำนักข่าว เป็นเพียงแพลตฟอร์มกลางในการนำเสนอข่าว ไม่ใช่ฟันเฟืองเครื่องมือที่สร้างหรือเขียนข่าวขึ้นมา
เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา โดนัลด์ ทรัมป์ ทวีตเกี่ยวกับประเด็นอาชญากรรมไซเบอร์โดยแฮกเกอร์รัสเซียที่แฮกอีเมลฮิลลารี คลินตัน บอกว่าหัวหน้าคณะกรรมการประชาธิปไตยแห่งชาติ หรือ DNC (Democratic National Committee) ที่ให้ฮิลลารีตอบคำถามประเด็นนี้นั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ทางสำนักข่าว The Washington Post ตรวจสอบข้อมูลแล้ว ไม่มีอะไรผิดกฎหมาย นั่นหมายความว่า ทรัมป์กำลังทำให้คนอื่นเข้าใจผิด
Washington Post จึงแก้ไขด้วยการทำแอพพลิเคชั่น RealDonaldContext เป็นส่วนขยายใน Chrome โดยผู้ที่ไม่ติดตั้งจะมองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของข้อความทรัมป์ในทวิตเตอร์ แต่ถ้าติดตั้งแล้วจะเห็นข้อความบอกข้อเท็จจริงด้านล่างทวีต มีที่มาจากฐานข้อมูลของ Washington Post นั่นเอง
Facebook เผยมีการอัพเดตความเคลื่อนไหวเพื่อระงับยับยั้งข่าวปลอมที่เป็นปัญหามาตั้งแต่หลังเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลายฝ่ายเรียกร้องให้ Facebook ทำอะไรสักอย่าง ล่าสุดมีการอัพเดตแล้ว ผู้ใช้จะสามารถรีพอร์ทสิ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องปลอมได้ง่ายขึ้น และมีการร่วมมือกับบริษัท third party ในการตรวจสอบเนื้อหาข่าว