Federal Trade Commission
หลังคณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (Federal Trade Commission หรือ FTC) ยื่นฟ้อง Qualcomm ในปี 2017 ด้วยข้อหาผูกขาดตลาดชิปโมเด็มสมาร์ทโฟน โดยใช้เทคนิคด้านค่าค่าไลเซนส์สิทธิบัตร เพื่อกีดกันผู้ผลิตสมาร์ทโฟนไม่ให้ใช้ชิปของคู่แข่ง
คดีนี้ Qualcomm ถูกศาลชั้นต้นตัดสินว่าผิดจริงในเดือนมิถุนายนปี 2019 ก่อน Qualcomm จะยื่นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสิน ยกคำร้องของ FTC ในเดือนตุลาคมปี 2020
เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2020 คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) ยื่นฟ้อง Facebook ในข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์ค ขอให้ศาลสั่งแยก WhatsApp และ Instagram ออกมาเป็นอีกบริษัท
วันนี้ Facebook ตอบโต้ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนคดีนี้ โดยเสนอเหตุผลหักล้าง FTC ในหลายประเด็น เช่น FTC ไม่สามารถแสดงหลักฐานว่า Facebook ขึ้นราคาหรือจำกัดปริมาณสินค้า, ไม่มีหลักฐานว่าการซื้อ WhatsApp และ Instagram เป็นการทำลายการแข่งขันจริง เป็นต้น
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) สั่งให้บริษัทด้านโซเชียลและวิดีโอออนไลน์ยอดนิยม 9 ราย ได้แก่ Amazon (Twitch), ByteDance (TikTok), Discord, Facebook, Reddit, Snapchat, Twitter, WhatsApp, YouTube รายงานวิธีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ ตามรอย วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ตัดสินใจเลือกแสดงโฆษณา วัดผล ฯลฯ แล้วส่งกลับมายัง FTC ภายใน 45 วัน
FTC ไม่ได้ระบุชัดว่าข้อข้อมูลนี้ไปทำอะไรแบบเจาะจง แต่ก็แสดงให้เห็นว่า FTC กำลังเข้ามาสอบสวนพฤติกรรมทางธุรกิจของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่เหล่านี้ ซึ่งท่าทีของ FTC ช่วงหลังชัดเจนว่าต้องการเข้ามากำกับดูแลในประเด็นต่างๆ อย่างใกล้ชิดกว่าเดิม ดังที่เห็นจากคดีล่าสุดที่ FTC ฟ้องร้อง Facebook ว่าผูกขาดตลาดโซเชียล
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) ยื่นฟ้อง Facebook ในข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์คแล้ว
FTC บอกว่า Facebook มีพฤติกรรมปิดกั้นการแข่งขันมายาวนานและทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การไล่ซื้อบริษัทที่มีโอกาสมาเป็นคู่แข่งในอนาคต ทั้ง WhastApp, Instagram และกำหนดเงื่อนไขใน API ว่าห้ามนำไปใช้ทำฟีเจอร์บางอย่างแข่งกับ Facebook รวมถึงห้ามใช้โปรโมทหรือเชื่อมต่อกับบริการโซเชียลอื่นๆ ยิ่งทำให้ Facebook ผูกขาดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหนึ่งในบริษัทใหญ่ที่สุดของโลก มีกำไรมหาศาล
Zoom ยอมทำข้อตกลงกับ FTC คณะกรรมการค้าแห่งสหรัฐฯ ในประเด็นความปลอดภัยทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยและจะเปิดให้หน่วยงานความปลอดภัยภายนอกรวมถึง FTC เข้ามาร่วมตรวจสอบด้วย
เมื่อเดือนมิถุนายน Qualcomm ถูกศาลตัดสินว่าผูกขาดชิปโมเด็มจากคำร้อง FTC ซึ่ง Qualcomm ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะกลับคำตัดสิน โดยระบุว่า FTC พิสูจน์ไม่ได้ว่า Qualcomm ผูกขาดจริง นอกจากแค่พยายามทำกำไรให้ได้สูงสุดตามกรอบกฎหมาย
คำตัดสินของศาลอุทธรณ์ครั้งนั้น มีคณะผู้พิพากษา 3 ท่าน และมีมติแบบเอกฉันท์ ซึ่ง FTC ก็ยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาอีกครั้งโดยเพิ่มจำนวนผู้พิพากษา และล่าสุดศาลอุทธรณ์ก็ปัดตกคำร้องนี้ของ FTC โดยไม่มีผู้พิพากษาสักท่านยกเรื่องนี้ขึ้นมาโหวตเลยด้วยซ้ำ
กลุ่มสิทธิเช่น Campaign for a Commercial-Free Childhood, Center for Digital Democracy และหน่วยงาน Electronic Privacy Information Center เป็นต้น ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานเฝ้าระวังว่า TikTok ยังคงละเมิดกฎความเป็นส่วนตัวเด็กสหรัฐฯ และละเมิดข้อตกลงกับ FTC หลังตัดสินปรับ TikTok ไปแล้ว 5.7 ล้านดอลลาร์
ในคำร้องเรียนระบุว่า หลังจากผ่านการตัดสินปรับไป 1 ปี และเด็กๆก็ใช้งาน TikTok มากขึ้นเพราะผลจากการกักตัว ยังคงพบว่า TikTok ล้มเหลวในการลบข้อมูลส่วนบุคคลที่รวบรวมไว้ก่อนหน้านี้จากเด็ก และยังคงเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ตอนนี้ FTC หรือคณะกรรมการการค้าของสหรัฐฯ ได้ขยายขอบเขตการตรวจสอบ Amazon จากเดิมที่สนใจเฉพาะส่วนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ให้ครอบคลุมธุรกิจคลาวด์หรือ AWS ด้วย
ปัจจุบัน AWS ถือเป็นหน่วยที่ทำกำไรให้ Amazon มากที่สุด ซึ่งมากกว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้วย โดยธุรกิจคลาวด์ของ Amazon มีผลิตภัณฑ์ครบวงจร ซึ่งอาจเป็นคู่แข่งกับซอฟต์แวร์ที่ขายผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว โดย Bloomberg ระบุว่า FTC จะสอบสวนว่า Amazon ได้ให้สิทธิพิเศษกับบริษัทบางแห่งที่ทำงานให้ AWS แต่เพียงผู้เดียว และลดความสำคัญบริษัทที่ทำงานร่วมกับคลาวด์คู่แข่งหรือไม่
FTC ระบุว่า Google เตรียมจ่ายค่าปรับ 170 ล้านดอลลาร์เนื่องจาก YouTube ฝ่าฝืนกฎหมายการเก็บข้อมูลของเด็กในสหรัฐฯ
YouTube ได้ทำการเก็บข้อมูลผู้ชมที่เป็นเด็กผ่านการใช้คุกกี้โดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง และใช้คุกกี้เหล่านี้เพื่อการทำโฆษณาตามกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นการผิดกฎหมายเรื่องการเก็บข้อมูลเด็ก โดยกฎหมายสั่งห้ามเก็บข้อมูลเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีนี้ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 1998 และมีการปรับปรุงแก้ไขในปี 2013 ให้ครอบคลุมคุกกี้ที่ใช้ในการติดตามพฤติกรรมด้วย
ตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2018 ที่ FTC ได้ทำการสืบสวนคดีที่ Facebook ทำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานรั่วไหลโดยมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากบริษัทวิจัยข้อมูล Cambridge Analytica โดยกระทบถึง 89 ล้านราย (อ่านบทความย้อนหลังได้ ที่นี่) ล่าสุด FTC ออกมาประกาศผลการสืบคดีอย่างเป็นทางการแล้วว่า Facebook ต้องจ่ายค่าปรับ 5 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 150,000 ล้านบาท และ Facebook ต้องตั้งคณะกรรมการดูแลเรื่องการจัดการข้อมูลในบริษัทด้วย
Wall Street Journal (WSJ) อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุว่ากรรมการการค้าสหรัฐฯ (Federal Trade Commission - FTC) ได้ข้อตกลงนอกศาลกับเฟซบุ๊ก ให้จ่ายค่าปรับ 5,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 150,000 ล้านบาท จากความล้มเหลวในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้หลายครั้ง ทั้งคดี Cambridge Analytica และคดีการทำข้อมูลหลุดครั้งต่อๆ มา
ทางโฆษก FTC ไม่ให้ความเห็นต่อข่าวนี้ โดยรายงานของ WSJ ระบุว่ากรรมการเสียงแตกทำให้ต้องลงคะแนนเห็นชอบต่อการตกลงกับเฟซบุ๊ก เสียงอนุมัติข้อตกลงชนะไปด้วยคะแนน 3 ต่อ 2 และได้ส่งสำนวนไปให้กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบอยู่
ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กเคยกันเงินไว้เป็นค่าปรับ จำนวน 3,000 ล้านดอลลาร์ โดยปีที่แล้วเฟซบุ๊กมี "กำไร" ทั้งหมด 22,000 ล้านดอลลาร์
FTC ยื่นฟ้อง Qualcomm ตั้งแต่ปี 2017 ฐานผูกขาดชิปโมเด็ม จากการพ่วงขายค่าสิทธิบัตรไปกับการขายชิปและกีดกันผู้ผลิตรายอื่น
หลังสืบสวนและต่อสู้ในชั้นศาลกันมา 2 ปีกว่า ล่าสุดปลายเดือนที่แล้วผู้พิพากษา Lucy Koh แห่งศาลแขวงแคลิฟอร์เนียเหนือมีคำตัดสินออกมาเห็นตามคำฟ้องของ FTC ว่า Qualcomm มีความผิดฐานผูกขาดชิปโมเด็ม
The Washington Post รายงานว่า FTC หรือคณะกรรมการการค้าแห่งสหรัฐฯ กำลังอยู่ระหว่างสืบสวน YouTube หลังจากถูกกล่าวหาว่าทางเว็บไซต์มีการละเมิดความเป็นส่วนตัวเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี และกำลังอยู่ในขั้นตอนการสืบสวนท้ายๆ ที่อาจนำไปสู่การระบุความผิด, ปรับ และบังคับให้ YouTube เปลี่ยนกฎและนโยบายเพื่อยกระดับคุ้มครองข้อมูลเด็ก
ในการฟ้องร้องระบุว่า YouTube ล้มเหลวในการปกป้องความเป็นส่วนตัวเด็ก ผิดกฎคุ้มครองเด็ก COPPA ที่ห้ามเก็บข้อมูลเด็กและใช้เด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายในการทำโฆษณา โดยสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือ YouTube จะถูกบังคับให้ปรับเปลี่ยนกฎคุ้มครองเด็กให้รัดกุมกว่าเดิม
กลุ่มสนับสนุนสิทธิเด็กในสหรัฐฯ ได้ทำการยื่นร้องต่อ FTC ระบุว่า Echo Dot Kids ลำโพงอัจฉริยะจาก Amazon มีการบันทึกและเก็บข้อมูลของเด็กเล็กโดยผิดกฎหมาย
ในคำร้องระบุว่า Amazon ได้ทำการเก็บข้อมูลคำสนทนากับเด็กอย่างผิดกฎหมายแม้ว่าผู้ปกครองจะพยายามลบแล้วก็ตาม ซึ่งถ้าเป็นจริง Amazon จะมีความผิดตามกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวออนไลน์หรือ Children’s Online Privacy Protection Act (COPPA)
Amazon ปฏิเสธข้อกล่าวหาและยืนยันว่าทั้ง FreeTime on Alexa และ Echo Dot Kids นั้นมีการปฏิบัติตามกฎหมาย COPPA อยู่แล้ว
ที่มา - The Verge
FTC คณะกรรมการค้าแห่งสหรัฐฯ เผยว่ามีแอพหาคู่ Meet24, FastMeet และ Meet4U ละเมิดกฎคุ้มครองข้อมูลเย่วชนหรือ COPPA เพราะเด็กอายุ 13 ปีลงไปสามารถมาลงทะเบียนใช้งานได้ ซึ่งเสี่ยงที่ผู้ไม่หวังดีจะมาเอาข้อมูลเด็กไปใช้ หรือมาติดต่อเด็กไปทำอะไรที่จะเกิดอันตรายต่อตัวเด็กเอง ล่าสุด FTC ออกมาบอกว่า Google, Apple ได้ลบแอพทั้งสามออกจากร้านค้าแอพของตัวเองแล้ว
จากประเด็น FTC สั่งปรับ TikTok 5.7 ล้านดอลลาร์ ข้อหาไม่เคารพข้อมูลส่วนตัวของเด็ก และเรียกร้องให้ TikTok นำคลิปวิดีโอที่โพสต์โดยเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีออก ล่าสุด TikTok จำกัดห้ามไม่ให้ผู้ใช้ใหม่ที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี ในการโพสต์คลิป สร้างโปรไฟล์ คอมเมนท์ หรือส่งข้อความใดๆ ได้ แต่ยังสามารถดูคลิปของคนอื่นได้ตามปกติ
การจำกัดดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันนี้ และมีรายงานด้วยว่า ผู้ใช้หลายคนที่อายุต่ำกว่า 13 ปีพบว่าโปรไฟล์ตัวเองหายไปโดยไม่ได้รับการแจ้งเตือนใดๆ
Bureau of Competition หน่วยงานลูกของ Federal Trade Commission คณะกรรมาธิการการค้าแห่งชาติของสหรัฐหรือ FTC ตั้งทีมงานเฉพาะกิจ ขึ้นมาดูแลการแข่งขัน การทำธุรกิจ การควบรวมและป้องกันการผูกขาดในตลาดกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐโดยเฉพาะ (Technology Task Force)
การตั้งทีมงานที่ดูแลกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีขึ้นมาครั้งนี้ เกิดจากความสำเร็จของทีม Merger Litigation ที่ตั้งขึ้นในปี 2002 เพื่อดูแลการควบรวมกิจการของโรงพยาบาล, กลุ่มบริษัทค้าปลีก, และบริษัทด้านฟู้ดเซอร์วิส ขณะที่ทีมงาน Technology Task Force ประกอบไปด้วยผู้ที่มีประสบการณ์ทั้งด้านเศรษฐกิจ, การคุ้มครองผู้บริโภค, การตลาดออนไลน์, ธุรกิจไอที ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เชิงเทคนิคในด้านเทคโนโลยีต่างๆ ด้วย
FTC คณะกรรมการค้าแห่งสหรัฐฯ สั่งปรับ TikTok หรือที่รู้จักกันในสหรัฐฯว่า Musical.ly เป็นจำนวนเงิน 5.7 ล้านดอลลาร์ ด้วยข้อหาว่าบริษัทไม่เคารพข้อมูลความเป็นส่วตัวของเด็ก โดย TikTok ไม่เพียงแต่รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 13 ปีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองเท่านั้น แต่ยังทำให้โปรไฟล์ของเด็กๆ ให้เป็นสาธารณะอีกด้วย
FTC ยังเรียกร้องให้ TikTok เคารพกฎกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของเด็กบนออนไลน์ หรือ COPPA ในอนาคต และให้นำคลิปวิดีโอที่โพสต์โดยเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีออก
FTC หรือคณะกรรมการค้าแห่งสหรัฐฯ ได้ประกาศจัดการกรณีจ่ายเงินเพื่อให้ทำรีวิวปลอมให้สินค้าบนเว็บไซต์ Amazon รวมถึงมีการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เกินจริง ซึ่งถือเป็นกรณีแรกที่ FTC ลงมาจัดการเอง
กรณีที่ FTC จัดการนี้ เป็นของ Cure Encapsulations Inc. และเจ้าของ Naftula Jacobowitz ซึ่งบริษัทนี้ได้วางขายสินค้าบน Amazon โดยบริษัทนี้ได้จ่ายเงินให้เว็บไซต์ amazonverifiedreviews.com ทำการเขียนและโพสต์ฟีดแบคแบบปลอม ๆ ให้สินค้าลดน้ำหนัก
ถึงแม้ประเด็นข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้เฟซบุ๊กกับ Cambridge Analytica จะเงียบลงไปแล้ว แต่ในแง่ของกระบวนการด้านกฎหมายในสหรัฐยังคงดำเนินการกันอยู่ และล่าสุดมีหน่วยงานภาครัฐได้แก่ FBI, SEC (กลต. สหรัฐ) และ FTC เข้ามาร่วมวงกับกระทรวงยุติธรรม (Department of Justice) เพื่อสอบสวนเรื่องนี้ด้วย
สิ่งที่ FBI สนใจคือประเด็นอะไรบ้างที่เฟซบุ๊กได้รับเมื่อ 3 ปีที่แล้ว (ปี 2015 ที่เฟซบุ๊กได้รับข้อมูลว่ามีข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ถูกส่งต่อไปให้ Cambridge Analytica) และเหตุใดบริษัทถึงไม่แจ้งเรื่องนี้ให้ผู้ใช้และนักลงทุนทราบ ขณะที่ FTC เคยระบุเมื่อเดือนมีนาคมว่ากำลังสอบสวนเฟซบุ๊ก เรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัว ส่วนด้าน SEC ไม่มีข้อมูลว่าสอบสวนในประเด็นใด
มีกรณีน่าติดตาม คือ FTC ยื่นฟ้องบริษัทหลอกลวงจำนวนหนึ่ง ที่หลอกเอาเงินจากธุรกิจรายย่อย โดยขู่ว่าจะลบชื่อกิจการออกจากผลการค้นหาและแผนที่ ล่าสุด Google ออกมาเผยว่าได้รับเสียงบ่นจากผู้ได้รับผลกระทบ และได้ดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัทที่หลอกลวงแล้ว คือ Point Break Media, Kydia Inc., Supreme Marketing Group
Google บอกด้วยว่า หวังว่าการดำเนินการครั้งนี้จะแสดงให้คนที่ไม่หวังดีเห็นว่า Google จะไม่ลังเลที่จะดำเนินการตามกฎหมาย
Google แนะวิธีแก่ธุรกิจขนาดเล็กว่า ถ้ามีคนโทรเข้ามาในนาม Google ให้บอกคนๆ นั้นว่า ส่งอีเมลมา เพราะถ้าเป็นคนของ Google จริง จะสามารถส่งอีเมลโดยใช้ชื่อท้ายว่า @google.com ได้ และให้อ้างสิทธิ์ว่า Google My Business นั้นเป็นเครื่องมือที่ Google จัดหาให้ฟรี ไม่ต้องจ่ายเงินตามนโยบาย ซึ่งสามารถสมัครได้ ที่นี่
ผู้ที่ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายคนมักจะคุ้นเคยกับสติ๊กเกอร์ Warranty Void If Removed ที่เมื่อแกะแล้วผู้รับประกันมีสิทธิปฏิเสธการรับประกันได้ ล่าสุด FTC หรือคณะกรรมการการค้าแห่งสหพันธรัฐออกมากล่าวชัดเจนแล้วว่า บริษัทที่มีกฎการรับประกันดังกล่าวถือว่าผิดกฎหมาย และสั่งบริษัท Nintendo, HTC, Microsoft, Asus และ Hyundai ที่ยังมีกฎดังกล่าวเขียนไว้อยู่ให้ยกเลิกกฎเหล่านี้ทันที
FTC กล่าวว่าบริษัททั้งหมดนี้ผิดกฎ 1975 Magnuson-Moss Warranty Act ซึ่งระบุว่าสำหรับสินค้าในราคามากกว่า 5 ดอลลาร์ ห้ามผู้ผลิตสร้างข้อจำกัดในการซ่อมสินค้าที่มีประกัน จึงทำให้ FTC ส่งจดหมายเตือนไปทุกบริษัท พร้อมแนบคำที่ระบุไว้ในเงื่อนไขการรับประกันที่ผิดกฎหมาย
หากใครยังจำกันได้ เมื่อปลายปี 2016 นักวิจัยความปลอดภัยจาก Kryptowire รายงานว่า มือถือของบริษัท BLU ซึ่งเป็นบริษัทผลิตมือถือกระแสรองของสหรัฐฯ มีโปรแกรม backdoor ฝังอยู่ในเครื่องจำนวนมาก ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมของบริษัทจีน AdUps ที่คอยเก็บข้อมูลส่งกลับจีนทุก 72 ชั่วโมง ล่าสุด BLU ตกลงพร้อมป้องกันแก้ไขปัญหาตามที่ FTC สั่งแล้ว
กลุ่มผู้บริโภค ผู้สนับสนุนสิทธิเด็ก และผู้สนับสนุนความเป็นส่วนตัวกว่า 23 กลุ่มได้รวมตัวกันเพื่อยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการด้านการค้าแห่งสหพันธรัฐหรือ FTC ขอให้สอบสวนกรณีที่ YouTube ละเมิดกฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวของเด็กหรือ COPPA ซึ่งจะต้องให้เว็บไซต์สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีต้องขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อนที่จะเก็บข้อมูลเด็ก
หลังจาก Equifax ถูกแฮกข้อมูลครั้งใหญ่ ถือเป็นผลกระทบวงกว้างต่อชาวอเมริกัน ล่าสุดหน่วยงาน Federal Trade Commission หรือ FTC เตรียมเข้าสอบสวนในกรณีดังกล่าวแล้ว
สำหรับรายละเอียดของการสอบสวนของ FTC ต่อกรณีของ Equifax นั้น สำนักข่าว Reuters ได้รับอีเมลจาก Peter Kaplan โฆษกของ FTC โดยมีใจความสำคัญว่า FTC ยืนยันว่าทางองค์กรกำลังสอบสวนการรั่วไหลข้อมูลของ Equifax อยู่ โดยทางหน่วยงานปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใด ๆ ในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบสวน
ที่มา - Reuters