กูเกิลประกาศซื้อ Kaggle ชุมชนคนทำงานด้าน data science ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะนำเข้าไปอยู่ในทีม Google Cloud
Kaggle เป็นเว็บไซต์ที่เปิดในปี 2010 ประกอบด้วยเว็บบอร์ด ประกาศหางาน ชุดข้อมูลที่นำไปใช้ต่อได้ เป็นแหล่งให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลมาแลกเปลี่ยนโมเดล จัดการแข่งขันด้านวิเคราะห์ข้อมูลและ machine learning ระหว่างกัน ปัจจุบัน Kaggle มีสมาชิกเป็นคนทำงานด้านนี้หลักแสนคน
หลังการขายกิจการให้กูเกิลแล้ว Kaggle จะยังให้บริการตามปกติ ทางบริษัทระบุว่าการผนวกเอาชุมชน data scientist ที่ใหญ่ที่สุด กับบริการคลาวด์ด้าน machine learning รายใหญ่ที่สุด จะส่งผลให้ Kaggle ไปต่ออีกได้ไกล
ในอดีต เราอวดกันว่าคอมพิวเตอร์ของเราใช้ซีพียูรุ่นล่าสุดที่แรงกว่าใคร พอมาถึงในยุคสมัยของคลาวด์ที่เปลี่ยนจากการซื้อเครื่องมาเป็นการเช่าเวลา พฤติกรรมนี้อาจยังคงอยู่เหมือนเดิม
Google Cloud Platform ออกมาประกาศว่าเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ "รายแรก" ที่ใช้ Intel Xeon รุ่นล่าสุดบนสถาปัตยกรรม Skylake (Xeon v5 ตอนนี้ยังเปิดตัวเฉพาะรุ่น E3 แต่กูเกิลจะใช้รุ่นที่สูงกว่าที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้) ช่วยให้ลูกค้าที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด และฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างชุดคำสั่ง Intel Advanced Vector Extensions (AVX-512) ประมวลผลข้อมูลทศนิยมขนาดใหญ่ได้ดีขึ้น
Google Cloud เปิดตัวบริการ GPU ให้ลูกค้าสามารถเลือกติดตั้งการ์ด Tesla K80 เข้ากับเครื่องใดก็ได้ที่ต้องการ โดยเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องสามารถติดการ์ดได้ 8 ใบ
การ์ดแต่ละใบเป็น NVIDIA K80 มาพร้อมกับ CUDA core ทั้งหมด 2,496 คอร์ และแรม 12GB ราคาชั่วโมงละ 0.7 ดอลลาร์ในสหรัฐฯ และ 0.77 ดอลลาร์ในยุโรปและเอเชีย
บริการเช่นนี้ตรงกับบริการ Elastic GPU ของ AWS ที่เปิดตัวตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่จนตอนนี้ยังอยู่ในสถานะเบต้าวงปิด ส่วนกูเกิลเปิดเป็นเบต้าแบบเปิดให้ทุกคนใช้งานแล้ว
Google Cloud จัดการแข่งขัน "Google Cloud & YouTube-8M Video Understanding Challenge" จัดหมวดหมู่วิดีโอกว่า 7 ล้านรายการ รวมความยาว 450,000 ชั่วโมง โดยมีหมวดหมู่ทั้งหมด 4,716 ประเภท แต่ละวิดีโอมีหมวดหมู่เฉลี่ย 3.4 ประเภท จากชุดข้อมูล YouTube-8M v2 ที่เพิ่งเปิดออกมา
ผู้เข้าแข่งขันจะได้เครดิตจาก Google Cloud 300 ดอลลาร์และสามารถขอเพิ่มได้หากใช้จนหมด และขอเครดิตเพิ่ม 50 คนแรก หรือได้คะแนนสูงสุด 50 คนแรก รางวัลแบ่งออกเป็น 5 รางวัล 30,000 ดอลลาร์, 25,000 ดอลลาร์, 20,000 ดอลลาร์, 15,000 ดอลลาร์, และ 10,000 ดอลลาร์ตามลำดับ โดยผู้รับรางวัลจะต้องเปิดโค้ดของตนเองเป็นโอเพนซอร์ส
Google ประกาศเปิดตัวระบบบริการจัดการฐานข้อมูลแบบใหม่เรียกว่า Cloud Spanner ซึ่งสามารถใช้งานได้ผ่านระบบ Google Cloud Platform โดยออกแบบมาสำหรับศูนย์ข้อมูลที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก แต่สำหรับงานทั่วๆ ไปแล้ว ข้อมูลจะกระจายอยู่ในศูนย์ข้อมูล 3-5 แห่งภายในภูมิภาคเดียวกันเท่านั้น
Cloud Spanner เป็นการใช้งานจริงของ Spanner ที่ Google เคยเขียนเอกสารไว้ตั้งแต่ปี 2012 และใช้งานในบริษัทกันมานับปี ตัวระบบรองรับภาษา SQL, ระบบ tranctions แบบกระจายตัว และ ACID (atomicity, consistency, isolation, durability) อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ง่าย เนื่องจากรองรับเครื่องมือและภาษาทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานกับฐานข้อมูลแบบ relational ด้วย
กูเกิลใช้งาน KVM สำหรับการให้บริการคลาวด์ Google Compute Engine แต่ระบบที่ขนาดใหญ่สำหรับผู้ให้บริการคลาวด์เช่นนี้มักต้องการความปลอดภัยสูงกว่าการใช้งาน virtualization ทั่วๆ ไป เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากูเกิลแถลงถึงกระบวนการต่างๆ เพื่อรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม
ขั้นแรกของการรักษาความปลอดภัยคือการหาช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ด้วยตัวเอง กูเกิลมีทีมงานความปลอดภัยของตัวเองที่ไล่หาช่องโหว่ของ KVM, Xen, หรือ VMware จนถึงตอนนี้กูเกิลพบช่องโหว่ KVM ไปแล้ว 9 รายการ จากนั้นจึงลดความเสี่ยงด้วยการถอดโมดูลที่ไม่จำเป็นออก เช่น ไดร์เวอร์เมาส์รุ่นเก่าๆ และยังมีการแก้ไขโมดูลที่ใช้งานเพื่อให้ปลอดภัยขึ้น
Google Cloud Platform (GCP) อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนามากขึ้น โดยออกปลั๊กอิน Cloud Tools for Eclipse เพื่อให้คนใช้ Eclipse สามารถเชื่อมต่อกับ App Engine ได้โดยตรง
ในอดีต กูเกิลเคยออก Google Plugin for Eclipse ที่ใช้เขียนโค้ดด้วย GWT บน App Engine มาก่อน แต่ปลั๊กอินตัวนี้ล้าสมัย ไม่อัพเดตแล้ว ใช้กับ Eclipse 4.6 Neon ไม่ได้ กูเกิลจึงแนะนำให้ย้ายมาใช้ Cloud Tools for Eclipse แทน
Cloud Tools for Eclipse ใช้ได้กับทั้ง Eclipse 4.5 (Mars) และ Eclipse 4.6 (Neon) รายละเอียดการติดตั้งและใช้งาน อ่านได้จากที่มา
Google Cloud Platform เปิดบริการย่อย Cloud Key Management Service (KMS) สำหรับจัดการคีย์เข้ารหัสแล้ว ช่วยให้ลูกค้าของ GCP บริหารคีย์ได้ง่ายขึ้นในกรณีต้องใช้คีย์หลายตัวบนเครื่องเดียวกัน
Cloud KMS ออกแบบมาให้จัดการคีย์ทั้งหมดได้จากระบบของ GCP เลย ไม่ต้องมีโปรแกรมจัดการคีย์แยกเองต่างหาก และสามารถใช้ร่วมกับบริการอื่นอย่าง Cloud Identity Access Management (IAM) และ Cloud Audit Logging ได้ด้วย
ก่อนหน้านี้ GCP เคยเปิดให้ลูกค้าอัพโหลดคีย์ของตัวเอง ภายใต้บริการ Customer-Supplied Encryption Keys (CSEK) แต่การเปิดตัว KMS ถือเป็นบริการร่มใหญ่ที่มาครอบ CSEK อีกชั้น และกลายเป็นบริการเต็มรูปแบบสำหรับการบริหารคีย์บน GCP
ถึงแม้ IBM มีบริการคลาวด์ของตัวเองทั้ง Softlayer และ Bluemix แต่บริษัทก็อนุญาตให้ลูกค้านำไลเซนส์ซอฟต์แวร์ในสังกัด IBM (เช่น DB2, Cognos, Websphere, Tivoli, Informix) ไปรันบนคลาวด์ยี่ห้ออื่นๆ ได้เช่นกันภายใต้นโยบาย BYOSL (Bring Your Own Software License)
ที่ผ่านมา IBM รับรองการนำซอฟต์แวร์ของตัวเองไปรันบน Amazon EC2 และ Microsoft Azure แต่ล่าสุด IBM ก็ประกาศรองรับ Google Compute Engine เพิ่มมาอีกรายแล้ว ส่งผลให้ตอนนี้ซอฟต์แวร์ของ IBM รองรับบริการ public cloud รายใหญ่ทั้งสามค่ายครบหมดแล้ว
Google ประกาศเข้าซื้อกิจการ Qwiklabs แพลตฟอร์มสอน พร้อมทดสอบเขียนแอพและโซลูชันบนคลาวด์ (ที่เน้นไปที่ AWS ของ Amazon เป็นหลัก) โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่า
Google ระบุว่าบน Qwiklabs จะมีคอร์สสำหรับ Google Cloud Platform และ G Suite เพิ่มเติมเข้ามา ขณะที่ Qwiklabs ระบุว่าจะยังคงให้บริการตามเดิมต่อไป ขณะที่คอร์สของ AWS ก็จะยังคงมีต่อไปตามเดิม แต่ไม่แน่ใจว่าหลังจากนี้จะมีคอร์สใหม่เพิ่มเข้ามาหรือไม่
ที่มา - The Keyword via TechCrunch
AMD เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์ Radeon Open Compute Platform (ROCm) รุ่นใหม่ที่รองรับชิปของเอเอ็มดีรุ่นใหม่ๆ ที่เปิดตัวมาพร้อมกับ MacBook Pro รองรับการใช้งานแบบ Virtualization และ container
ชุดซอฟต์แวร์ ROCm มาพร้อมกับคอมไพล์เลอร์ HCC ตัวใหม่ที่รองรับการคอมไพล์ครั้งเดียวให้ทำงานได้ทั้งซีพียูและจีพียู, HIP ระบบพอร์ตโค้ดจาก CUDA พร้อมกับโชว์การพอร์ตโค้ดที่ใช้พัฒนาด้วย Caffe มารันบนชิป AMD, และไลบรารีทางคณิตศาสตร์ชุดใหม่
ทางเอเอ็มดีระบุว่าปีหน้า Google Compute Engine และ Google Machine Learning จะเริ่มมีเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ชิป AMD ให้บริการ โดยใช้ AMD FirePro S9300
แนวคิดการนำ GPU มาช่วยเร่งงานประมวลผลบางประเภท (ที่ไม่ใช่กราฟิกหรือเกมโดยตรง) ถูกใช้กันมานานแล้วในวงการคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง และผู้ให้บริการคลาวด์หลายเจ้าก็มี VM แบบมี GPU แยกมาให้เลือกบ้างแล้ว
ล่าสุด Google Cloud Platform เป็นผู้ให้บริการคลาวด์อีกรายที่ประกาศนำ GPU มาใช้งาน โดยจะมีให้ใช้ในบริการ Google Compute Engine และ Google Cloud Machine Learning ส่วนของจีพียูมีให้เลือกทั้ง AMD FirePro S9300 x2 สำหรับงานเวิร์คสเตชันทั่วไป และ NVIDIA Tesla P100/K80 สำหรับงานด้าน AI และ deep learning
Google Cloud เดิมมีศูนย์ข้อมูลสำหรับโซนเอเชียเฉพาะที่ไต้หวันทำให้ระยะทางห่างจากไทยไปพอสมควร ตอนนี้ทางกูเกิลก็ประกาศเพิ่มศูนยข้อมูล asia-northeast1 ที่ญี่ปุ่น เป็นศูนย์ข้อมูลที่สองโดยมีโซนภายใน 3 โซน
การที่ศูนย์ข้อมูลไปตั้งในญี่ปุ่นเองทำให้ผู้ใช้ในญี่ปุ่นลดระยะเวลา latency ไปได้ 50-85%
พร้อมๆ กับการประกาศศูนย์ข้อมูลใหม่ กูเกิลยังประกาศแผนการเปิดศูนย์ข้อมูลในปีหน้าว่าจะมี สิงคโปร์, ซิดนีย์, และมุมไบ เพิ่มเติมเข้ามา สำหรับคนไทยศูนย์ที่สิงคโปร์น่าจะมีผลกันมากเพราะใกล้กับไทยเอง
ที่มา - Google Cloud Platform
บริการคลาวด์สตอเรจสำหรับการเก็บข้อมูลระยะยาวมีต้นตำรับอย่าง Amazon Glacier ที่เข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลานาน ตอนนี้กูเกิลก็มีบริการที่ราคาเท่ากันออกมาแล้วในชื่อ Coldline แม้ว่าจะออกแบบสตอเรจสำหรับการเก็บข้อมูลระยะยาว แต่ก็สามารถเรียกข้อมูลได้รวดเร็ว
ก่อนหน้านี้กูเกิลมีบริการ Nearline สำหรับเก็บข้อมูลระยะยาวมาก่อนแล้ว โดย Nearline คิดค่าเก็บข้อมูล 1 เซนต์ต่อกิกะไบต์ และเรียกค่าดึงข้อมูลกลับ 1 เซนต์ต่อกิกะไบต์เช่นกัน สำหรับ Coldline ค่าเก็บข้อมูลจะถูกลงเหลือ 0.7 เซนต์ต่อกิกะไบต์ แต่ค่าเรียกข้อมูลกลับจะแพงขึ้นเป็น 5 เซนต์ต่อกิกะไบต์
กูเกิลเปิดสอบใบรับรองของตัวเอง ชื่อว่า Google Certified Professional เบื้องต้นมีใบรับรอง 3 ใบ ได้แก่
ถ้ายังจำกันได้ ปัญหาของเกม Pokemon Go ในช่วงแรกๆ คือเซิร์ฟเวอร์ไม่พอกับความต้องการ แต่ท้ายที่สุดแล้วทาง Niantic ก็ไม่เคยเผยข้อมูลว่าเซิร์ฟเวอร์ของ Pokemon Go ใช้ระบบของอะไร
วันนี้ข้อมูลเผยออกมาแล้ว ว่าเป็น Google Cloud Platform ตามที่หลายคนคาดกัน สิ่งที่น่าสนใจคือทราฟฟิกของ Pokemon Go สูงกว่าที่ทีมงานคาดการณ์ไว้ถึง 50 เท่าเลยทีเดียว
เรื่องนี้เปิดเผยโดยทีมงาน Google Cloud Platform ที่ประเมินกันว่าทราฟฟิกระดับ worst case น่าจะมากกว่าทราฟฟิกที่ประเมินไว้ราว 5 เท่า แต่เอาเข้าจริง ทราฟฟิกกลับทะลุความคาดหมายอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 15 นาทีหลังเปิดให้ดาวน์โหลดในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และจบที่ทราฟฟิกจริงสูงกว่าที่คาดไว้ 50 เท่า
กูเกิลประกาศแบรนด์ Google Cloud ที่เป็นแบรนด์ใหญ่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการจำนวนมาก
ในโอกาสที่ประกาศชื่อแบรนด์ใหม่ กูเกิลยังประกาศขยายพื้นที่ region ของ Google Cloud Platform เพิ่มเติมอีก 8 เขต โดยแถบบ้านเรา มี regional สิงคโปร์ 2 โซน และมุมไบ 3 โซน เริ่มให้บริการในปี 2017
กูเกิลประกาศซื้อบริษัท Apigee ซึ่งให้บริการสร้าง API ให้กับภาคธุรกิจ รูปแบบของ Apigee คือเข้าไปช่วยองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่อยากเปิด API ให้คนภายนอกเข้าถึงข้อมูลภายในองค์กร สามารถสร้าง API ที่เสถียรและบริหารจัดการได้ง่าย
ตัวอย่างลูกค้าของ Apigee คือร้านค้าปลีก Walgreens ที่เปิด API ให้แอพภายนอกสามารถส่งภาพเข้าไปพิมพ์ที่ร้าน Walgreens สาขาใดก็ได้ (ลูกค้าส่งภาพจากแอพแล้วไปรับที่สาขาได้เลย) และ Prescription API ที่ให้ลูกค้าสามารถซื้อยาเพิ่มผ่านแอพได้ ส่วนลูกค้ารายอื่นๆ ของ Apigee ได้แก่ AT&T, Burberry, BBC เป็นต้น
บริการสร้าง API ของ Apigee จะเข้ามารวมกับ Google Cloud Platform
Google Cloud Platform ประกาศปรับปรุงระบบคลาวด์ของตัวเอง ให้แอพพลิเคชันที่เขียนด้วย ASP.NET ทำงานได้ดีขึ้น เปรียบเสมือนเป็น "พลเมืองชั้นหนึ่ง" (first-class citizen) ดังนี้
Google Cloud Platform ประกาศข่าวผลิตภัณฑ์ด้านฐานข้อมูล เข้าสถานะ GA (general availability) พร้อมใช้งานจริงในเชิงธุรกิจ และให้บริการตามเงื่อนไข Service Level Agreements (SLAs) ดังนี้
ปีที่แล้ว Google Cloud Platform ออกบริการ Preemtible VM เครื่องราคาถูกที่อาจถูกปิดได้ทุกเวลา (รันได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง) ล่าสุดกูเกิลลดราคาเครื่องตระกูลนี้ลงอีกรอบ โดยลดสูงสุด 33% จากเดิม
กูเกิลบอกว่าถ้าเทียบราคาของ Preemtible VM อาจถูกกว่า VM แบบปกติถึง 80% ดังนั้นใครที่มีงานต้องรันแบบไม่รีบร้อน ไม่ต้องเปิดเครื่องค้างไว้นานๆ การมาเช่า Preemtible VM ก็จะช่วยลดต้นทุนลงได้มาก
ที่มา - Google Cloud Platform
Google ประกาศเข้าซื้อ Orbitera สตาร์ทอัพจากแคลิฟอร์เนียที่พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายซอฟต์แวร์และบริการฝั่งองค์กรที่ทำงานบนคลาวด์ โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่ทาง TechCrunch คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
Google จะนำเทคโนโลยีของ Orbitera มาเสริมทัพกับบริการของ Google Cloud Platform โดยเบื้องต้น Marcin Kurc ซีอีโอของ Orbiteria จะยังคงอยู่ในตำแหน่งและบริษัทดำเนินงานและให้บริการลูกค้าอย่างอิสระเช่นเดิม
ที่มา - eWeek
บริการ Google Compute Engine เข้ารหัสข้อมูลบนดิสก์ตลอดเวลา แต่ข้อมูลปกติจะใช้กุญแจเข้ารหัสของกูเกิลเองที่ผู้ใช้ไม่มีสิทธิ์ควบคุมอะไร ตอนนี้กูเกิลเปิดบริการ Customer-Supplied Encryption Keys (CSEK) เปิดให้ผู้ใช้เข้ารหัสดิสก์บนคลาวด์ด้วยกุญแจที่สร้างเองได้
ข้อจำกัดเพิ่มขึ้น คือการสร้างเครื่องใหม่ที่ใช้อิมเมจที่เจ้ารหัส จะต้องส่งกุญแจไปยังกูเกิลทุกครั้ง และผู้ใช้ต้องระวังในการจัดการกุญแจด้วยตัวเอง กูเกิลแนะนำให้เก็บกุญแจบนเครื่องที่เข้ารหัสดิสก์เสมอ
ลูกค้าที่ใช้งานบริการนี้ได้ยังจำกัดอยู่ไม่กี่ประเทศเท่านั้น เช่น สหรัฐฯ, อังกฤษ, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เยอรมัน กูเกิลระบุว่าหากใครต้องการใช้งานสามารถส่งเรื่องเข้าไปขอได้ และกูเกิลจะพิจารณาเปิดเพิ่มเติมจากคำร้องเหล่านี้
บริการ Google Cloud Platform เปิดบริการใหม่เพิ่มเติมอีกสองบริการ คือการวิเคราะห์ข้อความ และการแปลงเสียงเป็นข้อความ พร้อมกับเปิดศูนย์ข้อฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ให้ผู้ใช้ทั่วไปบริการเมืองทางฝั่งตะวันตก เช่น ซานฟรานซิสโก
Google Cloud Natural Language API: วิเคราะห์ข้อความจากสามภาษา ได้แก่ อังกฤษ, สเปน, และญี่ปุ่น สามารถค้นหาคำสำคัญของประโยค เช่น ชื่อคน, สถานที่ วิเคราะห์อารมณ์ของประโยคว่าดีหรือร้าย และวิเคราะห์โครงสร้างประโยค ราคา 0.2-1.0 ดอลลาร์ต่อข้อความ 1,000 ตัวอักษร ยกเว้น 5,000 ตัวอักษรแรกฟรี
กูเกิลซื้อบริษัท Anvato เจ้าของซอฟต์แวร์ด้านวิดีโอบนกลุ่มเมฆแบบครบวงจร ทั้งระบบสตรีมมิ่ง เข้ารหัส ตัดต่อ โฆษณา สถิติ ซึ่งมีลูกค้าเป็นบริษัทสื่อรายใหญ่ เช่น NBCUniversal, Fox, CBS และสถานีทีวีทั่วโลก
Anvato จะยังให้บริการเหมือนเดิมต่อไป แต่ทีมงานจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Google Cloud Platform เพื่อขยายบริการบนโครงสร้างพื้นฐานของกูเกิลที่ใหญ่กว่ามาก