เมื่อวานนี้ไมโครซอฟท์ได้ตกลงยอมความในการที่จะเปิดระบบ Desktop Search บนวิสต้าให้สามารถใช้งานได้กับซอฟต์แวร์ Desktop Search จากค่ายอื่น ๆ เช่น Google หลังจากที่โดนข้อกฏหมายเกี่ยวกับการผูกขาดเข้าเล่นงานอีกครั้ง
ไมโครซอฟท์กล่าวว่าบริษํัทจะทำการเปิดให้ผู้ใช้สามารถเลือกระบบ Desktop Search ที่ต้องการได้โดยการปรับปรุงระบบในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของ Service Pack ตัวแรกของวินโดวส์วิสต้าที่เราจะเห็นตัวเบต้าออกมาในช่วงปลายปีนี้
ในข้อตกลงครั้งนี้ก็คล้าย ๆ กับสมัย Service Pack 1 ของวินโดวส์ XP ก็คือผู้ใช้สามารถเลือกใช้ Default Desktop Search Program ได้คล้าย ๆ กับกรณี Default Browser และ Media Player
หลังการเปิดตัว Google Checkout ความสัมพันธ์ระหว่าง กูเกิลและ eBay ก็เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ เพราะบริการที่ทับซ้อนกับ Paypal ทำให้ขัดแย้งด้านผลประโยชน์กัน
ความขัดแย้งดูเหมือนจะประทุถึงจุดสูงสุด เมื่อกูเกิลเชิญผู้เข้าร่วมงาน eBay Live! ให้ไปร่วมงาน Google Checkout Freedom Party ของทางกูเกิลเอง ทำให้ทาง eBay แสดงความไม่พอใจด้วยการถอนโฆษณาออกจากกูเกิลทั้งหมด จนทำให้ทางกูเกิลยอมยกเลิกงานดังกล่าวไป
จนทุกวันนี้ผู้ใช้บริการ eBay ก็ยังไม่สามารถใช้งานบริการ Google Checkout ได้
แต่ผมว่าจัดงานทับกัน แถมเชิญคนจากอีกงานไปงานตัวเองนี่มันเกินไปหน่อยนะ
กลุ่มผู้สนใจเรื่องความเป็นส่วนตัวชื่อว่า Privacy International ให้คะแนนกูเกิลในเรื่องการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เป็นอันดับต่ำสุด
ผลการศึกษาบริษัทจำนวน 22 แห่ง กูเกิลเป็นบริษัทเดียวที่ได้คะแนนขั้นแย่มาก achieving status as an endemic threat to privacy) แย่อันดับรองลงมามี 7 บริษัท คือ AOL, Apple, Facebook, Hi5, Reunion, Windows Live Space และ Yahoo และระดับดีขึ้นมาหน่อยคือ BBC, eBay, Last.fm, LiveJournal และ Wikipedia
มหาวิทยาลัยอีก 12 แห่งเข้าร่วมโครงการ Google Book Search ซึ่งส่งผลให้กูเกิลได้หนังสือเตรียมรอสแกนอีก 10 ล้านเล่ม
มหาวิทยาลัยเหล่านี้ได้แก่ University of Chicago และกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า Big Ten athletic conference อีก 11 แห่ง คือ Illinois, Indiana, Iowa, Michigan, Michigan State, Minnesota, Northwestern, Ohio State, Penn State, Purdue และ Wisconsin
ก่อนหน้านี้กูเกิลได้ทำข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยอื่นไปบ้างแล้ว ที่ดังๆ ก็อย่างเช่น Havard, Stanford, Princeton, Oxford เป็นต้น (ดูรายชื่อได้จาก Wikipedia)
กูเกิลเอาใจโลกโอเพนซอร์สอีกครั้ง ด้วยการเปิดเอาไลบรารีสำหรับตรวจความแตกต่างระหว่างข้อมูลสองชุด (Diff) ที่ใช้ใน Google Doc มาแจกกันในรูปแบบ LGPL (เอาไปใช้งานได้โดยไม่ต้องโอเพนซอร์ส ยกเว้นจะปรับปรุงตัวไลบรารีโดยตรง)
งานนี้ที่น่าสนใจคือกูเกิลแจกไลบรารีออกมาพร้อมๆ กับสามภาษา Java, JavaScript และ Python ทำให้เราสามารถเลือกใช้งานทั้งฝั่งลูกข่ายและเซิร์ฟเวอร์ได้โดยมีพฤติกรรมการทำงานที่เหมือนๆ กัน
ยังขาด PHP ไปอีกภาษานะ ไม่งั้นพวก CMS คงได้เอาไปใช้งานกันอีกเยอะเลย
ที่มา - Google Code
Google Book Search ที่ทางกูเกิลได้สแกนหนังสือจำนวนมาก เพื่อให้ค้นหาได้จากเว็บ ทำให้สำนักพิมพ์หลายแห่งไม่พอใจ และคิดว่ากูเกิลละเมิดลิขสิทธิ์ เรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายได้โต้ตอบกันผ่านสื่อมานานแล้ว
ล่าสุดในงาน Book Expo America ที่นิวยอร์ค นาย Richard Charkin ซึ่งเป็นผู้บริหารของสำนักพิมพ์ในสหราชอาณาจักรชื่อว่า Macmillan ได้ร่วมมือกับลูกน้องขโมยโน้ตบุ๊คที่อยู่ในบูตของ Google Book Search มาสองตัว จากนั้นเขาก็ยืนรออยู่ข้างบูตจนกว่าเจ้าหน้าที่ประจำบูตจะพบว่าโน้ตบุ๊คหายไป แล้วค่อยคืนเครื่องให้กับทางกูเกิล (ดูรูปได้จาก บล็อกของ Charkin)
กูเกิลเปิดเผยผลการศึกษาของ Anti-Malware Team ผ่านทาง Google Online Security Blog พบว่า IIS มีโอกาสเป็นแหล่งเผยแพร่มัลแวร์สูงกว่า Apache ถึงเท่าตัว (49% เทียบกับ 23%)
กูเกิลสำรวจเว็บไซต์ประมาณ 70,000 แห่ง สาเหตุที่กูเกิลสรุปว่า IIS มีโอกาสสูงกว่าเป็นเพราะว่าเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก รัน IIS บนวินโดวส์เถื่อนซึ่งไม่สามารถอัพเดตด้านความปลอดภัยได้ ทางโฆษกของไมโครซอฟท์ได้ออกมาโต้ตอบว่าผลการศึกษานี้ไม่มีข้อมูลเพียงพอจะสรุปได้แบบนั้น ส่วน Paul Thurrott แห่ง WindowsITPro ตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นแผนการโปรโมท Apache ของกูเกิลก็ได้
จาก กระทู้นี้ ใน Forum เกี่ยวกับวิธีการไฮไลท์ผลการค้นหาของ google.co.th ผมได้รับการติดต่อจากคุณพรทิพย์ Country Consultant ของ Google ประจำประเทศไทย ว่าอยากได้ความคิดเห็นจากผู้ใช้คนไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้
คำถาม
ใครไม่ชอบแบบใหม่ นี่เป็นโอกาสทอง ต้องมาเขียนกันเยอะๆ
หลายๆ คนแม้ชอบ Gmail กับ Google Reader แต่คงต้องยอมรับว่าข้อด้อยหลักๆ ของทั้งสองบริการนี้คือเราต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลาการใช้บริการ แต่ข้อจำกัดนี้กำลังหายไป เมื่อ Google Gears จะทำให้เว็บโปรแกรมเมอร์สามารถเรียกใช้บริการ Javascript API เพิ่มเติมเพื่อขอให้มีการเก็บข้อมูลไว้ในบราวเซอร์ได้
บริการแรกที่ได้รับอานิสงส์จาก Google Gears คือ Google Reader ที่จะดึงเอา 2000 ข้อความล่าสุดมาไว้ในเครื่องเราให้เราอ่านได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะออนไลน์หรือไม่
Google Gears รองรับ Firefox 1.5 และ IE6 ขึ้นไป ทั้ง ลินุกซ์, วินโดวส์ และ OSX ที่สำคัญคือมันเป็นโครงการโอเพนซอร์สให้เราเข้าไปช่วยกันแก้ไขได้อีกด้วย
วันนี้กูเกิลได้ออกมาประกาศว่าได้ซื้อ Panoramio แล้ว โดย Panoramio เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการฝากรูปภาพ พร้อมกับใส่พิกัดของรูปบนแผนที่โลก ที่เชื่อมโยงกับ Google Earth ทำให้สามารถดูรูปที่ฝากบนเว็บไซต์นี้ผ่าน Google Earth ได้
ก่อนหน้าที่จะซื้อกูเกิลได้ทำงานร่วมกับ Panoramio มาเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว เห็นได้จากที่ รูปภาพของ Panoramio ได้เป็น default layer ของ Google Earth มาตั้งแต่ต้นปีแล้ว โดยหลังจากนี้ จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก นอกจากปรับปรุงการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่ในอนาคตกูเกิลอาจจะเพิ่มความสามารถ Google Earth ให้อัพโหลดรูปภาพจากแผนที่ เข้าไปที่ Picasa Web Albums ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาใส่พิกัดก็เป็นได้
สงครามบริการแผนที่ออนไลน์ยังคงเดินหน้าไปไม่หยุด หลังจากไมโครซอฟท์ออกบริการแผนที่แบบสามมิติ ออกมา กูเกิลก็ยังไม่ยอมน้อยหน้า เปิดบริการ Street View ที่ให้คุณสามารถเดินไปในเมืองที่มีบริการนี้ได้เหมือนอยู่ในเมืองนั้นจริงๆ
กูเกิลช่วงนี้กระหน่ำซื้อจริงๆ โดยครั้งนี้ได้เข้าซื้อ GreenBorder Technologies บริษัทที่ให้บริการซอฟแวร์ด้านความปลอดภัย ในการท่องอินเทอร์เน็ตบนวินโดวส์ ที่มีชื่อว่า GreenBorder ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่โปรแกรมจะแสดงกรอบสีเขียวล้อมรอบหน้าเว็บ ที่มีความปลอดภัยในการเข้าชม และเปิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต บนสภาวะแวดล้อมจำลอง ทำให้ไวรัสที่อาจติดมากับไฟล์ ไม่อาจแพร่สู่เครื่องของผู้ใชได้้
โดยทาง GreenBorder จะงดรับลูกค้าใหม่ไปจนกว่า จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในชื่อของกูเกิล ส่วนลูกค้าเดิมจะยังคงให้บริการต่อไปจนกว่าจะหมดสัญญา
ที่มา - GoogleBlogoscoped
พักหลัง Google เริ่มใช้กลยุทธควบรวมบริการชั้นนำมากขึ้น ล่าสุดมีข่าวลือเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า Google สนใจจะซื้อ FeedBurner แต่ไม่มีการยืนยัน ตอนนี้การซื้ออยู่ในขั้นเกือบสุดท้าย คาดว่าจะเสร็จกระบวนการในเดือนหน้า การซื้อขายครั้งนี้มีมูลค่า 100 ล้านเหรียญ หรือ 3600 ล้านบาท
FeedBurner พึ่งเปิดบริการปี 2003 ด้วยเงินทุน 10 ล้านเหรียญ ผ่านไป 4 ปีมูลค่าเพิ่ม 10 เท่า นับว่าคุ้มมาก ผลของการซื้อครั้งนี้คาดว่าเราจะเห็น AdSense และ Analytics ใน FeedBurner เข้าซักวัน
เดี๋ยวนี้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเมืองไทยเรียกขอเลขบัตรประชาชนมากขึ้นทุกที แต่ถามหน่อยว่า เอาไปแล้วรับผิดชอบแค่ไหน รักษาความปลอดภัยกันอย่างไร ข่าวนี้จากอเมริกาน่าจะเตือนเราได้ดี
อุทาหรณ์สอนใจเรื่องการรักษาความปลอดภัยข้อมูลเกิดขึ้นกับโรงเรียนมัธยมในอินเดียนาโพลิส สหรัฐอเมริกา เหตุเกิดเมื่อข้อมูลปกปิดของเด็กนักเรียนและโรงเรียนกว่า 7500 คน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเลขหมายประกันสังคมหรือข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญอื่น ๆ สามารถเซิร์ชหาได้ผ่านกูเกิ้ล และเซิร์ชเอ็นจินอื่น ๆ มานานกว่าสองปีเป็นอย่างน้อย
ทั้งครูและนักเรียนโหลดข้อมูลเข้าระบบของโรงเรียนแล้วคิดว่าปลอดภัย แต่เอาเข้าจริงก็เสร็จกูเกิ้ล แบบไม่รู้ตัว
หลายปีมาแล้วที่กูเกิลมีคดีกับ Perfect 10 บริษัทขายภาพนู้ดที่ฟ้องกูเกิลเนื่องจากบริการ Google Image Search มีการใช้ภาพ Thumbnail เพื่อแสดงผลการต้นหา ทำให้ทาง Perfect 10 ระบุว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพของบริษัท
งานนี้ศาลก็ประกาศคำตัดสินออกมาแล้วว่ากูเกิลไม่มีความผิดในคดีนี้แต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตามในข้อหาที่ทางกูเกิลมีลิงก์ไปยังเว็บที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ทางกูเกิลไม่ยอมฟังคำร้องของทาง Perfect 10 นั้นศาลยังไม่ตัดสิน
ที่มา - ArsTechnica
เมื่อวานนี้ นักพัฒนาของกูเกิลได้ร่วมมือกันออกพ็อดแคสต์ที่มีชื่อว่า Google Developer Podcast ซึ่งในพ็อดแคสต์จะมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องต่อไปนี้
คุณจะคิดอย่างไร ถ้าจะบอกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนเว็บไซต์ที่เราค้น โดยใช้บริการของกูเกิลนั้น มีข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของเรา! ข้อมูลที่น่าตระหนกนี้ เกิดจากการสำรวจโดย "วิเคราะห์เชิงลึก" จากตัวอย่างเว็บไซต์ 4.5 ล้านเว็ป มาดูครับว่าเขาเจออะไรบ้าง - ประมาณ 450,000 เว็บ มีความสามารถที่จะ หรือติดตั้งโปรแกรมที่เป็นอันตราย ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ โดยที่คุณไม่รู้ตัวเลย - ประมาณ 700,000 เว็บที่ประกอบด้วยโค้ดที่ "อาจ" เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ที่เปิดเว็บขึ้นมาดู ส่วนที่เป็นปัญหาเหล่านี้ กูเกิล เองก็เตือนได้แต่เพียงว่า "ขอให้ระมัดระวังในการแยกแยะเว็บที่เป็นอันตราย" อันตรายที่มาจากแขก(โปรแกรม)ที่ไม่ได้รับเชิญ
ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของกูเกิลมีมติไม่รับข้อเสนอต่อต้านการเซ็นเซอร์ ซึ่งเสนอโดยนาย Patrick Doherty ในนามของ New York City Pension Funds และ Office of the Comptroller of New York City เป็นการตอบต่อคำแถลงถึงความลำบากใจในการตัดสินใจในการที่กูเกิลในจีนต้องเซ็นเซอร์ตัวเองเพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ข้อเสนอทั้งหมดสามารถสรุปได้เป็นหกข้อหลักการดำเนินงานของกูเกิลทั่วโลกคือ
Google Analytics เครื่องมือในการช่วยวิเคราะห์สถิติของเว็บเพจ ได้แสดงผลรายงานในรูปโฉมใหม่ ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้หน้าตาเมนูเปลี่ยนไปเยอะพอสมควร โดยสามารถดูการเปรียบเทียบหมวดหมู่ในรายงานรูปแบบเดิม และรายงานรูปแบบใหม่ได้จาก Report Finder Tool
หลังจากลองใช้ดูแล้วมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลง เช่น
บริการหน้า Home Page ของ Google ที่ให้เราเลือกเนื้อหามาวางได้เอง ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น "iGoogle" แล้วครับ คลิกไปดูได้เลย
คราวนี้ไม่ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเดียว แต่เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เ้ข้ามาด้วย คือตอนนี้จะมี Gadgets พิเศษซึ่งเราสามารถปรับแต่งและใส่เนื้อหาได้เองเพิ่มมา ตอนนี้สามารถใส่รูปแบ่งให้คนอื่นดูได้ หรือว่าแสดง YouTube Video จาก Channel ของเราเอง ลองเข้าไปดูเอาแล้วกันครับ คลิกที่ Make your own gadget ด้านล่างของ Home Page
นอกจากนี้แล้ว Google ยังเปิดให้ใช้ Theme ของ U.S. ได้ และตอนนี้สามารถใช้งานได้ 26 ภาษา (ถ้าจะเข้าไปดูแบบภาษาไทยก็เข้าผ่าน google.co.th แล้วคลิกลิงค์ที่เขียนว่า ภาษาไทย ใต้กล่องค้นหาครับ)
หลังจากการรอคอยอันยาวนาน ตอนนี้ก็ได้เวลาที่ชาวไทยจะมีโอกาสใช้งานบริการ Google Maps มากไปกว่าการส่องหลังคาบ้านคนอื่นเล่นกันแล้ว เมื่อมีการอัพเดตข้อมูลใน Google Maps ครั้งใหญ่ รวมแปดประเทศทั่วโลกได้แก่ รัสเซีย, ตุรกี, ใต้หวัน, โครเอเชีย, สโลเวเนีย, กรีซ, ลิธัวเนีย และไทย
การอัพเดตครั้งนี้ทำให้มีสามประเทศที่ได้รับบริการ Google Maps เป็นครั้งแรกคือ ใต้หวัน, ไทย, และตุรกี (ตัว T หมดเลย)
ว่าแต่งานนี้สร้างเหตุผลให้ซื้อ OpenMoko ได้อีกข้อแล้ว
Update: ผมเมาไปหน่อยที่ว่าแผนที่มันเก่า ดูเหมือนว่ากูเกิลจะซื้อแผนที่ระดับความละเอียดไม่เท่ากันในแต่ละจังหวัด ทำให้พอออกนอกกรุงเทพแล้วจะทำให้หลายๆ อย่างหายไปจากแผนที่ไปเลย
ให้เข้าเว็บ Google ครับ รอโหลดเสร็จ จากนั้นพิมพ์โค้ดด้านล่างใน Address Bar และกด Enter
javascript:document.cookie="PREF=ID=fddb01133a87d314:LD=en:CR=2:TM=1177334998:LM=1177334998:GM=1:S=OOg0FEVzpPplxe9J;path=/; domain=.google.com"
กด Back หรือ Previous กลับมาที่หน้า Google ลองใส่คีย์เวิร์ดและค้นหาดู ก็จะพบกับตัวทดลองล่างสุดของ Google Search ครับ
จะทำให้กลับไปเป็นแบบเดิมก็ล้าง Cookie ของ Web Browser นะครับ
ลองดูหน้า Google Web Search Features แล้วเล่นไปด้วย ก็จะสนุกมาก
ปล. พ่อผมชื่อ Google.
กูเกิลถือเป็นผู้ใช้ MySQL รายใหญ่อีกรายหนึ่ง แต่เนื่องจากความต้องการที่ค่อนข้างเหนือกว่าฐานข้อมูลขนาดเล็กทั่วไป ทางกูเกิลจึงต้องมีการปรับปรุงการทำงานเพื่อใช้งานภายใน และวันนี้ทางกูเกิลก็ออกมาประกาศเปิดเผยแพตซ์ชุดหนึ่งที่มีการใช้งานอยู่ในรูปแบบสัญญาอนุญาตแบบ GPL
ฟีเจอร์หลักที่ทางกูเกิลเพิ่มเข้ามาเกือบทั้งหมดเป็นฟีเจอร์ในเรื่องของ High Availability ซึ่งบ้านเราอาจจะมีคนใช้กันน้อยซักหน่อย (ปรกติก็ซื้อ 10g ใช้?) แพตซ์ทั้งหมดเป็นแพตซ์สำหรับ MySQL 4 โดยทางกูเกิลระบุว่าแพตซ์สำหรับ MySQL 5 กำลังจะตามมา
กูเกิลระบุชัดเจนว่าสนใจที่จะมอบแพตซ์เหล่านี้ให้ทาง MySQL นำไปดำเนินการต่อไป โดยการเปิดเผยแพตซ์ในตอนนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนของนักพัฒนา MySQL ได้มีโอกาสพิจารณาแพตซ์เหล่านี้ได้
กูเกิลเข้าซื้อกิจการบริษัท Marratech จากสวีเดน ซึ่งทำซอฟต์แวร์ด้าน video conference มีทั้งเวอร์ชันบนวินโดวส์และแมคอินทอช
โฆษกของกูเกิลบอกเพียงว่า Marratech จะช่วยให้ลูกค้าของกูเกิลสามารถพูดคุยแบบ video conference จากที่ไหนก็ได้ และกูเกิลจะเรียนรู้จากวิศวกรของ Marratech ซึ่งจะยังคงทำงานในสวีเดนเช่นเดิม
ซื้อแล้วจะเอามาทำอะไร น่าจะเดากันได้ทุกคน?
ที่มา - Ars Technica
หลังจากที่เสนอซื้อ DoubleClick แพ้แล้วออกมาโวยวาย (ข่าวเก่า) เราอาจคิดว่าไมโครซอฟท์ขี้แพ้ชวนตี แต่จริงๆ มันอาจมีนอกมีในมากกว่านั้น
มีการอ้างแหล่งข่าวภายในที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า ข้อเสนอราคา 3.1 พันล้านเหรียญของกูเกิลนั้น ไมโครซอฟท์ได้ให้ไม่น้อยไปกว่ากัน และยินดีจะให้มากกว่านั้นอีก เพียงแต่ผู้ถือหุ้นส่วนมากของ DoubleClick ตัดสินใจว่าไปอยู่กับกูเกิลน่าจะดีกว่า
ดีลนี้อาจมีข้อเสนอในทางลับที่ไม่เปิดเผย หรือไม่ก็ DoubleClick พิจารณากระแสตลาดแล้วเห็นว่าในระยะสั้นกูเกิลอนาคตสดใสกว่า ปัจจุบันไมโครซอฟท์มีมูลค่าตลาดประมาณ 248 พันล้านเหรียญ กูเกิลมี 150 พันล้านเหรียญ