ร้านค้าบนเว็บไซต์ Amazon.co.jp มีรายการลิสต์ขายกล่องสุ่มการ์ดจอ ราคาตั้งแต่ 100-125 ดอลลาร์ หรือ 3,300 ถึง 4,200 บาท มีทั้งตระกูล GeForce RTX 3000 สูงสุด RTX 3090 หรือตระกูล Radeon RX 6000 รุ่นสูงสุด RX 6900 XT ไล่ลงไปจนถึงตระกูล GTX 900 / RX 300 และรุ่นอื่นๆ ซึ่งแม้จะคืนสินค้าและขอคืนเงินไม่ได้ แต่กล่องสุ่มการ์ดจอเหล่านี้ก็ขายหมดอย่างรวดเร็ว
กล่องสุ่มมี 4 ระดับคือ “GOOD BOX” ที่ระบุว่ามีการ์ดจอ RTX 3090, RTX 3080 Ti, RTX 3070 Ti, RTX 3060 Ti, RX 6900 XT, RX 6800, RX 6700 XT, RX 6600 XT อยู่ด้วย โดยจะเป็นการ์ดจอใหม่ แต่รุ่นอื่นที่เหลือจะมีทั้งการ์ดจอใช้แล้ว และการ์ดจอใหม่ปนกัน
สถาบันการจัดการข้อมูลและโทรคมนาคมมหาวิทยาลัยเกียวโต รายงานเหตุระบบมีปัญหาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลสำหรับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด ทำให้ข้อมูลในระบบหายไปจำนวนมาก
รายงานระบุว่าระบบเริ่มทำงานผิดพลาดตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 16 ธันวาคม จึงปิดระบบสำรองทิ้ง และพบว่าระบบลบไฟล์ย้อนกลับไปถึงวันที่ 3 ธันวาคม รวมไฟล์ที่เสียหาย 34 ล้านไฟล์รวม 77TB จากกลุ่มผู้ใช้งาน 14 กลุ่ม ในจำนวนนี้มี 4 กลุ่มกู้ไฟล์กลับจากระบบสำรองไม่ได้
ไม่มีข้อมูลว่าไฟล์ที่หายไปเป็นไฟล์อะไรบ้าง หรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นผิดพลาดตรงไหน จึงลบไฟล์จากระบบจริงไปได้
แอปเปิลประเทศญี่ปุ่น ประกาศโปรโมชันต้อนรับปีใหม่ โดยมีไฮไลท์คือ AirTag รุ่น limited ที่จะให้ฟรีกับลูกค้าที่ซื้อสินค้าตามเงื่อนไขที่กำหนด
AirTag รุ่นดังกล่าว จะสลักลายอีโมจิต้อนรับปีเสือ ซึ่งเป็นปีนักษัตรของ 2022 เงื่อนไขคือลูกค้าจะต้องซื้อ iPhone 12, iPhone 12 mini หรือ iPhone SE ในช่วงวันที่ 2 และ 3 มกราคม 2022 โดย AirTag รุ่นนี้มีจำนวนจำกัดเพียง 20,000 ชิ้น เท่านั้น
ศาสตราจารย์ Homei Miyashita นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น ผลิตทีวีลิ้มรสได้ Taste the TV (TTTV) ที่มาพร้อมกับสเปรย์รสชาติสังเคราะห์ 10 รสชาติ ที่จะพ่นรสชาติผสมกันออกมาบนฟิล์มอนามัยบนหน้าจอ ให้คล้ายกับอาหารตามที่ตั้งค่าไว้ แล้วให้ผู้ใช้งานสามารถเลียเพื่อชิมรสบนหน้าจอได้ (หรือจริงๆ เอานิ้วป้ายมาชิมก็น่าจะเวิร์ค)
ศาสตราจารย์ Miyashita ระบุว่าหน้าจอนี้จะสามารถสร้างรูปแบบปฏิสัมพันธ์ใหม่ของผู้คนในช่วงโควิด-19 จุดประสงค์คือให้ผู้คนสามารถรับประสบการณ์เหมือนทานอาหารที่ร้านในอีกซีกโลกด้วยตัวเอง แม้อยู่แต่บ้านก็ตาม แต่ไม่ได้พูดถึงการระบาดของโรคจากการเลียหน้าจอต่อกันแต่อย่างใด
ญี่ปุ่นเตรียมลงทุน 6 แสนล้านเยน (ราว 1.78 แสนล้านบาท) ให้กับบริษัทผลิตชิปจากทั้งไต้หวัน สหรัฐฯ และของญี่ปุ่นเอง เป็นการทยอยให้เป็นเวลาหลายปี พร้อมเงื่อนไขว่าต้องเพิ่มกำลังการผลิตหากชิปขาดแคลน เพื่อรักษาซัพพลายของชิปในประเทศ
เงิน 6 แสนล้านเยนนี้ แบ่งเป็น 4 แสนล้านเยนที่จะลงทุนให้ TSMC ตั้งโรงงานใหม่ที่จังหวัดคุมาโมโตะ อีก 2 แสนล้านเยน สำหรับบริษัทผลิตชิปจากสหรัฐฯ Micron Technology ที่เพิ่งซื้อโรงงานผลิตชิปของ Elpida Memory ที่ฮิโรชิม่าเพื่อตั้งโรงงานผลิต DRAM และ Kioxia Holdings ที่เป็นผู้ผลิตชิป NAND รายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งกำลังตั้งโรงงานแห่งใหม่ในหลายเมือง
หน่วยงาน Financial Services Agency (FSA) ของญี่ปุ่น ที่ดูแลด้านการเงินในประเทศ เตรียมออกกฎใหม่ ในปี 2022 ควบคุมคริปโตตระกูล stablecoins หรือเหรียญที่ตรึงมูลค่าไว้เท่ากับค่าเงินในโลกความจริง โดยจะอนุญาตให้ธนาคารและผู้ให้บริการรับโอนเงิน (wire transfer service) เท่านั้นเป็นผู้ออกเหรียญ stablecoins
ยังไม่มีข้อมูลว่านอกจากเงิน stablecoins ในประเทศแล้ว ญี่ปุ่นจะยอมรับเหรียญที่มีอยู่ในตลาดตอนนี้เช่น USDT ของ Tether หรือ BUSD ของ Binance และเจ้าอื่นหรือไม่ แต่หน่วยงานระบุว่าจะให้ความชัดเจนกับกฎที่เกี่ยวข้องกับเงินคริปโตมากขึ้นในปี 2022
บริษัท KDDI ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของญี่ปุ่น จับมือกับ Mawari ผู้ให้บริการระบบเรนเดอร์และสตรีมมิ่ง AR ผ่านระบบคลาวด์ เปิดตัว Aiko บริการมนุษย์ดิจิทัล Digital Human as a Service หรือ DHaaS ที่อยู่ในช่วง Proof of Concept
Aiko จะเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะที่จะทำงานโดยการประสานกันระหว่างเครือข่ายของ 5G ของ KDDI, ระบบ AWS Wavelength และระบบสตรีมมิ่งกราฟฟิกในโลก AR บนแพลตฟอร์ม Mawari XR Streaming
บริษัทรถไฟญี่ปุ่น East Japan Railway Co หรือที่เรียกย่อๆ ว่า JR-East เริ่มทดสอบรถไฟความเร็วสูงแบบไม่ต้องมีคนขับเป็นมนุษย์เลย โดยยังเป็นการทดสอบระยะสั้นๆ เพียง 5 กิโลเมตร วิ่งที่ความเร็ว 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีคนขับนั่งอยู่บนเก้าอี้คนขับเผื่อกรณีฉุกเฉินเท่านั้น รถที่ทดสอบเป็นรุ่น E7 ที่สาย Joetsu Line
ผลการทดสอบการจอดอัตโนมัติเลยเส้นที่กำหนดไป 8 เซนติเมตร แต่ยังอยู่ในระยะ 50 เซนติเมตรที่ยอมให้ผิดพลาดได้ ซึ่งโฆษกของ JR-East บอกว่าอยู่ในระดับเดียวกับคนขับที่เป็นมนุษย์ แต่บริษัทก็จะปรับปรุงเรื่องนี้ให้ดีขึ้น และยังไม่ระบุว่าจะนำระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติมาใช้งานจริงเมื่อใด
TOP500.org ประกาศรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 500 อันดับแรกประจำรอบเดือนพฤศจิกายน 2021 (ประกาศทุกครึ่งปี) อันดับในกลุ่ม Top 10 ยังแทบไม่เปลี่ยนแปลง โดยแชมป์ยังเป็นเครื่อง Fugaku ของญี่ปุ่น (พัฒนาโดย Fujitsu) เช่นเดิม ถือเป็นการครองอันดับติดต่อกันมา 4 สมัยนับจากรอบเดือนมิถุนายน 2020
อันดับสองและสามคือ IBM Summit อดีตแชมป์เก่า และ Sierra ตามลำดับ ทั้งสองเครื่องใช้สเปกคล้ายๆ กันคือ ซีพียู IBM Power9, จีพียู NVIDIA Volta GV100, เครือข่าย Mellanox
สำนักงานเขตในกรุงโตเกียว เตรียมจะยกเลิกใช้งานแผ่น Floppy Disk ที่ใช้เก็บและเคลื่อนย้ายข้อมูลบางส่วนของภาครัฐมานาน หลังจากถูกบีบเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
เขตเมกุโระและชิโยดะ เป็น 2 เขตล่าสุดในกรุงโตเกียวที่ประกาศว่าเตรียมเลิกใช้ Floppy Disk เร็วๆ นี้ หลังเขตมินาโตะยกเลิกไปก่อนเมื่อปี 2019 โดยที่ผ่านมาหลายเขตเลือกจะใช้ Floppy Disk อยู่ ส่วนหนึ่งเพราะมันแทบไม่พังและข้อมูลไม่หาย แถมใช้ซ้ำได้ เลยไม่มีเหตุผลจะเสียเวลาและเงินเพื่ออัพเกรดระบบ โดยเขตเมกุโระใช้ Floppy Disk ในการเก็บข้อมูลการจ่ายเงินของข้าราชการในเขต และนำไปส่งให้ธนาคาร เพื่อทำเรื่องธุรกรรม
วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม ที่ผ่านมา องค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ได้จัดการแข่งขันโครงการ The 2nd Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์เอเชียทางออนไลน์ ถ่ายทอดสดจากศูนย์อวกาศสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น
โดยเยาวชนตัวแทนประเทศไทยทีม Indentation Error จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี คว้ารางวัลชนะเลิศระดับเอเชีย ทำคะแนนเป็นอันดับ 1 จากการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA บนสถานีอวกาศนานาชาติ ในโครงการคิโบะ โรบอต โปรแกรมมิ่ง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 2
TSMC ยืนยันข่าวการตั้งโรงงานผลิตชิปที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว โดยซีอีโอ C.C. Wei แจ้งกับนักลงทุนว่าโรงงานใช้กระบวนการผลิตขนาด 22 และ 28 นาโนเมตร รองรับงานได้หลายประเภท เช่น เซ็นเซอร์ภาพหรือไมโครคอนโทรลเลอร์ การก่อสร้างจะเริ่มในปี 2022 และเดินสายผลิตจริงในปี 2024
TSMC ไม่ได้แจ้งตัวเลขมูลค่าของโรงงานนี้ (บอกแค่ว่าไม่ได้นับรวมในแผนลงทุนก้อนใหญ่ 1 แสนล้านดอลลาร์ที่ประกาศไปเมื่อต้นปี) และไม่ได้พูดถึงว่าเป็นการร่วมลงทุนกับโซนี่ตามที่เป็นข่าวด้วยหรือไม่ แต่ปกติแล้ว TSMC จะเป็นเจ้าของโรงงานเอง 100%
ท่ามกลางวิกฤตชิปขาดตลาดยาวนาน บริษัทที่โดดเด่นที่สุดในตอนนี้ย่อมเป็น TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) ในฐานะโรงงานผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในทำให้หลายๆ ประเทศเชิญชวนให้ TSMC ไปตั้งโรงงานในแผ่นดินของตัวเอง
ประเทศล่าสุดที่กำลังจะชวน TSMC มาอยู่ด้วยสำเร็จคือญี่ปุ่น ที่ TSMC กำลังหารือกับ Sony Group เพื่อตั้งโรงงานผลิตชิปมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์ที่จังหวัดคุมาโมโต้ ตอนนี้ยังไม่มีข่าวประกาศอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าน่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในปี 2024
แม้ยังเป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 20 นาโนเมตร แต่ก็จะตอบโจทย์อุตสาหกรรมรถยนต์และการผลิต ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ชิปขนาดเล็กที่สุด แต่ประสบปัญหาขาดแคลนชิปจนต้องหยุดสายการผลิตกันบ้างแล้ว
กลับมาพบกันอีกครั้งกับนิทรรศเกมเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น Tokyo Game Show 2021 สำหรับปีนี้นั้นงานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายนถึง 3 ตุลาคมที่ผ่านมาครับ โดยจัดออนไลน์เป็นหลักเช่นเดียวกับปีที่แล้ว งานในปีนี้นั้นมีบริษัทร่วมงานทั้งสิ้น 351 บริษัท ซึ่งลดลงเป็นอย่างมากจากปีก่อน ๆ (2019: 655 บริษัท, 2020: 351 บริษัท) ครับ ที่แตกต่างออกไปคือในปีนี้มีการจัดนิทรรศกาลแบบออฟไลน์ให้สำหรับสื่อมวลชนและ Influencer ด้วย ซึ่งผมก็มีโอกาสได้ไปร่วมงาน และเก็บบรรยากาศมาฝากกันเช่นเคยครับ
คำเตือน: ภาพประกอบเยอะมาก
Google งดเล่นมุก April Fools' Day มาสองปีแล้วเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 แต่หากใครยังจำได้ ย้อนกลับไปในปี 2018 Google ประเทศญึ่ปุ่นเล่นมุกหนึ่ง เป็นอุปกรณ์เสริมคีย์บอร์ด ป้อนข้อมูลโดยการลากนิ้วเป็นตัวอักษรบนแป้นพิมพ์
ล่าสุด Google ญี่ปุ่นต่อยอดไอเดีย สร้างแป้นพิมพ์ Gboard ในรูปแบบแก้วชาทรงกระบอกขนาด 125 มิลลิลิตร เพื่อเฉลิมฉลองพิธีชงชาคิตาโนะ ตัวแก้วหุ้มด้วยปุ่มกดทั่วทั้งแก้ว มีช่องเสียบพอร์ต USB-C และที่ว่างข้างในแก้วสามารถใส่ชาลงไปและดื่มได้จริงๆ ตัวปุ่มกดเป็นตัวอักษรเขียนด้วยพู่กันสวยงาม
Starlink กำลังขยายบริการไปทั่วโลก ล่าสุด Nikkei Asia ก็รายงานว่า KDDI ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะเป็นพันธมิตรให้บริการ Starlink ในญี่ปุ่น โดยเตรียมทดสอบการใช้งานภายในเดือนนี้ และขอใบอนุญาตจากรัฐบาลภายในปีนี้ ก่อนจะเปิดให้บริการทั่วไปในปีหน้า
ก่อนหน้านี้ Elon Musk เคยเปิดเผยว่ามีผู้จ่ายเงินจองคิวใช้งาน Starlink แล้ว 500,000 คนโดยไม่ได้เปิดเผยว่ามาจากชาติใดบ้าง อย่างไรก็ดีช่วงแรกนี้ Starlink ยังจำกัดพื้นที่ให้บริการเฉพาะซีกโลกด้านเหนือช่วงเส้นรุ้ง (latitude) สูงๆ เป็นหลัก ซึ่งญี่ปุ่น หรืออังกฤษเข้าเงื่อนไขนี้
PayPal ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อกิจการ Paidy แพลตฟอร์มการเงินจากญี่ปุ่น สำหรับการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง (Buy now, pay later - BNPL) ที่มูลค่า 3 แสนล้านเยน หรือราว 8.9 หมื่นล้านบาท โดยจ่ายด้วยเงินสดเป็นหลัก คาดว่าดีลจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 โดย Paidy จะยังดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์เดิมต่อไป
Paidy เป็นบริการจ่ายเงินสำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์ในแบรนด์ 3-Pay ที่ให้ผู้ซื้อสามารถแบ่งจ่ายรายเดือนได้ โดยนำบิลไปจ่ายที่ร้านสะดวกซื้อหรือโอนผ่านบัญชีธนาคาร มีการจัดระบบให้คะแนนเครดิตผู้ใช้งาน รวมทั้งการันตีการจ่ายเงินให้กับทางร้านค้า วิธีการของ BNPL ทำให้ผู้ซื้อสบายใจในการจับจ่ายออนไลน์มากขึ้น เพิ่มยอดซื้อ และความถี่ในการซื้อ
รัฐบาลญี่ปุ่นเซ็นสัญญาซื้อวัคซีน NVX-CoV2373 หรือชื่อในญี่ปุ่นว่า TAK-019 จำนวน 150 ล้านโดสผ่านบริษัท Takeda Pharmaceutical คาดว่าจะเริ่มส่งมอบต้นปี 2022 แม้ว่าก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นจะซื้อวัคซีนอย่างต่อเนื่องจนเกินจำนวนประชากร นอกจากนี้ยังสั่งวัคซีนจาก Moderna เพิ่มเติมอีก 50 ล้านโดสเพื่อส่งมอบต้นปี 2022 เช่นกัน
ตอนนี้ญี่ปุ่นมีสัญญาส่งมอบวัคซีนมากกว่าปริมาณประชากรไปมาก เฉพาะวัคซีน Pfizer ก็มีสัญญาอยู่เกือบ 200 ล้านโดส แต่สำหรับ NVX-CoV2373 นี้ความพิเศษคือจะเป็นวัคซีนที่ผลิตในญี่ปุ่นเอง
Oki Engineering ผู้ให้บริการทดสอบชิปที่ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่งมาให้ตรวจสอบก่อนนำไปใช้ผลิตสินค้าจริงพบว่าชิปที่ลูกค้าส่งมาให้ตรวจนั้นเป็นชิปที่ไม่ได้คุณภาพตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ถึง 30%
บริษัทเพิ่งเริ่มให้บริการตรวจสอบชิปตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ หลังจากเหตุการณ์ชิปขาดแคลนทั่วโลกทำให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องซื้อชิปจากบริษัทใหม่ๆ ที่ไม่ได้มีประวัติการขายเซมิคอนดักเตอร์มาก่อน
ปัญหาหนักที่สุดคือชิปปลอม ที่ผู้ปลอมแปลงนำชิปจากผู้ผลิตอื่นมาลบชื่อบนชิปแล้วพิมพ์แบรนด์อื่นลงไปตามคำสั่งซื้อ, รองลงมาคือชิปเก่าที่ถอดออกมาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์, และสุดท้ายคือชิปตกมาตรฐานที่ควรถูกทำลาย ที่มาของชิปเหล่านี้มักมากจากจีน, เกาหลีใต้, และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Shonen Jump สานฝันคนอยากสร้างมังงะแต่วาดรูปไม่เก่ง ด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชัน World Maker รวมเครื่องมือสำเร็จรูปสำหรับการสร้างมังงะไม่ว่าจะเป็นตัวละคร แพทเทิร์นการวางกรอบบนหน้ามังงะ เอฟเฟกต์ตามสไตล์มังงะญี่ปุ่น พื้นหลังให้เสร็จสรรพ ที่เหลือเป็นหน้าที่ของผู้ใช้ในการสร้างพล็อตเรื่องเท่านั้น
ตัวแอปจะเปิดตัวในวันที่ 22 ก.ย. นี้และยังเป็นเวอร์ชันเบต้า ทางผู้สร้างระบุว่า ในแอปมีภาพพื้นหลัง เอฟเฟกต์ และตัวละครมากกว่า 600,000 ภาพให้เลือกใช้
ดูคลิปด้านล่างเพื่อดูวิธีการใช้งานเพิ่มเติม
ญี่ปุ่นปรับตัวเข้าสู new normal แล้ว โดย Central Japan Railway หน่วยงานดูแลรถไฟของญี่ปุ่น ประกาศเริ่มเปลี่ยนบูธสูบบุหรี่บนรถไฟชินคันเซ็นให้เป็นห้องสำหรับประชุมออนไลน์ หรือ Zooming cars ในรถไฟบางสาย
ส่วนที่นั่งอื่นๆ เริ่มมีการปรับให้เหมาะสำหรับการทำงานมากขึ้น เช่น เพิ่มความเร็ว WiFi มีเมาส์ให้ยืม มีหมอนรองคอมพิวเตอร์ให้ยืม มีช่องเสียบพลังงานตรงที่นั่ง มีโต๊ะสำหรับวางโน้ตบุ๊ก เป็นต้น
Famitsu นิตยสารเกมชื่อดังของญี่ปุ่น เปิดผลสำรวจเกมขายดี 30 อันดับ ประจำสัปดาห์วันที่ 2-8 สิงหาคม พบว่าทั้ง 30 เกมเป็นเกมของเครื่อง Nintendo Switch ทั้งหมด
แม้ Nintendo จะเคยครองชาร์ต 30 อันดับนี้หลายครั้งในยุค 90 แต่มักเป็นเกมจากเครื่องเกมหลายรุ่นของบริษัท เช่น Famicom, Super Famicom และ Gameboy ปนกันไป ครั้งนี้ถือเป็นอีกครั้งในรอบ 30 ปีที่เกมจากเครื่องเกมรุ่นเดียวของ Nintendo เหมาทุกตำแหน่ง หลัง Famicom เคยทำได้ในปี 1988
ประเทศญี่ปุ่นกำลังจะเริ่มออกใบรับรองการฉีดวัคซีนอย่างเป็นทางการหลังจากที่ทางรัฐบาลเริ่มดำเนินการฉีดให้ประชาชนในประเทศแล้ว และรัฐบาลญี่ปุ่นก็เริ่มออกใบรับรองฉีดวัคซีนเหมือนกับหลายประเทศบ้างแล้ว
ตัวอย่างเช่น ยุโรปที่ออกแบบฟอร์แมตใบรับรองฉีดวัคซีนเพื่อ QR โดยเฉพาะ สามารถออกใบรับรองผ่านแอปหรือจะพิมพ์เป็นกระดาษเองก็ได้ ส่วนสหรัฐฯ ก็เริ่มมีใบรับรองดิจิทัลให้ใช้ผ่าน Google Pay แล้ว ในขณะที่ใบรับรองการฉีดวัคซีนของญี่ปุ่นยังคงออกมาเป็นรูปแบบกระดาษ และสายการบินญี่ปุ่นกังวลว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางระหว่างประเทศในอนาคต
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นออกเอกสารเผยแพร่การป้องกันญี่ปุ่นในปี 2021 โดยระบุภัยที่ต้องรับมือในด้านต่างๆ ทั้งการเมืองระหว่างประเทศ เช่น เกาหลีเหนือที่พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ หรือจีนที่พยายามรุกน่านน้ำ แต่ในแนวทางส่วนที่ 3 ระบุถึงภัยด้านเทคโนโลยีที่กลาโหมกำลังเตรียมรับมือ ได้แก่ ด้านอวกาศ, ด้านภัยไซเบอร์, และด้านคลื่นความถี่
ด้านอวกาศนั้นเอกสารระบุข้อมูลจากดาวเทียมมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่นสภาพอากาศ, การสื่อสารภายในกองทัพและสื่อสารกับพันธมิตร, ไปจนถึงการสอดแนมต่างๆ แต่ทุกวันนี้ดาวเทียมก็มีความเสี่ยงจากขยะอวกาศและอาวุธต่อต้านดาวเทียม
วิศวกรจาก KDDI Research ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยผลการทดลอง ส่งข้อมูลดิจิทัลผ่านสายไฟเบอร์ใยแก้วแบบ 4 คอร์ ในงาน Conference on Optical Fiber Communications ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยส่งสัญญาณความเร็ว 319 Tb/s (เทราบิตต่อวินาที) ทำลายสถิติ เดิมที่ University College London เคยทำร่วมกับ Xtera และ KDDI Research เอง ไว้ที่ 178 Tb/s ในปี 2020
การทดลองครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตบนสายไฟเบอร์ออฟติกส์ขนาด 125 ไมโครเมตรจำนวน 4 คอร์ และทดสอบส่งข้อมูลผ่านสายระยะทางกว่า 3,000 กิโลเมตร มีข้อสำคัญคือสายแบบ 4 คอร์นี้สามารถนำมาปรับใช้กับโครงสร้างสายไฟเบอร์ปัจจุบันได้ในอนาคต เนื่องจากมีขนาดไม่ต่างจากสายไฟเบอร์อินเทอร์เน็ตทั่วไป แค่ต้องนำมาดัดแปลงใช้งานกับเทคนิคส่งสัญญาณแบบใหม่