Debian ออกรุ่น 8.0 Jessie มาตั้งแต่เดือนเมษายน ตอนนี้ฝั่ง Raspbian โครงการพอร์ด Debian มาใช้บนบอร์ด Raspberry Pi ก็อัพเดตตามมาแล้ว ความเปลี่ยนแปลงมีหลายอย่าง หลักๆ ได้แก่
Avi Kivity นักพัฒนาผู้สร้าง KVM เปิดตัวระบบฐานข้อมูล NoSQL ที่ชื่อว่า ScyllaDB ทำงานเข้ากับฐานข้อมูล Cassandra ผ่าน CQL
ความต่างของ ScyllaDB คือมันพัฒนาด้วยภาษา C++ บนเฟรมเวิร์ค Seastar ขณะที่ Cassandra พัฒนาด้วยจาวา
ในงาน Cassandra Summit ทาง Avi นำเสนอผลการทดสอบประสิทธิภาพของ ScyllaDB เทียบกับ Cassandra แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นกว่า 8 เท่าตัว
ตอนนี้โครงการอยู่ในสถานะเบต้า และคาดว่าจะปล่อยตัวเต็มได้ภายในเดือนมกราคมนี้
ที่มา - ScyllaDB
กลับมาอีกครั้งกับดัชนี TIOBE ที่วัดค่าความนิยมของภาษาผ่านข้อมูลการค้นหา โดยสถิติที่น่าสนใจ คือ
สำหรับ 10 อันดับแรก เรียงได้ดังนี้: Java, C, C++, C#, Python, PHP, JavaScript, VB.NET, Perl, Objective-C
ที่มา: TIOBE
ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ Oracle ก่อนหน้านี้เพิ่งมีข่าวการปลดพนักงานสาย Java Evangelist ยกทีม ล่าสุด Cameron Purdy ผู้บริหารตำแหน่ง Senior Vice President for Development ที่อยู่กับบริษัทมานาน 8 ปี (และถือเป็น Java Evangelist คนสำคัญอีกคนหนึ่ง) ก็ออกจากบริษัทแล้ว โดยเขาทวีตบอกว่าไม่ได้ลาออกเอง แต่เป็นการตัดสินใจของบริษัท
พนักงานสาย Java คนอื่นๆ ที่ออกจากบริษัทในช่วงเดียวกันได้แก่ Mark Heckler (Developer Evangelist), James Weaver (JavaFX และ IoT), John Clingan (Glassfish คนนี้ย้ายไป Red Hat)
Oracle ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นในเรื่องนี้ครับ
ตามปกติแล้ว บริษัทซอฟต์แวร์สำหรับนักพัฒนา มักมีพนักงานตำแหน่ง evangelist (คำแปลตามพจนานุกรมคือ "ผู้เผยแผ่ศาสนา") ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเพื่อกระตุ้นให้นักพัฒนาหันมาใช้เทคโนโลยีของบริษัทกันมากขึ้น พนักงานตำแหน่งนี้มักต้องติดต่อกับชุมชนนักพัฒนาภายนอก เป็นตัวกลางระหว่างชุมชนกับบริษัท
ล่าสุดมีข่าวว่า Oracle ปลดพนักงานตำแหน่ง Java evangelist ออกทั้งหมดโดยยังไม่มีสาเหตุแน่ชัด
Simon Ritter หนึ่งในทีม Java evangelist โพสต์ข้อมูลผ่าน Facebook เกี่ยวกับการตกงานของเขา โดยเขาบอกว่าไม่คิดว่าทีมงานของเขาจะตกงานกันยกทีมแบบนี้ ส่วนโฆษกของ Oracle ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อข่าวการปลดพนักงานครั้งนี้
Trend Micro ออกมาประกาศช่องโหว่ใหม่ของ Java 8 ที่ยังไม่มีแพตช์แก้ไข ซึ่งถือเป็นช่องโหว่แบบ zero-day ตัวแรกในรอบ 2 ปีของ Java ด้วย
การค้นพบช่องโหว่ Java ครั้งนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับเอกสารของ Hacking Team ที่เผยช่องโหว่ Flash แต่เกิดจากการจับตาปฏิบัติการเจาะระบบชื่อ Operation Pawn Storm ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2015 และมุ่งเป้าเจาะระบบของหน่วยงานด้านความมั่นคงของสหรัฐอย่างทำเนียบขาว-นาโต้
ทีมเฝ้าระวังของ Trend Micro ตรวจพบว่า URL ที่ฝ่ายแฮ็กเกอร์ Pawn Storm เคยใช้งานมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของเว็บเพจในภายหลัง และเนื้อหาในเพจเหล่านี้เตรียมไว้สำหรับเจาะระบบผ่านช่องโหว่ของ Java ที่ยังไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อน
สถานะของคดีลิขสิทธิ์ Java ระหว่างกูเกิลกับออราเคิลคือ คดียังอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ แต่กูเกิลก็ส่งเรื่องเข้าศาลฎีกาเมื่อเดือนตุลาคม 2014 ด้วยอีกทางหนึ่ง
ความคืบหน้าล่าสุดคือศาลฎีกาไม่รับคำร้องจากกูเกิล ทำให้เรื่องกลับไปที่ชั้นศาลอุทธรณ์อีกครั้ง เดิมทีนั้นศาลอุทธรณ์ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นว่า API ของ Java มีลิขสิทธิ์ (ซึ่งเป็นผลดีกับออราเคิล) แต่ศาลอุทธรณ์กลับมองว่าแม้ API มีลิขสิทธิ์ แต่กูเกิลมีสิทธิใช้ได้ตามหลัก fair use (ซึ่งเป็นผลดีกับกูเกิล) และส่งเรื่องกลับไปยังศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาประเด็นเรื่อง fair use อีกครั้ง
ช่วงกลางปีของทุกปี โครงการ Eclipse จะออกซอฟต์แวร์รุ่นใหม่เสมอ ซึ่งปีนี้ใช้ชื่อรุ่นว่า "Mars" และนับเวอร์ชันเป็น 4.5.0 แล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้มีหลายอย่าง (ขึ้นกับแต่ละโครงการย่อย) ที่เด่นๆ ได้แก่
ที่ผ่านมาเราเห็นข่าว Oracle Java แถม Ask Toolbar โดยแอบติดตั้งแบบไม่ให้ผู้ใช้รับรู้
ล่าสุด Oracle ได้พันธมิตรรายใหม่เป็น Yahoo โดยตัวติดตั้ง Java จะมีตัวเลือกให้เปลี่ยนเครื่องมือค้นหาหลักมาเป็น Yahoo อีกทั้งเปลี่ยนหน้า New Tab ของ Chrome เป็น Yahoo ด้วยเช่นกัน (ตัวเลือกนี้จะถูกเลือกมาเป็นดีฟอลต์ แต่ตัวแทนของ Yahoo บอกว่าเอาออกได้และไม่มีการแอบเนียนติดตั้งแน่นอน)
การที่ Yahoo จับมือกับ Oracle เป็นหนึ่งในแผนการของซีอีโอ Marissa Mayer ที่ต้องการให้บริษัทกลับมาเติบโตในตลาดการค้นหาอีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ Yahoo ก็เพิ่งประกาศข้อตกลงกับ Firefox ที่อยู่บนยุทธศาสตร์เดียวกัน
ช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ถือเป็นเดือนครบรอบ 20 ปีของภาษาและแพลตฟอร์ม Java ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการคอมไพล์แล้วนำโปรแกรมมารันบน virtual machine
Oracle ในฐานะเจ้าของ Java ในปัจจุบันจึงฉลองด้วยการจัดทำ timeline เหตุการณ์สำคัญในแต่ละช่วงอายุของ Java ตั้งแต่ถือกำเนิดในปี 1995 โดยตั้งเป้าว่าจะเป็นภาษาสำหรับอุปกรณ์ฝังตัวและเซ็ตท็อปบ็อกซ์ และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เอาเข้าจริงแล้ว Java เริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี 1991 โดยทีมของ James Gosling วิศวกรของ Sun (ตอนแรกใช้ชื่อว่า Oak เพราะตั้งชื่อตามต้นไม้ข้างสำนักงาน ภายหลังเปลี่ยนชื่อเพราะปัญหาเครื่องหมายการค้า) และใช้เวลานานถึง 5 ปีกว่าจะเปิดตัวในงาน SunWorld ปี 1995
ไมโครซอฟท์ประกาศเป้าหมายของ Windows 10 ว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าจะต้องมีอุปกรณ์ที่รัน Windows 10 จำนวน 1 พันล้านชิ้น ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่มาก เพราะ Android KitKat ยังทำได้แค่ประมาณ 500 ล้านชิ้นเท่านั้น
เพื่อให้ Windows 10 มีแอพจำนวนมากพอ ไมโครซอฟท์จึงประกาศแนวทาง 4 ข้อที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำโค้ดของแอพบนแพลตฟอร์มอื่นๆ มาใช้งานบน Windows 10 ได้ง่ายขึ้น
ไฮไลท์อยู่ที่การนำโค้ด Android และ iOS มารันบน Windows 10 นั่นเองครับ
ออราเคิลออกแพตช์ตามรอบการอัพเดตปกติ เป็นการปล่อยแพตช์ประจำไตรมาสที่สอง ซอฟต์แวร์จำนวนมากมีอัพเดตออกมา
แพตช์ที่ออกมามีระดับความร้ายแรงสูง คะแนน CVSS เกิน 9.0 ขึ้นไปหลายรายการ แต่ที่กระทบกับคนวงกว้าง คือ Java ที่มีช่องโหว่ในส่วนโค้ด 2D เสี่ยงต่อการถูกแฮกสูง มีคะแนน CVSS 10.0 ช่องโหว่นี้ทำให้แฮกเกอร์สามารถวาง Java applet แล้วทะลุ sandbox ออกมาได้ กระทบ Java 5 ขึ้นไป แต่กระทบเฉพาะการติดตั้งแบบไคลเอนต์เท่านั้น
ส่วนช่องโหว่ร้ายแรงสูงอื่น กระจายไปตามซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น MySQL Enterprise Monitor, Cisco MDS Fiber Channel Switch, และ Oracle Exalogic Infrastructure
ผู้ดูแลระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์ออราเคิลควรไปรีวิวกันว่าตัวไหนกระทบ จะได้วางแผนอัพเกรดกันได้ครับ
หลังจากออราเคิลออก Java 8 ในเดือนมีนาคม 2014 บริษัทก็เดินหน้าเต็มที่สู่ Java 9 ที่คาดว่าจะออกได้ในปี 2016
ความคืบหน้าล่าสุดคือ Mark Reinhold หัวหน้าสถาปนิก (chief architect) ของ Java ไปพูดที่งาน EclipseCon โดยเล่าถึงแผนการของ Java 9 และ Java รุ่นถัดจากนั้น (ซึ่งก็น่าจะเรียกว่า Java 10)
Minecraft เป็นเกมที่พัฒนาด้วยภาษาจาวา และก่อนหน้านี้ผู้เล่นต้องติดตั้งจาวาในเครื่องเสียก่อน แต่ในรุ่นล่าสุด ทาง Minecraft ก็ออกตัวติดตั้งรุ่นใหม่ที่ผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งจาวาลงในระบบเองแล้ว
ตัว Minecraft เองยังคงพัฒนาด้วยจาวาต่อไป แต่ตัวติดตั้งจะติดเอาจาวามาในตัว ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องไปดาวน์โหลดเองอีก ทำให้ไม่ต้องติดตั้งจาวาปลั๊กอิน หรือได้โปรแกรมแถม มาในเครื่อง
เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว เว็บไซต์ ZDNet เผยข้อมูลว่า Oracle พยายามหาลำไพ่พิเศษด้วยการแถม Ask Toolbar มากับ Java บนวินโดวส์ และแอบเนียนติดตั้งตัวเองอย่างเงียบๆ โดยไม่บอกผู้ใช้งาน
ล่าสุด ZDNet ค้นพบว่า Oracle ขยายนโยบายนี้มายัง Java for Mac แล้ว (เริ่มจาก Java 8 Update 40) โดยการติดตั้ง Java จะแถม Ask มาด้วยเป็นค่าดีฟอลต์ หลังการติดตั้งแล้ว ระบบค้นหาของ Safari และ Chrome จะถูกเปลี่ยนเป็น Ask แทน
ที่มา - ZDNet
หลังจากที่กูเกิลออกเครื่องมือแปลงโค้ด Java เป็น Objective-C ในชื่อ J2ObjC ผ่านมาเกือบ 3 ปีก็ได้เวลาของไมโครซอฟท์กันบ้าง
ไมโครซอฟท์ออกเครื่องมือแปลงโค้ด จาก Java เป็น C#, C++ และ Objective C++ (โดยในส่วนของ C++ และ Objective C++ จะมีการรองรับในเร็วๆ นี้) ในชื่อ JUniversal มาพร้อมกับไลบรารี JSimple และสามารถใช้ร่วมกันกับ J2ObjC ในการแปลงเป็น Objective-C ได้
แอนดรอยด์ผูกกับเทคโนโลยีภาษาอย่างหนักเสมอมา แม้กูเกิลจะบอกว่าใช้เพียงตัวภาษาแต่กระบวนการพัฒนาก็ต้องใช้เทคโนโลยีจาวาทั้งระบบ ใน Android SDK 21.1 มีผู้รายงานว่ามีฟีเจอร์ที่แอนดรอยด์ไม่ได้ประกาศเพิ่มเข้ามาเงียบๆ นั่นคือคอมไพล์เลอร์ Jack and Jill
คอมไพล์เลอร์หลักคือ Jack ที่มีชื่อไฟล์ว่า jack.jar ทำหน้าที่คอมไพล์โค้ดจาวาเป็นไฟล์ .dex ทันทีโดยไม่ต้องให้ใช้จาวาคอมไพล์เลอร์แปลงเป็น .class ก่อนเหมือนเดิม ส่วนตัวรองคือ Jill มีไฟล์ชื่อ jill.jar ทำหน้าที่แปลงไลบรารีอื่นๆ ที่เป็น .class มาแต่เดิมให้เป็นไฟล์คั่นกลาง .jayce เพื่อให้ Jack ไปคอมไพล์ร่วมกับโค้ดจาวาอีกที
คดี API จาวาระหว่างกูเกิลและออราเคิลลากยาวมาหลายปี ตอนนี้อยู่ระหว่างชั้นอุทธรณ์กูเกิล ทางกูเกิลก็ส่งเรื่องขึ้นศาลฎีกา (supreme court) เพื่อขอให้ตีความว่า API ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ หลังจากที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาว่า API ได้รับความคุ้มครอง กลับคำพิพากษาจากศาลชัั้นต้น
กูเกิลเน้นกับศาลฎีกาว่าหากตัดสินว่า API ได้รับความคุ้มครอง โลกไอทีอาจจะหยุดพัฒนาเพราะบริษัทไอทีรุ่นแรกๆ จะสามารถป้องกันไม่ให้ซอฟต์แวร์อื่นๆ มาทำงานเข้ากันได้กับซอฟต์แวร์ของตนเองเป็นเวลานานถึง 95 ปีตามกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐฯ
สัปดาห์ที่ผ่านมา Oracle จัดงาน JavaOne 2014 ควบคู่ไปกับงาน Oracle OpenWorld โดยมีข่าวที่เกี่ยวกับ Java ดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศว่า ตั้งแต่ 12 ส.ค. เป็นต้นไป Internet Explorer จะเริ่มบล็อค ActiveX คอนโทรลรุ่นเก่า (out-of-date) ไม่ให้ทำงานตั้งแต่แรกแล้ว เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
หลักการทำงาน คือ IE8-IE11 บน Windows 7 SP1 และ IE บนโหมดเดสก์ท็อป บน Windows 8 หรือสูงกว่า จะตรวจสอบ ActiveX คอนโทรลที่จะถูกโหลดขึ้นมากับไฟล์รายชื่อที่บริษัทสร้างขึ้นและถูกดาวน์โหลดไปเก็บไว้ในเครื่องไคลเอนท์โดยอัตโนมัติ
สำหรับใครที่ใช้ Java รุ่นเก่าดังต่อไปนี้ เบราว์เซอร์จะทำการบล็อคโดยอัตโนมัติ (รายชื่อทั้งหมดดูได้จากที่นี่)
Cisco ออกรายงานสรุปภาพรวมความปลอดภัยของโลกไอที ประจำครึ่งแรกของปี 2014 (Cisco 2014 Midyear Security Report) มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
ออราเคิลปล่อยแพตช์ Critical Patch Update ประจำไตรมาสที่สองของปี รวม 113 ชุด เป็นของซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้แก่ Oracle Fusion Middleware, Java, MySQL, Hyperion, Oracle VM, Oracle Linux, และ Oracle Database
เท่าที่ผมสำรวจดูซอฟต์แวร์ที่ต้องเร่งทดสอบและแพตช์ด่วนคือ Oracle Database ที่มีแพตช์ระดับ 9.0 หนึ่งแพตช์ และ Java ที่มีแพตช์ระดับ 10.0 หนึ่งแพตช์ และมากกว่า 9.0 อีก 7 แพตช์
รีบทดสอบและอัพเดตกันนะครับ
ที่มา - Oracle, The Register
เมื่อไมโครซอฟท์ประกาศหยุดซัพพอร์ตบน Windows XP ซอฟต์แวร์สำคัญที่หยุดซัพพอร์ตตามไปด้วยคือจาวาของออราเคิล ข่าวนี้ทำให้ผู้ใช้จาวากังวลโดยเฉพาะเวอร์ชั่น 7 และ 8 ที่ยังได้รับซัพพอร์ตอยู่
ออราเคิลออกมาชี้แจงว่าแม้ออราเคิลจะหยุดซัพพอร์ตจาวาบน Windows XP ไปแล้ว แต่ผู้ใช้ยังคงใช้งานได้ต่อไปโดยได้รับแพตช์ต่างๆ ในเวอร์ชั่นที่ซัพพอร์ตอยู่
สำหรับผู้ใช้เวอร์ชั่น 7 ที่เคยซัพพอร์ตบน Windows XP จะยังคงใช้งานได้ต่อไป และอัพเดตต่างๆ จะยังคงมีต่อเนื่องจนกว่าจะหยุดซัพพอร์ตจาวา 7 ทั้งหมด ส่วนจาวา 8 นั้นตัวติดตั้งไม่สามารถทำงานบน XP ได้ ผู้ใช้จะต้องติดตั้งด้วยการแตกไฟล์เอง
คุณ Philip Guo ผู้ก่อตั้งเว็บ Online Python Tutor เขียนตัววิเคราะห์การเลือกภาษาโปรแกรมสำหรับการเรียนเขียนโปรแกรมในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ พบว่าภาษา Python มีการใช้งานขึ้นนำแทนภาษา Java แล้ว
เกณฑ์การเลือกมหาวิทยาลัยใช้ข้อมูลจาก US News หมวดมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อในคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเขาเลือกมหาวิทยาลัย 39 ชื่อแรกมาประมวลผล
กูเกิลเปิดโครงการ FlatBuffers สำหรับนักพัฒนาเกมที่ต้องการเซฟไฟล์แบบไบนารี ทำให้สามารถเซฟและอ่านไฟล์ได้จากทั้ง C++ และจาวา รวมถึงสามารถอ่านและเขียนไฟล์ json ได้อีกด้วย
ฟอร์แมต FlatBuffers จะซ้ำซ้อนกับ Protobuf ของกูเกิลเองพอสมควร แต่ FlatBuffer จะใช้พื้นที่น้อยกว่า ความต่างที่ชัดเจนคือ FlatBuffers จะตัดหมายเลขประจำฟิลด์ต่างๆ ออกทำให้ทำงานระหว่างเวอร์ชั่นของ API ไม่ได้ แต่ความได้เปรียบคือ FlatBuffers จะไม่ใช้หน่วยความจำเพิ่มเติมจากขนาดไบนารีที่อ่านขึ้นมา ต่างจากโปรโตคอลอื่นๆ ที่ต้องแตกไบนารีขึ้นมาเสียก่อน
รองรับแพลตฟอร์ม ลินุกซ์, วินโดวส์, OS X, และแอนดรอยด์