จากข่าว Facebook เตรียมหยุดจ่ายเงินจ้างเว็บดัง-เพจดังทำวิดีโอ เปลี่ยนโมเดลเป็นโฆษณาแทน ล่าสุด Facebook ออกมาแถลงข้อมูลอย่างเป็นทางการ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องวิดีโอ 3 อย่างดังนี้
ในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา Facebook หันมาทุ่มให้กับวิดีโอมาก จนถึงขนาดยอมจ่ายเงินให้ publisher ดังๆ ผลิตวิดีโอเพื่อโพสต์ลง Facebook ให้ผู้ใช้คุ้นเคย
ล่าสุดมีข่าวจาก publisher บางราย ระบุว่า Facebook เตรียมหยุดจ่ายเงินค่าวิดีโอแล้ว โดยสัญญาฉบับเดิมของ Facebook จะจ่ายค่าจ้างทำวิดีโอให้ถึงสิ้นปี 2017 และบริษัทจะไม่ต่อสัญญาในปี 2018
รูปแบบการจ้างของ Facebook คือให้ publisher ผลิตวิดีโอทั้งแบบวิดีโอปกติ (ยาวขั้นต่ำ 90 วินาที) และการถ่ายวิดีโอ live (ยาวขั้นต่ำ 6 นาที) โดย Facebook จะจ่ายเงินให้ขั้นต่ำต่อเดือนตามที่ตกลงกัน เป้าหมายของ Facebook คือเปลี่ยนโมเดลจากการจ่ายเต็ม มาเป็นการจ่ายส่วนแบ่งโฆษณาที่จะแทรกมาช่วงกลางวิดีโอ (mid-roll) แทน
YouTube Rewind เป็นคลิปที่ทาง YouTube ออกมาเพื่อสรุปเรื่องราวที่น่าสนในประจำปี และปีนี้มี YouTuber คนไทย 6 คน ใน YouTube Rewind 2017 ประกอบด้วย
กูเกิลประกาศจัดระเบียบแนวทาง autoplay วิดีโอบน Chrome ให้เหมือนกันทั้งบนเดสก์ท็อปและบนมือถือ
การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใน Chrome 64 โดยวิดีโอจะได้รับอนุญาตให้เล่นเองทันที (autoplay) ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
WSJ รายงานว่า Facebook เตรียมงบสำหรับปีหน้า (2018) ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ สำหรับการผลิตคอนเทนต์ของตนเอง เพื่อฉายบน Facebook โดยเฉพาะ สอดคล้องกับการเปิดตัวแถบ Watch เพื่อผลักดันวิดีโอให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้ไม่ได้ลงรายละเอียดว่า 1 พันล้านดอลลาร์นั้น เฉพาะการจ้างผู้ผลิตภายนอกสร้างเนื้อหา หรือรวมค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาด้วย
งบประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์อาจฟังดูสูง แต่ตัวเลขนี้ก็ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับ Netflix ที่ใช้เงินสำหรับการผลิตคอนเทนต์ปีนี้ถึง 6 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ Amazon ใช้ 4.5 พันล้านดอลลาร์ หรือผู้ผลิตที่อยู่ในวงการโทรทัศน์อย่าง HBO ก็มีงบส่วนนี้ถึง 2 พันล้านดอลลาร์
Facebook เปิดตัว Watch แท็บรวมวิดีโอที่น่าสนใจเพื่อให้ผู้ใช้กดดูได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือติดตามเพจนั้นมาก่อน ในแท็บนี้จะมีทั้งวิดีโอไลฟ์จากคนดัง รายการสนทนา ซีรีส์ รวมถึงการถ่ายทอดสดกีฬาด้วย
รูปแบบการคัดเลือกวิดีโอมายัง Watch คล้ายกับ YouTube แต่เพิ่มมิติเชิงโซเชียลเข้ามา เช่น วิดีโอที่คนพูดถึงเยอะที่สุด (Most Talked About) วิดีโอที่เพื่อนของคุณกำลังชมอยู่ หรือ วิดีโอตลกที่คนกด Haha เป็นจำนวนมาก แถมยังมีระบบติดตาม (watchlist) เพื่อให้เราติดตามรายการที่สนใจ เซฟเก็บไว้ดูทีหลังได้
แท็บ Watch จะใช้ได้บน Facebook ทุกเวอร์ชัน ไม่ว่าจะเป็นเว็บ แอพ รวมไปถึงแอพ Facebook บนทีวีด้วย เพียงแต่ตอนนี้ยังเปิดใช้งานเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการใหม่ Stream สำหรับฝากไฟล์วิดีโอที่ใช้งานภายในองค์กร
Microsoft Stream คล้ายกับ YouTube คือเป็นบริการสำหรับโฮสต์วิดีโอ แต่มีฟีเจอร์เน้นหนักที่ตลาดองค์กร ทั้งฟีเจอร์ speech-to-text ช่วยให้หาคำหรือคีย์เวิร์ดที่พูดได้ง่าย, face detection ระบุชื่อคนพูดในวิดีโอพร้อมช่วงเวลาที่ปรากฏตัว, time code ระบุช่วงเวลาในวิดีโอพร้อมลิงก์ไปยังจุดนั้นได้สะดวก, ระบบ permission จำกัดการเข้าถึงวิดีโอตามกลุ่มผู้ใช้หรือแยกรายบุคคล
Microsoft Stream เป็นบริการแยกเฉพาะที่ใครๆ ก็ใช้งานได้ (ตอนนี้เปิดให้ลองใช้ฟรี) แต่มันถูกออกแบบมาให้ทำงานกับ Office 365 (Outlook, Skype, SharePoint, Teams, Yammer) และ Azure Active Directory อย่างแนบแน่น ช่วยให้การแชร์วิดีโอภายในองค์กรสะดวกขึ้นมาก
YouTube ออกเครื่องมือใหม่สำหรับผู้ผลิตเนื้อหาวิดีโอแบบ 360 องศา และ VR เพื่อแสดงข้อมูลว่าคนที่ดูวิดีโอนั้น หมุนเลือกดูส่วนไหนมากที่สุดในชื่อ 360° Heatmaps
นอกจากนี้ YouTube ยังเปิดเผยสถิติจากการศึกษาวิดีโอ 360 องศาบนแพลตฟอร์มพบว่า 75% ของคนดูวิดีโอแบบนี้ จะหยุดอยู่ที่ตำแหน่ง 90 องศา (ด้านตรงหน้า) แปลว่าไม่ได้หมุนไปดูมุมอื่นเลย แต่เมื่อดูสถิติของวิดีโอที่ได้รับความนิยม มีอยู่ 20% ที่หมุนอ้อมไปดูถึงด้านหลัง YouTube จึงแนะนำให้ผู้ผลิตคลิปพยายามชักชวนให้ผู้ชมหมุนกล้องไปมุมอื่นๆ ด้วย
ที่มา: YouTube Creator Blog
จากที่เคยประสบปัญหาแบรนด์ถอนตัวลงโฆษณาบน YouTube เพราะวิดีโอรุนแรง ทาง YouTube เองก็ดูพยายามแก้ไขปัญหาคอนเทนท์อยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดออกมาตรการใหม่ ไม่แสดงโฆษณาบนคลิปวิดีโอที่เข้าข่ายรุนแรง ที่ยังไม่ละเมิดกฎจนต้องถูกนำลงจากเว็บ
คอนเทนท์ที่เข้าข่ายรุนแรงนี้ได้แก่ เนื้อหาสร้างความเกลียดชัง ดูถูกหรือล้อเลียนคน กลุ่มคนด้วยคุณลักษณะหนึ่งๆ อาทิ เชื้อชาติ, ชาติพันธ์ุ, ศาสนา ฯลฯ, เนื้อหาเสียดสี เหยียดและลดคุณค่าผู้อื่น, สุดท้ายคือการนำตัวละครที่ควรจะสร้างความบันเทิง อย่างการ์ตูน มานำเสนอผ่านความรุนแรง, เพศ, และพฤติกรรมเลวทราม (vile)
หลังประกาศเข้ามาทำตลาดและรองรับซับไตเติลประเทศไทยมาซักระยะ วันนี้ Netflix ประกาศรองรับอินเทอร์เฟสภาษาไทยแล้ว พร้อมเพิ่มซับไตเติลและพากย์เสียงไทยให้มากขึ้นด้วย
Netflix ระบุด้วยว่าหลังจากนี้ ซีรีย์ออริจินัลของ Netflix ที่ออกฉายในไทย (ซึ่งพร้อมกับประเทศอื่นทั่วโลก) จะมาพร้อมกับซับไตเติลภาษาไทยเลยทันที และรองรับการสตรีมระดับ 4K และ HDR ทั้งบนทีวีและสมาร์ทโฟนที่รองรับอัตโนมัติ
หลัง Netflix ประกาศขยายตลาดไปทั่วโลก มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ Netflix ยังไม่เข้าไปทำตลาดอย่างอิหร่านและจีน เนื่องด้วยกฎหมายท้องถิ่นที่เข้มงวดกับบริษัทสื่อต่างชาติ Netflix จึงเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ด้วยการขยายตลาดไปยังจีนผ่านพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นแทน
การเข้าไปในจีนของ Netflix จะไม่ได้เป็นการให้บริการ Subscription Video on Demand เต็มๆ แบบประเทศอื่นๆ แต่จะนำออริจินัลคอนเทนต์ของ Netflix เข้าไปฉายผ่าน iQIYI ผู้ให้บริการวิดีโอออนไลน์ (ที่มีโมเดลการหารายได้ผ่านโฆษณาไม่ใช่ค่าสมาชิก) ที่มีผู้ใช้ราว 500 ล้านคน เพื่ออย่างน้อยๆ ทำให้แบรนด์ Netflix เป็นที่รู้จักมากขึ้นก่อน
เฟซบุ๊กเริ่มทำข้อตกลงกับเว็บไซต์ พับลิชเชอร์และผู้ผลิตคอนเทนต์ต่างๆ เพื่อให้พับลิชเชอร์เหล่านี้ทำคอนเทนต์วิดีโอหรือไลฟ์วิดีโอบนเฟซบุ๊ก เพื่อเป็นการผลักดันแพลตฟอร์มโฆษณา โดยเฟซบุ๊กจะจ่ายเงินก้อนให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ในแต่ละเดือนแลกกับจำนวนวิดีโอตามที่ตกลงกันไว้
เงื่อนไขของเฟซบุ๊กคือวิดีโอจะต้องมีความยาวไม่น้องกว่า 90 วินาที ส่วนไลฟ์วิดีโอต้องไม่ต่ำกว่า 6 นาที เพื่อให้วิดีโอเหล่านี้สามารถแสดงโฆษณาคั่นกลางได้ ขณะที่รายได้จากโฆษณาจะเฟซบุ๊กจะแบ่งกับผู้ผลิตวิดีโออีกส่วนนอกเหนือจากเงินที่ตกลงกันไว้ในดีล โดยเฟซบุ๊กจะหักไป 45% ส่วนผู้ผลิตได้ไป 55%
iflix ผู้ให้บริการสตรีมภาพยนตร์ออนไลน์จากมาเลเซีย ที่พยายามชูจุดเด่นเรื่องคอนเทนท์ local ล่าสุดประกาศทำซีรีย์ออริจินัลของตัวเองแล้วชื่อ Magic Hour เป็นซีรีย์ความยาว 8 ตอน รีเมกมาจากภาพยนตร์สัญชาติอินโดนีเซียในชื่อเดียวกัน
นอกจากนี้ iflix ยังเริ่มดีลกับค่ายหนังในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อดึงเอาหนังใหม่ที่เพิ่งออกจากโรง โดยตอนนี้มีเพียงค่ายหนังในมาเลเซียเท่านั้น ที่ทาง iflix จะได้หนังใหม่หลังจากออกโรงราว 20 วัน
ที่มา - TechCrunch
ปัญหาแบรนด์ใหญ่ๆ แสดงความไม่พอใจที่ YouTube นำโฆษณาไปแสดงบนวิดีโอที่เนื้อหารุนแรงกำลังทำให้จนกระทั่งเริ่มกระทบต่อรายได้ ตอนนี้ YouTube ก็ออกมาตรการเบื้องต้นด้วยการปิดโฆษณาสำหรับช่องวิดีโอที่มียอดชมรวมน้อยกว่า 10,000 วิว
ก่อนหน้านี้กระบวนการแสดงโฆษณาเป็นระบบอัตโนมัติแทบทั้งหมด ซอฟต์แวร์ของ YouTube จะเลือกให้เองว่าจะแสดงโฆษณาใดบนวิดีโอใดบ้าง การสร้างข้อกำหนดช่องที่ต้องมี 10,000 วิวจะจำกัดวิดิโอที่ได้รับโฆษณาลง และในอนาคตกระบวนการรีวิววิดิโอด้วยคนหรือซอฟต์แวร์ที่วิเคราะห์ระดับลึกได้ก็น่าจะง่ายลงมาก
หลังจากที่ Netflix ประกาศเริ่มรองรับ HDR ไปตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ปีนี้บริการสตรีมแบบ HDR เตรียมจะขยายไปบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแล้ว โดยจะเริ่มจากทวีปเอเชียเป็นที่แรก
สาเหตุที่เลือกเอเชียก่อนก็เพราะว่าทราฟฟิคบน Netflix ผ่านโมบายล์ในเอเชียนั้นสูงที่สุดในโลก นำมาโดยอินเดีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามมาด้วยมาเลเซียและฮ่องกง ขณะที่ทราฟฟิคจากทวีปอื่นส่วนใหญ่นั้นดูผ่านไม่ทีวี ก็คอนโซลหรือ set-top-box
กูเกิลเคยเปิดบริการ Cloud Vision API ลูกค้าสามารถส่งไฟล์ภาพขึ้นคลาวด์ แล้วให้ AI ของกูเกิลแยกแยะกลับมาให้ว่าในภาพมีวัตถุอะไรบ้าง
ปีนี้ระบบของกูเกิลพัฒนาไปอีกขั้น เพราะมันสามารถแยกแยะวัตถุในวิดีโอได้แล้ว ภายใต้ชื่อว่า Cloud Video Intelligence API
หลักการของ Cloud Video Intelligence API ก็เหมือนกันคือใช้เอนจินเรียนรู้ deep-learning ของตัวเอง TensorFlow แล้วให้ฝึกเรียนรู้จากวิดีโอบน YouTube ตอนนี้มันเก่งพอที่จะแยกแยะเนื้อหาในวิดีโอได้แล้ว จากภาพตัวอย่างที่กูเกิลนำมาโชว์ มันสามารถแยกแยะได้ว่าในวิดีโอมี "เสือ" และถ้าค้นด้วยคำว่า Tiger เราก็จะได้คำตอบกลับมาเป็นช่วงเวลาทั้งหมดในวิดีโอที่มีเสืออยู่ในภาพ
กูเกิลเปิดตัวบริการ YouTube TV ดูช่องทีวีและเคเบิลทีวีสดๆ จากกว่า 40 สถานีในสหรัฐ (เช่น ABC, CBS, FOX, NBC, ESPN) ได้ผ่าน YouTube โดยตรง และใช้งานได้ผ่านทุกช่องทางที่เข้าถึง YouTube ได้ ไม่ว่าจะเป็นมือถือ แท็บเล็ต พีซี หรือต่อขึ้นทีวีผ่าน Chromecast
YouTube TV ยังมีบริการบันทึกรายการทีวีเก็บไว้บนคลาวด์ (Cloud DVR) เก็บรายการที่ชอบไว้ดูภายหลังได้แบบไม่จำกัดพื้นที่ และเข้าถึงรายการ YouTube Red Originals ที่เป็นรายการพรีเมียมของกูเกิลเองอีกด้วย
บริการ YouTube TV คิดค่าบริการรายเดือน 35 ดอลลาร์ จ่ายแล้วใช้งานได้ 6 บัญชี (เช่น เผื่อใช้กันในครอบครัว แต่ละคนอยากดูกันคนละอย่าง) และสามารถรับชมได้สูงสุด 3 สตรีมพร้อมกัน ตอนนี้ YouTube TV ยังเปิดบริการเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น
หลัง YouTube เปิดตัวฟีเจอร์ซับไตเติบ (หรือที่ YouTube เรียกว่า caption) ตั้งแต่ปี 2006 ก่อนจะเพิ่มระบบ automatic caption ในปี 2009 ผ่านมา 8 ปีวันนี้ YouTube มีวิดีโอที่มีซับไตเติลอัตโนมัติมากกว่ากว่า 1 พันล้านวิดีโอแล้ว
Facebook ประกาศการเปลี่ยนแปลงของตัวเล่นวิดีโอ จากเดิมที่วิดีโอเล่นอัตโนมัติ-ไม่เปิดเสียง จะเปลี่ยนมาเป็น วิดีโอเล่นอัตโนมัติ-เปิดเสียง
Facebook อธิบายว่าเมื่อมีคนดูวิดีโอบนมือถือมากขึ้น คนก็คาดหวังว่าวิดีโอจะต้องมีเสียงมาตั้งแต่ต้น บริษัทจึงตัดสินใจเปลี่ยนค่าดีฟอลต์อันนี้ และจากการทดสอบก็ได้ผลออกมาเป็นบวก
ผู้ใช้ที่ไม่ต้องการเสียงเป็นค่าดีฟอลต์ สามารถปิดได้ที่ตัวเลือก Videos in News Feed Start With Sound
เรียกได้ว่าจริงจังมากจริงๆ สำหรับความพยายามสร้างแพลตฟอร์มวิดีโอของตัวเองเมื่อ Facebook จ้าง Mina Lefevre อดีตผู้บริหารหญิงของ MTV มาเสริมทัพด้านวิดีโอของ Facebook ในหน้าที่ Head of Development
ก่อนหน้านี้ตัว Mark Zuckerberg บอกเองเลยว่าวิดีโอคือเมกะเทรนด์หรือแนวโน้มสำคัญของ Facebookในตอนนี้ จากรายงานข่าวระบุว่า Lefevre จะเข้ามาพัฒนาคอนเทนต์วิดีโอทั้งแบบเขียนบทล่วงหน้า และ แบบไม่มีสคริปต์ซึ่งเป็นงานหลักของเธออยู่แล้วตอนที่ทำงาน MTV
Wall Street Journal รายงานว่า Facebook กำลังทำแอพวิดีโอสำหรับ Apple TV และกล่องทีวีอื่นๆ เพื่อหวังส่วนแบ่งเม็ดเงินโฆษณาจากสมาร์ททีวีกับเขาบ้าง ก่อนหน้านี้ยังมีข่าว Facebook ปรับอัลกอริทึม News Feed ให้ความสำคัญกับวิดีโอขนาดยาว ทำให้ข่าวลือนี้ดูมีน้ำหนักมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีข่าว Facebook พยายามซื้อรายการทีวีจากบริษัทสื่อ หัวหอกที่ทำเรื่องนี้คือ Ricky Van Veen หัวหน้าด้านกลยุทธ์และครีเอทีฟ ที่เข้ามาทำงานที่ Facebook ในปีนี้
จนถึงตอนนี้ Facebook ยังไม่ให้รายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม แต่ถ้าข่าวนี้เป็นเรื่องจริง Facebook ก็ต้องเจอคู่แข่งใหญ่อย่าง YouTube ที่ทำแอพวิดีโอเข้าทีวีและอุปกรณ์ต่างๆ มานานแล้ว
Facebook ประกาศปรับอัลกอริทึม News Feed อีกครั้ง คราวนี้เป็นการปรับเพื่อคัดเลือกวิดีโอขึ้นมาแสดงให้ผู้ใช้เห็น โดยอัลกอริทึมใหม่จะให้ความสำคัญกับ "วิดีโอขนาดยาวที่ดูจบ" มากขึ้น ส่งผลให้วิดีโอที่มีความยาวมาก มีโอกาสถูกแสดงบน News Feed มากขึ้น และวิดีโอขนาดสั้นจะถูกลดความสำคัญลง
ทั้งนี้ Facebook ไม่ได้อธิบายชัดเจนว่าวิดีโอแบบไหนที่เรียกว่าสั้นหรือยาว โดยใช้คำว่า longer video และ shorter video เท่านั้น
หลังจากที่ Vine ปิดบริการแล้วเปลี่ยนแอพเป็น Vine Camera นั้น ล่าสุด Twitter ก็ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการแสดงผลวิดีโอใหม่ โดยวิดีโอที่มีความยาวไม่ถึง 6.5 วินาทีจะแสดงผลวนซ้ำไปเรื่อยๆ เหมือนกับ Vine ซึ่งมีผลกับทุกคลิปที่ถูกอัพโหลดลง Twitter
สามารถใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ดูตัวอย่างได้ที่ทวีตท้ายข่าว
ที่มา : TechCrunch
YouTube เพิ่มความสามารถใหม่ให้กับการไลฟ์ถ่ายทอดสด ที่ช่วยให้เจ้าของคลิปหารายได้จากผู้ชมได้อีกช่องทางหนึ่ง
Super Chat เป็นคอมเมนต์แบบพิเศษที่มีสีเด่นชัดกว่าปกติ ผู้ชมสามารถซื้อ Super Chat ให้กับเจ้าของคลิปได้ในราคาที่กำหนด เมื่อซื้อคอมเมนต์แล้วมันจะถูกปักหมุดอยู่ในช่องคอมเมนต์ชั่วเวลาหนึ่ง (ปักนานแค่ไหนขึ้นกับเงินที่จ่าย ปักสูงสุดได้นาน 5 ชั่วโมง) และทุกคนที่ชมไลฟ์อยู่ในขณะนั้นจะเห็นคอมเมนต์อันนี้
ตอนนี้ Super Chat ยังอยู่ในช่วงทดสอบและเปิดให้ช่องดังๆ บางช่องใช้งานเท่านั้น ก่อนจะเปิดตัวในวงกว้างวันที่ 31 มกราคมนี้ การซื้อ Super Chat ยังทำได้เฉพาะแอพบน Android หรือผ่านเว็บเท่านั้น แอพเวอร์ชัน iOS ยังไม่สามารถซื้อได้ (แต่มองเห็นถ้ามีคนอื่นซื้อ)
สิ่งที่ทุกคนคิดว่าจะต้องเกิดขึ้นกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว เว็บไซต์ Recode รายงานข่าววงในว่า Facebook เตรียมออกโฆษณาสำหรับวิดีโอในระบบของตัวเอง รูปแบบจะเรียกว่าเป็น mid-roll คือแทรกโฆษณาไว้ตรงกลางวิดีโอ หลังวิดีโอเล่นไปแล้วอย่างน้อย 20 วินาที
ตามข่าวบอกว่าคลิปจะต้องยาวอย่างน้อย 90 วินาทีจึงจะมีโฆษณาได้ โฆษณาจะยาวได้ไม่เกิน 15 วินาที และจะมีเฉพาะช่วงกลางคลิปเท่านั้น เนื่องจาก Mark Zuckerberg ยืนยันว่าจะไม่อนุญาตให้มีโฆษณาก่อนคลิป (pre-roll) แต่ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าวิดีโอแบบ Live จะมีโฆษณาหรือไม่
Facebook จะหักส่วนแบ่งรายได้ 45% ที่เหลืออีก 55% เป็นของผู้โพสต์คลิป ซึ่งสัดส่วนนี้เท่ากับส่วนแบ่งรายได้ของ YouTube ในปัจจุบัน