James Gosling ผู้ให้กำเนิด Java ประกาศผ่านบล็อกส่วนตัวว่าได้ลาออกจาก Oracle เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เขาขอโทษผู้ที่ร่วมงาน TechDays ที่ St Petersburg เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาที่ไม่ได้เห็นเค้าขึ้นพูด
ภายในบล็อกของเค้ายังกล่าวถึงเหตุผลและความยากลำบากที่ต้องทิ้งผู้ร่วมงานที่เคยทำงานด้วยกัน James บอกว่าขอพักผ่อนสักพักก่อนกลับมาหางานทำอีกครั้ง และยังได้พูดถึงการเขียนบล็อกขณะทำงานอยู่ที่ Sun Microsystems รวมถึงได้ย้ายเอ็นทรีทั้งหมดมายังบล็อกแห่งใหม่
ที่มา James Gosling's blog
หลังจากที่ซันเปิดตัว Solaris 10 เมื่อ 6 ปีที่แล้ว (ข่าวเก่า) โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการใช้งาน และหลังจากออราเคิล ซึ่งเข้าทำการซื้อซันเมื่อปลายปีที่แล้ว ประกาศว่าจะสู้ต่อในศึก Solaris/SPARC (ข่าวเก่า) สิ่งแรกที่ออราเคิลทำคือแก้สัญญาอนุญาตจากที่เคยอนุญาตให้ใช้ Solaris ได้ฟรี กลายมาเป็นว่าใช้ฟรีได้ 90 วัน และถ้าต้องการใช้ต่อ ต้องขอซื้อบริการจากออราเคิล
ส่วน OpenSolaris ยังฟรีและโอเพนซอร์สอยู่เช่นเดิมครับ (แต่จะมีคนใช้เหรอ ?)
ที่มา: OSnews
เมื่อวานนี้ Oracle ออกรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2010 (ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้) ในรายงานนี้ Oracle เน้นถึงผลกระทบที่เกิดจากการซื้อ Sun (เพิ่งซื้อได้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มกราคมปีนี้ หลังจากที่ EU อนุมัติให้ซื้อได้)
Safra Catz ประธานบริษัท Oracle บอกว่า "การควบรวม Sun ให้ผลดีเกินคาด เราเชื่อว่า Sun จะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มยอดขายในไตรมาสที่ 4 รวมทั้งช่วยทำกำไรให้ได้ตามเป้าของปีหน้า"
และแล้ว การควบกิจการออราเคิล-ซันก็เสร็จสมบูรณ์ ซันกลายเป็นบริษัทลูกของออราเคิล และออราเคิลได้เผยแผนการเกี่ยวกับอนาคตของซันในวันนี้ (แม้ว่าจะโดนข่าว iPad กลบซะเกือบมิด แต่ก็ยังถือว่าสำคัญมากในโลกไอทีองค์กร)
ออราเคิลจะยังคงแบรนด์ "ซัน" ไว้เหมือนเดิม แต่จะปรับแบรนด์ใหม่หมด โดยสัญญาว่าจะรวมเทคโนโลยีของออราเคิลกับซันเข้าด้วยกันเป็นชุดเดียว ที่การันตีการทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์
สำหรับเทคโนโลยีแต่ละอันมีแผนการเฉพาะของตัวเองดังนี้
Java
ภาษาจาวายังเป็นหัวใจสำคัญในการซื้อกิจการรอบนี้ ออราเคิลสัญญาว่าจะพัฒนาจาวาต่อไป
ต่อเนื่องจาก Jonathan Schwartz เตรียมลงจากตำแหน่งซีอีโอของซัน ทางฝั่งผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโออย่าง Scott McNealy ก็ได้เขียนจดหมายอำลาถึงพนักงานของซันทุกคน
หัวจดหมายใช้คำว่า "Thanks for a great 28 years" (ขอบคุณที่ร่วมทำงานกันมาตลอด 28 ปีนี้) ในจดหมายเขากล่าวว่า เขาไม่เคยฝันถึงการถูกซื้อกิจการโดยออราเคิล แต่มันก็เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่งของบริษัท การรวมกับออราเคิลถือเป็นโอกาสสำคัญในการทำธุรกิจ เพราะออราเคิลนั้นแข็งแกร่งมากอยู่แล้ว ถ้ามีเทคโนโลยีของซันไปต่อยอด ก็น่าจะไปรุ่ง
เมื่อ ดีลออราเคิล-ซัน เดินทางมาเกือบถึงจุดสมบูรณ์ หลังจาก EU ยอมให้ Oracle เข้าซื้อ SUN แล้ว ขั้นตอนถัดไปก็ถึงเวลาของผู้บริหารชุดเก่าที่ต้องโบกมือลา ปล่อยให้ผู้บริหารชุดใหม่จากเจ้าของใหม่ เข้ามาควบคุมหางเสือของบริษัทให้เดินหน้าต่อไปในทิศทางใหม่
การซื้อขายครั้งประวัติศาสตร์มูลค่า 7,000 ล้านดอลลาร์ระหว่างกำลังจะเข้ารูปเข้ารอยเมื่อทางสหภาพยุโรปยอมให้มีการซื้อขายนี้เนื่องจากเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปแต่อย่างใด
เรื่องนี้มีสองประเด็นคือ MySQL และ Java
ประเด็น MySQL นั้นตกไปเนื่องจาก MySQL และ Oracle ไม่ได้เป็นคู่แข่งกันโดยตรงอยู่แล้วเนื่องจากตลาดคนละกลุ่ม ในตลาดล่างเองนั้น PostgreSQL มีความสามารถที่จะเข้ามาแทนที่ได้พอสมควร หรือแม้แต่ผู้ใช้เองก็สามารถแยกโค้ดของ MySQL ไปพัฒนาต่อได้
ในที่สุด Michael "Monty" Widenius ผู้สร้าง MySQL ก็ออกมาเรียกร้องให้ผู้ใช้ MySQL ช่วยกันส่งข้อความไปยังคณะกรรมการยุโรป ป้องกันไม่ให้ Oracle ทิ้งหรือดอง MySQL
ตอนนี้ คณะกรรมการป้องกันการผูกขาดของสหรัฐได้อนุมัติการซื้อกิจการ Oracle/Sun เรียบร้อยแล้ว เหลือแต่คณะกรรมการยุโรปที่กำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่ Widenius ขอให้เราช่วยกันเรียกร้องไปยังคณะกรรมการยุโรป ให้หยุดการซื้อกิจการครั้งนี้ หรือไม่ก็ให้ Oracle สัญญาว่าจะไม่ดอง MySQL เหมือนอย่างที่ทำกับ InnoDB
บริษัทวิจัย The 451 Group ได้สำรวจความเห็นจากผู้ใช้โอเพนซอร์ส 347 ราย ซึ่ง 82.1% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าใช้ MySQL อยู่ในขณะนี้ แต่ตัวเลขนี้จะลดลงเหลือ 72.3% ในปี 2014
15% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าถ้า Oracle ซื้อ Sun ได้สำเร็จ พวกเขามีโอกาสจะใช้ MySQL น้อยลง ในขณะที่ 6.3% บอกว่าจะใช้ MySQL ต่อไป
โอกาสจะเป็นของ PostgreSQL ซึ่งจะมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นจาก 27.1% ในตอนนี้เป็น 30.5% ในปี 2014 ส่วนโครงการ MariaDB จะมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นจากศูนย์เป็น 3.7% ในปี 2014
ตอนนี้ Oracle ยังซื้อ Sun ไม่สำเร็จเพราะโดนคณะกรรมการของยุโรปสกัดดาวรุ่งไว้ด้วยเหตุผลเรื่อง MySQL นี่เอง (ส่วน Java เหมือนจะไม่มีใครสนใจ :P)
แม้ว่าประเด็นกฏหมายสำหรับออราเคิลในการเข้าซื้อซันนั้นเรียบร้อยไปมากแล้วในฝั่งสหรัฐฯ แต่ฟากยุโรปนั้นยังมีประเด็นอีกมากที่ต้องฝ่าฟัน ล่าสุดสหภาพยุโรปได้ออกแถลงการอย่างเป็นทางการคัดค้านการเข้าซื้อซันแล้ว
ประเด็นปัญหายังคงเป็นประเด็นที่ทุกคนกลัว คือ MySQL อาจจะหายไปจากตลาด หรือไม่ได้รับการพัฒนาเช่นทุกวันนี้ แม้ออราเคิลจะพยายามประกาศหลายต่อหลายครั้งว่าบริษัทจะลงทุนใน MySQL เพิ่มเติมมากกว่าทุกวันนี้ก็ตาม
แถลงการคัดค้านถูกส่งไปยังซัน โดยมันเป็นการแสดงความเห็นของสหภาพยุโรปเท่านั้น ส่วนคำอนุมัติว่าจะซื้อได้หรือไม่ต้องรอผลวันที่ 19 มกราคม ปีหน้า
หนึ่งในบริษัทที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากการที่ Oracle ซื้อ Sun Microsystems มากที่สุดคือ Red Hat เพราะว่า Red Hat นั้นขายโซลูชันด้านเซิร์ฟเวอร์ให้องค์กรโดยใช้ส่วนประกอบที่เป็นโอเพนซอร์ส (Apache/MySQL) การที่ Oracle ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของ Red Hat กลายมาเป็นเจ้าของ MySQL ทำให้ Red Hat มีความเสี่ยงสูงถ้าหากจะยึดติดกับ MySQL ต่อไป
ทางออกเลยมาอยู่ที่ PostgreSQL ครับ ตอนนี้มีข่าวว่า Red Hat เข้าไปลงทุนสนับสนุนบริษัท EnterpriseDB ซึ่งเป็นเจ้าของ PostgreSQL Plus ที่พัฒนามาจาก PostgreSQL แต่เป็นซอฟต์แวร์ปิดและจับตลาดลูกค้าทับกับ Oracle โดยตรง มีจุดขายด้านความเข้ากันได้กับข้อมูลเดิมที่อยู่ในฐานข้อมูลของ Oracle
อดีตซีอีโอ MySQL คุณ Mårten Mickos ได้ส่งจดหมายไปถึงคุณ Neelie Kroes กรรมาธิการที่ดูแลด้านการแข่งขันทางธุรกิจของ EU โดยเขาได้กล่าวว่าการที่ออราเคิลเข้าซื้อซันและ MySQL นั้นจะไม่ส่งผลต่อการแข่งขันของตลาดแต่อย่างไร
คุณ Mickos ได้สรุปข้อโต้แย้ง ใจความสำคัญดังนี้
เมื่อปีก่อน Larry Ellison ซีอีโอของของออราเคิลเคยกล่าวไว้ว่า อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มีแรงขับดันทางแฟชั่นมากกว่าแฟชั่นสตรี และ Ellison จัดให้ cloud computing เป็นแฟชั่นชิ้นล่าสุด แต่คำว่า "แฟชั่น" ของ Ellison ในที่นี้กลับมีความหมายไปในเชิงลบว่า การที่ผู้คนพากันตามกระแส cloud computing นับว่าเป็นเรื่องไร้สาระสิ้นดี และเมื่อเร็วๆนี้ Ellison ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ cloud computing อีกครั้งในงานของ Churchill Club งานหนึ่งว่า cloud computing ไม่ใช่การประมวลผลแห่งยุคอนาคต หากแต่เป็นการประมวลผลของยุคปัจจุบัน รวมถึงในอดีตที่ผ่านมาก็มีการประมวลผลแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
บางครั้งการแปลตรงๆอาจจะทำให้ไม่เห็นภาพได้เท่ากับอ่านเองครับ ผมขอยกคำพูดส่วนหนึ่งของ Ellison มาให้อ่าน ดังนี้
หลังจากการเข้าซื้อกิจการครั้งประวัติศาสตร์เสร็จสิ้นลงด้วยดี ออราเคิลก็เดินหน้าเต็มที่ทันที โดยเริ่มจากสร้างความเชื่อมั่นให้กับฐานลูกค้าของซันเดิม
ออราเคิลซื้อพื้นที่โฆษณาใน Wall Street Journal ฉบับที่ขายในยุโรป มีข้อความว่าออราเคิลจะลงทุนใน SPARC และ Solaris มากกว่าที่ซันเคยจ่าย เพิ่มฝ่ายขาย ปรับปรุงประสิทธิภาพ จบท้ายด้วยข้อความจาก Larry Ellision ซีอีโอของออราเคิลว่า "ไอบีเอ็ม เราจะเข้าสู่ตลาดฮาร์ดแวร์แล้วนะ เตรียมตัวดีๆ"
โฆษณาชิ้นนี้สามารถหาดูได้จากเว็บของออราเคิลเช่นกัน (ภาพอยู่ด้านใน) น่าเสียดายไม่ตอบคำถามที่ทุกคนอยากรู้คือเรื่อง MySQL แฮะ
ที่มา - TechCrunch
ข่าวออราเคิลเข้าซื้อซันด้วยมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์นั้นสร้างความตื่นตระหนกให้กับลูกค้าของซันพอสมควรถึงความไม่แน่นอนหลายๆ ประการ ผลกระทบนี้ส่งผลจนทำให้ผลกำไรไตรมาสล่าสุดของซันนั้นออกมาติดลบถึง 147 ล้านดอลลาร์
ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วนั้นซันมีกำไร 88 ล้านดอลลาร์ ในแง่ของรายได้แล้ว ปีที่แล้วซันมีรายได้ในไตรมาสนี้ถึง 3.78 พันล้านดอลลาร์ แต่ในไตรมาสเดียวกันในปีนี้ ตัวเลขลดลงเหลือเพียง 2.63 พันล้านดอลลาร์
ทางซันออกเตือนนักลงทุนว่าบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการลดจำนวนพนักงานและสำนักงานอีกหลายแห่งในช่วงเวลาหลายไตรมาสข้างหน้านี้
ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก แต่หลังจากนี้คงต้องดูท่าทีของออราเคิลว่าจะมีนโยบายเพิ่มเติมอย่างไรบ้างมากกว่า
กระทรวงยูติธรรมของสหรัฐฯ ได้แจ้งกับบริษัทออราเคิลว่า กระทรวงฯ ได้ต่อเวลาในการตรวจสอบข้อเสนอในการควบรวมกิจการของบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ออกไป หลังจากระยะเวลา 30 วันแรกที่กระทรวงฯ ขอเข้าตรวจสอบได้หมดลงในวันศุกร์ที่ผ่านมา (26 มิ.ย.) แต่ออราเคิลก็ยังมองในแง่ดีว่าท้ายที่สุดจะได้รับการอนุมัติในการเข้าควบรวมกิจการกับซัน
โดยทนายกับที่ปรึกษาของออราเคิลได้กล่าวว่า ปัญหาที่ยังเหลืออยู่ในตอนนี้คือเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งจะไม่นำมาพูดคุยในการควบรวมอย่างเด็ดขาด และหวังว่าการตรวจสอบข้อเสนอการเข้าควบรวมจะเสร็จสิ้น ไม่กระทบกับการปิดดีลภายในช่วงฤดูร้อนนี้
Larry Ellison ซีอีโอของออราเคิลปรากฎตัวบน Keynote ในงาน JavaOne 2009 งานครั้งสุดท้ายที่จะจัดโดยซัน ก่อนโดนออราเคิลควบกิจการอย่างสมบูรณ์
งานนี้มีบุคคลสำคัญในโลกของจาวาปรากฎตัวกันครบ ไม่ว่าจะเป็น Jonathan Schwartz ซีอีโอปัจจุบัน James Gosling ผู้คิดภาษาจาวาและ Scott McNealy อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท รวมไปถึง Larry Ellison เจ้านายคนใหม่ที่มาปรากฎตัวในช่วงท้าย
Ellison กล่าวว่าเขาสนใจแพลตฟอร์มมือถือและเน็ตบุ๊กมาก และกำลังนั่งคิดว่ามีโอกาสไหมที่จะผลักดัน JavaFX ไปลงเน็ตบุ๊ก โดยยกกรณีของ Android เป็นตัวอย่าง นอกจากนี้เขายังให้ความเชื่อมั่นกับชุมชนนักพัฒนาจาวาว่าออราเคิลจะสนับสนุนจาวาอย่างเต็มที่ แอพพลิเคชันด้านธุรกิจในรุ่นถัดไปของออราเคิลก็เป็นจาวาทั้งนั้น
วันนี้ (2009-04-20) ออราเคิลเอาบ้าง หลังจากให้ไอบีเอ็มพยายามเสนอซื้อไปก่อน ขณะออราเคิลประกาศเสนอซื้อซันในราคาหุ้นละ 9.50 เหรียญ ซึ่งขึ้นหน้าหนึ่งทั้งเว็บไซต์ของออราเคิลและซัน แต่ดูของออราเคิลจะใช้คำน่ากลัวไปนิด ชวนให้คิดว่าซื้อไปแล้ว
แต่แท้ที่จริงขณะนี้อยู่ในช่วงกำลังพิจารณาอยู่ ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ ทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ
แล้วจะไงล่ะนี่ ออราเคิลเริ่มขายฮาร์ดแวร์แล้วด้วยเครื่อง Exadata แล้วรอบนี้จะมีไลน์ฮาร์ดแวร์ทั้งแผงรึเนี่ย?!?
เสริม: (2009-04-20) ที่มีการเช็คข้อมูลข้างใน ค่อนข้างแน่นอนแล้วครับ รู้สึกว่าทั้งคู่จะตกลงกันแล้ว เหลือแต่เรื่องทางด้านข้อกำหนดและกฎระเบียบเท่านั้น
ที่มา
Larry Ellison ซีอีโอของออราเคิลประกาศในงาน Oracle OpenWorld 2008 ว่าออราเคิลจับมือกับ HP ขายฮาร์ดแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลในแบรนด์ HP Oracle Database Machine
HP Oracle Database Machine เป็นชุดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ฮาร์ดแวร์จาก HP ตามชื่อ แต่ปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพกับซอฟต์แวร์ของออราเคิลอย่างเต็มที่ ในชุดมีส่วนประกอบดังนี้
สองยักษ์ใหญ่ Oracle และ Intel ประกาศร่วมมือกันลุยตลาดการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computinig) ทั้งนี้ Intel ส่งผลิตภัณฑ์ Intel Paralell Studio สำหรับการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการประมวลผลแบบขนานและโปรเซสเซอร์ตระกูล Intel เพื่อการประมวลผลของเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล ส่วนทาง Oracle ชูผลิตภัณฑ์ Oracle Database 11g และโซลูชัน Oracle Fusion Middleware กับ Enterprise Manager ร่วมลุยตลาดพร้อมกับ Intel
ข่าวล่าสุด Oracle ยังได้ร่วมมือกับ Amazon ผู้นำตลาด Cloud Computing รายใหญ่ เพื่อเปิดทางให้ลูกค้าสามารถติดตั้งผลิตภัณฑ์ของ Oracle บนบริการ Amazon EC2 และส่งผลิตภัณฑ์สำหรับสำรองข้อมูลบน Amazon S3
นิตยสาร Forbes เปิดเผยรายชื่อเศรษฐีชาวอเมริกันที่รวยที่สุดประจำปีนี้ โดยเนื่องจากวัดกันเฉพาะบุคคลชาวอเมริกัน อันดับหนึ่งจึงตกเป็นของป๋าบิล เกตส์แห่งไมโครซอฟท์แบบไม่ต้องสงสัย พร้อมมูลค่าสินทรัพย์ 57,000 ล้านเหรียญฯ
จุดเด่นของปีนี้คือหากวัดกันเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี ก็จะมีอันดับไล่ตามมาด้วยแลร์รี่ เอลลิสันแห่งออราเคิล และไมเคิล เดลล์ตามลำดับ นอกจากนี้ก็มีมาร์ค ซักเกอร์เบิร์กแห่ง Facebook ซึ่งเป็นหน้าใหม่ที่เข้ามาติดอันดับปีนี้ แถมยังครองตำแหน่งเศรษฐีอายุน้อยที่สุด ด้วยอายุเพียง 24 ปีและสินทรัพย์ 1,500 ล้านเหรียญฯ
รายชื่อทั้งหมดดูในได้ลิงก์ข้างล่างครับ
ออราเคิลประกาศขึ้นราคาซอฟต์แวร์ 15-20% โดยฐานข้อมูล Oracle Enterprise Edition ที่คิดตามจำนวนซีพียูนั้นจากเดิมคิด 40,000 ดอลลาร์ได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 47,500 ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ อย่าง Oracle E-Business Suite และซอฟต์แวร์ของ BEA ที่เพิ่งซื้อมาอย่าง BEA WebLogic Server Enterprise Edition ก็ขึ้นราคาเช่นกัน
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์จาก Forrester Research มองว่าการขึ้นราคาครั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการต่อรองราคาของออราเคิลต่อลูกค้ามากกว่า เพราะในความเป็นจริงแล้ว การซื้อซอฟต์แวร์ในองค์กรเป็นจำนวนมากนั้นได้ส่วนลดอยู่แล้ว เรียกว่าถ้าต่อรองเก่งๆ หน่อยก็อาจจะยังได้ราคาเดิม
ข่าวแรก
วันนี้ คุณ Jonathan ได้ประกาศใน Blog ไว้ครับว่า ได้ทำการซื้อ MySQL ด้วยราคา $1 billion
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://blogs.sun.com/jonathan
ข่าวที่สอง
ก็เป็นข่าวของ Oracle ที่ทำการซื้อ BEA ได้สำเร็จครับด้วยมูลค่า 8.5 billion
หลังจากที่พยายามมาหลายครั้งเพื่อเข้าไปควบรวมกิจการของ BEA ทาง Oracle ก็ได้จ่ายไปประมาณ $19.38 ต่อหุ้น
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.news.com/Oracle-to-buy-BEA-for-8.5-billion/2100-1014_3-6226385.html?tag=nefd.top
เป็นข่าวช็อกวงการ IT ตั้งแต่ตอนที่ Oracle ยื่นข้อเสนอซื้อ BEA ด้วยราคา 17 เหรียญต่อหุ้น เบ็ดเสร็จเป็นเงิน 6.6 พันล้านเหรียญ ราคาพอ ๆ กับ SAP ซื้อ BO สำเร็จเมื่อวันที่ 8 ที่ผ่านมา ทั้งที่ราคานี้ มากกว่าราคาหุ้นของ BEA ใน NASDAQ ถึง 25%
ก่อนหน้านี้เองก็มีข่าวลือว่า Oracle มีความประสงค์จะซื้อทั้ง BEA และ BO อยู่เนือง ๆ ในที่สุด BO โดน SAP ชิงตัดหน้าสำเร็จก่อน
เป็นข่าวมานาน และก็ประกาศออกมาแล้วเมื่อคืนว่า Oracle เสนอซื้อที่ราคาหุ้นละ 17 เหรียญซึ่งแพงกว่าราคาหุ้นของ BEA ประมาณ 25% และการเสนอซื้อยืนยันว่าเป็นเงินสด การเสนอซื้อครังนี้ถูกมองว่าทาง Oracle ต้องการยกระดับ application server และ SOA stack บางตัวให้เหนือกว่า IBM เพราะปัจจุบัน BEA ถือว่าแกร่งที่สุดในด้าน Application Server และ SOA