คดีมหากาพย์ระหว่างออราเคิลกับกูเกิลมีอันต้องเลื่อนออกไปอีก โดยผู้พิพากษา William Alsup เสนอให้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไปอีก
เดิมทีศาลนัดพิจารณาคดีในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ แต่ศาลมีปัญหาเรื่องคิวพิจารณาคดี เพราะมีคดีอาชญากรรมคดีใหญ่เข้ามาแทรก ผู้พิพากษา Alsup จึงเสนอให้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไป โดยมีกำหนดคร่าวๆ คือปี 2012 เลย (แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาแน่ชัด)
การพิจารณาคดีจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์, ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตร, และส่วนอื่นๆ ที่เหลือ โดยออราเคิลและกูเกิลมีเวลาถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน เพื่อตอบผู้พิพากษาว่าเห็นด้วยกับแผนการนี้หรือไม่
มหากาพย์จาวาบน iOS นั้นเป็นอีกหนึ่งเรื่องราว (นอกเหนือจาก Flash) ที่ก่อกำเนิดคำพูดของสตีฟ จ๊อบส์ ว่า "Nobody uses Java anymore." แต่ที่ล่าสุดออราเคิลก็สาธิตจาวาที่ทำงานบน iOS แล้ว
แอพพลิเคชั่นสาธิตบน iPod Touch และหน้าจอเขียนด้วย HTML5 แต่ส่วนควบคุมด้านหลังเป็นจาวาทั้งหมด โดย JVM จะถูกรวมไว้ในแอพพลิเคชั่นเป็นไบนารีเดียวกัน
แนวทางนี้เป็นแนวทางแบบเดียวกับผู้ผลิตเครื่องมือพัฒนารายอื่นๆ ที่พยายามพัฒนาแพลตฟอร์มที่เขียนแอพพลิเคชั่นครั้งเดียวแล้วรันได้ในหลายระบบปฎิบัติการเช่น Mono Touch แม้ที่ผ่านมาแอปเปิลจะเคยพยายามห้ามการพัฒนาด้วยเครื่องมือแบบนี้ แต่ข้อกำหนดเหล่านี้ก็ถูกแก้ไขไปแล้ว
Michael Dell ซีอีโอของ Dell ออกมา "สอนมวย" คู่แข่งตัวฉกาจอย่าง HP อีกครั้ง (รอบที่เท่าไรไม่รู้) โดยบอกว่า HP ควรจะอยู่ในธุรกิจพีซีต่อไป เพราะ 95% ของซีพียู (และชิ้นส่วนอื่นๆ) ในโลกนี้อยู่ในพีซี มีเพียงแค่ 5% ที่ไปอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นถ้า HP ออกจากธุรกิจพีซี ก็จะเสียการต่อรองในเรื่องขนาด จนต้องขึ้นราคาเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง
หลังออราเคิลซื้อซันไป ก็ย้ายงาน JavaOne มาจัดพร้อมกับ Oracle OpenWorld ซึ่งในปีนี้ ออราเคิลก็แถลงข่าวเกี่ยวกับจาวาหลายประการ โดยมีชื่อธีมงานว่า Move Java Forward
JavaFX 2.0
อย่างแรกคือ JavaFX ที่หลายๆ คนอาจจะลืมเลือนมันไปแล้ว ได้ออกรุ่น 2.0 อย่างเป็นทางการ (ยังมีเฉพาะบนวินโดวส์เท่านั้น มีทั้งแบบ 32 และ 64 บิต)
ความน่าสนใจคือคำเรียก JavaFX ของออราเคิลเริ่มเปลี่ยนจาก rich client/internet platform มาเป็น "an advanced Java user interface (UI) platform for enterprise business applications" ซึ่งแสดงให้เห็นทิศทางของ JavaFX ที่หันไปเน้นแอพสำหรับธุรกิจมากขึ้น แทนการวางตัวไว้ชนกับ Flash/AIR อย่างในรุ่นแรกๆ
ของใหม่ใน JavaFX 2.0 ได้แก่
งาน Oracle OpenWorld 2011 รอบนี้ ออราเคิลเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หลายอย่างมาก คัดมาเฉพาะอันที่น่าสนใจนะครับ (เช่น Oracle Big Data Appliance)
ที่งาน Oracle OpenWorld 2011 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการฐานข้อมูลอย่างออราเคิล ก็เปิดตัว "แนวรบ" ใหม่ของบริษัทที่จะมาลุยตลาด NoSQL/Big Data ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง (คู่แข่งอย่าง IBM ลุยไปก่อนแล้ว)
สมัยที่ซีพียู SPARC อยู่ในการบริหารของซันนั้นการวางตลาดชิปรุ่นใหม่ทำได้ช้า และต้องเลื่อนซ้ำไปมา แต่ภายใต้การบริหารของออราเคิลหลังจากเพิ่มเปิดตัว SPARC T3 ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ออราเคิลก็เริ่มเปิดสเปคของ SPARC T4 แล้ว
SPARC นั้นช่วงหลังถูกออกแบบให้เป็นชิปที่รับเธรด (thread) ได้จำนวนมาก เช่นใน T3 นั้นสามารถรองรับเธรดได้ถึง 16 เธรดต่อคอร์ (ซีพียู x86 มักรับได้แค่ 2 เธรด) และจำนวนคอร์ต่อชิปก็มากถึง 8 คอร์ทำให้รองรับเธรดได้ 128 เธรด แต่ใน T4 ออราเคิลเริ่มกลับลำด้วยการลดจำนวนเธรดลงเหลือ 8 เธรดต่อคอร์โดยยังมีจำนวนคอร์สูงสุด 8 คอร์เช่นเดิม
ความคืบหน้าของคดีออราเคิล-กูเกิลครับ คราวนี้เป็นเรื่อง "ตัวเลขค่าเสียหาย" ที่ออราเคิลเรียกจากกูเกิล
ออราเคิลประกาศสินค้าใหม่คือ Oracle Database Appliance ซึ่งจริงๆ ก็คือเซิร์ฟเวอร์ SunFire ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ของออราเคิลมาในตัวแบบเต็มพิกัด
ส่วนฮาร์ดแวร์นั้น เครื่องขนาด 4U ถูกแบ่งออกเป็นสองเครื่องอยู่ภายในเพื่อทำ fail over ระหว่างกัน แต่ละเครื่องมาพร้อมกับ Xeon X5675 2 ตัว 12 คอร์ (รวมสองเครื่อง 24 คอร์), แรมเครื่องละ 96GB, ฮาร์ดดิสก์ขนาด 12TB ทำสำรอง 3 ชุดในตัวทำให้เหลือพื้นที่ใช้งาน 4TB , และ SSD ขนาด 73GB
ด้านซอฟต์แวร์นั้นระบบปฎิบัติการเป็น Oracle Linux, Oracle Enterprise Manager, Oracle Automatic Storage Management, Oracle Real Application Clusters, และที่สำคัญที่สุดคือ Oracle Database Enterprise Edition 11g
ข้อมูลการเจรจาระหว่างสองซีอีโอ Larry Ellison และ Larry Page ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ แต่คนวงในที่รับรู้ข้อมูลของเจรจาครั้งนี้ บอกกับ Businessweek ว่าผ่านมาสองวัน "คืบหน้าเพียงเล็กน้อย" เท่านั้น
ซีอีโอทั้งสองคนจะมาเจรจากันต่อในวันนี้ (21 ก.ย. ตามเวลาสหรัฐ) และถ้าการเจรจารอบนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ก็จะเข้ากระบวนการทางศาลต่อในเดือนตุลาคม
ที่มา - Businessweek
ออราเคิลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสสิ้นสุดเดือนสิงหาคม กำไรสุทธิ 1.84 พันล้านดอลลาร์ โดยมีรายได้รวม 8.37 พันล้านดอลลาร์เพิ่มจากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน 12%
จากข่าว ศาลสั่งให้ Larry Ellison และ Larry Page มาเป็นคนเจรจาไกล่เกลี่ยคดีด้วยตัวเอง เมื่อวานนี้ (19 ก.ย. ตามเวลาสหรัฐ) ซีอีโอทั้งสองรายก็เดินทางมาที่ศาลด้วยตัวเองตามคำสั่ง
ออราเคิลเป็น "เจ้าของ" MySQL และมีผลิตภัณฑ์แบบเสียเงิน MySQL Enterprise Edition ทำตลาดองค์กรอยู่แล้ว ซึ่งตัว MySQL Enterprise ก็มี "ส่วนเสริม" หรือ extension แบบเสียเงินสำหรับงานเฉพาะด้านอีกจำนวนหนึ่ง เช่น MySQL Enterprise Monitor, MySQL Enterprise Backup
วันนี้ออราเคิลเปิดตัว MySQL Extension แบบเสียเงินอีกสามตัว
ต่อเนื่องจากข่าวเดิม ผู้บริหารกูเกิล-ออราเคิล เตรียมเจรจาไกล่เกลี่ยคดีตามคำสั่งศาล ซึ่งฝั่งออราเคิลจะส่งเบอร์สอง S
ความคืบหน้าของคดีฟ้องร้องระหว่างออราเคิล-กูเกิล เรื่องสิทธิบัตรของ Android/Java
ตามหลักเกณฑ์พิจารณาคดีแพ่งทั่วไป ผู้พิพากษาจะต้องให้คู่ความทั้งสองฝ่ายเจรจากันเองก่อน (เพื่อลดภาระของศาลในการพิจารณาคดี) ซึ่งผู้พิพากษา William Alsup ได้สั่งให้ทั้งสองฝ่ายเสนอชื่อ "ผู้บริหารระดับสูง" เป็นตัวแทนของบริษัทมาเจรจาไกล่เกลี่ยคดีกันต่อหน้าศาล
ฝ่ายออราเคิลเสนอ Safra Catz ประธานบริษัท (ไม่ใช่ประธานบอร์ด) ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองเพียงซีอีโอ Larry Ellison คนเดียวในบริษัท เป็นหัวหน้าทีมเจรจา และแถมด้วย Thomas Kurian รองประธานอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์
ส่วนฝ่ายกูเกิลเสนอ Andy Rubin รองประธานอาวุโสฝ่ายมือถือ และ Kent Walker รองประธานฝ่ายกฎหมายของกูเกิล เป็นตัวแทนเจรจา
ปูพื้นก่อนว่า ปัจจุบัน Java แบ่งเป็น 2 เวอร์ชันหลักๆ คือ รุ่นโอเพนซอร์สจากโครงการ OpenJDK และรุ่นปิดซอร์สที่นำรุ่น OpenJDK มาพัฒนาต่อ และเพิ่มโค้ดส่วนอื่นๆ เข้ามา (เมื่อก่อนเราเรียกมันว่า Sun JDK เดี๋ยวนี้ก็ต้องเรียก Oracle JDK)
ดิสโทรลินุกซ์สามารถนำ OpenJDK มาผนวกรวมได้ไม่มีปัญหา แต่รุ่นปิดซอร์ส Sun/Oracle JDK นั้นทำไม่ได้ ต้องขออนุญาตจากเจ้าของก่อน ซึ่งในอดีต ซันก็อำนวยความสะดวกให้ โดยออกสัญญาอนุญาตพิเศษชื่อ Operating System Distributor License for Java (DLJ) ให้ดิสโทรลินุกซ์แถม Sun JDK ได้ด้วย
Java SE 7 เป็นจาวารุ่นแรกที่พัฒนาภายใต้การดูแลของออราเคิล หลังจากที่การออกจาวารุ่นนี้ล่าช้ามานานตอนนี้มันก็มีให้ดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการ
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของจาวารุ่น 7 หลักๆ ได้แก่ รองรับการ switch
ด้วยสตริง, API ใหม่สำหรับการเรียกภาษาในกลุ่มภาษา Dynamic ให้ทำงานเร็วขึ้น, API สำหรับการทำงานแบบมัลติคอร์,อินเทอร์เฟชสำหรับ IO แบบใหม่, และรองรับ Unicode 6.0
จาวารุ่น 8 นั้นน่าจะออกได้ภายในปีหน้า ถ้าการนำภายใต้ออราเคิลทำให้การออกรุ่นใหม่สามารถออกได้ตรงเวลากว่าเดิมก็น่าจะเป็นผลดีอย่างมากต่อชุมชนจาวา
ที่มา - Oracle
หลายคนคงจำ Jonathan Schwartz อดีตซีอีโอผมยาวหางม้าของซันกันได้ Schwartz มีชื่อเสียงเรื่องเขียนบล็อกสื่อสารกับคนภายนอกองค์กร รวมถึงแสดงความเห็นหลายเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์-ทิศทางของบริษัท
เมื่อครั้งที่กูเกิลเปิดตัว Android เขาก็เคยเขียนบล็อกแสดงความยินดีกับกูเกิล โดยบอกว่าเป็นความสำเร็จของชุมชนผู้ใช้จาวาและโอเพนซอร์ส ที่มีระบบปฏิบัติการมือถือสร้างจากลินุกซ์-จาวาเกิดขึ้น
หลังซันขายกิจการให้ออราเคิล Schwartz ก็ลาออกจากตำแหน่งซีอีโอตามมารยาท ส่วนบล็อกเก่าของเขายังอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของซัน (เขาย้ายไปเขียนบล็อกที่ WordPress แต่ก็หยุดเขียนมาเกือบปีแล้ว)
ศาลเริ่มไต่สวนมูลฟ้องในคดีออราเคิลฟ้องกูเกิลเรื่องสิทธิบัตรจาวา (เป็นกระบวนการก่อนการไต่สวนอย่างเป็นทางการ) โดยผู้พิพากษา William Alsup ให้ความเห็นว่าข้อเรียกร้องของทั้งสองบริษัทไม่สมเหตุสมผลทั้งคู่
ผู้พิพากษา Alsup บอกว่าตัวเลขความเสียหาย 6.1 พันล้านดอลลาร์ที่ออราเคิลเรียกร้องจากกูเกิลไม่สมเหตุสมผล เพราะฝ่ายออราเคิลใช้หลักการประเมินความเสียหายว่า จาวาเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของแอนดรอยด์ และตีมูลค่าความเสียหายจากมูลค่าตลาดทั้งหมด (entire market value) ซึ่งศาลเทียบว่ารถยนต์ทุกคันต้องมีพวงมาลัย แต่พวงมาลัยไม่ได้สะท้อนตลาดรถยนต์ทั้งหมด
คดีสิทธิบัตรระหว่างกูเกิลและออราเคิลคงไม่ได้จบลงนอกศาล เมื่อกูเกิลขอเพิ่มหลักฐานในคดีเป็นเอกสารแสดงหลักฐานเพื่อคัดค้านสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับ virtual machine ของออราเคิล โดยตั้งทีมทนาย, นักวิจัย, ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ มาตรวจสอบเอกสารจำนวนมากเพื่อยืนยันว่าข้ออ้างนวัตกรรมของออราเคิลในสิทธิบัตร (ที่ได้มาจากซัน) นั้นที่จริงมีการสร้างสรรค์ไว้ก่อนแล้ว ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิบัตรเหล่านั้นฟ้องร้องใครได้
กูเกิลไล่เอกสารนับแต่ช่วงที่มีการประดิษฐ์ virtual machine ขึ้นครั้งแรกๆ ในปีช่วงปี 1960 เอกสารจำนวนมากไม่มีอยู่ในรูปแบบอิเลกทรอนิกส์ต้องหาเป็นรูปเล่มหรือเป็นตำราเรียน ทีมงานจำนวน 15 คนตอนนี้ใช้เวลาตรวจสอบเอกสารทั้งหมดไปแล้วกว่า 1,500 ชั่วโมง
ยักษ์ใหญ่ด้านซอฟท์แวร์อันดับสามของโลกอย่างออราเคิลรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ตามปฏิทินการเงินของบริษัท มีรายได้รวม 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์
เมื่อแบ่งดูรายได้เป็นกลุ่ม ซอฟท์แวร์ไลเซนส์มียอดขายเพิ่มขึ้น 19% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน แต่บริษัทมีปัญหาในยอดขายกลุ่มฮาร์ดแวร์ที่ลดลง 6% จากปีก่อน ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจที่ขยายตัวจากการเข้าซื้อซันก่อนหน้านี้
ที่มา: Reuters
สถานการณ์ล่าสุดของคดีออราเคิลฟ้องกูเกิลเรื่องสิทธิบัตร Java ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายออราเคิลเท่าไรนัก
ต่อจากข่าวเมื่อเดือนที่แล้ว ศาลสั่งลดจำนวนสิทธิบัตรที่ออราเคิลฟ้องกูเกิล จาก 132 ประเด็นเหลือ 3 ประเด็น ทางออราเคิลได้ขอต่อรองจำนวนสิทธิบัตรเป็น 21 ประเด็น ซึ่งผู้พิพากษา William Alsup ก็ยอมตกลงให้ตามนั้น
แต่ Alsup ก็เปิดทางเลือกไว้ว่า ศาลอาจขอให้สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ (USPTO) เข้าตรวจสอบ (reexamine) ประเด็นของออราเคิลก่อนว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะฟ้องกูเกิลหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบทั้งหมดจะต้องใช้เวลาอีกเป็นปี
สงครามระหว่างออราเคิลและเอชพีนั้นรุนแรงต่อเนื่องกันมานานจนกระทั่งหลายคนคิดไม่ออกว่าสองบริษัทจะกลับไปเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีต่อกันได้อย่างไร แต่ระหว่างนี้นักวิเคราะห์ก็เชื่อว่าลูกค้าจำนวนมากจะหันไปใช้ไอบีเอ็มแทน
Roger Kay นักวิเคราะห์จาก Endpoint Technologies Associates, Inc. ระบุว่าระหว่างที่เอชพีและออราเคิลกำลังฟ้องร้องกันนี้ ไอบีเอ็มเองก็กำลังกวาดลูกค้าเข้าหาตัวเองได้จำนวนมากโดยทำเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Migration Factory
ไม่ว่าผลลัพธ์จากการฟ้องร้องนี้จะเป็นอย่างไร ลูกค้าองค์กรที่ชินกับการซัพพอร์ตหลังจากสินค้าหมดอายุไปนับสิบปีคงต้องวิตกกับการประกาศหยุดซัพพอร์ตของออราเคิลที่ประกาศออกมาทั้งที่เอชพีและอินเทลยังคงมีแผนการออกสินค้ารุ่นใหม่อยู่
จากกรณีออราเคิลฟ้องกูเกิลเรื่อง Android เรายังไม่เคยรู้ว่ามูลค่าความเสียหายที่ออราเคิลเรียกร้องมีค่าเท่าไรกันแน่ ฝ่ายกูเกิลเองพยายามปิดบังตัวเลขอันนี้ (เพราะอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นใน Android ของพันธมิตร) แต่ล่าสุดออราเคิลเผยเอกสารนี้ออกมาแล้วในชั้นศาล
มูลค่าความเสียหายของออราเคิลขึ้นกับการตีความของศาล แต่มูลค่าที่เป็นไปได้จะอยู่ระหว่าง 1.4-6.1 พันล้านดอลลาร์ ในกรณีที่ศาลชี้ว่ากูเกิลผิดจริง
ฝ่ายกูเกิลโต้ว่าตัวเลขนี้เกินจริงไปมาก เพราะสูงกว่าเงินที่ซันทำได้จากจาวาถึง 10 เท่า (และ 20 เท่าถ้าคิดเฉพาะจาวาบนมือถือ) ประเด็นที่กูเกิลใช้ต่อสู้คือวิธีการคำนวณความเสียหายของออราเคิลที่คาดเคลื่อน ทั้งในทางการเงินและทางกฎหมาย
หลังจากออราเคิลประกาศเลิกซัพพอร์ตชิป Itanium แพลตฟอร์มนี้ก็อยู่ในภาวะอันตรายเพราะแอพลิเคชั่นทั้งหมดที่ต้องพึ่งฐานข้อมูลของออราเคิลก็คงต้องถูกเลิกซัพพอร์ตตามไปด้วย ภาวะเช่นนี้ทำให้เอชพีซึ่งเป็นทั้งผู้ร่วมพัฒนา Itanium กับอินเทล และยังเป็นผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์รายใหญ่ที่ขายแพลตฟอร์มนี้เพียงรายเดียวยอมไม่ได้ และทางออกของเอชพีคือการฟ้องออราเคิลว่าไม่เคารพต่อคำสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้าและการไม่ซัพพอร์ตแพลตฟอร์มของคู่ค้าเช่นเอชพียังไม่อันตรายต่อการแข่งขันของตลาดรวม