NVIDIA เปิดตัวภาษา CUDA 6 สำหรับการเขียนโปรแกรมบน GPU ของตัวเองโดยมีความสามารถสำคัญคือ Unified Memory หรือการมองหน่วยความจำของซีพียูและจีพียูเป็นผืนเดียวกัน ทำให้สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ง่ายขึ้น
ชุดเครื่องมือออกแบบซอฟต์แวร์เป็น GUI รุ่นลายครามอย่าง wxWidgets ออกรุ่น 3.0 แล้วหลังจากออกรุ่น 2.0 มานานกว่าสิบปี (ออกปี 1999) และหลายปีหลังรุ่นหลักรุ่นสุดท้ายคือ 2.8
ตัวโครงการ wxWidgets หลักยังคงซัพพอร์ต C++ อย่างเดียวเช่นเดิม ส่วนภาษาอื่นๆ ต้องรอโครงการรอบๆ อัพเดตตามกันมาอีกครั้ง ความโดดเด่นของ wxWidgets คือรองรับแพลตฟอร์มต่างๆ กันได้ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ หน้าตาของซอฟต์แวร์ที่ออกมากลมกลืนกลับสภาพแวดล้อม โดยรับสามแพลตฟอร์มหลักคือ วินโดวส์, ลินุกซ์ (ผ่าน GTK2 และ GTK3), และ OS X (ผ่าน Cocoa)
ฟีเจอร์สำคัญที่เพิ่มเข้ามาได้แก่
โครงการคอมไพเลอร์โอเพนซอร์ส GCC กำลังหารือกันว่าจะปิดการทำงานของคอมไพเลอร์ภาษา Java (GCJ) เนื่องจากไม่ค่อยได้พัฒนาแล้วในช่วงหลัง (เหตุเพราะงานพัฒนาสาย Java ย้ายไปอยู่ในโครงการ OpenJDK แทน)
ตามแผนของ GCC จะไม่ทิ้งคอมไพเลอร์ภาษา Java แต่จะปิดการทำงานมาเป็นดีฟอลต์แทน (รวมถึงไม่คอมไพล์ GCJ ในขั้นตอนของการคอมไพล์ GCC ทั้งชุดด้วย) และปรับสถานะของคอมไพเลอร์ Java เป็น maintenance mode ไม่ใช่ active development
ในโอกาสเดียวกัน ทางโครงการ GCC ยังหารือว่าจะยกระดับของคอมไพเลอร์ภาษาใดมาเป็นเปิดใช้โดยดีฟอลต์แทน ข้อเสนอมีทั้งภาษา Go และ ADA ครับ
ที่มา - Phoronix
เว็บไซต์ไม่หวังผลกำไร Code.org ประกาศโครงการ Hour of Code ตั้งเป้าสอนนักเรียนชั้นประถม-มัธยมของสหรัฐอเมริกาหัดเขียนโปรแกรมให้ได้ 10 ล้านคนในช่วงเดือนธันวาคมนี้
เป้าหมายของโครงการนี้คือนำความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์สู่นักเรียนจำนวนมาก ผ่านบทเรียนแบบง่ายๆ ในช่องทางต่างๆ ทั้งผ่านเว็บ สมาร์ทโฟน และหนังสือ
ถัดจากไมโครซอฟท์ โครงการสร้างภาษาทดแทนจาวาสคริปต์ของกูเกิลในชื่อ Dart ก็มาถึงรุ่นเบต้า 1 แล้ว โดยไม่มีการปรับปรุงตัวภาษาเพิ่มเติม แต่เป็นการปรับปรุงเครื่องมือและความเข้ากันได้กับจาวาสคริปต์
ส่วนหลักที่ปรับปรุง คือ ความเร็วของเครื่องมือเช่น dart2js, Dart VM, และ Editor ที่ทำความเร็วได้ดีขึ้น การคอมไพล์มีการออปติไมซ์กับชุดคำสั่ง SIMD ได้ดีขึ้น ในส่วน dart2js นั้นจะรองรับฟีเจอร์ของภาษา Dart ได้ดีขึ้น
นอกเหนือจากนั้นเป็นการจัดโมดูลต่างๆ เช่น dart:crypto ออกไปจากโครงการหลัก
ที่มา - Dart
ไมโครซอฟท์มีโครงการภาษาสำหรับเว็บที่ใช้คอมไพล์เป็นจาวาสคริปต์ที่ชื่อว่า TypeScript มาแล้วระยะหนึ่ง แม้จะไม่่่มีการผลักดันหวือหวานักแต่ก็พัฒนาต่อเนื่องจนวันนี้ก็ออกรุ่น 0.9 มาแล้ว
ฟีเจอร์สำคัญของ TypeScript 0.9 คือ
กูเกิลประกาศเปิดตัว API ใหม่บนแอนดรอยด์ที่ไม่ได้เป็นฟีเจอร์ของแอนดรอยด์รุ่นใหม่อีกต่อไป แต่จะถูกอัพเดตผ่าน Google Play ลงไปบนแอนดรอยด์ตั้งแต่รุ่น 2.2 ขึ้นไปแทน ฟีเจอร์ต่างๆ ได้แก่
ในบทความตอนที่ผ่านๆ มาเราได้เรียนรู้การพัฒนาแอพลิเคชันโดยใช้ความสามารถต่างๆ ของ Windows 8 กันไปแล้ว ตอนนี้เราจะลองสร้างแอพลิเคชันอย่างรวดเร็ว โดยใช้เทมเพลตที่ทางไมโครซอฟท์เตรียมไว้ให้ พัฒนาให้เป็นแอพลิเคชันที่เราต้องการได้อย่างง่ายดาย
สำหรับเทมเพลตที่ทางไมโครซอฟท์เตรียมไว้ให้มีสองชุด คือ
ในบทความตอนนี้จะแนะนำเฉพาะการแก้ไขเทมเพลต Travel and Place เท่านั้น ส่วนอีกเทมเพลตหนึ่งสามารถอ่านวิธีการแก้ไขได้จากเอกสารที่แนบมาพร้อมกับเทมเพลต
หนึ่งปีกว่าๆ หลังออก Go 1.0 รุ่น "เสถียร" ถึงตอนนี้ทีมงาน Go ก็ออกรุ่น 1.1 แล้ว โดยยังคงความเข้ากันได้กับ Go 1.0 เต็มรูปแบบ (เพราะทีมงานสัญญาไว้ตั้งแต่รุ่น 1.0)
การปรับปรุงในรุ่นนี้ส่วนมากจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพเป็นส่วนมาก เช่นการปรับปรุงความเร็วทั้งตัวคอมไพล์เลอร์, ลิงก์เกอร์, ตัวจัดการหน่วยความจำ, และระบบ goroutine โดยทั่วไปแล้วประสิทธิภาพจะดีขึ้น 30%-40%
การเปิดซอร์สทำให้ Go มีนักพัฒนาจากภายนอกกูเกิลมาร่วมส่งแพตซ์ถึง 2600 แพตซ์ จากนักพัฒนา 161 คน ในช่วงหลังผมเริ่มเห็นประกาศรับสมัครงานหาโปรแกรมเมอร์ที่มีประสบการณ์กับภาษานี้แล้ว ก็นับว่าเป็นอีกภาษาที่น่าศึกษาเอาไว้
ที่มา - Golang
ดัชนีวัดความนิยมของภาษาโปรแกรม TIOBE เผยสถิติเดือนเมษายน ภาษา Objective-C ร่วงลงสู่อันดับ 4 เป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งลดลง (ก่อนหน้านี้อันดับพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จนมาหยุดที่อันดับ 3) โดน C++ แซงกลับสู่ตำแหน่งเดิมอีกครั้ง
หลาย ๆ คนคงจำภาษา Xtend กันไม่ได้ ภาษา Xtend เป็นหนึ่งในโครงการของมูลนิธิ Eclipse โดยมีเป้าหมายให้ Java ดูน่าใช้งานมากขึ้น โดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวโค๊ดจะถูกแปลให้อยู่ในรูปของโค๊ดภาษา Java ก่อนที่จะถูกแปลให้เป็น Java bytecode อีกทีหนึ่ง ซึ่งต่า
นวัตกรรมของกูเกิลหลังจากพยายามลดการใช้คนในงานต่างๆ ตั้งแต่การสแกนหนังสือ ไปจนถึงการขับรถด้วยคอมพิวเตอร์ ล่าสุดวิศวกรซอฟต์แวร์ของกูเกิล Taylor Santo ก็พัฒนาระบบพัฒนาโปรแกรมที่เขียนโค้ดด้วยตัวเอง
Santo ระบุว่าเขามีเพื่อนทำงานในโครงการรถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และวันหนึ่งก็สงสัยว่าเขาสามารถประหยัดแรงงานและเวลาในการเดินทางไปทำงานได้ ด้วยการพัฒนาภาษาโปรแกรมที่เขียนโปรแกรมด้วยตัวเอง หลังจากพัฒนาแล้วเขาพบว่าระบบนี้ง่ายกว่าที่เขาคิดไว้
ถึงตอนนี้ Santo มีเวลามากมายที่สำนักงานของกูเกิล เขาสามารถพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน, เข้ายิมของบริษัท, และนั่งกินอาหารฟรีในโรงอาหาร
เพื่อไม่ให้ตัวเองตกงาน Santo ระบุว่าเขาจะกลับไปนั่งเขียนโค้ดเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ต่อไป
เทปจากเครื่อง DEC ของ Paul Vixie และ Keith Bostic ถูกกู้สภาพให้อ่านขึ้นมาได้เมื่อหลายปีก่อนเพื่อเก็บรักษาในฐานะโค้ดโบราณของวงการคอมพิวเตอร์ แต่ไม่กี่วันมานี้ เพิ่งมีการพบคอมไพล์เลอร์ last1120c และ prestruct-c คอมไพล์เลอร์ภาษาซีตัวแรกๆ ในโลกที่สามารถคอมไพล์ตัวเองได้
คอมไพล์เลอร์ทั้งสองตัวถูกสร้างขึ้นในช่วงการเขียนยูนิกซ์ขึ้นใหม่เป็นภาษาซี ช่วงปี 1972-1973 โครงสร้างภาษาที่ใช้ยังต่างจากภาษาซีทุกวันนี้อย่างมาก มีการใช้วงเล็บ ()
แทนที่จะใช้ {}
แบบในปัจจุบัน สำหรับภาษาซีที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ หรือที่เรียกว่าภาษาซีแบบ K&R ตามหนังสือ The C Programming Language นั้นสร้างขึ้นในช่วงการพัฒนายูนิกซ์รุ่นที่ 5 ถึงรุ่นที่ 6
หลังจากประกาศรุ่นพรีวิวมาได้พักใหญ่ ตอนนี้ Ruby 2.0 ก็ปล่อยรุ่นเสถียรตามสัญญาแล้วครับ โดยรายการของใหม่มีดังนี้
เดิมที Java มักถูกวิจารณ์ในแง่ของแนวทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความซับซ้อน และซอฟต์แวร์ที่ได้ใช้ทรัพยากรระบบมาก แต่ก็ยังเป็นแพลตฟอร์มได้รับความนิยมเนื่องเพราะ จำนวน ความหลากหลาย และขีดความสามารถของไลบรารี จำนวนผู้ใช้งาน ความปลอดภัย ค่าใช้จ่าย (ฟรี) ฯลฯ แต่หลังจากที่ Oracle ได้ซื้อ Java ไปจาก Sun ข่าวไม่ดีต่าง ๆ ได้ออกมาจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย (เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, แอปเปิล, ไมโครซอฟท์) การฟ้องร้อง และ
บริษัทผู้ถือโดเมน Python.co.uk กำลังยื่นขอจดเครื่องหมายการค้า Python สำหรับซอฟต์แวร์, บริการ, และเซิร์ฟเวอร์ ให้ครอบคลุมทั้งเครือสหภาพยุโรป ทำให้มูลนิธิ Python ต้องออกมาขอให้ทุกคนช่วยกันรวบรวมหลักฐานการใช้ชื่อ Python ที่เกิดขึ้นในยุโรป
ทางมูลนิธิ Python ระบุว่าได้ติดต่อเจ้าของโดเมน Python.co.uk มานาน แต่ล่าสุดทางบริษัทได้หันไปยื่นจดเครื่องหมายการค้าแทน ทำให้ทางมูลนิธิต้องยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้าเข้าไปแข่งเพราะใช้ชื่อนี้มาก่อน โดยภาษา Python เกิดมานานถึง 20 ปีแล้วขณะที่ตัวโดเมนจดทะเบียนมานาน 13 ปี
Codecademy เว็บสอนการเขียนโปรแกรมแบบโต้ตอบ (มี interpreter ให้เล่นผ่านเว็บ) ได้เพิ่มหลักสูตรการใช้ API แล้ว
หลักสูตร API นี้จะเน้นการใช้ API ในงานหลาย ๆ ด้าน เช่น ทำแอพ, เกม หรือเว็บ โดยมีเจ้าของ API ดัง ๆ เข้าร่วมหลายแห่ง เช่น YouTube, Bitly, NPR, SoundCloud, Parse ฯลฯ โดย Codecademy จะเพิ่มหลักสูตร API ใหม่ ๆ อีกในอนาคต
Codecademy เป็นเว็บสอนเขียนโปรแกรม โดยเริ่มสอนตั้งแต่ระดับไวยากรณ์ภาษา ทำให้เราเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ได้เร็ว และนอกจากเราจะเป็นผู้เรียนรู้แล้ว หากเราชำนาญภาษานั้นก็สามารถสร้างบทเรียนเพื่อสอนคนอื่นได้ด้วยครับ
เข้าไปเรียนได้ที่ Codecademy ฟรี
งานที่ให้โปรแกรมเมอร์มาประชันความสามารถในฉบับของ Facebook อย่าง Facebook Hacker Cup ในปีนี้ก็ประกาศแล้ว โดยการแข่งจะแบ่งออกเป็น 5 รอบ คือมีแข่งออนไลน์ 4 รอบ และรอบสุดท้ายแข่งที่สำนักงาน Facebook
สำหรับเงินรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้อยู่ที่ 10,000 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านๆ มา แต่ไม่ได้มีบอกไว้ว่าผู้ชนะจะมีโอกาสได้เข้าทำงานกับ Facebook หรือไม่
ใครที่สนใจจะลงสมัคร สามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ที่นี่ และรอบออนไลน์รอบแรกจะเริ่มขึ้นในวันที่ 25 มกราคมนี้
ที่มา - Facebook Hackercup FAQ
ในตอนที่ผ่านมา เราได้เพิ่มฟีเจอร์หลักคือการอ่านและเขียนไฟล์ รวมถึงพัฒนาแอพลิเคชันให้เข้ากับลักษณะ Lifecycle แบบใหม่แล้ว ในตอนนี้เราจะเพิ่มความสามารถอื่นๆ สำหรับแอพลิเคชันบน Windows 8 เพิ่มเติม คือ การรองรับการแชร์ และการสร้างเมนูปรับตั้งค่า
โดยปกติหากเราต้องการนำข้อมูลจากโปรแกรมหนึ่งไปใช้ในอีกโปรแกรมหนึ่ง เรามักใช้วิธีลากไปปล่อย อย่างไรก็ตามวิธีนี้ไม่เหมาะกับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพานัก บนแอพลิเคชันสำหรับ Windows 8 App Store จะให้ผู้ใช้ส่งข้อมูลระหว่างแอพลิเคชันด้วยวิธีการ "แชร์" ได้ โดยการเรียกเมนูแชร์จาก Charm Bar
ผลสำรวจความนิยมของภาษาคอมพิวเตอร์ด้วยดัชนี TIOBE ที่ใช้ค่าจากเว็บค้นหามาคำนวณแสดงถึงแนวโน้มของความนิยมในภาษาต่างๆ ได้ หลังจากสำรวจมาตั้งแต่ปี 1988 ภาษาจาวานั้นได้รับความนิยมสูงสุดมาโดยตลอด ยกเว้นช่วงที่กูเกิลเปลี่ยนอัลกอริทึ่มในปี 2004 (ทาง TIOBE เพิ่มค่าจากเว็บคนหาอื่นในเวลาต่อมา และจาวากลับมาเป็นอันดับหนึ่งเหมือนเดิม) แต่แนวโน้มของจาวาก็ได้รับความนิยมในสัดส่วนน้อยลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งภาษาซีกลับมาแซงขึ้นเป็นภาษาอันดับหนึ่งได้อีกครั้งเกือบตลอดทั้งปี ครั้งสุดท้ายที่ภาษาซีได้รับความนิยมอันดับหนึ่งคือปี 1998
วันนี้ Guido van Rossum ประกาศว่าเขากำลังทำงานในกูเกิลเป็นวันสุดท้ายเพื่อไปทำงานยัง Dropbox ในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้
Dropbox ใช้ภาษา Python เป็นภาษาหลักในการพัฒนาเสมอมา เพื่อให้สามารถพัฒนาบนหลายแพลตฟอร์มไปได้พร้อมๆ กัน
ที่ผ่านมางานของ Guido ในกูเกิลไม่ชัดเจนนัก ที่เราเห็นได้บ้างเช่น Google Apps Engine รองรับภาษา Python เป็นภาษาแรก ก่อนจะรองรับภาษาอื่นๆ ในเวลาต่อมา ส่วนโครงการ unladen-swallow ที่ตั้งเป้าจะสร้าง Python ให้ทำงานได้เร็วกว่าเดิม 5 เท่านั้นก็แทบจะไม่มีข่าวอะไรออกมาอีกเลยหลังเปิดตัวไปหนึ่งปี โดยระหว่างนั้นมีโครงการอย่าง PyPy เข้ามาแทนที่ไปได้แล้ว
ภาษา Go ที่เปิดตัวโดยกูเกิลเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2009 มีอายุครบ 3 ปีแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็มีผู้ใช้ภาษา Go มากมาย เช่น BBC, Novartis, SoundCloud, SmugMug, Canonical ส่วนกูเกิลก็ใช้ภาษา Go ในส่วนที่เห็นชัด ๆ คือ Doodle ที่เคลื่อนไหวได้ ในเทศกาลต่าง ๆ นั่นเอง
ตอนนี้นักพัฒนากำลังพัฒนาภาษา Go เวอร์ชัน 1.1 หลังจากเพิ่งปล่อยเวอร์ชัน 1.0 ไปเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ (ข่าวเก่า)
ที่มา - The H
หลังจากทิ้งช่วงไปนาน ตอนนี้ Ruby 2.0 ได้เข้าสู่สถานะพรีวิวแรกแล้ว โดยมีของใหม่เช่น
#to_h
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด source ไป build เล่นเองได้ที่นี่ ต้องเตือนไว้ก่อนว่าบางฟีเจอร์ยังไม่ได้ implement นะครับ
ส่วนกำหนดการสำหรับรุ่นนี้คือ code freeze ช่วงคริสต์มาส และออกรุ่นจริงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ครับ
Blognone เสนอข่าว "ช่องโหว่" ความปลอดภัยซอฟต์แวร์เป็นจำนวนมาก แม้ช่องโหว่หลายอย่างมาจากการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการเข้ารหัสที่ซับซ้อนแต่ในความเป็นจริงแล้ว ช่องโหว่ส่วนมากมาจากปัญหาเหมือนๆ กันคือการไม่ระวังการใช้บัฟเฟอร์ ทำให้ข้อมูลที่วางลงไปยังบัฟเฟอร์มีขนาดเกินที่เผื่อไว้ ทำให้แฮกเกอร์เข้ามาวางโค้ดเอาไว้ และควบคุมให้มีการรันโค้ดนั้นๆ ได้
กระบวนการแฮกจากช่องโหว่บัฟเฟอร์เป็นกระบวนพื้นฐานอันหนึ่งที่ควรรู้เพื่อจะศึกษาและป้องกันช่องโหว่ในซอฟต์แวร์
{syntaxhighlighter brush:cpp}#include <string.h>
void foo (char *bar)
{
char c[12];
strcpy(c, bar); // ไม่ตรวจขนาด input
}
เมื่อหนึ่งปีที่แล้ว [กูเกิลเปิดตัวภาษา Dart ภาษาโปรแกรมชนิดใหม่สำหรับงานบนเว็บ](http://www.blognone.com/news/26963/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2-dart-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A) โดยตั้งใจให้เป็นภาษาสคริปต์แบบใหม่ที่มาทดแทน JavaScript