กูเกิลอธิบายเบื้องหลังการสร้างแอพอีเมลแนวใหม่ Inbox ที่ทำงานได้บน 3 แพลตฟอร์มหลักคือ iOS, Android และเว็บ โดยโจทย์ของกูเกิลคือต้องการสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีและมีประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม แต่ก็ต้องการให้โค้ดเรียบง่าย ไม่ต้องดูแลหลายเวอร์ชัน
คำตอบของกูเกิลคือเขียนส่วน frontend ของแต่ละแพลตฟอร์มแยกจากกัน ใช้ภาษาและเครื่องมือแบบเนทีฟ โดยเวอร์ชัน Android เป็น Java, เวอร์ชันเว็บเป็น JavaScript+CSS, เวอร์ชัน iOS เป็น Objective-C
ในการเรียนการสอนทุกวันนี้ที่โรงเรียนสอนวิชาทั่วไปต่างๆ เชื่อมั้ยครับว่ายังมีโรงเรียนอีกกว่า 90% ที่ไม่มีการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ (เค้าว่ามาแบบนี้นะ) ทั้งๆ ที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนแทบจะทุกเพศทุกวัยทุกเชื้อชาติแล้ว
Code.org ที่เป็นเว็บไซต์สำหรับสอนการเขียนโปรแกรมจึงได้เปิดการระดมทุนเพื่อการเรียนการสอนครั้งใหญ่ด้วยเป้าหมายระดมทุนถึง 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำไปผลิตครูในวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และเพื่อสนับสนุนให้นักเรียนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านคนทั่วโลกเข้าถึงโครงการ Hour of Code ได้
ไมโครซอฟท์เคยออกภาษา TypeScript ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมใหม่ที่แปลงเป็น JavaScript ได้ ภาษานี้เปิดตัวในปี 2012 และถูกพัฒนามาเรื่อยๆ สถานะปัจจุบันคือเวอร์ชัน 1.0 (ออกเมื่อเดือนเมษายน 2014)
ล่าสุดไมโครซอฟท์เริ่มโชว์ TypeScript 1.1 เวอร์ชันพรีวิว (CTP) โดยของใหม่ที่สำคัญคือคอมไพเลอร์ตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมประมาณ 4 เท่าตัว ซึ่งในอนาคตไมโครซอฟท์จะเปลี่ยนมาใช้คอมไพเลอร์ตัวนี้แทนเมื่อแก้บั๊กเสร็จ
ผู้สนใจทดสอบสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานร่วมกับ VS 2013 หรือ VS 14 CTP ก็ได้
ทีมพัฒนาภาษา Swift ได้ประกาศขึ้นเลขเวอร์ชัน 1.0 พร้อมทั้งรองรับการส่งแอพ iOS ที่เขียนด้วย Swift ขึ้นไปยัง App Store แล้วครับ
อย่างไรก็ตาม ทีมพัฒนาก็ได้เตือนว่ารุ่น 1.0 ที่ปล่อยมานี้ ยังเป็นเพียงแค่รุ่น GM (gold master รุ่นสำเนาจาก RTM - ผู้เขียนข่าว) เท่านั้น ยังไม่ใช่รุ่น final แต่อย่างใด ในแง่การศึกษาภาษา Swift แล้ว ตัวภาษายังไม่เสถียรและอาจมีการปรับปรุงสมรรถนะ เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ หรือถึงขั้นเปลี่ยนไวยากรณ์ได้ภายหลัง แต่ในแง่ของการเขียนแอพใช้งานจริง ก็ไม่ต้องกังวลว่าแอพที่เขียนวันนี้จะทำงานไม่ได้ในอนาคต เพราะทุกแอพที่ส่งขึ้นไปจะมี runtime พ่วงไปด้วยนั่นเองครับ
มาตรฐาน C++ รุ่นใหม่ผ่านการโหวตไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้มาตรฐาน C++14 สามารถออกได้ตามกำหนด ต่างจาก C++11 ที่เลยกำหนดไปหลายปี (ชื่อเดิมคือ C++0x แต่เลื่อนจนออกมาตรฐานได้ปี 2011)
C++14 เพิ่มส่วนขยายเข้ามาหลายส่วน เช่น การรองรับ Transactional Memory ที่จะทำให้เขียนโปรแกรมมัลติคอร์ได้ง่ายขึ้น, นิยามพฤติกรรมในหลายส่วน, ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
มาตรฐาน C++98 ใช้เวลาห้าปีก่อนจะมีคอมไพล์เลอร์ที่รองรับเต็มรูปแบบตัวแรก ส่วน C++11 ใช้เวลาสองปี
ที่มา - ISO CPP
ภาษา PHP ที่เราใช้ทุกวันนี้เป็นการสร้าง interpreter โดยบริษัท Zend แม้จะมีคู่มือบอกว่าใช้งานอย่างไรแต่ก็ไม่มีสเปคชัดเจนให้ผู้ที่ต้องการนักพัฒนาคอมไพล์เลอร์ของตัวเองไปพัฒนาได้ ตอนนี้ทางเฟซบุ๊กจึงเข้ามาช่วยเขียนสเปคนี้ให้ด้วยตัวเอง และเวอร์ชั่นแรกก็ออกมาให้อ่านกันแล้ว
สเปคภาษานี้จะอิงกับ PHP 5.6 โดยปล่อยออกมาพร้อมกับชุดทดสอบความเข้ากันได้
การที่ภาษามีสเปคชัดเจน ทำให้การอิมพลีเมนต์มีได้หลากหลาย เช่นใน Python นั้นเราสามารถใช้นิยามภาษาไปสร้าง Jython ที่เข้ากันได้ (แม้ตัวโมดูลอาจจะเข้ากันไม่ได้ก็ตาม) หรือภาษา C/C++ ที่มีคอมไพล์เลอร์จากผู้ผลิตหลายรายให้เลือกใช้งาน
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการไปนั่งดื่มหรือรับประทานอาหารที่บาร์ทั่วไป ซึ่งมีการแสดงสดเป็นดนตรี แต่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีบาร์แห่งหนึ่งที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับบรรดาเหล่าโปรแกรมเมอร์หรือ geek ทั้งหลาย ซึ่งบาร์นั้นมีชื่อว่า Hackers Bar
จุดเด่นของบาร์แห่งนี้ นอกจากจะมีเครื่องดื่ม (ส่วนมากเป็นค็อกเทล) ชื่อแปลกๆ แต่คนทำงานด้านไอทีจะคุ้นเคย อย่างเช่น Blue Screen (มาจาก Blue Screen of Death ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดร้ายแรงของ Windows), Kernel Panic (มาจากข้อผิดพลาดร้ายแรงของระบบปฏิบัติการ UNIX, Linux), Spaghetti (หมายถึงโค้ดของโปรแกรมที่เขียนไม่เป็นระบบ) เป็นต้น แล้ว ยังมีการแสดงสดจากทางบาร์ด้วย โดยเป็นการแสดงสดการ "เขียนโปรแกรม" ให้กับผู้ที่เข้ามานั่งดื่มบาร์ได้รับชมด้วย
ภาษา Dart ที่กูเกิลพัฒนามาเพื่อใช้ในเบราว์เซอร์แทนจาวาสคริปต์ผ่าน ECMA เป็นมาตรฐาน ECMA-408 (PDF) แล้ว
กูเกิลพยายามผลักดันภาษา Dart ในช่วงปีนี้ ในงาน Google I/O มีการพูดถึงการใช้ Dart บนเซิร์ฟเวอร์, การพัฒนาเว็บ, และการใช้งานอื่นๆ
การทำภาษา Dart เป็นมาตรฐานเปิด เป็นการวางแนวทางโครงสร้างภาษาอย่างเป็นระบบ ทำให้นักพัฒนานอกกูเกิลสามารถพัฒนาคอมไพล์เลอร์หรือรันไทม์ที่ทำงานร่วมกันได้ ขณะเดียวกันมาตรฐาน ECMA ก็มีนโยบายว่าเทคโนโลยีที่ใช้ในมาตรฐานต้องไม่ติดสิทธิบัตร หรือสิทธิบัตรนั้นจะต้องไม่เก็บค่าใช้งาน
คุณ Philip Guo ผู้ก่อตั้งเว็บ Online Python Tutor เขียนตัววิเคราะห์การเลือกภาษาโปรแกรมสำหรับการเรียนเขียนโปรแกรมในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ พบว่าภาษา Python มีการใช้งานขึ้นนำแทนภาษา Java แล้ว
เกณฑ์การเลือกมหาวิทยาลัยใช้ข้อมูลจาก US News หมวดมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อในคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเขาเลือกมหาวิทยาลัย 39 ชื่อแรกมาประมวลผล
ในงาน Google I/O 2014 กูเกิลประกาศว่าจะเปลี่ยนรันไทม์ของ Android จาก Dalvik เป็น ART อย่างเป็นทางการ
ART ไม่ใช่ของใหม่เพราะเริ่มทดลองใช้มาตั้งแต่ Android 4.4 KitKat (ข่าวเก่า) เพียงแต่มันจะถูกใช้งานจริงใน Android L เป็นต้นไป
ในภาพรวมแล้ว ART ดีกว่า Dalvik ในทุกด้าน แต่ดีกว่าอย่างไรและแค่ไหน กูเกิลอธิบายไว้ในเซสชันชื่อ The ART runtime ซึ่งบทความนี้สรุปประเด็นมาให้รู้จัก ART กันก่อนใช้งานจริงๆ
ภาษา Swift เป็นไฮไลท์สำคัญของงาน WWDC ปีนี้ ที่น่าแปลกใจคือไม่มีข่าวเกี่ยวกับมันเลยจนกระทั่งเปิดตัวในงาน ตอนนี้รายละเอียดการพัฒนาบางส่วนก็เปิดเผยมาจากเว็บของ Chris Lattner โปรแกรมเมอร์ในฝ่ายเครื่องมือพัฒนา เขาส่งโค้ดเข้าโครงการ LLVM อย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภาษา Swift
โครงการ Swift เริ่มต้นในเดือนกรกฎาคมปี 2010 โดย Lattner พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และทีมนักพัฒนาคนอื่นเข้ามาช่วยในปี 2011 จนกระทั่งแอปเปิลเริ่มเอาจริงในเดือนกรกฎาคมปี 2013 หรือประมาณปีที่แล้ว ก่อนจะเปิดตัวในงานที่เพิ่งผ่านไป
แอปเปิลเปิดตัวภาษารุ่นต่อไปสำหรับการพัฒนาบน iOS ในชื่อว่าภาษา Swift แก้ปัญหาทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและฟีเจอร์ของภาษาสมัยใหม่ ตัว runtime สร้างขึ้นบนโครงสร้าง LLVM มีประสิทธิภาพดีกว่า Objective-C ทุกวันนี้เกือบเท่าตัว
ในแง่ฟีเจอร์ Swift จะรองรับฟีเจอร์ของภาษาโปรแกรมยุคใหม่ เช่น interface, generics, namespace, closure ตัวภาษาสามารถคอมไพล์เป็นไบนารีแบบเนทีฟได้ และมีฟีเจอร์ระดับสูงเช่น collections หรือ pattern matching มาให้ในตัว รวมถึงฟีเจอร์ที่เจาะจงกับ iOS และ OS X อย่าง Cocoa และ Cocoa Touch ก็จะทำงานร่วมกับ Swift ได้ในตัว
เว็บไซต์หางานด้านไอทีชื่อดัง Dice.com เผยสถิติด้านแรงงานเทคโนโลยีระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2014 (เน้นตลาดแรงงานในสหรัฐ) ว่าอัตราว่างงานของอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในสหรัฐถือว่าต่ำมาก (2.8%) ลดลงจากอัตราว่างงาน 5.5% ในไตรมาสแรกของปี 2010 มาก แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมไอทียังมีความต้องการแรงงานอีกเยอะ
ส่วนทักษะอาชีพที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังเป็น Java/J2EE ที่ตัวเทคโนโลยีหลักถึงแม้จะเก่าประมาณ 20 ปีแล้ว แต่ก็มีแอพพลิเคชันสาย Java เกิดใหม่ขึ้นหลายตัวในช่วงหลัง ไม่ว่าจะเป็น Android หรือ Hadoop
ทักษะอันดับสองคือ .NET ตามด้วย C++, C#, Senior (นักพัฒนาที่มีประสบการณ์), SQL, HTML, C, เว็บ, ลินุกซ์ ตามลำดับ
วันที่ 1 พฤษภาคม 1964 คือวันแรกที่ John Kemeny และ Thomas Kurtz เขียนโค้ดภาษา BASIC แล้วรันได้เป็นครั้งแรก กลายเป็นจุดเริ่มต้นแห่งภาษาที่ทุกวันนี้ยังมีการใช้งานเป็นวงกว้าง ลูกหลานของมันยังคงมีากรใช้งานเป็น Visual Basic จนทุกวันนี้ มันเก่ากว่าภาษา C ที่เป็นต้นตระกูลของภาษาโปรแกรมมิ่งสมัยใหม่จำนวนมาก
โปรแกรมเมอร์ทั้งสองคนเปิดให้ใช้งาน interpreter ของ BASIC ได้ฟรี บริษัทคอมพิวเตอร์จำนวนมากนำภาษาไปดัดแปลงรุ่นของตัวเอง เพื่อขายพร้อมกับคอมพิวเตอร์ ภาษา BASIC ยังเป็นสินค้าชิ้นแรกของบริษัท "Micro-Soft" ในปี 1975
บริการคลาวด์ของ DigitalOcean มีความพิเศษอย่างหนึ่งคือลูกค้าสามารถเข้าถึงหน้าจอคอนโซลได้จากเว็บ ทำให้จัดการเครื่องได้แม้จะเผลอคอนฟิกจนเน็ตเวิร์คไม่ทำงานก็ตาม ทาง Digital Ocean ประกาศว่าเพิ่งเขียนโค้ดในส่วนนี้เสียใหม่โดยใช้ภาษา Go
ประโยชน์ของการใช้ภาษา Go สำหรับ DigitalOcean ได้แก่ ประสิทธิภาพในการจัดการ TCP และ websocket ที่ดี ทำให้ความเร็วของคอนโซลดีขึ้น, ระบบอินเทอร์เฟซ (Interface) ทำให้โค้ดทดสอบได้ง่าย, มีไลบรารี net/http
ในตัวทำให้ดีพลอยขึ้นระบบจริงได้โดยไม่ต้องดาวน์ระบบ, ระบบแพ็กเกจของ Go ทำให้แต่ละทีมแชร์โค้ดกันได้ง่าย
Dropbox ประกาศเปิดตัวไพธอนที่พัฒนาใช้เองชื่อว่า Pyston อีมพลีเมนต์ไพธอนโดยแปลงเป็นภาษากลางของ LLVM แล้วคอมไพล์ออกมาเป็นโค้ดแบบเนทีฟ
เหตุผลที่ Dropbox ไม่ร่วมกับโครงการที่มีอยู่แล้วอย่าง PyPy เพราะว่าโครงสร้างของโครงการนั้นแก้ไขเพิ่มฟีเจอร์ที่ต้องการได้ยาก เช่น กระบวนการจัดการหน่วยความจำแบบใหม่ที่ Dropbox ต้องการทดลองใช้งานก็แพตซ์เข้าไปยัง PyPy ได้ลำบาก ขณะที่แก้ไขผ่าน LLVM นั้นง่ายกว่ามาก
เฟซบุ๊กใช้ภาษา PHP มาตั้งแต่แรกๆ และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันโดยสร้างเทคโนโลยีมาเสริมเพื่อรองรับการทำงานประสิทธิภาพสูงอยู่เรื่อยๆ โครงการก่อนหน้านี้เช่น HipHop VM (HHVM) ตอนนี้ก็มีพัฒนาการใหม่ถึงขั้นพัฒนาภาษาของตัวเองในชื่อว่าภาษา Hack แล้ว
ภาษา Hack เป็นภาษาที่ออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับ HHVM และ PHP ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เหมาะกับโครงการขนาดใหญ่มากขึ้น เช่น การระบุชนิดตัวแปร และระบุได้ว่าตัวแปรประเภทใดเป็น Null ได้, Generics, Collection เช่น Vector/Set/Pair เป็นชนิดตัวแปรพื้นฐาน, Lambda สร้างฟังก์ชั่น
ดาวน์โหลดได้เลยวันนี้
หลังจาก NVIDIA เปิดตัว CUDA 6 ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว วันนี้บริษัทก็เปิด CUDA Toolkit 6.0 รุ่น Release Candidate ให้คนทั่วไปทดสอบแล้ว
จุดเด่นของ CUDA 6 คือ Unified Memory หรือการมองหน่วยความจำของซีพียูกับจีพียูเป็นผืนเดียวกัน เพื่อให้ไม่ต้องคัดลอกข้อมูลข้ามพื้นที่แรมแต่ละส่วนทุกครั้ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและปรับกระบวนการพัฒนาให้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ CUDA 6 ยังรองรับการประมวลผลโดยใช้จีพียูสูงสุดถึง 8 ตัวต่อคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง ทำให้มีสมรรถนะในการคำนวณได้สูงถึง 9 teraflops ต่อเครื่อง
ผู้สนใจดาวน์โหลดได้ที่ CUDA Toolkit Pre-Production Downloads
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาภายในงานสัมมนาด้านการศึกษา Skills 2014 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เปิดตัวโครงการ Year of Code โครงการเพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักด้านโปรแกรมมิ่งให้กับครูและนักเรียนในสหราชอาณาจักร
โดยรัฐบาลจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมในตลอดระยะเวลา 12 เดือนของโครงการ และยังมีงบประมาณสนับสนุนให้จำนวน 500,000 ปอนด์ (ประมาณ 26 ล้านบาท) เป็นทุนให้กับภาคธุรกิจสำหรับการอบรมด้านโปรแกรมมิ่งให้กับครู นอกจากนี้แล้ว ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้หลักสูตรใหม่ด้านคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจุเป็นหลักสูตรบังคับสำหรับนักเรียนอายุ 5-16 ปี (ได้มีการนำข้อมูลจากภายนอก เช่น กูเกิล ไมโครซอฟท์ มาช่วยในการออกแบบหลักสูตรนี้ด้วย)
Orbotix ผู้ผลิตลูกบอลอัจฉริยะ Sphero ที่สามารถควบคุมให้วิ่งได้ด้วยสมาร์ทโฟน พร้อมแอพสำหรับแปลงให้เล่นเกมร่วมกับระบบ augmented reality ได้เปิดตัวลูกบอลรุ่นใหม่ Sphero 2B พร้อมนำไปโชว์ในงาน CES 2014 อีกด้วย
ในแง่ของหน้าตา Sphero 2B แตกต่างจากรุ่นก่อนหน้าอย่างมาก จากลูกกลมๆ กลายเป็นทรงกระบอก และเพิ่มความเร็วขึ้นเป็นเท่าตัว รวมถึงอุปกรณ์เสริมมาอีกหลายอย่างเพื่อให้ใช้งานได้ในทุกสภาพพื้นผิว โดยจะเริ่มขายช่วงปลายปีนี้ในราคา 99 เหรียญเท่ารุ่นเดิม
Joe Duffy วิศวกรอาวุโสของไมโครซอฟท์ที่รับผิดชอบงาน "วิจัย" ด้านระบบปฏิบัติการ เขียนบล็อกอธิบายผลงานที่ทีมของเขาใช้เวลากว่า 4 ปีซุ่มพัฒนาขึ้นมา มันคือภาษาโปรแกรมภาษาใหม่ที่พัฒนาต่อจาก C# แต่ชูจุดเด่นเรื่องประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับ C++ ("C# for Systems Programming")
Duffy อธิบายว่าภาษาโปรแกรมในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
ชุมชนผู้ใช้งานเฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ Node.js ร่วมกันดัดแปลง Python Tools for Visual Studio ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนา Python บน Visual Studio ของไมโครซอฟท์ ให้ใช้งานกับ Node.js ได้
ผลออกมาเป็น Node.js Tools for Visual Studio ที่ใช้ได้กับทั้ง Visual Studio 2012 และ 2013 ทำให้ Visual Studio เหมาะกับการเขียนโค้ด Node.js มากขึ้น ทั้งการแก้ไข, การช่วยคาดเดา Intellisense, การทำ profiling/debugging รวมถึงการเขียน Node.js เพื่อใช้กับ Azure หรือบริการกลุ่มเมฆอื่นๆ ด้วย
Wolfram เปิดตัว Wolfram Language มาแล้วก่อนหน้านี้ แต่แทบไม่มีรายละเอียดใดๆ ตอนนี้ทาง Wolfram ก็เปิดตัวออกมาเป็นทางการและเปิดรายละเอียดทั้งหมดแล้ว พร้อมกับประกาศว่าจะเปิดให้ผู้ใช้ Raspberry Pi ดาวน์โหลดไปใช้ฟรีเฉพาะการใช้งานเพื่อการศึกษา
Wolfram Language ที่จริงแล้วเป็นภาษาที่เกือบจะเหมือนกับ Mathmatica ทั้งชุด แต่มีฟังก์ชั่นเรียกข้อมูลกว่า 5,000 ฟังก์ชั่น เรียกข้อมูลจาก Wolfram|Alpha ออกมาได้ เช่น การดึงข้อมูลตลาดหุ้นก็สามารถดึงได้ภายในฟังก์ชั่นเดียวเท่านั้น
ไมโครซอฟท์โชว์เดโมของ Project N ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านคอมไพเลอร์ตัวใหม่สำหรับแพลตฟอร์ม .NET
ในเดโมของไมโครซอฟท์ได้ลองคอมไพล์แอพ FreshPaint บน Windows Store ด้วย Project N และได้ผลว่าแอพทำงานได้เร็วกว่าเวอร์ชันปกติ เทคนิคเบื้องหลัง Project N ไม่ใช่การทำ JIT (just-in-time) แต่เป็นการ optimization (ที่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่าทำอย่างไรบ้าง)
Project N มีเป้าหมายเพื่อให้แอพ .NET/C# บน Windows 8 และ Windows RT ทำงานได้เร็วขึ้น และน่าจะเปิดให้คนทั่วไปใช้งานได้ในปีหน้า 2014
ที่มา - ZDNet
Wolfram ผู้ผลิตโปรแกรม Mathematica และผู้ให้บริการ Wolfram|Alpha เตรียมเปิดบริการใหม่ เป็นภาษาเขียนโปรแกรมชื่อว่า Wolfram Language ที่ใช้ประมวลความรู้เข้ามาเป็นโค้ด
ความพิเศษของ Wolfram Language คงเป็นการดึงเอาความสามารถของ Wolfram|Alpha เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาษา ทำให้มีความสามารถในการประมวลภาษาธรรมชาติอยู่บางส่วน เช่น การประมวลวันที่และเวลาก็สามารถใส่ได้หลายรูปแบบเท่าที่จะระบุวันเวลาได้ถูกต้อง ขณะที่ตัวภาษายังใช้สร้างหน้าจอรับอินพุตและแสดงผลได้