ข่าวนี้เหมาะมากสำหรับคนที่สนใจเรื่องการออกแบบคอมไพเลอร์นะครับ (มีหรือเปล่าหว่า?)
ย้อนความกันหน่อยว่า เว็บไซต์ขนาดมหึมาอย่าง Facebook ถูกเขียนขึ้นมาด้วย PHP แต่จำนวนผู้ใช้ระดับนี้ ต้องการประสิทธิภาพที่สูงกว่า PHP ทั่วไป และแนวทางมาตรฐานของวงการคือแปลงฟังก์ชันบางส่วนเป็น C++ เพื่อรีดประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
ดัชนีวัดความนิยมภาษาโปรแกรมนั้น คงมีดัชนี TIOBE ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก ล่าสุดทาง TIOBE ก็แถลงดัชนีประจำเดือนธันวาคมออกมาแล้ว
โครงการ Eclipse เปิดตัวภาษา Xtend ที่เป็นภาษาที่มีความสามารถเทียบเท่ากับภาษาจาวา โดยฟีเจอร์ที่สำคัญคือมันสามารถคอมไพล์ภาษาออกมาเป็นไฟล์จาวาที่ "อ่านออก" รายการฟีเจอร์ที่สำคัญเช่น
ภาษา Xtend สร้างขึ้นโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานของโครงการ Xtext ที่มีระบบอำนวยความสะดวกในการสร้างภาษาเฉพาะงาน (Domain Specific Language - DSL) ได้ง่ายขึ้น
Disrupt เป็นงานสัมมนาทางเทคโนโลยีที่ TechCrunch จัดขึ้นเป็นประจำ แน่นอนว่างานรวมพลคนไอทีอย่างนี้ ไปนั่งฟังอย่างเดียวคงได้เฉาตายแน่ ดังนั้นจึงมีการจัดแข่ง Hackathon ควบคู่ไปด้วยตลอด
งานรอบนี้ค่อนข้างพิเศษหน่อย ตรงที่เป็นงานนอกสหรัฐครั้งแรกครับ โดยสถานที่จัดงานคือกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีนนั่นเอง
และจากการพัฒนาโปรแกรมกันอย่างมาราธอนต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง โดยโปรแกรมเมอร์กว่า 300 ชีวิต ผ่านสายตากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ตอนนี้ก็ได้ผลงานสุดเจ๋ง 6 อันดับสูงสุดแล้วครับ
ต่อเนื่องจากข่าวเมื่อเดือนสิงหาคม มาตรฐาน C++0x ผ่านการโหวตเป็นทางการ, เปลี่ยนชื่อเป็นมาตรฐาน C++11
จากข่าวเก่า กูเกิลเตรียมเปิดตัว "DART" ภาษาโปรแกรมใหม่สำหรับเว็บ วันนี้มันมาแล้วครับ
สหราชอาณาจักรเตรียมปรับปรุงหลักสูตร GCSE และ A-level ให้เพิ่มวิชาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เข้ามาในหลักสูตร โดยรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตรนาย David Willetts ได้ประกาศในงานเทศกาลวิทยาศาสตร์สหราชอาณาจักร
Willetts ระบุว่าปัญหาของหลักสูตรปัจจุบันที่สอนการใช้งานทั่วไปให้กับเด็กๆ นั้นทำให้เด็กๆ เบื่อเพราะรู้จักการใช้งานคอมพิวเตอร์มาก่อนแล้ว และอีกทางหนึ่งการที่วิชาเรียนพื้นฐานเกินไปเช่นนี้ทำให้ขีดความสามารถของนักเรียนที่จบการศึกษาไปกำลังตกต่ำลง
โครงการนำร่องจะเริ่มต้นด้วยนักเรียนประมาณ 100 คนที่สมัครใจจาก 5 โรงเรียนที่ร่วมโครงการ โดยจะทดสอบเป็นเวลาสองเทอม
เดือนตุลาคม วิศวกรของกูเกิล 2 คนคือ Lars Bak (ผู้ออกแบบเอนจินจาวาสคริปต์ V8 ใน Chrome) และ Gilad Bracha (ผู้ร่วมเขียนสเปกภาษา Java และผู้ออกแบบภาษา Newspeak ซึ่งเป็นลูกของ Smalltalk) จะขึ้นพูดที่งานสัมมนาด้านโปรแกรมมิ่ง ซึ่งคาดว่าทั้งคู่จะเปิดตัวภาษาโปรแกรมใหม่ของกูเกิลที่ชื่อ Dart (หรือ DART)
หลังมาตรฐาน C++0x ผ่านร่างสุดท้าย การโหวตรอบจริงก็ไม่มีปัญหาอะไรเมื่อคณะกรรมการโหวตด้วยมติเอกฉันท์ให้รับมาตรฐานนี้เข้าเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2011 หรือมาตรฐาน C++ ปรับปรุงครั้งที่สาม และได้ชื่อใหม่เป็น C++11 ตามปีที่ออกมาตรฐานสำเร็จ
หลังจากผ่านมาตรฐานแล้ว สิ่งที่เราต้่องรอกันต่อไปคือคอมไพลเลอร์ต่างๆ จะต้องปรับปรุงความสามารถในรองรับกันจนครบถ้วน ซึ่งคอมไพล์เลอร์หลักๆ เช่น gcc หรือ Visual Studio จะรองรับความสามารถบางส่วนไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ยังต้องรออีกสักพักกว่าจะครบถ้วนกันจริงๆ (ดูตารางเทียบการรองรับ)
Java SE 7 เป็นจาวารุ่นแรกที่พัฒนาภายใต้การดูแลของออราเคิล หลังจากที่การออกจาวารุ่นนี้ล่าช้ามานานตอนนี้มันก็มีให้ดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการ
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของจาวารุ่น 7 หลักๆ ได้แก่ รองรับการ switch
ด้วยสตริง, API ใหม่สำหรับการเรียกภาษาในกลุ่มภาษา Dynamic ให้ทำงานเร็วขึ้น, API สำหรับการทำงานแบบมัลติคอร์,อินเทอร์เฟชสำหรับ IO แบบใหม่, และรองรับ Unicode 6.0
จาวารุ่น 8 นั้นน่าจะออกได้ภายในปีหน้า ถ้าการนำภายใต้ออราเคิลทำให้การออกรุ่นใหม่สามารถออกได้ตรงเวลากว่าเดิมก็น่าจะเป็นผลดีอย่างมากต่อชุมชนจาวา
ที่มา - Oracle
งาน Hackathon คือชื่องานที่โดยรวมๆ แล้วคนมาร่วมงานต้องมานั่งเขียนโปรแกรมร่วมกันจริงๆ ไม่ใช่งานนั่งฟังแล้วกลับบ้านเหมือนงานอีเวนต์แบบอื่นๆ งานนี้ทางบริษัทหัวลำโพงเกิดนึกสนุกอยากจัดงานแบบนี้บ้าง ก็ได้เป็นงานเขียนแข่งเขียนโปรแกรมกันขึ้นมา
ภาษา Scala เป็นภาษาโปรแกรมอีกตัวหนึ่ง ที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดเชิงวัตถุ (object-oriented) กับแนวคิดฟังก์ชัน (functional) เข้าด้วยกัน มันทำงานบน JVM ของแพลตฟอร์มจาวาอีกต่อหนึ่ง และมีลูกค้าเป็นบริษัทดังๆ อย่าง Twitter และ Foursquare
ในเมื่อมันเป็นภาษาที่ทำงานบน virtual machine อย่าง JVM ในทางทฤษฎีมันก็น่าจะทำงานบน .NET (รวมถึง Mono) ได้ด้วย และล่าสุดไมโครซอฟท์ได้สปอนเซอร์นักพัฒนาจากห้องแล็บของสถาบัน EPFL ในฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้สร้าง Scala พอร์ตมันมาลง .NET แล้ว
Yukihiro "Matz" Matsumoto ชาวญี่ปุ่นผู้สร้างภาษา Ruby เมื่อปี 1993 (ซึ่งภายหลังมาดังเป็นพลุแตกเมื่อมี Ruby on Rails) ประกาศว่าเขาจะย้ายมาทำงานกับบริษัท Heroku ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้าน Ruby และให้บริการแบบ platform-as-a-service (เพิ่งถูก Salesforce.com ซื้อไปเมื่อปลายปี 2010)
เดิมที Matz มีตำแหน่งงานด้านวิจัยที่ห้องแล็บ Network Applied Communication Laboratory ในญี่ปุ่น และมีตำแหน่งที่สถาบันวิจัย Rakuten Institute of Technology ด้วย
Matz จะมีตำแหน่งใหม่เป็น Chief Architect of Ruby ซึ่งทำงานเต็มเวลาเพื่อพัฒนาแกนหลักของภาษา Ruby ให้ดียิ่งขึ้น
Blognone รายงานการแข่งขันเขียนโปรแกรมของบริษัทระดับโลกมาหลายครั้ง วันนี้บริษัท หัวลำโพง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์บนโทรศัพท์ของคนไทยก็จัดแข่งบ้างแล้วครับ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องแก้โจทย์ให้ได้ภายในสามชั่วโมง ตั้งแต่สามทุ่มถึงเที่ยงคืน
การแข่งขันรอบคัดเลือกมีสองรอบคือวันที่ 7 และวันที่ 9 โดยสามารถเข้าร่วมได้ทั้งสองรอบ หลังจากนั้นจะมีรอบจริงจัดงานที่ CS-LOXINFO อีกสามชั่วโมง ในรอบสุดท้ายทางหัวลำโพงระบุว่าจะมีการขัดขวางการเขียนโปรแกรมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบการแข่งขัน
ผู้เข้าร่วมงาน Tech-Ed หลายคนทวีตระบุว่าไมโครซอฟท์เพิ่งประกาศว่าบริษัทกำลังเปิดซอร์สโค้ดภาษา Visual Basic 6 บน Codeplex ปลายเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ แม้ทางไมโครซอฟท์จะยังไม่แถลงข่าวเรื่องนี้อย่างเป็นทางการและระบุว่านี่เป็นเพียงข่าวลือก็ตาม
Visual Basic 6 หรือ VB6 เป็นภาษาที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 1998 ก่อนไมโครซอฟท์จะเปลี่ยนไปซัพพอร์ต VB.NET แทน โดยมันเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากการที่เป็นภาษาแรกๆ ที่มีเครื่องมือพัฒนาหน้าจอ GUI ที่ใช้งานได้ง่ายและตัวภาษาเองก็เข้าใจง่าย
หลังจากโนเกียถอนตัวออกจาก MeeGo ไปส่วนใหญ่ (เหลืออยู่บ้าง) ความไม่ชัดเจนที่เกิดขึ้นก็ตกอยู่กับ Qt อีกส่วนหนึ่งว่าโนเกียจะเอาอย่างไรกับเทคโนโลยีนี้อย่างไรต่อไป ล่าสุด Lars Knoll นักพัฒนาจากทีม Qt ก็ออกมาแถลงแผนการพัฒนา Qt 5 แล้ว โดยยังยืนยันว่าโนเกียจะให้การสนับสนุน Qt ต่อไป และ Qt 5 Beta จะมาภายในปีนี้ และรุ่นจริงจะออกในปี 2012 โดยความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้แก่
แม้จะไม่ได้แสดงตัวในส่วน keynote แต่ App Engine ก็เปิดฟีเจอร์ชุดใหม่ทันทีต่อจาก Android โดยการเพิ่มฟีเจอร์ส่วนมากเป็นการเพิ่มเอาใจลูกค้าองค์กร (ที่เป็นลูกค้าสำคัญของ App Engine)
การแข่งขันเขียนโปรแกรมใหญ่ๆ ระดับโลกที่บ้านเรารู้จักคงเป็น Google CodeJam และ Microsoft Imagine Cup แต่อีกค่ายอย่างอินเทลก็มีการแข่งขันเหมือนกันแต่เป็นการแข่งขันในโจทย์เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบมัลติเธรด
การแข่งขันเริ่มวันที่ 18 เมษายนนี้ ตอนเที่ยงตรง (เวลา PDT) โดยการแข่งขันจะแบ่งออกเป็นสามข้อแต่ละข้อมีเวลาทำ 22 วัน ผู้ที่ทำคะแนนได้สูงสุด 3 คนแรกในแต่ละข้อจะได้รางวัล 400, 250, และ 100 ดอลลาร์ตามลำดับ และผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะได้ไปร่วมงาน Intel Developer Challenge ที่ซานฟรานซิสโกปลายปีนี้
รางวัลอาจจะเป็นเรื่องไม่สำคัญเท่าว่าคนที่เข้าร่วมการแข่งขันจะเข้าใช้งาน Manycore Testing Lab ฟรีเพื่อตรวจผลการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มี 40 คอร์ 80 เธรด
C++ เป็นภาษาที่นับว่าอยู่โลกธุรกิจมาได้อย่างยาวนาน โดยมีการประกาศมาตรฐานของภาษาออกมาเมื่อปี 1998 และได้รับการปรับปรุงในปี 2003 ในมาตรฐาน ISO/IEC 14882 แต่มาตรฐานใหม่ คือ C++0x (อ่านว่า ซี-พลัส-พลัส-โอ-เอ็ก) ก็ได้รับการโหวตเข้าสู่สถานะ Final Draft International Standard (FDIS) ซึ่งเป็นสถานะสุดท้ายก่อนจะประชุมลงมติเพื่อประกาศมาตรฐานแล้ว
ทีมงานคาดว่าจะมีการรายงานปัญหาในตัวมาตรฐานอยู่บ้าง และต้องมีการแก้ไขก่อนการประชุมครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามการลงมติเข้าเป็นสถานะ FDIS ได้นั้นก็คาดว่าปัญหาจะน้อยเต็มที และน่าจะประกาศได้ภายในปีนี้จนกลายเป็นมาตรฐาน C++ 2011 ต่อไป
Facebook จัดการการแข่งขันเขียนโปรแกรมของตัวเองเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า Facebook Hacker Cup รูปแบบการแข่งขันก็ใกล้เคียงกับ Google Code Jam
การแข่งขันแบ่งเป็น 4 รอบ รอบคัดเลือก (ออนไลน์) เริ่มตั้งแต่เวลา 00:00 UTC หรือ 7 นาฬิกาตามเวลาในประเทศไทย ของวันที่ 7 มกราคม (ปีนี้, ศุกร์ที่จะถึงนี้) ถึงเวลาเดียวกันของวันที่ 10 มกราคม จากนั้นจะมีรอบออนไลน์อีกสองรอบ รอบสุดท้ายจะจัดในวันที่ 11 มีนาคม (ปีนี้) Facebook จะพาผู้แข่งขันที่ทำคะแนนได้สูงสุด 25 คนบินไปแข่งกันที่สำนักงานใหญ่ของ Facebook ใน Palo Alto, California
เมื่อปี 1959 ภาษา COBOL ได้ถูกสร้างขึ้นโดย Grace Murray Hopper นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หญิงรุ่นบุกเบิก โดยมีแนวคิดพื้นฐานว่าคอมพิวเตอร์ต่างยี่ห้อควรทำงานได้จากโค้ดเดียวกัน และสร้างมาตรฐานที่ชื่อว่า FLOW-MATIC ขึ้น จากนั้นคณะกรรมการสร้างมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์ของทหารเรือสหรัฐฯ จึงได้ปรับปรุงมาตรฐานนี้ขึ้นมาเป็นภาษา COBOL แต่การทำงานจริงนั้นต้องรอจนคอมไพล์เลอร์ออกมาในวันที่ 6 และ 7 ธันวาคมปี 1960 เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องจาก RCA และ Remington-Rand Univac สามารถทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชุดเดียวกันเป็นผลสำเร็จ
ตอนแรก การเขียนโปรแกรมบน Windows Phone 7 มีทางเลือก 2 ประการคือ C# แปลงเป็น Silverlight หรือไม่ก็ใช้ XNA สำหรับเกม
แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ออก Visual Basic for Windows Phone Developer Tools สำหรับการเขียนภาษา Visual Basic แล้วแปลงเป็น Silverlight ได้เช่นกัน
แม้จะไม่ใช่ข่าวที่น่าตื่นเต้นนักในเชิงเทคนิค แต่จำนวนโปรแกรมเมอร์ที่เขียน VB ได้มีเยอะมาก ซึ่งเป็นการเสริมฐานนักพัฒนาบน WP7 ให้ไมโครซอฟท์ได้เป็นอย่างดี
F# เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งตัวหนึ่งของ .NET ที่ไมโครซอฟท์เพิ่งรวมเข้ามาใน Visual Studio 2010 เมื่อไม่นานมานี้
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศเปิดซอร์สของคอมไพเลอร์และไลบรารีของ F# ด้วยสัญญาอนุญาตแบบ Apache 2.0 (สามารถดาวน์โหลดได้จาก CodePlex)
อย่างไรก็ตามการเปิดซอร์สครั้งนี้ต่างไปจากโครงการโอเพนซอร์สแบบปกติอยู่บ้าง โดยไมโครซอฟท์จะไม่เปิด source tree ของ F# ที่กำลังพัฒนาอยู่ แต่จะปล่อยโค้ดทุกครั้งเมื่อ F# ออกเวอร์ชันใหม่ (ไมโครซอฟท์เรียกวิธีนี้ว่า code drop)
ข่าวทำนองนี้มีออกมาเรื่อยๆ ทุกปีนะครับ คราวนี้นิตยสาร Developer World ได้จัดรายการภาษาโปรแกรมที่กำลังมาแรง 7 ตัว (ไม่เรียงลำดับความสำคัญ, พวกแรกๆ คงไม่ต้องอธิบายนะครับ)
ที่มา - Developer World
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1985 เป็นวันแรกของการวางขาย The C++ Programming Language หนังสือที่มีส่วนเป็นอย่างมากที่พาให้ภาษา C++ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมาจนทุกวันนี้ พร้อมกับช่วยเผยแพร่แนวคิดการโปรแกรมแบบออปเจกต์ (Object Oriented Programming - OOP) มาจนทุกวันนี้
นิตยสาร Wired สัมภาษณ์ Bjarne Stroustrup หนึ่งในผู้สร้างภาษา C++ และผู้เขียนหนังสือ The C++ Programming Language มีประเด็นที่น่าสนใจจำนวนมาก