Salesforce เตรียมบังคับผู้ใช้ทั้งหมดต้องล็อกอินแบบยืนยันตัวตนหลายชั้นหรือ MFA ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ หลังจากประกาศมาตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว โดยจุดน่าสนใจคือนโยบายของ Salesforce นั้นนับว่าเข้มกว่าบริการอื่นๆ ที่มักเปิด MFA เป็นทางเลือก หรือหากบังคับก็มักจะมีตัวเลือกหลากหลาย โดยเฉพาะ SMS ที่ไม่ปลอดภัยนัก
Salesforce บังคับใช้ MFA โดยระบุชัดเจนว่าการยืนยันตัวตนผ่านโทรศัพท์, SMS, และอีเมล นั้นไม่นับเป็นการยืนยันตัวตนที่น่าเชื่อถือ ต้องใช้กระบวนการยืนยันตัวตนสมัยใหม่ เช่น แอป TOTP เช่น Google Authenticator หรือ Microsoft Authenticator, กุญแจ U2F/WebAuthn, ตลอดจนการยืนยันตัวตนกับอุปกรณ์ เช่น Touch ID/Face ID/Windows Hello
Salesforce รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ตามปีการเงินบริษัท 2022 สิ้นสุดเดือนตุลาคม 2021 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 27% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 6,863 ล้านดอลลาร์ มีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 468 ล้านดอลลาร์
รายได้หลักของ Salesforce มาจากส่วนของ Subscription และ support ซึ่งเพิ่มขึ้น 25% เป็น 6,379 ล้านดอลลาร์ ส่วนรายได้จาก Professional services และอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 45% เป็น 484 ล้านดอลลาร์
Marc Benioff ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Salesforce กล่าวว่า ไม่มีบริษัทซอฟต์แวร์ไหนในขนาดหรือสเกลเท่ากับเราที่สร้างผลงานได้ในระดับนี้ และเหตุผลที่เขารู้เพราะเขาได้พูดคุยกับซีอีโอบริษัทคลาวด์อื่นอยู่เป็นประจำ
Salesforce ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่เป็นการทำงานร่วมกันกับ Slack หลังประกาศซื้อกิจการเมื่อปลายปีที่แล้ว โดย Bret Taylor ซีโอโอ Salesforce อธิบายว่าคุณสมบัติคือการผลักดันแนวทาง Slack-First Customer 360 รองรับการทำงานในยุคดิจิทัล ให้ทุกคนในองค์กร ตลอดจนลูกค้า พาร์ทเนอร์ สามารถทำงานจบได้บน Slack ที่เดียว และมี Salesforce เป็นตัวจัดการเบื้องหลัง
คุณสมบัติใหม่ของ Slack-First ถูกอธิบายแยกเป็นแต่ละฝ่ายในองค์กรดังนี้
การทำงานในยุค New Normal กลายเป็นเรื่องที่ทุกธุรกิจต้องเจออย่างไม่คาดคิดในปีที่ผ่านมา ที่ผ่านมาธุรกิจอาจจะอาศัยการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์วันต่อวันเพื่อทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ แต่หลังจากนี้ค่อนข้างแน่ชัดว่าการทำธุรกิจจำนวนหนึ่งจะกลายเป็นรูปแบบออนไลน์ และลูกค้าของธุรกิจก็คาดหวังว่าจะได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ด้วยประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับการช่วยเหลือแบบเจอหน้ากันให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ขณะเดียวกันงานหลายๆ อย่างที่ต้องไปแก้ปัญหาให้ลูกค้าที่หน้างานก็ต้องมีเครื่องมือเพื่อให้ผู้ปฎิบัติงานมีข้อมูลที่ครบถ้วน สามารถแก้ไขปัญหาตรงหน้าได้อย่างสมบูรณ์พร้อมๆ กับการดูแลความปลอดภัยของพนักงาน
Salesforce รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ตามปีการเงินบริษัท 2022 สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2021 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 23% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน 5,963 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 469 ล้านดอลลาร์
Marc Benioff ซีอีโอ Salesforce กล่าวว่าไตรมาสนี้เป็นไตรมาสที่ 1 ที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์บริษัท เราเชื่อว่าแพลตฟอร์ม Customer 360 ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับองค์กรโดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่าน จากสถานการณ์โรคระบาด
รายได้แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ล้วนเติบโต โดยกลุ่ม Sales เพิ่มขึ้น 11% กลุ่ม Service เพิ่มขึ้น 20% ส่วนกลุ่มแพลตฟอร์มซึ่งรวมทั้ง MuleSoft และ Tableau เพิ่มขึ้น 28%
COVID-19 ทำให้ Digital Transformation กลายเป็นแนวทางภาคบังคับ ดังนั้นเราจึงเห็นองค์กรต่าง ๆ พยายามปรับตัวสูงสุดเพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่เนื่องด้วยเทคโนโลยีมีหลากหลายระดับ หากองค์กรไหนนำเทคโนโลยีที่ล้าหลัง หรือไม่ตอบโจทย์มาใช้ จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และผลประกอบการได้อย่างคาดไม่ถึง
สถานการณ์ COVID-19 ทำให้บริษัทไอทีจำนวนมากปิดสำนักงาน ให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน 100% และบางบริษัท เช่น Twitter ประกาศให้พนักงานทำงานได้จากที่บ้านตลอดไป
ในทางกลับกัน การฉีดวัคซีนในสหรัฐอเมริกาที่คืบหน้าไปมากพอสมควร ก็ทำให้บริษัทบางแห่งเริ่มกลับมาใช้นโยบายเปิดสำนักงานแล้ว บริษัทไอทีรายแรกๆ ที่นำเทรนด์นี้คือ Salesforce ที่ประกาศว่าจะเปิดสำนักงานใหญ่กลางเมืองซานฟรานซิสโกกลับมาในเดือนพฤษภาคมนี้ และสำนักงานที่เมืองอื่นๆ ในระยะถัดไป
The Wall Street Journal รายงานว่า Salesforce ได้เข้าลงทุนด้วยเงิน 40 ล้านดอลลาร์ ในสตาร์ทอัพชื่อ Community ผ่านกองทุน Salesforce Ventures ทำให้สตาร์ทอัพนี้ได้เงินลงทุนรวมแล้วราว 90 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนักลงทุนเดิมมีนักแสดงที่ช่วงหลังผันตัวมาเป็น VC อย่าง Ashton Kutcher รวมอยู่ด้วย
Community เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งในปี 2019 ให้บริการแอปสำหรับให้คนมีชื่อเสียงส่งข้อความ Text Message ตรงไปยังสมาร์ทโฟนของแฟนคลับหรือผู้ติดตาม โดยดาราศิลปินช่วงแรกที่มาใช้บริการมีทั้ง Paul McCartney, Jake Paul, Ellen Degeneres, และ Jennifer Lopez ผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่เรียกว่า Community Number บริการกำลังขยายเพิ่มเติมไปสู่แบรนด์สินค้า และธุรกิจขนาดเล็ก
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Jeff Bezos ประกาศลงจากตำแหน่งซีอีโอของ Amazon และให้ Andy Jassy มารับตำแหน่งต่อ ซึ่งเดิม Andy ดำรงตำแหน่งซีอีโอของ AWS ที่เป็นบริษัทคลาวด์ของ Amazon ทำให้ตำแหน่งนี้ว่างลงและต้องหาคนมารับตำแหน่งต่อด้วย
Salesforce รายงานผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 ตามปีการเงินบริษัท 2020 สิ้นสุดเดือนมกราคม 2020 รายได้เพิ่มขึ้น 20% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 5,817 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นรายได้จาก Subscription 5,476 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 20% และรายได้จากการบริการอื่น ๆ 341 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 18%
ซีอีโอ Marc Benioff กล่าวว่าสถานการณ์ในปีที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกภูมิใจมากที่บริษัทสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์โรคระบาดนี้ได้อย่างดี มีผลการดำเนินงานไตรมาสทำสถิติใหม่ ออกผลิตภัณฑ์ได้มากและเร็วขึ้น
หน่วยงานสุขภาพไม่แสวงหากำไร CARIN Alliance, Cerner, Change Healthcare, The Commons Project Foundation, Epic, Evernorth, Mayo Clinic, MITER, Safe Health และบริษัทเทคโนโลยีคือ Microsoft, Salesforce, Oracle เข้าร่วมโครงการ The Vaccination Credential Initiative (VCI) สร้างระบบบันทึกสถานะการฉีดวัคซีน COVID-19 ของแต่ละคนในรูปแบบดิจิทัล
เป้าหมายของ VCI คือ สร้างมาตรฐานและให้ข้อมูลรับรองการฉีดวัคซีนในรูปแบบดิจิทัลที่คนสามารถเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย และทำงานร่วมกันได้ เพราะในอนาคตจะมีการตรวจสอบสถานะการฉีดวัคซีนมากขึ้นเพื่อการกลับไปใช้ชีวิตปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว
ในอภิมหาดีล Salesforce ซื้อ Slack ด้วยราคา 27.7 พันล้านดอลลาร์ ถึงแม้ทั้งสองบริษัทไม่ได้พูดชื่อออกมาตรงๆ แต่ทุกคนก็รู้ว่าเกิดขึ้นเพื่อรับมือ Microsoft Teams ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
ไมโครซอฟท์เงียบมาตลอดในเรื่องนี้ แต่เมื่อต้นเดือนธันวาคม Judson Althoff ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจองค์กรของไมโครซอฟท์ไปพูดที่งานสัมมนาของธนาคาร UBS และได้รับคำถามเรื่องดีล Salesforce/Slack ว่าเขามีความเห็นอย่างไร เราจึงเห็นมุมมองของไมโครซอฟท์ต่อคู่แข่งเป็นครั้งแรก
ในบทสัมภาษณ์ Salesforce-Slack นอกจากประเด็นว่าใครติดต่อไปคุยกันก่อน ยังมีการอธิบายว่าทำไมการซื้อ Slack ในราคาแพงถึง 8.3 แสนล้านบาทจึงสมเหตุสมผล
Bret Taylor ซีโอโอของ Salesforce ยืนยันว่า Slack คุ้มค่าเงิน 8.3 แสนล้านบาทแน่นอน เพราะ Slack จะกลายมาเป็นแกนกลางให้ Salesforce ต่อเชื่อมทุกอย่างเข้าด้วยกัน ธุรกิจของ Salesforce เริ่มจาก CRM แต่ภายหลังก็ขยายมายังซอฟต์แวร์องค์กรประเภทอื่นๆ เช่น งานขาย งานบริการลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ แต่สิ่งที่ยังขาดอยู่คือการสื่อสารระหว่างกัน ซึ่ง Slack เข้ามาเติมเต็มตรงนี้ได้พอดี
Stewart Butterfield ซีอีโอของ Slack เผยเบื้องหลังการถูก Salesforce ซื้อกิจการ ว่าจุดเริ่มต้นมาจากฝ่าย Slack ติดต่อไปหา Salesforce ก่อน แต่ไม่ได้ไปเสนอขายกิจการ เพราะติดต่อไปเพื่อขอซื้อธุรกิจซอฟต์แวร์จาก Salesforce ต่างหาก (สุดท้ายเลยถูกซื้อซะเองหมดทั้งบริษัท)
Butterfield บอกว่าเขาสนใจ Quip ซอฟต์แวร์สร้างเอกสารร่วมกัน (ลักษณะเดียวกับ Google Docs) ที่ Salesforce ซื้อกิจการมาในปี 2016 แต่ไม่ได้เน้นมากนักในช่วงหลัง โดย Butterfield มองว่า Quip น่าจะเหมาะกับการต่อยอดที่ Slack มากกว่า (คุยงานแล้วแก้เอกสารกันใน Slack เลย)
สัปดาห์ที่แล้ว Salesforce ประกาศข่าวสำคัญอีกข่าว (ที่โดนข่าวซื้อ Slack กลบมิด) คือ Hyperforce ซึ่งเป็นการปรับสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ของ Salesforce นับตั้งแต่เปิดบริษัทมา
เมื่อแรกก่อตั้งบริษัท ซอฟต์แวร์ทุกอย่างของ Salesforce เป็น SaaS (Software as a Service) ที่ทุกอย่างโฮสต์อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของ Salesforce เท่านั้น แต่ในโลกยุคใหม่ที่เป็นมัลติคลาวด์ ใช้เซิร์ฟเวอร์ที่หลากหลายทั้ง private cloud และ public cloud เป็นปัจจัยบีบให้ Salesforce ก็ต้องปรับตัวเช่นกัน
ข่าว Salesforce ซื้อ Slack ด้วยมูลค่าสูงถึง 2.77 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 8.3 แสนล้านบาท) (ติดอันดับ 7 ดีลซื้อกิจการใหญ่ที่สุดของโลกไอที) สร้างความฮือฮาอย่างมาก โดยเฉพาะมูลค่าการซื้อกิจการที่หลายคนมองว่าสูงมาก หรือ Salesforce ซื้อแพงเกินไป
ประเด็นเรื่องราคาของ Slack คงไม่มีใครอธิบายได้ดีเท่ากับ Marc Benioff ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Salesforce ที่ให้สัมภาษณ์กับช่อง CNBC
Benioff บอกว่าความฝันของเขาคือทำให้รายได้ต่อปีของ Salesforce เติบโตขึ้น 2 เท่า จาก 2.55 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มมาเป็น 5 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท) และเขายินดีทำทุกอย่างเพื่อให้ไปถึงความฝันนี้ได้
จากดีล Salesforce ประกาศซื้อกิจการ Slack ด้วยมูลค่าสูงถึง 27,700 ล้านดอลลาร์ ทำให้เป็นเป็นหนึ่งในดีลซื้อกิจการของบริษัทเทคโนโลยี ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ดีลหนึ่ง โดยอยู่ในลำดับที่ 8
ข่าวนี้รวบรวม 10 อันดับแรก ของดีลซื้อกิจการกันในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูงสุด ที่น่าสนใจคือดีลขนาดใหญ่ระดับเกิน 20,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังปี 2015 เป็นต้นมา
Salesforce ประกาศเข้าซื้อกิจการ Slack แพลตฟอร์มสำหรับติดต่อสื่อสารในการทำงาน ตามที่มีข่าวลือก่อนหน้านี้ ที่มูลค่าดีล 27,700 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 8.3 แสนล้านบาท โดย Salesforce จะจ่ายเป็นเงินสด 26,790 ล้านดอลลาร์ และจ่ายเป็นหุ้นของ Salesforce ที่อัตราส่วน 0.0776 หุ้น Salesforce ต่อ 1 หุ้น Slack
Marc Benioff ซีอีโอ Salesforce กล่าวว่า ซีอีโอ Stewart Butterfield และทีมงานได้สร้าง Slack ขึ้นมาจนเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมของลูกค้าองค์กรอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน พร้อมระบบนิเวศที่น่าทึ่ง การรวมกันกับ Salesforce จะช่วยสร้างโลกใหม่ของซอฟต์แวร์องค์กร และเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้คนในยุคทุกอย่างเป็นดิจิทัล และสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้
Wall Street Journal และ CNBC เสนอข่าวจากแหล่งข่าวว่า Salesforce กำลังเจรจาซื้อกิจการ Slack และอาจประกาศข่าวอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า
ช่วงหลัง Salesforce ไล่ซื้อกิจการอย่างต่อเนื่อง ที่เด่นๆ คือ ซื้อ MuleSoft ในปี 2018 และ Tableau ในปี 2019
ถ้าข่าวนี้เป็นจริง การซื้อ Slack น่าจะเป็นการซื้อกิจการครั้งใหญ่อีกครั้ง ปัจจุบัน Slack อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (ชื่อย่อ WORK) และมีมูลค่าบริษัทตามราคาหุ้นที่ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หุ้นขึ้นหลังข่าวนี้ออก)
เหตุการณ์ COVID-19 ทำให้บริษัทลดคนเป็นวงกว้าง เมื่อเดือนมีนาคม Marc Benioff ซีอีโอ Salesforce ก็ออกมาประกาศว่าจะไม่ปลดพนักงานเป็นเวลาสามเดือน ผ่านมา 5 เดือนในการประกาศผลประกอบการรอบล่าสุด Marc ก็ระบุว่าจะมีการลดคนบางส่วน
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับการทำแผนปลดคนว่าจำนวนพนักงานที่ถูกปลดรอบนี้น่าจะประมาณ 1,000 คน จากพนักงาน 54,000 คน
การมาถึงของยุค work from home ทุกหย่อมหญ้าทำให้ตลาดแอพแชทสำหรับองค์กรดุเดือด และมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาร่วมวงมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดเป็นคิวของ Salesforce ยักษ์ใหญ่ของวงการแอพพลิเคชันองค์กร เปิดตัว Salesforce Anywhere ที่ทำให้ผู้ใช้แอพในตระกูล Salesforce ทั้งหมดสามารถแชทคุยกันเองได้
จุดเด่นของ Salesforce Anywhere ย่อมเป็นการเชื่อมกับระบบ CRM/ERP ของ Salesforce อย่างแนบแน่น เพราะมันฝังหน้าจอแชทเข้ามาในเว็บแอพของ Salesforce ได้โดยตรง (ขึ้นตรงมุมขวาล่างในภาพ) ลูกค้าองค์กรที่ใช้ Salesforce เป็นปกติอยู่แล้วก็สามารถปรับตัวมาแชทผ่าน Anywhere ได้ทันที (บนมือถือจะมีแอพ Anywhere แยกเฉพาะให้)
Salesforce เป็นบริษัทเทคโนโลยีรายล่าสุดที่ประกาศยกเลิกงานสัมมนาตลอดทั้งปี 2020 ซึ่งครอบคลุมงานใหญ่ประจำปี Dreamforce และงานสัมมนาของ Tableau บริษัทลูกที่ซื้อกิจการมาเมื่อปีที่แล้ว
Salesforce ระบุว่าจะเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นงานสัมมนาดิจิทัลแทน ตัวอย่างคือ World Tour Sydney เมื่อเดือนมีนาคม ปกติมีคนเข้าร่วมงานประมาณ 11,000 คน กลายเป็นงานออนไลน์ที่มีผู้รับชมถึง 80,000 คน
งานสัมมนา Dreamforce ถือเป็นงานใหญ่ของ Salesforce ที่จัดในซานฟรานซิสโก และมีผู้เข้าร่วมงานถึง 170,000 คน โดย Salesforce ระบุว่าตั๋วเข้าร่วมงานที่ซื้อไปก่อนแล้วจะคืนเงินให้ทั้งหมด
Marc Benioff ซีอีโอ Salesforce โพสต์ทวิตเตอร์ว่า เขาให้สัญญาว่าบริษัทจะไม่เลิกจ้างงานในช่วง 3 เดือนนี้แน่นอน แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตโรค COVID-19 ระบาดก็ตาม และยังจ่ายเงินพนักงานที่ทำงานรายชั่วโมงตามปกติแม้ออฟฟิศจะปิด
โรคระบาดทำหลายธุรกิจตัดสินใจเลิกจ้าง พักงาน หรือให้ลางานไม่จ่ายเงิน และหลายธุรกิจต้องปิดเพราะไม่สามารถทำกิจการต่อได้ในช่วง lock down ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ มียอดคนว่างงานพุ่งสูงสุด เฉพาะเวลา 2 สัปดาห์ แค่แคลิฟอร์เนียก็ได้รับรายงานว่ามีคนแจ้งการว่างงานมากว่า 1 ล้านครั้ง
Salesforce ประกาศซื้อกิจการ Vlocity บริษัทที่พัฒนาแอพพลิเคชันเฉพาะอุตสาหกรรม (vertical industries) บนแพลตฟอร์ม Salesforce อีกทีหนึ่ง ด้วยมูลค่า 1.33 พันล้านดอลลาร์
การที่องค์กรจำนวนมากใช้ Salesforce สำหรับงานขาย, CRM, บริการหลังขาย ฯลฯ ทำให้เกิดความต้องการแอพพลิเคชันเฉพาะอุตสาหกรรม เช่น พลังงาน โทรคมนาคม ประกัน สาธารณสุข ฯลฯ ตรงนี้คือตลาดที่ Vlocity เข้ามาสร้างแอพพลิเคชันบน Salesforce อีกที และทำให้ Salesforce เข้ามาซื้อกิจการในที่สุด
ในโอกาสเดียวกัน Salesforce ยังประกาศว่า Keith Block ซีอีโอร่วม (Co-CEO) ของบริษัทที่ได้รับการโปรโมทในปี 2018 (ย้ายมาจาก Oracle ตั้งแต่ปี 2013) จะลงจากตำแหน่ง ทำให้ซีอีโอของบริษัทกลับมาเหลือ Marc Benioff ผู้ก่อตั้งบริษัทคนเดียวเหมือนเดิม
Snowflake บริษัทซอฟต์แวร์ data warehouse บนคลาวด์ที่กำลังมาแรง ประกาศระดมทุนรอบใหม่ 479 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 15,000 ล้านบาท) ทำให้บริษัทมีมูลค่า 12.4 พันล้านดอลลาร์ (3.9 แสนล้านบาท) เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นสตาร์ตอัพสายองค์กรที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของวงการ
Snowflake ก่อตั้งในปี 2012 โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน data warehouse จำนวน 3 คน (สองคนเคยทำงานกับ Oracle) บริษัทเรียกผลิตภัณฑ์ของตัวเองว่า Cloud Data Platform ที่ทำงานบนคลาวด์หลายยี่ห้อ (ปัจจุบันรองรับทั้ง AWS, Azure, GCP) และมีโมเดลคิดเงินแบบ as a service คือมีเฉพาะเวอร์ชันคลาวด์เท่านั้น จ่ายเท่าที่ใช้งานจริง และลดภาระการดูแลเซิร์ฟเวอร์ลง