หลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อ Maglev ที่เป็นเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่อาศัยแม่เหล็กถาวรในการยกตัวรถให้ลอยอยู่ในอากาศและส่งกำลังขับเคลื่อน แต่ตอนนี้เทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้ในทางกลับกันคือการใช้เทคโนโลยี Maglev นี้มาผลิตไฟฟ้าได้เปิดตัวในงาน Wind Power Asia 2008
บริษัท Maglev Wind Turbine จากรัฐอาริโซนาร์ สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตกังหันลมในเทคโนโลยีดังกล่าว ได้อ้างถึงข้อดีหลายประการในการใช้งานเทคโนโลยี Maglev เช่นการลดการใช้งานตลับลูกปืนในข้อหมุนต่างๆ ทำให้ลดการสูญเสียพลังงานไปได้มาก และการสร้างกังหันขนาดใหญ่ทำให้ประหยัดต้นทุนต่อวัตต์ไปได้
ข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์ในทุกวันนี้คือราคาต่อวัตต์แพงมากจนกระทั่งหลายๆ ครั้งมีคนตั้งคำถามว่ามันคุ้มค่าจริงหรือ โดยนับแต่มีการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นมาครั้งแรกเมื่อประมาณสามสิบปีมาแล้วนั้น เป็นการผลิตไฟฟ้าจากสารกึ่งตัวนำบนแผ่นเวเฟอร์ ที่ใช้พลังงานในการผลิตสูงมาก จนกระทั่งจุดคุ้มทุนด้านพลังงาน (ที่ใช้ในการผลิต) นั้นอยู่ที่สามปีจึงเริ่มคืนทุน ส่วนเซลล์แสงอาทิตย์ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั้นเป็นเซลล์แบบบางที่ฉาบอยู่บนแผ่นแก้ว โดยมีระยะเวลาการคืนพลังงานอยู่ที่ 1.7 ปีโดยประมาณ และค่าใช้จ่ายในการผลิตค่อนข้างสูงอีกทั้งการผลิตจำนวนมากยังทำได้ยาก
รายงานการศึกษาล่าสุด เรื่องผลของ Wi-Fi ต่อสุขภาพ เปิดเผยว่า สัญญาณ Wi-Fi มีผลต่อทารกในครรภ์มารดา ซึ่งรายงานนี้ได้ตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ ที่มีชื่อว่า the Australasian Journal of Clinical Environmental Medicine
โดยรายงานนี้ได้ระบุว่า สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยจากอุปกรณ์ที่มีสัญญาณ Wi-Fi เป็นสาเหตุให้เกิดการจับตัวกันของธาตุโลหะในเซลล์สมอง ซึ่งการสะสมนี้จะทำให้เกิดอาการออทิสติกอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้ออกมาย้ำรายงานของตนว่า สัญญาณ Wi-Fi ไม่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
การตื่นตัวของปรากฏการณ์โลกร้อนทำให้เริ่มมีรายงานการวิจัยถึงการปล่อยสารเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์กันอยู่เรื่อยๆ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อรายงานฉบับล่าสุดของ MIT ออกมาระบุว่า สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสารเรือนกระจกที่มากที่สุดในโลกนั้น กลับมีแนวโน้มที่จะปล่อยสารเรือนกระจกเหล่านี้ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราเร่ง โดยรายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาจากข้อมูลในช่วงปี 1950 มาจนถึงปี 2000 และใช้การประมาณการในปี 2000 ไปจนถึงปี 2050
เครื่องอ่านใจ (ที่จริงคือความคิดในสมอง) เป็นเรื่องที่จินตนาการกันมามากที่สุดเรื่องหนึ่งในนิยายวิทยาศาสตร์ และดูเหมือนว่าในวันนี้ความฝันนี้จะใกล้ความจริงเข้าไปอีกขั้น เมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบอสตันประกาศความสำเร็จเบื้องต้นในการแปลคลื่นสมองออกมาเป็นสัญญาณเสียง
ทีมทดลองใช้การฝังอิเล็กโตรดลึก 6 มิลลิเมตรลงไปใต้สมองเพื่อเชื่อมต่อกับนิวรอน 41 ตัว หลังจากนั้นจึงบันทึกค่าที่วัดได้เมื่ออาสาสมัครจินตนาการว่ากำลังพูดเสียงพื้นฐานหนึ่งในสามเสียง
หลังจากการฝึกฝนและวัดข้อมูลเป็นเวลาหลายปี ทีมงานก็สามารถคาดเดาเสียงที่ผู้ป่วยต้องการพูดได้แม่นยำถึงร้อยละ 80 ซึ่งแน่นอนว่ายังค่อนข้างห่างไกลจากการออกเสียงคำพูดซึ่งต้องมีเสียงพื้นฐานมากกว่านี้ และการแปลความหมายที่ซับซ้อนกว่านี้
รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ของมาเลเซีย นาย Jamaludin Jarjis ออกให้สัมภาษณ์ว่าทางการมาเลเซ็ยได้รับการติดต่อเสนอขายจรวด Soyuz TMA-11 (ดูวีดีโอการปล่อยจรวดจาก YouTube) ลำที่พานักบินอวกาศชาวมาเลเซียขึ้นไปยังอวกาศเมื่อเดือนตุลาคมที่แล้วกลับไปแสดงยังมาเลเซีย พร้อมกันนี้ก็ได้แสดงออกว่าทางการมาเลเซียเองก็มีความสนใจในข้อเสนอนี้ด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันนี้ตัวจรวด TMA-11 ยังประจำการอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติในฐานะยานฉุกเฉิน โดยลูกเรือชาวมาเลเซียนั้นได้เดินทางกลับมากับยาน TMA-10 ก่อนหน้านี้แล้ว
จากข่าวเก่า DARPA Challenge เริ่มขึ้นอีกครั้ง ตอนนี้การแข่งขันเสร็จสิ้นไปแล้ว และผู้ที่สามารถสร้างรถหุ่นยนต์จนวิ่งเข้าเส้นชัยได้ตามเวลาที่กำหนด 6 ชั่วโมงมี 3 มหาวิทยาลัย
ทีมแรกที่ผ่านเกณฑ์คือมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งใช้รถ VW Passat ชื่อ "Junior" ทีมที่สองคือมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (ใช้รถ Chevy Tahoe) และทีมสุดท้ายสถาบันเทคโนโลยีเวอร์จิเนีย ใช้รถ Ford Escape แบบไฮบริด ต้องหมายเหตุไว้นิดว่าแต่ละทีมเริ่มไม่พร้อมกันและได้รับเป้าหมายแตกต่างกันไป จึงต้องรอการตัดสินจากกรรมการว่าทีมไหนจะได้รับเงิน 2 ล้านเหรียญสำหรับรางวัลชนะเลิศ
หลังการส่งดาวเทียมไปดวงจันทร์ ทางการจีนก็ได้เปิดตัวฐานยิงจรวดแห่งใหม่ทางเหนือของเมืองเทียนจิน พร้อมกันนี้กับจรวดขนส่ง Long March 5 ที่เพิ่มระวางบรรทุกสูงสุดขึ้นไปอีกขึ้น
จรวดชุดใหม่นี้มีความสามารถในการบรรทุกดาวเทียมหนัก 25 ตัน ขึ้นไปโคจรในวงโคจรใกล้โลก และ 14 ตันสำหรับวงโคจรค้างฟ้า เทียบกับระวางบรรทุกก่อนหน้านี้ที่จำกัดอยู่ที่ 9 ตัน และ 5 ตันตามลำดับ
กำหนดการเริ่มใช้งานของฐานยิงจรวดแห่งใหม่อยู่ที่ปี 2012 ส่วนจรวด Long March 5 นั้นน่าจะใช้งานได้ในปี 2013
การแข่งขัน DARPA Challenge คงเป็นการแข่งขันที่น่าตื่นตาที่สุดอันหนึ่งในโลกหุ่นยนต์ หลังจากครั้งที่แล้ว มีการแข่งขันสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถเดินทางข้ามทะเลทรายได้เอง การแข่งขันในปีนี้จะน่าสนุกกว่าเดิน ด้วยกติกาใหม่ที่เป็นการสร้างเมืองจำลองเพื่อให้รถทุกคันที่เข้าร่วมได้เดินทางตามเส้นทางที่กำหนด
ความท้าทายของการแข่งขันนี้อยู่ที่กติกาว่ารถทุกคันต้องทำตามกฏหมายจราจรของรัฐแคลิฟอร์เนียร์ และต้องทำตามป้ายบังคับต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเมื่อถึงทางแยกแล้วต้องขอหรือให้ทางกันอย่างเป็นระเบียบ และที่สำคัญที่สุด คือ อย่าชน!!!
ดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ "คางุยะ" ของญี่ปุ่นได้ส่งภาพถ่ายโลกความละเอียดสูงระดับ 1920x1080 กลับมาสู่โลกแล้ว โดยภาพถ่ายโลกส่วนมากที่เราเห็นกันมักเป็นภาพถ่ายที่ระดับความสูงหลักร้อยกิโลเมตรเหนือผิวโลกเท่านั้น แต่ภาพถ่ายจากดาวเทียมคางุยะนี้ให้ภาพในมุมไกลจากระยะ 110,000 กิโลเมตร
ข้อมูลที่ดาวเทียมนี้ส่งมา จริงๆ แล้วเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายทุกๆ แปดนาที
อยากรู้ว่าความเร็วในการส่งข้อมูลนี่มันเท่าใหร่กันเนี่ย
ที่มา - The Future of Things, JAXA
การแข่งขันสู่อวกาศรอบใหม่กำลังดุเดือดเต็มที่เมื่อทางการจีนผ่านทางสำนักข่าวซินหัวได้รายงานถึงความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ขึ้นสู่อวกาศแล้วในวันนี้ หลังจากที่ทางการญี่ปุ่นได้ประกาศความสำเร็จในการรับภาพถ่ายจากดาวเทียมของตนไปเมื่อ 13 วันก่อนหน้านี้
ดาวเทียม Chang'e 1 ถูกยิงขึ้นจากฐานปล่อยจรวดในมณฑลเสฉวน ด้วยจรวด Long March 3A โดยตัวดาวเทียมหนัก 2,350 กิโลกรัม มีภารกิจในการสร้างภาพสามมิติของพื้นผิวดวงจันทร์ทั้งหมด พร้อมการตรวจจับข้อมูลอื่นๆ อีกหลายประการ โดยคาดว่าภาพแรกที่จะเริ่มส่งกลับสู่โลกจะมาในเดือนพฤศจิกายนนี้
หลังจากที่มีการพัฒนาการนำสัญญาณ Wi-Fi เข้ามาให้แทนที่สายแลน
มากขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ผู้ใช้กำลังกังวลใจอยู่คือเรื่องความปลอดภัยของสัญญาณว่าจะส่งผลกระทบต่อสุภาพร่างกายมาน้อยเพียงใด ทำให้องค์กร Heath Protection Agency (HPA)
ในประเทศอังกฤษเข้ามาศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ถึงแม้ว่าจากการศึกษาและการวิจัยในปัจจุบันยังไม่พบผลกระทบทางสุขภาพของการใช้
Wi-Fi และสัญญาณโทรศัพท์ แต่เมื่อไม่นานมานี้ทางได้มีรายงานเกี่ยวกับสัญญาณความถี่คลื่น ที่ส่งผลให้การไหลเวียนของโปรตีนในร่างกายทำงานผิดปรกติ ซึ่งอาจส่งผลทำให้การผลการตรวจวัดเกี่ยวปัญหาทางสุขภาพไม่ถูกต้องเท่าที่ควร
หลังการยิงดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ไปเมื่อหนึ่งเดือนที่แล้ว ดาวเทียม Kaguya ก็เริ่มส่งภาพพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลกแล้วผ่านทางกล้องที่ใช้ในการตรวจสอบการปล่อยดาวเทียมลูกที่ติดไปด้วยกันชื่อว่า Rstar ที่เป็นดาวเทียมช่วยทำแผนที่แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์
ดาวเทียม Kaguya เป็นโครงการมูลค่าประมาณ 17,000 ล้านบาท ติดตั้งเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 14 ชนิด และโคจรอยู่ที่ความสูง 100 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์
นักวิจัยชาวเยอรมัน Gerhard Ertl ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีไป จากผลงานวิจัยเรื่อง ปฏิกิริยาของสารเคมีต่อพื้นผิวของแข็ง ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมว่า มลพิษทำลายชั้นโอโซนอย่างไร
โดยงานของนักวิจัยท่านนี้จะเป็นการนำให้คนมาสนใจการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งทำให้ไม่ก่อเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา - CNN.com, Nytimes.com
นักวัจัยชาวฝรั่งเศส Albert Fert และชาวเยอรมัน Peter Grünberg ควัารางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากเทคโนโลยีที่มีื่อว่า Giant Magnetoresistance หรือ GMR ซึ่งแตกแขนงมาจากนาโนเทคโนโลยี โดยสามารถนำมาประยุกต์เพื่อเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์โดยที่ฮาร์ดดิสก์มีขนาดที่เล็กลง (อ่านประกอบ) หรือ พัฒนาเซ็นเซอร์แม่เหล็กหลายรูปแบบ
สถาบัน the Sister Kenny Rehabilitation ของโรงพยาบาล Abbott Northwestern ได้นำเครื่องคอนโซล Wii มาใช้ในการกายภาพบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดอุดตันจนร่างกายไม่มีกำลัง โดยให้ผู้ป่วยเล่นเกมเทนนิสใน Wii โดยเกมจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมสมดุลของร่างกายและช่วยให้มีแรงที่แขนขึ้นมา ผู้ป่วยที่ได้ลองวิธีกายภาพบำบัดแบบนี้ ได้กล่าวว่าตอนนี้เค้าสามารถ เคลื่อนไหวที่มือและเท้าได้ หรือกระโดดได้เพราะได้เกมส์ Wii ช่วย ซึ่งWii มีความน่าสนุกและไม่น่าเบื่อเหมือนการทำกายภาพบำบัดแบบปกติ
ตอนนี้ โรงพยาบาลบางแห่งได้ลองใช้ Wii เพื่อกายภาพบำบัดผู้ป่วย แต่ที่เยอรมันนีได้นำไปใช้จริงแล้วกับทหารที่บาดเจ็บจากสงคราม
ถ้าใครเคยชื่นชอบหนังซีรี่ย์เรื่อง The X-Files คงเคยได้ยินชื่อ Tunguska กันมาบ้าง โดยที่นั่นคือบริเวณที่เคยเกิจเหตุการณ์อุกาบาตชนโลกครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง โดยกินพื้นที่ไปถึง 830 ตารางไมล์ โดยคาดว่าวัตถุที่พุ่งเข้ามาชนอาจจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 60 ถึง 1200 เมตร
Boris Shustov ผู้อำนวยการสถาบันดาราศาสตร์ของรัสเซียได้ออกมาให้ข่าวว่า อุกาบาตที่ชื่อว่า อุกาบาตที่ชื่อว่า 99942 Apophis กำลังจะโคจรมาทับวงโคจรของโลกในปี 2029 โดยคาดว่าจะทำให้เกิดการระบุเบิดที่รุนแรงกว่าที่ Tunguska หลายเท่าตัว
ต่อจาก Google Sky คราวนี้ Google ไม่ใช่แค่ดูอย่างเดียว แต่จะออกอวกาศจริง ๆ แล้ว
เมื่อปี พ.ศ. 2547 มูลนิธิ X Prize ได้แจกรางวัล $10M ให้กับ Tier One เอกชนรายแรกที่ส่งยานพร้อมมนุษย์ไปโคจรในอวกาศได้สำเร็จไปแล้ว ครั้งนี้จะแจกรางวัลให้กับเอกชนรายแรกที่ส่งยานสำรวจพื้นผิวไปลงบนดวงจันทร์ และทำ Mooncast ถ่ายทอดสัญญาณจากพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ
โดยทีมแรกที่ทำสำเร็จจะได้รางวัล $20M แต่หากพ้นปี พ.ศ. 2555 ไปแล้วจะเหลือเพียง $15M ส่วนทีมที่สองจะได้รางวัล $5M และหากพ้นปี พ.ศ. 2557 ไปแล้วถือว่าสิ้นสุดการแข่งขัน เว้นแต่ทางผู้จัดจะตัดสินใจยืดเวลาออกไป
การวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จากทั่วทุกมุมโลกทำให้เทคโนโลยีในด้านนี้มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ และหากเราสังเกตดูดีๆแล้ว การพัฒนาหุ่นยนต์ในแต่ละทวีปนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันเล็กน้อย
การพัฒนาหุ่นยนต์ในโซนเอเชียโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นนั้น เน้นหนักในงานวิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์เสมือนคน (Humanoid) ในขณะที่งานวิจัยจากประเทศตะวันตกนั้น กลับเป็นงานวิจัยหุ่นยนต์ในเชิงระบบอัตโนมัติและเครื่องจักรอัจฉริยะ
จนมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ความเชื่อทางศาสนาของนักวิจัยนั้นมีผลต่องานวิจัยเหล่านี้หรือไม่?
หลายปีหลังมานี้บ้านเรามีการพูดถึงน้ำมันชีวภาพ (Biofuel) กันมาก นอกจากบ้านเราแล้วทั้งโลกโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปก็ตื่นตัวในเรื่องนี้กันมากเช่นกัน แต่จากรายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Leeds ระบุว่าหากเราใช้เทคโนโลยีในวันนี้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างจริงจัง ผลลัพธ์ที่ได้จะกลับกลายเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมลงไปยิ่งกว่าเดิม
งานวิจัยชี้ว่ากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในปัจจุบันนั้นตลอดกระบวนการตั้งแต่การปลูกพืช การแปลงภาพให้กลายเป็นเชื่อเพลิง ไปจนถึงการใช้งานขั้นสุดท้ายนั้นจะให้ผลลัพธ์เป็นคาร์บอนจำนวนมากกว่าการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลในปัจจุบันระหว่างสองถึงเก้าเท่าตัว
คุณมักจะแนะนำให้ญาติผู้ใหญ่ที่บ้านลดปริมาณการกินกาแฟลงหรือเปล่า? ถ้าใช่ คุณอาจจะต้องคิดใหม่ในเรื่องกาแฟกับคนแก่แล้วสิครับ มีผลการศึกษาล่าสุดจากฝรั่งเศสพบว่า ผู้หญิงโดยเฉพาะคนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่ดืมกาแฟอย่างน้อยวันละ 3 แก้วจะมีความจำดีกว่าคนที่ดื่มน้อยกว่าหรือไม่ดื่มเลย
ลองคิดดูว่าคุณไม่สามารถขยับตัวได้ ไม่สามารถพูดคุย สื่อสาร หรือลืมตาตื่นได้ คุณจะรู้สึกอย่างไร แล้วถ้าวันหนึ่ง คุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เหมือนเดิมจะดีแค่ไหนต่อชีวิตคุณ
นักวิจัยจากคลินิกศูนย์กลางฟื้นฟูประสาทของคลีฟแลนด์ ทีมผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันศูนย์กลางการฟื้นฟูการบาดเจ็บทางหัว JFK Johnson ในเอดิสัน และ วิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล ได้วิจัยเทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยที่สภาพที่เรียกว่า นิทราได้ หรือ ในต่างประเทศเรียกว่า สภาพผักได้ โดยการฝังขั้วอิเล็กโทรดสองอันฝังเข้าไปยังส่วนลึกของสมอง และกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเพื่อให้สมองตื่นจากอาการหลับไหลและติดตั้งกับอุปกรณ์กระตุ้นหัวใจ ซึ่งอิเล็กโทรดกระตุ้นสมองจะใช้พลังงานจากอุปกรณ์กระตุ้นหัวใจนี้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Arkansas ได้พัฒนาเซ็นเซอร์ชีวภาพ ซึ่งมีลักษณะเป็นสารกึ่งตัวนำ ที่มีชื่อว่า Pentacene (สารอินทรีย์ไฮโดรคาร์บอน) โดยสารนี้จะสามารถฝังตัวลงไปกับเส้นใยผ้าได้หรือเคลือบตัวเครื่องสัญญาณแบบไร้สาย สมัยก่อนอุณหภูมิร่างกายจะถูกติดตามโดยเครื่องทรานซิสเตอร์แบบฟิมส์บาง และอัตราการหายใจต้องใช้เกจวัดอัตรากายหายใจ แต่อนาคตเทคโนโลยีของสารกึ่งตัวนำอินทรีย์นี้จะเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีเดิมนี้ไป
สารกึ่งตัวนำอินทรียืนี้จะทำหน้าที่เป็นผิวเซ็นเซอ์ชีวภาพ ซึ่งเมื่อหายใจ หรืออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น เซ็นเซอร์มีการเปลี่ยนแปลงทางกลไกซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนสรีระของร่างกาย ทำให้การต้านทานกระแสไฟฟ้าของสารอินทรีย์ในสารกึ่งตัวนำนี้มีการเปลี่ยนแปลง ส่งสัญญาณออกไปได้
Sarah Logie และ Connor Dickie ได้พัฒนาเทคโนโลยีแสดงผลรูปแบบใหม่ที่มีชื่อว่า "kameraflage" เทคโนโลยีนี้ช่วยให้เราสามารถแสดงสิ่งที่ไม่ต้องการให้สายตามนุษย์เห็น แต่กล้องดิจิตอลมองเห็นได้ สำหรับตัวอย่างการใช้งาน เช่น เราอาจนำไปใช้พิมพ์ข้อความลงบนเสื้อยืดที่ต้องถ่ายรูปไปเท่านั้นจึงจะอ่านได้ หรือการแสดงลายน้ำมั่วๆบนภาพยนตร์ที่กำลังฉายอยู่ในโรงเพื่อป้องกันคนทำหนังซูม เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ใช้ได้กับกล้องดิจิตอลธรรมดาตามท้องตลาดทุกรุ่นโดยไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่ม
นาซ่าได้เริ่มสืบสวนความพยายามที่ก่อวินาศกรรมต่อคอมพิวเตอร์ของนาซ่า ซึ่งการก่อวินาศกรรมนี้ทางนาซ่าได้รายงานว่าไม่ใช่เหตุร้ายแรงอะไรต่อคอมพิวเตอร์
ทางนาซ่าได้เจอการตัดสายเคเบิลในกล่องอิเล็กโทรนิค ซึ่งจะเป็นกล่องที่จะเข้าไปอยู่ในห้องลูกเรือ และจะถูกส่งไปยัง ISS ต่อไป การก่อวินาศกรรมครั้งนี้เจ้าหน้าที่สืบสวนของนาซ่าได้กล่าวว่า เหตุการณ์ก่อวินาศกรรมครั้งนี้น่าจะเกิดขึ้นไม่นาน และเป็นความเสียหายเล็กน้อย สามารถหาเจอจุดที่เสียหายได้โดยง่าย