Grab สตาร์ทอัพแอพเรียกรถโดยสาร ประกาศรับเงินลงทุนรอบใหม่เพิ่มอีก 750 ล้านดอลลาร์ โดยมีกลุ่ม SoftBank เป็นแกนนำในการลงทุนครั้งนี้ ทำให้บริษัทได้รับเงินลงทุน รวม-แล้ว กว่า 1 พันล้านดอลลาร์ มีมูลค่ากิจการประเมินอยู่ราว 3 พันล้านดอลลาร์
Grab ระบุว่าเงินลงทุนรอบนี้จะนำมาขยายกิจการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นหลักของ Grab ที่ครองส่วนแบ่งตลาดไว้สูงสุดต่อไป
หนึ่งในผู้ลงทุนรายสำคัญของ Grab ก็คือ Didi Chuxing ผู้ให้บริการแอพเรียกรถโดยสารจากประเทศจีน ที่ Uber เพิ่งขายกิจการในประเทศจีนไป ขณะที่ปลายปีที่แล้วก็มีข่าว Didi รวมกลุ่มแอพเรียกแท็กซี่ในหลายประเทศเป็นเครือข่ายกัน ก็น่าจะพอให้เห็นภาพการแข่งขันที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นไปอีกครับ
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา SoftBank บริษัทโทรคมนาคมของญี่ปุ่นได้ประกาศเข้าซื้อ ARM Holdings บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม ARM ด้วยมูลค่าราว 1.2 ล้านล้านบาท โดยตอนนี้ทาง SoftBank ประกาศว่าทางบริษัทเข้าซื้อ ARM สำเร็จเรียบร้อยแล้ว และจะยังให้อิสระ ARM ในการบริหารงานต่อไป
เหตุผลที่ SoftBank เข้าซื้อบริษัท ARM Holdings นั้น เพื่อเป็นการคว้าโอกาสจาก IoT เนื่องจากชิพสถาปัตยกรรม ARM มักจะเป็นตัวเลือกของผู้ผลิตสมาร์ทโฟน รวมถึงอุปกรณ์พกพาหลายเจ้า โดย SoftBank มีประวัติลงทุนด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่น ผู้ให้บริการ Sprint ในสหรัฐ, ซื้อหุ้น Alibaba ในจีน และ Snapdeal ในอินเดีย เป็นต้น
SoftBank ประกาศเข้าซื้อ ARM Holdings ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรม ARM ซึ่งตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร ด้วยมูลค่าดีลสูงถึง 24 พันล้านปอนด์ (ราว 1.2 ล้านล้านบาท)
ซีอีโอของ SoftBank กล่าวว่า ARM Holdings จะยังดำเนินการเป็นอิสระต่อไป โดย ARM จะช่วยให้บริษัทคว้าโอกาสจาก Internet of Things ได้
SoftBank มีประวัติลงทุนด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่จำนวนมาก ทั้งซื้อผู้ให้บริการ Sprint ในสหรัฐ ซื้อหุ้น Alibaba ในจีนและ Snapdeal ในอินเดีย เป็นต้น
ที่มา: SoftBank ผ่าน Windows Central
หนังสือพิมพ์ Financial Times รายงานข่าวที่ยังไม่ยืนยันว่า SoftBank บริษัทโทรคมนาคมญี่ปุ่น ซื้อกิจการ ARM Holdings บริษัทจากสหราชอาณาจักรผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีซีพียูตระกูล ARM ด้วยมูลค่า 24.3 พันล้านปอนด์ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) โดยจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด
Financial Times ระบุว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ SoftBank ซื้อ ARM ช่วงนี้เป็นเพราะกรณี Brexit ส่งผลให้เงินปอนด์อ่อนตัวลงเกือบ 30% เมื่อเทียบกับเงินเยน ความแตกต่างของค่าเงินทำให้ SoftBank จ่ายเงินน้อยลงมาก
Lenovo ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ Microsoft ประเทศญี่ปุ่นและ SoftBank เปิดตัว SoftBank 503LV มือถือ Windows 10 Mobile สเปคเป็นดังนี้
SoftBank 503LV จะเข้าสู่ตลาดเดือนตุลาคมนี้ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยราคาครับ
จากข่าว Nikesh Arora ตัวเต็งว่าที่ซีอีโอคนถัดไป ลาออกจาก SoftBank แล้ว ล่าสุด Arora ออกมาให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Fortune แล้ว
Arora อธิบายสาเหตุของเรื่องทั้งหมดว่า Masayoshi Son ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง SoftBank พูดต่อที่สาธารณะว่าจะให้ Arora เป็นซีอีโอคนถัดไปเมื่อเขาอายุครบ 60 ปี แต่ในงานประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อไม่นานมานี้ เขากลับประกาศกับผู้ถือหุ้นว่าเขาจะบริหารบริษัทต่อไป
เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว Nikesh Arora หัวหน้าฝ่ายธุรกิจของกูเกิล ย้ายไปอยู่กับ SoftBank บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น และหลังจากนั้นเพียงหนึ่งปี SoftBank ตั้ง Nikesh Arora อดีตผู้บริหารกูเกิลเป็นประธานบริษัท ตัวเต็งสืบตำแหน่งซีอีโอแทน Masayoshi Son ผู้ก่อตั้งบริษัท
แต่โลกอันสดใสอยู่ได้ไม่นานนัก วันนี้ Arora ประกาศลาออกจาก SoftBank เสียแล้ว
Tencent เจ้าของ Wechat และผู้ผลิตด้านไอทีรายใหญ่ของจีน ซื้อบริษัท Supercell เจ้าของเกมดังอย่าง Clash of Clan และ Hay Day มูลค่าดีลอาจแตะ 10.2 พันล้านดอลลาร์ มูลค่าดีลจะปิดยอดภายในเดือนกันยายนนี้ Tencent จะได้รับส่วนแบ่ง 73% จาก SoftBank บริษัทไอทีญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Supercell
Tencent จะไม่ควบรวมกิจการมาเป็นหนึ่งเดียว ทำให้ Supercell ยังคงมีอิสระในหารบริหารจัดการตัวเอง แนวทางการผลิตยังคงขึ้นอยู่กับสำนักงานใหญ่ที่ฟินแลนด์ ในขณะเดียวกัน Supercell ยังสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ความเชียวชาญของ Tencent ได้ และระหว่างการดำเนินการทั้งคู่จะเดินหน้าขับเคลื่อนเขย่าตลาดเกมในจีน
ที่มา - Bussiness Wire
เว็บไซต์ข่าว The Verge รายงานว่า Pizza Hut Asia, MasterCard และ SoftBank ประกาศร่วมกันว่าจะนำหุ่นยนต์ Pepper ที่ SoftBank ร่วมกับ Nestle และพันธมิตรอื่นๆ เช่น IBM พัฒนาขึ้น นำไปใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกตามร้าน Pizza Hut ในเอเชีย (ไม่ระบุว่าที่ใดบ้าง)
สำหรับการใช้งาน เพียงแค่ผู้ใช้บริการเชื่อมบริการ MasterPass ที่เป็นระบบรับชำระเงินของทาง MasterCard เข้ากับระบบซึ่งแสดงผลอยู่ที่หน้าอกของหุ่นยนต์ ก็จะสามารถสั่งงานได้ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะแนะนำลูกค้าได้ว่าตอนนี้มีโปรโมชั่นแนะนำอะไรบ้าง รวมถึงแจ้งเตือนสิทธิพิเศษต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนการชำระเงินก็ใช้ MasterPass ที่ผูกเอาไว้ตอนแรก จ่ายเงินได้ทันที
ปีที่แล้ว บริษัท SoftBank ของญี่ปุ่นวางขายหุ่นยนต์ต้อนรับชื่อ Pepper และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ปีนี้ SoftBank ประกาศว่านักพัฒนาสามารถสร้างแอพให้กับ Pepper ได้แล้ว (เรียกว่า RoboApps) โดยใช้เครื่องมือพัฒนาที่มีฐานมาจาก Android
ที่หน้าอกของหุ่น Pepper มีแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ฝังอยู่ (ตัวหุ่นยนต์ใช้ระบบปฏิบัติการแยกกันคือ NAOqi ของ SoftBank เอง พัฒนามาจาก Gentoo Linux) ตัวแท็บเล็ตนี้จะช่วยให้ Pepper รับคำสั่งจากผู้ใช้งานและแสดงข้อมูลต่างๆ บนหน้าจอได้
จากพนักงานรับแขก จะได้กลายเป็นเพื่อนเล่นเด็กๆ แทนแล้วสำหรับ Pepper หุ่นยนต์ต้อนรับจากการจับมือกันของ Nestle กับ SoftBank ประกาศขายจริงอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
Pepper เป็นหุ่นรับแขกที่แต่เดิมนำมาใช้ช่วยลูกค้าเลือกเครื่องชงกาแฟที่เหมาะกับตัวเอง ผ่านระบบวิเคราะห์ใบหน้า และน้ำเสียง ซึ่งนอกจากจะช่วยขายได้แล้ว Pepper ดูจะเป็นที่นิยมกับบรรดาเด็กๆ และผู้สูงอายุเอาเรื่อง ผู้ผลิตอย่าง SoftBank จึงทำหุ่นยนต์ Pepper มาขายจริงเสียเลย
ยักษ์ใหญ่วงการไอทีญี่ปุ่น ประกาศตั้ง Nikesh Arora อดีตผู้บริหารกูเกิลเป็นประธานบริษัท (president) และเป็นหนึ่งในตัวเลือกของซีอีโอคนถัดไป ที่จะมานั่งเก้าอี้แทน Masayoshi Son ซีอีโอคนปัจจุบันและผู้ก่อตั้งบริษัท
ในหลายปีหลัง SoftBank กำลังเร่งขยายตัวสู่ตลาดโลก ผ่านดีลสำคัญอย่างการซื้อกิจการเครือข่าย Sprint ของสหรัฐ การใช้ผู้บริหารจากโลกตะวันตกจึงมีความสำคัญต่อการขยายตัวของบริษัทครั้งนี้ ซึ่ง Arora เองเคยเป็นผู้บริหารระดับสูงของกูเกิล มีความเชี่ยวชาญตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างดี (เขาย้ายมาอยู่กับ SoftBank เมื่อกลางปี 2014)
SoftBank บริษัทสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศญี่ปุ่น ประกาศเป็นพันธมิตรกับทาง IBM ในการพัฒนาระบบประมวลผลข้อมูล Watson ในประเทศญี่ปุ่น เป็นการเพิ่มเติม หลังจากที่เคยมีความร่วมมือกันก่อนหน้าที่ SoftBank จะช่วยพัฒนา Watson ให้รองรับภาษาญี่ปุ่นมาก่อนแล้ว
ภายใต้ความร่วมมือนี้ SoftBank จะใช้ Watson ภายในองค์กรในฐานะเครื่องมือสนับสนุน (support tool) ขององค์กร, ขายต่อ (resell) บริการคลาวด์ของ Watson, ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย (distributor) ของ Watson ให้แก่ IBM และให้บริการ Watson แก่ลูกค้าภายในญี่ปุ่นในฐานะแพลตฟอร์ม (PaaS: Platform as-a-service)
GrabTaxi บริการเรียกรถแท็กซี่จากมาเลเซีย ระดมทุนรอบใหม่จำนวนสูงถึง 250 ล้านดอลลาร์จาก SoftBank ยักษ์ใหญ่ของวงการไอทีญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นยอดสูงสุดของการระดมทุนสตาร์ตอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
การระดมทุนครั้งนี้ทำให้ SoftBank กลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของ GrabTaxi ส่วนมูลค่าบริษัทตามราคาหุ้น (valuation) นั้นไม่เปิดเผย แต่รวมแล้วน่าจะเกิน 1 พันล้านดอลลาร์แล้ว
ปีนี้ GrabTaxi ระดมทุนไปแล้ว 4 รอบ ได้เงินรวม 320 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบันบริษัทเปิดเผยยอดผู้ใช้เฉลี่ย 5 แสนรายต่อเดือน มีคนขับแท็กซี่ในเครือข่าย 60,000 ราย
ที่มา - TechCrunch
Nestle ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ของโลกจากสมาพันธรัฐสวิส (ตัวอย่างเช่น Nescafe, Nespresso, ไอศกรีม Movenpick) ประกาศร่วมมือกับ SoftBank ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของญี่ปุ่น เตรียมที่จะใช้หุ่นยนต์ในการเข้าไปช่วยขายเครื่องชงกาแฟของตัวเองที่เรียกว่า Nescafe Dolce Gusto และ Nescafe Gold Blend Barista ในประเทศญี่ปุ่น
SoftBank ยักษ์ใหญ่วงการไอที-โทรคมนาคมจากญี่ปุ่น ซื้อกิจการ DramaFever เว็บสำหรับดูซีรีส์ออนไลน์จากเกาหลีใต้
DramaFever ก่อตั้งในปี 2009 โดยเริ่มจากการเป็นเว็บสำหรับดูซีรีส์เกาหลี จากนั้นจึงขยับขยายเป็นรายการทีวีจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และมีข้อตกลงทางธุรกิจดึงรายการบางส่วนจาก Hulu, Netflix, Amazon, iTunes ปัจจุบันมีผู้ชมเฉลี่ยเดือนละ 20 ล้านราย
แผนการซื้อกิจการรอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ SoftBank ที่ผันตัวออกสู่ตลาดโลกมากขึ้น โดยผู้ดูแลการซื้อกิจการรอบนี้คือ Nikesh Arora อดีตหัวหน้าฝ่ายธุรกิจของกูเกิลที่ย้ายไปอยู่กับ SoftBank
มีข่าวลือว่ายักษ์ใหญ่แห่งวงการไอทีญี่ปุ่น SoftBank กำลังเจรจาซื้อสตูดิโอภาพยนตร์แอนิเมชัน DreamWorks Animation ด้วยมูลค่า 3.4 พันล้านดอลลาร์
DreamWorks Animation เคยเป็นบริษัทลูกของสตูดิโอภาพยนตร์ DreamWorks Studios แต่แยกออกมาเป็นบริษัทอิสระในปี 2004 ปัจจุบันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ผลงานภาพยนตร์แอนิเมชันที่โด่งดังคือ Shrek, Madagascar, Kung Fu Panda, How to Train Your Dragon เป็นต้น
ตามข่าวบอกว่าแกนหลักในการเจรจาครั้งนี้คือ Nikesh Arora อดีตหัวหน้าฝ่ายธุรกิจของกูเกิล ที่เพิ่งย้ายมาอยู่กับ SoftBank โดยคุมฝ่ายใหม่ชื่อ SoftBank Internet and Media
พลังของผู้ผลิตมือถือฝั่งญี่ปุ่นเตรียมบุกอเมริกาแล้ว SoftBank บริษัทไอที-โทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น และเจ้าของคนปัจจุบันของ Sprint โอเปอเรเตอร์อันดับสามของอเมริกา ประกาศความร่วมมือกับเพื่อนร่วมชาติ Sharp พัฒนาโทรศัพท์รุ่นใหม่ Aquos Crystal เพื่อขายกับ Sprint โดยเฉพาะ
ตามข่าวบอกว่าโทรศัพท์รุ่นนี้จะแทบไม่มีขอบจอด้านหน้าเลย (near-frameless display) และพ่วงมากับบริการ App Pass ซึ่งมีแอพและเกมให้เลือกใช้มากกว่า 100 ตัว โทรศัพท์ตัวนี้จะขายพ่วงกับแพ็กเกจรายเดือนของ SoftBank ในญี่ปุ่น ส่วนแพ็กเกจของ Sprint ยังไม่เปิดเผยราคา
ถ้า Aquos Crystal ประสบความสำเร็จ ย่อมส่งผลดีต่อทั้ง SoftBank/Sprint รวมถึง Sharp ที่ประสบปัญหาการผลักดันมือถือของตัวเองไปขายในตลาดโลกมานาน
Sprint ค่ายมือถือใหญ่อันดับสามของสหรัฐอเมริกา ที่ถูกซื้อโดย SoftBank จากประเทศญี่ปุ่นไปก่อนหน้านี้ได้พยายามที่จะเข้าซื้อกิจการของ T-Mobile USA ค่ายมือถือที่มีส่วนแบ่งมากเป็นอันดับสี่ในสหรัฐมาโดยตลอด แต่หลังจากที่บริษัทได้พบกับปัญหาทางด้านกฎหมายมากมาย รวมไปถึงประเด็นการแข่งขันและการผูกขาด Sprint ได้ตัดสินใจที่จะไม่เข้าซื้อกิจการของ T-Mobile แล้ว
ในรายงานระบุว่าก่อนหน้านี้ Sprint ได้เสนอราคากับ Deutsche Telekom บริษัทแม่ของ T-Mobile ไว้ที่ 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนคู่แข่งที่ต้องการเข้าซื้อ T-Mobile อีกรายได้เสนอราคาต่ำกว่ามากที่ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์
กูเกิลประกาศว่า Nikesh Arora ผู้บริหารระดับสูงของกูเกิลในตำแหน่ง Chief Business Officer (CBO) ที่คุมฝ่ายขายและธุรกิจทั้งหมด และอยู่กับกูเกิลมาเกือบ 10 ปี จะย้ายไปอยู่กับ SoftBank ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมและไอทีจากญี่ปุ่น ในตำแหน่งซีอีโอของบริษัทลูก SoftBank Internet and Media
Arora เป็นคนอินเดีย เขาเคยทำงานกับ Deutsche Telekom และ T-Mobile Europe ก่อนย้ายมาทำงานกับกูเกิลในปี 2004 เคยเป็นผู้ดูแลภูมิภาคยุโรป-แอฟริกา-ตะวันออกกลาง (EMEA) และดูแลฝ่ายขาย
ช่วงหลัง SoftBank เริ่มขยายกิจการมาฝั่งอเมริกาผ่านการซื้อ Sprint การดึง Nikesh Arora เข้ามาดูแลกิจการด้านอินเทอร์เน็ตจึงน่าจะช่วยเสริมธุรกิจโทรคมนาคมของ SoftBank มากขึ้นในภาพรวม
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทซอฟต์แบงค์ ประเทศญี่ปุ่นได้เปิดตัวหุ่นยนต์ที่สามารถเข้าใจความรู้สึกของมนุษย์ได้ ในชื่อว่า เพพเพอร์ (Pepper) โดยทางตัวแทนของซอฟต์แบงค์ได้กล่าวว่า "จากนี้ไปอีก 100 - 200 ปีข้างหน้า วงการคอมพิวเตอร์จะต้องจารึกไว้ว่า วันนี้จะเป็นวันแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และหุ่นยนต์ ที่หุ่นยนต์นั้นสามารถตอบสนองต่อความรู้สึกของมนุษย์ได้"
โดยเพพเพอร์นั้นเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทซอฟต์แบงค์ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทอัลเดบารัน โรโบติก SAS (ALDEBARAN Robotics SAS มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส) และสร้างโดยบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ (ที่เราๆ รู้จักกันดี) โดยทาง CEO ของบริษัทอัลเดบารันลงไปควบคุมการผลิตด้วยตนเอง
หลังจากที่เมื่อปี 2011 Sprint เคยออกมาแถลงไม่เห็นด้วยกับการเข้าซื้อกิจการของ AT&T ที่จะเข้าซื้อ T-Mobileในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะถูกผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของญี่ปุ่นอย่าง SoftBank เข้าซื้อกิจการไปเมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว คราวนี้ Sprint กลับตกเป็นข่าวในการเข้าซื้อกิจการของ T-Mobile เสียเอง
เมื่อวานนี้บริษัท อินิทรี ดิจิตอล จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทในเครือกาแล็กซี่กรุ๊ป ได้จัดงานแถลงข่าวพิเศษถึงความร่วมมือทางธุรกิจกับ SoftBank Ventures Korea ในเครือ SoftBank ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้อินิทรี ดิจิตอลมีการเปลี่ยนแปลงถึงระดับบอร์ดผู้บริหารโดยสมบูรณ์
โดยการลงทุนดังกล่าว SoftBank Ventures Korea จะเข้าถือหุ้นในอินิทรี ดิจิตอล 23% ทำให้สัดส่วนผู้ถือจากเดิมที่เป็นกาแล็กซี่กรุ๊ป 100% เต็ม เหลืออยู่เพียง 77% เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี อำนาจส่วนใหญ่ยังอยู่ในมืออินิทรี ดิจิตอล ซึ่งเป็นบริษัทคนไทยล้วนนั่นเองครับ และนอกจากนี้ทาง SoftBank Ventures Korea จะส่งผู้บริหารจำนวนหนึ่ง-สองคน (ยังไม่ยืนยัน) มานั่งประจำบอร์ดบริหารของอินิทรี ดิจิตอลด้วย
จากข่าว SoftBank สนใจถือหุ้นใน LINE นั้น ตัวแทนของ LINE ได้ชี้แจงปฏิเสธข่าวดังกล่าว โดยระบุว่าบริษัทไม่เคยเจรจาพูดคุยกับ SoftBank เรื่องนี้แต่อย่างใด รวมทั้ง LINE เองก็ไม่มีเหตุผลที่จะขายหุ้นให้อีกด้วย
ช่วงนี้ LINE เป็นที่สนใจของสื่อโลกตะวันตกค่อนข้างมากครับ
ที่มา: Reuters
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า SoftBank ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจขอซื้อหุ้นในบริษัท LINE ที่ไม่มีการระบุจำนวนและมูลค่า
แหล่งข่าวที่ให้ข้อมูลระบุว่า Naver ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ LINE เองก็สนใจให้ SoftBank เข้ามาซื้อหุ้นใน LINE เพราะ LINE ยังคงเดินหน้าแผนเข้าตลาดหุ้น ซึ่งหากมีบริษัทใหญ่ถือหุ้นหนุนหลังอยู่ ก็จะช่วยให้มูลค่ากิจการสูงขึ้นไปอีก โดยตัวเลขประเมินล่าสุดอยู่ราว 14,900 ล้านดอลลาร์
ที่ผ่านมา SoftBank ได้เข้าไปซื้อหุ้นกิจการหลากหลาย ทั้งดีล Sprint หรือ Supercell ผู้สร้างเกม Clash of Clans