ช่วงหลังมานี้ฝั่งโลกตะวันตกให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจต่างทวีปมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดมีรายงาน 500 Startups กลุ่มทุนรายใหญ่ของสหรัฐมีแผนจะลงทุนในประเทศไทยกว่า 10 ล้านเหรียญ เพื่อรุกคืบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปอีกขั้น
ก่อนหน้านี้เองในปี 2013 นั้น 500 Startups เพิ่งลงเงินก้อนเท่าๆ กันในประเทศไทยชื่อ 500 Durians และในรายงานล่าสุดระบุว่าการลงทุนครั้งนี้จะใช้ชื่อแผนว่า 500 Tuktuks
เมื่อพูดถึงสตาร์ตอัพชั้นแนวหน้าของไทย ชื่อของแพลตฟอร์มอีบุ๊ก Ookbee ย่อมโผล่มาเป็นอันดับแรกๆ ที่ผ่านมา Ookbee ประสบความสำเร็จทั้งในแง่ส่วนแบ่งตลาด การระดมทุน และการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน (ปัจจุบันมีสำนักงานในเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และกำลังอยู่ระหว่างตั้งสำนักงานในอินโดนีเซีย)
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมมีโอกาสได้ไปเยือนสำนักงานของ Ookbee พร้อมสัมภาษณ์คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งก็พาทัวร์ทั้งบริษัทอย่างเต็มที่ เพื่อไขความลับความสำเร็จของ Ookbee ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
Alibaba บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จากจีน ประกาศแผนเตรียมตั้งองค์กรไม่แสวงกำไรใหม่ที่ใช้ชื่อว่า Alibaba Hong Kong Young Entrepreneurs Foundation เพื่อช่วยเหลือเหล่าวัยรุ่นที่ต้องการเริ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ด้วยเงินทุนก้อนแรกกว่า 130 ล้านเหรียญ
การสนับสนุนของ Alibaba นอกจากจะลงทุนให้แล้ว ยังเป็นที่ปรึกษาทางเทคนิค และช่วยฝึกฝนการขายให้กับชาวฮ่องกงที่ต้องการขายสินค้าให้กับจีนแผ่นดินใหญ่อีกด้วย ทั้งนี้ยังมีโครงการจะให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาฮ่องกงเป็นจำนวนกว่า 200 รายในปีนี้
12Go Asia เป็นสตาร์ตอัพอีกหนึ่งรายที่พยายามเปิดบริการจองรถโดยสาร-เรือโดยสารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตอนนี้มีบริการในไทย มาเลเซีย กัมพูชา แต่เน้นไทยเป็นหลัก) ตัวบริษัทจดทะเบียนในสิงคโปร์เมื่อปี 2013 แต่ก็มีสำนักงานในไทย ทีมผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันตกที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบนี้
จุดเด่นของ 12Go คือระบบจองตั๋วรถผ่านเว็บและแอพ (รองรับ iOS/Android) ที่ใช้งานง่าย และช่องทางการจ่ายเงินที่หลากหลาย ทั้งบัตรเครดิต, PayPal และการจ่ายที่ 7-Eleven
ผมมีโอกาสสัมภาษณ์คุณ Martin Natividad ผู้บริการของ 12Go Asia มาเล็กน้อย เลยนำบทสัมภาษณ์มาเผยแพร่ครับ
บริษัท สยามสแควร์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้พัฒนาแอพดูหุ้นชื่อดัง StockRadars ถือเป็นบริษัทไอทีไทยรายล่าสุดที่สามารถระดมทุนจาก venture capital เพื่อขยายกิจการสู่ตลาดโลก
StockRadars เป็นแอพช่วยดูข้อมูลหุ้นบนแพลตฟอร์ม Android และ iOS โดยมีแนวคิดเรื่องการสร้าง "เรดาร์" หรือฟิลเตอร์ช่วยกรองหุ้นตามเงื่อนไขหรือสูตรที่กำหนด เพื่อช่วยคัดเลือกหุ้นที่ต้องการจับตาได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันแอพตัวนี้มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 150,000 ครั้ง มีข้อมูลหุ้น 1,500 ตัวจากตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โมเดลการหารายได้คือขายเรดาร์สารพัดชนิดผ่าน in-app purchase
Twitter จัดงานประกวดสตาร์ตอัพของตัวเองเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่องานว่า "Hatch" (กกไข่ หมายถึงการฟูมฟักบริษัทหน้าใหม่) เงื่อนไขการส่งบริษัทเข้าประกวดคือ
กระแส startup ในสหรัฐฯ ยังบูมไม่หยุด ล่าสุดยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่าง Amazon ถูกพาดพิงว่ากำลังจะเข้ามามีเอี่ยวในวงการนี้ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มแบบครบวงจรสำหรับสนับสนุน startup แล้ว
AdsOptimal เป็นเครือข่ายโฆษณาออนไลน์ (ads network) แบบเดียวกับ AdSense ของกูเกิล แต่เน้นไปที่เว็บสำหรับอุปกรณ์พกพา (mobile web) ซึ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในรอบสองสามปีมานี้
ปัจจุบัน AdsOptimal มีผู้ใช้งานประมาณ 50,000 เว็บ ความน่าสนใจอีกประการของ AdsOptimal คือเป็นบริษัทคนไทยในซิลิคอนวัลเลย์ แถมยังผ่านโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพชื่อดัง Y Combinator และได้รับเงินลงทุนจาก Andreesen Horowitz อีกด้วย
บทสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้ง เดี๋ยวแยกเป็นอีกตอนนะครับ ตอนนี้เป็นรีวิวตัวผลิตภัณฑ์อย่างเดียว
Blognone เคยรายงานข่าว InVent หน่วยลงทุนของกลุ่มอินทัช เข้าลงทุนในบริษัทไอทีไทย Ookbee, Computerlogy, Meditech มาแล้ว วันนี้ InVent ประกาศลงทุนในบริษัทที่สี่คือบริษัทเกม Infinity Levels Studio จำนวน 15 ล้านบาท
ผู้อ่าน Blognone อาจคุ้นเคยกับหน้าจอขนาดใหญ่ที่ร้าน AIS Shop สาขา Central World มีเกมเตะลูกฟุตบอลหรือโบว์ลิ่งจากหน้าจอเป็นช่วงๆ บริษัทที่ทำงานดังกล่าว EXZY อีกหนึ่งสตาร์ทอัพของไทยที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะจับตลาดด้านแอพบนหน้าจอ Display และโซลูชันด้าน Interactive ได้อย่างโดดเด่น
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งบริษัททั้งสามคน ได้แก่ คุณลิงค์ จอมทรัพย์ สิทธิพิทยา, คุณป๊อป เนนิน อนันต์บัญชาชัย และคุณแนน ลลิล อนันต์บัญชาชัย ถึงแนวคิดและวิสัยทัศน์ของบริษัทในการก่อตั้ง ตลอดจนถึงการเติบโตและคำแนะนำให้คนที่อยากทำสตาร์ทอัพครับ
ซอฟท์เบค บริษัทผู้พัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น Page365 ประกาศได้รับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่อีก 420,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 13.8 ล้านบาท โดยมาจากกองทุน Inspire Ventures และจาก Galaxy Ventures ที่ลงทุนในซอฟท์เบคตั้งแต่ต้นปีอยู่ก่อนหน้าแล้ว
คุณประธาน ธนานาถ ผู้ร่วมก่อตั้งซอฟท์เบค เปิดเผยว่า Page365 ตอนนี้มีร้านค้าที่ใช้บริการอยู่มากกว่า 9,000 ร้านแล้ว โดย Page365 ปัจจุบันรองรับการจัดการคำสั่งซื้อสินค้าผ่าน Facebook และ LINE และกำลังศึกษาการรองรับเครือข่ายสังคมอื่น อาทิเช่น Instagram
เนื้อหาเกี่ยวข้อง: สัมภาษณ์ทีม Page365
เมื่อต้นปีผมเคยเขียนถึง Hollywood HD บริการดูหนังออนไลน์ที่ต้องการเป็น Netflix เมืองไทย ไปแล้วครั้งหนึ่ง ความคืบหน้าหลังจากนั้นคือทีมงานบางส่วนของ Hollywood HD มีทิศทางการทำงานที่แตกต่างไปจากเจ้าของทุน จึงแยกตัวออกมาตั้งบริษัทใหม่ชื่อ PrimeTime Solution
จากนั้น PrimeTime Solution ได้รับเงินลงทุนจากบริษัท ดีเอ็นเอ 2002 จำกัด เจ้าของร้านขายแผ่นหนังแบรนด์ DNA ในบ้านเราตามที่ Blognone เคยรายงานไปแล้ว
ทีมstartup ไอซ์สติ๊กที่มีคนไทยเข้าร่วม ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ของไม้แบดมินตันให้ดูดเก็บลูกขนไก่
ได้โดยไม่ต้องก้มเก็บ ซึ้งใช้ระยะเวลาคิดค้นและพัฒนากว่า 5 ปีพร้อมได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฮ่องกงในการจดสิทธิบัตรทั่วโลก
โดยทีมงานไอซ์สติ๊กให้ชื่อว่า “Badmineton”
ด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานที่ง่ายและสะดวกของ Badmineton เพียงนำไม้แบตมาดูดลูกขนไก่ที่ตกพื้นโดยไม่ต้องก้มเก็บ ทำให้การเล่นแบตมินตันสะดวกมากขึ้น ไม่ต้องกังวลว่าลูกขนไก่จะตกแล้วต้องก้มเก็บบ่อยๆ ให้เมื่อย
บริการคลาวด์ที่เราได้ยินกันส่วนมากคงเป็นกูเกิล, อเมซอน, ไมโครซอฟท์, หรือ Digital Ocean แต่ในโลกองค์กรไอบีเอ็มก็ยังเป็นผู้ให้บริการรายสำคัญจากการเข้าซื้อ SoftLayerเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้ไอบีเอ็มก็เตรียมมาทำตลาดกับบริษัทขนาดเล็กด้วยการออกแคมเปญสนับสนุนสตาร์ตอัพให้ใช้บริการของไอบีเอ็มฟรี
โครงการ IBM Global Entrepreneur Program for Cloud Startups จะให้การสนับสนุนสตาร์ตอัพเข้าใช้งานบริการคลาวด์ของไอบีเอ็มทั้งสามตัวหลักได้แก่ Bluemix, Cloudant, และ SoftLayer นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากไอบีเอ็มเพื่อทำตลาดองค์กร
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข่าวว่า Andy Rubin บิดาแห่ง Android กำลังจะลาออกจากกูเกิลเพื่อไปทำโครงการบ่มเพาะธุรกิจ (incubator) สำหรับสตาร์ตอัพสายฮาร์ดแวร์ ส่วนคนที่จะมาแทนตำแหน่งของเขาคือ James Kuffner นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งของกูเกิล
Rubin ลงจากตำแหน่งหัวหน้าทีม Android ในเดือนมีนาคม 2013 โดยหันไปทำโครงการเกี่ยวกับหุ่นยนต์แทน อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่าโครงการของเขาไม่อยู่ภายใต้สังกัด Google X ที่เป็นฝ่ายคิดค้นเทคโนโลยีในอนาคตของกูเกิล จึงอาจถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเขาไม่สามารถหาที่ทางที่เหมาะสมในบริษัทได้ และต้องลาออกไปในที่สุด
ทีมงาน Blognone เพิ่งได้ไปสัมภาษณ์ทีม Puun (พูน) สตาร์ทอัพไทยที่เพิ่งออกจากรั้วโครงการ True Incube ในฐานะทีมที่ฝ่ามาจนได้เป็นห้าทีมสุดท้ายของโครงการได้ด้วยการพัฒนาเครื่องมือสำหรับรายงานผลการดำเนินงานมาย่อยให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ว่าจบออกมาแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ
จุดเด่นของ Puun ที่เคยว่าไว้ในงาน True Incube คือการแปลงข้อมูลตัวเลขจำนวนมหาศาลในผลประกอบการให้กลายเป็นกราฟที่เข้าใจได้ง่าย มีระบบแจ้งเตือนงบการเงินคงเหลือ และราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับการจ้างนักบัญชีมาจัดการให้
ในงานแถลงข่าวของ True Incube เมื่อวานนี้ มีพาร์ทเนอร์ร่วมจัดงานคือคุณ Jeffrey Char ซีอีโอของ J-Seed Ventures บริษัทลงทุนด้านเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น มาร่วมบรรยายด้วย
คุณ Jeffrey เป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่มีประสบการณ์สูง เปิดบริษัทมาแล้ว 15 แห่ง ภายหลังผันตัวมาเป็นนักลงทุน และเดินสายบรรยายเรื่องผู้ประกอบการตามสถาบันการศึกษาทั่วโลก
หัวข้อการบรรยายของคุณ Jeffrey Char พูดเรื่อง "หลุมพราง 7 ประการของสตาร์ตอัพ" (7 Pitfalls That Can Kill Your Startup) น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการในบ้านเรา
True Incube จับมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลก SEAMAC จัดประกวดแอพมือถือระดับเอเชียแปซิฟิก Asia Pacific Mobile App Challenge 2014
งานแข่งขันนี้จะคัดตัวแทนประเทศไทย 3 ทีม ไปชิงชัยหาแชมป์ทวีปเอเชีย 3 ทีม จากนั้นจะส่งไปชิงแชมป์โลกที่บาร์เซโลนา ในงาน 4YFN ซึ่งเป็นเวทีย่อยของงาน Mobile World Congress 2015
เงื่อนไขผู้สมัครจากประเทศไทย
อีกเซสชันหนึ่งจากงาน Echelon Thailand 2014 บรรยายโดยคุณ Jeffrey Paine ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทลงทุน Golden Gate Ventures จากสิงคโปร์ และผู้ดูแลโครงการอบรมสตาร์ตอัพ Founder Institute ฝั่งเอเชีย
หัวข้อของคุณ Jeffrey ตามกำหนดการคือ The perfect pitch: How should startups prepare the investment deck for their first seed investment แต่จริงๆ แล้วเนื้อหาเน้นไปที่ความแตกต่างระหว่างสตาร์ตอัพฝั่งเอเชียกับฝั่งอเมริกา ในสายตาของคุณ Jeffrey ที่เป็นคนสิงคโปร์แต่เคยเรียน-ทำงานในอเมริกามาก่อน น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับสตาร์ตอัพบ้านเราที่อยากโตไปในระดับโลกครับ
สัปดาห์ที่แล้วมีงาน Echelon Thailand 2014 ซึ่งเป็นงานสัมมนาเกี่ยวกับแวดวงสตาร์ตอัพ ทั้งจากในบ้านเราและจากสตาร์ตอัพที่ประสบความสำเร็จในระดับเอเชีย
ผมได้เข้าร่วมงาน Echelon ครั้งนี้ด้วย หัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจในงานคือการบรรยายของคุณ Kent Liu ซีเอฟโอของ Viki สตาร์ตอัพด้านวิดีโอจากสิงคโปร์ที่ประสบความสำเร็จระดับโลก จึงเก็บประเด็นมาเล่าในที่นี้ครับ
แนะนำหนังสือออกใหม่ที่น่าสนใจสำหรับแวดวงสตาร์ตอัพ (รวมถึงวงการเทคโนโลยีรวมๆ) ครับ หนังสือเล่มนี้ชื่อ Zero to One เขียนโดย Peter Thiel (หนึ่งในทีมผู้ก่อตั้ง PayPal และนักลงทุนคนแรกๆ ที่เห็นคุณค่าของ Facebook) และ Blake Masters นักเรียนของ Thiel
Peter Thiel เป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลของซิลิคอนวัลเลย์ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา เขานำพา PayPal เข้าตลาดหุ้นในปี 2002, ก่อตั้งบริษัท Palantir ทำด้าน big data ให้หน่วยงานภาครัฐของอเมริกา ภายหลังเขายังเปิดบริษัทลงทุน Founders Fund ที่ร่วมลงทุนในสตาร์ตอัพรุ่นหลังอย่าง Facebook, Spotify, Lyft, Oculus, Airbnb และ SpaceX (คนที่เคยดูหนัง The Social Network มีบทของเขาโผล่มานิดนึงด้วย)
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เปิดวิชาสตาร์ตอัพชื่อ How to Start a Startup (CS183B) ร่วมกับทีมจาก Y Combinator โครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพชื่อดัง จุดเด่นของคอร์สนี้คือรายชื่ออาจารย์ระดับซูเปอร์สตาร์ของวงการ คัดมาบางส่วนได้แก่
คนที่ติดตามงานประกวดสตาร์ตอัพในบ้านเรา คงเห็นรายชื่อของรางวัลเป็นเครดิตสำหรับบริการกลุ่มเมฆ Azure อยู่บ่อยๆ (ช่วงหลังเริ่มมี AWS เข้ามาบ้างแล้ว) ล่าสุดกูเกิลก็กระโดดเข้ามาในเกมนี้กับโครงการ Cloud Platform for Startups
โครงการนี้กูเกิลจะแจกเครดิตสำหรับใช้ Google Cloud Platform มูลค่าสูงถึง 100,000 ดอลลาร์ มีอายุ 1 ปี สามารถใช้ได้กับบริการทุกตัวใต้แบรนด์ Google Cloud Platform แถมยังได้บริการหลังขายแบบเต็มที่เหมือนกับซื้อใช้เอง (24 ชั่วโมง 7 วัน) โดยผู้มีสิทธิต้องเป็นสตาร์ตอัพที่ระดมทุนได้น้อยกว่า 5 ล้านดอลลาร์ และมีรายรับน้อยกว่าปีละ 500,000 ดอลลาร์
เมื่อวันที่ 3 - 4 กันยายนที่ผ่านมา ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ผมมีโอกาสได้ไปร่วมงาน Startup Asia Tokyo 2014 (ขอขอบคุณพี่ @mk มา ณ ที่นี้ด้วยครับ) ซึ่งจัดโดย Tech In Asia โดยงานนี้จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้เหล่าผู้ประกอบการในแถบเอเชียได้พบปะสังสรรค์ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือทางธุรกิจ รวมถึงพบปะกับภาคนักลงทุน มีการจัดพื้นที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสามารถนำเสนอไอเดีย (Pitch) ให้กับนักลงทุนเพื่อขอทุนสนับสนุนได้ทันทีภายในงาน นอกจากนี้ยังมีการเชิญผู้ประกอบการจากสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในภูมิภาคเอเชียและนักลงทุนรายใหญ่ๆ มาบอกเล่าประสบการณ์ รวมถ
ผ่านไปแล้วกับงาน Startup Asia Tokyo 2014 จัดโดยเว็บไซต์ Tech In Asia เมื่อวันที่ 3-4 กันยายน 2557 โดยภายในงานประกอบด้วยการบรรยายจากวิทยากรจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ องค์กรบ่มเพาะ ภาคนักลงทุน หรือแม้แต่ทางภาครัฐก็มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน นอกจากนี้ยังมีบูทของสตาร์ทอัพจัดแสดงโดยรอบห้องประชุม ซึ่งสตาร์ทอัพในงานนี้มีหลากหลายระยะ ตั้งแต่มีแค่เดโมเพื่อระดมทุนจาก Angel Investor จนไปถึงธุรกิจดำเนินได้ต่อเนื่องแล้วกำลังวางแผนระดมทุนจาก VC เพื่อขยายตลาดออกสู่ระดับภูมิภาค หรือระดับโลก โดยบทความนี้จะนำเอาสตาร์ทอัพที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง