ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ปกติหรือต้องเผชิญกับวิกฤติต่างๆ ก็ตาม ทุกธุรกิจย่อมต้องการโอกาสที่จะอยู่รอดและพัฒนาตัวเองเพื่อให้เติบโตต่อไป ยิ่งในช่วง COVID-19 ยิ่งเห็นได้ชัดว่ากลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก และ startup อาจเกิดความไม่คล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ทำให้เหล่า startup ไอเดียเจ๋งๆ จึงเริ่มมองหาช่องทางการระดมทุนที่จะส่งเสริมและผลักดันให้ธุรกิจของตนนั้นสามารถก้าวต่อไปแบบไม่สะดุด ซึ่ง Krungsri Finnovate ตอบโจทย์ความต้องการนั้นได้อย่างลงตัวที่สุด โดยได้สร้างแพลตฟอร์มใหม่อย่าง Meet the Angels พื้นที่สำหรับกลุ่ม startup ไทยให้ได้พบกับนักลงทุนตัวจริง และยังสนับสนุนต่อยอดพัฒนาธุรกิจอย่างรอบด้านร่วมกันด้วย
ในงาน Startup India International Summit งานประชุมสตาร์ทอัพ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้ประกาศว่ารัฐบาลจะมอบเงิน 10,000 ล้านรูปี หรือ 136.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นกองทุนให้ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนระบบนิเวศน์สตาร์ทอัพภายในประเทศ
AWS ประเทศไทยจัดงานเสวนาออนไลน์ Building Thailand’s first Unicorn: The Technology Powering the Nation’s Startup Innovation เน้นแลกเปลี่ยนกันเรื่อง อนาคตและความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะมีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น รวมถึงความท้าทายที่สตาร์ทอัพต้องเจอ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาทั้งจากฝั่งสตาร์ทอัพและฝั่งนักลงทุนประกอบด้วย
คุณกรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Amity (เจ้าของ Eko สตาร์ตอัพไทยที่พัฒนาแอพแชทสำหรับตลาดองค์กร), คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไลน์แมน วงใน จำกัด และ คุณปารดา ทรัพย์ประเสริฐ ผู้อำนวยการ 500 Start-ups โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย, บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย)
ข้อมูลเปิดเผย Blognone เป็นบริษัทในเครือ ไลน์แมน วงใน จำกัด
GoBear บริษัทขายประกันออนไลน์สัญชาติสิงคโปร์ ที่มาทำตลาดในบ้านเราด้วย ประกาศยุติกิจการเนื่องจากไม่สามารถระดมเงินทุนเพิ่มได้ และธุรกิจบางส่วนได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เช่น ขายประกันเดินทางได้น้อยลง
GoBear ก่อตั้งในปี 2015 ปัจจุบันบริษัทมีพนักงาน 165 คนใน 7 ประเทศคือ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฮ่องกง GoBear ระบุว่าจะทยอยปิดธุรกิจทีละเฟสในระยะเวลาอันใกล้นี้ และพนักงานจะได้รับแจ้งเลิกกิจการและได้เงินชดเชยตามที่กฎหมายแต่ละประเทศกำหนดไว้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พูดในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ถึงเรื่องการส่งเสริมสตาร์ทอัพไทย โดยแนะนำให้คณะรัฐมนตรีไปดูซีรีส์เกาหลีใน Netflix เรื่อง Startup ที่กำลังโด่งดังในขณะนี้ เผื่อว่าจะมีไอเดียนำไปต่อยอดได้
ไม่มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของซีรี่ส์ Start-Up
ผู้อ่าน Blognone หลายคน อาจกำลังติดตามซีรี่ส์จากเกาหลีเรื่อง Start-Up ที่มีให้ชมทาง Netflix ซึ่งคืนวันนี้ซีรี่ส์ก็มาถึงตอนจบแล้ว Start-Up เป็นซีรี่ส์แนวดราม่าที่มีเนื้อเรื่องอยู่ในบรรยากาศของกลุ่มคนทำสตาร์ทอัพ นำเสนอประเด็นหลายอย่าง อาทิ การขอเงินทุนจาก VC ปัญหาระหว่างผู้ถือหุ้น ไปจนถึงประเด็นทางสังคมเมื่อนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหา
CB Insights บริษัทวิจัยด้านการลงทุน ซึ่งรวบรวมข้อมูลการลงทุนในสตาร์ทอัพทั่วโลก ได้อัพเดตรายชื่อสตาร์ทอัพที่มีสถานะระดับยูนิคอร์นทั่วโลก (มูลค่ากิจการมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ และยังไม่ exit) พบว่าตอนนี้มีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นแล้วมากกว่า 500 บริษัท
สิ่งที่น่าสนใจคืออัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวน โดยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว จำนวนสตาร์ทอัพกลุ่มนี้มีอยู่ 250 บริษัท และก่อนหน้านั้นก็ใช้เวลามากกว่า 4 ปี จึงมีสตาร์ทอัพยูนิคอร์นครบ 250 บริษัท ส่วนข้อมูลแยกรายประเทศ อเมริกามีมากที่สุด 242 บริษัท ตามด้วยจีน 119 บริษัท (สองประเทศนี้รวมกันก็มากกว่า 70% แล้ว)
กลุ่มสตาร์ทอัพเกาหลีได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการสื่อสารของเกาหลีหรือ KCC เพื่อขอให้มีการตรวจสอบว่า แอปเปิล, กูเกิลละเมิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อในแอปหรือไม่
The Mom Project สตาร์ทอัพสร้างแพลตฟอร์มหางานให้คุณแม่ ระดมทุนใน Series B ได้เพิ่ม 25 ล้านดอลลาร์ บริษัท VC ที่เข้าร่วมการระดมทุนและ คือ 7GC (ลงทุนใน Jio ผู้ให้บริการเครือข่ายในอินเดีย), Citi, Synchrony, SVB และ High Alpha
The Mom Project เป็นสตาร์ทอัพจากชิคาโก ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 ทำแพลตฟอร์มหางานโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ คุณแม่ที่อยากกลับมาทำงานเลี้ยงชีพอีกครั้ง จนถึงตอนนี้มีผู้ใช้งาน 275,000 รายแล้ว และมีบริษัทที่เข้ามาโพสต์ตำแหน่งงานแล้วราว 2,000 แห่ง รวมถึงบริษัทเทคใหญ่อย่าง Facebook, Nike, Uber, Apple, Google และ Twitter
Eko สตาร์ตอัพไทยที่พัฒนาแอพแชทสำหรับตลาดองค์กร (ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งคือ กรวัฒน์ เจียรวนนท์ บุตรชายของศุภชัย เจียรวนนท์ แต่เป็นกิจการส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับเครือ CP) ประกาศซื้อกิจการ ConvoLab บริษัทด้าน AI/NLP ที่ทำผลิตภัณฑ์ด้านแชทบ็อตขององค์กร
การซื้อกิจการ ConvoLab ใช้วิธีผสมทั้งเงินสดและหุ้น คิดเป็นมูลค่าอยู่ใน "หลักสิบล้านดอลลาร์" (8-digit USD) แต่ไม่เปิดเผยตัวเลขแน่ชัด
ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพของกูเกิลหรือ Area 120 เปิดตัว Keen แพลตฟอร์มใหม่เวอร์ชั่นเว็บไซต์และแอปแอนดรอยด์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานบันทึกหัวข้อที่เรากำลังสนใจจากแหล่งข้อมูลบนเว็บไซต์อื่นๆ หรือคนดังที่เรากำลังติดตามเข้าอยู่เข้ามาไว้ในนี้ แชร์ให้เพื่อนๆ เห็นได้ การใช้งานและหน้าตาของแอปรวมๆ คล้ายกับ Pinterest
Rise สถาบันด้านนวัตกรรมองค์กร ที่เคยมีโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพให้กับหลายหน่วยงานในไทย (เช่น Krungsri Rise) ประกาศระดมทุนรอบ Seed เป็นเงิน 8 ล้านดอลลาร์ (ราว 260 ล้านบาท)
นักลงทุนที่ร่วมระดมทุนในรอบนี้คือ กลุ่มบริษัท ศรีกรุงวัฒนา บริษัท ดีทูซี จำกัด ประเทศญี่ปุ่น และ บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด โดยถือเป็นการระดมทุนจากหน่วยงานภายนอกเป็นครั้งแรกของ Rise ด้วย
ธุรกิจของ Rise มีตั้งแต่ศูนย์เร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร (corporate accelerator), มหาวิทยาลัยผู้ประกอบการในองค์กร (Intrapreneur University), บริการสร้างธุรกิจใหม่ (Venture Building Services) และงานสัมมนาด้านนวัตกรรมองค์กร (Corporate Innovation Summit : CIS)
OmniVirt สตาร์ตอัพคนไทยในซิลิคอนวัลเลย์ (ข่าวเก่า) ขายกิจการให้ Facebook โดยไม่เปิดเผยมูลค่า และทีมงานบางส่วนของ OmniVirt จะเข้าไปเป็นพนักงานของ Facebook ต่อไป
OmniVirt เป็นบริษัทที่ทำด้านโฆษณา 3D/360/VR ซึ่งสอดคล้องกับธุรกิจด้าน VR ของ Facebook ที่เป็นหนึ่งในขาใหญ่ด้าน VR ของโลก จากสายผลิตภัณฑ์ด้าน Oculus
สำนักข่าว CNBC รวบรวมข้อมูลสตาร์ตอัพในสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จนต้องปลดพนักงาน พบว่ามีกว่า 40 บริษัทแล้ว ส่งผลกระทบต่อพนักงาน 3,800 คนที่ต้องตกงาน
สถานการณ์คนตกงานในสหรัฐอเมริกาล่าสุด มีคนตกงานมากกว่า 3.3 ล้านคนแล้ว และจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ
นอกจากนี้ วงการนักลงทุน Venture Capital ก็เริ่มออกมาเตือนบรรดาสตาร์ตอัพแล้วว่า เงินทุนจะหายากมากขึ้น เราจึงจะได้เห็นการปิดกิจการของสตาร์ตอัพตามมาอีกระลอกใหญ่
ที่มา - CNBC
โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ Y Combinator ประกาศจัดงานเดโมเดย์ หรืองานสาธิตผลิตภัณฑ์จากสตาร์ทอัพ โดยจะเป็นการจัดงานแบบออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะกันเนื่องจากกังวลสถานการณ์ไวรัส COVID-19
OYO สตาร์ทอัพจองโรงแรมและที่พักของอินเดีย อาจกลายเป็นอีกหนึ่งความล้มเหลวในการลงทุนของ SoftBank หลังบริษัทลงเงินกับ OYO ไปกว่า 1.5 พันล้านเหรียญ แต่ระยะหลังถูกตั้งคำถามเรื่องโมเดลธุรกิจที่อาจไม่ทำกำไร ก่อนที่ล่าสุดบริษัทเตรียมจะปลดพนักงานทั่วโลกราว 5,000 - 25,000 คน
Bloomberg อ้างอิงคนใน OYO ระบุว่าพนักงานที่ปลดส่วนใหญ่จะอยู่ในจีน, สหรัฐและอินเดีย โฆษก OYO ระบุว่าการปลดพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างองค์กรที่ประกาศเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยมีบางส่วนจะปลดเพียงชั่วคราว และเมื่อการปรับโครงสร้างเสร็จสิ้นก็จะกลับมาจ้างงานใหม่อีกครั้ง
จากเหตุการณ์ไวรัส COVID-19 ระบาด ส่งผลให้อีเว้นท์สำคัญต้องยกเลิกไป ไม่ว่าจะเป็นงาน Mobile World Congress, งาน F8 ของ Facebook ที่ลดขนาดงานลง จัดเป็นไลฟ์สตรีมแทน ทำให้เกิดคำถามว่า ภายใต้สถานการณ์ไม่ปกติเช่นนี้ จะยังสามารถจัดอีเว้นท์สำคัญได้อย่างไร
เว็บไซต์ TechCrunch พาไปรู้จัก Run The World เป็นสตาร์ทอัพทำระบบไลฟ์อีเว้นท์ ตั้งอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย และมีทีมทำงานแยกทั้งในจีนและไต้หวัน Run The World ทำแพลตฟอร์มสำหรับไลฟ์อีเว้นท์ตั้งแต่ประชาสัมพันธ์งาน ขายตั๋ว ไลฟ์สตรีม มีช่องทางให้พูดคุยกับสปีกเกอร์ด้วย
ช่วงหลังมานี้เจอใครก็มักพูดว่า กระแสสตาร์ตอัพที่เคยบูมในบ้านเราช่วง 4-5 ปีก่อนอาจเริ่มดูซาๆ ลงไปบ้างแล้ว
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณธนพงษ์ ณ ระนอง นายกสมาคม Thai Venture Capital Association (TVCA) ในฐานะผู้มีประสบการณ์ลงทุนกับสตาร์ตอัพในบ้านเรามาอย่างโชกโชน (เคยดูแลโครงการ InVent ของ Intouch และปัจจุบันดูแลบริษัท Beacon VC ในสังกัดธนาคารกสิกรไทย) เพื่อขอมุมมองวิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใด สตาร์ตอัพบ้านเราถึงดูซบเซาลงไป
Snowflake บริษัทซอฟต์แวร์ data warehouse บนคลาวด์ที่กำลังมาแรง ประกาศระดมทุนรอบใหม่ 479 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 15,000 ล้านบาท) ทำให้บริษัทมีมูลค่า 12.4 พันล้านดอลลาร์ (3.9 แสนล้านบาท) เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นสตาร์ตอัพสายองค์กรที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของวงการ
Snowflake ก่อตั้งในปี 2012 โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน data warehouse จำนวน 3 คน (สองคนเคยทำงานกับ Oracle) บริษัทเรียกผลิตภัณฑ์ของตัวเองว่า Cloud Data Platform ที่ทำงานบนคลาวด์หลายยี่ห้อ (ปัจจุบันรองรับทั้ง AWS, Azure, GCP) และมีโมเดลคิดเงินแบบ as a service คือมีเฉพาะเวอร์ชันคลาวด์เท่านั้น จ่ายเท่าที่ใช้งานจริง และลดภาระการดูแลเซิร์ฟเวอร์ลง
Lightnet สตาร์ทอัพด้าน Fintech ของประเทศไทย ประกาศรับเงินลงทุนซีรี่ส์ A ถึง 31.2 ล้านดอลลาร์ หรือราว 940 ล้านบาท โดยมีกลุ่มผู้ลงทุน อาทิ UOB Venture Management, Seven Bank และ Uni-President Asset Holdings
Lightnet ก่อตั้งโดยคุณชัชวาลย์ เจียรวนนท์ และคุณตฤบดี อรุณานนท์ชัย โดยเป็นบริการบล็อกเชนที่ทำงานบนเครือข่าย Stellar มีเป้าหมายเพื่อให้การโอนเงินข้ามประเทศทำได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลง เข้าถึงกลุ่มแรงงานที่ทำงานนอกประเทศ โดยเฉพาะจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งธุรกรรมแรกจะเริ่มดำเนินงานได้ภายในไตรมาสแรกของปีนี้ พาร์ทเนอร์ที่จะให้บริการในช่วงแรกซึ่ง Lightnet ระบุถึงมีทั้ง MoneyGram, Seven Bank, Yeahka และ Ksher
ซัมซุงเปิดตัวโครงการ C-Lab จากทั้งในและนอกบริษัท โดยโครงการนำเสนอไอเดียแปลกๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี เช่น SelfieType คีย์บอร์ดสำหรับโทรศัพท์ที่ใช้กล้องหน้าในการจับภาพมือผู้ใช้, Hyler ปากกาไฮไลต์ที่เก็บข้อความเป็นดิจิทัลได้ด้วย, Becon กล้องตรวจสภาพหนังศรีษะเพื่อแนะนำแนวทางแก้ปัญหาสุขภาพผม, SunnySide หน้าต่างพระอาทิตย์เทียม, และ Ultra V เซ็นเซอร์รังสี UV ติดสมาร์ตวอชสำหรับนับว่าร่างกายได้รับรังสี UV มากเกินไปหรือยัง
Crunchbase รวบรวมข้อมูลสตาร์ทอัพรายใหม่ที่มีมูลค่ากิจการจากการเพิ่มทุนสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ หรือที่เรียกกันว่ายูนิคอร์น ในช่วงปี 2019 มีจำนวนรวม 142 บริษัท ลดลงจาก 158 บริษัทในปี 2018
เมื่อแยกสตาร์ทอัพที่เป็นยูนิคอร์นรายใหม่รายประเทศ มาจากอเมริกา 78 บริษัท จากจีน 22 บริษัท ตามด้วย บราซิล (5) เยอรมัน (5) หากนับเฉพาะเงินลงทุนเพิ่มเติมรวมในกลุ่มยูนิคอร์นนี้ของปี 2019 มีทั้งสิ้น 50,500 ล้านดอลลาร์ กลุ่มธุรกิจยอดนิยมได้แก่ บริการทางการเงิน, ค้าปลีก, วิเคราะห์ข้อมูล, ขนส่ง, SaaS และสุขภาพ
5 อันดับยูนิคอร์นหน้าใหม่ในปี 2019 ที่มีมูลค่ากิจการสูงสุด เป็นดังนี้
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA เผยว่าได้ลาออกจาก ETDA เพื่อไปสร้างสตาร์ทอัพชื่อว่า Be Tech Tech Company เป็นสตาร์ทอัพที่มีสองแกนใหญ่คืออีคอมเมิร์ซ และ digital content โดยมีทีมงานจำนวนหนึ่งออกไปทำสตาร์ทอัพด้วย เช่น นางสาวจิตใส เก่งสาริกิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และ นายสรณันท์ จิวะสุรัตน์ รองผู้อำนวยการ เป็นต้น
จากการที่นางสุรางคณา ให้สัมภาษณ์ต่อประชาชาติธุรกิจถึงสาเหตุที่ตัดสินใจสร้างสตาร์ทอัพ มีการระบุว่า Be Tech Tech Company จะเน้นการระดมทุนจากเอกชน นักลงทุน และจะมีการดึงตระกูลใหญ่เข้ามาช่วยลงทุนด้วย
ผู้อ่าน Blognone ที่ติดตามเรื่องสตาร์ทอัพแนวเรียกใช้บริการแบบออนดีมานด์ อาจคุ้นกับชื่อ Wag สตาร์ทอัพ สำหรับหาคนพาสุนัขเดินเล่น หรือที่บางคนเรียกว่า Uber for Dog ความน่าสนใจคือ Wag นั้นมีผู้ลงทุนรายใหญ่คือกองทุน Vision Fund ของ SoftBank ด้วย ซึ่งหลัง SoftBank ประกาศปรับแผนการลงทุนในสตาร์ทอัพ Wag เองก็ได้รับผลกระทบมาก
Geometry Healthtech สตาร์ทอัพสายสุขภาพของจีนเผยโฉมโถสุขภัณฑ์อัจฉริยะ ที่สามารถเก็บของเสียและวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพให้ได้เลยในตัว และส่งข้อมูลวิเคราะห์พร้อมคำแนะนำผ่านทางแอปบนสมาร์ทโฟน ซึ่งตัวอย่างโรคหรือกลุ่มอาการที่สามารถตรวจจับได้จากปัสสาวะ ก็มีอย่างอาการของโรคหัวใจ, มะเร็งไปจนถึงเบาหวาน
ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำกำลังเป็นอีกหนึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายในบ้านที่เทคโนโลยีกำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้น อย่าง Kohler ผู้ผลิตโถสุขภัณฑ์จากสหรัฐก็เคยโชว์โถอัจฉริยะมาแล้ว Google เองก็เคยซื้อสิทธิบัตรเทคโนโลยีในห้องน้ำ หรือกระทั่ง Toto ผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นและ Panasonic ก็เคยเผยโฉมดีไซน์ของโถอัจฉริยะ ที่สามารถวิเคราะห์ชีวเคมีอย่างสารอาหารหรือมวลรวมของร่างกายจากของเสียได้เช่นกัน